องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศเบลเยี่ยม : Belgium European Consumers’ Organazation (BEUC)
ประวัติ :
BEUC เป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคระดับสหประชาชาติ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 1962 โดยองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ Belgium , Luxembourg , France , the Natherlands , Italy และ Germany ริเริ่มก่อตั้งจากการชักชวนของรัฐสภายุโรป เพื่อประโยชน์ทางการค้า อุตสาหกรรมและการเพาะปลูก ขณะนี้ดำเนินงานมา 46 ปี เพื่อพิทักษ์สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค 8 ข้อ ดังนี้
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารครบถ้วน
- สิทธิในการเลือกสินค้าและบริการอย่างเสรี
- สิทธิที่จะร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต
- สิทธิที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย
BEUC ไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของสหประชาชาติ 30 ประเทศของยุโรป แต่จะคัดเลือกจากคณะทูตในกรุงบรุซเซล หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่แทนสมาชิก และป้องกันผลประโยชน์ของผู้บริโภคชาวยุโรป BEUC จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตสินค้าและบริการ ผู้ผลิตควรจะขายสินค้าและบริการด้วยความยุติธรรม และผู้บริโภคควรจะพยายามพิทักษ์สิทธิ์ของตนเอง
BEUC ทำงานโดยยึดแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเอาใจใส่ในเกียรติของมนุษย์ และพยายามเอาใจใส่ผู้บริโภคที่อ่อนแอ เช่น เด็ก คนชรา และผู้ด้อยโอกาส การทำงานของ BEUC เน้นทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการรับผิดชอบต่อการบริโภคหรือจริยธรรม
ในยุโรป BEUC จะมีส่วนร่วมในกลุ่มให้คำปรึกษาของ European commission และภายนอกยุโรป BEUC จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับองค์กรที่คุ้มครองผู้บริโภคระดับนานาชาติ เช่น Consumer international (CI) โดยมีบทบาทใน TransAtlantic Consumer Dialouge (TACD)
วัตถุประสงค์ :
เพื่อดูแลความปลอดภัยของอาหารและ ความไม่เป็นธรรมทางการค้า
วิสัยทัศน์ :
ทำตามคำเรียกร้องของผู้บริโภคชาวยุโรป
พันธกิจ :
องค์กรมีความมุ่งมั่นที่จะป้องกันและส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์ต่อผู้บริโภคชาวยุโรป ที่เป็นผู้ซื้อ หรือผู้ใช้สินค้าและบริการ โดย BEUC จะมีส่วนร่วมใน EU policy process เกี่ยวกับการสนับสนุนโดยตรงทางเศรษฐกิจ หรือ ด้านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ค้นหาผลประโยชน์สูงสุดของ Single European Market โดยควบคุมให้ผู้บริโภคเกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด และเน้นการเพิ่มคุณภาพของสังคมและจริยธรรม
ขอบเขตการทำงาน :
เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
แผนกลยุทธ์ COMSUMER POLICY ของ BEUC ปี 2007-2013 มีดังนี้
- ทบทวนเกี่ยวกับ Consumer acquis
- ผลักดัน Consumer law ให้พัฒนาไปสู่ระดับนานาชาติ
- พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับ Consumer Oriented Research
- ควบคุมการรายงานเกี่ยวกับกลไกการบริโภคสินค้าและบริการ และการคุ้มครองผู้บริโภค ใน EU Market
- เพิ่มแรงผลักดันใหม่ในการปรับปรุงการรวม Consumer Policy ให้เข้ากับ Policy อื่น ๆ
- ปรับปรุง consumer input เช่น financial service, transport, energy, international trade/WTO เป็นต้น
- พยายามปรับปรุงกลไกการบริโภคผ่านทาง Single Market และทำให้มีผลบังคับใช้
- หาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอิสระเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ (เพิ่มสมาชิก)
- บริการด้าน general interest รวมถึงทำการวิจัย และติดตามผลกระทบที่ตามมา
- แก้ไขสัญญาในด้านความปลอดภัยและด้านหนี้สินของผู้บริโภคให้มีความถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น
- ส่งเสริมทางเลือกด้านสุขภาพ โภชนาการ รวมถึงส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อทางเลือกด้านสุขภาพ
Relate topics
- มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง The Global Alliance Against Traffic in Women (GAATW)
- สมาคมองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาคพื้นเอเชีย - แปซิฟิคAsia-Pacufic NGO on Drug and Substance Abuse Prevention
- องค์กรผู้บริโภคCCGS( CAPITAL CONSUMER GUIDANCE SOCIETY)
- องค์กรผู้บริโภคสากล Consumers International (CI)
- องค์กรผู้บริโภคThe Consumers' Association of Ireland