มาทำความรู้จัก...เมลามีนให้แจ่มชัด
ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งของจีนในรอบเดือนนี้ นอกจากการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลกอย่างการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกแล้วยังมีข่าวดัง ที่ทารกหลายราย เสียชีวิต และอีกหลายพันคนที่ป่วยหนักจากการดื่มนมผงที่ผลิตขึ้นมาในประเทศจีน จนกระทั่งบริษัทซันลู่กรุ๊ป ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทต้นเหตุผู้ผลิตนมผงมรณะดังกล่าวต้องเรียกเก็บสินค้าคืน และประธานบริษัทก็ถูกรวบตัวเพื่อขยายผลดำเนินคดีต่อ
หากยังจำกันได้ สินค้าที่ผลิตในประเทศจีนนั้นมีปัญหาด้านคุณภาพบ่อยครั้ง โดยเฉพาะสินค้าสำหรับเด็ก เช่นการที่บริษัทแมตเทลต้องเรียกสินค้าที่เป็นของเล่นสำหรับเด็กในอเมริกาคืนทั้งหมดเมื่อปีก่อน หลังจากที่พบการปนเปื้อนของสารตะกั่วในสีที่ใช้ในของเล่นซึ่งมีปริมาณมากกว่าที่กำหนดไว้ถึง 180 เท่า และเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ก็พบว่ามีเด็กทารกที่ล้มป่วยจากโรคนิ่วในไตถึงกว่าหกพันคน และมีสามคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มนมที่ปนเปื้อนสารเมลามีน
มาทำความรู้จัก...ศาลผู้บริโภค
ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา
ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่ง โดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น
สารให้ความหวานในอาหารควบคุมน้ำหนัก
จากค่านิยมเรื่อรูปร่างและสุขภาพ และการควบคุมปริมาณน้ำตาลในการบริโภคอาหาร ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้และใช้อย่างต่อเนื่องโดยไม่รู้ว่าอาจเป็นอันตราย มีแคลอรี่ต่ำ และคุณค่าทางโภชนาการน้อย สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1: สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุกโตส(น้ำตาลจากผลไม้) มอลทิทอล ซอร์บิทอล ไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยเบาหวาน
กลุ่มที่ 2: สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส สตีเวีย แอสปาแตม แซคคารีน และไฮไลต์ของมันมากับอาหาร ในวันนี้ คือ สารอะซีซัลเฟมเค สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย เนื่องจากอาจจะไม่ส่งผลต่อร่างกายทันที แต่เมื่อสะสมไปเรื่อยๆ จะมีผลข้างเคียงกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ จึงขอเตือนผู้ที่นิยมบริโภคสารชนิดนี้ว่ากินได้แต่ต้องไม่บ่อยเกินไป
ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 5 กันยายน 2551
เตือนอันตรายจากขวดพลาสติก ใช้สารเคมีรบกวนหน่วยประสาทของสมอง
นายเนียล แมคลัสกี นักวิจัยมหาวิทยาลัยกูเอลฟ์ นครโตรอนโต ได้เปิดเผยว่า โรงงานทำขวดภาชนะพลาสติก แม้กระทั่งฟันปลอมทั่วทั้งโลก ต่างใช้สารเคมีที่มีชื่อว่า "ไบสฟีนอล เอ" ซึ่งสารชนิดนี้อาจจะซึมหรือละลายปนอยู่ในอาหารแข็งหรือเหลวที่บรรจุอยู่ได้ และเมื่อกินเข้ามันจะเข้าไปอยู่ในตัวก่อกวนการสื่อสารระหว่างหน่วยประสาทของสมองอันจำเป็นกับการเข้าใจและจดจำขึ้น "แม้แต่สารนี้ในปริมาณเล็กน้อยก็ยังทำให้การก่อตัวของรอยประสาทในบริเวณของสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เสื่อมโทรมลงอย่างร้ายแรง"