ฐานข้อมูล

องค์กรผู้บริโภค (Consumer Utility of Trust Society)ประเทศอินเดีย

by twoseadj @March,10 2009 01.55 ( IP : 203...20 ) | Tags : ฐานข้อมูล

Consumer Utility of Trust Society (CUTS) ไม่ใช่องค์กรของรัฐ เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร และก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 ในเมือง Rajasthan ประเทศอินเดีย โดยเริ่มพัฒนาจากหมู่บ้านในชนบท องค์กรนี้ก่อตั้งโดยกลุ่มอาสาสมัครกลุ่มเล็ก ๆ  ซึ่งไม่มีงบประมาณสนับสนุน จนปัจจุบันมีงบประมาณมากกว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้มีการพัฒนายาวนานมากว่า 20 ปี องค์กรมีเครือข่ายในหลายประเทศ เช่น อินเดีย แอฟริกา แคนยา อังกฤษ เวียดนาม แต่ CUTS เป็นองค์กรเอกชนเดียวในอินเดียที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ปัจจุบัน CUTS มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 130 คน ซึ่งหนึ่งในสามเป็นผู้หญิง และผู้หญิงยังได้รับตำแหน่งเป็นผู้จัดการด้วย

Consumer Utility of Trust Society (CUTS) ไม่ใช่องค์กรของรัฐ เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร และก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 ในเมือง Rajasthan ประเทศอินเดีย โดยเริ่มพัฒนาจากหมู่บ้านในชนบท องค์กรนี้ก่อตั้งโดยกลุ่มอาสาสมัครกลุ่มเล็ก ๆ  ซึ่งไม่มีงบประมาณสนับสนุน จนปัจจุบันมีงบประมาณมากกว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้มีการพัฒนายาวนานมากว่า 20 ปี องค์กรมีเครือข่ายในหลายประเทศ เช่น อินเดีย แอฟริกา แคนยา อังกฤษ เวียดนาม แต่ CUTS เป็นองค์กรเอกชนเดียวในอินเดียที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ปัจจุบัน CUTS มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 130 คน ซึ่งหนึ่งในสามเป็นผู้หญิง และผู้หญิงยังได้รับตำแหน่งเป็นผู้จัดการด้วย

วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่ให้ความเป็นธรรมและความเสมอภาคแก่ผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ

องค์กรมีหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. คุ้มครองผู้บริโภค
  2. การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนา
  3. แข่งขัน การลงทุน และกฎเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
  4. การพัฒนามนุษย์
  5. ความปลอดภัยของผู้บริโภค

ทรัพยากรขององค์กร

  1. มีศูนย์กลางการทำงานอยู่ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย 7 แห่ง แอฟริกา 2 แห่ง อังกฤษ 1 แห่ง และเวียดนาม 1 แห่ง องค์กรมีห้องทำงานประมาณ 20000 ห้อง ซึ่งมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน
  2. มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 140 คน ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานและมีอำนาจในการตัดสินใจ
  3. องค์กรมี website ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
  4. องค์กรมีการจัดพิมพ์หนังสือ และวารสารขององค์กรเอง
  5. องค์กรมีการประชุมร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ในระดับนานาชาติ
  6. องค์กรมีการสร้างแนวทางการปฏิบัติให้กับองค์กรในหน่วยงานอื่น ๆ

รายได้ขององค์กร

  1. ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล เช่น WHO รัฐบาลสวีเดน รัฐบาลสวิตเซอร์แลน
  2. ได้รับการจัดสรรจากเอกชน เช่น Christian Aid,UK และ EZE, Germany

ค่านิยมขององค์กร

  1. ทำให้สมาชิกได้มีการค้นคว้าวิจัย และเป็นทนายความคอยแก้ต่างคดีให้
  2. ช่วยแก้ต่างคดีความที่รุนแรง กลายเป็นไม่รุนแรง
  3. องค์กรมีความมั่นใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
  4. องค์กรแก้ปัญหาโดยเน้นบริเวณที่เป็นช่องโหว่
  5. องค์กรให้มีการยึดหลักในการปฏิบัติอย่างเหนียวแน่น
  6. ทำให้สมาชิกได้มีการค้นคว้าวิจัย โดยมีการเชื่อมโยงเครือข่าย
  7. กระตุ้นการทำงานในระดับนานาชาติ เพื่อช่วยผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

สิ่งที่องค์กรคาดหวัง

  1. มีการเผยแพร่ข้อมูลขององค์กรทั้งในรูปแบบของวรรณกรรม หนังสือพิมพ์ หรือรายงานวิจัย เพื่อให้สามารถเผยแพร่ไปยังผู้อ่านได้
  2. แต่ละศูนย์ขององค์กรมีการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ เช่น จดหมายข่างของแต่ละองค์กร
  3. มีการสร้างเครือข่ายการทำงาน จากระดับย่อยในหมู่บ้าน เป็นระดับรัฐ ระดับชาติ และรับนานาชาติ
  4. มีการประชุมสัมมนากันในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน โดยมีสมาชิกเข้าร่วม 5-6 คน จนถึงระดับนานาชาติ ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมมากกว่า 350 คน

บทบาทขององค์กรด้านคุ้มครองผู้บริโภค

พันธกิจ

ให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิงมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการขั้นพื้นฐาน และพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภค

หน้าที่

  1. พัฒนานโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอินเดีย
  2. ตรวจสอบการทำหน้าที่ ความรับผิดชอบ จากการวิเคราะห์งบประมาณ
  3. ให้อำนาจในการพัฒนากระบวนการการทำงาน
  4. ให้ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน
  5. ใช้หลักธรรมาภิบาลในการทำงาน

การวางแผนในอนาคต

  1. มีการทำงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานของทีม
  2. การให้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง และเหมาะสม
  3. ทำให้ผู้บริโภคมีความเข้มแข็งในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

บทบาทขององค์กรด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค

พันธกิจ

ทำให้ประชาชนมีการใช้สินค้า บริการ และสิ่งแวดล้อมที่มีความปลอดภัย

หน้าที่

  1. กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยแห่งชาติ เช่น National Road Safety Policy
  2. การติดตามการทำงานด้านความปลอดภัยว่าเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่

การวางแผนในอนาคต

  1. มีการตีพิมพ์หนังสือด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค
  2. กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคที่สอดคล้องกับประโยชน์ที่ต้องการได้รับ
  3. มีการดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคระดับชาติ ตามนโยบายของประเทศ
  4. สร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง