บทความ

332 items|« First « Prev 27 28 (29/34) 30 31 Next » Last »|

พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑

โดย Little Bear on November,29 2008 13.32

ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นมา  ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่ง โดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น

ผู้ยื่นฟ้องสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตรายไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้

บันทึกความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสงขลา

โดย Little Bear on November,29 2008 10.26

ปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบการค้าเสรีที่มีการโยงใยทั่วถึงกันทั่วโลก ก่อเกิดการเร่งและส่งเสริมวัฒนธรรมบริโภคนิยม ส่งผลให้มนุษย์มีพฤติกรรมการบริโภคที่หลากหลาย ขณะเดียวกัน สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิก็ทวีความรุนแรงและซับซ้อนด้วยเช่นกัน แม้จะมีหน่วยงานหลายภาคส่วน เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์การพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน เป็นต้น ทำหน้าที่แก้ปัญหาดังกล่าว แต่ด้วยระบบทำงานที่เป็นลักษณะแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ต่างคนต่างทำ ไม่สามารถประสานกันเป็นเครือข่ายได้ ทำให้ขาดพลัง ไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองกับปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่บูรณาการพลังจากภาคีทุกภาคส่วน จังหวัดสงขลา โดยสำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดสงขลา ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลตำบลปริก องค์กรบริหารส่วนตำบลท่าข้าม องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ ตลอดจนภาคีผู้บริโภคโดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข และสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท จึงมีข้อตกลงความร่วมมือดังต่อไปนี้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับศาลผู้บริโภค

โดย Little Bear on November,29 2008 09.23

ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา

ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัดและศาลแพ่งทุกแห่งโดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภคเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น

ผู้ยื่นฟ้องสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งทนายความหรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตราย ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้

ที่สำคัญการที่ผู้บริโภคไม่มีความรู้ ขาดข้อมูลในหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้นในคดีผู้บริโภคจึงกำหนดให้ภาระการพิสูจน์ เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการต่อสู้คดีให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

สิทธิที่ผู้บริโภคควรรู้...

โดย twoseadj on November,27 2008 17.03

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้

  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม

  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการ ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม

  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว

  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

ปัจจัยที่มีผลต่อการคุ้มครองผู้บริโภค

โดย twoseadj on November,26 2008 17.58

ระบบการค้าระหว่างประเทศ(World Trade) และกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้ผลผลิตด้านอาหารจะถูกส่งถึงมือผู้บริโภคมากขึ้น และโอกาสของผู้บริโภคที่จะเลือกซื้ออาหารเหล่านั้นมากขึ้นด้วย ผลดีตามมาของระบบการค้าระหว่างประเทศ คือ ทำให้ประเทศผู้ส่งออกผลผลิตอาหารสามารถออกดึงเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจของตนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น แต่อย่างไรประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาหารหลายประเทศได้นำเอาข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารมาเป็นมาตรการด้านภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันด้านการค้าสินค้าประเภทอาหารมาบังคับใช้

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(Food and Agriculture Organization of the United Nations :FAO) และองค์การอนามัยโลก(World Health Organization:WHO) ได้จัดตั้งโครงการคุณภาพอาหารระหว่างประเทศขึ้น โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์อาลิเมนทาเรียส(Codex Alimantarius) ขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1962 ทำหน้าที่คุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าอาหาร วิธีการคือ กำหนดมาตรฐาน แนวทาง และข้อแนะนำเกี่ยวกับอาหารจำนวนหนึ่งขึ้นมาให้ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบรรณยอมรับมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้น แต่การนำไปปฏิบัติหรือบังคับใช้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละประเทศโดยที่มาตรฐานของอาหารเหล่านั้นยังไม่ผูกพันโดยตรงกับองค์กรการค้าระหว่างประเทศในขณะนั้น

เศรษฐกิจพอเพียง...กับวิกฤติเศรษฐกิจ

โดย twoseadj on November,26 2008 17.46

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากความ เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนการดำเนินการทุกขั้นตอนขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้ เป็นอย่างดี

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์อาหารและยา

โดย Little Bear on November,25 2008 14.14

การวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา

กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา

ผู้วิจัยหลัก : จุฑา สังขชาติ

ผู้ร่วมวิจัย : เปรมรัตน์ อุไรรัตน์ , สายใจ ปริยวาที , สมชาย ละอองพันธุ์

โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ความเห็นและข้อเสนอแนะที่ปรากฏในเอกสารนี้เป็นของผู้วิจัย มิใช่ความเห็นของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาและ ปัจจัย บทบาทหน้าที่ ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา โดยใช้การศึกษา 2 แบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา จำนวน 360 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์ การศึกษาจากเอกสาร และการจัดเสวนากลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัย :: กระบวนการของกลุ่มองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภค

โดย Little Bear on November,25 2008 12.13

รายงานการวิจัยเรื่อง "กระบวนการของกลุ่มองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภค"

เสนอ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ผู้วิจัย : ผศ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ , จงกลนี วิทยรุ่งเรืองศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นปัญหาในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคขององค์กรพัฒนาเอกชน คณะผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัย 2 แบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินการด้านคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย จำนวน 34 องค์กร และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 องค์กร พบว่า

งานวิจัย :การพัฒนาค่าบ่งชี้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาระดับอําเภอ

โดย Little Bear on November,25 2008 10.38

รายงานการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาค่าบ่งชี้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาระดับอําเภอ" : "Development of Indicators for Food and Drug Consumer Protection in District"

โดย อาจารย์วรรณา ศรีวิริยานุภาพ

โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำรวจ ยา ต้องเลี่ยง ช่วงแม่ท้อง

โดย twoseadj on November,20 2008 17.21

ก่อนที่เวลาจะเดินหน้าไปถึงจุดหมายปลายทางของการคลอด เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย ย่อมต้องผ่านการคิดแล้วคิดอีกของคุณแม่ โดยเฉพาะเรื่องยา ปกติคุณหมอไม่แนะนำให้กินยาโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นระยะที่มีการสร้าง และพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยาบางชนิดอาจไปขัดขวางจนส่งผลร้ายต่อลูกอย่างคาดไม

332 items|« First « Prev 27 28 (29/34) 30 31 Next » Last »|