การวิจัย เรื่อง การศึกษาความพร้อมของเทศบาลเมืองสตูลในการถ่ายโอนภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กรณีศึกษา :เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ผู้วิจัยหลัก : จุฑามณี อสัมภินวัฒน์
อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย: ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ความเห็นและข้อเสนอแนะที่ปรากฏในเอกสารนี้เป็นของผู้วิจัย มิใช่ความเห็นของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาความพร้อมของเทศบาลเมืองสตูลในการถ่ายโอนภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นชุดความรู้แก่หน่วยงานที่ถ่ายโอนภารกิจและหน่วยงานที่รับการถ่ายโอนภารกิจ(เทศบาลเมืองสตูล)ว่ามีความพร้อมในประเด็นใด ขาดความพร้อมในส่วนใด เกิดความร่วมมือ ประสานงานกับเครือข่าย หน่วยงานใดบ้าง ตลอดจนปัญหาอุปสรรค นอกจากนี้เพื่อศึกษารูปธรรมความสำเร็จหน่วยงานที่รับการถ่ายโอนภารกิจต้องมีความพร้อมในประเด็นใดบ้าง วิธีการศึกษาจะใช้การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองสตูลเพื่อศึกษาความพร้อมของหน่วยงาน เพื่อรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม อันประกอบด้วย สถานการณ์คุ้มครองผู้บริโภค ศักยภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลและการสนับสนุนจากส่วนกลาง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสตูล ทุนทางสังคม ทำการวิเคราะห์เนื้อหาโดยทำเป็นตารางสรุป จำแนกประเด็นความพร้อมตามกรอบแนวคิด และสรุปผลโดยใช้ Group Analysis จากผู้ทรงคุณวุฒิจาก อย. 3 คน คณะทำงานเครือข่ายพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 3 คน
จากการวิเคราะห์ความพร้อมภายในเทศบาลเมืองสตูลด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค 4 มิติ คือ มิติด้านโครงสร้างและการจัดการ มิติด้านสังคม มิติเรื่องระบบคุ้มครองผู้บริโภค มิติปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อเทศบาล (ทุนทางสังคม) สถานการณ์คุ้มครองผู้บริโภคในมุมมองของเทศบาล
ผลการวิจัยในเรื่องความพร้อมภายในของเทศบาลเมืองสตูล พบว่า มิติด้านโครงสร้างภายในนั้นเทศบาลเมืองสตูลมีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่กำลังคนไม่เพียงพอสำหรับการทำงาน ส่วนด้านนโยบายเมืองสตูล พบว่า ยังไม่มีนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน ส่วนรูปธรรมความสำเร็จของกิจกรรมนั้น พบว่า เทศบาลเมืองสตูลมีกิจกรรมเฝ้าระวังด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลอย่างสม่ำเสมอ การจัดการทั้ง 5 ด้านตามภารกิจที่ อย.ถ่ายโอนมา พบว่ายังดำเนินการไม่มากนักและบางด้านไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
ความพร้อมของเทศบาลเมืองสตูลใน มิติด้านสังคมและการเมือง พบว่า ความมั่นคงทางการเมืองสูง เพราะนายกเทศมนตรีผ่านการเลือกตั้งแบบไร้คู่แข่ง มีกลุ่มองค์กร เครือข่ายที่หลากหลายในการทำงานร่วมกันด้านการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังขาดการเชื่อมประสานกันระหว่างกลุ่มคนทำงาน และในมิติที่ 3 เรื่องระบบคุ้มครองผู้บริโภค พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ระดับความสำคัญในเรื่องสิทธิผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด
- powerpoint การศึกษาความพร้อมของเทศบาลเมืองสตูลในการถ่ายโอนภารกิจ คบ.ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจาก อย.ptt - ดาวน์โหลด
- บทที่ 1 บทนำ.pdf - ดาวน์โหลด
- บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf - ดาวน์โหลด
- บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย.pdf - ดาวน์โหลด
- บทที่ 4 ผลการวิจัยและการอภิปราย.pdf - ดาวน์โหลด
- บทที่ 5 สรุปผลและบรรณานุกรม - ดาวน์โหลด
Relate topics
- ตำรับเครื่องแกงภาคใต้
- รายงานผลการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนจังหวัดสงขลา
- งานวิจัย เรื่อง รูปแบบองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- งานวิจัย เรื่อง การประเมินกระบวนการจัดทำแผนสุขภาพระดับตำบล กรณีศึกษา จังหวัดสงขลา
- งานวิจัย เรื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา : อบต.ปากพูน นครศรีธรรมราช