วันที่ - เวลา | กิจกรรม - รายละเอียด | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
17 มีนาคม 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 15:09:42 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมเกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน แปลงต้นแบบนายณัฐพล หนูแสงคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน กิจกรรมตามแผนเรียนรู้พื้นที่แปลงต้นแบบเกษตรผสมผสาร นายณัฐพล หนูแสง กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงเกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน แปลงต้นแบบนายณัฐพล หนูแสง บ้านเลขที่ 156/1 ม.4 ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา โทรศัพท์ 089-6530164 ภาคเช้า เวลา 10.00-12.00น.แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรผสมผสารแนวคิด 1ไร่1แสน หมายถึง การทำเกษตรที่หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน มีการสร้างระบบเกษตรการเกษตรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เลี้ยงครอบครัวได้ มีการวางแผนการผลิต และการแปรรูป มีรายได้ต่อเนื่อง มั่นคง มีอาหารปลอดภัยไว้บริโภคและจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั้งในชุมชนและนอกชุมชน นายณัฐพล หนูแสง (ผญ.เส) บรรยายการทำเกษตรแนวคิด1ไร่1แสน - วิสัยทัศน์ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - หลักคิด ความมั่นคงทางอาหาร พึ่งพาตนเองได้ ชุมชนบ้านคูวา มีครัวเรือนทั้งหมด 157 ครัวเรือน มีครัวเรือนที่เข้าร่วมทำเกษตรแบบผสมผสาร จำนวน 10ครัวเรือน มีการปรับพื้นที่ในลักษณะโคก หนอง นา ในช่วงปี พศ.2539 มีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง ,โครงการปิดทองหลังพระ ทางชุมชนได้เข้าร่วม มีการทำกิจกรรม คือ สำรวจข้อมูล จัดทำแผนที่ วิเคราะห์ข้อมูล ในประเด็น ภูมิทางสังคม ทางวัฒนธรรม (ดิน น้ำ ป่า วิถีเกษตร แหล่งพลังงาน ) มีการนำหลักปฎิบัติเกษตรทฤษฎีใหม่ มาขับเคลื่อนชุมชน ยืดหยุนตามพื้นที่ดินที่มี แบ่งพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ มีการพึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่เป็นหลัก ลดการพึ่งพาจากภายนอก ลดต้นทุนในเรื่องปุ่ย การปลูกพืชตามฤดูกาล หมุนเวียน ไม่ปลูกซ้ำ เช่น พริกเขียว บวม มะระ และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เป็ด ไก่ไข่ ปลาดุก ปลาหมอ ในการแปรรูป เช่น ไข่เค็ม ปลาดุกแดดเดียว ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00น. ลงพื้นที่แปลงต้นแบบการเลี้ยงวัว แปลงคอกวัวคุณประสาน และการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เป็ด ไก่ ปลาน้ำจืด บ้านผญ.เส สรุปจากสิ่งที่เรียนรู้ การทำเกษตรต้องอาศัยความขยัน ต้องมีการวางแผนการผลิต ไม่ปลูกตามคนอื่น เน้นปลูกแบบปลอดภัย (ยังไปไม่ถึงปลูกแบบอินทรีย์ เพราะเมล็ดพันธุ์ยังต้องซื้อจากบริษัท) การตลาดเน้นตลาดภายในชุมชน ไม่ไปข้างนอก เพราะต้องการเวลาในการทำกิจกรรม ผลตามแผนเกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน แปลงต้นแบบนายณัฐพล หนูแสง ผลที่เกิดขึ้นจริงเกษตรผู้เข้าร่วมจาก16อำเภอของจังหวัดสงขลา เป็นเกษตรกรจำนวน 30ราย ที่เข้าร่วมโครงการ สนง.เกษตรจังหวัดสงขลา โดยเกษตรกรที่ได้มาเรียนรู้ นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในพื้นที่ตนเอง ตามบริบทพื้นที่ โดยมีเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรที่สามารถเลี้ยงตนเอง เลี้ยงครอบครัว พึ่งพาตนเองได้ และมีผลิตที่มีความปลอดภัย ในการทำระยะแรก เน้นการปลูกพืชระยะสั้นเพื่อสร้างรายได้ในแต่ละวัน ทำเรื่อยๆสะสมประสบการณ์ เรียนรู้ และการมีศรัทธา ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
12 มีนาคม 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 15:00:22 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมเกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน แปลงต้นแบบนายณัฐพล หนูแสงคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้เกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้พื้นที่แปลงต้นแบบเกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน นายณัฐพล หนูแสง กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงเกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน แปลงต้นแบบนายณัฐพล หนูแสง บ้านเลขที่ 156/1 ม.4 ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา โทรศัพท์ 089-6530164 ภาคเช้า เวลา 10.00-12.00น.แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรผสมผสารแนวคิด 1ไร่1แสน หมายถึง การทำเกษตรที่หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน มีการสร้างระบบเกษตรการเกษตรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เลี้ยงครอบครัวได้ มีการวางแผนการผลิต และการแปรรูป มีรายได้ต่อเนื่อง มั่นคง มีอาหารปลอดภัยไว้บริโภคและจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั้งในชุมชนและนอกชุมชน
นายณัฐพล หนูแสง (ผญ.เส) บรรยายการทำเกษตรแนวคิด1ไร่1แสน
มีการนำหลักปฎิบัติเกษตรทฤษฎีใหม่ มาขับเคลื่อนชุมชน ยืดหยุนตามพื้นที่ดินที่มี แบ่งพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ พื้นที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ มีการพึ่งพาทรัพยากรในพื้นที่เป็นหลัก ลดการพึ่งพาจากภายนอก ลดต้นทุนในเรื่องปุ่ย การปลูกพืชตามฤดูกาล หมุนเวียน ไม่ปลูกซ้ำ เช่น พริกเขียว บวม มะระ และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว เป็ด ไก่ไข่ ปลาดุก ปลาหมอ ในการแปรรูป เช่น ไข่เค็ม ปลาดุกแดดเดียว ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00น. ลงพื้นที่แปลงต้นแบบการเลี้ยงวัว แปลงคอกวัวคุณประสาน และการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เป็ด ไก่ ปลาน้ำจืด บ้านผญ.เส สรุปจากสิ่งที่เรียนรู้ การทำเกษตรต้องอาศัยความขยัน ต้องมีการวางแผนการผลิต ไม่ปลูกตามคนอื่น เน้นปลูกแบบปลอดภัย (ยังไปไม่ถึงปลูกแบบอินทรีย์ เพราะเมล็ดพันธุ์ยังต้องซื้อจากบริษัท) การตลาดเน้นตลาดภายในชุมชน ไม่ไปข้างนอก เพราะต้องการเวลาในการทำกิจกรรม ผลตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกษตรผสมผสารด้วยแนวคิด 1ไร่1แสน แปลงต้นแบบนายณัฐพล หนูแส ผลที่เกิดขึ้นจริง1.ผู้เข้าอบรมเป็นเกษตรที่มาจาก ทม.สิงหนคร ทต.ระโนด ที่มีความสนใจการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เนื่องจาก พื้นที่สิงหนครและระโนดเป็นที่ลุ่ม สามารถที่จะนำความรู้มาปรับใช้ในพื้นที่ตนเอง 2.เกษตรกรบางรายได้มีข้อจำกัดในเรื่องของปัจจัยการผลิต เพราะต้องใช้ทุนในการปรับพื้นที่ และการขาดแหล่งน้ำซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการทำเกษตร ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
11 มีนาคม 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 13:59:26 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายสรพล นภาพงษ์คุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายสรพล นภาพงษ์ กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายสรพล นภาพงษ์ บ้านเลขที่65 หมู่6 บ้านหน้าถ้ำ ต.ปาดังฯ อ.สะเดา จ.สงขลา โทรศัพท์ 089-7338839 ภาคเช้า เวลา 10.00 น.-12.00 น.:เยี่ยมชมแปลงยางแบบขยายแถว มีการปลูกทุเรียน มะพร้าว กาแฟ และมีการปลูกมะละกอพันธุ์เรดเลดี้ แขกดำ ผักหวานบ้าน เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในครอบครัว แปลงมีการไถเปิดหน้าดินในบางส่วนและไม่ได้ปลูกพืชแซม ทำให้ดินมีการระเหยของน้ำ ทำให้แห้งแล้ง ระบบน้ำที่ท่อส่งน้ำเล็กทำให้การรดน้ำไม่ทั่วถึงกับพืชที่อยู่ในแปลง ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00น. แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรผสมผสาร เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้เข้ามาเรียนรู้ และคนในครอบครัวของตนเองอยู่ได้ เลี้ยงชีพได้ การทำเกษตรเป็นความชอบส่วนตัว และอยากให้คนในชุมชนได้เกิดการอนุรักษ์สัตว์น้ำ สัตว์ป่า เนื่องจากแปลงที่อาศัยอยู่ติดกับเขารูปช้างมีสัตว์ป่ามากมาย ตลอดจนอยากให้เกิดการเรียนรู้วิถีของชุมชนสร้างเครือข่ายชุมชน เช่น การทำนา การปลูกพืช ไม้ผล ข้อค้นพบ /ข้อเสนอแนะ : การไถหน้าดินเพื่อจำกัดวัชพืช ควรไถหน้าฝน หน้าดินที่มีการไถแล้วให้มีการปลูกพืชคลุมดิน เช่น ถั่วบราซิล หรือถั่วลิสง ผลตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายสรพล นภาพงษ์ ผลที่เกิดขึ้นจริง1.เกษตรกรจากกลุ่มเครื่องของ ทม.สะเดา ,รพ.ปาดังฯ เข้าร่วมเรียนรู้ 2.นายสรพล เจ้าของแปลงไม่ได้เป็นคนลงมือทำเกษตรด้วยตนเอง มีสมาชิกในครอบครัว(คนรู้จัก) ที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยที่แปลงเป็นคนปฎิบัติการในการปลูกพืช ผักสวนครัว ในพื้นที่50ไร่ ทีมปฎิบัติการขาดความรู้ในการปลูกพืชสวน และการจัดการน้ำ จึงต้องมีการปรับปรุงอีกเล็กน้อยและการเพิ่มเติมความรู้ ประสบการณ์จากเครื่อข่ายและการอบรมฯ ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
5 มีนาคม 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 12:51:25 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายพันธ์ ประพรมคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายพันธ์ ประพรม กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายพันธ์ ประพรม บ้านเลขที่ 34หมู่6 ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา โทรศัพท์ 087-4782982 พื้นที่สวนทั้งหมด 8ไร่ มีแบ่งเป็น2แปลง แปลงที่1 ติดกับริมห้วยสาขาคลองอู่ตะเภา มีแหล่งน้ำเพียงพอกับพืชที่ปลูก มีการปลูกพืชหลายหลายชนิดทั้งไม้ผล เช่นทุเรียน สะตอ เงาะ กล้วย ฯลฯ และปลูกหญ้าเลี้ยงวัว แปลงที่2 ยางพาราปลูกร่วมกับกาแฟ ภาคเช้า เวลา 10.00-12.00 น.: เยี่ยมชมแปลงเพื่อเรียนรู้พันธุ์ไม้ นายพันธุ์ ให้ความรู้การขยายลำต้นต้นไม้ผล เช่นทุเรียน โดยการกรีดที่โคนต้น เพื่อให้ต้นไม้ได้สร้างเนื้อเยื้อ ทำให้ลำต้นมีความแข็งแรง และให้ความรู้ในการปลูกกาแฟ กาแฟในแปลงมีอายุ2-3ปี เริ่มให้ผลผลิต มีการเก็บเมล็ดกาแฟ ครั้งละประมาณ 5-10 กิโลกรัม/ครั้ง ภาคบ่าย เวลา 13.00 -16.00น.: นายพันธ์ให้ความรู้การผลิตกาแฟ โดยเริ่มจากการกะเทาะเปลือกออก แยกเมล็ดกาแฟ การตาก การคั่ว และบด และการชง การตลาด มีการขายตอนเช้าโดยเปิดเป็นร้านน้ำชา ขนม กาแฟสด ที่ผลิตเอง ลูกค้าเป็นคนในชุมชนและนักปั่นจักรยาน ความภาคภูมิใจ: กาแฟที่ปลูกสามารถทำให้คนในชุมชนได้ทานกาแฟที่ถูก และดี ครอบครัวก็มีความสุข สามารถบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ให้คนทั่วไปที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ ข้อค้นพบ/ข้อเสนอแนะ : พื้นที่แปลงกาแฟ ในส่วนที่ต้นกาแฟตาย อาจจะมีการปลูกกล้วยทดแทน ผลตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายพันธ์ ประพรม ผลที่เกิดขึ้นจริง1.ผู้เข้าร่วมอบรม มาจากเกษตรกรและผู้สนใจ จากศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ทม.คอหงส์, โรงเรียน,กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าหมอไทร ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
3 มีนาคม 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 12:52:35 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายปฎิญญา นางอาทิตยา อิบรอเห็นคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายปฎิญญา นางอาทิตยา อิบรอเห็น กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายปฎิญญา นางอาทิตยา อิบรอเห็น บ้านเลขที่ 143 หมู่ที่5 ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา โทรศัพท์ 089-6543466 ช่วงบ่าย เวลา 13.00 -16.00น.:แลกเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรผสมผสาร เริ่มจากพื้นที่17ไร่ที่เริ่มทำมากับพ่อ และเริ่มปลูกใหม่ในแนวคิด "ป่าพออยู่ ป่าพอกิน ดินพอเพียง" มีการปลูกพืชสวนครัว ปลูกผัก กินผักที่ปลูกเอง ลดรายจ่าย สร้างภูมิค้มกันให้กับครอบครัว มีแผนในการปลูกตะใตร้หอมระหว่างต้นทุเรียน เพื่อลดแมลงศัตรูพืชรบกวน ข้อค้นพบ /ข้อเสนอแนะ: ควรมีการปลูกกล้วยเพิ่มเติมในแปลง ผลตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายปฎิญญา นางอาทิตยา อิบรอเห็น ผลที่เกิดขึ้นจริง1.ผู้เข้าร่วมอบรมกยท.สาขาสะเดา ส่งเกษตรกรเข้าร่วม 5ราย ที่สนใจการปลูกยางและมีการขอทุนสงเคราะห์แบบ5 ตลอดจนบุคคลที่สนใจที่มาจากส่วนท้องถิ่น,โรงเรียน ได้เรียนรู้การปลูกไม้เศรษฐกิจ และการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน สละอินโด 2.เป็นช่วงฤดูแล้ง ขาดน้ำ ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัว และผักกินใบชนิดอื่นๆ เช่น ผักสลัด ผักบุ้ง ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
2 มีนาคม 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 13:19:57 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายอาทร สุกสว่างผลคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้การทำเกษตรผสมผสารในสวนยางพารา กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพาราพื้นที่แปลงนายอาทร สุกสว่างผล กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพาราพื้นที่แปลงนายอาทร สุกสว่างผล บ้านเลขที่ 68 หมู่ที่ 6 ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทรศัพท์089-3801515 ภาคเช้า เวลา 10.00-12.00น.: นายอาทร สุกสว่างผล ได้บรรยายหลักคิดการทำแปลงผสมผสารแบบสวนสมรม แนวคิดการทำเกษตรแบบมีความสุข ในพื้นที่แปลงตนเอง จำนวน10ไร่ ที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งมีความหลากหลายอยู่เดิม เช่น ต้นมะพร้าว อายุประมาณ30ปี ยางพารา สะตอ จำปาดะ มีการขยายกลุ่มเครือข่ายในชุมชนในช่วงปี 2548 ขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ การทำปุ่ย การตลาดจำหน่ายผลผลิต ตลาดภายนอกชุมชน เช่น หลาดสยาม ตลาดเกษตร มอ. มีการปลูกพืชผักกินใบ ผักเหนาะ ประเภทต้นมันปู ผักเหรียง ขยายต้นไม้เพิ่มขึ้น เช่น สละอินโด มะปลิง มะปราง ไม้ป่า ต้นเปรียง ต้นจำปูริงหรือต้นจำไหร มีการปล่อยให้พื้นที่สวนเป็นป่ารกบ้างเพื่อให้สัตว์ เช่น นก ไก่เถื่อน ได้มาอยู่อาศัย ภาคบ่ายเวลา 13.00-16.00 น.:เดินชมแปลง และพันธุ์ไม้ โดยเจ้าของแปลงได้บอกวิธีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้เดิมไว้ในแปลง และการปลูกเพิ่ม ทั้งไม้ผล พืชสมุนไพร ข้อค้นพบ/ข้อเสนอแนะ ต้นไม้ในแปลงค่อนข้างผอม และมีการปลูกในระยะที่ชิดและแน่น ขาดการบำรุงการให้ปุ่ย ควรมีการใส่ปุ่ยเพิ่มเติม ผลตามแผนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพาราพื้นที่แปลงนายอาทร สุกสว่างผล ผลที่เกิดขึ้นจริง1.ขาดกลุ่มเกษตรกรในส่วนของ กยท.เข้าร่วม มีผู้เข้าร่วมที่มาจากโรงเรียน อบต.สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ เรือนจำ เข้าร่วมเรียนรู้ ผู้เข้าร่วมมีความสนใจการปลูกพืช หรือพันธุ์ไม้หายาก และการปลูกสละอินโด 2.นายอาทร มีการเพาะพันธุ์ไม้หายากหรือพันธุ์ไม้ท้องถิ่น แจกจ่ายให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการสร้างความมั่นคงทางอาหารในแปลงยางพารา 3.การจัดการตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มเครื่อข่ายเกษตรกรของชุมชน จึงทำให้กลุ่มสามารถเลี้ยงตนเองได้ เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนสินค้า ผลผลิตในแปลง ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
26 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 13:20:45 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายเจียร ทองคงคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายเจียร ทองคง กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพาราพื้นที่แปลงนายเจียร ทองคง บ้านเลขที่ 119/1 หมู่ที่ 14 ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา โทรศัพท์ 081-0948223 ภาคเช้า เวลา 10.00312.00น.:นายเจียร ทองคง บรรยายหลักเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการทำแปลงผสมผสารในสวนยาง จำนวน 6ไร่ ซึ่งมีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ร่วมกับยางพารา เช่น ลองกอง พืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงไก่ตะกร้า การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงวัว ในการเพิ่มเติมความรู้ในตนเองได้มีการไปเรียนรู้จากแหล่งภายนอก และกลับมาทำแปลงของตนเอง การที่จะประสบความสำเร็จ มองใน3เรื้อง คือ ด้านอุดมการณ์ ,ด้านวิชาการ,และด้านประสบการณ์ ในส่วนของการทำเกษตรให้เกิดผลและสามารถเลี้ยงตนเองได้ ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จของเกษตรกรไทย ดังนี้ -ดินดี (ในดินมีใสเดือนอยู่อาศัย) -น้ำดี (หากมีน้ำในแปลง จะช่วยในเรื่องของการปรับปรุงดิน) -พันธุ์ดี (เมล็ดพันธุ์ ที่มีความแข็งแรง ต่อสู่กับโรคแมลงได้ ไม่อ่อนแอ -การจัดการ (การตลาด, ด้านสวล.) -วิชา (ประสบการณ์ การเรียนรู้ตำรา ภายนอก) ภาคบ่าย เวลา 13.00316.00 น.:นายเจียร ให้ความรู้การเลี้ยงไก่ การทำน้ำส้ม(น้ำหมักชีวภาพ ใช้ในการทำก้อนยางพารา การทำแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ และพาเดิมชมแปลง ข้อค้นพบ / ข้อเสนอแนะ การบำรุงต้นไม้ พันธุ์ไม้ในแปลง เนื่องจากมีการปลูกชิดมากเกินไป ตลอดจนยางแบบ3x7เมตร ในระยะที่ชิด ทำให้ไม้ผลไม่ให้ผลผลิต เนื่องจากขาดแสง พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ผลตามแผนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายเจียร ทองคง ผลที่เกิดขึ้นจริงขาดกลุ่มเป้าหมายเกษตกรในส่วนของ กยท.เข้าร่วม มีเพียงโรงเรียน อบต.ในพื้นที่ใกล้เคียงได้เลือกเข้าร่วมเรียนรู้ ซึ่งมีจำนวนน้อย แต่ก็เห็นถึงความตั้งใจของเจ้าของแปลงต้นแบบที่มีการถ่ายทอดความรู้ หลักคิด ศก.พอเพียงให้กับผู้เข้าร่วม ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
25 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 13:15:29 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายนิวัตน์ เนตรทองคำคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา แปลงต้นแบบนายนิวัตน์ เนตรทองคำ กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายนิวัตน์ เนตรทองคำ บ้านเลขที่ 89/2 หมู่ 7 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทรศัพท์ 087-3907426 พื้นที่แปลงทั้งหมด 13ไร่ พื้นที่แปลงแบ่งเป็น 2ส่วน ส่วนที่1 จำนวน10ไร่ มีการปลุกยาง ร่วมกับไม้ผล เช่น ลองกอง มะนาว ส่วนที่ 2 มีการปลูกกล้วยไข่ ผักกูด แนวคิดการทำเกษตรผสมผสาร ปลูกพืชหลากหลายชนิดประมาณ 90ชนิด ทั้งพืชสวนครัว มะนาว พริก พืชกินผล กินใบ เช่น กล้วย มะละกอ ผักเหรียง และเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาน้ำจืด แต่ที่เด่นคือ การปลูกผักกูดในแปลงยางที่มีการจำหน่ายทั้งต้นพันธุ์ และการเก็บยอดส่งขายในตลาดภายในชุมชน และนอกพื้นที่ ทำให้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัว เวลา 13.00น.ลงเยี่ยมแปลงผักกูด สวนกล้วย และบ่อเลี้ยงปลา ในการลงแปลงทำให้เห็นชนิดของพืชทั้งที่ปลูกเอง และงอกตามธรรมชาติ เวลา 15.00 น. สรุปประสบการณ์จากลงแปลง ผู้เข้าร่วมมีความสนใจในชนิดพืชต่างๆ และการทำปุ่ยใช้เองในแปลง ปุ่ยจากมูลหมู มูลเป็ด ทำให้ลดการซื้อปุ๋ย ลดการใช้สารเคมี ข้อค้นพบ/ข้อเสนอแนะ การเลี้ยงเป็ด หมู ทำให้เกษตรลดการซื้อปุ่ย ลดค่าใช้จ่าย ผักที่ปลูกในแปลงมีความปลอดภัย การปลูกหลากหลายทำให้สามารถมีผลิตหมุนเวียนตลอดทั้งปี ผลตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา ผลที่เกิดขึ้นจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายนิวัตน์ เนตรทองคำ ผู้ที่เข้าร่วมเป็นเกษตรในเครื่อข่ายวิสาหกิจชุมชน ต.คอหงส์ ที่มีความสนใจการทำเกษตรผสมผสาร ที่มีการปลูกพืชอย่างหลากหลาย พืชที่ปลูกสามารถทำรายได้ และเป็นพื้นที่แหล่งอาหารให้กับครอบครัว ชุมชน ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
24 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 19 มีนาคม 2563 13:19:04 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : โปรแกรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำเกษตรผสมผสารสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายจรูญ พรหมจรรย์คุณภาพกิจกรรม : 4วัตถุประสงค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา แปลงต้นแบบนายจรูญ พรหมจรรย์ กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ แนวคิดการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา โดย นายจรูญ พรหมจรรย์ บ้านเลขที่ 33/9 ซอยโล๊ะผักกูด หมู่ที่8 ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทรศัพท์ 086-9645561 เวลา10.00 น. นายจรูญ เจ้าของแลงต้นแบบ ร่วมแลกเปลี่ยนความเป็นมา แนวคิดการทำเกษตรผสมผสารในสวนยางพารา เกิดจากการไปเรียนรู้จังหวัดพัทลุง และกลับมาพัฒนาในพื้นที่10ไร่ เริ่มแรกมีการปลูกพืช เช่น มะละกอ ผักสลัด และเชื่อมประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น กยท.ในการขอสงเคราะห์การทำสวนยางแบบผสมผสาร ในยุคเศรษฐกิจที่ยางพารามีราคาต่ำ รายได้ไม่เพียงพอเริ่มมาปลูกพืช เช่น สละ (ที่ดิน 4ไร่ ) เลี้ยงแพะโดยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการฯ(สสส.) โดยซื้อพ่อพันธ์ุ แม่พันธ์ุจำนวน2ตัว จนปัจจุบันขยายเป็น 20ตัว การจำหน่ายผลผลิต มีพ่อค้า แม่ค้า มารับซื้อผลสละที่แปลง ในส่วนแพะมีการสั่งซื้อจากเพื่อนบ้านใช้ในงานบุญ และจำหน่ายเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ให้กับคนที่สนใจมีการไปร่วมเรียนรู้กับเกษตรกร รายอื่นๆ และเข้าอบรมความรู้กับหน่วยงาน สถาบันการศึกษาทำให้การทำเกษตรของตนเองปัจจุบันสามารถทำให้เลี้ยงตนเอง ครอบครัวได้ มีสุขภาพที่ดี ทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ เวลา 13.00น.ลงพื้นที่แปลงสวนในฝัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ โดยมีการสาธิตการผสมเกษรต้นสละ และการให้ความรู้ชนิดของพันธุ์พืชที่อยู่ในแปลง และการเลี้ยงแพะ เวลา 15.00น.ร่วมแชร์ประสบการณ์ระหว่างแปลงต้นแบบและผู้เข้าร่วม การปลูกพืชแต่ละชนิดในสวนยางให้ดูเรื่องของอายุยาง แสงสว่าง และควรเสริมกล้วยในแปลงเพื่อเพิ่มความชุมชื่นให้กับดิน และช่วยบำรุงดิน ผลตามแผนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ การทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา ผลที่เกิดขึ้นจริงการยางแห่งประเทศไทย สาขาหาดใหญ่ (กยท.) ส่งเกษตรกรเข้าร่วมเรียนรู้ จำนวน 7คน โดยเกษตรกรดังกล่าวมีความสนใจการทำสวนยางแบบ5 (ปลูกพืชร่วมกับยาง) และหน่วยงานอื่นเข้าร่วมอีก เช่น โรงเรียน อปท. เรือนจำ การลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร เช่น ซื้อปุ่ย สารเคมี เกษตรต้องทำเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว แพะ หมู เป็ด ไก่ ฯลฯ จะช่วยลดการซื้อปุ่ย และการทำน้ำหมักใช้เอง เพื่อลดสารเคมี ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
4 ตุลาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 13:47:17 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมประชุมชี้แจงการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินโครงการพัฒนาอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาลคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิด Matching Model ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อย่างน้อย 50 ราย พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายเกษตรกร ชนิดและปริมาณผลผลิตปริมาณการจำหน่าย และเครือข่ายกลุ่มผู้บริโภคระดับองค์กร กิจกรรมตามแผนประชุมชี้แจงการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินโครงการพัฒนาอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงประชุมชี้แจงการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินโครงการพัฒนาอาหารปลอดภัยในโรงพยาบาล จำนวน 8 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลรัตภูมิ โรงพยาบาลบางกล่ำ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลควนเนียง โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลจะนะและโรงพยาบาลนาหม่อม สร้างกระบวนการพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ให้ทำเกษตรแบบปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน GAP การยกระดับตลาดสีเขียวในโรงพยาบาลให้เข้มแข็งขึ้น การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้บริโภคเรื่องอาหารปลอดภัย ผลตามแผนเกิด Matching Model ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อย่างน้อย 50 ราย พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายเกษตรกร ชนิดและปริมาณผลผลิตปริมาณการจำหน่าย และเครือข่ายกลุ่มผู้บริโภคระดับองค์กร ผลที่เกิดขึ้นจริง
ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
19 กันยายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 13:44:00 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการประชุมเกษตรปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และตลาด Green ในโรงพยาบาลบางกล่ำคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิด Matching Model ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อย่างน้อย 50 ราย พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายเกษตรกร ชนิดและปริมาณผลผลิตปริมาณการจำหน่าย และเครือข่ายกลุ่มผู้บริโภคระดับองค์กร กิจกรรมตามแผนประชุมเกษตรปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP และตลาด Green ในโรงพยาบาลบางกล่ำ กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงโรงพยาบาลบางกล่ำ ได้หารือกับเกษตรกรจำนวน 75 คน เพื่อจัดหาวัตถุดิบที่ปลอดภัยเข้าสู่โรงครัวโรงพยาบาล โดยจะส่งเสริมให้เกษตรกรส่งผลผลิตการเกษตรให้กับโรงครัวโรงพยาบาล และขายผลผลิตการเกษตรในตลาดเขียวโรงพยาบาลบางกล่ำ ผลตามแผนเกิด Matching Model ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อย่างน้อย 50 ราย พร้อมจัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายเกษตรกร ชนิดและปริมาณผลผลิตปริมาณการจำหน่าย และเครือข่ายกลุ่มผู้บริโภคระดับองค์กร ผลที่เกิดขึ้นจริง
ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
12 กันยายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 13:38:08 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการประชุมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ครั้งที่ 1คุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิดแผนปฏิบัติราชการส่วนจังหวัดนราธิวาสมีนโยบายในการจัดปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 3 เรื่อง กิจกรรมตามแผนหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สนง.เกษตรและสหกรณ์, สนง.เกษตรจังหวัด, สนง.ประมงจังหวัด สนง.สาธารณสุขจังหวัด,มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในการรวมรวบข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สนง.เกษตรและสหกรณ์, สนง.เกษตรจังหวัด, สนง.ประมงจังหวัด สนง.สาธารณสุขจังหวัด,มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ในการรวมรวบข้อมูลสถานการณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย โดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์เป็นผู้เรียบเรียงข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ผลตามแผนเกิดแผนปฏิบัติราชการส่วนจังหวัดนราธิวาสมีนโยบายในการจัดปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 3 เรื่อง ผลที่เกิดขึ้นจริง1.เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส 2.เกิดแผนปฏิบัติราชการของจังหวัดทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยบรรจุในหน่วยงานราชการและสถาบันวิชาการ ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
9 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 9 ธันวาคม 2563 21:25:52 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : .กิจกรรมการประชุมปรึกษาหารือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาสคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิดแผนปฏิบัติราชการส่วนจังหวัดนราธิวาสมีนโยบายในการจัดปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 3 เรื่อง กิจกรรมตามแผนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ซึ่งทางจังหวัดนราธิวาสมีความร่วมมือจะดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 แห่ง หารือในประเด็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ซึ่งทางจังหวัดนราธิวาสมีความร่วมมือจะดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ผลตามแผนเกิดแผนปฏิบัติราชการส่วนจังหวัดนราธิวาสมีนโยบายในการจัดปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 3 เรื่อง ผลที่เกิดขึ้นจริง
จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
1 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 9 ธันวาคม 2563 21:23:40 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการสมวัยเข้าสู่แผนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในอำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพาคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์แผนปฏิบัติราชการส่วนจังหวัดสงขลาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย อย่างน้อย 15 โครงการ กิจกรรมตามแผนประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนงานโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการสมวัยเข้าสู่แผนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในอำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา วันที่ 31 ตุลาคม 2562 – 1 พฤศจิกายน 2562 กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงสปสช.เขต 12 สงขลา และท้องถิ่นในอำเภอสะบ้าย้อย จำนวน 8แห่ง และอำเภอเทพา จำนวน 2 แห่ง เข้าร่วมพัฒนาโครงการโดยมีศูนย์พัฒนาเด็กเด็กเล็ก และกองการศึกษาของ อปท. พัฒนาโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการในเว็บไซต์ http://localfund.happynetwork.org ผลตามแผนมีจำนวนโครงการที่บรรจุเข้าสู่แผนปฏิบัติราชการส่วนจังหวัดสงขลาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารเพื่อสุขภาวะทั้งเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย อย่างน้อย 15 โครงการ ผลที่เกิดขึ้นจริงการพัฒนาโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการในเว็บไซต์ http://localfund.happynetwork.org เกิดข้อเสนอโครงการ โดยท้องถิ่นอำเภอสะบ้าย้อย มีจำนวนโครงการ 10 โครงการ และอำเภอเทพา 2 โครงการ รวม 12 โครงการ โดยพัฒนาอยู่บนเว็บไซต์http://localfund.happynetwork.org/ ซึ่ง สปสช.เขต 12 สงขลา จะทำเอกสารชี้แจงให้กับท้องถิ่นพิจารณาโครงการทั้ง 12 โครงการ 1) โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรนำเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแกแดะ อบต.ธารคีรี 2) โครงการหนูน้อยอิ่มและปลอดภัยจากการปนเปื้อนในอาหาร ของศูนย์เด็กเล็กก่อนเกณฑ์วัดคูหา องค์กรนำเสนอโครงการองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 3) โครงการอาหารปลอดภัยเด็กเล็กมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโหย องค์กรเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโหย อบต.บาโหย 4) โครงการปลูกผักปลอดสารพิษในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศพด.บ้านโหนด องค์กรนำเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหนด อบต.บ้านโหนด 5) โครงการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะเชะ องค์กรนำเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะเชะ อบต.บ้านโหนด 6) โครงการส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาม่วง องค์กรนำเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาม่วง อบต.บ้านโหนด 7) โครงการเพิ่มภาวะโภชนาการในเด็ก ศพด. มูอาบาดาตีมะมุด องค์กรนำเสนอโครงการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ 8) โครงการส่งเสริมโภชนาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลเปียน องค์กรนำเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลเปียน 9)โครงการส่งเสริมเพิ่มเติมปัญญาด้วยระบบโภชนาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย องค์กรนำเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย 10) โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน องค์กรนำเสนอโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลจะแหน 11) โครงการอาหารดีมีคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังใหญ่ องค์กรนำเสนอโครงการ อบต.วังใหญ่ 12) โครงการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน เทพา (ศพด.บ้านพระพุทธ) องค์กรนำเสนอโครงการ อบต.เทพา ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
28 ตุลาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 13:50:08 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการอบรมความรู้เรื่องผลกระทบการใช้สีผสมอาหาร และเทคนิคการใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติบรรจุอาหารคุณภาพกิจกรรม : 4วัตถุประสงค์ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคในตลาดเทศวิวัฒน์ มีความรอบรู้(health literacy) และมีแนวโน้มปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อยร้อยละ 65 กิจกรรมตามแผนอบรมความรู้เรื่องผลกระทบการใช้สีผสมอาหาร และเทคนิคการใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติบรรจุอาหาร กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงอบรมความรู้เรื่องผลกระทบการใช้สีผสมอาหาร และเทคนิคการใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติบรรจุอาหาร โรงพยาบาลปัตตานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องอันตรายของสีผสมอาหาร โดยนำกรณีไก่สดสีเหลือง กุ้งแห้งสีชมพู มาเป็นกรณีศึกษา และขอความร่วมมือผู้ประกอบการในหลีกเลี่ยงซื้ออาหารใส่สีมาประกอบการอาหาร ผลตามแผนผู้ประกอบการ และผู้บริโภคในตลาดเทศวิวัฒน์ มีความรอบรู้(health literacy) และมีแนวโน้มปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อยร้อยละ 65 ผลที่เกิดขึ้นจริง1.ผู้ประกอบการตลาดจะบังติกอจำนวน 30 ราย (ผู้ประกอบการทั้งหมด) และตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 30 คน (ผู้ประกอบการโซนอาหารปรุงสุก อาหารสด ) เกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องอาหารปลอดภัย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปราศจากสีผสมอาหารมาปรุงจำหน่ายให้กับผู้บริโภค 2.เทศบาลเมืองปัตตานีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องอาหารใส่สีอย่างต่อเนื่อง และมีนโยบายลดการใส่สีในอาหาร ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
5 ตุลาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 13:05:41 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการประชุมพัฒนามาตรการด้านอาหารปลอดภัยตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี จ.ปัตตานีคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ กิจกรรมตามแผนการประชุมพัฒนามาตรการด้านอาหารปลอดภัยตลาดจะบังติกอ กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงกิจกรรมการประชุมพัฒนามาตรการด้านอาหารปลอดภัยตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ได้ลงติดตามประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ประกอบการตลาดจะบังติกอ จากนั้นนำข้อมูลมาหารือกับผู้ประกอบการ โดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการผู้ชายไม่ให้สูบบุหรี่ ผู้ประกอบการมีการแต่งกายที่สะอาดขึ้น ผลตามแผนเกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ ผลที่เกิดขึ้นจริงนำข้อมูลมาหารือกับผู้ประกอบการ โดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการผู้ชายไม่ให้สูบบุหรี่ ผู้ประกอบการมีการแต่งกายที่สะอาดขึ้น ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
25 กันยายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 13:02:03 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับผู้ประกอบการตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานี ครั้งที่ 2คุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ กิจกรรมตามแผนการแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับผู้ประกอบการตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานี ครั้งที่ 2 กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับผู้ประกอบการตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานี ครั้งที่ 2 ได้หารือร่วมกับเทศบาลเมืองปัตตานี สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนาฯ ในการออกแบบสถานที่รับประทานอาหารบริเวณตลาดจะบังติกอ โดยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนาฯ จะยกระดับให้ตลาดจะบังติกอเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอาหารของปัตตานี ผลตามแผนเกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ ผลที่เกิดขึ้นจริงสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยานิวัฒนาฯ จะยกระดับให้ตลาดจะบังติกอเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอาหารของปัตตานี ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
21 กันยายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 12:58:40 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการประชุมพัฒนาตลาดจะบังติกอให้เป็นตลาดอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 2คุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ กิจกรรมตามแผนประชุมพัฒนาตลาดจะบังติกอให้เป็นตลาดอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 2 กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงประชุมพัฒนาตลาดจะบังติกอให้เป็นตลาดอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 2 ได้ให้ผู้ประกอบการ จำนวน 45 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตลาดเกษตร ม.อ. เรื่องการพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย ผลตามแผนเกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ ผลที่เกิดขึ้นจริงประชุมพัฒนาตลาดจะบังติกอให้เป็นตลาดอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 2 ได้ให้ผู้ประกอบการ จำนวน 45 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตลาดเกษตร ม.อ. เรื่องการพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
13 กันยายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 12:55:04 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับผู้ประกอบการตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานีคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ กิจกรรมตามแผนแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับผู้ประกอบการตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ได้ให้ผู้ประกอบการตลาดจะบังติกอ จำนวน 49 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตลาดเกษตร ม.อ. เรื่องการพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย ผลตามแผนแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับผู้ประกอบการตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี ผลที่เกิดขึ้นจริงแลกเปลี่ยนความรู้การดำเนินงานตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับผู้ประกอบการตลาดจะบังติกอ จำนวน 49 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตลาดเกษตร ม.อ. เรื่องการพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|
||||||||||||||||||||
31 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
แก้ไขโดย wanna เมื่อ 20 มกราคม 2563 12:51:15 น. |
ชื่อโครงการ : โครงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส »ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมการประชุมจัดทำแผนพัฒนาตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานีคุณภาพกิจกรรม : 3วัตถุประสงค์เกิดพื้นที่ต้นแบบการจัดการเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมให้เป็นอุทยานอาหารปลอดภัยตลาดเทศวิวัฒน์ เทศบาลเมืองปัตตานีจำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งติดตามประเมินผลถอดบทเรียนและนำไปขยายผลได้ กิจกรรมตามแผนประชุมจัดทำแผนพัฒนาตลาดจะบังติกอ กิจกรรมที่ปฎิบัติจริงประชุมจัดทำแผนพัฒนาตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี ผลตามแผนประชุมจัดทำแผนพัฒนาตลาดจะบังติกอ ผลที่เกิดขึ้นจริงตลาดจะบังติกอ ยกระดับให้เป็นตลาดที่ขายอาหารของชุมชนให้มีมาตรฐาน และส่งเสริมการท่องเที่ยวแหล่งอาหารชุมชน ปัญหา/แนวทางแก้ไข-
|