ฐานข้อมูล

สมาคมผู้บริโภคของเนเธอร์แลนด์ (Consumentenbond the Dutch consumer organisation)

by twoseadj @March,10 2009 01.02 ( IP : 203...20 ) | Tags : ฐานข้อมูล

สมาคมผู้บริโภค ( Consumentenbond ) ของเนเธอร์แลนด์

ประวัติและพันธกิจของ Consumentenbond องค์กร Consumentenbond (CTB) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2496 (คศ. 1953) ขณะก่อตั้งมีสมาชิกเพียง 141 คน มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขององค์กรในปี พ.ศ. 2505 เมื่อถูกบริษัทบุหรี่ฟ้องร้อง กรณีเผยแพร่งานวิจัยที่มีผลกระทบต่อบริษัทบุหรี่ จนได้รับความเห็นใจจากประชาชนและทำ ให้มีการยอมรับและสนับสนุน CTB มากขึ้น

องค์กรมีพันธกิจสำคัญคือ ต้องการเสริมสร้างให้ผู้บริโภคมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ และการซื้อผลิตภัณฑ์ในสังคมโดยจะต้องสร้างเกิดความเป็นธรรม ทั้งนี้การได้รับความเป็นธรรมดังกล่าวจะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องยั่งยืน

องค์กรมีสมาชิกในหลายลักษณะประกอบด้วย

  1. สมาชิกในระดับครัวเรือนมีถึง 600,000 ครัวเรือนที่เป็นสมาชิกขององค์กร ซึ่งหมายถึงร้อยละ 10 ของประชากรของประเทศ องค์กร CTB เป็นองค์กรผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป
  2. มีสมาชิกวารสารแนะนำ ด้านการเงิน (Money guide) รวมถึง 75,000 คน
  3. มีสมาชิกวารสารแนะนำ การเดินทาง (Travel guide) รวมถึง 36,000 คน
  4. มีสมาชิกวารสารด้านสุขภาพ (Health Magazine) รวมถึง 43,000 คน
  5. มีสมาชิกวารสารด้านดิจิตอล (Digital Magazine) รวมถึง 43,000 คน

ในปี พ.ศ. 2547 ได้ขายหนังสือ และซีดีรอมรวม 135,000 ชิ้น ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ รวม 270 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำ รวม 200 คน

ลักษณะองค์ประกอบสำคัญของ CTB  คือ

  1. เป็นองค์กรที่เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเงินของธุรกิจใด
  2. มีความซื่อตรงและซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคในการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคตามพันธกิจขององค์กร
  3. มีความเป็นวิชาชีพ (Professionalism) มีผลงานวิจัยที่บอกถึงการเลือกใช้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ
  4. มีจุดมุ่งหมายชัดเจนที่จะทำ ประโยชน์เพื่อความต้องการของผู้บริโภค
  5. มีความเป็นกลาง (Factual) แต่จะรักษาจุดยืนการทำ งานเพื่อผู้บริโภค

ภารกิจความรับผิดชอบที่สำคัญ

  1. การให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค โดยผ่านทางวารสารและหนังสือ
  2. การให้บริการด้านกฎหมายแก่ผู้บริโภคเป็นรายบุคคล
  3. การศึกษาวิจัยโดยเฉพาะการทดสอบผลิตภัณฑ์ (product testing)
  4. กิจกรรมระดับสากล ให้การส่งเสริมและสนับสนุนงานระดับสากล
  5. การรณรงค์โดยเน้นหลักการทำ ให้เกิดกลไกกฎหมายในระดับประเทศ

CTB สนับสนุนสิทธิผู้บริโภค โดยเป็นตัวแทนผู้บริโภคต่อการพิทักษ์สิทธิดังกล่าว ประกอบด้วย

  1. การเข้าถึง (Access)
  2. การมีโอกาสเลือก (Choice)
  3. การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง (Information)
  4. การให้การศึกษา (Education)
  5. ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย (Safe products)
  6. การชดเชยเมื่อเสียหาย (Redress)
  7. การเป็นตัวแทนผู้บริโภค (Representation)
  8. ความยั่งยืน (Sustainability)

การเคลื่อนไหวที่สำคัญ

  • มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมการรณรงค์ผู้บริโภคต่อองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ เช่น
  • การรณรงค์ให้องค์กรรัฐด้านคุ้มครองผู้บริโภค หรือสมาชิกรัฐสภาของสหภาพยุโรปมีการแสดงบทบาทหรือมีเขี้ยวเล็บมากขึ้น
  • การเคลื่อนไหวให้กระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทต่อคุณภาพชีวิตของเยาวชนโดยเฉพาะด้านการโภชนาการ

การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีการหยั่งรากมาอย่างมั่นคง โดยในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาองค์กรผู้บริโภคได้มีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้การคุ้มครองผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณและศักดิ์ศรีของผู้บริโภค การเลือกตัดสินใจได้ด้วยตนเองของผู้บริโภคมากกว่าการที่จะต้องให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคจากรัฐเน้นหนักบทบาทกลไกของตลาดและไม่พึ่งพิงกฎหมายมากนัก ทั้งนี้นโยบายของ CTB จะเน้นหนักในเรื่องของการตลาดที่ให้เสรีภาพภายใต้ความต้องการของผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในมุมมองของสหภาพยุโรป

หลักสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย

  1. กฎหมายผู้บริโภค

    มีการแยกความแตกต่างของการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับชาติและระดับของสหภาพยุโรป ขณะนี้มีผลเพิ่มขึ้นจากการดำ เนินการของสหภาพยุโรป โดยกระทบต่อความเป็นตลาดเดี่ยว การให้เกิดการมีอิสระของตลาดผลิตภัณฑ์และบริการ การบูรณาการกฎหมายในหมู่สมาชิกของสหภาพยุโรปให้มีความสอดคล้องกัน  ตัวอย่างของการบังคับใช้กฎหมายของสหภาพยุโรป เช่น การโฆษณาที่ไม่เป็นจริงและการเปรียบเทียบ,การขายตรง (DOOR-TO-DOOR SELLING), สินเชื่อผู้บ ริโภค, ชุดบริการการ        ท่อง เที่ยว, สัญญาที่ไม่เ ป็น ธรรม,สัญญาข้ามประเทศ, พาณิชย์อีเล็คทรอนิคส์, การขายและการประกันคุณภาพ

  2. การดูแลควบคุมตนเอง (Self  regulation) และความร่วมมือกับควบคุม (Co-regulation)

    • มีประวัติศาสตร์ท ี่ยาวนาน (THE DUTCH “POLDERMODEL” ) ทั้งนี้มีการตกลงระหว่างผู้แทนภาคธุรกิจและองค์กรผู้บริโภค
    • ทัศนะทั่วไปของรัฐบาลคือ การปล่อยให้เกิดการตกลงในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในตลาดสินค้าและบริการให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้จะใช้กฎหมายเมื่อจำเป็นเท่านั้น
    • มีการสร้างกฎเกณฑ์ปฏิบัติของกลุ่ม ธุรกิจ ตัวอย่างเช่น  การสร้างกติกาการโฆษณาไม่ให้        เป็นเท็จหรือเกินจริง, การทำ สัญญาที่ไม่เป็นธรรม, การสร้างระบบอนุญาโตตุลาการ เพื่อการชดเชยกรณีเสียหาย หรือ ADR(ADVERSE DISPUTE RESOLUTION) เช่น สถาบันส่งเสริมข้อปฏิบัติการโฆษณาของดัทช์ (DUTCH DVERTISING CODE FOUNDATION) และ สถาบันเกี่ยวกับการระวังกรณีพิพาท FOUNDATION ON ADR มีองค์กรรับเรื่องร้องเรียนถึง 30 ด้าน
  3. กฎหมายเฉพาะ เช่น กฎหมายเสริมการตัดสินใจ และการพิจารณาองค์กรดูแลเพื่อชดเชยความเสียหายนอกเหนือขอบเขตของศาล

การพัฒนาปัจจุบัน : กลยุทธการทำ งาน

  1. การรณรงค์ของ CTB (ณ ป  2546) เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคและการพัฒนาสถานะกฎหมายด้านผู้บริโภคเกี่ยวข้อ งกับช่องว่างระหว่างสิทธิเชิงทฤษฎีที่มีในกระดาษหรือเขียนไว้ในกฎหมายกับความเป็น จริงของสิทธิที่ผู้บริโภคได้รับ โดยมีเป้าประสงค์ 2 ประการ

    • รัฐบาลต้องยอมรับและมีความรับผิดชอบต่อสิทธิของผู้บริโภคตามปรากฏไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
    • รัฐบาลต้องดำเนินการกับการทำ ธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมและไม่คุ้มครองผู้บริโภคถ้าหากกฎหมายมีอยู่ไม่พอเพียงก็ต้องจัดทำกฎหมายใหม่

    องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบจะทำ หน้าที่ตามอำนาจที่กำหนดในปี 2549 ทั้งนี้ การทำ ธุรกิจที่ละเมิดต่อผู้บริโภคจะถูกดำเนินการให้ยุติลง โดยผลกระทบจะขยายไปถึงระบบของสหภาพยุโรปในช่วงต่อไปด้วย

  2. ข้อเสนอที่มีต่อกฎหมายและสหภาพยุโรป โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำ ธุรกิจข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ (CROSS BORDER) กำหนดให้ผู้บริโภคได้รับการดูแลจากการร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่มีหน้าที่ของแต่ละประเทศ โดยรวมถึงการควบคุมบังคับใช้กฎหมายของแต่ละประเทศ ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการยอมรับให้มีการบังคับใช้เพื่อดำเนินการ

    ข้อกำหนดเชิงนโยบายของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการค้าไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคได้รับการยอมรับให้มีการบังคับใช้ ในช่วงที่มีการปฏิบัติการบังคับใช้ขณะนี้ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในประเทศเนเธอร์แลนด์เกี่ยวกับประเด็นการปฏิรูป (RENEW) ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศเนเธอร์แลนด์ในเรื่องต่อไปนี้

    1. อะไรคือบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอำ นาจควบคุมบังคับใช้กฎหมาย รวมไปถึงองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่กำกับ ตรวจสอบ แนะนำ (SUPERVISORYG BODIES) ผู้ปฏิบัติการและองค์กรอื่นๆ
    2. ทำอย่างไรที่จะเข้าถึงระบบที่ยุติธรรมต่อการคุ้มครองผู้บริโภคและกลไกแก้ปัญหากรณีพิพาท ร้องเรียน (ADR)จะได้รับการปรับปรุงอย่างไร
    3. ทำอย่างไรที่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของผู้บริโภคและผู้ประกอบการจะได้รับการปรับปรุง
    4. ทำอย่างไรที่ข้อร้องเรียนของผู้บริโภคกรณีแก้ปัญหาจากสินค้า และบริการจากผู้ประกอบการจะได้รับการแก้ไขให้มีประสิทธิภาพ

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง