รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-018
งวดที่ 1
แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)
ชื่อโครงการ แผนงานการสื่อสารสาธารณะ
กิจกรรม | ผลงาน (ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี) | ผลสรุปที่สำคัญ | ประเมินผล คุณภาพกิจกรรม | |||
---|---|---|---|---|---|---|
4 | 3 | 2 | 1 | |||
ประชุมกลุ่มย่อยแผนงานการสื่อสารสาธารณะ | วันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำคณะประสานงานกลางและแผนงานสื่อได้ร่วมวางแนวทางที่จะต้องทำตามแผนการสื่อสารใน 4 ประเด็นหลักตามขั้นตอนคือ 1.การสร้างเครือข่ายสื่อ ซึ่งต้องมีกิจกรรม
2.การนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลประเด็นสุขภาวะอาหารในวงกว้าง ทั้งความมั่นคง ความปลอดภัย และกินตามวัย โดย
3.การบูรณาการระบบข้อมูลทั้งwebsite social media 4.การจัดตลาดนัดความรู้ โดย ทีมกลางสจรส. |
ได้ผลสรุปในการจัดการตามแผนดังนี้
ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา งบประมาณประเด็นสื่อสาธารณะน้อยมาก โดยเฉพาะการเผยแพร่campaign ผ่านสื่อต่างๆจำเป็นต้องมีค่าตอบแทนสำหรับการเปิดสปอต และการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แนวทางแก้ไข การเพิ่มงบประมาณหรือ อาจต้องเป็นการขอความร่วมมือจากสื่อ ซึ่งจะมีความไม่แน่นอนในการประชาสัมพันธ์ให้โครงการ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการบูรณาการอาหาร | วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำหารือร่วมกันในเวทีประชุมโดย
|
ได้ข้อเสนอดังนี้
เพิ่มเติมในส่วนข้อแนะนำให้ทีมสื่อไปจัดทำcampaignเอง
ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา คณะทำงานตามแผนมีสิ่งที่จะต้องทำในหน้าที่ของตัวเอง มีเป้าหมายของแผนงานของตัวเอง จนขาดความเป็นเป้าหมายเดียวที่จะให้เกิดความเข้าใจตรงกันในคำว่าบูรณาการด้านอาหาร และสุขภาวะด้านอาหาร ยังไม่มีเป้าหมายร่วมที่จะสร้างกระแสในสังคมได้ แนวทางแก้ไข ทีมสื่อและทีมประสานงานกลางควรต้องมีการจัดเวที Food Forum เพื่อการหารือและพูดคุยเพื่อให้เกิดเป้าหมายร่วมและนำไปสู่คำว่าการบูรณาการด้านอาหาร และความเข้าใจที่ตรงกันของคำว่า สุขภาวะด้านอาหาร ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมทีมสื่อ | วันที่ 24 มิถุนายน 2556 เวลา 18:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำประชุมทีมแกนนำสื่อประกอบด้วย |
เกิดข้อคิดสื่อ:จากอดีต-ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมองอาหารเป็นวัฒนธรรม และเป็นสมบัติ อาหารไทยในอดีตก็เช่นเดียวกันคือศาสตร์และศิลป์ ที่เห็นวัฒนธรรมแห่งการให้ มีการสืบทอดที่ถูกใส่ใจด้วยความรัก ทำให้เราได้เห็นคุณค่าจากกระบวนการผลิต รู้รสแห่งความอร่อย สะอาดปลอดภัย และเห็นที่มาของวัตถุดิบที่เราวางใจ ดังนั้น campaign ต้องสื่อให้เห็นคุณค่าแห่งกระบวนการผลิตอาหารที่สามารถบูรณาการภาพเหล่านั้นได้ จึงเป็นที่มาของหัวข้อในประเด็นสำคัญ ที่คิดจากสื่อ คือ อาหารของแม่ เพราะจะทำให้เห็นทุกมิติ และเห็นภาพของการบูรณาการได้ชัดเจนที่สุด จึงเป็นที่มาของcampaign
ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เพิ่มหน้าwebสำหรับโครงการบูรณาการอาหาร | วันที่ 27 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ศึกษา,ค้นคว้า,สัมภาษณ์,ติดตาม ข่าวสารและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลในระดับโลก ระดับประเทศและในระดับพื้นที่ในประเด็นอาหารเพื่อนำมาจัดทำและเขียนลงในหน้าwebหน้าหลักของwww.banbanradio.comเพื่อให้เป็นแหล่งข่าวและเป็นคลังข้อมูลสำหรับเครือข่ายสื่อเพื่อเป็นข้อมูลให้กับช่องทางสื่อในแต่ละสื่อและแต่ละพื้นที่ของแผนงานอาหาร |
1.www.banbanradio.com เป็นคลังเสียงและคลังข้อมูลที่สือได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อวิทยุชุมชนต่างๆ เช่นวิทยุเสียงจะนะ FM.98.50,FM.95.50ต.บ้านนา, FM.88.50 ต.น้ำขาว,FM.91.50หาดใหญ่,FM.96.75asia plusพัทลุง,FM.94.0 สะบ้าย้อย,FM.101,50ต.ท่าข้าม, FM.100.0อ.เมือง,FM.106.50 โชคสมาน,FM.99.25ตใเขารูปช้าง,FM.103.0มวลชนคนเทพา, FM.105.25PS Radioบ้านพรุ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.สามารถทำเวบลิงค์ไปที่เวบไซต์ของสสส ได้หรือไม่ ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมกรรมการบริหารโครงการบูรณาการอาหาร | วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:30ลักษณะกิจกรรมที่ทำ
|
ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมกลุ่มย่อยตามแผน campaign "อาหารของแม่" | วันที่ 29 กรกฎาคม 2556 เวลา 16:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำรายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับcampaignอาหารของแม่โดย
|
ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา
ช่วงเวลาในการประกวดcampaignกระชั้นชิด แนวทางแก้ไข ขยายเวลาการทำcampaignต่อไป ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมนายกสมาคมสมาพันธ์และทีมกลาง ประเด็น"สงขลา วาระอาหารแห่งปี" | วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เวลา 16:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำร่วมหารือกับคุณสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว จ.สงขลา ในฐานะคณะกรรมการบริหารโครงการและ ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ หน่วยงานประสานงานกลาง และแผนงานการสื่อสารสาธารณะในประเด็นการขับเคลื่อน อาหารของแม่ ไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนโดยผ่านระดับนโยบายสู่จังหวัด และ อบจ รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เช่น เทศบาล และ อบต. |
1.campaign อาหารของแม่ เป็นเพียงการจุดประกายสู่สังคมเพื่อให้สังคมตื่นตัวและใส่ใจกับเรื่องการกินดี เพื่ออยู่ดีให้มากขึ้น ให้ความสนใจในเรื่องของอาหารในมิติของคุณค่าและการแบ่งปัน และเป็นการฟื้นความสัมพันธ์ภายในครอบครัวโดยใช้อาหารเป็นเครื่องมือ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ในระดับนโยบาย หรือระดับจังหวัด สสส ควรต้องเข้ามาร่วมขับเคลื่อน เพราะในส่วนแผนงานการสื่อสารเป็นเพียงระดับปฏิบัติการเพื่อการสื่อสารและร่วมผลักดันเท่านั้น ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมกับที่ปรึกษาแผนงานการสื่อสาร ประเด็น อาหารของแม่ | วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.เริ่มประชุมในประเด็นพิพิธภัณฑ์ชะแล้เพื่อหาการสนับสนุนจากหอการค้าและสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว |
1.แผนงานสื่อจะต้องมีโครงสร้างที่แน่ชัดบนสุดคืออาหารของแม่ รองลงมาจะเป็นทีมทำงานโดยมีแผนสื่อเป็นฝ่ายปฏิบัติ และมีคณะทำงานสนับสนุนประมาณ3องค์กรก็พอ เช่น หอการค้า สมาพันธ์และสถาบัน ซึ่งถ้าสื่ออยากทำกิจกรรมอะไรก็สามารถเชื่อมต่อในหน่วยงานต่างๆที่ทั้ง3องค์กรประสานอยู่ได้เลย ปัญหา/แนวทางแก้ไขอาหารของแม่เป็นคำที่สวยงาม แต่ความเข้าใจยังเห็นไม่ชัดเจนในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย จะต้องหาคำอธิบายและต้องทำความเข้าใจคำว่าอาหารของแม่ให้เห็นภาพให้มากที่สุด ข้อเสนอแนะต่อ สสส.อยากให้สสส.ช่วยประชาสัมพันธ์ และร่วมผลักดันในระดับนโยบายด้วย ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมรายการ อสมท.เพื่อชุมชน | วันที่ 5 สิงหาคม 2556 เวลา 14:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำดำเนินรายการร่วมโดยมีการซักถามในประเด็นความสำคัญของที่มาโครงการและมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ฟังได้ร่วมประกวดคำขวัญ หรือวลีเด็ดในหัวข้ออาหารของแม่ |
ทางรายการ และทางสถานีวิทยุ อสมท.F.M.96.5 MHz.จะให้ความร่วมมือประชาสัมพันธ์กิจกรรมการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ รวมทั้งจะให้เวลาอย่างต่อเนื่องที่จะเข้าร่วมรายการหรือนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมในโครงการอาหารต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
รายการพิราบคาบข่าว | วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 08:30ลักษณะกิจกรรมที่ทำชัยวุฒิ เกิดชื่น, จิระภา หนูชัย สัมภาษณ์ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ,อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ เกี่ยวกับโครงการบูรณาการอาหารในรายละเอียดของที่มา และสถานการณ์อาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีปัญหาอย่างไร และได้ทำการประชาสัมพันธ์ประเด็น campaign อาหารของแม่ ซึ่งมองเห็นมิติของอาหารในเชิงคุณค่าว่าคืออะไร และทำไมถึงต้องมีการผลักดันประเด็นอาหาร ไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปี |
1.ได้เผยแพร่และนำเสนอข้อมูลของโครงการบูรณาการอาหารเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านรายการพิราบคาบข่าวและเป็นที่สนใจของฝ่ายรายการ ซึ่งจะนำไปสู่การเสนอข้อมูลจากแผนงานทั้งสาม ในครั้งต่อไป โดยจะมีการนัดแนะเวลาออกอากาศอีกครั้ง ปัญหา/แนวทางแก้ไขเนื่องจากเวลาจำกัดจึงไม่สามารออกอากาศพร้อมกันได้ทุกแผนงาน ดังนั้น ในครั้งต่อไปจะเป็นการนำเสนอการทำงานของแต่ละแผนงานที่กำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ โดยจะนำเสนอช่วงเวลาในที่ประชุมต่อไป ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ถ้า สสส ให้ความสำคัญในประเด็นอาหารและช่วยทำการประชาสัมพันธ์ในระดับประเทศ ทางพื้นที่จะทำงานง่ายขึ้นและทำให้เรื่องของอาหารเป็นค่านิยมที่ทุกคนต้องตระหนัก ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
รายการปักษ์ใต้บ้านเรา(น้ำชาหัวค่ำ) | วันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 18:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำเป็นการดำเนินรายการร่วมกันระหว่างแผนงานการสื่อสารสาธารณะ และแผนงานความมั่นคงทางอาหารโดยร่วมกันนำเสนอความเป็นมาของโครงการ และรายละเอียดสถานการณ์อาหารในปัจจุบัน รวมทั้งการพูดคุยกันในมิติของอาหารเชิงสังคมและวัฒนธรรม และที่มาของcampaign อาหารของแม่ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มผู้ฟังและผู้สื่อข่าวบินหลาให้ร่วมส่งวลีเด็ดเข้าประกวดในโครงการทางรายการปักษ์ใต้บ้านเรา |
ป้าถนอม ศิริรักษ์อายุ87ปี ครูภูมิปัญญาไทย ซึ่งโทรมาร่วมพูดคุยในรายการหลังจากที่ทางโครงการได้นำเสนอเรื่องของอาหารในแง่ของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยได้กล่าวถึงความสัมพันธ์จากอาหารของปู่ย่าตายายในแง่ของมรดกสืบทอดและป้าหนอมได้ปรับสูตรเพิ่มเติมและนำไปสอนนักศึกษา นักเรียนและชาวบ้านที่สนใจซึ่งมีคุณประโยชน์ที่มีค่ามาก ดังนั้นจึงบอกว่ามิติของอาหารในแง่ของคุณค่า การให้ การแบ่งปันจึงเป็นสิ่งสำคัญ และน่าสนใจสำหรับคำว่า อาหารของแม่ เพราะป้าหนอมก็เป็นแม่ที่พยายามถ่ายทอดฝีมืออาหารสู่ลูกๆด้วย ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.สสส ให้ความสำคัญและช่วยประชาสัมพันธ์ให้ หัวข้อของอาหารเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใส่ใจ และตระหนักถึงการกินทุกอย่าง เพื่อทางพื้นที่จะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะทุกคนรู้ว่าตอนนี้สถานการณ์อาหารเป็นสิ่งที่ต้องคำนึง ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมเครือข่ายสื่อชุมชน | วันที่ 8 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำพูดคุยกับแกนนำสื่อวัฒนธรรม 16 คลื่น 16 อำเภอ คือคุณอนุชา พุ่มเสน ผู้บริหารคลื่นเสียงจะนะ เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยแจกโบร์ชัวร์และCD สปอตให้กับคลื่นอื่นๆเพื่อเชิญชวนให้ผู้ฟังตามพื้นที่ให้เข้าร่วมการประกวดวลีเด็ด และขอนัดการประชุมสื่อวิทยุเพื่อชี้แจงที่มาโครงการ |
1.คุณอนุชา พุ่มเสนแกนนำสื่อวัฒนธรรมรับที่จะประสานสื่อวิทยุชุมชนในการประชาสัมพันธ์การประกวดวลีเด็ด และจะประสานรวมทั้งแจกโบร์ชัวร์ให้กับสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นให้ลงข่าวประชาสัมพันธ์การประกวดวลีเด็ดและเสนอข่าวประเด็นอาหารด้วยรวมทั้งจะขอโบร์ชัวร์เพิ่มเพื่อจะไปแจกนักเรียนที่โรงเรียนที่จะนะด้วย ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
รายการบินหลาหาข่าว เวลา 05.00 - 05.30 น. | วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 07:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำคุณชัยวุฒิ คุณสุวรรณี อ.เทพรัตน์ ร่วมพูดคุยในรายการบินหลาหาข่าวกับอ.สถาพรเพื่อประชาสัมพันธ์campaign อาหารของแม่ในการให้ผู้ฟังส่งคำขวัญเพื่อร่วมประกวดวลีเด็ดผ่านทางsms |
คำขวัญและวลีเด็ดจากsms มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่มาจากกลุ่มผู้ฟังบินหลาหาข่าว ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมเครือข่ายสื่อชุมชน | วันที่ 15 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำได้พูดคุยกับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบางฉบับเท่านั้นแต่ได้มีการปรึกษาที่จะนัดประชุมเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น |
ได้โอกาสจากหนังสือพิมพ์โฟกัสเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับอาหารเป็นหลักและเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหา/แนวทางแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออื่นๆจะมีความแตกต่างในบุคลิกของแต่ละสื่อ ดังนั้น การแยกชี้แจง และสอบถามจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมรายการบินหลาหาข่าว(05.00-07.00 น.) | วันที่ 31 สิงหาคม 2556 เวลา 07:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำจัดรายการบินหลาทาง สวท 90.5โดยมีอ.ไพฑูรย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น และคุณสุวรรณี ร่วมรายการพูดคุยกันในประเด็นมิติอาหารในเชิงวัฒนธรรม และอาหารท้องถิ่นของภาคใต้ โดยเปิดรับสายร่วมนำเสนอประเด็นอาหารจากกลุ่มบินหลาในพื้นที่ต่างๆ และตอนท้ายรายการได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรม อาหารของแม่ เชิญชวนผู้ฟังและกลุ่มบินหลาให้ร่วมสนุกในการประกวดวลีเด็ด ส่งผ่าน smsโดยพิมพ์ 24 แล้วส่งมาที่ 4554510 |
ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
บันทึกเทปรายการสภากาแฟ "อาหารของแม่" | วันที่ 4 กันยายน 2556 เวลา 19:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำเป็นการจัดรายการในรูปแบบการสนทนาและพูดคุยกันโดยมีคุณบัญชร วิเชียรศรี คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น คุณอัคคะไกร มหาศรี เจ้าของร้านเจ้เล็ก คุณสมชาย ละอองพันธ์ผู้ประสานงานโครงการบูรณาการอาหาร และคุณสุวรรณี เกิดชื่นแผนสื่ออาหารโดยเริ่มจากการชี้แจงถึงที่มาโครงการ และสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ความประทับใจอาหารของแม่ และcampaign การประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอในหัวข้อ อาหารของแม่ |
1.อาหารของแม่ที่สร้างความประทับใจให้ทั้งผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมรายการ ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหาร และความสัมพันธ์ที่ผ่านอาหารจากแม่สู่ลูก และจะมีการสนับสนุนและถ่ายทอดประเด็นอาหารของแม่ให้แพร่หลาย ก่อนอื่น อย่างแรกที่ควรทำคือทุกคนต้องทำอาหารเป็น ทำอาหารง่ายๆโดยเพิ่มความใส่ใจ เช่นคุณปานจากเจ้าของร้านเจ้เล็ก สอนวิธีการทำอาหารด้วยเทคนิคว่า อย่าทำให้อาหารเค็มเกินไป เพราะถ้าเค็มจะแก้ไขไม่ได้ แต่ถ้าหวานให้หวานมากขึ้นหน่อย นี่คือวิธีง่ายๆที่หมายถึงอาหารของแม่ สัปดาห์ซัก1วันที่ครอบครัวมาร่วมกันทำอาหารด้วยกันสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว สร้างกระแสด้วยกันทั้งจังหวัด ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมสัมภาษณ์ในรายการ อสมท.เพื่อชุมชน | วันที่ 5 กันยายน 2556 เวลา 14:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำจัดรายการในรูปแบบของเวทีเสวนาย่อย มีการนำเสนอความคิดเห็น การถามตอบ และการชี้แจงที่มาโครงการบูรณาการอาหารและสถานการณ์ที่ทำให้ต้องมีประเด็นอาหารให้เป็นวาระสำคัญของจังหวัด และการประชาสัมพันธ์campaign อาหารของแม่ รวมทั้งการเสนอแนะจากหน่วยงานทั้งสองว่าจะช่วยทำให้อาหารของแม่เ ไปถึงระดับนโยบายอย่างไร |
1.เมื่อทุกคนมองอาหารจะมองใน3ระดับคือมีกินไม๊ กินแล้วเป็นอะไรต่อสุขภาพไม๊ และกินตามวัยหรือเปล่า นั่นคือ ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และโภชนาการสมวัย แต่เป็นที่น่าสังเกตุประการหนึ่งซึ่งกำลังวิจัยอยู่คือ อาหารการกินมีผลต่อภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ และในเรื่องIQของเด็กสงขลาอยู่ในอันดับท้ายๆของประเทศแล้ว ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.พื้นที่พยายามที่จะร่วมมือกันเพื่อช่วยผลักดันให้เรื่องของอาหารเป็นวาระของจังหวัด แต่การผลักดันที่จะมีความหนักแน่นมากขึ้นถ้าเพียงแต่ สสสช่วยการสนับสนุนและผลักดันเรื่องของอาหารให้เป็นสาระสำคัญทั้งประเทศ ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมทีมสื่อวิทยุชุมชน และสื่อสิ่งพิม์ท้องถิ่นในประเด็นอาหารของแม่ | วันที่ 8 กันยายน 2556 เวลา 09:30ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ประชุมทีมสื่อวิทยุชุมชนจำนวน15คลื่น โดยได้มีการสร้างเครือข่ายสื่อวิทยุชุมชนร่วมกันภายใต้ชื่อแผนการสื่อสารสาธารณะจังหวัดสงขลา ซึ่งโดยความเป็นจริงยังมีอีกหลายคลื่นที่แจ้งความจำนงเพื่อร่วมเป็นเครือข่าย แต่ไม่สามารถมาประชุมร่วมกันในวันนี้ได้ ดังนั้นจะมีการประชุมครั้งต่อไปเพื่อร่วมกลุ่มเพิ่ม |
1.เกิดเครือข่ายสื่อวิทยุชุมชน ภายใต้แผนการสื่อสารสาธารณะโดยจะมีกิจกรรมสื่อสารร่วมกันและให้ใช้กิจกรรมอาหารของแม่เป็นประเด็นหลัก และให้มีFood Forum ของเครือข่ายสื่อเดือนละ 1ครั้งโดยสัญจรลงในพื้นที่แต่ละสถานี และถ้าพื้นที่มีประเด็นน่าสนใจหรือสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการให้แผนสื่อกลางลงไปให้ความรู้ ทางทีมสื่อกลางก็จะประสานฝ่ายวิชาการ หรือ ข้อมูลจากสจรส.ลงไปในพื้นที่รวมทั้งการพูดคุยในประเด็นอื่นๆด้วย เช่น ช่วยกันแก้ปัญหาของสถานีด้วย ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา
1.ยังขาดสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และสื่ออินเตอร์เน็ต แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ปรึกษาเรื่องรูปแบบรายการmamagoodfood(อาหารของแม่) | วันที่ 22 กันยายน 2556 เวลา 10:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ชี้แจงเกี่ยวกับรายการทีวีที่ทางแผนงานสื่อสารจะผลิตเพื่อเป็นการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลเรื่องอาหารและประชาสัมพันธ์โครงการอาหารของแม่ โดยปรึกษาเรื่องของรูปแบบรายการกับอาจารย์พงศ์เทพ |
1.Mamagoodfood จะเป็นรายการที่เน้นเนื้อหาของความเกี่ยวเนื่องและความสัมพันธ์ของครอบครัว ผ่านอาหารของแม่ โดยรูปแบบรายการจะเป็น4ช่วง ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ควรจะนำเสนอและประชาสัมพันธ์เรื่องความสำคัญของอาหารและคุณค่าแห่งการกินเป็นภาพรวมระดับประเทศ เพื่อพื้นที่จะสื่อสารได้ง่ายขึ้นว่าทำไมถึงต้องใส่ใจกับเรื่องของอาหารให้มากขึ้น ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมรายการ อสมท.เพื่อชุมชน | วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 14:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำแผนงานการสื่อสารสาธารณะร่วมรายการอสมท เพื่อชุมชนโดยมีดีเจประจำรายการคือคุณนงลักษณ์ และผู้ดำเนินรายการร่วมคุณชัยวุฒิ คุณสุวรรณี วิทยากรรับเชิญคือน้องยุ้ยผู้ช่วยชุมชนด้านข้อมูลแหล่งอาหารในพื้นที่ทะเลจะนะ(วรรณิศา จันทร์หอม)น้องเอียดจากกลุ่มละครมะนาวหวาน(สิทธิพงศ์ สังข์เศรษฐ์)ซึ่งได้เล่าถึงสถานการณ์อาหารพื้นที่จะนะ การต้องร่วมคิดกับชุมชนเพื่ออนุรักษ์แหล่งอาหารทะเล และการใช้ละครเป็นเครืองมือในการสร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก เยาวชน และชุมชนในพื้นที่ |
1.ผู้ฟังได้ฟังเรื่องราวจากพื้นที่จะนะเกี่ยวกับการที่พี่น้องในชุมชนต้องลุกขึ้นมาทำข้อมูลของรายได้จากอาหารทะเลว่าที่ผ่านมาชาวประมงมีรายได้มากขนาดไหนซึ่งดูจากรายได้แล้วทำให้ได้รู้ว่าทะเลจะนะเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สมบูรณ์ที่ยังเหลืออยู่ในจังหวัดสงขลา ดังนั้นถ้าหากโครงการพัฒนา(โครงการท่าเรือน้ำลึก2)เกิดขึ้นในพื้นที่เมื่อใด จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรอาหารทางทะเลอย่างแน่นอน ซึ่งจากข้อมูลที่เก็บได้ผลปรากฎว่าในทะเลจะนะมีสัตว์น้ำอยู่ประมาณมากกว่า200ชนิดโดยเฉพาะสัตว์ที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์คือเต่าและปลาโลมาดังนั้นจึงต้องสื่อสารจากชุมชนต่อชุมชน จากชุมชนสู่สังคม จากสังคมสู่คนทั้งจังหวัด เพื่อให้ทุกคนช่วยกันตระหนักและร่วมดูแลทรัพยากรที่มีอยู่ นอกจากนั้นต้องใช้เครื่องมือต่างๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นค่ายถ่ายรูป การทำละครและใช้ละครสื่อสาร ซึ่งเมื่อชาวบ้านหลังจากได้ดูละครแล้วต่างตระหนักว่าเกิดอะไรขึ้นในชุมชน ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ค่ายนิทานอาหาร"กาลครั้งหนึ่ง... เมื่ออาหารแปลงร่าง" | วันที่ 18 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง เมื่ออาหารแปลงร่าง" ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2556 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และ โรงพยาบาลจะนะ โดยมีคุณครู ผู้ปกครองที่สนใจ เด็กๆและเยาวชน ผู้เข้าร่วม และวิทยากร จำนวนทั้งสิ้น 50 คน และเด็กๆ เยาวชนและผู้ปกครองร่วมกิจกรรมที่โรงพยาบาลจะนะ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน |
1.มีการบูรณาการ และร่วมกันวางแผนระหว่างแผนสื่อและศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตลอดการเตรียมงานตั้งแต่เริ่มต้นคิดที่จะทำค่ายนิทาน การเตรียมวิทยากร การประชุมกับโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ การวางรูปแบบค่าย การประสานงานงานพื้นที่ การติดต่อสถานที่ จนถึงวันอบรม และการแสดงconcertนิทาน และวางแผนร่วมกันต่อไปที่จะพัฒนานิทานของคุณครูเพื่อที่จะจัดทำเป็นหนังสือนิทาน และCD นิทานที่จะส่งไปยังโรงเรียนต่างๆในพื้นที่เพื่อให้เด็กๆทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ลงพื้นที่ขะแล้เพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์การคืนข้อมูลของอาจารย์ลัดดา | วันที่ 29 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำในพื้นที่มีเฉพาะผู้ปกครองที่เข้ามาร่วมเวที นอกจากนั้นการเตรียมเครื่องเสียงไม่พร้อมที่จะเอื้อต่อการบันทึกเสียง ดังนั้นจึงได้เฉพาะการบันทึกเป็นคลิปวีดีโอเพื่อจัดทำรายการสงขลามหาชน และข่าวอาหาร ในแง่มุมของข้อมูลและความรู้จาก อาจารย์ลัดดา เท่านั้น |
การนำเสนอข่าวสารได้เฉพาะในแง่มุมความรู้และข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์ของอาจารย์ลัดดาเท่านั้น ซึ่งทางเทศบาลเสนอให้มีเวทีคืนข้อมูลอีก 1 ครั้งซึ่งจะประสานให้มีเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน รวมทั้งชุมชน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งโรงเรียนทุกโรงในพื้นที่ เพื่อจะได้มีทางออกจากการระดมความคิดในครั้งต่อไป ดังนั้นการนำเสนอจากแผนงานสื่อสารสาธารณะ เวทีคืนข้อมูลพื้นที่ชะแล้ ๑ จึงเป็นข้อมูลความรู้จากอาจารย์ลัดดาเท่านั้น แต่เป็นสาระที่มีประโยชน์ที่ควรเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป ในรูปแบบดังนี้ คือ ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโครงการบูรณาการอาหาร | วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำการประชุมมาไม่ครบทุกแผนงาน และหลายแผนงานยังไม่ได้ทำกิจกรรมก่อนหน้านี้ หรือบางแผนงานยังไม่กำหนดกิจกรรมต่อไป มีเฉพาะ พื้นที่เชิงแสซึ่งได้ทำกิจกรรมไปทั้งสิ้น 14 กิจกรรมจากทั้งหมด 23 กิจกรรม รวมทั้งพื้นที่ควนรู ซึ่งได้ทำกิจกรรม ไปหลายกิจกรรมแล้ว และบางกิจกรรมก็ไม่ได้ใช้งบของแผนงานอาหาร ส่วนแผนงานอื่นๆก็ได้มีการทำกิจกรรมไปบ้างแล้วแต่ยังไม่เขียนรายงานผ่านเวบ ส่วนบางกิจกรรมจะทำหลังจากการประชุมในวันนี้ สำหรับแผนงานสื่อได้แจ้งเรื่องการใช้กระบวนการนิทานเพื่องานบูรณาการด้านอาหารกับพื้นที่ควนรู และชะแล้ โดยขอความเห็นเรื่องการกำหนดวันที่จะจัดค่ายนิทานในพื้นที่ควนรู และ ชะแล้ |
1.ไม่สามารถกำหนดปฏิทินงานสื่อที่ชัดเจนสำหรับการลงพื้นที่เพื่อติดตามกิจกรรมได้เนื่องจากแผนงานต่างๆยังไม่ได้วางแผนสำหรับกิจกรรมที่จะทำต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมกับคุณเมธาผอ.สำนักธรรมนูญชะแล้ และ ประชุมกับนายกถั่น ควนรู | วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 เวลา 11:30ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ปรึกษากับคุณเมธาเพื่อการจัดเตรียมสถานที่ในพื้นที่ชะแล้ว่าจะเป็นที่ใด การเตรียมกลุ่มเป้าหมายว่าจะเป็นใครบ้าง และจะบูรณาการร่วมกันในส่วนใด เช่น ด้านเนื้อหา ปัญหาพื้นที่ ทางออกที่อยากจะให้กลุ่มเป้าหมายช่วยกันคิดคืออะไร และงบประมาณว่าจะร่วมกันในส่วนไหนบ้าง การกำหนดวันที่แน่นอน |
1.แผนการจัดค่ายอบรมนิทานเพื่อการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารสำหรับพื้นที่ชะแล้ ซึ่งจะจัดค่ายสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ ประถม 4 ถึง ประถม 6 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนวัดชะแล้ ในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน โดยพื้นที่อยากให้ดึงเอาปัญหาจากพื้นที่มาใช้ในกระบวนการนิทาน เช่น ปัญหาเด็กไม่ทานอาหารเช้า หรือ การไม่กินผักผลไม้ เป็นต้น สำหรับงบประมาณพื้นที่จะดูแลในส่วนของอาหารเที่ยง และวัสดุอุปกรณ์บางส่วน สื่อดูแลงบประมาณในส่วนของวิทยากรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นที่พัก อาหารมื้ออื่นๆ ค่าตอบแทน และค่าเดินทางทั้งหมด ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา:
การชี้แจงและปรึกษาจะทำต่อผู้บริหารเท่านั้นทำให้เกิดปัญหาสำหรับการลงพื้นที่ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ค่ายอบรมนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง..นานมาแล้วเมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง... | วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับครู พี่เลี้ยง อสม เจ้าหน้าที่ และนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 64 คนในวันแรก สำหรับในวันที่สองอสม ติดประชุม แต่มีครู และพี่เลี้ยงจากศูนย์เด็กเล็ก(อบต.สั่งปิดศูนย์) ทั้ง 3 แห่ง และยังมีนักเรียนมาเพิ่ม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 57 คน |
1.ได้แผนเพื่อจัดทำ Storytelling Food Model จากการจัดค่ายอบรมนิทานในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ค่ายอบรมนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง...นานมาแล้ว เมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง..." | วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนระดับประถม4-6 จำนวนทั้งสิ้น 48 คน 2.กิจกรรมในวันแรกเป็นการเรียนรู้พื้นฐานผ่านจินตนาการ ผ่านการฟัง เล่น คิด และเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนิทานและประโยชน์ของการใช้นิทานเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา และเรียนรู้ปัญหาด้านโภชนาการเพื่อหาทางออกผ่านกระบวนการคิด ถาม ตอบและสร้าง โดยปิดท้ายในเรื่องการสร้างกระบวนการนิทานว่าจะทำได้อย่างไร 3.กิจกรรมในวันที่สองเน้นการสร้างเรื่องจากปัญหาโภชนาการ สู่ทางออกด้วยการใช้จินตนาการผ่านนิทาน สอนวิธีการและขั้นตอนการสร้างเนื้อหาในนิทานและเทคนิคการสร้างนิทานให้สนุกและน่าสนใจ สุดท้ายคือการสร้างนิทานจากโจทย์ปัญหาที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้เข้าร่วมอบรมและเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนจากงานวิจัยจากอ.ลัดดาในแผนโภชนาการ |
1.ได้แผนเพื่อจัดทำ Storytelling Food Model จากการจัดค่ายอบรมนิทานในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา: ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมเวทีเก็บข้อมูลภูมิปัญญาขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมืองคาบสมุทรสทิงพระ(เวที ๒) | วันที่ 9 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำร่วมเวทีข้อมูลโดยได้ฟังการนำเสนอจากครูฑูรย์เรื่อง |
1.มีโอกาสเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องราวของชาวบก ภูมิประเทศ ลักษณะตามธรรมชาติที่มีผลต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะวิถีการกิน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของการทำขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ 2.มีการบันทึกเสียง และภาพ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารเพื่อทำการสื่อสารเรื่องของพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ มีความรุ้เกี่ยวกับภูมิปัญญาจากขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้าน เพื่อจะทำการสื่อสารสู่สาธารณะผ่านคลื่นความคิด F.M.101 และจะใช้วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาเรื่องราวของอาหาร ที่หน้าแฟนเพจอาหารของแม่ที่ www.facebook.com/mamagoodfood และติดตามอ่าน/รับฟังประเด็นน่าสนใจของขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้านได้ที่เวบไซต์ www.banbanradio.com หน้าโครงการบูรณาการแผนสุขภาวะด้านอาหาร http://www.banbanradio.com/tags/25 ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา: ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมและหารือร่วมกันถึงงานเทศกาลนิทานเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสิ่งแวดล้อม | วันที่ 9 มกราคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ประชุมรูปแบบของการจัดงานและสถานที่ ที่จะจัดงาน |
1.มีรูปแบบของการจัดงานเทศกาลโดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ 4 ช่วงเวลา 4 สถานที่ ดังนี้ ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา:
การประชุมหรือการวางแผนงานในโครงการบูรณาการอาหารในกิจกรรมต่างๆ ไม่มีทีมประสานงานกลางเข้าร่วมประชุม จึงทำให้ขาดความเข้าใจว่าในแต่ละกิจกรรมมีผล หรือแต่ละแผนงานทำกิจกรรมเพื่ออะไร และมีการบูรณาการงานอย่างไร ข้อเสนอแนะต่อ สสส.สสส.ควรได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งร่วมสังเกตุการณ์ในทุกกิจกรรมเพื่อจะพิจารณาได้ว่ากิจกรรมเหล่านี้สามารถนำไปบูรณาการเกี่ยวกับแผนงานอาหารด้านใดบ้าง หลักสูตรนิทาน ที่นำเอากระบวนการดึงข้อมูล และ ใช้สื่อง่ายๆเพื่อเผยแพร่งานอาหารได้ผลมากน้อยอย่างไร ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.อยากให้ทางทีมพี่เลี้ยงได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ในกิจกรรมใหม่ๆ หรือกิจกรรมที่อาจจะแตกต่างออกไปจากแผนงาน ดังนั้นจึงควรได้เข้ามาร่วมศึกษาและฟังความคิด หรือร่วมปรึกษาในการหาทางออกของการดำเนินกิจกรรมที่ไม่อยู่ในแผนงาน ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมและหารือเรื่องของการจัดเทศกาลนิทาน และปรึกษาเพื่อหากลุ่มผู้สนับสนุน | วันที่ 9 มกราคม 2557 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ร่วมประชุมและหารือกับ |
1.มีการกำหนดการใช้สถานที่ชัดเจนซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการใช้ห้องย่อยและสถานที่อบรมสำหรับครูนักเรียนคือ ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา : กิจกรรมนิทานอาจเป็นกิจกรรมเก่าที่ต้องมีการเรียนรู้ใหม่ จึงหาแหล่งทุนร่วมยาก แนวทาง: ทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง และต้องมีกิจกรรมซ้ำ และย้ำบ่อยๆเพื่อให้นิทานเป็นวิถีชีวิตที่จำเป็นต่อความคิด จินจนาการ ความคิดสร้างสรรค์ทั้งสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ในอนาคตอาจง่ายต่อการหาแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น ข้อเสนอแนะต่อ สสส.สสส.ควรให้ความสนใจกับผลงาน หรือ กิจกรรมที่อาจไม่ตรงกับแผนงาน ดังนั้นควรร่วมมาศึกษาและทำความเข้าใจว่าเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเหตุใด และจะมีผลต่อความสำเร็จของโครงการได้อย่างไร ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.เช่นเดียวกันอยากให้พี่เลี้ยงร่วมปรึกษาและทำความเข้าใจกับกิจกรรมที่อาจไม่ตรงกับแผนเพื่อช่วยเครือข่ายในการตอบคำถาม หรือชี้แจงให้แหล่งทุนได้ทราบถึงสาเหตุที่ต้องทำกิจกรรมนั้นเพื่ออะไร ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมเวทีคืนข้อมูล และการดำเนินกิจกรรมปลูกต้นไม้ของทีมงานกลางแผนบูรณาการฯอาหาร | วันที่ 10 มกราคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำเนื่องจากเป็นการจัดงานวันเด็ก และผู้ปกครองตั้งใจดูการแสดงของเด็กๆมากกว่า ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลจึงไม่อาจทำได้เต็มที่ ได้แต่เพียงนำเสนอเป็นวีดีโอ ผลงานนิทานของเด็กๆเท่านั้น และได้ร่วมปลูกพืชพันธุ์ไม้เพื่อจะจัดเป็นแหล่งอาหารภายในโรงเรียน |
1.ได้ร่วมปลูกพันธุ์พืชเพื่อจะเป็นแหล่งอาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียน ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา: ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
จัดรายการวิทยุ "อสมท.เพื่อชุมชน" จากอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ | วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำจัดรายการวิทยุในประเด็นความก้าวหน้าของcampaignอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติโดยมีผู้ร่วมรายการคือ นายชัยวุฒิ เกิดชื่น นางสุวรรณี เกิดชื่น และดีเจนงลักษณ์โดยเล่าถึงที่มาว่าจากอาหารของแม่ก็มีกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการบูรณาการด้านอาหารผ่านหลักสูตรนิทาน และความพร้อมที่ได้จัดเทศกาลนิทานนานาชาติเป็นครั้งที่ ๒ ของประเทศไทย มีใครเป็นเจ้าภาพบ้าง จัดที่ไหน กำหนดการเป็นอย่างไร |
ได้ประชาสัมพันธ์เทศกาลนิทานนานาชาติซึ่งจะจัดขึ้นระหว่าวันที่ 24-26 มกราคม 2557 ไปยังกลุ่มเป้าหมายซึ่งอยู่ในพื้นที่การรับฟังคือ จังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และทั่วทั้งประเทศโดยผ่านทาง www.สงขลา-MCOT.net ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
พบนายกเทศมนตรีเทศบาลสงขลา และคณะผู้บริหาร เพื่อนำเสนอแผนงานอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และการเข้าสู่วาระอาหารแห่งปี | วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 15:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ได้เข้าพบกับนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลานายสมศักดิ์ ตันติเศรณี และรองนายก นายสมชาย จันทรประทิน รวมทั้งผอ.กองช่าง และผอ.กองการศึกษา พร้อมกับอาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ในฐานะเจ้าภาพหลักจากมหาวิทยาลัยทักษิณ และได้ร่วมหารือในความชัดเจนของการร่วมเป็นเจ้าภาพในฐานะเจ้าของพื้นที่ และการขอความอนุเคราะห์ในการใช้สถานที่เพื่อการอบรมเชิงปฏิบัติการ และพื้นที่สาธารณะ เช่นริมชายหาดสมิหลา รวมถึงการสนับสนุนในส่วนของงบประมาณอาหาร และรถรับส่งคณะนักเล่านิทานนานาชาติ |
1.เทศบาลนครสงขลารับเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติโดยจะให้การสนับสนุนในส่วนของพื้นที่ต่างๆ เช่นสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยให้ใช้พื้นที่ของโรงเรียนเทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก สถานที่สำหรับการจัดconcertนิทาน คือ บริเวณประตูเมืองสงขลาจำลอง ริมชายหาดสมิหลา และจะอนุเคราะห์ในส่วนของแสง สี เสียง และพื้นที่สำหรับการติดไวนิลประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทาน สนับสนุนงบประมาณในส่วนของอาหารสำหรับคณะนักเล่านิทานและคณะนิสิต คณะทำงานในวันอบรม(25 มกราคม 2557) รถรางรับส่งตลอดเวลาสำหรับคณะนักเล่านิทาน ในเขต อ.เมืองสงขลา ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
บันทึกเทปรายการสภากาแฟ จากอาหารของแม่ และความมั่นคงทางอาหารที่จะนะ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ | วันที่ 15 มกราคม 2557 เวลา 19:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำบันทึกเทปรายการสภากาแฟเพื่อออกอากาศในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557 โดยมีผู้ร่วมรายการทั้งสิ้น 6 คน คือคุณบัญชร คุณอรุณรัตน์ ผู้ดำเนินรายการ และผู้ร่วมรายการคือคุณสุวรรณี (อาหารของแม่และผู้ประสานงานระหว่างคณะนักเล่านิทาน และพื้นที่)นอกจากนั้นก็มีน้องยุ้ย น้องขิม และน้องมินจากจะนะ โดยเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับที่มาว่าจากอาหารของแม่มาสู่เทศกาลนิทานนานาชาติได้อย่างไร และเล่าถึงการที่จะนะนำเรื่องความมั่นคงทางอาหารเข้าสู่กระบวนการนิทานและเทศกาลนิทานนานาชาติในฐานะเจ้าภาพร่วมในส่วนใดบ้าง |
ได้ทำการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทานนานาชาติให้กับผู้ฟังทางวิทยุมอ.88 และได้รับความสนใจจากผู้ดำเนินรายการทั้งสอง ซึ่งรับที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ฟังเป็นระยะๆ จนถึงช่วงเทศกาลนิทาน และหลังจากเทศกาลนิทานนานาชาติเสร็จสิ้นจะมีการนำเสนอเรื่องของอาหารของแม่อีกครั้งรวมถึง สงขลาวาระอาหารแห่งปี ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
บันทึกรายการ เที่ยงทอล์ค จาก อาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติร่วมกับ โครงการวิจัยฯและขับเคลื่อนนโยบายและการจัดการความมั่นคงทางอาหาร สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ | วันที่ 17 มกราคม 2557 เวลา 10:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำเป็นการบันทึกรายการ ในรูปแบบสัมภาษณ์โดยคุณไพศาล รัตนะ จากรายการเที่ยงทอล์คทางHi Cable TV ซึ่งทางรายการอยากทราบที่มาที่ไปว่าจากอาหารของแม่ไปสู่เทศกาลนิทานนานาชาติได้อย่างไร?? ผู้ร่วมรายการมี คุณสุวรรณี เกิดชื่น จากแผนงานการสื่อสารสาธารณะ และอ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ จากแผนงานวิจัยฯการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ในโครงการบูรณาการอาหาร และมหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะเจ้าภาพหลักงานเทศกาลนิทานนานาชาติ โดยทั้ง 2 ได้ร่วมเล่าถึงที่มาจากการมี campaign อาหารของแม่ และเพื่อให้คำๆนี้แพร่หลาย จึงใช้กลยุทธ์ในการเผยแพร่หลายๆรูปแบบ และหลายๆกลุ่มเป้าหมาย หนึ่งในนั้นคือ เด็ก และครอบครัว และหนึ่งในวิธีการนำเสนอคือ นิทาน เพราะนิทานสามารถนำไปบูรณาการเรื่องราวต่างๆได้มาก โดยเฉพาะการบูรณาการในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร การช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่แหล่งอาหาร ดังนั้น จากอาหารของแม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลนิทานนานาชาติ เพราะในแผนงานสื่อเรามีต้นทุนด้านนิทานอยู่มากทั้งในเรื่องของนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆ และต้นทุนของการสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ และได้มาซึ่งการเป็นเจ้าภาพร่วมหลายๆองค์กร |
1.ผู้สัมภาษณ์ตั้งใจและให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สัมภาษณ์ และจะช่วยสื่อสารเพื่อทำให้ประเด็นอาหารเป็นสาระสำคัญของสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะcampaign "อาหารของแม่" และจะช่วยเผยแพร่งานของแผนงานอาหารอื่นๆทั้งความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และประเด็นโภชนาการสมวัย เพื่อจะได้ช่วยผลักดันให้สงขลาไปสู่วาระอาหารแห่งปี ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เทศกาลเล่านิทานนานาชาติ | วันที่ 24 มกราคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำผู้สนใจนิทานซึ่งมีทั้งเด็ก นักเรียน ครู นิสิต นักศึกษา อาจารย์ ผู้บริหารทางการศึกษาและผู้ปกครองได้เข้าร่วมเทศกาลนิทานนานาชาติซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดสงขลาในระหว่างวันที่24-25มกราคม2557โดยได้เข้าร่วมในกิจกรรมทั้ง3รูปแบบ คือ เสวนาวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และเวทีconcertนิทาน ซึ่งในการเล่านิทานมีเนื้อหามากมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมที่เกี่ยวกับความตระหนักที่ทุกคนต้องใส่ใจในพื้นที่ทางอาหาร เช่นนิทานเรื่องGrandfather Bear is Hungry หรือเรื่องTHE WAR BETWEEN THE SANDPIPERS AND THE WHALES (Surf War)ซึ่งตัวอย่างทั้ง2เรื่องจะมีเนื้อหาถึงการแบ่งปัน และเนื้อหาของการแย่งพื้นที่ทางอาหารแต่ในที่สุดก็ต้องร่วมกันดูแลเพื่อที่จะมีอาหารเพียงพอสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป และได้ร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีที่มาของโครงการบูรณาการอาหารสู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และยังได้เข้าใจในสถานการณ์อาหารของจังหวัดสงขลาผ่านที่มาของโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมนิทานและมีนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆและนักเล่านิทานจากประเทศไทยรวมถึงนิสิตนักศึกษาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพเป็นจำนวนทั้งสิ้น 753 คน |
1.จากความสำเร็จของการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติเป็นครั้งแรกของจังหวัดสงขลาทำให้มีหน่วยงานตอบรับที่จะร่วมเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อๆไป เช่นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ หรือการขอร่วมเป็นเจ้าภาพกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสงขลา ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา: ข้อเสนอแนะต่อ สสส.สสส.ควรหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อดูการเชื่อมโยงระหว่างแผนงานต่างๆ เพื่อจะได้พิจารณาและได้เห็นผลตามแผนงานอย่างเข้าใจ และหากเห็นว่ามีปัญหาจะได้ทำการสอบถามระหว่างกิจกรรมได้ ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมกรรมการบริหารโครงการ เครือข่ายบูรณาการอาหาร | วันที่ 31 มกราคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.การลงพื้นที่สัญจรและศึกษาดูงานพื้นที่ทางอาหารที่โรงเรียนโคกค่าย และธนาคารอาหาร ต.ควนรู |
1.การผลิตสื่อในรูปแบบของรายการวิทยุ และการรายงานข่าวจากเวทีศึกษาดูงาน และเวทีนำเสนอผลสรุปจากกิจกรรมตามแผนงานอาหารซึ่งได้นำไปเผยแพร่และนำเสนอตามช่องทางสื่อต่างๆเช่นเครือข่ายวิทยุชุมชน และรายงานข่าวใน www.banbanradio.com ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมรายการวิทยุ "อสมท.เพื่อชุมชน" | วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำเป็นการร่วมดำเนินรายการกับ ดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงษ์ ในประเด็นของการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารในพื้นที่ ต.ควนรู โดยเป็นการสัมภาษณ์ นายก อบต. นายถั่น จุลนวล ซึ่งเห็นปัญหาของอาหารที่มีผลต่อสุขภาพของชาวชุมชนควนรูโดยเฉพาะการขาดสารอาหารในเด็กและเยาวชน จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการบูรณาการอาหาร ของ สสส และหลังจากที่ดำเนินกิจกรรมมาเกิอบหนึ่งปี จึงมีเรื่องเล่าให้เห็นภาพความสำเร็จของ กิจกรรมและกระบวนการต่างๆที่ได้ทำในพื้นที่ และความคาดหวังที่จะเดินต่อไปเพื่อให้ชาวชุมชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างสมบูรณ์ |
ประชาชนและผู้ฟังได้ฟังเรื่องเล่าดีๆจากพื้นที่ควนรู หลังจากที่พบปัญหามากมายในพื้นที่ แต่ด้วยความตั้งใจของคณะทำงาน อบต.ซึ่งต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี จึงร่วมกันคิดและหาทางออกระหว่างท้องถิ่นและชุมชน นอกจากนั้นผู้ฟังยังได้ฟังกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจมากมาย เช่น เรื่องของธนาคารเมล็ดพันธุ์ ด้วยแนวคิด ธนาคารกู้เงินจ่ายดอกเบี้ย แต่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ จ่ายกลับเป็นเมล็ดพันธุ์ จากกนั้นขยายมาเป็นธนาคารข้าว ธนาคารต้นไม้ ธนาคารน้ำเป็นต้น เช่นโครงการ 7 ไร่ 7 เรื่อง 700 คือเรื่องทีธนาคารเล็ดพันธุ์ผักใช้พื้นที่ 7 ไร่ ทำกิจกรรม 7 เรื่องเช่น ปลูกผัก , ทำปุ๋ยฯ โดยมีรายได้เข้าวันละ 700 บาท และเรื่องของการจัดผังชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคง ร่วมสร้างกติกาพื้นที่ เช่นที่ไหนทำเกษตรห้ามทำอย่างอื่น หรือกรณีเรื่องน้ำ โดยให้ชาวบ้านขุดคลองขนาดเล็กๆรอบพื้นที่เกษตรเพื่อยามน้ำท่วมจะได้เก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง ปัญหาที่เกิดใหม่ๆจะเป็นเรื่องการทำความเข้าใจในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้เวทีในชุมชนทุกแห่งคุยกันบ่อยๆ ขณะที่ควนรูมีวิถีความสัมพันธุ์แบบการเมืองสมานฉันท์จึงมีลักษณะยืดหยุ่นในการพูดคุย โดยเฉพาะเรื่องการใช้ฐานเศรษฐกิจพอเพียงอบรมให้ความรู้ หลังจากได้เข้าร่วมกับโครงการงานบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ กรณีศึกษาสงขลา จึงได้ใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ เมื่อมีการคืนข้อมูลเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการขาดสารอาหารของเด็กในชุมชน จึงเกิดโครงการปลูกผักสวนครัวเพิ่มสารอาหารให้เด็กในโรงเรียน และการเชื่อมโยงถึง อาหารของแม่ โดยสามารถติดตามฟังย้อนหลังได้ที่ www.banbanradio.com ในคอลัมน์โครงการบูรณาการแผนสุขภาวะด้านอาหาร http://www.banbanradio.com/tags/25 ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมรายการวิทยุ "ปักษ์ใต้บ้านเรา" | วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 18:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำร่วมดำเนินรายการวิทยุกับ คุณทีปวัฒน์ มีแสง เพื่อนำเสนอสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุจากอาหาร จนเป็นที่มาของโครงการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหาร และเพื่อให้โครงการมีทิศทางและแนวทางเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของชาวสงขลา ดังนั้นจึงต้องมีงานวิจัยมารองรับ และหลังจากนั้นจะต้องนำผลงานวิจัยเสนอเพื่อนำไปขับเคลื่อนในระดับนโยบาย โดยสัมภาษณ์ อาจารย์ วิวัฒน์ ฤทธิ์มา มหาวิทยาลัยทักษิณจากโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดสงขลา ซึ่งอาจารย์เล่าว่าต้องทำให้คนบ้านเรารู้ว่าเรามีความอุดมสมบูรณ์อย่างไร มีความมั่นคงทางอาหารอย่างไร ด้วยการทำแบบสอบถามลงพื้นที่ต่างๆในจังหวัดสงขลาว่าบ้านเรามีอาหารเพียงพอจริงหรือไม่ รวมไปถึงพืชพันธุ์พื้นเมืองในวิถีเก่ายังคงมีอยู่หรือสูญหายไปเท่าไหร่แล้ว หรือถ้ายังมีอยู่ได้ใช้อยู่หรือไม่ เช่นการกินอาหารเป็นยา การใช้รักษาแบบภูมิปัญญายังมีการใช้อยู่มากน้อยอย่างไรหรือหันไปกินยาสมัยใหม่กันหมดแล้วฯ แม้แต่การเลี้ยงสัตว์วันนี้ชุมชนเลี้ยงไก่กันเองเพื่อมาเป็นอาหารทั้งไก่และไข่หรือเปลี่ยนไปซื้อกินทุกอย่าง เปลี่ยนวิถีไปมากน้อยเพียงใด สังเกตุจากกระชังปลาและฟาร์มสัตว์ต่างๆที่มากขึ้น รวมไปถึงภาพรวมแหล่งอาหารอย่างทะเลสาบสงขลาวันนี้ปลาหายไปกี่พันธุ์แล้วหรือยังคงมีอยู่กี่พันธุ์มากน้อยอย่างไร เป็นต้น |
ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่มาจากการกินและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ขาดการดูแลเรื่องของความปลอดภัยในวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหาร เป็นต้น หลังจากที่ได้นำเสนอที่มาของสถานการณ์ด้านอาหาร และการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายของอาจารย์วิวัฒน์ แล้วก็มีผู้ฟังโทรเข้ามาแลกเปลี่ยน คือ พระอาจารย์ปรีชา วัดป่ากันตพงษ์ ควนเนียงกล่าวถึง คนวันนี้เป็นโรคเยอะเพราะกินสัตว์มากขึ้น ไม่ค่อยกินผัก ประเทศอื่นเช่นเวียดนามเขากินปลากินผัก เขาจึงไม่ค่อยเป็นมะเร็ง และอีก ๑ ท่านจากสำนักสงฆ์ม่วงค่อม กล่าว่าการกินต้องตั้งสติ แต่ก็เห็นว่าปัจจุบันมีคนกินเจกันมากขึ้นนั่นคือจุดเริ่มของความสนใจการอยู่การกินมากขึ้น และสุดท้ายคุณชัยวุฒิได้เชื่อมโยงจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสู่"อาหารของแม่"ซึ่งจะเป็นวาระสำคัญของอาหารในปี2557 ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
พบผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลา | วันที่ 10 มีนาคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำพบผู้อำนวยการสวท.สงขลา และได้ยื่นหนังสือ พร้อมปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์งาน "อุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม" ซึ่งผู้อำนวยการได้ขอให้เล่าถึงที่มาของงานอุทยายอาหาร ดังนั้นแผนงานสื่อจึงได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการบูรณาการอาหารและการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานต่างๆ และประเด็นสำคัญคือการผลักดันcampaign อาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี |
ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลาให้ความร่วมมือในการเปิดสปอตให้ทุกสถานีที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้ง F.M.90.5 และ F.M.102.25 และจะมีการประชาสัมพันธ์ด้วยการพูดแทรกในรายการต่างๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ในหน้า Facebookของสถานี และส่วนตัว นอกจากนั้นยังจะส่งเรื่องไปถึงหน่วยงานที่กรุงเทพด้วย สำหรับการมาทำข่าวพิธีเปิดมีความเป็นไปได้ ส่วนการถ่ายทอดสดมีปัญหาเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีรายการอื่น และทางผู้อำนวยการยังได้เชิญให้มาร่วมจัดรายการเพื่อเล่าถึงที่มาของโครงการอาหาร จนถึงการประชา สัมพันธ์งานอุทยานอาหาร ดังนั้นทางแผนงานสื่อจึงตอบรับที่จะมาร่วมรายการและถ้าเป็นไปได้จะเชิญ รศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการอาหารมาร่วมในรายการด้วย และที่สำคัญทางผู้อำนวยการให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารของแม่มากซึ่งจะมีการวางแผนที่จะให้ความร่วมมือว่าจะทำรายการและประชาสัมพันธ์อย่างไรต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมจัดรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ กับ ผอ.ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ | วันที่ 13 มีนาคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำเป็นการร่วมรายการระหว่าง ผอ.สวท.สข.(นายณรงค์ ชื่นนิรันดร์) และ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิผู้รับผิดชอบโครงการบูรณาการอาหารในรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ ทางสวท.สข.F.M.102.25 โดย ผอ.ณรงค์ได้สัมภาษณ์อาจารย์พงค์เทพ ถึงที่มาของโครงการบูรณาการอาหาร ซึ่งอาจารย์ได้พูดถึงสถานการณ์อาหารของจังหวัดสงขลา ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านอาหารที่ส่งผลต่อเด็กและเยาวชน จึงทำให้แผนงานต่างๆต้องมีกิจกรรมเพื่อเป็นทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆมาเป็นระยะเวลาเกือบปี จนท้ายสุดคือการจัดนิทรรศการอาหารในงานอุทยานอาหาร ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม2557 และอาจารย์ยังได้เชื่อมโยงถึงcampaignอาหารของแม่ ว่าจะมีการผลักดันให้สงขลามีวาระอาหารแห่งปี |
1.มีการประชาสัมพันธ์และเปิดสปอตเชิญชวนเข้าร่วมงานอุทยานอาหาร และได้ชี้แจงถึงที่มาของโครงการอาหาร จากสถานการณ์ปัญหาสู่งานตลาดนัดอุทยานอาหาร จนผู้อำนวยการสถานีฯให้ความสนใจและรับปากจะให้ความร่วมมือในการใช้ช่องทางสื่อที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ร่วมประชาสัมพันธ์งานอุทยานฯในทุกช่วงเวลาที่สามารถทำได้ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ร่วมรายการอสมท.เพื่อชุมชน | วันที่ 17 มีนาคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำร่วมจัดรายการอสมท.เพื่อชุมชน กับดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงศ์ เพื่อประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรมโดยเป็นการเล่าถึงรูปแบบของงาน กิจกรรมที่สำคัญและน่าสนใจ เช่นการเสวนาจะมีทั้ง 3 วัน 3 ประเด็นหลัก โดยแต่ละวันก็จะมีไฮไลท์เช่นในวันแรกจะเป็นเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร และจะมีการยื่นข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พิธีเปิด รวมถึงการมอบรางวัลให้กับผู้ชนะในการประกวดวลีเด็ด โดยท่านผู้ว่า หรือวันที่ 3 ของงานก็จะเป็นเวทีที่จะผลักดัน อาหารของแม่สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี ซึ่งในงานนอกจากเวทีเสวนาแล้วยังมีการสาธิตการทำอาหารจากเชฟร้านดังหรือเชฟกะทะเหล็ก เป็นต้น |
1.ได้ประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรมผ่านรายการ อสมท.เพื่อชุมชน ทางF.M.96.5 ไปยังกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วทั้งจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง และได้มีการสอบถามเพิ่มเติมถึงกิจกรรมอื่นๆ เช่น มีการขายอาหารเพื่อสุขภาพหรือไม่ หรือสนใจอยากร่วมสาธิตการทำอาหาร เป็นต้น 2.กลุ่มผู้ฟัง และ ผู้บริหารสถานีวิทยุ อสมท.ได้รับฟังเนื้อหาและประเด็นสำคัญของcampaignอาหารของแม่ ซึ่งผู้บริหารของสถานีได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารของแม่และเสนอให้ความร่วมมือในการใช้ช่องทางสื่อของอสมท F.M.96.5.ในการถ่ายทอดเนื้อหาด้านอาหารได้ต่อไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ [PR Value] ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วการใช้ช่วงเวลาของวิทยุ อสมท. จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 30000 บาทต่อชั่วโมง ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม | วันที่ 19 มีนาคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ถ่ายทอดสดเวทีเสวนาทั้ง 3 วันทางคลื่นความคิดF.M.101 และวิทยุชุมชนจะนะ และทำข่าวร่วมกับ สวท.สงขลาF.M.90.5 สทท.11 และHicableTV และได้บันทึกทั้งเสียงและวีดีโอเพื่อนำไปผลิตสื่อเพื่อกระจายและเผยแพร่ไปยังช่องทางต่างๆ เช่น สวท.สงขลา 90.5 รายการสื่อสุขภาพสัญจรทางF.M.101คลื่นความคิด และวิทยุเครือข่ายอาหาร Hicabletv รายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood ทาง www.seewithsound.com และฟังทุกเวทีทุกกิจกรรมย้อนหลังและพิธีเปืดหรืออ่านข่าวสารที่ www.banbanradio.com |
1.การถ่ายทอดสดได้รับความสนใจจากผู้ฟังโดยมีการตอบรับการเข้าร่วมซึ่งมีผู้ฟังบางส่วนมาแจ้งที่เวทีการสาธิตว่าได้ฟังจากรายการวิทยุและสนใจการสาธิตการทำอาหาร อยากชิมอาหารจากฝีมือเชฟชื่อดังและสนใจที่จะเข้ามาเรียนการทำอาหาร รวมถึงการตอบรับคำเชิญชวนที่จะมาร่วมเสวนา และสาธิตการปรุงอาหารสำหรับลูกในรายการอาหารของแม่ และมีบางส่วนที่ได้อ่านจากหน้าเพจของfacebook/mamagoodfood ซึ่งพอได้อ่านข่าวแล้วเลยรีบมาซื้ออาหารสุขภาพรวมถึงผัก ผลไม้ และไข่ไก่ในส่วนของสื่อต่างๆก็มีการสอบถามถึงการเสวนาว่าจะสามารถติดตามการอภิปรายในเวทีได้จากช่องทางใดบ้างและจะขอเทปเพื่อนำไปออกอากาศได้จากช่องทางใด เช่น วิทยุชุมชนโชคสมาน สวท.สงขลาF.M.102.25 หรือที่ อสมท.96.5 สามารถเข้าไปร่วมจัดเพื่อสรุปภาพงานอุทยานฯทั้ง 3 วันและมีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง โดยสื่อที่ผลิตทั้งข่าวสาร เสียง ภาพวีดีโอ สามารถติดตามกันได้ที่www.seewithsound.com หรือ www.banbanradio.com ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
บันทึกภาพเพื่อผลิตสื่อในการพบผู้ว่าราชการเรื่องการจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา | วันที่ 8 เมษายน 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำร่วมประชุมและฟังข้อเสนอจากเครือข่ายบูรณาการอาหารต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและทำการบันทึกภาพเพื่อนำมาผลิตสื่อวีดีโอ |
รายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood ผู้ชมจะได้รับชมภาพข่าวที่ทางจังหวัดสงขลาได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา” โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ประกอบด้วย 2 ส่วน ซึ่งกรรมการชุดนี้จะนัดประชุมจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารในวันที่ 18 เมษายน 2557 ซึ่งสามารถติดตามรายการสงขลามหาชนได้ที่ www.seewithsound.com หน้าmamagoodfood หรือคัดลอกurlนี้ http://seewithsound.com/tags/21 และแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือส่งข้อมูลน่าสนใจที่www.facebook.com/mamagoodfood หรืออ่านข่าวอาหารทั่วโลก ได้ที่www.banbanradio.com และจะมีการจัดทำเป็นสกู๊ปข่าวสำหรับช่องHicableTV สงขลา ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ปรับหน้าwebโครงการบูรณาการอาหาร(งวด 2) | วันที่ 21 เมษายน 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ1.ศึกษา,ค้นคว้า,สัมภาษณ์,ติดตาม ข่าวสารและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลในระดับโลก ระดับประเทศและในระดับพื้นที่ในประเด็นอาหารเพื่อนำมาจัดทำและเขียนลงในหน้าwebหน้าหลักของwww.banbanradio.comเพื่อให้เป็นแหล่งข่าวและเป็นคลังข้อมูลสำหรับเครือข่ายสื่อเพื่อเป็นข้อมูลให้กับช่องทางสื่อในแต่ละสื่อและแต่ละพื้นที่ของแผนงานอาหาร |
1.www.banbanradio.com เป็นคลังเสียงและคลังข้อมูลที่สือได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อวิทยุชุมชนต่างๆ เช่นวิทยุเสียงจะนะ FM.98.50,FM.95.50ต.บ้านนา, FM.88.50 ต.น้ำขาว,FM.91.50หาดใหญ่,FM.96.75asia plusพัทลุง,FM.94.0 สะบ้าย้อย,FM.101,50ต.ท่าข้าม, FM.100.0อ.เมือง,FM.106.50 โชคสมาน,FM.99.25ตใเขารูปช้าง,FM.103.0มวลชนคนเทพา, FM.105.25PS Radioบ้านพรุ ปัญหา/แนวทางแก้ไขปัญหา: ข้อเสนอแนะต่อ สสส.อยากให้ สสส ได้มีส่วนร่วมในการส่งข่าวจากส่วนกลางสู่เครือข่ายต่างๆ เพื่อเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นข่าวจาก สสส หรือข่าวน่าสนใจจากทั่วโลกที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเครือข่ายการทำงานด้านอาหารเพื่อให้เห็นพลังแห่งการสื่อสารเพื่อจะไปในทิศทางเดียวกัน ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ควรมีส่วนร่วมในการส่งข้อมูลข่าวสารอาหาร หรือupdate ข้อมูลต่างๆเพื่อlink ระหว่างเวบของทีมงานกลาง webจากสสสและแผนงานสื่อ ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |