บทนำ (Introduction)
การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค นับว่ามีความสำคัญและถือเป็นปัจจัยนำเข้า(Input)ที่สำคัญ เพื่อการแก้ไขปัญหาผู้บริโภค ยิ่งปัจจุบันแล้วสภาพปัญหามีความซับซ้อน เชื่อมโยงสัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่าง อันทำให้การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ศาสตร์ในหลายแขนงเข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน
ทางสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์(สจรส.ม.อ.) ได้พัฒนาหลักสูตรห้องเรียนคุ้มครองผู้บริโภค(Consumer Protection Classroom) อันเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานด้านวิชาการ(Academic Planning Division) ของโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ ปีที่ 2(2553-2554) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโดยแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์(Objectives)
เพื่อยกระดับคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยจัดทำและเปิดหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
เพื่อจัดการระบบคุ้มครองผู้บริโภค โดยใช้กระบวนการทางวิชาการผ่านวิธีการประชุมวิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรห้องเรียนคุ้มครองผู้บริโภค
1.1 แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาหลักสูตร มีที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองผู้บริโภคจากหลายภาคส่วน คือ
ก) หน่วยงานรัฐ ประกอบด้วย อัยการเลอศักดิ์ ดุกสุกแก้ว ผู้แทนจากสำนักงานอัยการจังหวัดสงขลา คุณคณพงษ์ เพชรแก้ว นิติกรแผนกคุ้มครองผู้บริโภค ศาลแขวงจังหวัดสงขลา ภ.ญ.เปรมรัตน์ อุไรรัตน์ ผู้แทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ภ.ก.อภิชาติ ตันธนานุวัฒน์ ผู้แทนจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา
ข) หน่วยงานจากภาควิชาการ ประกอบด้วย อ.จุมพล ชื่นจิตต์สิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.สอรัฐ มากบุญ คณะศิลปศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ดร.ภญ.ศิริพา อุดมอักษร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ ภ.ก.สมชาย ละอองพันธุ์ เภสัชกรประจำโรงพยาบาลระโนด
ค) องค์กรพัฒนาเอกชน ประกอบด้วย คุณจุฑา สังขชาติ สมาคมเพื่อผู้บริโภคจังหวัดสงขลา
1.2 ระดมความคิดเห็นคณะทำงานร่างหลักสูตร จำนวน 4 ครั้งด้วยกัน จนสามารถสรุปเป็นรายวิชาที่จะเปิดสอน เพื่อการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้บริโภค ผลการระดมความคิดเห็นแสดงแสดงรายละเอียดตามเอกสาร แผนที่ระดมความคิดเห็น
1.3ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองผู้บริโภคให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อร่างหลักสูตรโดยเครื่องมือ คือ แบบฟอร์มให้ความเห็น ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย เภสัชกร สมพร อุทิศสัมพันธ์กุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ เภสัชกร จิระ ภาสวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน และเภสัชกร ภานุโชติ ทองยัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม และรวบรวมความเห็น ข้อเสนอแนะ ดำเนินการปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรใช้ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป รายละเอียดตามแบบสรุปผลการให้ความเห็นที่แนบมาด้วย
รายละเอียดหลักสูตร ประกอบด้วย 6 รายวิชา คือ
รายวิชาที่ 1 หลักการพื้นฐานในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค คลิ๊กเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
รายวิชาที่ 2 กฎหมาย ข้อบังคับและกลไกที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค คลิ๊กเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
รายวิชาที่ 3 การจัดการความรู้ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ในงานคุ้มครองผู้บริโภค คลิ๊กเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
รายวิชาที่ 4 การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพทั้งผลิตภัณฑ์และนโยบาย คลิ๊กเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
รายวิชาที่ 5 กระบวนการสร้างเครือข่ายและมาตรการทางสังคมและทักษะปฏิบัติในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค คลิ๊กเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
รายวิชาที่ 6 ระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลและการสื่อสารด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค คลิ๊กเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
2.จัดพัฒนาศักยภาพบุคลาการด้านคุ้มครองผู้บริโภค คณะทำงานได้จัดในรูปแบบของโครงการประชุมวิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม 2553 เนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่อง หลักการพื้นฐานในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมาย ข้อบังคับและกลไกที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค รายละเอียดตามเอกสารโครงการ
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2553 เนื้อหาการประชุมประกอบด้วยเรื่อง การจัดการความรู้ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ในงานคุ้มครองผู้บริโภคและการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพทั้งผลิตภัณฑ์และนโยบาย รายละเอียดตามเอกสารโครงการ
ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 25-28 มกราคม 2554 เนื้อหาประกอบด้วย กระบวนการสร้างเครือข่ายและมาตรการทางสังคมและทักษะปฏิบัติในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคและระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลและการสื่อสารด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค รายละเอียดตามเอกสารโครงการ
3.การรวบรวมหลักสูตรและเผยแพร่เนื้อหาหลักสูตรห้องเรียนคุ้มครองผู้บริโภค ในรูปแบบสื่อวิดีโอผ่านอินเตอร์เนต และเอกสารหบักสูตรห้องเรียนคุ้มครองผู้บริโภค
เรียบเรียงและรวบรวมโดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานวิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)