CCGS ( CAPITAL CONSUMER GUIDANCE SOCIETY) เป็นสมาคมที่จดทะเบียนภายใต้ข้อกำหนดของ SOCIETIES REGISTRATION Act 1860และจะคุ้มครองผู้บริโภค ( consumer protection ) และผู้ลงทุนรายย่อย(small investor protection ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- ปกป้องให้ผู้บริโภคและผู้ลงทุนรายย่อยได้รับความเป็นธรรม
- เฝ้าระวังการได้รับข้อมูลข่าวสารของผู้บริโภคและผู้ลงทุนรายย่อย
- เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังข้อ1และ2 โดยการนำงานวิจัยและข้อมูลข่าวสารออกเผยแพร่
- นำคำร้องที่เกี่ยวกับกฎหมายในรายที่ถูกละเมิด/ฝ่าฝืนความเป็นธรรมของผู้บริโภคและผู้ลงทุนรายย่อย
- เก็บข้อมูลของแต่ละองค์กร , ผู้บริโภคและผู้ลงทุนรายย่อยเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิจัย
- วางแนวทางที่เหมาะสมจากผู้บริโภคและผู้ลงทุนรายย่อยในการแก้ใขหรือชดเชยค่าเสียหายเป็นต้น
การคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย ( small investor protection ) อะไรคือความเป็นธรรมของผู้ถือหุ้น ( shareholder )ได้รับใบรับรองเกี่ยวกับการได้รับส่วนแบ่งหรือการโอน ( ถ้าเลือกทำธุรกิจด้วยวิธีพื้นฐาน) ในเวลาที่กำหนด
- ได้รับสำเนารายงานประจำปีประกอบด้วย งบดุล,งบกำไรขาดทุนและรายงานจากผู้ตรวจบัญชี
- มีส่วนร่วมและออกเสียงในการประชุมทั้งด้วยตัวเองหรือการใช้ตัวแทน
- ได้รับเงินปันผลที่รับรองอย่างถูกต้องในเวลาที่กำหนด
- ได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการดำเนินงานอย่างยุติธรรม เช่น โบนัส
- ใช้ประโยชน์จาก COMPANY LAW BOARD (CLB) ในการติดต่อหรือการประชุมประจำปีโดยตรง
- ตรวจสอบสมุดของการประชุมและได้รับสำเนาในเรื่องนั้นๆ
- ดำเนินการต่อสู้กับบริษัทที่ทุจริต
- ใช้ประโยชน์ในการชำระสะสางบริษัท
- ได้รับวิธีการอื่นๆที่เหลือ
นอกจากความเป็นธรรมของผู้ถือหุ้นแต่ละรายดังกล่าวข้างต้นแล้วก็จะมีความเป็นธรรมที่เป็นกลุ่มดังนี้
- มีความจำเป็นต้องมีการประชุมนัดพิเศษ
- มีความต้องการเรียกร้องการลงมติ
- ใช้ประโยชน์ CLB สืบสวนเกี่ยวกับบริษัท
- ใช้ประโยชน์ CLB ในรายที่ถูกกดขี่หรือจัดการผิด
อะไรคือความเป็นธรรมของผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท ( debenture holder )
- ได้รับดอกเบี้ย/ชำระหนี้ในเวลาที่กำหนด
- ได้รับสำเนาของเอกสารตามที่ต้องการ
- ใช้ประโยชน์จากการชำระสะสางของบริษัท ถ้าบริษัทล้มเหลวในการจ่ายเงินของลูกหนี้
- ดูแลสิทธิ์ใบหุ้นกู้ของบริษัทและสามารถชี้แจงข้อสงสัย
- ได้รับข้อมูลอ้างอิงที่เป็นธรรมซึ่งจำเป็น เช่น ความยุติธรรมในการโอน
- การเก็บรักษาความลับ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของความยุติธรรมของบริษัทในการปฎิเสธการโอนเหมือน พรบ
อะไรคือการดูแลขณะที่มีการลงทุน (ก่อนตัดสินใจลงทุนต้องมี 12 ขั้นตอน)
- เขียนเงื่อนไขเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดของการลงทุน
- อ่านและทำความเข้าใจกับเอกสาร
- พิสูจน์ดูให้ถูกต้องตามกฎหมายการลงทุน
- หาราคาและกำไรที่เหมาะสมต่อการลงทุน
- หาความเสี่ยงต่อการลงทุน
- ดูรูปการณ์ให้ปลอดภัยและลักษณะการไถ่ถอนว่ายากรึปล่าว
- สืบให้รู้แน่ว่าในเรื่องเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง
- เปรียบเทียบรายละเอียดกับการลงทุนอื่นๆ
- พิจารณาความเหมาะสมเมื่อเทียบการลงทุนอื่น
- สามารถปรึกษาโดยตรงกับ SEBI ได้ทันทีเมื่อต้องการ
- หาคำอธิบายเกี่ยวกับการลงทุนได้ทันที
- ดูให้แน่ใจว่าจะมีสิ่งไหนที่จะทำให้ผิดพลาดได้และต่อจากนั้นถ้าแน่ใจก็ค่อยตัดสินใจลงทุน
การคุ้มครองผู้บริโภค ( consumer protection )
รัฐสภาออก พรบ.ในการคุ้มครองผู้บริโภคในปี 1986 และออกกฎหมายในปี 1969
เป้าหมายและจุดประสงค์ของการคุ้มครองผู้บริโภคในปี 1986 คือ จะมีผลคุ้มครองการบริโภคที่น่าสนใจและมีวัตถุประสงค์โดยการสร้างข้อกำหนดในการก่อตั้งสภาผู้บริโภค ( consumer councils) และปกป้องในกรณีที่เกิดเรื่องที่เกี่ยวกับการบริโภค
ความหมายของคำว่า “consumer” คือ
- การซื้อสินค้าโดยการจ่ายหรือสัญญา หรือ จ่ายบางส่วนสัญญาบางส่วน หรือภายใต้ระบบของการรอจ่าย และรวมถึงผู้ที่ใช้สินค้าอื่นที่ไม่ใช่ตัวบุคคลที่ สินค้าโดยการจ่ายหรือสัญญา หรือ จ่ายบางส่วนสัญญาบางส่วน หรือภายใต้ระบบของการรอจ่าย แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ต้องการนำสินคาไปขายใหม่หรือมีจุดประสงค์ทางธุรกิจ
- ค่าเช่าหรือผลกำไรจากการให้บริการโดยการจ่ายหรือสัญญา หรือ จ่ายบางส่วนสัญญาบางส่วน หรือภายใต้ระบบของการรอจ่ายและรวมถึงการหาผลประโยชน์จากการให้บริการมากกว่าตัวคน(ที่ให้เช่าหรือหาผลกำไร)จากการจ่ายหรือสัญญา หรือ จ่ายบางส่วนสัญญาบางส่วน หรือภายใต้ระบบของการรอจ่าย เมื่อการให้บริการได้ผลกำไรจากที่อ้างถึงครั้งแรก ( แต่จะไม่รวมถึงคนที่หากำไรจากการบริการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า)
( อธิบาย: สำหรับจุดประสงค์ของคำว่า “commercial purpose” จะไม่รวมถึงผู้บริโภคซื้อสินค้าและใช้เองและบริการที่ต้องการผลกำไรเอง โดยเฉพาะจุดประสงค์ที่ได้มาจากการประกอบอาชีพ , การรับจ้างส่วนตัว
บุคคลที่อยู่ภายใต้ความหมายที่กล่าวมาแล้วของผู้บริโภคจะให้สิทธิในการคุ้มครองจากการคุ้มครองผู้บริโภค 1986 จะได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมายที่ใช้บังคับตามนี้
- ได้รับความเป็นธรรมในการได้รับสินค้าฟรีที่มีความเสียหาย
- ได้รับความเป็นธรรมในการได้รับบริการฟรีที่มีความเสียหาย
- ได้รับความเป็นธรรมในการต่อต้านสินค้าและบริการในตลาดที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
- ได้รับความเป็นธรรมในการรับรู้ข้อมูลในด้านปริมาณ , คุณภาพ , ความแรง, ความบริสุทธิ์ , มาตรฐานและราคาสินค้าหรือบริการและในรายที่ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้สินค้า
- ได้รับความเป็นธรรมในการประกันกรณีที่สินค้าและบริการมีการแข่งขันในหลายราคา
- ได้รับความเป็นธรรมในการได้ยินและประกันผลประโยชน์ของผู้บริโภค
- ได้รับความเป็นธรรมในการได้รับการชดใช้ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรมหรือการแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่มีจรรยาบรรณจากผู้บริโภค
- การให้ความรู้แก้ผู้บริโภค
หมายเหตุ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลองค์กรผู้บริโภค สามารถตรวจสอบข้อมูลจากต้นฉบับที่แนบมานี้
Relate topics
- มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง The Global Alliance Against Traffic in Women (GAATW)
- สมาคมองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาคพื้นเอเชีย - แปซิฟิคAsia-Pacufic NGO on Drug and Substance Abuse Prevention
- องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคBelgium European Consumers’ Organazation (BEUC)
- องค์กรผู้บริโภคสากล Consumers International (CI)
- องค์กรผู้บริโภคThe Consumers' Association of Ireland