องค์กรอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของอังกฤษ ( UK CONSUMER ASSOCIATION : WHICH? )
WHICH? เป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่มีบทบาทสําคัญ และเป็นองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศอังกฤษ เดิมองค์กรนี้ คือ สมาคมผู้บริโภค หรือ CONSUMER’S ASSOCIATION ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1957 หรือประมาณ 51 ปีมาแล้ว ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทํางานประมาณ 500 คนโดยทํางานในก London Hertford และ Edinburgh โดยมีสมาชิกขององค์กรประมาณ 650,000 คน องค์นี้จดทะเบียนเป็นองค์กรการกุศล ทำหน้าที่ตอบสนองข้อร้องของผู้บริโภคและให้บริการแก่สมาชิกขององค์กร
WHICH? เป็นสมาชิก BEUC หรือ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งยุโรป (BUREAU EUROPEAN DES UNIONS DE CONSUMMATEURS) และเป็นสมาชิกสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (CONSUMERS INTERNATIONAL) โดยมีลักษณะเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากําไร (NOT FOR PROFIT ORGANIZATION) มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ โดยรายได้หลักได้จากการขายหนังสือ มีรายรับขององค์กรประมาณ56 ล้านปอนด์ต่อปี (หรือ 3,920 ล้านบาทต่อปี) มีลักษณะเป็นองค์กรอิสลระโดยสมบูรณ์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล ทำงานในนามของผู้บริโภค
WHICH? เป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมากในประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะด้านข้อมูลผู้บริโภคที่มีความเป็นอิสระและครบถ้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยมีข้อมูลทั้งด้านสินค้าและบริการ มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ทั้งนี้ในการดําเนินงานจะไม่มีการรับโฆษณาใดๆ จากภาคธุรกิจในการโฆษณาสินค้าหรือบริการในเอกสาร หรือหนังสือที่จัดทำโดย WHICH? แสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค
สินค้าและบริการของ WHICH?
- WHICH? แมกกาซีน มีสมาชิกกว่า 500,000 คน ราคา 12 ฉบับ 75 ปอนด์
- WHICH? Online มีสมาชิกกว่า 100,000 คน สมาชิก 52.25 ปอนด์ ไม่ใช่สมาชิก 85.25 ปอนด์
- Holiday Which? ราคา 4 ฉบับ 24 ปอนด์
- Computing Which? ราคา 6 ฉบับ 31 ปอนด์
- Gardening Which? ราคา 10 ฉบับ 25 ปอนด์
- Which? หนังสือต่างๆ
โดยรวมแล้วมีสมาชิกมากกว่า 1,000,000 คน
การให้บริการด้านกฎหมาย
สมาชิก ครั้งละ 39 ปอนด์ ไม่ใช่สมาชิก ครั้งละ 51 ปอนด์ ในแต่ละสัปดาห์ Which? ได้รับโทรศัพท์ 8,000 ครั้ง , E - mail 900 ครั้ง และจดหมาย 220 ฉบับ ทั้งนี้ในแต่ละปีได้รับการติดต่อ 650,000 ครั้ง
การรณรงค์ของ Which?
ในการดํ าเนินงานกว่า 40 ปี มีผลงานที่สํ าคัญในการผลักดันให้เกิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ดังนี้ :
- พรบ. สัญญาที่ไม่เป็นธรรม
- พรบ. ความปลอดภัยของผู้บริโภค
- พรบ. การแข่งขันทางการค้า
- พรบ. ส่งเสริมการให้บริการและสินค้า
- การส่งเสริมให้เกิดการมีใบอนุญาตรถแท็กซี่เช่าส่วนบุคคล
ปี คศ. 2000 – 2004 ทําให้เกิด
- สถาบันมาตราฐานด้านอาหาร
- การชดเชยเงิน 1 พันล้านปอนด์ต่อผู้บริโภคที่ได้ลงทุนซื้อขายแล้วเกิดการฉ้อโกง
- การควบคุมให้เกิดการแนะนําด้าน MURTAGE
- การทบทวนการให้บริการทันตกรรมใน สก็อตแลนด์
- การมีฉลากที่ชัดเจนของอาหารGM
- พรบ.ข้อมูลข่าวสาร (FREEDOM OF INFORMATION ACT) เกิดขึ้นในเดือนมกราคมคศ. 2005
ในการรณรงค์ของ Which? ให้ลํ าดับความสํ าคัญ ดังนี้
- เรื่องการเงินของบุคคล (PERSONAL FINANCE)
- อาหาร
- สุขภาพ
- การซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค (CONSUMER MARKET)
การเงินของบุคคล (PERSONAL FINANCE)
การรณรงค์ในเรื่องนี้เพื่อสร้างหลักประกันว่า ผู้บริโภคได้รับการปกป้องคุ้มครองเมื่อใช้บริการด้านการเงิน เช่น
- นโยบายการลงทุน
- สินเชื่อบุคคล
- คําแนะนำ
- การชดเชย
- สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้คุณภาพมาตราฐาน (Dodgy products and dodgy practice)
- ฝากเงินระยะยาว
อาหาร
เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย , มีคุณค่า , มีคุณภาพ , สามารถจะซื้อหาได้ไม่แพงเกินไป โดยให้มีผลดีต่อสุขภาพ และมีการให้ข้อมูลเพื่อเกิดการเลือกในการตัดสินใจทั้งนี้เน้นในเรื่องของการควบคุมและโรคอ้วน อาหารจีเอ็ม อาหารปลอดภัย
สุขภาพ
การรณรงค์ให้ความสํ าคัญกับการที่ผู้ป่วยจะได้รับข้อมูล และเข้าถึงการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตราฐานสูง ประกอบด้วย ด้านทันตกรรม การเข้าถึงยาที่มีคุณภาพและปลอดภัย บริการที่มีคุณภาพและการชดเชยเมื่อได้รับความเสียหายตลาดของผู้บริโภค ผู้แทนจํ าหน่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ (ESTATE AGENTS) , การปฏิรูปกฎหมาย , การร้องเรียนแบบ Super complaints , รถยนต์ และการค้าขาย
การรณรงค์เพื่อผู้บริโภค
จะต้องทําให้นโยบายไปสู่การปฎิบัติจะต้องมีผลต่อรัฐบาล , องค์กรด้านกฎหมาย , ภาคอุตสาหกรรมและอื่น ๆ จะต้องกระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้าร่วมและต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคด้วยตนเองจะต้องร่วมมือกับภาคีต่างๆ
Relate topics
- มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง The Global Alliance Against Traffic in Women (GAATW)
- สมาคมองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาคพื้นเอเชีย - แปซิฟิคAsia-Pacufic NGO on Drug and Substance Abuse Prevention
- องค์กรผู้บริโภคCCGS( CAPITAL CONSUMER GUIDANCE SOCIETY)
- องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคBelgium European Consumers’ Organazation (BEUC)
- องค์กรผู้บริโภคสากล Consumers International (CI)