ฐานข้อมูล

มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง The Global Alliance Against Traffic in Women (GAATW)

by twoseadj @March,10 2009 18.38 ( IP : 222...49 ) | Tags : ฐานข้อมูล
photo  , 230x96 pixel , 7,207 bytes.

The Global Alliance Against Traffic in Women (GAATW)

              เป็นองค์กรที่รณรงค์ส่งเสริมมาตรฐานสิทธิมนุษยชนเพื่อต้านการค้ามนุษย์ รวมทั้งการดำเนินงานตามกรอบของอนุสัญญาการค้ามนุษย์ บทบัญญัติเพิ่มเติมอนุสัญญาองค์การสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ ปีพ.ศ. 2543 GAATW ต่อสู้เพื่อสนับสนุนกฎข้อบังคับที่ต้านการค้ามนุษย์ และวิพากษ์วิจารณ์ หยุดยั้งกฎข้อบังคับที่ละเมิดสิทธิ รวมทั้งความเสียหายที่เกิดจากกฎข้อบังคับที่เป็นอยู่ GAATW ส่งเสริมสิทธิของแรงงานหญิงย้ายถิ่น ประกันความปลอดภัยในการย้ายถิ่นและการปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามพรมแดนนี้เป็นหัวใจสำคัญของการต้านการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ รณรงค์ส่งเสริมสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ที่สร้างโอกาสและทางเลือกให้แก่ผู้หญิงมากขึ้น ณ ประเทศต้นทาง และสนับสนุนการพัฒนาและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการย้ายถิ่นของแรงงานหญิง รวมทั้งสภาพการทำงานและสิทธิที่พึงได้รับ สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรของแรงงานหญิงย้ายถิ่น ประกันความเป็นอยู่และการสร้างความเป็นตัวแทนในเวทีระดับสากล

พันธกิจและวัตถุประสงค์

พันธกิจ         คือ การสร้างความมั่นใจว่าสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงย้ายถิ่นจะได้รับการเคารพและปกป้องจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของหน่วยงานต่างๆ

หลักการพื้นฐานของมูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง

              มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง (GAATW) เป็นเครือข่ายขององค์กรพัฒนาเอกชนจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาผู้หญิง เด็กและผู้ชาย ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการค้ามนุษย์ GAATW มีพันธกิจที่จะทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและกฎหมายที่เปิดช่องให้เกิดการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบริบทของการย้ายถิ่น รวมทั้งความมั่นคงและความเป็นอยู่ของแรงงาน

                GAATW ได้ระบุปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการค้ามนุษย์ ซึ่งระบุไว้ในอนุสัญญาพาเลอโม (Palermo Protocol) กล่าวคือ มีการอธิบายถึงลักษณะของการค้ามนุษย์ เช่น แรงงานบังคับ และการบริการในภาคส่วนต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่นเดียวกับในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

                  นอกจากนี้GAATW ส่งเสริมและปกป้องสิทธิและความปลอดภัยของแรงงานข้ามพรมแดนทุกคนรวมทั้งครอบครัว เพื่อต้านการคุกคามของระบบตลาดแรงงานแบบไม่เป็นทางการและระบบโลกาภิวัตน์ที่กำลังขยายตัวมากขึ้น

                GAATW ใช้หลักสิทธิมนุษยชนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ กล่าวคือ

                • มุ่งเน้นสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้าและผู้ที่อยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยง

                • รับรองความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนที่จะใช้ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของตนเองซึ่งติดตัวมาตามธรรมชาติและเป็นสากล

                • ไม่มีการแบ่งแยกเลือกปฏิบัติในเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงในเรื่องเชื้อสายทางชาติพันธุ์ อายุ รสนิยมทางเพศ ศาสนา สัญชาติและอาชีพ (งานที่อยู่ในภาคไม่เป็นทางการ เช่น งานบ้าน งานบริการทางเพศ และอื่นๆ)

                • ยึดหลักการความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมและการไม่เลือกปฏิบัติในระเบียบวิธีการทำงาน ในโครงสร้างขององค์กรและขั้นตอนต่างๆ ในแง่นี้ การเป็นตัวแทนด้วยตนเองและการจัดตั้งองค์กรของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการค้ามนุษย์โดยตรงจะได้รับการคุ้มครองและสนับสนุน

                • GAATW สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทำงานและกระบวนการทำงานของเพื่อนสมาชิก เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของกิจกรรมการต้านการค้ามนุษย์ร่วมกัน

                  • GAATW ยินดีที่จะร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ต้องการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานนี้

                  GAATW เป็นองค์กรที่เป็นอิสระจากพรรคการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจและองค์กรด้านศาสนา อย่างไรก็ตามสมาชิกมีเสรีภาพที่จะเข้าไปร่วมกับองค์กรดังกล่าว ตราบใดที่ไม่มีความขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานของ GAATW

โครงสร้างขององค์กร

            โครงสร้างของเครือข่ายองค์กรพันธมิตรไม่มีความซับซ้อนใดๆ องค์กรที่เป็นสมาชิก ปัจเจกบุคคลที่ทำงานในประเด็นการค้ามนุษย์และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องในกรอบของสิทธิมนุษยชนและเคยร่วมงานกับ GAATW และเครือข่ายอื่นที่มีแนวคิดเดียวกัน เป็นผู้จัดหาข้อมูลหรือทรัพยากรเพื่อใช้ในการวางยุทธศาสตร์การทำงานของเครือข่ายองค์กรพันธมิตร องค์กรสมาชิกทั้งหมดจะพบปะกันทุกสามปีเพื่อทบทวนและวิเคราะห์การทำงานของตนเอง และร่วมกันตัดสินใจวางแผนการทำงานต่อไปในอีกสามปีข้างหน้า องค์กรสมาชิก

              เป็นกลุ่มที่ยอมรับเงื่อนไขการเป็นสมาชิกภาพและยึดหลักการพื้นฐานของ GAATW องค์กรเหล่านี้จะดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกันภายใต้แผนเชิงยุทธศาสตร์โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะทำงานของ GAATW และสำนักงานเลขานุการ GAATW

              เป็นกลุ่มที่ยอมรับเงื่อนไขการเป็นสมาชิกภาพและยึดหลักการพื้นฐานของ GAATW องค์กรเหล่านี้จะดำเนินโครงการต่างๆ ร่วมกันภายใต้แผนเชิงยุทธศาสตร์โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะทำงานของ GAATW และสำนักงานเลขานุการ GAATWคือหน่วยงานชั่วคราว ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลที่คอยสนับสนุนการทำงานของสำนักงานเลขานุการ GAATW และองค์กรสมาชิก ให้สามารถดำเนินงานตามแผนเชิงยุทธศาสตร์ได้ คณะทำงานได้รับการแต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการระดับสากลหรือสำนักงานเลขานุการ GAATW หรือองค์กรสมาชิก คณะทำงานเป็นผู้ได้รับการเชื้อเชิญบนฐานของความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พันธกิจของพวกเขาคือเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของเครือข่าย คณะทำงานชุดปัจจุบัน ได้แก่

              • คุณไมค์ ดอททริดจ์ จาก Independent Consultant on Human Rights Issue อดีตผู้อำนวยการ Anti- Slavery International ประเทศสหราชอาณาจักร

              • ดร.รัทนา คาปัวร์ ศาสตราจารย์จาก Havard Law School และเป็นผู้อำนวยการของ Centre for Feminist Legal Research กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

              • คุณวิลเลียม โกยส์ Regional Director of Migrant Forum of Asia

              • ดร.เรนู รัชบันดารี ผู้อำนวยการ Women's Rehabilitation Centre ประเทศเนปาล

              • คุณนิโคลา บุลลาร์ด รองผู้อำนวยการ Focus on the Global South กรุงเทพฯ ประเทศไทย

              • คุณศิริพร สะโครบาเนค ประธานมูลนิธิผู้หญิง กรุงเทพฯ สมาชิกก่อตั้งและอดีตผู้ประสานงานระหว่างประเทศของ GAATW

              • คุณบาบารา ลิมาโนสกา ที่ปรึกษาของ UNOHCHR

              • ดร.โจติ ซังเฮรา ตัวแทนของคณะกรรมการระดับสากลของ GAATW

              • คุณบันดานา พัตไนก์ ตัวแทนจากสำนักงานเลขานุการ GAATW

การทำงานในรอบทศวรรษ

                เรื่องราวของ GAATW คือเรื่องราวของผู้หญิง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างพันธมิตรข้ามพรมแดน และเป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความเติบโตของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิผู้หญิง ผู้ก่อตั้งองค์กร GAATW หลายคนเป็นผู้หญิงจากประเทศซีกโลกใต้ และเคยมีประสบการณ์ส่วนตัวในเรื่องการย้ายถิ่นฐานมาก่อน เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้ตื่นตัวทางการเมืองจึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในประเด็นปัญหาการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงในบริบทต่างๆ ได้แก่ ที่บ้าน สถานที่ทำงาน ความขัดแย้งทางทหารและการท่องเที่ยวบริการทางเพศ เป็นเวลาหลายปีที่พวกเขาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสถานการณ์การย้ายถิ่นของแรงงานหญิงทั้งในประเทศ

                ต้นทางและปลายทาง ทำให้พวกเขาต้องคิดใหม่ในปัญหาการย้ายถิ่นและการค้ามนุษย์ ในฐานะที่เคยย้ายถิ่นมาก่อน แม้จะเคยได้รับสิทธิพิเศษทางสังคมมากขึ้น แต่พวกเขาก็ถูกดึงให้เข้าไปเกี่ยวข้องในสถานการณ์ยากลำบากของผู้หญิงที่มาจากประเทศของพวกเขาเอง ซึ่งย้ายถิ่นไปยังประเทศอุตสาหกรรมซีกโลกเหนือ

สมาชิกภาพของ GAATW

สมาชิกภาพของเครือข่ายองค์กรพันธมิตร

              GAATW คือเครือข่ายขององค์กรสมาชิก แม้ว่าเราจะทำงานกับปัจเจกบุคคลและองค์กรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็ตาม สิ่งสำคัญ คือพันธะสัญญาที่จะสร้างความยุติธรรมทางสังคมและร่วมกันแก้ไขปัญหา ปัจจุบัน GAATW มีองค์กรสมาชิกกว่า 80 องค์กร

เงื่อนไข บทบาทและความรับผิดชอบ สิทธิพื้นฐานและสิทธิพิเศษสำหรับองค์กรสมาชิก

เงื่อนไข

        • สมาชิกภาพเปิดรับเฉพาะองค์กรเท่านั้น

        • องค์กรสมาชิกต้องทำงานเคลื่อนไหวในเรื่องการค้ามนุษย์หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่น แรงงานข้ามพรมแดนอย่างชัดเจน อย่างน้อยด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ด้านนโยบายและการส่งเสริมสนับสนุน ด้านการวิจัย การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกค้าโดยตรง

        • องค์กรสมาชิกต้องเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน

        • องค์กรสมาชิกต้องยึดหลักการพื้นฐานของ GAATW

        • องค์กรสมาชิกต้องส่งรายงานประจำปีเพื่อรายงานกิจกรรมต้านการค้ามนุษย์ให้แก่สำนักงานเลขานุการ GAATW เพื่อให้สมาชิกอื่นๆ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากรายงานได้

        • สมาชิกที่ดำเนินการในประเทศหรือภูมิภาคเดียวกันอาจจัดทำรายงานร่วมกันได้

        • สมาชิก โดยเฉพาะองค์กรที่ทำงานประเด็นอื่น และเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนควรพยายามบูรณาการประเด็นการค้ามนุษย์ให้เข้ากับขบวนการเคลื่อนไหวนั้นและแลกเปลี่ยนกับสมาชิกอื่นๆ ด้วย

บทบาทและความรับผิดชอบ

        • สมาชิกต้องแลกเปลี่ยนข่าวสารกิจกรรมของตนเองหรือประเด็นการรณรงค์ส่งเสริมกับเครือข่ายองค์กรพันธมิตรทั้งหมด โดยตรงหรือผ่านสำนักงานเลขานุการ GAATW

        • แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และระเบียบวิธีการทำงานที่ประสบผลสำเร็จกับสมาชิกอื่นๆ

        • สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนเชิงยุทธศาสตร์ร่วมของ GAATW โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ

สิทธิพื้นฐานและสิทธิพิเศษ

        • สมาชิกสามารถเข้าร่วมในการประชุมสมาชิกระหว่างประเทศซึ่งจัดขึ้นทุก 3 ปี

        • เสนอผู้สมัครในตำแหน่งกรรมการระดับสากลได้

        • ได้รับสื่อสิ่งพิมพ์จาก GAATW เป็นประจำโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ (ยกเว้นค่าจัดส่งทางไปรษณีย์)

        • ได้รับการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานและกิจกรรมของ GAATW และมีสิทธิที่จะเข้าร่วมได้

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง