แผนงานการสื่อสารสาธารณะ

แผนงานสื่อสารสาธารณะ

by wanna @June,12 2013 13.33 ( IP : 202...129 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. ประชุมกลุ่มย่อยแผนงานการสื่อสารสาธารณะ »
พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56 พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56

คณะประสานงานกลางและแผนงานสื่อหารือแนวทางที่ชัดเจนและขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนสื่อสารสาธารณะโดยเฉพาะในประเด็นการเตรียมจัดทำcampaign ซึ่งจะเป็นหัวใจหลักในแผนงานการสื่อสารสาธารณะและการเตรียมเครือข่ายสื่อในจังหวัดสงขลา

คณะประสานงานกลางและแผนงานสื่อได้ร่วมวางแนวทางที่จะต้องทำตามแผนการสื่อสารใน 4 ประเด็นหลักตามขั้นตอนคือ

1.การสร้างเครือข่ายสื่อ ซึ่งต้องมีกิจกรรม

  • สร้างความเข้าใจและเปิดเวทีเรียนรู้ด้านอาหาร ความหมายของคำว่าบูรณาการอาหาร และสุขภาวะด้านอาหาร
  • การพัฒนาคลังเสียง และคลังข้อมูล เพื่อให้สื่อต่างๆสามารถนำไปใช้เพื่อสื่อสารต่อไป
  • กิจกรรมเวทีนโยบายสาธารณะ(ยุทธศาสตร์) เช่น สมัชชาทางอากาศ นโยบายทางอากาศ

2.การนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลประเด็นสุขภาวะอาหารในวงกว้าง ทั้งความมั่นคง ความปลอดภัย และกินตามวัย โดย

  • การจัดทำcampaign เพื่อนำเสนอประเด็นหลักเพียง 1 ประเด้น เพื่อเป็นการกระตุ้นชาวสงขลาให้ตระหนักถึงเรื่องอาหาร และสร้างกระแสด้านอาหารเพื่อเชื่อมไปยังโครงการ

3.การบูรณาการระบบข้อมูลทั้งwebsite social media

4.การจัดตลาดนัดความรู้ โดย ทีมกลางสจรส.

1.มีแผนงานที่เป็นไปตามขั้นตอนและชัดเจน
2.มีประเด็นหลักและมีรูปแบบในการจัดทำcampaign 3.มีกลุ่มเครือข่ายสื่อที่เข้าใจแผนงานบูรณาการอาหาร

ได้ผลสรุปในการจัดการตามแผนดังนี้

  1. สร้างเครือข่ายสื่อ ให้หลากหลายทั้ง วิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์ website social media
  2. เลือกประเด็นมาทำcampaign โดยอาจเลือกได้จากคณะทำงานตามแผนทั้ง 3 คือ แผนความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และ โภชนาการสมวัย ซึ่งจะมีการประชุมในวันเสาร์ที่15/6/56
  3. เผยแพร่campaign และข้อมูล ข่าวสารในแผนงานบูรณาการอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น นิทาน ละคร และ การชวนสื่อให้ใช้ข้อมูลจาก คลังเสียงและคลังข้อมูล เช่น www.banbanradio.com www.consumersouth.org
  4. มีข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่จะนำไปสู่นโยบายสาธารณะ

ปัญหา

งบประมาณประเด็นสื่อสาธารณะน้อยมาก โดยเฉพาะการเผยแพร่campaign ผ่านสื่อต่างๆจำเป็นต้องมีค่าตอบแทนสำหรับการเปิดสปอต และการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

แนวทางแก้ไข

การเพิ่มงบประมาณหรือ อาจต้องเป็นการขอความร่วมมือจากสื่อ ซึ่งจะมีความไม่แน่นอนในการประชาสัมพันธ์ให้โครงการ

2. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการบูรณาการอาหาร »
เสาร์ 15 มิ.ย. 56 เสาร์ 15 มิ.ย. 56

หลังจากรายงานความก้าวหน้าแล้วในส่วนแผนงานสื่อจะหารือคณะทำงานทุกแผนให้ร่วมกันคิดที่จะเลือก ๑ ประเด็นมาทำcampaign

หารือร่วมกันในเวทีประชุมโดย

  1. ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงความจำเป็นของทีมสื่อที่จะต้องกำหนด campaign เพื่อให้ทุกแผนงานมีเป้าหมายเดียวกันในเรื่องของการบูรณาการอาหาร
  2. ชี้แจงถึงช่องทางสื่อและรูปแบบของการผลิต campaign เพื่อสร้างกระแสให้ชาวสงขลาตื่นตัวในเรื่องอาหาร
  3. ระดมความคิดเห็นจากแผนงานอาหารทุกฝ่ายทั้งแผนความมั่นคง ความปลอดภัย โภชนาการสมวัย

ทุกแผนงานร่วมกันระดมความคิดเห็น และได้ประเด็นในการผลิต 1 campaign เพื่อนำไปขยายผลและสร้างกระแสด้านอาหารผ่านสื่อ

ได้ข้อเสนอดังนี้

  1. มีการยกตัวอย่างของประเทศมาเลเซีย ในการจัดทำ 1 Malay
  2. จากแผนงานความมั่นคงได้นำเสนอ campaign ต่างๆ เช่น
    • กินพอดีคำ ทำพอดีกิน
    • ข้าวปลาอาหารท้องถิ่นมั่นคง จ.สงขลา
    • ท้องถิ่นสุขภาวะ จ.สงขลา
    • กินเป็นลืมป่วย
    • กินอาหารพื้นบ้านต้านมะเร็งได้
    • วิถีแบบบ้านๆ ผ่านวิกฤตได้
    • วิถีแบบบ้านๆ ต้านโรคได้

เพิ่มเติมในส่วนข้อแนะนำให้ทีมสื่อไปจัดทำcampaignเอง

  1. ให้เกิดกระแสเกษตรอินทรีย์ จนเป็นค่านิยม
  2. เรื่องcampaign ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ แต่ทำอย่างไรที่จะหาช่องทางสื่อให้มากขึ้น เพื่อสร้างกระแส และสร้างค่านิยม รวมทั้งให้คนในพื้นที่เกิดการตื่นตัว เช่น ช่องทางของพิราบคาบข่าว แล้วออกข่าวด้านโครงการอาหารของพื้นที่ มีการจัดประกวด campaign
  3. ให้สื่อได้สร้างกระแสให้เกิดค่านิยมที่จะนำภูมิปัญญาแบบบ้านๆมาพภัฒนากระบวนการเรียนรู้ มาสู่วิถีอยู่ วิถีกิน
  4. การประชุมในครั้งต่อไปทุกแผนงานน่าจะมีการเตรียมประเด็นหรือcampaign มาช่วยกันคัดเลือก

ปัญหา

คณะทำงานตามแผนมีสิ่งที่จะต้องทำในหน้าที่ของตัวเอง มีเป้าหมายของแผนงานของตัวเอง จนขาดความเป็นเป้าหมายเดียวที่จะให้เกิดความเข้าใจตรงกันในคำว่าบูรณาการด้านอาหาร และสุขภาวะด้านอาหาร ยังไม่มีเป้าหมายร่วมที่จะสร้างกระแสในสังคมได้

แนวทางแก้ไข

ทีมสื่อและทีมประสานงานกลางควรต้องมีการจัดเวที Food Forum เพื่อการหารือและพูดคุยเพื่อให้เกิดเป้าหมายร่วมและนำไปสู่คำว่าการบูรณาการด้านอาหาร และความเข้าใจที่ตรงกันของคำว่า สุขภาวะด้านอาหาร

3. ประชุมทีมสื่อ »
จันทร์ 24 มิ.ย. 56 จันทร์ 24 มิ.ย. 56

ประชุมทีมสื่อเพื่อหารือเรื่องการผลิต campaign และการสร้างเครือข่ายสื่อ Songkhla Media Food Network

ประชุมทีมแกนนำสื่อประกอบด้วย
1. แผนงานการสื่อสารสาธารณะ
2. แผนงานความมั่นคงทางอาหาร
3. วิทยุมอ.88
4. Hi Cable TV สงขลา
5. คลื่นความคิด101 & www.banbanradio.com
เริ่มการประชุมโดยชี้แจงถึง
1. เป้าหมายของโครงการบูรณาการด้านอาหาร
2. เป้าหมายของแผนงานการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างกระแสให้ชาวสงขลาได้ตระถึงการกินดี เพื่ออยู่ดี และให้สื่อต่างๆข้าใจคำว่าบูรณาการด้านอาหาร  ทั้งความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ซึ่งการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจดังกล่าวต้องประกอบด้วยคิดง่าย  สื่อง่าย ทำง่าย เห็นผลได้ง่าย จากความง่ายสู่ความเป็นหนึ่งเดียว คือ การสร้าง campaign เพื่อร่วมรณรงค์เป็นหนึ่ง และมีความต่อเนื่อง ฟังบ่อย เห็นบ่อย
3. ต้องมีช่องทางการสื่อสาร และเครือข่ายสื่อด้านอาหาร [Songkhla Media Food Network] อย่างเข้มแข็งและชัดเจน เพราะพลังของงานสื่อสารมวลชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนcampaign เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

  1. เกิด ๑ ประเด็น ๑ campaign ได้จากแกนนำสื่อ[[Songkhla Media Food Campaign]
  2. รายชื่อเครือข่ายสื่อและช่องทางการสื่อสาร[Songkhla Media Food Network]

เกิดข้อคิดสื่อ:จากอดีต-ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมองอาหารเป็นวัฒนธรรม และเป็นสมบัติ    อาหารไทยในอดีตก็เช่นเดียวกันคือศาสตร์และศิลป์ ที่เห็นวัฒนธรรมแห่งการให้  มีการสืบทอดที่ถูกใส่ใจด้วยความรัก  ทำให้เราได้เห็นคุณค่าจากกระบวนการผลิต รู้รสแห่งความอร่อย สะอาดปลอดภัย และเห็นที่มาของวัตถุดิบที่เราวางใจ  ดังนั้น campaign ต้องสื่อให้เห็นคุณค่าแห่งกระบวนการผลิตอาหารที่สามารถบูรณาการภาพเหล่านั้นได้ จึงเป็นที่มาของหัวข้อในประเด็นสำคัญ ที่คิดจากสื่อ คือ  อาหารของแม่ เพราะจะทำให้เห็นทุกมิติ และเห็นภาพของการบูรณาการได้ชัดเจนที่สุด จึงเป็นที่มาของcampaign
1. กับข้าวแม่ฉัน เมนูของแม่  แม่จ๋าหรอยจัง  แต่ในที่สุด ได้มีการร่วมคิดที่ถูกนำเสนอ คือ น่าจะเกิดจากการมีส่วนร่วมของชาวสงขลา เพื่อจะได้ให้การรณรงค์เรื่องอาหารเป็นวาระอาหารแห่งปีของชาวสงขลา และชาวสงขลาจะได้เกิดการตระหนักในคุณค่าแห่งอาหาร และให้มีเวลาคิดที่จะกินดี เพื่ออยู่ดี  ดังนั้นคำขวัญจึงควรใช้กิจกรรมการประกวดวลีเด็ด ในหัวข้อ "อาหารของแม่" และหลังจากได้คำขวัญเพื่อการนำ คำว่าแม่ไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปี ควรจะมีการจัดงานตลาดนัดความรู้ และมีการประกวดการทำอาหาร
2. ประชุมเพื่อหาเครือข่ายสื่อและได้ช่องทางของการสื่อสารที่หลากหลาย และมีแนวคิดด้านอาหารร่วมกัน [Songkhla Media Food Network]

ปัญหา
1.ปัญหาในการจัดการโครงการบูรณาการฯ เพราะทางทีมสื่อเห็นว่าในแผนงานที่จะนำไปสื่อสารนั้นได้เห็นแต่ตัวแผนงาน  เห็นกระ บวนการ  ได้เห็นทรัพยากร แต่ไม่เห็นคนทำจริงๆ (คน=ชาวบ้าน ผู้ผลิต ผู้บริโภค )
2.อาหารปลอดภัย มาตรฐานอยู่ที่ไหน  ความมั่นคงทางอาหาร  โภชนาการสมวัย  คำนิยามร่วมกันคืออะไร    คำว่าบูรณาการคืออะไร ถ้าได้คำนิยาม หรือเป้าหมายร่วมกัน ก็จะทำให้เห็นถึงความชัดเจนที่จะนำไปสื่อสารในแนวทางเดียวกันได้

แนวทางแก้ไข
ทีมประสานงานกลางควรมีการจัดSongkhla Food Forum เวทีร่วมคิดระหว่างทุกฝ่ายเพื่อค้นหาคำนิยามร่วมกันถ้าทุกแผนงานมองได้ชัดเจน  จะทำให้ทุกฝ่ายทำงานง่ายขึ้นและมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ร่วมทั้งต้องเป็นเวทีที่เห็นคนทำจริงๆและจากหลายๆหน่วยงานด้วย

4. เพิ่มหน้าwebสำหรับโครงการบูรณาการอาหาร »
พฤหัสบดี 27 มิ.ย. 56 พฤหัสบดี 27 มิ.ย. 56

จัดทำหน้าwebโครงการบูรณาการแผนสุขภาวะด้านอาหารเพื่อให้เป็นคลังเสียงสาธารณะและจัดทำหน้าแรกของwebsiteให้เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร และบทความด้านอาหารจากระดับโลกถึงระดับพื้นที่ใน www.banbanradio.com  และประสานเครือข่ายสื่อในการนำรายการเสียง คลิปเสียง หรือข่าวสารเพื่อไปนำเสนอในแต่ละสื่อ แต่ละพื้นที่

1.ศึกษา,ค้นคว้า,สัมภาษณ์,ติดตาม ข่าวสารและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลในระดับโลก ระดับประเทศและในระดับพื้นที่ในประเด็นอาหารเพื่อนำมาจัดทำและเขียนลงในหน้าwebหน้าหลักของwww.banbanradio.comเพื่อให้เป็นแหล่งข่าวและเป็นคลังข้อมูลสำหรับเครือข่ายสื่อเพื่อเป็นข้อมูลให้กับช่องทางสื่อในแต่ละสื่อและแต่ละพื้นที่ของแผนงานอาหาร
2.ติดตามงานของโครงการบูรณาการอาหาร และจากการดำเนินงานของแผนงานต่างๆ โดยการประชุม หรือติดตามบันทึกเสียงจากเวที และการเชิญแผนงานต่างๆไปร่วมรายการในช่องทางสื่อ เช่น รายการพิราบคาบข่าวTV11 รายการสภากาแฟ มอ.88 รายการอสมท.เพื่อชุมชน อสมท.96.5 รายการบินหลาหาข่าว หรือรายการปักษ์ใต้บ้านเราสวท.90.5 เป็นต้นและนำมาจัดทำเป็นคลังเสียงสาธารณะเพื่อเชื่อมช่องทางเครือข่ายสื่อต่างๆ
3.จัดทำสื่อในรูปแบบsocial media โดยfanpageอาหารของแม่ในwww.facebook.com/mamagoodfood และการส่งข่าวด้านอาหาร เชื่อมต่อแผนงานอาหารทุกแผน และติดตามงานจากแผนงานอาหารผ่านfanpage ในBanBanRadio และSongkhlamahachon
4.ประสานเครือข่ายแผนงานการสื่อสารสาธารณะจังหวัดสงขลาในการติดตามข้อมูลทั้งเสียงและข่าวเพื่อไปนำเสนอในช่องทางของแต่ละสื่อแต่ละพื้นที่
5.จัดทำหน้าเวบและupdateข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดปีโครงการ

1.www.banbanradio.com จะต้องเป็นคลังเสียงและคลังข้อมูลที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาหารที่หลากหลาย 2.www.banbanradio.com และ www.consumersouth.org จะสามารถเป็นเวบกลางในการเชื่อมต่อกับwebsiteต่างๆทั้งภายในแผนงานอาหาร และภายนอก
3.สามารถสร้างเครือข่ายสื่ออาหารผ่านช่องทางสื่อinternet และ social mediaทั้งหน้าเพจของmamagoodfood,  BanBanRadio ,Songkhlamahachonและเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนและส่งข่าวระหว่างแผนงานอาหารและหน่วยงานภายนอก

1.www.banbanradio.com เป็นคลังเสียงและคลังข้อมูลที่สือได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อวิทยุชุมชนต่างๆ เช่นวิทยุเสียงจะนะ FM.98.50,FM.95.50ต.บ้านนา, FM.88.50 ต.น้ำขาว,FM.91.50หาดใหญ่,FM.96.75asia plusพัทลุง,FM.94.0 สะบ้าย้อย,FM.101,50ต.ท่าข้าม, FM.100.0อ.เมือง,FM.106.50 โชคสมาน,FM.99.25ตใเขารูปช้าง,FM.103.0มวลชนคนเทพา, FM.105.25PS Radioบ้านพรุ
2.เครือข่ายสื่อวิทยุชุมชนรับฟังข่าวสารและนำคลิปเสียงหรือรายการเสียงต่างๆจากwebsiteไปออกอากาศ
3.FanpageจากFacebook เป็นที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ และเป็นที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายสื่อและแผนงานอาหารในโครงการ
4.www.seewithsound.com เป็นช่องทางสำหรับนำเสนอ คลิปวีดีโอ รายการ mamagoodfood และจะเป็นช่องทางสำหรับรายการทีวีเคเบิล อาหารของแม่ด้วย

-

5. ประชุมกรรมการบริหารโครงการบูรณาการอาหาร »
พุธ 10 ก.ค. 56 พุธ 10 ก.ค. 56
  1. รายงานความก้าวหน้าของแผนงานสื่อโดยการนำเสนอผ่านวีดีทัศน์ สงขลามหาชน
  2. รายงานการดำเนินงานตามแผนกิจกรรมต่อไปผ่านข้อแนะนำและการซักถาม
  1. รายงานความก้าวหน้าของแผนงานสื่อสารสาธารณะผ่านการนำเสนอในรูปแบบวีดีทัศน์ สงขลามหาชน โดยมีประเด็นหลัก คือการจัดทำcampaign เพื่อใช้เป็นหัวข้อในการรณรงค์ร่วมกันของทุกช่องทางสื่อที่จะได้มีเป้าหมายเดียวกัน  นอกจากประโยชน์ของการเผยแพร่ผ่านสื่อแล้ว การใช้campaign จะเป็นการสร้างกระแสให้ชาวสงขลาได้มองเห็นโครงการบูรณาการอาหาร และตระหนักถึงการกินอย่างใส่ใจและมีคุณค่า ของการกินดี เพื่ออยู่ดี และจะได้ช่วยกันทำข้อเสนอในประเด็นอาหารไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี โดยเฉพาะมิติแห่งการบูรณาการด้านอาหารผ่านภาพ "อาหารของแม่"  และช่องทางการสื่อสาร รวมทั้งกิจกรรมที่จะขยายผลcampaignในรูปแบบของกิจกรรมนิทาน
  2. ตอบข้อซักถามหลังจากการนำเสนอ
  1. ทุกแผนงานเข้าใจจุดประสงค์การจัดทำcampaign และเข้าใจในมิติอาหารของแม่ ซึ่งจะได้เห็นกระบวนการอาหารในลักษณะการบูรณาการทั้ง 3 แผนงานคือ
  • ความมั่นคงทางอาหาร
  • อาหารปลอดภัย
  • โภชนาการสมวัย
    โดยทั้งสามแผนงานใช้ประเด็น"อาหารของแม่" เป็นเป้าหมายร่วมกัน
    2.ในแต่ละแผนงานจะเข้าร่วมในกิจกรรมอาหารของแม่และช่วยกันรณรงค์และประชาสัมพันธ์การประกวดคำขวัญในชุมชนที่แผนงานต่างๆกำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ เพื่อจะได้ร่วมกันเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายด้านอาหาร ไปสู่ สงขลา วาระอาหารแห่งปี
  1. แผนงานการสื่อสารควรจะทำให้สอดรับกับตัวโครงการใหญ่ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการ 3 แผนงานหลักคือ ความมั่นคง ความปลอดภัย และโภชนาการสมวัย โดยต้องเป็นการสื่อสารไปสู่สาธารณะเพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่องของสุขภาวะด้านอาหาร
  2. นอกจากสื่อสารไปสู่ประชาชนหรือกลุ่มผู้บริโภคแล้วควรจะต้องสื่อสารให้เข้าถึงระดับนโยบายเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อน
  3. กลไกหรือขั้นตอนในการที่จะนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายควรจะต้องเป็นเป้าหมายร่วม หรือถ้าต้องการใช้ อาหารของแม่เป็นเป้าหมายก็ควรต้องวางข้อเสนอร่วมกันในทุกแผนงาน
  4. ใช้campaign อาหารของแม่ในหลายๆมิติ เช่น อาจให้มีการประกวดหนังสั้น ซึ่ถ้าเป็นกลุ่มวัยรุ่น อาจตีความหมายอาหารของแม่ไปในแนวทางต่างๆ เช่น แม่น้ำ เป็นต้น และการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนำเสนอ campaign อาหารของแม่ในหน่วยงานต่างๆ
  5. ควรจะเป็นการสื่อสารที่แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 3 กลุ่ม คือ เครือข่ายทำงานในแผนงานต่างๆ  กลุ่มผู้บริโภคหรือประชาชน และระดับนโยบายในช่องทางสื่อต่างๆ เช่น website ซึ่งทำข้อมูลให้link ไปหลายช่องทาง  หรือการมีข้อมูลในคลังเสียง หรือ คลังข้อมูล เพื่อให้ทุกกลุ่มสามารถนำไปใช้ได้
  6. แผนงานสื่อน่าจะต้องค้นคว้าข้อมูลข่าวสารและนำเรื่องราวข้างนอกเข้ามาด้วยว่าที่ใดที่ทำกระบวนการเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารเหมือนแผนงานของเราบ้าง คือ ให้เห็นทั้งปฏิบัติการของท้องถิ่น และเห็นปฏิบัติการจากข้างนอก
  7. campaign อาหารของแม่ควรเริ่มทำทันที เพราะอาจเป็นการจุดประกายสู่สังคม และเมื่อนำเสนอออกไปอาจเห็นผลสะท้อนสู่โครงการได้

ปัญหา
1. เป้าหมายร่วม นิยามร่วม ยังไม่มี แต่ละแผนงานก็ทำงานของตัวเองไป โดยไม่เห็นความสำคัญของการบูรณาการ
2. ทุกแผนมีแต่ข้อเสนอ แต่ไม่มีเวลามาร่วมคิด ก็เลยขาดภาพความชัดเจนที่สื่อจะนำไปเผยแพร่ในทิศทางเดียวกัน

แนวทางแก้ไข
สื่อจะต้องลงพื้นที่เพื่อร่วมเวทีปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่และสรุปตามความเข้าใจเพื่อหาแนวทางที่ใกล้เคียงกันที่สุด ซึ่งอาจไม่ได้ภาพที่ชัดเจนเท่าที่ควร

6. ประชุมกลุ่มย่อยตามแผน campaign "อาหารของแม่" »
จันทร์ 29 ก.ค. 56 จันทร์ 29 ก.ค. 56
  1. ชี้แจงความก้าวหน้าแผนงานสื่อและหารือเรื่องcampaign "อาหารของแม่"ว่าจะดำเนินการอย่างไรและจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง
  2. นัดวันประชุมสำหรับทีมที่ปรึกษาว่าจะทำให้อาหารของแม่ไปสู่นโยบายได้อย่างไร และเมื่อใดที่จะไปพบจังหวัด เป็นไปได้หรือไม่

รายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับcampaignอาหารของแม่โดย

  1. ให้มีการประกวดวลีเด็ดเพื่อการมีส่วนร่วมของชาวสงขลาในการกำหนดข้อเสนอของตนเองผ่านคำขวัญในหัวข้ออาหารของแม่ แล้วส่งประกวดผ่านsms โดยการพิมพ์24ตามด้วยวลีเด็ด แล้วส่งมาที่ 4554510ซึ่งได้ชี้แจงว่ามีปัญหาsmsในตอนแรกเพราะไปซ้อนกับหมายเลขทางเชียงรายแต่ก็แก้ไขเรียบร้อยแล้วโดยมีคนเริ่มส่งเข้ามาบ้างแล้ว และจะมีการนำเสนออาหารของแม่ผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ประชาชนสนใจเรื่องของอาหารของแม่ และอยากเข้ามามีส่วนร่วมในประเด็นอาหารของแม่
  2. ได้ร่วมคุยกับสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวและหอการค้าว่าจะร่วมสนับสนุนเพื่อช่วยกันผลักดันเรื่องของอาหารไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปีได้หรือไม่ซึ่งจะนัดคุยกันในวันที่2 หรือ3 สิงหาคม
  3. แลกเปลี่ยนความคิด และเพิ่มข้อแนะนำที่จะเดินหน้าอาหารของแม่ให้เกิดเป็นกระแส
  1. กำหนดวันสำหรับการประชุมกับที่ปรึกษาแผนงานอาหารคือสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวและหอการค้า รวมทั้งแผนงานกลางเพื่อหารือแนวทางที่จะทำให้อาหารของแม่เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายหรือเป็นวาระจังหวัด
  2. มีข้อเสนอเพิ่มเติมสำหรับแผนสื่อที่จะให้อาหารของแม่เป็นที่สนใจของชาวสงขลา
  1. สมาคมสมาพันธ์โรงแรมและการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาและหอการค้าจังหวัดสงขลามีแผนงานอยู่แล้วเพียงแต่ว่าเราจะนำวาระอาหารนี้ร่วมกันได้อย่างไรจึงต้องมีการนัดวันประชุมในวันที่3 สิงหาคม
  2. ประเด็นอาหารของแม่เห็นได้ชัดในในแง่ของอาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย แต่แง่ความมั่นคงยังมมองไม่ค่อยชัดเจนคงต้องเชื่อมให้ได้ว่าอาหารของแม่จะไปสู่ความมั่นคงทางอาหารได้อย่างไร
  3. ควรมีการใส่ข้อมูลทางด้านความหมายอาหารของแม่ จะมีกระบวนการอย่างไรบ้าง นอกจากการประกวดวลีเด็ดแล้ว ในsocial mediaต่างๆน่าจะเพิ่มเติมรูปแบบคลิปวีดีโอหรือบทความ ส่งภาพถ่ายอาหารของแม่ และในช่องทางสื่อทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นวิทยุ หนังสือพิมพ์ cableTV websiteให้เสนอเรื่องอาหารของแม่พร้อมกันเพื่อสร้างกระแสให้คนสงขลามีการแลกเปลี่ยนความคิดกันในประเด็นอาหาร
  4. การตั้งเวทีเสวนาของผู้ใหญ่ในจังหวัดผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่นเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมาคุยในประเด็นอาหาร เชิญนายกอบจ. เชิญนายกเทศมนตรี โดยการขอเกียรติบัตร หรือขอโล่รางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด
  5. การจัดevent อาหารของแม่ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ หรือการกำหนดกิจกรรมร่วมกับแผนงานเครือข่ายอาหารให้มีอาหารของแม่เป็นประเด็นร่วมด้วย

ปัญหา ช่วงเวลาในการประกวดcampaignกระชั้นชิด

แนวทางแก้ไข ขยายเวลาการทำcampaignต่อไป

7. ประชุมนายกสมาคมสมาพันธ์และทีมกลาง ประเด็น"สงขลา วาระอาหารแห่งปี" »
พุธ 31 ก.ค. 56 พุธ 31 ก.ค. 56

เพื่อหารือแนวทางที่ระดับนโยบายจะสนับสนุน campaign "อาหารของแม่" ไปสู่ สงขลา วาระอาหารแห่งปี

ร่วมหารือกับคุณสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว จ.สงขลา ในฐานะคณะกรรมการบริหารโครงการและ ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ หน่วยงานประสานงานกลาง และแผนงานการสื่อสารสาธารณะในประเด็นการขับเคลื่อน อาหารของแม่ ไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนโดยผ่านระดับนโยบายสู่จังหวัด และ อบจ รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เช่น เทศบาล และ อบต.

ผู้รับผิดชอบโครงการ อ.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์และประธานหอการค้า จังหวัดสงขลา นายสมพร สิริโปราณานานท์จะร่วมขับเคลื่อนเพื่อผลักดันcampaignอาหารของแม่ เข้าสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี และเข้าพบผู้ว่า และนายก อบจ.ขอการสนับสนุนเพื่อร่วมเซ็นเกียรติบัตรเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ชนะเลิศในการประกวดคำขวัญ หรือ วลีเด็ด เพื่อการรณรงค์ "อาหารของแม่"

1.campaign อาหารของแม่ เป็นเพียงการจุดประกายสู่สังคมเพื่อให้สังคมตื่นตัวและใส่ใจกับเรื่องการกินดี เพื่ออยู่ดีให้มากขึ้น ให้ความสนใจในเรื่องของอาหารในมิติของคุณค่าและการแบ่งปัน และเป็นการฟื้นความสัมพันธ์ภายในครอบครัวโดยใช้อาหารเป็นเครื่องมือ
2.กิจกรรมที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช่นการเข้าร่วมในเวทีต่างๆหรือในหน่วยงาน หรือองค์กรที่มีกิจกรรมในวันแม่เพื่อขอเสนอประเด็นอาหารของแม่ การทำเรื่องการประกวด หรือการแข่งขันการทำอาหารของแม่  การเสนอcampaignอาหารของแม่ในสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ ทีวี website และการจัดกิจกรรมนิทานในประเด็นอาหาร การจัดเวทีFood Forumเพื่อทำความเข้าใจมิติของคำว่า อาหารของแม่
3.นายกสมาคมฯธุรกิจการท่องเที่ยวเสนอว่าควรมีการทำโครงสร้างการทำงานให้ชัดเจน เพื่อให้boardบริหารได้ช่วยดูนโยบาย และมีแผนงานการดำเนินกิจกรรมต่างๆของแผนสื่อเพื่อนำpaper ไปเสนอจังหวัด หรือ อบจ.โดยให้ทางแผนสื่อไปร่างแผนงานและขั้นตอนการดำเนินงาน และหลังจากนั้นทางอาจารย์พงศ์เทพ และคุณสุรพล จะไปชี้แจงและนำเสนอต่อผู้ว่าซึ่งในทั้งนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดมีนโยบายเรื่องอาหารให้กับทางสมาคมสมาพันธ์ฯไปดำเนินงานอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการเซ็นในเกียรติบัตรคงไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่สำคัญต้องมีโครงสร้างการทำงานเพื่อจะได้รู้ว่าใครจะต้องทำอะไรบ้าง
4.สมาคมสมาพันธ์ฯยินดีที่จะช่วยสนับสนุนcampaignอาหารของแม่และยินดีที่จะประสานองค์กร หรือหน่วยงานเอกชนต่างๆเพียงแต่ขอให้ทางแผนงานสื่อเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆให้ต่อเนื่องและทำจริง ถ้าคุณชัยวุฒิรับผิดชอบในแผนงานครั้งนี้ ทางสมาคมฯก็มีความเชื่อมั่นที่จะช่วยสนับสนุน

-

8. ประชุมกับที่ปรึกษาแผนงานการสื่อสาร ประเด็น อาหารของแม่ »
เสาร์ 3 ส.ค. 56 เสาร์ 3 ส.ค. 56

เวทีหารือที่ปรึกษาโครงการในการนำข้อเสนอของ “อาหารของแม่” สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี และร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการคือ อาจารย์พงศ์เทพ เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด และ นายกอบจเพื่อขอการสนับสนุนในการร่วมเซ็นในเกียรติบัตรให้กับผู้ชนะเลิศการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอในหัวข้อ อาหารของแม่

1.เริ่มประชุมในประเด็นพิพิธภัณฑ์ชะแล้เพื่อหาการสนับสนุนจากหอการค้าและสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว
2.เปิดประเด็นอาหารด้วยการพูดถึงอุทยานอาหารที่ต้องหารือเรื่องพื้นที่และดูทิศทางของอบจ.เนื่องจากจะมีการเลือกตั้งนายกอบจ. 3.ชี้แจงรูปแบบของโครงการอาหารซึ่งมี3แผนงานคือความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยในพื้นที่ต่างๆ
4.แผนงานการสื่อสารซึ่งจะทำเรื่องcampaignอาหารของแม่เพราะเป็นคำที่เห็นมิติของการบูรณาการ ซึ่งจากคำอาหารของแม่จะเป็นหัวข้อในการประกวดวลีเด็ด และกิจกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ก็จะใช้ช่องทางสื่อในหลายๆรูปแบบเพื่อถ่ายทอดcampaignอาหารของแม่ให้เป็นการจุดประกายในสังคม
5.พี่แมนช่วยชี้แจงเรื่องของอาหารในมิติของความสุข การกินอาหารสะท้อนอะไรบ้าง ปัจจุบันอาหารคือเรื่องของการขาย เราลืมเรื่องของคุณค่าไป ดังนั้นในคำอาหารของแม่คือการหยิบยื่นการแบ่งปัน มิตรภาพ และเป็นความวางใจ ปลอดภัย
6.การขอการสนับสนุนและความเห็นชอบจากหอการค้าและสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจ.สงขลาช่วยผลักดันอาหารของแม่ให้เป็นวาระจังหวัด และขอให้ทั้ง2องค์กรช่วยเข้าพบท่านผู้ว่าเพื่อขอให้ช่วยเซ็นเกียรติบัตรสำหรับรางวัลการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ

1.ทั้งหอการค้าจังหวัดสงขลา และสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวเห็นความสำคัญในมิติcampaign อาหารของแม่และจะช่วยนำเสนอต่อผู้ว่า และอบจ.เพื่อขับเคลื่อนให้ประเด็น อาหารของแม่เข้าสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปี
2.ทั้ง2องค์กร พร้อมผู้รับผิดชอบโครงการคือ อ.พงศ์เทพจะเข้าพบผู้ว่า และนายกอบจ.เพื่อขอการสนับสนุนในการร่วมเซ็นเกียรติบัตรประกวดวลีเด็ดและคลิปวีดีโอในหัวข้ออาหารของแม่
3.ทั้ง2องค์กรจะช่วยโปรโมทและประชาสัมพันธ์งานอาหารของแม่ในหน่วยงานของหอการค้าและสมาคมสมาพันธ์และหน่วยงานเอกชนต่างๆ

1.แผนงานสื่อจะต้องมีโครงสร้างที่แน่ชัดบนสุดคืออาหารของแม่ รองลงมาจะเป็นทีมทำงานโดยมีแผนสื่อเป็นฝ่ายปฏิบัติ และมีคณะทำงานสนับสนุนประมาณ3องค์กรก็พอ เช่น หอการค้า สมาพันธ์และสถาบัน ซึ่งถ้าสื่ออยากทำกิจกรรมอะไรก็สามารถเชื่อมต่อในหน่วยงานต่างๆที่ทั้ง3องค์กรประสานอยู่ได้เลย
2.หอการค้าเสนอว่าควรทำความเข้าใจในมิติคำว่าอาหารของแม่โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งในส่วนของวัยรุ่นอาจไม่ต้องการในมิติอาหารของแม่ และมีแม่ซักกี่คนที่จะทำอาหารเอง คำว่าอาหารของแม่เป็นคำที่สวยงาม แต่จะทำอย่างไรที่จะทำให้ผลสะเทือนไปทั่วทั้งจังหวัด จะมีคำใดไม๊ที่สามารถอธิบายคำนี้ได้อย่างชัดเจน
3.มิติอาหารของแม่ต้องแยกกิจกรรมเป็นหลายๆกลุ่มเป้าหมาย เพราะแต่ละวัยจะมีการมองอาหารของแม่ที่แตกต่างกันออกไป
4.การมอบโล่ หรือ การมอบเกียรติบัตรควรจะต้องให้จังหวัดเข้ามามีส่วนร่วม และให้ทางมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพร่วม การใช้เพียง2หน่วยงานนี้ก็เพียงพอแล้ว
5.ควรต้องมีกิจกรรมอาหารของแม่เข้าไปในทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน และตามช่องทางสื่อต่างๆ ถ้าหากว่าเราสามารถเข้าไปเสริมกิจกรรมในส่วนเหล่านี้ได้ campaignอาหารของแม่จะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน

อาหารของแม่เป็นคำที่สวยงาม แต่ความเข้าใจยังเห็นไม่ชัดเจนในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

จะต้องหาคำอธิบายและต้องทำความเข้าใจคำว่าอาหารของแม่ให้เห็นภาพให้มากที่สุด

9. ร่วมรายการ อสมท.เพื่อชุมชน »
จันทร์ 5 ส.ค. 56 จันทร์ 5 ส.ค. 56

เป็นการดำเนินรายการร่วมกันระหว่าง ดี เจ นงลักษณ์ ตันรัตนพงษ์ ,ชัยวุฒิ เกิดชื่น,สุวรรณี เกิดชื่น เพื่อประชาสัมพันธ์ ที่มาของโครงการอาหารของแม่ กิจกรรมประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ

ดำเนินรายการร่วมโดยมีการซักถามในประเด็นความสำคัญของที่มาโครงการและมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ฟังได้ร่วมประกวดคำขวัญ หรือวลีเด็ดในหัวข้ออาหารของแม่

กลุ่มผู้ฟังได้รับข่าวสารของโครงการบูรณาการอาหาร และให้ความสนใจที่จะร่วมส่งคำขวัญ หรือวลีเด็ดและความตระหนักใส่ใจในคุณค่าของอาหารมากขึ้น

ทางรายการ และทางสถานีวิทยุ อสมท.F.M.96.5 MHz.จะให้ความร่วมมือประชาสัมพันธ์กิจกรรมการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ รวมทั้งจะให้เวลาอย่างต่อเนื่องที่จะเข้าร่วมรายการหรือนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมในโครงการอาหารต่อไป

-

10. รายการพิราบคาบข่าว »
พุธ 7 ส.ค. 56 พุธ 7 ส.ค. 56

ชัยวุฒิ เกิดชื่น, จิระภา หนูชัย สัมภาษณ์  ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ,อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ เกี่ยวกับโครงการบูรณาการอาหาร และประเด็น campaign อาหารของแม่

ชัยวุฒิ เกิดชื่น, จิระภา หนูชัย สัมภาษณ์  ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ,อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ เกี่ยวกับโครงการบูรณาการอาหารในรายละเอียดของที่มา และสถานการณ์อาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีปัญหาอย่างไร  และได้ทำการประชาสัมพันธ์ประเด็น campaign อาหารของแม่ ซึ่งมองเห็นมิติของอาหารในเชิงคุณค่าว่าคืออะไร และทำไมถึงต้องมีการผลักดันประเด็นอาหาร ไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปี

1.แผนการสื่อสารสาธารณะต้องการนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลของโครงการบูรณาการอาหารให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางสื่อที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง และเพื่อให้แผนงานต่างๆทั้งความมั่นคง ความปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ทำงานได้ง่ายขึ้นและชุมชนในพื้นที่เข้าใจว่าทางโครงการทำอะไรกันบ้าง และมีช่องทางสื่อใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อแผนงานทั้งสาม
2.campaignอาหารของแม่เป็นที่รู้จัก และเข้าใจในมิติเชิงคุณค่าของอาหารเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันและชาวสงขลาช่วยกันผลักดัน อาหารของแม่ไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปี

1.ได้เผยแพร่และนำเสนอข้อมูลของโครงการบูรณาการอาหารเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านรายการพิราบคาบข่าวและเป็นที่สนใจของฝ่ายรายการ ซึ่งจะนำไปสู่การเสนอข้อมูลจากแผนงานทั้งสาม ในครั้งต่อไป โดยจะมีการนัดแนะเวลาออกอากาศอีกครั้ง
2.ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์campaignอาหารของแม่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

เนื่องจากเวลาจำกัดจึงไม่สามารออกอากาศพร้อมกันได้ทุกแผนงาน ดังนั้น ในครั้งต่อไปจะเป็นการนำเสนอการทำงานของแต่ละแผนงานที่กำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ โดยจะนำเสนอช่วงเวลาในที่ประชุมต่อไป

11. รายการปักษ์ใต้บ้านเรา(น้ำชาหัวค่ำ) »
พุธ 7 ส.ค. 56 พุธ 7 ส.ค. 56

อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์,ชัยวุฒิ เกิดชื่น,สุวรรณี เกิดชื่น ดำเนินรายการร่วมกันในประเด็น โครงการบูรณาการอาหารในหัวข้อที่มาของโครงการ และสถานการณ์อาหารในปัจจุบัน และประเด็นคุยถึงอาหารในเชิงมิติทางวัฒนธรรม ที่สำคัญคือการประชาสัมพันธ์ประเด็นcampaign อาหารของแม่ในรายการปักษ์ใต้บ้านเรา(น้ำชาหัวค่ำ)เวลา 18.00-19.00 น.ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลา F.M.90.5 MHz

เป็นการดำเนินรายการร่วมกันระหว่างแผนงานการสื่อสารสาธารณะ และแผนงานความมั่นคงทางอาหารโดยร่วมกันนำเสนอความเป็นมาของโครงการ และรายละเอียดสถานการณ์อาหารในปัจจุบัน รวมทั้งการพูดคุยกันในมิติของอาหารเชิงสังคมและวัฒนธรรม และที่มาของcampaign อาหารของแม่ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มผู้ฟังและผู้สื่อข่าวบินหลาให้ร่วมส่งวลีเด็ดเข้าประกวดในโครงการทางรายการปักษ์ใต้บ้านเรา

ทีมผู้สื่อข่าวบินหลาได้รู้จักโครงการบูรณาการอาหารและเข้าใจ รู้คุณค่า ตระหนักในความสำคัญของอาหารว่าการกินดี จะนำไปสู่การอยู่ดี เพื่อสุขภาพที่ดี และผู้ฟังให้ความสนใจในการร่วมประกวดวลีเด็ด หรือคำขวัญ เพื่อการรณรงค์ ในหัวข้อ อาหารของแม่ ผ่าน sms และร่วมกัน ผลักดันประเด็นอาหารให้ ไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปี และยังเป็นการนำเสนอช่องทางสื่อที่หลากหลายเพื่อให้แผนงานต่างๆได้รับรู้ว่าทางแผนงานการสื่อสารสาธารณะได้เตรียมช่องสื่อต่างๆไว้ให้ทุกแผนงานเพื่อประชาสัมพันธ์งานที่ทำอยู่ในแต่ละพื้นที่

ป้าถนอม ศิริรักษ์อายุ87ปี ครูภูมิปัญญาไทย ซึ่งโทรมาร่วมพูดคุยในรายการหลังจากที่ทางโครงการได้นำเสนอเรื่องของอาหารในแง่ของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยได้กล่าวถึงความสัมพันธ์จากอาหารของปู่ย่าตายายในแง่ของมรดกสืบทอดและป้าหนอมได้ปรับสูตรเพิ่มเติมและนำไปสอนนักศึกษา นักเรียนและชาวบ้านที่สนใจซึ่งมีคุณประโยชน์ที่มีค่ามาก ดังนั้นจึงบอกว่ามิติของอาหารในแง่ของคุณค่า การให้ การแบ่งปันจึงเป็นสิ่งสำคัญ และน่าสนใจสำหรับคำว่า อาหารของแม่ เพราะป้าหนอมก็เป็นแม่ที่พยายามถ่ายทอดฝีมืออาหารสู่ลูกๆด้วย

-

12. ประชุมเครือข่ายสื่อชุมชน »
พฤหัสบดี 8 ส.ค. 56 พฤหัสบดี 8 ส.ค. 56

พูดคุยกับแกนนำสื่อวิทยุชุมชน และสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ campaign อาหารของแม่

พูดคุยกับแกนนำสื่อวัฒนธรรม 16 คลื่น 16 อำเภอ คือคุณอนุชา พุ่มเสน ผู้บริหารคลื่นเสียงจะนะ เพื่อขอความร่วมมือให้ช่วยแจกโบร์ชัวร์และCD สปอตให้กับคลื่นอื่นๆเพื่อเชิญชวนให้ผู้ฟังตามพื้นที่ให้เข้าร่วมการประกวดวลีเด็ด และขอนัดการประชุมสื่อวิทยุเพื่อชี้แจงที่มาโครงการ

แจกโบร์ชัวร์ จำนวน 100 แผ่นและCD สปอต จำนวน 16 แผ่นให้กับคลื่นวิทยุชุมชนต่างๆ และได้รับความร่วมมือเพื่อร่วมกันประชา สัมพันธ์การประกวดวลีเด็ด และนัดวันประชุมสื่อวิทยุชุมชน

1.คุณอนุชา พุ่มเสนแกนนำสื่อวัฒนธรรมรับที่จะประสานสื่อวิทยุชุมชนในการประชาสัมพันธ์การประกวดวลีเด็ด และจะประสานรวมทั้งแจกโบร์ชัวร์ให้กับสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นให้ลงข่าวประชาสัมพันธ์การประกวดวลีเด็ดและเสนอข่าวประเด็นอาหารด้วยรวมทั้งจะขอโบร์ชัวร์เพิ่มเพื่อจะไปแจกนักเรียนที่โรงเรียนที่จะนะด้วย
2.จะนัดวันประชุมสื่อวิทยุชุมชนในการที่จะเข้าร่วมเรียนรู้ที่มาของโครงการอาหารและที่มาของอาหารของแม่ 

-

13. รายการบินหลาหาข่าว เวลา 05.00 - 05.30 น. »
จันทร์ 12 ส.ค. 56 จันทร์ 12 ส.ค. 56

ดำเนินรายการโดยอาจารย์สถาพร เกียรติอนันต์ชัย วิทยากร อาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์,ชัยวุฒิ เกิดชื่น,สุวรรณี เกิดชื่น
ประเด้นพูดคุย คือ โครงการบูรณาการอาหาร และcampaign การประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ ในหัวข้อ อาหารของแม่

คุณชัยวุฒิ คุณสุวรรณี อ.เทพรัตน์ ร่วมพูดคุยในรายการบินหลาหาข่าวกับอ.สถาพรเพื่อประชาสัมพันธ์campaign อาหารของแม่ในการให้ผู้ฟังส่งคำขวัญเพื่อร่วมประกวดวลีเด็ดผ่านทางsms

กลุ่มผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาcampaign อาหารของแม่และพร้อมจะส่งคำขวัญเข้าร่วมประกวดในหัวข้อ อาหารของแม่

คำขวัญและวลีเด็ดจากsms มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่มาจากกลุ่มผู้ฟังบินหลาหาข่าว 

-

14. ประชุมเครือข่ายสื่อชุมชน »
พฤหัสบดี 15 ส.ค. 56 พฤหัสบดี 15 ส.ค. 56

เพื่อหารรือเรื่องประเด็น อาหารของแม่ และเล่าถึงที่มาของโครงการบูรณาการอาหาร รวมทั้งหารือเพื่อนัดประชุมสื่อท้องถิ่นอีกครั้งในการเรียนรู้กับโครงการบูรณาการอาหาร

ได้พูดคุยกับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบางฉบับเท่านั้นแต่ได้มีการปรึกษาที่จะนัดประชุมเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น

ได้พบกับสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา และขอความร่วมมือเพื่อลงประชาสัมพันธ์campaign อาหารของแม่

ได้โอกาสจากหนังสือพิมพ์โฟกัสเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับอาหารเป็นหลักและเรื่องสิ่งแวดล้อม

สื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออื่นๆจะมีความแตกต่างในบุคลิกของแต่ละสื่อ ดังนั้น การแยกชี้แจง และสอบถามจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า

15. ร่วมรายการบินหลาหาข่าว(05.00-07.00 น.) »
เสาร์ 31 ส.ค. 56 เสาร์ 31 ส.ค. 56

ร่วมจัดรายการบินหลาหาข่าวกับอ.ไพฑูรย์ ศิริรักษ์ ในประเด็น อาหารในมิติวัฒนธรรม และประชาสัมพันธ์Campaign "อาหารของแม่"

จัดรายการบินหลาทาง สวท 90.5โดยมีอ.ไพฑูรย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น และคุณสุวรรณี ร่วมรายการพูดคุยกันในประเด็นมิติอาหารในเชิงวัฒนธรรม และอาหารท้องถิ่นของภาคใต้ โดยเปิดรับสายร่วมนำเสนอประเด็นอาหารจากกลุ่มบินหลาในพื้นที่ต่างๆ และตอนท้ายรายการได้ประชาสัมพันธ์กิจกรรม อาหารของแม่ เชิญชวนผู้ฟังและกลุ่มบินหลาให้ร่วมสนุกในการประกวดวลีเด็ด ส่งผ่าน smsโดยพิมพ์ 24 แล้วส่งมาที่ 4554510

กลุ่มบินหลาให้ความสนใจ และเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของอาหารและใส่ใจกับวิถีอาหารดั้งเดิมที่เห็นภาพความสัมพันธ์ในครอบครัว และใส่ใจด้านอาหารการกินมากขึ้น และรู้จักแผนงานบูรณาการอาหาร โดยสนใจเข้าร่วมประกวดวลีเด็ดในหัวข้ออาหารของแม่ และท้ายสุดมีข้อเสนอเกี่ยวกับมิติแห่งอาหาร และร่วมมีข้อเสนอเพื่อให้ประเด็นอาหาร เป็นวาระสำคัญของจังหวัดสงขลา

  1. กลุ่มผู้ฟังและกลุ่มบินหลาในพื้นที่ต่างๆมีข้อเสนอเกี่ยวกับอาหาร เช่น อาหารกับAEC ซึ่งคนไทยควรใส่ใจกับความเป็นชาตินิยม นั่นคือการตระหนักในอาหารประจำชาติเพื่อนำเข้าสู่AECไม่ใช่รับแต่วัฒนธรรมอาหารจากต่างชาติ
  2. นำเสนอและแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นที่เห็นมิติของภูมิปัญญาเช่นข้าวยำต้องปรุงตามศาสตร์และศิลป์ที่ถูกต้อง ข้าวมันแกงไก่ คืออาหารประจำจังหวัดสงขลา การกินอาหารเป็นยา และประเด็นอาหารของแม่ ที่มีการพูดถึงความเป็นมรดกที่ถูกถ่ายทอดกันมา และมีความภูมิใจกับรสชาติของอาหารที่แม่เป็นผู้ปรุง
  3. ผู้ฟังเกิดความประทับใจกับสูตรอาหารของแม่และมีการนำเสนอสูตรอาหารเพื่อบรรเทาอาการโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตอนท้ายราการที่มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการประกวดวลีเด็ดในหัวข้อ อาหารของแม่ ได้รับความสนใจพอสมควร

-

16. บันทึกเทปรายการสภากาแฟ "อาหารของแม่" »
พุธ 4 ก.ย. 56 พุธ 4 ก.ย. 56

การร่วมรายการวิทยุ และนำเสนอข้อมูลด้านอาหาร และประชาสัมพันธ์ กิจกรรม อาหารของแม่ ในประเด็นความประทับใจที่ได้พูดถึงอาหารของแม่

เป็นการจัดรายการในรูปแบบการสนทนาและพูดคุยกันโดยมีคุณบัญชร วิเชียรศรี คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น คุณอัคคะไกร มหาศรี เจ้าของร้านเจ้เล็ก  คุณสมชาย ละอองพันธ์ผู้ประสานงานโครงการบูรณาการอาหาร และคุณสุวรรณี เกิดชื่นแผนสื่ออาหารโดยเริ่มจากการชี้แจงถึงที่มาโครงการ และสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ความประทับใจอาหารของแม่ และcampaign การประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอในหัวข้อ อาหารของแม่

1.การสื่อสารเรื่องราวและนำเสนอข่าวสารของโครงการบูรณาการอาหารให้เป็นที่เข้าใจของผู้ฟังและเพื่อให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญในเรื่องคุณค่าอาหารจนผลักดันให้เรื่องอาหารเป็นวาระของจังหวัดสงขลา
2.ผู้ฟังตระหนักได้ถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับอาหารที่ไม่ปลอดภัย การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ  ซึ่งหลังจากเข้าใจสถานการณ์แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงตนเองในการคำนึงถึงเรื่องอาหารให้มากขึ้นและได้ตระหนักถงการกินอาหารที่ดี เพื่อการมีชีวิตที่ดีและแข็งแรง และตระหนักถึงอาหารในเชิงคุณค่า
3.รื้อฟื้นความสัมพันธ์ของครอบครัวพ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยายและพี่ๆน้องๆผ่านอาหารในความประทับใจ นึกถึงอาหารของแม่และใส่ใจจากแม่เราสู่ลูกหลานเรา
4.campaignอาหารของแม่ได้รับความสนใจและมีผู้ส่งวลีเด็ด และคลิปวีดีโอเพิ่มมากขึ้น

1.อาหารของแม่ที่สร้างความประทับใจให้ทั้งผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมรายการ ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหาร และความสัมพันธ์ที่ผ่านอาหารจากแม่สู่ลูก และจะมีการสนับสนุนและถ่ายทอดประเด็นอาหารของแม่ให้แพร่หลาย ก่อนอื่น อย่างแรกที่ควรทำคือทุกคนต้องทำอาหารเป็น ทำอาหารง่ายๆโดยเพิ่มความใส่ใจ เช่นคุณปานจากเจ้าของร้านเจ้เล็ก สอนวิธีการทำอาหารด้วยเทคนิคว่า อย่าทำให้อาหารเค็มเกินไป เพราะถ้าเค็มจะแก้ไขไม่ได้ แต่ถ้าหวานให้หวานมากขึ้นหน่อย นี่คือวิธีง่ายๆที่หมายถึงอาหารของแม่ สัปดาห์ซัก1วันที่ครอบครัวมาร่วมกันทำอาหารด้วยกันสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว สร้างกระแสด้วยกันทั้งจังหวัด
2.การทำให้สงขลาเป็นแหล่งอาหารสุขภาพ หรือเมืองแห่งสุขภาพมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ เพราะสงขลาเหมาะมาก เราเป็นแหล่งปลูกข้าวพันธุ์หายากที่เป็นรายได้ส่งออก เช่นพันธุ์ข้าวกุหลาบแดงที่กระแสสินธุ์ การมีแหล่งอาหารทะเลที่จะนะ รวมถึงพืชผักผลไม้จากเขาพระ และที่สำคัญในแผนงานอาหารจะมีอุทยานอาหารเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และหาซื้ออาหารที่ปลอดภัย มีทีมวิจัยที่จะช่วยดูแลเรื่องของอาหารแต่ละชนิดว่าเหมาะกับวัยใด ร้านอาหารอาจส่งอาหารให้คณะเภสัชมาวิเคราะห์ว่า ใครที่มีโรคภัยไข้เจ็บควรกินอะไร
3.ถ้าจะทำเป็นวาระสงขลาในเรื่องของเมนูอาหารมันเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว คือเราต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจกับคนท้องถิ่น เพราะแหล่งอาหารของเราจะขายไปที่อื่นหมด ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องราคา สนใจเรื่องคุณภาพแต่แหล่งอาหารไม่ได้คิดถึงสิ่งนี้ ซึ่งถ้าเราสามารถทำเรื่องการท่องเที่ยวด้วยเรื่องคุณภาพอาหารได้ นั่นถึงจะสร้างกระแสสงขลาให้มีวาระอาหารได้
4.สงขลามีอาหารประจำจังหวัด คือ ข้าวมันแกงไก่ แต่ก็ยังไม่เป็นอาหารสุขภาพเท่าที่ควร ดังนั้นอาจจะสร้างเมนูเพิ่มเพื่อคุณภาพควบคู่กันไปด้วย
5.ประชาสัมพันธ์การประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอในหัวข้ออาหารของแม่ บันทึกรายการเพื่อจะออกอากาศในวันจันทร์ที่16กันยายน 2556

-

17. ร่วมสัมภาษณ์ในรายการ อสมท.เพื่อชุมชน »
พฤหัสบดี 5 ก.ย. 56 พฤหัสบดี 5 ก.ย. 56

สัมภาษณ์รายการ อสมท.เพื่อชุมชน ในประเด็น จะทำอย่างไรที่จะผลักดันเรื่องของอาหาร และอาหารของแม่ให้เป็นวาระสำคัญของจังหวัดสงขลา และการประชาสัมพันธ์การประกวดวลีเด็ด และกิจกรรมต่างๆในหัวข้อ อาหารของแม่(campaign) ผู้ดำเนินรายการคือ คุณนงลักษณ์  ตันรัตนพงษ์  ผู้ร่วมรายการ มี คุณชัยวุฒิ เกิดชื่น  ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ และ คุณสุรพล กำพลานนท์วัฒน์

จัดรายการในรูปแบบของเวทีเสวนาย่อย มีการนำเสนอความคิดเห็น การถามตอบ และการชี้แจงที่มาโครงการบูรณาการอาหารและสถานการณ์ที่ทำให้ต้องมีประเด็นอาหารให้เป็นวาระสำคัญของจังหวัด และการประชาสัมพันธ์campaign อาหารของแม่ รวมทั้งการเสนอแนะจากหน่วยงานทั้งสองว่าจะช่วยทำให้อาหารของแม่เ ไปถึงระดับนโยบายอย่างไร

1.โครงการบูรณาการเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น และชาวสงขลาจะตระหนักถึงการกินอาหารที่มีคุณค่า และรู้จักใส่ใจในอาหารที่กินมากขึ้น
2.campaignอาหารของแม่ได้รับความสนใจมากขึ้นและมีผู้ส่งวลีเด็ด และคลิปวีดีโอร่วมเข้าประกวดเพิ่มขึ้น อาหารของแม่ถูกใส่ใจและมีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ของครอบครัวมากขึ้น
3.อาหารของแม่เป็นวาระที่ชาวสงขลาจะช่วยกันผลักดันให้เป็นระดับนโยบาย และองค์กรทั้งสองจะเป็นแรงสนับสนุนและนำเรื่องเสนอต่อจังหวัดต่อไป

1.เมื่อทุกคนมองอาหารจะมองใน3ระดับคือมีกินไม๊ กินแล้วเป็นอะไรต่อสุขภาพไม๊ และกินตามวัยหรือเปล่า นั่นคือ ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และโภชนาการสมวัย แต่เป็นที่น่าสังเกตุประการหนึ่งซึ่งกำลังวิจัยอยู่คือ อาหารการกินมีผลต่อภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ และในเรื่องIQของเด็กสงขลาอยู่ในอันดับท้ายๆของประเทศแล้ว
2.ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีหลายปัจจัยต่อคุณภาพของอาหาร ตั้งแต่ ต้นทุนที่สูงขึ้น ฐานการผลิตว่าได้รับการดูแลไม๊ การผลิตเพียงพอหรือไม่ การตรวจสอบมีมาตรฐานไม๊ ซึ่งถ้าต้องการการผลิตอย่างมีคุณภาพในจังหวัด อาจทำเป็นมุมเล็กๆเพื่อเป็นตัวอย่างแล้ว และต้องให้การประกันว่าร้านเหล่านี้จะต้องอยู่ได้
3.จังหวัดสงขลาโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารมากท่านผลักดันในเรื่องของการทำอาหาร โดยท่านผู้ว่าพยายามรณรงค์ซึ่งจะมีคำขวัญ เช่นอาหารอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ร้านที่อยู่นอกเมืองออกไปท่านผู้ว่าก็ให้ความสนใจอย่างมาก เพียงแต่ว่าต้องมีหน่วยงานหนึ่งที่ชัดเจนช่วยกันดูแลจริงจังและประสานในภาพผู้ผลิตกับร้านค้าด้วย
4.แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคม คือทุกคนชอบสบาย วิถีปัจจุบัน คือการซื้อทั้งหมด ทำให้ผู้ผลิตเร่งผลิตซึ่งจำเป็นต้องใช้ตัวเร่งซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีซึ่งแน่นอนไม่ปลอดภัยซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการ จากวิถีนี้มันก็เลยต้องมีโจทย์ว่าการแก้ปัญหาคือต้องมองทั้ง3ระดับคือการผลิตที่เพียงพอ ให้คนของเรากิน ดังนั้นการคิดเรื่องอาหารอย่างมีคุณค่า จึงต้องทำให้คนสงขลาตระหนักในเรื่องการกิน ต้องคิดตั้งแต่การที่จะมีลูก แม่ต้องกินอย่างไร มีลูกแล้วลูกกินอะไร กินแล้วแข็งแรงซึ่งนั่นหมายถึงการคิดเรื่องการเฝ้าระวังด้วยตนเองและภายในครอบครัว และการสร้างความสัมพันธ์นอกบ้านจนถึงในสังคม ต้องสร้างความผูกพัน ด้วยการมองเรื่องอาหารในเชิงของแม่ อาหารของแม่คือเครื่องมือหนึ่ง คือการให้อาหารด้วยคุณค่า และความวางใจ
5.สร้างแรงจูงใจในรูปธรรม เช่นการปรุงอาหารต้องมีวัตถุดิบที่คนทำอาหารต้องวางใจด้วย การซื้อผัก ซื้อไก่ ควรต้องสร้างความรู้และชี้ให้เห็นถึงมาตรฐานที่วางใจได้อย่างแน่ชัด ซึ่งการทำให้ระบบของอาหารมีความเชื่อถือได้ต้องใช้เวลาและต้องทำกันอย่างต่อเนื่อง
6.สิ่งที่ต้องทำคือพยายามผลักดันเรื่องของอาหารให้เป็นวาระของจังหวัดและให้ทุกคนเข้าใจและตระหนักถึงอาหารที่กิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา และต้องวางในหลายๆระดับ ระดับบนเช่น จังหวัด สสจ เกษตรจังหวัด ซึ่งดูแลนโยบาย อาจต้องมีการทำความเข้าใจและร่วมกันออกกฎข้อบังคับ หรือมาตรการที่ดูแลทั้งความมั่นคงด้านอาหาร ความปลอดภัย และในระดับต่อมาคือภาคประชาชน ซึ่งเราต้องสร้างความตระหนัก และสร้างการเรียนรู้ด้านอาหาร โดยอาหารของแม่อาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เริ่มต้นสร้างเรื่องของอาหารสู่ภายในครอบครัว และจะมีความร่วมมือกับภาควิชาให้ทำการวิจัยเรื่องของอาหารและนำเอาความรู้เหล่านี้ไปเผยแพร่ในร้านอาหารหรือต่อประชาชนต่อไป

-

18. ประชุมทีมสื่อวิทยุชุมชน และสื่อสิ่งพิม์ท้องถิ่นในประเด็นอาหารของแม่ »
อาทิตย์ 8 ก.ย. 56 อาทิตย์ 8 ก.ย. 56

ประชุมทีมสื่อวิทยุชุมชน และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพื่อสร้างเครือข่ายสื่ออาหาร[Songkhla Media Food Network] และจะเพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์ในประเด็นอาหารของแม่ และรับฟังความคิดเห็นในการประชาสัมพันธ์ไปก่อนหน้านี้ด้วย

1.ประชุมทีมสื่อวิทยุชุมชนจำนวน15คลื่น โดยได้มีการสร้างเครือข่ายสื่อวิทยุชุมชนร่วมกันภายใต้ชื่อแผนการสื่อสารสาธารณะจังหวัดสงขลา ซึ่งโดยความเป็นจริงยังมีอีกหลายคลื่นที่แจ้งความจำนงเพื่อร่วมเป็นเครือข่าย แต่ไม่สามารถมาประชุมร่วมกันในวันนี้ได้ ดังนั้นจะมีการประชุมครั้งต่อไปเพื่อร่วมกลุ่มเพิ่ม
2.ชี้แจงถึงสถานการณ์ปัญหาและวิกฤตด้านอาหาร รวมทั้งความเป็นมาของโครงการบูรณาการอาหาร และที่มาของ campaign อาหารของแม่ และอธิบายมิติคำว่าอาหารของแม่
3.ร่วมแลกเปลี่ยนและซักถามปัญหาเกี่ยวกับโครงการ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของหน่วยงานหลายภาคส่วนในโครงการ
4.แจกสปอต และใบปลิวเพื่อขอความร่วมมือในการประชา สัมพันธ์ campaign อาหารของแม่ และ ได้ร่วมกันนำเสนอวิธีเพื่อการขยายผลข้อมูลด้านอาหาร และอาหารของแม่

1.เกิดเครือข่ายสื่อสารสาธารณะด้านอาหาร[Songkhla Media Food Forum]ในภาคสื่อวิทยุชุมชน16คลื่น 16อำเภอและภาคหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
2.เครือข่ายสื่อร่วมวางแผนในการเผยแพร่ข่าวสารและร่วมกันประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารและรณรงค์campaign อาหารของแม่เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ จากแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี
3.เครือข่ายสื่อเข้าใจในมิติและความหมายของอาหารของแม่ และจะแยกย้ายกันไปสื่อสารเพื่อไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปี
4.มีกิจกรรมต่างๆที่ทีมสื่ออยากทำในพื้นที่แต่ละแห่งหรือพื้นที่เป้าหมายของตนเองมานำเสนอ

1.เกิดเครือข่ายสื่อวิทยุชุมชน ภายใต้แผนการสื่อสารสาธารณะโดยจะมีกิจกรรมสื่อสารร่วมกันและให้ใช้กิจกรรมอาหารของแม่เป็นประเด็นหลัก และให้มีFood Forum ของเครือข่ายสื่อเดือนละ 1ครั้งโดยสัญจรลงในพื้นที่แต่ละสถานี และถ้าพื้นที่มีประเด็นน่าสนใจหรือสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการให้แผนสื่อกลางลงไปให้ความรู้ ทางทีมสื่อกลางก็จะประสานฝ่ายวิชาการ หรือ ข้อมูลจากสจรส.ลงไปในพื้นที่รวมทั้งการพูดคุยในประเด็นอื่นๆด้วย เช่น ช่วยกันแก้ปัญหาของสถานีด้วย
2.ทุกสถานีพร้อมที่จะช่วยกันประชาสัมพันธ์การประกวดวลีเด็ด หรือคลิปวีดีโอในCampaign อาหารของแม่ และจะสื่อสารเพื่อให้ชาวสงขลาได้ร่วมกันผลักดันไปสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปีและตระหนักถึงคุณค่าหรือใส่ใจกับอาหารเพื่อการกินดี เพื่ออยู่ดี
3.เครือข่ายสื่ออยากให้มีการทำเอกสารแจกว่าโครงการนี้มาอย่างไร พร้อมทั้งแจ้งความก้าวหน้าว่าจะมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร เพื่อแต่ละสถานีจะได้ไปอธิบายในพื้นที่ต่อไป
4.มีการนำเสนอที่จะไปประชาสัมพันธ์ในรายการและทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการประกวด การแข่งขันตอบปัญหา และให้แผนงานสื่อกลาง หรือโครงการอาหารจัดหาของรางวัลให้
5.อยากให้ใช้เวทีสื่อสัญจรให้ความสนใจในเรื่องพื้นที่ด้วยเช่นที่ สะบ้าย้อยสนใจเรื่องน้ำ แล้วต่อไปเป็นเรื่องป่า แล้วโยงเข้าสู่เรื่องของอาหาร
6.การสอนให้ทีมสื่อได้หยิบเรื่องราวข่าวสารจากคลังข้อมูล และคลังเสียงในwww.banbanradio.com และwww.consumersouth.org ซึ่งทั้งสองเวบจะลิงค์ซึ่งกันและกัน และได้ข้อเสนอว่าที่ผ่านมาสถานีเผยแพร่ข่าวสารที่ไม่รู้ที่ไปที่มา แต่ตอนนี้หลังจากทางโครงการได้นำเสนอทุกสถานีจะสามารถอ้างอิงได้ในสาระที่จะหยิบนำไปเผยแพร่
7.สื่อเกิดความเข้าใจในมิติ อาหารของแม่แล้ว คือครั้งแรกที่ได้ประชาสัมพันธ์ไปโดยยังไม่เข้าใจความหมายหรือมิติที่ทางแผนงานสื่อให้ประชาสัมพันธ์ซึ่งแรกๆเข้าใจว่าเป็นนมแม่ หรืออาหารแม่ เป็นต้น

ปัญหา 1.ยังขาดสื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และสื่ออินเตอร์เน็ต
2.สื่อวิทยุบางแห่งยังคำนึงถึงเรื่องงบประมาณ

แนวทางแก้ไข
1.การจัดประชุมสื่อจะต้องแยกอธิบายเป็นประเภทสื่อ จนเมื่อเข้าใจตรงกัน จึงจะเปิดประเด็น Food Forumแผนงานสื่อจังหวัดสงขลาพร้อมกัน
2.จัดสรรงบประมาณบางส่วนเพื่อช่วยสื่อวิทยุบางแห่ง และบางสื่อที่ต้องการของรางวัล หรือสนับสนุนการประชุมในพื้นที่ด้านอาหาร หรือ ค่าเดินทาง

19. ปรึกษาเรื่องรูปแบบรายการmamagoodfood(อาหารของแม่) »
อาทิตย์ 22 ก.ย. 56 อาทิตย์ 22 ก.ย. 56

ปรึกษาอาจารย์พงศ์เทพ เรื่องรูปแบบรายการMamagoodfood(อาหารของแม่)ซึ่งจะผลิตเป็นรายการTVออกอากาศทางHi Cable TV Songkhla

1.ชี้แจงเกี่ยวกับรายการทีวีที่ทางแผนงานสื่อสารจะผลิตเพื่อเป็นการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลเรื่องอาหารและประชาสัมพันธ์โครงการอาหารของแม่ โดยปรึกษาเรื่องของรูปแบบรายการกับอาจารย์พงศ์เทพ
2.แผนงานสื่อจะดึงเอาผู้ที่ทำงานในแต่ละแผนไปขยายผลและรายงานเรื่องของการดำเนินกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น รายการวิทยุอสมท.96.5MHz หรือ รายการพิราบคาบข่าวทางช่อง11

รูปแบบรายการmamagoodfoodมีลักษณะและแนวทางที่ชัดเจนและเหมาะสม

1.Mamagoodfood จะเป็นรายการที่เน้นเนื้อหาของความเกี่ยวเนื่องและความสัมพันธ์ของครอบครัว ผ่านอาหารของแม่ โดยรูปแบบรายการจะเป็น4ช่วง
ช่วงที่ 1 "Once Upon A Time..." จะเป็นการบอกให้ผู้ชมรู้ว่ารายการวันนี้จะเป็นเรื่องของอะไร ธีมหลักของเรื่องคืออะไร
ช่วงที่ 2 "Boys&Girls..."จะเป็นช่วงที่เด็กๆได้แสดงความคิด ความรู้สึก เสียงของลูกๆในยุคปัจจุบัน[Voice of Kids]เกี่ยวกับสถานการณ์อาหาร และประเด็นข่าวดังจากหน้าสื่อ (เด็ก คือ อนาคตแต่สำคัญสำหรับปัจจุบัน)
ช่วงที่ 3 "Papa Says"อาหารสมอง ตัวแทนของผู้ใหญ่ที่จะทำหน้าที่ชี้แจงนโยบายต่างๆเกี่ยวกับข้อเสนอของเด็กๆ หรือผู้ที่จะทำหน้าที่ให้ความรู้ ความเข้าใจของสถานการณ์ประจำวัน
ช่วงที่ 4 "Mamagoodfood" อาหารที่ดีมีประโยชน์ทำได้อย่างไร อร่อยที่เทคนิคใดบ้าง วิธีการปรุงเพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์ภายในครอบครัวผ่านอาหารของแม่ โดยตัวแทนจากความเป็นแม่ พ่อครัว แม่ครัวจากร้านอาหาร จากโรงเรียน หรือจากโรงแรมต่างๆ
2.ในช่วงที่3ของรายการแทนที่จะเป็นอาจารย์พงศ์เทพคนเดียวควรจะมีบุคคลในระดับที่สามารถผลักดันเรื่องอาหารให้เป็นนโยบายได้ หรือจากคณะทำงานแผนงานอาหารอื่นๆ เช่นถ้าพูดเรื่องโภชนาการสมวัย ควรจะเป็น อาจารย์ลัดดา เหมาะสุวรรณ หรือถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับแผนงานความมั่นคงก็ควรจะมาจากพื้นที่ เช่น พื้นที่จะนะ เชิงแส ควนรู เป็นต้น
3.จะมีการเชื่อมต่อกับแผนงานอุทยานอาหารซึ่งเป็นความร่วมมือกับคณะทรัพย์ฯ โดยในพื้นที่ของอุทยานอาหารจะมีรูปแบบของการบูรณาการอาหาร คือจะมีตั้งแต่แหล่งผลิตอาหาร มีเวทีเสวนาและให้ความรู้ในเรื่องของโภชนาการ มาตรฐานของอาหารปลอดภัย และเวทีสื่อสาร

-

20. ร่วมรายการ อสมท.เพื่อชุมชน »
พุธ 25 ก.ย. 56 พุธ 25 ก.ย. 56

เป็นการเข้าร่วมรายการ อสมท.เพื่อชุมชน โดยจะเชิญแผนงานต่างๆในโครงการบูรณาการอาหารมาเพื่อนำเสนอสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มาที่ไปของแผนงาน กิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ และจะมีเป้าหมายของแผนงานอย่างไร โดยแผนงานที่จะนำเสนอในวันที่25นี้คือแผนงานความมั่นคงทางอาหารจากศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ และประชาสัมพันธ์campaignอาหารของแม่ ซึ่งในแผนงานจากจะนะ จะเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

แผนงานการสื่อสารสาธารณะร่วมรายการอสมท เพื่อชุมชนโดยมีดีเจประจำรายการคือคุณนงลักษณ์ และผู้ดำเนินรายการร่วมคุณชัยวุฒิ คุณสุวรรณี วิทยากรรับเชิญคือน้องยุ้ยผู้ช่วยชุมชนด้านข้อมูลแหล่งอาหารในพื้นที่ทะเลจะนะ(วรรณิศา จันทร์หอม)น้องเอียดจากกลุ่มละครมะนาวหวาน(สิทธิพงศ์ สังข์เศรษฐ์)ซึ่งได้เล่าถึงสถานการณ์อาหารพื้นที่จะนะ การต้องร่วมคิดกับชุมชนเพื่ออนุรักษ์แหล่งอาหารทะเล และการใช้ละครเป็นเครืองมือในการสร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก เยาวชน และชุมชนในพื้นที่

1.ได้ประชาสัมพันธ์และนำเสนอกิจกรรมดีๆต่อสาธารณชนและทำให้การดำเนินกิจกรรมในพื้นที่อ.จะนะได้รับความสนใจจากชาวจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง โดยผู้ฟังจะได้เห็นแบบอย่างจากกิจกรรมในพื้นที่ได้ทำมาจากการร่วมคิดของชุมชนเองและสามารถผลักดันไปสู่การจัดทำเป็นร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย
2.ได้ประชาสัมพันธ์ถึงการวางเป้าหมายร่วมกันระหว่างแผนงานสื่อ และแผนงานความมั่นคงในพื้นที่จะนะในประเด็นอาหารของแม่

1.ผู้ฟังได้ฟังเรื่องราวจากพื้นที่จะนะเกี่ยวกับการที่พี่น้องในชุมชนต้องลุกขึ้นมาทำข้อมูลของรายได้จากอาหารทะเลว่าที่ผ่านมาชาวประมงมีรายได้มากขนาดไหนซึ่งดูจากรายได้แล้วทำให้ได้รู้ว่าทะเลจะนะเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สมบูรณ์ที่ยังเหลืออยู่ในจังหวัดสงขลา ดังนั้นถ้าหากโครงการพัฒนา(โครงการท่าเรือน้ำลึก2)เกิดขึ้นในพื้นที่เมื่อใด จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรอาหารทางทะเลอย่างแน่นอน ซึ่งจากข้อมูลที่เก็บได้ผลปรากฎว่าในทะเลจะนะมีสัตว์น้ำอยู่ประมาณมากกว่า200ชนิดโดยเฉพาะสัตว์ที่บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์คือเต่าและปลาโลมาดังนั้นจึงต้องสื่อสารจากชุมชนต่อชุมชน จากชุมชนสู่สังคม จากสังคมสู่คนทั้งจังหวัด เพื่อให้ทุกคนช่วยกันตระหนักและร่วมดูแลทรัพยากรที่มีอยู่ นอกจากนั้นต้องใช้เครื่องมือต่างๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นค่ายถ่ายรูป การทำละครและใช้ละครสื่อสาร ซึ่งเมื่อชาวบ้านหลังจากได้ดูละครแล้วต่างตระหนักว่าเกิดอะไรขึ้นในชุมชน
2.สิ่งที่ได้รู้ต่อไปคือรายได้จากอาหารทะเลของชาวสวนกงอยู่ที่ประมาณ1000-2000 บาทต่อวัน และบางวันสามารถทำได้สูงสุดถึงวันละ 40000-50000 บาทต่อวัน
3.จากการที่ช่วยชุมชนในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารทางทะเลมาวันนี้เริ่มสู่ความมั่นคงทางอาหารจากบก จากป่าทั้งข้าว เห็ดและอื่นๆรวมทั้งการร่วมเรียนรู้กับชุมชนในการทำเรื่องข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อเป็นการต่อยอดจากการเก็บข้อมูลที่ผ่านมา
4.เป้าหมายที่วางไว้คือ จะทำให้ชุมชนสามารถกำหนดอนาคตตนเอง ซึ่งการอนุรักษ์คือเป้าหมายสูงสุดของชุมชน และอยากเห็นชุมชนที่ยังเป็นชุมชน ไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการที่ใช้คำว่าเข้ามาพัฒนา
5.ความเป็นวัยรุ่นก็สามารถช่วยชุมชนได้ด้วยวิถีที่เราทำได้ พยายามทำความเข้าใจกับเพื่อนๆเพื่อสร้างแนวโน้มเพื่อการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง

-

21. ค่ายนิทานอาหาร"กาลครั้งหนึ่ง... เมื่ออาหารแปลงร่าง" »
ศุกร์ 18 ต.ค. 56 - อาทิตย์ 20 ต.ค. 56 ศุกร์ 18 ต.ค. 56

แผนงานการสื่อสารร่วมกับ แผนงานความมั่นคงทางอาหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ  จัดกิจกรรมค่ายนิทานอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคุณครูในพื้นที่อ.จะนะ ในการประยุกต์ใชนิทานเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรการอนุรักษ์ทรัพยากรและรักษาพื้นที่ทางอาหารให้กับเด็กๆและเยาวชนในพื้นที่ อ.จะนะ และ อ.ใกล้เคียง

การอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง เมื่ออาหารแปลงร่าง" ระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2556 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และ โรงพยาบาลจะนะ โดยมีคุณครู ผู้ปกครองที่สนใจ เด็กๆและเยาวชน ผู้เข้าร่วม และวิทยากร จำนวนทั้งสิ้น 50 คน และเด็กๆ เยาวชนและผู้ปกครองร่วมกิจกรรมที่โรงพยาบาลจะนะ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน
1.ได้ฟังนิทานจากวิทยากรในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น ยุ้งฉางที่ว่างเปล่า กุ้งกินผัก เป็นต้นและได้อบรมเทคนิคการเล่านิทาน 2.อบรมการแต่งนิทานจากความคิด แรงบันดาลใจมีการแลกเปลี่ยนนิทานที่คุณครูร่วมกันแต่ง โดยนำเสนอนิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาอาหารในพื้นที่ เช่นเรื่อง เงินนั้นสำคัญไฉน เป็นเรื่องเกี่ยวกับชาวประมงที่มีรายได้มากมายจากแหล่งอาหารในทะเล แต่ในที่สุดขายแหล่งอาหาร และอุปกรณ์จับปลาแล้วไปเป็นลูกจ้างในโรงงานของนายทุน  หรือเรื่องชาวประมงติดเกาะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาเรือขุดเจาะน้ามัน ที่มีผลกระทบต่อแหล่งอาหารในทะเล เป็นต้น 3.อบรมการทำสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบแปลงความคิดให้เป็นนิทาน และจากนิทาน เป็นภาพวาด หรือ หุ่นเงา เพื่อนำไปประกอบสำหรับหลักสูตรที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ
4.การแสดงconcert นิทานให้กับเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองที่โรงพยาบาลจะนะ เพื่อให้เห็นความสำคัญ และช่วยกันดูแลพื้นที่แหล่งอาหารที่มีอยู่
5.พาวิทยากรลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ และเยี่ยมชมพื้นที่แหล่งอาหารรอบทะเลจะนะ ตั้งแต่พื้นที่ หาดสงขลา นาทับ และสวนกง

1.เกิดการบูรณาการและวางแผนร่วมกันระหว่างแผนงานสื่อสาร และศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อนำเสนอประเด็นความมั่นคงทางอาหาร  สุขภาวะด้านอาหาร และให้ความสำคัญต่อพื้นที่อาหารในวงกว้างต่อไป
2.โรงเรียนและคุณครูสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือและเทคนิคในการสอน และการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และเป็นแนวคิดในการจัดทำหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารในพื้นที่ได้อย่างน่าสนใจ
3.คุณครูมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าแห่งอาหาร เข้าใจถึงคำว่าสุขภาวะด้านอาหาร และตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่ จนสามารถถ่ายทอดความเข้าใจเหล่านั้นในรูปแบบของนิทานที่พร้อมจะนำเสนอในชั้นเรียนและในพื้นที่ต่อไป

1.มีการบูรณาการ และร่วมกันวางแผนระหว่างแผนสื่อและศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตลอดการเตรียมงานตั้งแต่เริ่มต้นคิดที่จะทำค่ายนิทาน การเตรียมวิทยากร การประชุมกับโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ การวางรูปแบบค่าย การประสานงานงานพื้นที่  การติดต่อสถานที่ จนถึงวันอบรม และการแสดงconcertนิทาน และวางแผนร่วมกันต่อไปที่จะพัฒนานิทานของคุณครูเพื่อที่จะจัดทำเป็นหนังสือนิทาน และCD นิทานที่จะส่งไปยังโรงเรียนต่างๆในพื้นที่เพื่อให้เด็กๆทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่
2.คุณครูตระหนักและเห็นความสำคัญของพื้นที่ทางอาหารและทรัพยากรที่มีอยู่ และพร้อมที่จะร่วมกันดูแลพื้นที่เพื่อส่งต่อให้กับอนาคตของสังคมต่อไป  รวมทั้งเข้าใจปัญหาของพื้นที่และตั้งใจที่จะหาทางออกร่วมกับชุมชน โดยจะใช้กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือ ซึ่งผลจากการอบรมคุณครูมีแนวคิดที่จะจัดทำหลักสูตรร่วมกันโดยจะเตรียมจัดทำสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อนิทานเสียง นิทานภาพ และนิทานหุ่นเงา
3.การแสดงconcertนิทาน เด็กๆในพื้นที่สนใจกันมาก และให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม  และต้องการให้เกิดพื้นที่นิทานใน อ.จะนะเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับทั้งเด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ใหญ่ในชุมชน ให้ร่วมกันรักและหวงแหนพื้นที่ของตนเอง
4.จะมีการวางแผนร่วมระหว่าง คนในชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเพื่อสร้างพื้นที่นิทานใน อ.จะนะ
5.การเสนอเพื่อให้มีค่ายอบรมนิทานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ปัญหา
จำนวนคุณครูในพื้นที่ที่สมัครเข้าร่วมอบรมในรอบแรกเกินกว่าจำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 40 คน จึงได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นตามจำนวนคุณครูที่สมัคร คือ 55 คน ทำให้คุณครูในพื้นที่อื่นๆ เช่น หาดใหญ่ อ.เมือง หรือผู้ปกครองจากพื้นที่หาดใหญ่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ แต่ในวันอบรมจริง คุณครูที่สมัครไว้ทั้งสิ้น 55 คน มาเพียง 35 คน  ทำให้คุณครูและผู้ปกครองที่สนใจในเมืองหรือในพื้นที่อื่น ขาดโอกาสในการเข้าร่วมอบรม
แนวทางแก้ไข
คุณครูที่เข้าร่วมในครั้งนี้เสนอว่า ถ้าหากการอบรมในครั้งต่อไปยินดีที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรมด้วย เพราะเป็นการอบรมที่มีคุณค่ามาก และเสียดายที่ครูจากที่อื่นไม่มีโอกาส ดังนั้น จึงควรให้มีการเก็บค่าใช้จ่าย หรือควรต้องมีการวางมัดจำ เพื่อจะได้จำนวนตัวเลขที่ชัดเจน

22. ค่ายนิทานอาหาร"กาลครั้งหนึ่ง... เมื่ออาหารแปลงร่าง" »
ศุกร์ 18 ต.ค. 56 - อาทิตย์ 20 ต.ค. 56

แผนงานการสื่อสารร่วมกับศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ แผนงานความมั่นคงทางอาหาร  จัดกิจกรรมค่ายนิทานเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคุณครูในพื้นที่อ.จะนะ

 

 

 

 

23. ลงพื้นที่ขะแล้เพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์การคืนข้อมูลของอาจารย์ลัดดา »
อังคาร 29 ต.ค. 56 อังคาร 29 ต.ค. 56

ลงพื้นที่เพื่อจะบันทึกเสียงของชุมชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่  รวมถึงข้อมูลของอาจารย์ลัดดาที่จะคืนให้กับพื้นที่ และถ่ายวีดีโอเพื่อนำเสนอและประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมคืนข้อมูลของพื้นที่ชะแล้เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอในรายการ สงขลามหาชน ตอน mamagoodfood 4 รายการวิทยุ สื่อสุขภาพสัญจร ประเด็นอาหารของแม่  และการเสนอข่าวอาหารใน www.banbanradio.com

ในพื้นที่มีเฉพาะผู้ปกครองที่เข้ามาร่วมเวที นอกจากนั้นการเตรียมเครื่องเสียงไม่พร้อมที่จะเอื้อต่อการบันทึกเสียง ดังนั้นจึงได้เฉพาะการบันทึกเป็นคลิปวีดีโอเพื่อจัดทำรายการสงขลามหาชน และข่าวอาหาร ในแง่มุมของข้อมูลและความรู้จาก อาจารย์ลัดดา เท่านั้น

การนำเสนอข่าวสารและการประชาสัมพันธ์โครงการด้านอาหารในแผนงานประเด็น โภชนาการสมวัย และอาหารที่มีคุณภาพ ปัญหาสุขภาพจากอาหารในพื้นที่จะมีนโยบายแก้ไขอย่างไรบ้างจากทุกภาคส่วนทั้งชุมชน ผู้ปกครอง และท้องถิ่น
ในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ ดังนี้
1.รายการสงขลามหาชน ตอน mamagoodfood 4 ประเด็น ผลของการสำรวจ และข้อมูลความรู้ที่จะคืนกลับให้กับชุมชนของอาจารย์ลัดดา
2.รายการวิทยุสื่อสุขภาพสัญจร 2 ตอน คือ
  1.ผลจากการสำรวจสุขภาพ และ สถานการณ์สุขภาวะทางอาหารของเด็กๆและชุมชนในพื้นที่ชะแล้
  2.ทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นที่ผู้ปกครองควรได้รับความรู้และนำไปแก้ไขเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกๆ
3.บทความการคืนข้อมูลหลังจากการสำรวจสถานการณ์สุขภาวะทางอาหารในพื้นที่ชะแล้

การนำเสนอข่าวสารได้เฉพาะในแง่มุมความรู้และข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์ของอาจารย์ลัดดาเท่านั้น ซึ่งทางเทศบาลเสนอให้มีเวทีคืนข้อมูลอีก 1 ครั้งซึ่งจะประสานให้มีเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน รวมทั้งชุมชน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งโรงเรียนทุกโรงในพื้นที่ เพื่อจะได้มีทางออกจากการระดมความคิดในครั้งต่อไป ดังนั้นการนำเสนอจากแผนงานสื่อสารสาธารณะ เวทีคืนข้อมูลพื้นที่ชะแล้ ๑ จึงเป็นข้อมูลความรู้จากอาจารย์ลัดดาเท่านั้น แต่เป็นสาระที่มีประโยชน์ที่ควรเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป ในรูปแบบดังนี้ คือ
1.รายการสงขลามหาชน ตอน mamagoodfood 4 ซึ่งติดตามได้ที่ www.seewithsound.com หน้า mamagoodfood http://www.seewithsound.com/paper/3847
2.บทความ "จากการสำรวจ สู่ กิจกรรมคืนข้อมูล" คงต้องหาทางออกกันล่ะ ใน www.banbanradio.com นอกจากนั้นทางแผนงานสื่อสารสาธารณะยังได้นำเสนอการบูรณาการระหว่างงานสุขภาวะอาหารพื้นที่ชะแล้และกระบวนการนิทานจากแผนงานสื่อ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อพื้นที่ในเวทีคืนข้อมูล ครั้งที่๒ ต่อไป

ปัญหา
การประสานงานด้านเครื่องเสียงไม่พร้อมและไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถบันทึกเสียงได้
แนวทางแก้ไข
1.จะต้องมีการประสานงานล่วงหน้าก่อนทุกครั้งและชี้แจงถึงความจำเป็นต่อการใช้เครื่องเสียง
2.บันทึกในรูปแบบอื่นๆเช่น วีดีโอ ภาพ การบันทึกข้อมูล

24. ลงพื้นที่ขะแล้เพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์การคืนข้อมูลของอาจารย์ลัดดา »
อังคาร 29 ต.ค. 56

ลงพื้นที่เพื่อบันทึกเสียง และวีดีโอเพื่อนำเสนอและประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมคืนข้อมูลของพื้นที่ชะแล้เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอในรายการ สงขลามหาชน ตอน mamagoodfood 4

 

 

 

 

25. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโครงการบูรณาการอาหาร »
อาทิตย์ 10 พ.ย. 56 อาทิตย์ 10 พ.ย. 56

การประชุมเครือข่ายคณะทำงานแผนงานอาหารทั้งหมด  ซึ่งแต่ละแผนจะมีการรายงานถึงผลงานที่ได้ทำไปแล้ว และกิจกรรมที่จะทำต่อไป เพื่อทีมงานสื่อจะได้วางแผนลงพื้นที่เพื่อติดตามข่าวสารและวางปฏิทินสื่อเพื่อจัดการประชุม Songkhla Media Food Forum รวมถึงการขอกำหนดวันเพื่อการจัดค่ายอบรมนิทานบูรณาการด้านอาหารกับพื้นที่ควนรู และชะแล้

การประชุมมาไม่ครบทุกแผนงาน  และหลายแผนงานยังไม่ได้ทำกิจกรรมก่อนหน้านี้ หรือบางแผนงานยังไม่กำหนดกิจกรรมต่อไป มีเฉพาะ พื้นที่เชิงแสซึ่งได้ทำกิจกรรมไปทั้งสิ้น 14 กิจกรรมจากทั้งหมด 23 กิจกรรม รวมทั้งพื้นที่ควนรู ซึ่งได้ทำกิจกรรม ไปหลายกิจกรรมแล้ว และบางกิจกรรมก็ไม่ได้ใช้งบของแผนงานอาหาร ส่วนแผนงานอื่นๆก็ได้มีการทำกิจกรรมไปบ้างแล้วแต่ยังไม่เขียนรายงานผ่านเวบ ส่วนบางกิจกรรมจะทำหลังจากการประชุมในวันนี้ สำหรับแผนงานสื่อได้แจ้งเรื่องการใช้กระบวนการนิทานเพื่องานบูรณาการด้านอาหารกับพื้นที่ควนรู และชะแล้ โดยขอความเห็นเรื่องการกำหนดวันที่จะจัดค่ายนิทานในพื้นที่ควนรู และ ชะแล้

1.การมีปฏิทินที่ชัดเจนของแผนงานอาหารทุกแผนงานเพื่อการติดตามและลงพื้นที่ของทีมงานสื่อ
2.การวางแผนประชาสัมพันธ์และจัดทำสปอตให้กับทุกแผนงานที่ต้องการการสื่อสารสาธารณะ
3.การมีแผนงานที่ชัดเจนเพื่อสื่อไปยังเครือข่ายสื่อสารสาธารณะด้านอาหาร(Songkhla Media Food Forum) และการประชุมเครือข่ายสื่อในพื้นที่ทำงาน
4.การกำหนดวันที่ชัดเจนสำหรับค่ายอบรมนิทานในพื้นที่ควนรู และชะแล้

1.ไม่สามารถกำหนดปฏิทินงานสื่อที่ชัดเจนสำหรับการลงพื้นที่เพื่อติดตามกิจกรรมได้เนื่องจากแผนงานต่างๆยังไม่ได้วางแผนสำหรับกิจกรรมที่จะทำต่อไป
2.มีการเสนอให้จัดทำหน้าเพจของFacebook สำหรับการสื่อสารระหว่างกลุ่ม และสำหรับการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร วิชาการด้านอาหาร และข้อมูลโภชนาารพื้นที่
3.การกำหนดพื้นที่สำหรับการจัดตั้งอุทยานอาหาร ที่ด้านหน้าของตลาดคณะทรัพย์ และจะมีแผนสำหรับกิจกรรมต่างๆ รวมถึงแผนงานจากทีมสื่อที่ต้องทำการประชาสัมพันธ์ต่อไป 4.การจัดเตรียมแผนงานสำหรับการจัดตลาดนัดความรู้เพื่อนำเสนอกิจกรรมเครือข่าย และ เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการบูรณาการด้านอาหาร โดยมีการกำหนด 2 พื้นที่ที่ควรเลือก คือ การปิดถนนเสน่หานุสรณ์ หรือหอนาฬิกา  และในงานควรมีกิจกรรมตามห้องวิชาการต่างๆด้วย
5.การกำหนดวันสำหรับการจัดค่ายอบรมนิทานระหว่างวันที่ 25-30 พฤศจิกายน 56 โดยทีมวิทยากร คือ กลุ่มละครมะขามป้อมจาก กทม.

-

26. ประชุมกับคุณเมธาผอ.สำนักธรรมนูญชะแล้ และ ประชุมกับนายกถั่น ควนรู »
พุธ 20 พ.ย. 56 พุธ 20 พ.ย. 56

ปรึกษากับพื้นที่ในการจัดเตรียมงานเพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการนิทานเพื่องานบูรณาการสุขภาวะด้านอาหาร "กาลครั้งหนึ่ง..นานมาแล้ว เมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง"

1.ปรึกษากับคุณเมธาเพื่อการจัดเตรียมสถานที่ในพื้นที่ชะแล้ว่าจะเป็นที่ใด การเตรียมกลุ่มเป้าหมายว่าจะเป็นใครบ้าง และจะบูรณาการร่วมกันในส่วนใด เช่น ด้านเนื้อหา ปัญหาพื้นที่ ทางออกที่อยากจะให้กลุ่มเป้าหมายช่วยกันคิดคืออะไร  และงบประมาณว่าจะร่วมกันในส่วนไหนบ้าง การกำหนดวันที่แน่นอน
2.ปรึกษากับนายกถั่นในการจัดเตรียมพื้นที่ที่ควนรูว่าควรจะอบรมที่ไหน และใครคือกลุ่มเป้าหมาย การร่วมกันในประเด็นเนื้อหาด้านอาหารว่าควรจะเป็นข้อมูลด้านใดบ้าง  และในส่วนของงบประมาณต่างๆ

มีแผนงานที่ชัดเจนตามรายละเอียดโครงการ  เช่น การกำหนดวันที่จัดค่ายอย่างชัดเจน มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน  สถานที่ในการจัดค่ายอบรมนิทาน  เนื้อหาที่ควรจะต้องนำมาบูรณาการเพื่อความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย และวางแผนสำหรับการจัดสรรงบประมาณ

1.แผนการจัดค่ายอบรมนิทานเพื่อการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารสำหรับพื้นที่ชะแล้ ซึ่งจะจัดค่ายสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ ประถม 4 ถึง ประถม 6 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนวัดชะแล้ ในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน โดยพื้นที่อยากให้ดึงเอาปัญหาจากพื้นที่มาใช้ในกระบวนการนิทาน เช่น ปัญหาเด็กไม่ทานอาหารเช้า หรือ การไม่กินผักผลไม้ เป็นต้น สำหรับงบประมาณพื้นที่จะดูแลในส่วนของอาหารเที่ยง และวัสดุอุปกรณ์บางส่วน  สื่อดูแลงบประมาณในส่วนของวิทยากรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นที่พัก อาหารมื้ออื่นๆ ค่าตอบแทน และค่าเดินทางทั้งหมด
2.พื้นที่ควนรูกลุ่มเป้าหมายจะเป็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารเช่น ครู พี่เลี้ยง  อสม และนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 40 คน เนื้อหาที่เน้นจะเป็นเรื่องของผัก ผลไม้ และอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สำหรับสถานที่ที่จะใช้ในการอบรมคือ ที่ห้องประชุมของ อบต.ควนรู โดยจะดำเนินกิจกรรมการอบรมในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 56  ซึ่งงบประมาณจากพื้นที่ควนรูจะดูแลในส่วนค่าเดินทางของผู้เข้าร่วมอบรม และค่าวัสดุอุปกรณ์บางส่วน  ส่วนสื่อต้องดูแลค่าอาหาร และอาหารว่างตลอดการอบรม และส่วนของวิทยากรทั้งหมด ตั้งแต่ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าตอบแทน และค่าอาหารทั้งหมด

ปัญหา: การชี้แจงและปรึกษาจะทำต่อผู้บริหารเท่านั้นทำให้เกิดปัญหาสำหรับการลงพื้นที่
ทางออก: การประสานควรจะทำทั้งในระดับผู้บริหาร และผู้ประสานงานในพื้นที่ด้วย เนื่องจากในระดับผู้บริหารจะมีงานยุ่งมาก บางครั้งทำให้การลงถึงพื้นที่ไม่สะดวกเท่าที่ควร

27. ค่ายอบรมนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง..นานมาแล้วเมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง... »
พุธ 27 พ.ย. 56 - พฤหัสบดี 28 พ.ย. 56 พุธ 27 พ.ย. 56

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับครู พี่เลี้ยง อสม และนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 40 คน
2.กระบวนการอบรมจะเน้นให้เห็นคุณค่าของนิทานและสามารถนำกระบวนการนิทานไปสู่เป้าหมายในประเด็นต่างๆได้
3.กิจกรรมการอบรมจะเน้นการร่วมคิด ร่วมเล่า ร่วมจินตนาการ ร่วมสร้างสรรค์ และร่วมทำ โดยผ่านความรู้ด้านอาหารทุกขั้นตอนและปฏิบัติการเรียนรู้การทำสื่อหลายประเภทเพื่อนำไปใช้สำหรับทุกพื้นที่ และทุกโรงเรียน

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับครู พี่เลี้ยง อสม เจ้าหน้าที่ และนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 64 คนในวันแรก สำหรับในวันที่สองอสม ติดประชุม แต่มีครู และพี่เลี้ยงจากศูนย์เด็กเล็ก(อบต.สั่งปิดศูนย์) ทั้ง 3 แห่ง และยังมีนักเรียนมาเพิ่ม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 57 คน
2.กิจกรรมในวันแรกเป็นการเรียนรู้พื้นฐานผ่านจินตนาการ ผ่านการฟัง เล่น คิด และเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนิทานและประโยชน์ของการใช้นิทานเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา และเรียนรู้ปัญหาด้านโภชนาการเพื่อหาทางออกผ่านกระบวนการคิด ถาม ตอบและสร้าง โดยปิดท้ายในเรื่องการสร้างกระบวนการนิทานว่าจะทำได้อย่างไร
3.กิจกรรมในวันที่สองเน้นการสร้างเรื่องจากปัญหาโภชนาการ สู่ทางออกด้วยการใช้จินตนาการผ่านนิทาน  สอนวิธีการและขั้นตอนการสร้างเนื้อหาในนิทานและเทคนิคการสร้างนิทานให้สนุกและน่าสนใจ สุดท้ายคือการสร้างนิทานจากโจทย์ปัญหาที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้เข้าร่วมอบรมและเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนจากงานวิจัยจากอ.ลัดดาในแผนโภชนาการฯ

1.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการอาหารและสุขภาวะด้านอาหารและร่วมหาทางออกของปัญหาด้านอาหารในพื้นที่ ผ่านกระบวนการนิทาน
2.ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสำคัญและตระหนักในคุณค่าของนิทานและเรียนรู้กระบวนการแต่งนิทานอย่างสนุกสนาน
3.เกิดการบูรณาการระหว่างแผนงานสื่อและแผนงานบูรณาการอาหารจากพื้นที่ต่างๆทั้งในส่วนของเนื้อหา วิธีการ งบประมาณ
4.ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของนิทานและพร้อมที่จะร่วมกันเปิดพื้นที่นิทานให้เด็กๆตามชุมชนต่างๆเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกประเด็น

1.ได้แผนเพื่อจัดทำ Storytelling Food Model จากการจัดค่ายอบรมนิทานในพื้นที่
2.กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการเติมเต็มในส่วนของจินตนาการที่มีอยู่ในตัวทุกคน
3.มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างแผนงานสื่อและแผนโภชนาการและอาหารคุณภาพของพื้นที่อบต.ควนรู
4.ได้ทราบความคาดหวังจากผู้เข้าร่วมอบรมที่ต้องการเรียนรู้กระบวนการนิทาน และประสบการณ์ใหม่เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาครอบครัว สังคม ชุมชน และนักเรียน และมี อสม.(คุณจิรา)ที่ต้องการเปิดพื้นที่นิทานโดยจะนำไปใช้กับพื้นที่ และจะขอคำเสนอแนะในการสร้างพื้นที่และกระบวนการนิทานต่อไป
5.ได้นิทานจากผู้เข้าร่วมอบรมโดยมาจากโจทย์ปัญหาอาหารในพื้นที่  5 โจทย์  5 เรื่อง  ดังนี้
----อาหารปนเปื้อนสารพิษ ได้นิทานเรื่อง  ยักษ์ราหุล
----เด็กกับขนมหวาน        ได้นิทานเรื่อง ไม้บรรทัดตัวจิ๋ว
----เด็กไม่กินผัก              ได้นิทานเรื่อง จระเข้ไม่กินผัก
----เหงือกจ๋าฟันลาก่อน    ได้นิทานเรื่อง  พายุท็อฟฟี่
----ไม่กินผักที่ปลูกเอง    ได้นิทานเรื่อง  ป็อบอายและผักวิเศษ
โดยติดตามอ่านได้ที่ www.facebook.com/mamagoodfood

-

28. ค่ายอบรมนิทาน"กาลครั้งหนึ่ง...นานมาแล้ว เมื่อเหล่าอาหารแปลงร่าง..." »
ศุกร์ 29 พ.ย. 56 - เสาร์ 30 พ.ย. 56 ศุกร์ 29 พ.ย. 56

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา 4-6  จำนวน 40 คน 2.กระบวนการอบรมจะเน้นให้เห็นคุณค่าของนิทานและสามารถนำกระบวนการนิทานไปสู่เป้าหมายในประเด็นต่างๆได้ 3.กิจกรรมการอบรมจะเน้นการร่วมคิด ร่วมเล่า ร่วมจินตนาการ ร่วมสร้างสรรค์ และร่วมทำ โดยผ่านความรู้ด้านอาหารทุกขั้นตอนและปฏิบัติการเรียนรู้การทำสื่อนิทานหลายประเภทเพื่อนำไปใช้สำหรับการเรียนในห้องเรียนและในศูนย์เด็กเล็ก(ตามเป้าหมายของผอ.สำนักธรรมนูญ)

1.การอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระบวนการนิทานเพื่อบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการให้กับนักเรียนระดับประถม4-6 จำนวนทั้งสิ้น 48 คน 2.กิจกรรมในวันแรกเป็นการเรียนรู้พื้นฐานผ่านจินตนาการ ผ่านการฟัง เล่น คิด และเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนิทานและประโยชน์ของการใช้นิทานเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา และเรียนรู้ปัญหาด้านโภชนาการเพื่อหาทางออกผ่านกระบวนการคิด ถาม ตอบและสร้าง โดยปิดท้ายในเรื่องการสร้างกระบวนการนิทานว่าจะทำได้อย่างไร 3.กิจกรรมในวันที่สองเน้นการสร้างเรื่องจากปัญหาโภชนาการ สู่ทางออกด้วยการใช้จินตนาการผ่านนิทาน  สอนวิธีการและขั้นตอนการสร้างเนื้อหาในนิทานและเทคนิคการสร้างนิทานให้สนุกและน่าสนใจ สุดท้ายคือการสร้างนิทานจากโจทย์ปัญหาที่เกิดจากการระดมความคิดของผู้เข้าร่วมอบรมและเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนจากงานวิจัยจากอ.ลัดดาในแผนโภชนาการ

1.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการอาหารและสุขภาวะด้านอาหารและร่วมหาทางออกของปัญหาด้านอาหารในพื้นที่ ผ่านกระบวนการนิทาน
2.ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสำคัญและตระหนักในคุณค่าของนิทานและเรียนรู้กระบวนการแต่งนิทานอย่างสนุกสนาน และพร้อมที่จะนำไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนๆและน้องๆในศูนย์เด็กเล็กต่อไป
3.เกิดการบูรณาการระหว่างแผนงานสื่อและแผนงานบูรณาการอาหารจากพื้นที่ต่างๆทั้งในส่วนของเนื้อหา วิธีการ งบประมาณ
4.ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของนิทานและพร้อมที่จะนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ของตัวเองและเข้าใจในคุณค่าของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวเองและพร้อมจะใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆต่อวิชาที่เรียนในวันนี้และในอนาคต

1.ได้แผนเพื่อจัดทำ Storytelling Food Model จากการจัดค่ายอบรมนิทานในพื้นที่
2.กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการเติมเต็มในส่วนของจินตนาการที่มีอยู่ในตัวทุกคน
3.มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างแผนงานสื่อและแผนโภชนาการและอาหารคุณภาพของพื้นที่สำนักธรรมนูญชะแล้
4.ผู้เข้าร่วมอบรมได้เขียนแสดงความรู้สึกหลังจากการอบรมทั้ง 2 วันสรุปได้ดังนี้คือ เด็กๆได้เรียนรู้กระบวนการนิทาน และประสบการณ์ใหม่ๆจากแนวคิดการแต่งนิทานหลายรูปแบบ  ได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  มีความกล้าในการแสดงออก ได้รู้จักโลกนิทานที่มีมากมายและหลากหลาย ได้ฝึกความคิดจากการเล่นที่สนุกสนาน ได้ฝึกการคิดเพื่อแต่งนิทาน ได้วาดตามจินตนาการ ได้สร้างสรรค์งานนิทาน  และได้ฝึกการเล่านิทาน  ซึ่งเด็กๆบางคนบอกว่าได้ประโยชน์มากพร้อมที่จะไปสอนน้องๆในศูนย์เด็กเล็กด้วย และเรียนรู้ที่จะสอนน้องๆให้กินผักผ่านนิทานได้
5.ได้นิทานจากผู้เข้าร่วมอบรมโดยมาจากโจทย์ปัญหาอาหารในพื้นที่  5 โจทย์  5 เรื่อง  ดังนี้
----เด็กกับขนมกรุบกรอบ  ได้นิทานเรื่อง ปีศาจในเมือง ฟ ฟัน
----เด็กกับผลไม้              ได้นิทานเรื่อง พายุลูกกวาด
----เด็กไม่กินผัก              ได้นิทานเรื่อง  กบโก๋กี๋
----ไม่กินอาหารเช้า          ได้นิทานเรื่อง  เด็กชายกระเพาะ
----เด็กกับน้ำอัดลม          ได้นิทานเรื่อง  กระป๋องและขวด
โดยติดตามอ่านได้ที่ www.facebook.com/mamagoodfood

ปัญหา:
ไม่มีครู หรือผู้ที่จะสามารถสนับสนุนกระบวนการความคิดของเด็กๆ และไม่มีใครที่จะต่อยอดความรู้ของเด็กๆในพื้นที่ได้ เป็นที่น่าเสียดายที่เด็กๆเหล่านี้มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่ดีมากและสามารถจะช่วยพัฒนาน้องๆในพื้นที่ต่อไปได้
แนวทางแก้ไข:
ในการอบรมครั้งต่อไปต้องมีการประสานกับผู้บริหารฝ่ายการศึกษาในพื้นที่ที่จะขอความร่วมมือจากครูหรือผู้บริหารโรงเรียนให้เข้าใจในคุณค่าและร่วมเรียนรู้ในกระบวนการ

29. ร่วมเวทีเก็บข้อมูลภูมิปัญญาขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมืองคาบสมุทรสทิงพระ(เวที ๒) »
จันทร์ 9 ธ.ค. 56 จันทร์ 9 ธ.ค. 56

ร่วมเวทีเก็บข้อมูลและร่วมสนทนาเพื่อเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และศึกษาเพื่อนำมาขยายผลและประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุคลื่นความคิด F.M.101 และเก็บข้อมูลเป้นคลังเสียง  และหน้าข่าวสารที่  www.banbanradio.com รวมทั้งการนำเสนอกิจกรรมผ่านหน้าแฟนเพจอาหารของแม่ที่www.facebook.com/mamagoodfood

ร่วมเวทีข้อมูลโดยได้ฟังการนำเสนอจากครูฑูรย์เรื่อง
1.เรื่องน่ารู้ของชาวบก และความรู้ของคาบสมุทรสทิงพระ อาชีพของชาวบก ลักษณะภูมิประเทศ และธรรมชาติของคาบสมุทรซึ่งชุมชนเก่าแก่คือปะโอ และชุมชนพะโคะ รวมทั้งลักษณะของปากอ่าวที่ทำให้น้ำในทะเลสาบเป็นแอ่ง สินค้าส่งออกในสมับโบราณ คือข้าว น้ำตาลโตนด หนังกวาง และเครื่องเทศ
2.ความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก
3.ย้อนหลังกิจกรรมจากเวทีแรกที่ปากรอ และจุดประสงค์ที่สำคัญคือให้ผู้ที่มาร่วมประชุมนำปิ่นโตมาด้วย เพื่อจะได้เรียนรู้เรื่องราวและเก็บข้อมูลจากภูมิปัญญาขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับอาหารเป็นยา เช่นบางคนที่เอาปิ่นโตมาก็จะดูว่าเอาแกงอะไรมาแล้วดูวิธีการทำใช้ส่วนผสมอะไรบ้าง วิธีทำอย่างไร เรียนรู้วิธีการทำมาจากไหน มีอะไรที่เป็นสมุนไพร แต่ละพื้นที่เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร เพื่อรวบรวมเป็นตำรับอาหาร
4.เรียนรู้วิธีการทำน้ำยาเอนกประสงค์ 5.เปิดปิ่นโตดูอาหารเพื่อเก็บข้อมูล และศึกษาภูมิปัญญา และกินข้าวจากปิ่นโตชาวบ้าน

1.ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้แลกเปลี่ยนกับชาวบ้านในเรื่องของภูมิปัญญาจากขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ได้เรียนรู้วิธีการทำอาหาร ขนม และส่วนผสมต่างๆ  และได้เรียนรู้วิธีการเก็บข้อมูลจากศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก
2.ได้บันทึกข้อมูล สัมภาษณ์ และบันทึกเสียงเพื่อนำภูมิปัญญาจากชาวบ้านในประเด็นขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้าน มาสื่อสารสู่สังคมโดยเฉพาะสังคมเมืองซึ่งกำลังมีปัญหาสุขภาพจากการกินทั้งสิ้น เพื่อให้ชาวสังคมเมืองได้กลับไปเรียนรู้และย้อนกลับไปกินอาหารพื้นบ้านที่มีสมุนไพรเป็นยา แทนที่จะกินแต่ยาจนกลายเป็นอาหารของสังคมปัจจุบัน

1.มีโอกาสเรียนรู้ และเข้าใจเรื่องราวของชาวบก ภูมิประเทศ ลักษณะตามธรรมชาติที่มีผลต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะวิถีการกิน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของการทำขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้านของคาบสมุทรสทิงพระ 2.มีการบันทึกเสียง และภาพ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารเพื่อทำการสื่อสารเรื่องของพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ มีความรุ้เกี่ยวกับภูมิปัญญาจากขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้าน เพื่อจะทำการสื่อสารสู่สาธารณะผ่านคลื่นความคิด F.M.101 และจะใช้วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาเรื่องราวของอาหาร ที่หน้าแฟนเพจอาหารของแม่ที่ www.facebook.com/mamagoodfood และติดตามอ่าน/รับฟังประเด็นน่าสนใจของขนมพื้นเมือง อาหารพื้นบ้านได้ที่เวบไซต์ www.banbanradio.com หน้าโครงการบูรณาการแผนสุขภาวะด้านอาหาร http://www.banbanradio.com/tags/25

ปัญหา:
ไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับชาวบ้าน การเก็บข้อมูลเป็นไปในลักษณะการสัมภาษณ์เพื่อตอบแบบสอบถามเท่านั้น
แนวทางแก้ไข:
จะขอให้ทางพื้นที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้นำเสนอเพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน วิธีการทำอาหาร วิธีการทำขนม สูตรอาหารได้มาอย่างไร มีวิธีการปรุงอย่างไร และอาหารเหล่านั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพในแง่ไหนบ้าง จะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารมาก

30. ประชุมและหารือร่วมกันถึงงานเทศกาลนิทานเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสิ่งแวดล้อม »
พฤหัสบดี 9 ม.ค. 57 พฤหัสบดี 9 ม.ค. 57

ประชุมเพื่อวางแนวทางการจัดงานเทศกาลนิทานนานาชาติ  แต่งตั้งคณะทำงาน พิจารณางบประมาณ และรูปแบบพื้นที่ของการจัดเสวนา อบรม และพบปะนักเล่านิทาน  รวมทั้งประเด็นเนื้อหาของนิทานที่จะนำเสนอ เรื่องความมั่นคงทางอาหารทั้งพื้นที่ สงขลา และ พื้นที่แหล่งอาหาร จะนะ รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะก้าวเดินต่อไปในการบูรณาการระหว่างหลักสูตรนิทาน  และพื้นที่การจัดการอาหารใน Campaign อาหารของแม่

1.ประชุมรูปแบบของการจัดงานและสถานที่ ที่จะจัดงาน
2.จัดตั้งคณะทำงาน
3.หารือเรื่องงบประมาณที่มีอยู่
4.วางแผนหารือเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร แหล่งอาหารที่จะนำเสนอต่อนักเล่านิทานจากนานาชาติ และจะประชาสัมพันธ์ความสมบูรณ์ของอาหารทะเลจะนะ ความสวยงามของพื้นที่สู่ชาวสงขลา ชาวไทย และชาวโลกในด้านใดบ้าง
5.วางแผนก้าวต่อไปในการใช้หลักสูตรนิทานและกระบวนการนิทานมาบูรณาการให้ชาวจะนะ และชาวสงขลาได้เรียนรู้และตระหนักถึงสุขภาวะด้านอาหาร รวมถึงการเผยแพร่campaign อาหารของแม่สู่โรงเรียนต่างๆ

1.ได้รูปแบบที่ชัดเจนของการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติ สรุปการใช้สถานที่ในการจัดงานที่แน่นอน
2.ได้กลุ่มคณะทำงาน สามารถวางแผนโครงสร้างการจัดเทศกาล
3.งบประมาณที่แต่ละแผนสามารถใช้ในการจัดเทศกาล
4.ได้รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่จะนำเสนอความสมบูรณ์ของแหล่งอาหารทะเลจะนะ ความสวยงามของพื้นที่ และความมั่นคงทางอาหาร
5.การร่วมมือในการเปิดพื้นที่นิทานเพื่องานบูรณาการด้านอาหารระหว่างแผนงานสื่อสารฯและแผนความมั่นคงทางอาหาร และแนวทางที่จะรณรงค์campaign อาหารของแม่สู่โรงเรียนต่างๆ

1.มีรูปแบบของการจัดงานเทศกาลโดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ 4 ช่วงเวลา 4 สถานที่ ดังนี้
    1.คณะมนุษย์ศาสตร์ฯ ม.ทักษิณ - เวทีเสวนา
    2.ประตูเมืองสงขลา ริมหาดสมิหลา - concert นิทาน
    3.สมิหลาแคมปิ้ง เทศบาลนครสงขลา -อบรมเชิงปฏิบัติการ
    4.ริมหาดบ้านสวนกง ทะเลจะนะ  - concert นิทาน
2.คณะทำงาน โดยมีโครงสร้างการทำงาน ดังนี้
    1.มหาวิทยาลัยทักษิณ เจ้าภาพหลัก ดูแลเรื่องสถานที่ในการใช้เสวนา ที่พักวิทยากร(บางส่วน)  อาหารบางมื้อ พิธีเปิด การประชาสัมพันธ์ในเขตเทศบาลนครสงขลา  การลงทะเบียน     2.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เจ้าภาพหลัก ดูแลเรื่องการเชิญวิทยากร ค่าเดินทาง ค่าที่พักวิทยากร(บางส่วน)  กำหนดการ การประชาสัมพันธ์ไปยังประเทศต่างๆ
    3.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มอ.โด สสส. (แผนงานการสื่อสารสาธารณะ โครงการบูรณาการอาหารฯ) (ริเริ่มโครงการและประสานงานระหว่างพื้นที่ ดูแลเรื่องวิทยากรทั้งในพื้นที่ และต่างประเทศ เนื้อหาของนิทานที่จะบูรณาการหลักสูตรนิทานในทุกด้าน การจัดทำเอกสาร การออกแบบสื่อ การประชาสัมพันธ์ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่พักวิทยากร(บางส่วน)  อาหารบางมื้อ  การเดินทางในสงขลา  การประสานงานระหว่างกลุ่มเป้าหมาย การหาแหล่งสนับสนุน  การลงทะเบียน     4.ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ แผนงานความมั่นคงทางอาหาร(ริเริ่มโครงการ) ดูแลพื้นที่จัดงานนิทานที่หาดสวนกง การจัดการเรื่องอาหาร การประสานกลุ่มเป้าหมายในเขต อ.จะนะ และการประชาสัมพันธ์  การลงทะเบียน
    5.SPAFA (ผู้สนับสนุนหลัก) ดูแลเรื่องการเดินทางวิทยากรนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆ  ที่พักวิทยากร(บางส่วน)
  6.เทศบาลนครสงขลา (ผู้สนับสนุน) สนับสนุนด้านสถานที่ในการจัดconcert นิทาน และสถานที่ในการอบรม อาหารบางมื้อ
  7.สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจ.สงขลา สนับสนุนการจัดงานเลี้ยงส่งนักเล่านิทานนานาชาติ
3.งบประมาณจากศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ ประมาณ 70000 บาท และแผนงานสื่อประมาณ 50000 บาท
4.การประชาสัมพันธ์แหล่งความมั่นคงทางอาหารของทะเลจะนะ และความสมบูรณ์ของพื้นที่ ด้วยการจัดให้นักเล่านิทานนานาชาติ ลงพื้นที่จะนะเพื่อเล่านิทานสู่ชุมชน และฟังเรื่องราวจากชุมชน
5.มีแผนการหาสถานที่ที่จะเปิดพื้นที่นิทานให้เด็กๆจะนะได้เรียนรู้ และมีจินตนาการที่ดีๆในพื้นที่ของตนเองเพื่อความรักและดูแลผืนดินของตนเอง

ปัญหา: การประชุมหรือการวางแผนงานในโครงการบูรณาการอาหารในกิจกรรมต่างๆ ไม่มีทีมประสานงานกลางเข้าร่วมประชุม จึงทำให้ขาดความเข้าใจว่าในแต่ละกิจกรรมมีผล หรือแต่ละแผนงานทำกิจกรรมเพื่ออะไร และมีการบูรณาการงานอย่างไร
แนวทางแก้ไข: อยากให้พี่เลี้ยงในพื้นที่ร่วมสังเกตุการณ์ และร่วมประชุมเพื่อเสนอแนวทางและทำความเข้าใจร่วมกันในการทำกิจกรรมต่างๆด้วย

31. ประชุมและหารือเรื่องของการจัดเทศกาลนิทาน และปรึกษาเพื่อหากลุ่มผู้สนับสนุน »
พฤหัสบดี 9 ม.ค. 57 พฤหัสบดี 9 ม.ค. 57

การประชุมกับมหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะ เจ้าภาพในพื้นที่จังหวัดสงขลา สถานที่ในการจัดงาน และผู้สนับสนุนร่วมจะมีหน่วยงานใดบ้าง รวมถึงการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทาน

1.ร่วมประชุมและหารือกับ
          1.อาจารย์เทพรัตน์ จันท์พันธ์
          2.นางสาวจริยา มาบัว
          3.นางสาวขนิษฐา เฉลิมบุญ
          4.นายชัยวุฒิ เกิดชื่น
          5.นางสุวรรณี เกิดชื่น
          6.อาจารย์ประสงค์ สายหงษ์
          7.นางสาวปาลิตา รัตนบุรี
เพื่อการเตรียมความชัดเจนในเรื่องของสถานที่จัดงานเทศกาลเล่านิทานนานาชาติ การเตรียมงานในห้องประชุม และประเด็นที่จะเตรียมบูรณาการด้านเนื้อหาและหัวข้อในการจัดเวทีสนทนาก่อนเริ่มเปิดเทศกาล การแต่งตั้งคณะทำงาน และพื้นที่ของคณะต่างๆใน ม.ทักษิณ ในฐานะเจ้าภาพหลัก  รวมถึงการเชิญผู้บริหารเพื่อร่วมในพิธีเปิดงาน การกล่าวต้อนรับ การแสดงปาฐกถา  และงบประมาณในการจัดงาน
2.หารือแนวทางชัดเจนของเจ้าภาพร่วม และการเข้าพบนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา ในเรื่องของการสนับสนุน และการอนุญาตการใช้พื้นที่สาธารณะต่างๆ  เช่น ริมหาดสมิหลา หรือ การใช้สถานที่ในการอบรมการเล่านิทานให้กับเด็กๆและครูในเครือข่ายโรงเรียนเทศบาล  นอกจากนั้น ได้หารือเรื่องเจ้าภาพอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา  และอีกหลายหน่วยงาน  ว่าจะมีบทบาทหรือสนับสนุนในด้านใดบ้าง
3.หารือในส่วนของการประชาสัมพันธ์เทศกาลเล่านิทานนานาชาติ พื้นที่ติดไวนิล การประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ เคเบิ้ลทีวี  หนังสือพิมพ์
4.หารือเรื่องการเข้าพบคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ และคณะมนุษย์ฯเพื่อขอกลุ่มเป้าหมายคือนิสิตจากทั้ง 2 คณะเข้าร่วมเสวนาทางวิชาการด้วย และกลุ่มผู้เข้าร่วมงานจากภายนอก คาดการณ์ในจำนวน

1.ได้แนวทางในการจัดเตรียมงานเทศกาลนิทานนานาชาติอย่างชัดเจน การเตรียมสถานที่ การใช้ห้องประชุม งบประมาณที่จะนำมาใช้มีความชัดเจน การเตรียมพิธ๊เปิดงาน ผู้บริหารที่จะมากล่าวต้อนรับมีใครบ้างและการเชิญหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมงาน การจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดการที่มีรายละเอียดครบถ้วน
2.กำหนดเวลานัดหมาย เพื่อเข้าพบนายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าภาพซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ และ เจ้าภาพร่วมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ รวมทั้งการนัดหมายเพื่อปรึกษากับนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา เพื่อความชัดเจนต่างๆ
3.กำหนดสถานที่สำหรับการติดไวนิลประชาสัมพันธ์ และประชาสัมพันธ์ตามช่องทางสื่อต่างๆ
4.ได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายคร่าวๆ และกลุ่มใดบ้างที่จะเข้าร่วมเสวนา ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ

1.มีการกำหนดการใช้สถานที่ชัดเจนซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการใช้ห้องย่อยและสถานที่อบรมสำหรับครูนักเรียนคือ
การประชุมเสวนาวิชาการ  ห้องประชุมคณะมนุษย์ฯม.ทักษิณ
การแบ่งกลุ่มย่อย เปลี่ยนไปใช้ที่ คณะศึกษาศาสตร์
การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลทั้ง 5 ต้องไปใช้ที่ โรงเรียนเทศบาล 5วัดหัวป้อมนอกและconcert นิทานที่ริมประตูเมืองสงขลาจำลองบริเวณหาดสมิหลา และ ริมหาดสวนกง และมีการหารือในประเด็นสนทนาก่อนเข้าสู่เทศกาลนิทาน ในหัวข้อจากอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ เพื่อเล่าถึงความเป็นมาจากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ การเชิญอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ และคณบดีจากคณะต่างๆเพื่อร่วมพิธีเปิด และร่วมงานเทศกาลนิทานนานาชาติ และงบประมาณที่ทางม.ทักษิณจะร่วมในส่วนของที่พักนักเล่านิทานนานาชาติที่โรงแรมสมิหลาบีช อาหารในส่วนงานเสวนา และงานเลี้ยงต้อนรับ และดูตามสถานการณ์อื่นๆด้วย
2.ได้กำหนดเวลานัดหมายที่จะเข้าพบนายกเทศมนตรี และผู้บริหารของเทศบาลนครสงขลาในวันที่ 15มกราคม2557เวลา15:00น.เพื่อหารือเรื่องของสถานที่จัดงานและการเตรียมพื้นที่ในการจัดงาน เรื่องไฟ เรื่องเครื่องเสียงและเรื่องของอาหารในวันอบรมที่โรงเรียนเทศบาล5 รวมถึงการสนับสนุนในส่วนของการเดินทางภายในจังหวัดสงขลา รวมทั้งได้ให้แผนงานสื่อเป็นผู้ประสานกับ ททท.สำนักงานหาดใหญ่เพื่อหารือเรืองของการท่องเที่ยวเส้นทางวัฒนธรรมของนักเล่านิทานนานาชาติ และการเลี้ยงขอบคุณ  การสนับสนุนงบประมาณจากสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
3.การกำหนดสถานที่สำหรับการประชาสัมพันธ์เช่นในหาดใหญ่จะมีการติดไวนิลประมาณ 5-10จุด ในสงขลาจะติดไวนิลใหญ่ตรงบริเวณสะพานลอยหน้าประตูมหาวิทยาลัยทักษิณ และภายในมหาวิทยาลัย บริเวณริมหาดสมิหลาสงขลา นอกจากนั้นได้คลื่นวิทยุที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คือ วิทยุมอ88และวิทยุอสมท.96.5 หนังสือพิมพ์ เช่น สมาร์ทนิวส์
4.ได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกิจกรรม คือ เวทีเสวนาวิชาการที่ ม.ทักษิณคือนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ และคณะมนุษย์ ประมาณ 300 คน และผู้เข้าร่วมจากการประชาสัมพันธ์ประมาณ 100 คน  การอบรมเชิงปฏิบัติการครูนักเรียนโรงเรียนในส่วนเทศบาล ประมาณ 700 คน และผู้เข้าร่วมconcert ทั้ง 2 งานประมาณ200 คน

ปัญหา : กิจกรรมนิทานอาจเป็นกิจกรรมเก่าที่ต้องมีการเรียนรู้ใหม่ จึงหาแหล่งทุนร่วมยาก แนวทาง: ทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง และต้องมีกิจกรรมซ้ำ และย้ำบ่อยๆเพื่อให้นิทานเป็นวิถีชีวิตที่จำเป็นต่อความคิด จินจนาการ ความคิดสร้างสรรค์ทั้งสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ในอนาคตอาจง่ายต่อการหาแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น

32. ร่วมเวทีคืนข้อมูล และการดำเนินกิจกรรมปลูกต้นไม้ของทีมงานกลางแผนบูรณาการฯอาหาร »
ศุกร์ 10 ม.ค. 57 ศุกร์ 10 ม.ค. 57

ทางโรงเรียนได้มีการจัดงานวันเด็ก โดยมีการเชิญผู้ปกครองมาร่วมงานด้วย ดังนั้นทางสำนักธรรมนูญสุขภาพชะแล้ และแผนงานกลางโครงการบูรณาการอาหาร จึงเสนอให้มีการคืนข้อมูล เกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านอาหารให้กับผู้ปกครอง และมีการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ซึ่งแผนงานสื่อได้วางแผนไปร่วมกิจกรรม เพื่อนำเสนองานผ่านวีดีทัศน์และเผยแพร่campaign อาหารของแม่ โดยจะจัดทำตามลำดับดังนี้ คือ การคืนข้อมูลหลังจากการสำรวจข้อมูลของอ .ลัดดา  และการบูรณาการร่วมระหว่างแผนอาหารของชะแล้ และแผนงานสื่อซึ่งได้จัดอบรมหลักสูตรนิทานโดยมีโจทย์เกี่ยวกับปัญหาอาหารในพื้นที่ และการหาทางออก รวมถึงการร่วมกิจกรรม "อาหารของแม่"ต่อไป

เนื่องจากเป็นการจัดงานวันเด็ก และผู้ปกครองตั้งใจดูการแสดงของเด็กๆมากกว่า ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลจึงไม่อาจทำได้เต็มที่ ได้แต่เพียงนำเสนอเป็นวีดีโอ ผลงานนิทานของเด็กๆเท่านั้น และได้ร่วมปลูกพืชพันธุ์ไม้เพื่อจะจัดเป็นแหล่งอาหารภายในโรงเรียน

1.จะได้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากครู นักเรียน และผู้ปกครองหลังจากการคืนข้อมูล เพื่อนำความเห็นเหล่านั้นไปร่วมกันแก้ปํญหา และร่วมกันหาทางออกในปัญหาอาหารที่แผนงานสื่อจะได้ภาพและเสียงเพื่อนำไปถ่ายทอดเพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่าง
2.ได้แผนงานที่จะจัดทำหลักสูตรอาหารผ่านกระบวนการนิทานในโจทย์ "อาหารของแม่"

1.ได้ร่วมปลูกพันธุ์พืชเพื่อจะเป็นแหล่งอาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียน
2.เนื่องจากเป็นกิจกรรมวันเด็ก ผู้ปกครองและเด็กๆต่างให้ความสนใจกับกิจกรรมการแสดงมากกว่า ดังนั้นแผนงานสื่อจึงมีการนำเสนอข้อมูลเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ผู้ปกครองไม่มีโอกาสในการร่วมความคิดเห็น

ปัญหา:
งานวันเด็ก ที่โรงเรียนและครูต่างต้องการให้เป็นเวทีแห่งความสนุกสนาน ผู้ปกครอง และนักเรียนจึงมุ่งภาพของความบันเทิงเท่านั้น
แนวทางการแก้ไข:
ทางพื้นที่ต้องมีการวางแผนเพื่อที่จะมีเวทีคืนข้อมูลให้ชัดเจน และต้องมีการวางแผนร่วมกับทางโรงเรียนก่อนว่าจะมีการแทรกกิจกรรมในลักษณะเวทีวิชาการด้วย

33. จัดรายการวิทยุ "อสมท.เพื่อชุมชน" จากอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ »
พุธ 15 ม.ค. 57 พุธ 15 ม.ค. 57

ร่วมดำเนินรายการวิทยุกับ ดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงษ์ ถึงที่มาและความเป็นมาจาก โครงการบูรณาการอาหาร และcampaign อาหารของแม่ สู่ เทศกาลนิทานนานาชาติ การใช้นิทานเพื่อการบูรณาการแผนงานอาหารไปด้วยกันได้อย่างไร

จัดรายการวิทยุในประเด็นความก้าวหน้าของcampaignอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติโดยมีผู้ร่วมรายการคือ นายชัยวุฒิ เกิดชื่น นางสุวรรณี เกิดชื่น และดีเจนงลักษณ์โดยเล่าถึงที่มาว่าจากอาหารของแม่ก็มีกระบวนการต่างๆเกี่ยวกับการบูรณาการด้านอาหารผ่านหลักสูตรนิทาน และความพร้อมที่ได้จัดเทศกาลนิทานนานาชาติเป็นครั้งที่ ๒ ของประเทศไทย มีใครเป็นเจ้าภาพบ้าง จัดที่ไหน กำหนดการเป็นอย่างไร

จะได้ประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนชาวสงขลาและจังหวัดต่างๆที่สามารถรับฟังผ่าน อสมท.เอฟ.เอ็ม96.5 เข้าร่วมเทศกาลนิทานนานาชาติ

ได้ประชาสัมพันธ์เทศกาลนิทานนานาชาติซึ่งจะจัดขึ้นระหว่าวันที่ 24-26 มกราคม 2557 ไปยังกลุ่มเป้าหมายซึ่งอยู่ในพื้นที่การรับฟังคือ จังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และทั่วทั้งประเทศโดยผ่านทาง www.สงขลา-MCOT.net

-

34. พบนายกเทศมนตรีเทศบาลสงขลา และคณะผู้บริหาร เพื่อนำเสนอแผนงานอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และการเข้าสู่วาระอาหารแห่งปี »
พุธ 15 ม.ค. 57 พุธ 15 ม.ค. 57

ร่วมหารือและปรึกษากับท่านนายกเทศมนตรีนครสงขลา รองนายก และฝ่ายบริหารจากกองงานต่างๆ เพือความชัดเจนของงานเทศกาลนิทานนานาชาติ และเล่าความเป็นมาจาก โครงการบูรณาการอาหาร สู่ campaign อาหารของแม่ และ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ  และจะนำเสนอให้เป็นงานของสงขลาต่อไป

1.ได้เข้าพบกับนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลานายสมศักดิ์ ตันติเศรณี  และรองนายก นายสมชาย จันทรประทิน รวมทั้งผอ.กองช่าง และผอ.กองการศึกษา พร้อมกับอาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์ในฐานะเจ้าภาพหลักจากมหาวิทยาลัยทักษิณ และได้ร่วมหารือในความชัดเจนของการร่วมเป็นเจ้าภาพในฐานะเจ้าของพื้นที่ และการขอความอนุเคราะห์ในการใช้สถานที่เพื่อการอบรมเชิงปฏิบัติการ และพื้นที่สาธารณะ เช่นริมชายหาดสมิหลา รวมถึงการสนับสนุนในส่วนของงบประมาณอาหาร  และรถรับส่งคณะนักเล่านิทานนานาชาติ
2.ได้มีโอกาสในการนำเสนอและเล่าถึงที่มาของโครงการบูรณาการอาหารว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไรโดยเฉพาะการใช้ campaign อาหารของแม่ สู่ เทศกาลนิทานนานาชาติ และมีเป้าหมายสู่ สงขลาวาระอาหารแห่งปีซึ่งขอให้เทศบาลนครสงขลานำไปพิจารณาว่าจะผลักดันเป็นนโยบายและจะให้แผนงานสื่อร่วมขับเคลื่อนในภาคประชาชนได้อย่างไร

1.ได้ความชัดเจนในการเป็นเจ้าภาพร่วมเทศกาลนิทานนานาชาติในฐานะเจ้าของพื้นที่และมีแนวทางในการสนับสนุนเกี่ยวกับสถานที่ พื้นที่  งบประมาณ และการขอใช้รถรับส่งคณะนักเล่านิทานนานาชาติ รวมทั้งการอนุเคราะห์ในส่วนอื่นๆที่ได้ทำหนังสือแจ้งไว้เบื้องต้น
2.เทศบาลนครสงขลาสนใจและพร้อมจะพิจารณาโครงการบูรณาการอาหาร รวมถึงการรับหลักการในกิจกรรมcampaignอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี
3.ในอนาคตเทศบาลนครสงขลาจะพิจารณาให้มีเทศกาลนิทานของสงขลา (Songkhla Festival) เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์และจินตนาการสำหรับเด็กๆและครอบครัว  เป็นงานประจำปีของเทศบาลต่อไป

1.เทศบาลนครสงขลารับเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติโดยจะให้การสนับสนุนในส่วนของพื้นที่ต่างๆ เช่นสถานที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยให้ใช้พื้นที่ของโรงเรียนเทศบาล 5 วัดหัวป้อมนอก  สถานที่สำหรับการจัดconcertนิทาน คือ บริเวณประตูเมืองสงขลาจำลอง ริมชายหาดสมิหลา และจะอนุเคราะห์ในส่วนของแสง สี เสียง และพื้นที่สำหรับการติดไวนิลประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทาน สนับสนุนงบประมาณในส่วนของอาหารสำหรับคณะนักเล่านิทานและคณะนิสิต  คณะทำงานในวันอบรม(25 มกราคม 2557)  รถรางรับส่งตลอดเวลาสำหรับคณะนักเล่านิทาน ในเขต อ.เมืองสงขลา
2.นายกเทศมนตรีนครสงขลาจะมีการนัดหมายให้เข้าพบอีกครั้งในการพิจารณาโครงการบูรณาการอาหาร โดยเฉพาะกิจกรรม campaignอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี
3.นายกเทศมนตรี และรองนายก จะนำเรื่องของSongkhla Festival ไปพิจารณาดูอีกครั้ง  เพราะโดยพื้นฐานของจังหวัดสงขลาควรจะมีพื้นที่สร้างสรรค์และจินตนาการอย่างแน่นอน

-

35. บันทึกเทปรายการสภากาแฟ จากอาหารของแม่ และความมั่นคงทางอาหารที่จะนะ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ »
พุธ 15 ม.ค. 57 พุธ 15 ม.ค. 57

บันทึกเทปรายการโดยมี คุณบัญชร วิเชียรศรี คุณอรุณรัตน์  เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยจะเป็นการเล่าถึงที่มาว่าจากอาหารของแม่ สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ ได้อย่างไร และมีแผนงานความมั่นคงทางอาหารจะเข้ามาบูรณาการในเรื่องนิทานแบบใด

บันทึกเทปรายการสภากาแฟเพื่อออกอากาศในวันจันทร์ที่ 20 มกราคม 2557 โดยมีผู้ร่วมรายการทั้งสิ้น 6 คน คือคุณบัญชร คุณอรุณรัตน์ ผู้ดำเนินรายการ และผู้ร่วมรายการคือคุณสุวรรณี (อาหารของแม่และผู้ประสานงานระหว่างคณะนักเล่านิทาน และพื้นที่)นอกจากนั้นก็มีน้องยุ้ย น้องขิม และน้องมินจากจะนะ โดยเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับที่มาว่าจากอาหารของแม่มาสู่เทศกาลนิทานนานาชาติได้อย่างไร และเล่าถึงการที่จะนะนำเรื่องความมั่นคงทางอาหารเข้าสู่กระบวนการนิทานและเทศกาลนิทานนานาชาติในฐานะเจ้าภาพร่วมในส่วนใดบ้าง

จะได้ประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทานนานาชาติซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2557 และผู้ฟังให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมงาน ทั้งที่จัดขึ้นในพื้นที่สงขลา และจะนะ โดยเฉพาะการได้นำเสนอความเป็นมาจากอาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และการเปิดพื้นที่บูรณาการเรื่องราวของอาหารโดยใช้กระบวนการนิทานที่จะนะ

ได้ทำการประชาสัมพันธ์งานเทศกาลนิทานนานาชาติให้กับผู้ฟังทางวิทยุมอ.88  และได้รับความสนใจจากผู้ดำเนินรายการทั้งสอง ซึ่งรับที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ฟังเป็นระยะๆ จนถึงช่วงเทศกาลนิทาน และหลังจากเทศกาลนิทานนานาชาติเสร็จสิ้นจะมีการนำเสนอเรื่องของอาหารของแม่อีกครั้งรวมถึง สงขลาวาระอาหารแห่งปี

-

36. บันทึกรายการ เที่ยงทอล์ค จาก อาหารของแม่สู่เทศกาลนิทานนานาชาติร่วมกับ โครงการวิจัยฯและขับเคลื่อนนโยบายและการจัดการความมั่นคงทางอาหาร สู่เทศกาลนิทานนานาชาติ »
ศุกร์ 17 ม.ค. 57 ศุกร์ 17 ม.ค. 57

ร่วมรายการเที่ยงทอล์ค กับคุณไพศาล ซึ่งจะนำเสนอประเด็นนิทานเพื่อการบูรณาการอย่างไร ในประเด็นใดได้บ้าง และการมีส่วนร่วมของเจ้าภาพต่างๆ รวมถึง แผนงานสื่อสารสาธารณะ ในโครงการบูรณาการอาหาร

เป็นการบันทึกรายการ ในรูปแบบสัมภาษณ์โดยคุณไพศาล รัตนะ  จากรายการเที่ยงทอล์คทางHi Cable TV ซึ่งทางรายการอยากทราบที่มาที่ไปว่าจากอาหารของแม่ไปสู่เทศกาลนิทานนานาชาติได้อย่างไร?? ผู้ร่วมรายการมี คุณสุวรรณี เกิดชื่น จากแผนงานการสื่อสารสาธารณะ และอ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ จากแผนงานวิจัยฯการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ในโครงการบูรณาการอาหาร และมหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะเจ้าภาพหลักงานเทศกาลนิทานนานาชาติ  โดยทั้ง 2 ได้ร่วมเล่าถึงที่มาจากการมี campaign อาหารของแม่ และเพื่อให้คำๆนี้แพร่หลาย จึงใช้กลยุทธ์ในการเผยแพร่หลายๆรูปแบบ และหลายๆกลุ่มเป้าหมาย หนึ่งในนั้นคือ เด็ก และครอบครัว  และหนึ่งในวิธีการนำเสนอคือ นิทาน เพราะนิทานสามารถนำไปบูรณาการเรื่องราวต่างๆได้มาก โดยเฉพาะการบูรณาการในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร การช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่แหล่งอาหาร ดังนั้น จากอาหารของแม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลนิทานนานาชาติ เพราะในแผนงานสื่อเรามีต้นทุนด้านนิทานอยู่มากทั้งในเรื่องของนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆ และต้นทุนของการสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ และได้มาซึ่งการเป็นเจ้าภาพร่วมหลายๆองค์กร

1.ได้ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดประเด็น"อาหารของแม่"ให้แพร่หลาย ทั้งในกลุ่มสื่อและกลุ่มผู้ชมได้รู้จักโครงการบูรณาการอาหาร  และเมื่อทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของอาหาร การร่วมกันผลักดัน และขับเคลื่อนสงขลาวาระอาหารแห่งปีจะมีความเป็นไปได้
2.ได้ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนกลุ่มผู้ชมเข้าร่วมงานเทศกาล  นิทานนานาชาติในวันที่ 24-26 มกราคม 2557 และยังเป็นการทำให้คำว่านิทานที่ฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆ กลายเป็นนิทานสร้างเมือง

1.ผู้สัมภาษณ์ตั้งใจและให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่สัมภาษณ์ และจะช่วยสื่อสารเพื่อทำให้ประเด็นอาหารเป็นสาระสำคัญของสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะcampaign "อาหารของแม่" และจะช่วยเผยแพร่งานของแผนงานอาหารอื่นๆทั้งความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และประเด็นโภชนาการสมวัย เพื่อจะได้ช่วยผลักดันให้สงขลาไปสู่วาระอาหารแห่งปี
2.ได้ช่องทางสื่อ และช่วงเวลาในการประชาสัมพันธ์เทศกาลนิทานนานาชาติเพิ่มขึ้น คือ ทางช่อง 4 ใน Hi Cable และในwebsite ของทางสถานีด้วย และจะมีการ rerun ในช่วงเวลาอื่นๆด้วย เพราะทางHi CableTVให้ความสนใจกับงานนิทาน เพราะเห็นว่าเรื่องราวของจินตนาการมีความสำคัญกับคนในสังคม และอยากเห็นว่านิทานจะสร้างเมืองได้อย่างไร

-

37. เทศกาลเล่านิทานนานาชาติ »
ศุกร์ 24 ม.ค. 57 - อาทิตย์ 26 ม.ค. 57

แผนงานการสื่อสารสาธารณะ ร่วมกับศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดกิจกรรมนิทาน และเสวนาเชิงวิชาการ เพื่อส่งเสริมวาระอาหารให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายในทุกระดับของสังคม

 

 

 

 

38. เทศกาลเล่านิทานนานาชาติ »
ศุกร์ 24 ม.ค. 57 - อาทิตย์ 26 ม.ค. 57 ศุกร์ 24 ม.ค. 57

เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในจังหวัดสงขลาได้มีโอกาสเข้าร่วมเทศกาลนิทานในระดับนานาชาติในประเด็นสิ่งแวดล้อมและเพื่อสร้างความตระหนักเพื่อดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และพื้นที่แห่งความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดสงขลา และที่สำคัญการเผยแพร่ข้อมูลของโครงการบูรณาการอาหารให้เป็นที่รู้จักในจังหวัดสงขลา นอกจากนั้นเพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัยของนิทานในแง่เป็นความจำเป็นสำหรับทุกครอบครัวเพราะนิทานสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในโลกได้ โดยในเทศกลนิทานนานาชาติจะมีนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ โดยมีนักเล่านิทานรวมทั้งสิ้น 25 คน และนักเล่านิทานจากจังหวัดต่างๆ รวมทั้งนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามรวมทั้งสิ้น 70 คน โดยมีกิจกรรม3รูปแบบและ4พื้นที่ให้ประชาชนเข้าร่วมดังนี้
๑.ร่วมเสวนาเชิงวิชาการนานาชาติในหัวข้อ"เทศกาลนิทานนานาชาติเล่าเล่นให้เห็นโลกโศลกธรรมและธรรมชาติ"ที่ห้องประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
๒อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปที่สนใจการเล่านิทานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและนิทานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนเทศบาล๕สงขลา
๓.ร่วมเวทีconcertนิทานนานาชาติเล่าเล่นให้เห็นโลกและธรรมชาติ ที่ริมหาดสมิหลาสงขลา และริมหาดสวนกงพื้นที่อ.จะนะ

ซึ่งก่อนที่จะเข้าสู่กิจกรรมนิทาน จะมีเวทีสนทนากลุ่มย่อยเพื่อนำเสนอข้อมูลจากที่มาของโครงการบูรณาการอาหาร จากแผนงานต่างๆทั้งแผนความมั่นคงฯ แผนบูรณาการและงานวิจัย รวมถึงแผนงานสื่อสารฯโดยเฉพาะcampaignอาหารของแม่ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รู้ถึงรายละเอียดต่างๆของโครงการซึ่งเป็นที่มาของเทศกาลนิทานนานาชาติ

ผู้สนใจนิทานซึ่งมีทั้งเด็ก นักเรียน ครู นิสิต นักศึกษา อาจารย์ ผู้บริหารทางการศึกษาและผู้ปกครองได้เข้าร่วมเทศกาลนิทานนานาชาติซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดสงขลาในระหว่างวันที่24-25มกราคม2557โดยได้เข้าร่วมในกิจกรรมทั้ง3รูปแบบ คือ เสวนาวิชาการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และเวทีconcertนิทาน ซึ่งในการเล่านิทานมีเนื้อหามากมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมที่เกี่ยวกับความตระหนักที่ทุกคนต้องใส่ใจในพื้นที่ทางอาหาร เช่นนิทานเรื่องGrandfather Bear is Hungry หรือเรื่องTHE WAR BETWEEN THE SANDPIPERS AND THE WHALES (Surf War)ซึ่งตัวอย่างทั้ง2เรื่องจะมีเนื้อหาถึงการแบ่งปัน และเนื้อหาของการแย่งพื้นที่ทางอาหารแต่ในที่สุดก็ต้องร่วมกันดูแลเพื่อที่จะมีอาหารเพียงพอสำหรับคนรุ่นหลังต่อไป และได้ร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีที่มาของโครงการบูรณาการอาหารสู่เทศกาลนิทานนานาชาติ และยังได้เข้าใจในสถานการณ์อาหารของจังหวัดสงขลาผ่านที่มาของโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมนิทานและมีนักเล่านิทานจากประเทศต่างๆและนักเล่านิทานจากประเทศไทยรวมถึงนิสิตนักศึกษาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพเป็นจำนวนทั้งสิ้น 753 คน

1.ความสำเร็จของการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติครั้งแรกในจังหวัดสงขลาจะเป็นก้าวต่อไปสำหรับการเปิดพื้นที่นิทานในจังหวัดสงขลาและเทศกาลนิทานประจำปีอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นๆมากขึ้นกว่าในครั้งแรก
2.ผู้เข้าร่วมเทศกาลนิทานรวมถึงหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพร่วมได้รู้จักโครงการบูรณาการอาหารและตระหนักถึงความสำคัญของอาหารในทุกมิติ โดยเฉพาะ ประเด็นการรักษาและดูแลพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร ผ่านกระบวนการนิทาน และจะช่วยกันขับเคลื่อนโครงการอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี อย่างเข้าใจ
3.ประชาชน และจังหวัดสงขลา ได้เห็นศักยภาพในการจัดเทศกาลนิทานในระดับนานาชาติในจังหวัดสงขลา

1.จากความสำเร็จของการจัดเทศกาลนิทานนานาชาติเป็นครั้งแรกของจังหวัดสงขลาทำให้มีหน่วยงานตอบรับที่จะร่วมเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อๆไป เช่นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ  หรือการขอร่วมเป็นเจ้าภาพกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสงขลา
2.จากเทศกาลนิทานนานาชาติทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเชื่อมโยงกระบวนการนิทานและประเด็นต่างๆในสังคมได้ และ ที่สำคัญผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจความจำเป็นที่ต้องมีนิทานในครอบครัวตลอดไป ดังน้้นอาหารของแม่ ประเด็นอาหาร พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ และพื้นที่นิทาน คือเรื่องเดียวกัน
3.ประชาชนในจังหวัดสงขลาได้เห็นถึงศักยภาพของความร่วมมือขององค์กรในจังหวัดที่สามารถจัดเทศกาลนิทานระดับนานาชาติได้และรู้สึกภาคภูมิใจรวมถึงความต้องการที่จะมีเทศกาลนิทานเป็นประจำทุกปีต่อไป
4.การเปิดพื้นที่นิทานเพื่อสร้างเมืองและเป็นการสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ในทุกอำเภอมีความเป็นไปได้ โดยในปีแรกจะมีการเริ่มที่เทศบาลนครสงขลาโดยนายกเทศมนตรีและผู้บริหารเทศบาลนครสงขลาจะนำไปพิจารณาให้เป็นงานของเทศบาลในการเปิดพื้นที่นิทานอย่างยั่งยืนต่อไป

ปัญหา:
นิทานยังเป็นความเข้าใจของสังคมว่าเป็นเรื่องของเด็กๆ เป็นเรื่องภายในครอบครัว ดังนั้นหลายองค์กรยังไม่มั่นใจว่านิทานจะเป็นเรื่องของจังหวัดได้อย่างไร จึงทำให้การสนับสนุนเป็นเพียงแค่กิจกรรมเล็กๆเท่านั้น
แนวทางแก้ไข:
การทำความเข้าใจกับสังคมในเรื่องของนิทานและพยายามเปิดพื้นที่นิทานและทำให้ประเด็นเมืองและประเด็นอื่นๆที่เป็นปัญหาให้มีทางออกผ่านกระบวนการนิทานโดยเฉพาะการใช้นิทานกับเยาวชน และเด็กๆ ให้ช่วยกันร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

39. ประชุมกรรมการบริหารโครงการ เครือข่ายบูรณาการอาหาร »
ศุกร์ 31 ม.ค. 57 ศุกร์ 31 ม.ค. 57

1.ร่วมเวทีนำเสนอผลสรุปของกิจกรรมในแผนงานต่างๆ และจะบันทึกเสียงและภาพเพื่อนำไปผลิตสื่อเพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ
2.นำเสนอผลสรุปของกิจกรรมที่ได้ทำในแผนงานสื่อ งวดที่ ๑ และความก้าวหน้าของงานสื่อต่อไปโดยจะเป็นการนำเสนอผ่านVDO Presentation และเตรียมการบันทึกเสียงผลงานนำเสนอของเครือข่ายเพื่อนำมาเผยแพร่และถ่ายทอดในสื่อต่างๆ

1.การลงพื้นที่สัญจรและศึกษาดูงานพื้นที่ทางอาหารที่โรงเรียนโคกค่าย และธนาคารอาหาร ต.ควนรู
2.ร่วมเวทีนำเสนอและสรุปผลกิจกรรมจากแผนงานต่างๆรวมถึงการบันทึกเสียง และภาพ  จากแผนงานต่างๆ เช่น แผนงานอาหาร อบต. ควนรูซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศูนย์เด็กเล็กที่จะต้องได้รับโภชนาการที่ดี และเรื่องของการเปิดตลาดนัดสีเขียว เป็นต้น หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนา การ จาก อ.ลัดดา ทั้งพื้นที่ควนรูและชะแล้ สำหรับพื้นที่ชะแล้จะเป็นเรื่องของการใช้พื้นที่เกษตรอินทรีย์ การจัดการเรื่องน้ำ การจัดธนาคารต้นไม้ หรือการจัดตลาดสีเขียว และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเป็นต้น
3.การนำเสนอของแผนงานสื่อในรูปแบบของVDO Presentation

1.ได้ภาพ เสียง และเนื้อหาจากการทำกิจกรรมตามแผนของแต่ละแผนงานเพื่อนำมาผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะตามช่องทางสื่อต่างๆ และที่่ www.banbanradio.com (ติตามฟังรายการสด หรือclip เสียงการประชุมแผนงานอาหารรวมทั้งสามารถอ่านข่าวสารและเนื้อหาจากเรื่องราวอาหารทั่วโลก) และที่ www.seewithsound.com(ใน mamagoodfood ติดตามชมวีดีโอเกี่ยวกับการประชุม และประเด็นอาหาร หรือความเคลื่อนไหวของแผนงานต่างๆ)
2.คณะกรรมการและผู้ดำเนินงานตามแผนงานต่างๆได้ทราบเรื่อง ราวกิจกรรมที่แผนสื่อได้ทำตลอดมาและความก้าวหน้าของแผนงานที่จะทำต่อไป โดยเฉพาะการเผยแพร่กิจกรรมต่อเนื่องของCampaign อาหารของแม่

1.การผลิตสื่อในรูปแบบของรายการวิทยุ และการรายงานข่าวจากเวทีศึกษาดูงาน และเวทีนำเสนอผลสรุปจากกิจกรรมตามแผนงานอาหารซึ่งได้นำไปเผยแพร่และนำเสนอตามช่องทางสื่อต่างๆเช่นเครือข่ายวิทยุชุมชน และรายงานข่าวใน www.banbanradio.com
2.จากการได้นำเสนอผลสรุปกิจกรรมสื่อเป็นที่น่าพอใจ และจะต้องดำเนินงานในส่วนของCampaign อาหารของแม่อย่างจริงจังและให้แพร่หลายสู่สาธารณะในวงกว้าง เพื่อไปสู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี

-

40. ร่วมรายการวิทยุ "อสมท.เพื่อชุมชน" »
พุธ 5 ก.พ. 57 พุธ 5 ก.พ. 57

เป็นการร่วมดำเนินรายการกับ ดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงษ์ ในประเด็นของการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารในพื้นที่ ต.ควนรู โดยเป็นการสัมภาษณ์ นายก อบต. นายถั่น จุลนวล ถึงกิจกรรมต่างๆและกระบวนการที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของโครงการบูรณาการอาหารในพื้นที่ และจะเดินต่อไปอย่างไร

เป็นการร่วมดำเนินรายการกับ ดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงษ์ ในประเด็นของการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหารในพื้นที่ ต.ควนรู โดยเป็นการสัมภาษณ์ นายก อบต. นายถั่น จุลนวล ซึ่งเห็นปัญหาของอาหารที่มีผลต่อสุขภาพของชาวชุมชนควนรูโดยเฉพาะการขาดสารอาหารในเด็กและเยาวชน จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการบูรณาการอาหาร ของ สสส และหลังจากที่ดำเนินกิจกรรมมาเกิอบหนึ่งปี  จึงมีเรื่องเล่าให้เห็นภาพความสำเร็จของ กิจกรรมและกระบวนการต่างๆที่ได้ทำในพื้นที่  และความคาดหวังที่จะเดินต่อไปเพื่อให้ชาวชุมชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีอย่างสมบูรณ์

ประชาชนและผู้ฟังได้ฟังเรื่องเล่าดีๆจากพื้นที่ควนรู ตั้งแต่วิธีการคิด กระบวนการความร่วมมือ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆซึ่งเป็นที่มาของความสำเร็จที่เกิดร่วมกันระหว่างท้องถิ่นและชุมชน เพื่อให้เห็นเป็นแบบอย่างสำหรับพื้นที่อื่นๆต่อไป และควนรูอาจเป็นพื้นที่เสมือนแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ฟังที่สนใจ และได้ประชาสัมพันธ์งานของอบต. ควนรูซึ่งจะมี ตลาดนัดสุขภาพให้ผู้ฟังได้ไปซื้อหาอาหาร ผัก ผลไม้และมีโอกาสให้ประชาชนได้ฟังย้ำถึงcampaignอาหารของแม่

ประชาชนและผู้ฟังได้ฟังเรื่องเล่าดีๆจากพื้นที่ควนรู หลังจากที่พบปัญหามากมายในพื้นที่ แต่ด้วยความตั้งใจของคณะทำงาน อบต.ซึ่งต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี จึงร่วมกันคิดและหาทางออกระหว่างท้องถิ่นและชุมชน    นอกจากนั้นผู้ฟังยังได้ฟังกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจมากมาย เช่น เรื่องของธนาคารเมล็ดพันธุ์ ด้วยแนวคิด ธนาคารกู้เงินจ่ายดอกเบี้ย แต่ธนาคารเมล็ดพันธุ์ จ่ายกลับเป็นเมล็ดพันธุ์ จากกนั้นขยายมาเป็นธนาคารข้าว ธนาคารต้นไม้ ธนาคารน้ำเป็นต้น  เช่นโครงการ 7 ไร่ 7 เรื่อง 700 คือเรื่องทีธนาคารเล็ดพันธุ์ผักใช้พื้นที่ 7 ไร่ ทำกิจกรรม 7 เรื่องเช่น ปลูกผัก , ทำปุ๋ยฯ โดยมีรายได้เข้าวันละ 700 บาท  และเรื่องของการจัดผังชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคง ร่วมสร้างกติกาพื้นที่  เช่นที่ไหนทำเกษตรห้ามทำอย่างอื่น หรือกรณีเรื่องน้ำ โดยให้ชาวบ้านขุดคลองขนาดเล็กๆรอบพื้นที่เกษตรเพื่อยามน้ำท่วมจะได้เก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง

ปัญหาที่เกิดใหม่ๆจะเป็นเรื่องการทำความเข้าใจในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้เวทีในชุมชนทุกแห่งคุยกันบ่อยๆ  ขณะที่ควนรูมีวิถีความสัมพันธุ์แบบการเมืองสมานฉันท์จึงมีลักษณะยืดหยุ่นในการพูดคุย  โดยเฉพาะเรื่องการใช้ฐานเศรษฐกิจพอเพียงอบรมให้ความรู้ หลังจากได้เข้าร่วมกับโครงการงานบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ กรณีศึกษาสงขลา จึงได้ใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ เมื่อมีการคืนข้อมูลเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการขาดสารอาหารของเด็กในชุมชน จึงเกิดโครงการปลูกผักสวนครัวเพิ่มสารอาหารให้เด็กในโรงเรียน และการเชื่อมโยงถึง อาหารของแม่ โดยสามารถติดตามฟังย้อนหลังได้ที่ www.banbanradio.com ในคอลัมน์โครงการบูรณาการแผนสุขภาวะด้านอาหาร  http://www.banbanradio.com/tags/25

-

41. ร่วมรายการวิทยุ "ปักษ์ใต้บ้านเรา" »
พฤหัสบดี 6 ก.พ. 57 พฤหัสบดี 6 ก.พ. 57

ร่วมดำเนินรายการวิทยุกับ คุณทีปวัฒน์ มีแสง เพื่อนำเสนอสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุจากอาหาร  จนเป็นที่มาของโครงการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหาร และเพื่อให้โครงการมีทิศทางและแนวทางเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของชาวสงขลา ดังนั้นจึงต้องมีงานวิจัยมารองรับ และหลังจากนั้นจะต้องนำผลงานวิจัยเสนอเพื่อนำไปขับเคลื่อนในระดับนโยบาย โดยสัมภาษณ์ อาจารย์ วิวัฒน์ ฤทธิ์มา มหาวิทยาลัยทักษิณจากโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดสงขลา

ร่วมดำเนินรายการวิทยุกับ คุณทีปวัฒน์ มีแสง เพื่อนำเสนอสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุจากอาหาร  จนเป็นที่มาของโครงการบูรณาการสุขภาวะด้านอาหาร และเพื่อให้โครงการมีทิศทางและแนวทางเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของชาวสงขลา ดังนั้นจึงต้องมีงานวิจัยมารองรับ และหลังจากนั้นจะต้องนำผลงานวิจัยเสนอเพื่อนำไปขับเคลื่อนในระดับนโยบาย โดยสัมภาษณ์ อาจารย์ วิวัฒน์ ฤทธิ์มา มหาวิทยาลัยทักษิณจากโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหาร จังหวัดสงขลา ซึ่งอาจารย์เล่าว่าต้องทำให้คนบ้านเรารู้ว่าเรามีความอุดมสมบูรณ์อย่างไร    มีความมั่นคงทางอาหารอย่างไร  ด้วยการทำแบบสอบถามลงพื้นที่ต่างๆในจังหวัดสงขลาว่าบ้านเรามีอาหารเพียงพอจริงหรือไม่ รวมไปถึงพืชพันธุ์พื้นเมืองในวิถีเก่ายังคงมีอยู่หรือสูญหายไปเท่าไหร่แล้ว หรือถ้ายังมีอยู่ได้ใช้อยู่หรือไม่ เช่นการกินอาหารเป็นยา การใช้รักษาแบบภูมิปัญญายังมีการใช้อยู่มากน้อยอย่างไรหรือหันไปกินยาสมัยใหม่กันหมดแล้วฯ แม้แต่การเลี้ยงสัตว์วันนี้ชุมชนเลี้ยงไก่กันเองเพื่อมาเป็นอาหารทั้งไก่และไข่หรือเปลี่ยนไปซื้อกินทุกอย่าง เปลี่ยนวิถีไปมากน้อยเพียงใด สังเกตุจากกระชังปลาและฟาร์มสัตว์ต่างๆที่มากขึ้น  รวมไปถึงภาพรวมแหล่งอาหารอย่างทะเลสาบสงขลาวันนี้ปลาหายไปกี่พันธุ์แล้วหรือยังคงมีอยู่กี่พันธุ์มากน้อยอย่างไร เป็นต้น

1.ผู้ฟังได้เข้าใจและตระหนักถึงสถานการณ์แหล่งทรัพยากรทางอาหารของจังหวัดสงขลา และได้ฟังความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการบูรณาการอาหาร รวมถึงความเข้าใจในcampaignอาหารของแม่ จากการเน้นย้ำในสื่อต่างๆ
2.ผู้ฟังเข้าใจ และอยากมีโอกาสร่วมผลักดันและขับเคลื่อนที่จะช่วยกันทำให้การจัดการพื้นที่ทางอาหารให้ไปสู่ระดับนโยบายสาธารณะของจังหวัด

ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าสถานการณ์โรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่มาจากการกินและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ขาดการดูแลเรื่องของความปลอดภัยในวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหาร  เป็นต้น หลังจากที่ได้นำเสนอที่มาของสถานการณ์ด้านอาหาร และการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายของอาจารย์วิวัฒน์ แล้วก็มีผู้ฟังโทรเข้ามาแลกเปลี่ยน  คือ พระอาจารย์ปรีชา วัดป่ากันตพงษ์ ควนเนียงกล่าวถึง คนวันนี้เป็นโรคเยอะเพราะกินสัตว์มากขึ้น ไม่ค่อยกินผัก ประเทศอื่นเช่นเวียดนามเขากินปลากินผัก เขาจึงไม่ค่อยเป็นมะเร็ง  และอีก ๑ ท่านจากสำนักสงฆ์ม่วงค่อม กล่าว่าการกินต้องตั้งสติ แต่ก็เห็นว่าปัจจุบันมีคนกินเจกันมากขึ้นนั่นคือจุดเริ่มของความสนใจการอยู่การกินมากขึ้น และสุดท้ายคุณชัยวุฒิได้เชื่อมโยงจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสู่"อาหารของแม่"ซึ่งจะเป็นวาระสำคัญของอาหารในปี2557

-

42. พบผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลา »
จันทร์ 10 มี.ค. 57 จันทร์ 10 มี.ค. 57

พบผู้อำนวยการสวท.สงขลา นายณรงค์ ชื่นนิรันดร์เพื่อยื่นหนังสือ และปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์งาน "อุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม"

พบผู้อำนวยการสวท.สงขลา และได้ยื่นหนังสือ พร้อมปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์งาน "อุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม" ซึ่งผู้อำนวยการได้ขอให้เล่าถึงที่มาของงานอุทยายอาหาร ดังนั้นแผนงานสื่อจึงได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการบูรณาการอาหารและการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานต่างๆ และประเด็นสำคัญคือการผลักดันcampaign อาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี

ได้รับการตอบรับความร่วมมือในการเปิดสปอต และประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร รวมถึงความร่วมมือเพื่อทำข่าวและถ่ายทอดสดพิธีเปืดงานอุทยานอาหารโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและการมอบรางวัลการประกวดวลีเด็ด

ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.สงขลาให้ความร่วมมือในการเปิดสปอตให้ทุกสถานีที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้ง F.M.90.5 และ F.M.102.25 และจะมีการประชาสัมพันธ์ด้วยการพูดแทรกในรายการต่างๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ในหน้า Facebookของสถานี และส่วนตัว นอกจากนั้นยังจะส่งเรื่องไปถึงหน่วยงานที่กรุงเทพด้วย สำหรับการมาทำข่าวพิธีเปิดมีความเป็นไปได้ ส่วนการถ่ายทอดสดมีปัญหาเนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีรายการอื่น และทางผู้อำนวยการยังได้เชิญให้มาร่วมจัดรายการเพื่อเล่าถึงที่มาของโครงการอาหาร จนถึงการประชา สัมพันธ์งานอุทยานอาหาร ดังนั้นทางแผนงานสื่อจึงตอบรับที่จะมาร่วมรายการและถ้าเป็นไปได้จะเชิญ รศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการอาหารมาร่วมในรายการด้วย และที่สำคัญทางผู้อำนวยการให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารของแม่มากซึ่งจะมีการวางแผนที่จะให้ความร่วมมือว่าจะทำรายการและประชาสัมพันธ์อย่างไรต่อไป

-

43. ร่วมจัดรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ กับ ผอ.ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ »
พฤหัสบดี 13 มี.ค. 57 พฤหัสบดี 13 มี.ค. 57

ร่วมรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ  โดยจะเป็นการสัมภาษณ์ของผอ.สวท.สงขลา (ณรงค์ ชื่นนิรันดร์) เพื่อเล่าถึงที่มาของงานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม)

เป็นการร่วมรายการระหว่าง ผอ.สวท.สข.(นายณรงค์ ชื่นนิรันดร์) และ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิผู้รับผิดชอบโครงการบูรณาการอาหารในรายการหนึ่งถ้วยกาแฟ ทางสวท.สข.F.M.102.25 โดย ผอ.ณรงค์ได้สัมภาษณ์อาจารย์พงค์เทพ ถึงที่มาของโครงการบูรณาการอาหาร ซึ่งอาจารย์ได้พูดถึงสถานการณ์อาหารของจังหวัดสงขลา ปัญหาด้านสุขภาพ  ปัญหาด้านอาหารที่ส่งผลต่อเด็กและเยาวชน จึงทำให้แผนงานต่างๆต้องมีกิจกรรมเพื่อเป็นทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวซึ่งได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆมาเป็นระยะเวลาเกือบปี จนท้ายสุดคือการจัดนิทรรศการอาหารในงานอุทยานอาหาร ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม2557 และอาจารย์ยังได้เชื่อมโยงถึงcampaignอาหารของแม่ ว่าจะมีการผลักดันให้สงขลามีวาระอาหารแห่งปี

1.ได้ประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร และกลุ่มผู้ฟังให้ความสนใจเข้าร่วมงาน และได้เผยแพร่กิจกรรมต่างๆของแผนงานบูรณาการอาหารให้เป็นที่เข้าใจของประชาชนในจังหวัดสงขลาและเครือข่ายที่สามารถรับสัญญาณถ่ายทอดได้
2.ได้ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่campaignอาหารของแม่เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของอาหารของแม่และร่วมกันผลักดันให้สงขลาไปสู่"สงขลาวาระอาหารแห่งปี"
3.สวท.สงขลาเห็นความสำคัญของแผนงานอาหาร และอาหารของแม่และจะให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนด้วยการจัดรายการเพื่อประชาสัมพันธ์หรือมีกิจกรรมต่างๆเพื่อเผยแพร่งานอาหารต่อไป

1.มีการประชาสัมพันธ์และเปิดสปอตเชิญชวนเข้าร่วมงานอุทยานอาหาร และได้ชี้แจงถึงที่มาของโครงการอาหาร  จากสถานการณ์ปัญหาสู่งานตลาดนัดอุทยานอาหาร  จนผู้อำนวยการสถานีฯให้ความสนใจและรับปากจะให้ความร่วมมือในการใช้ช่องทางสื่อที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ร่วมประชาสัมพันธ์งานอุทยานฯในทุกช่วงเวลาที่สามารถทำได้
2.มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่campaignอาหารของแม่ซึ่งทั้งนี้ทางผู้อำนวยการจะเปิดโอกาสให้ทางโครงการได้ใช้ช่องทางสื่อของ สวท.สข.ได้ตลอดเวลาที่ทางแผนสื่อจะสามารถเข้าไปร่วมในรายการได้ หรืออาจเชิญผู้รับผิดชอบตามแผนงานต่างๆเข้าร่วมรายการได้ทุกครั้งที่ขออนุเคราะห์ไปทางสวท.
3.ผอ.สวท.สข จะนัดหารืออีกครั้งเกี่ยวกับการวางแผนที่จะใช้สื่อเพื่อผลักดันcampaignอาหารของแม่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ และจะขอร่วมเป็นภาคีสื่อในการถ่ายทอดเกี่ยวกับประเด็นอาหารต่างๆต่อไป
สามารถติดตามฟังย้อนหลังได้ที่ http://www.banbanradio.com/tags/25

-

44. ร่วมรายการอสมท.เพื่อชุมชน »
จันทร์ 17 มี.ค. 57 จันทร์ 17 มี.ค. 57

ร่วมจัดรายการอสมท.เพื่อชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม และจะมีการนำเสนอ ประเด็นแผนงานอาหารของพื้นที่ชะแล้กับการร่วมงานอุทยานอาหาร

ร่วมจัดรายการอสมท.เพื่อชุมชน กับดีเจ นงลักษณ์ ตันตรัตนพงศ์ เพื่อประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรมโดยเป็นการเล่าถึงรูปแบบของงาน  กิจกรรมที่สำคัญและน่าสนใจ เช่นการเสวนาจะมีทั้ง 3 วัน 3 ประเด็นหลัก โดยแต่ละวันก็จะมีไฮไลท์เช่นในวันแรกจะเป็นเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร และจะมีการยื่นข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พิธีเปิด รวมถึงการมอบรางวัลให้กับผู้ชนะในการประกวดวลีเด็ด โดยท่านผู้ว่า  หรือวันที่ 3 ของงานก็จะเป็นเวทีที่จะผลักดัน อาหารของแม่สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี ซึ่งในงานนอกจากเวทีเสวนาแล้วยังมีการสาธิตการทำอาหารจากเชฟร้านดังหรือเชฟกะทะเหล็ก เป็นต้น

1.ได้ประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรมผ่านรายการ อสมท.เพื่อชุมชน ทางF.M.96.5 ซึ่งมีกลุ่มผู้ฟังที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วทั้งจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงมากมาย 2.กลุ่มผู้ฟัง และ ผู้บริหารสถานีวิทยุ อสมท.ได้รับฟังเนื้อหาและประเด็นสำคัญของcampaignอาหารของแม่  จนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของอาหารของแม่และจะร่วมผลักดันให้ไปถึงสงขลาวาระอาหารแห่งปี

1.ได้ประชาสัมพันธ์งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรมผ่านรายการ อสมท.เพื่อชุมชน ทางF.M.96.5 ไปยังกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วทั้งจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง และได้มีการสอบถามเพิ่มเติมถึงกิจกรรมอื่นๆ เช่น มีการขายอาหารเพื่อสุขภาพหรือไม่ หรือสนใจอยากร่วมสาธิตการทำอาหาร เป็นต้น 2.กลุ่มผู้ฟัง และ ผู้บริหารสถานีวิทยุ อสมท.ได้รับฟังเนื้อหาและประเด็นสำคัญของcampaignอาหารของแม่  ซึ่งผู้บริหารของสถานีได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารของแม่และเสนอให้ความร่วมมือในการใช้ช่องทางสื่อของอสมท F.M.96.5.ในการถ่ายทอดเนื้อหาด้านอาหารได้ต่อไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ [PR Value] ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วการใช้ช่วงเวลาของวิทยุ  อสมท. จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 30000 บาทต่อชั่วโมง

-

45. งานอุทยานอาหาร วิถีสุขภาพ วิถีวัฒนธรรม »
พุธ 19 มี.ค. 57 - ศุกร์ 21 มี.ค. 57 พุธ 19 มี.ค. 57

1.ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอด บันทึกเสียง บันทึกวีดีโอที่จะนำไปเผยแพร่และถ่ายทอดสู่สาธารณะในวงกว้างผ่านหลายช่องทาง เช่น คลื่นความคิด F.M.101  สวท.สงขลาF.M.90.5  HicableTV และ Youtube(ในรายการสงขลามหาชน) www.seewithsound.com, www.banbanradio.com,www.facebook.com/mamagoodfood และวิทยุชุมชนต่างๆ  หรือตามช่องทางสื่อที่สนใจ
2.ประกาศผลการประกวดวลีเด็ดในหัวข้อ อาหารของแม่ และมอบรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศทั้ง3 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
3.เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ในหัวข้อ "จากอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี" และพิธีกรสาธิตการทำอาหารจากเชฟต่างๆ

1.ถ่ายทอดสดเวทีเสวนาทั้ง 3 วันทางคลื่นความคิดF.M.101 และวิทยุชุมชนจะนะ และทำข่าวร่วมกับ สวท.สงขลาF.M.90.5 สทท.11 และHicableTV  และได้บันทึกทั้งเสียงและวีดีโอเพื่อนำไปผลิตสื่อเพื่อกระจายและเผยแพร่ไปยังช่องทางต่างๆ เช่น สวท.สงขลา 90.5  รายการสื่อสุขภาพสัญจรทางF.M.101คลื่นความคิด และวิทยุเครือข่ายอาหาร  Hicabletv  รายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood ทาง www.seewithsound.com และฟังทุกเวทีทุกกิจกรรมย้อนหลังและพิธีเปืดหรืออ่านข่าวสารที่ www.banbanradio.com
2.ประกาศผลการประกวดวลีเด็ดในหัวข้อ อาหารของแม่ และมอบรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศทั้ง3 ดังนี้
  รางวัลที่ ๑ นางสาวขวัญฤทัย ปานนุ้ย "ไม่หรอยพรื่อ ฝีมือแม่"
  มอบรางวัลโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
  รางวัลที่๒ นางสาวเรียม ก่อเซ็ม "หรอยโดนใจ ใช่เลยแม่"
  มอบรางวัลโดยคณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ มอ.
  รางวัลที่๓ นางสาวมรกต ภูริวัฒนธรรม "กับข้าวแม่แทนความรัก
  มอบรางวัลโดยรองนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
3.ในวันที่ 21 มีนาคม เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ในหัวข้อ "จากอาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี" และพิธีกรสาธิตการทำอาหารจากเชฟกะทะเหล็กโรงแรมธรรมรินทร์ธนากับเมนูสุขภาพ"พัดสี่ตระกูล"

1.การถ่ายทอดสดจะได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายสื่ออาหาร และจะมีผู้ฟังให้ความสนใจและเข้ามาร่วมงานอุทยานอาหาร รวมถึงสื่อต่างๆจะให้ความสนใจในโครงการ และตระหนักถึงความสำคัญของอาหารในทุกมิติทั้งความั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย โดยจะมีการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะมากขึ้น รวมถึงจะนำสื่อที่ผลิตในภายหลังไปเผยแพร่อย่างต่อเนื่องและให้ความร่วมมือในการสื่อสารต่อไป นอกจากนั้นสื่อต่างๆสนใจที่จะติดตามข่าวสาร รวมทั้งเสียง และวีดีโอ จากwebsite เครือข่ายอาหารของโครงการบูรณาการ โดยเฉพาะที่ www.seewithsound.com ,www.banbanradio.com
2.campaignอาหารของแม่ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักของทุกคนในจังหวัดสงขลา รวมถึงวลีเด็ดที่น่าสนใจทั้ง 3 จะได้รับการพูดถึงและติดปากของชาวสงขลา และจะมีการรณรงค์ให้แพร่หลายเพื่อให้ทุกคนหันมาตระหนักถึงความสำคัญของอาหารของแม่ และความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมทั้งได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ  และร่วมมือในกิจกรรมต่างๆที่จะเป็นการรณรงค์campaignอาหารของแม่ต่อไป
3.จากเวทีเสวนา จากอาหารของแม่สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปีจะได้รับการตอบรับและเป็นหนึ่งในข้อเสนอของการจัดการระบบอาหารที่จะยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และได้รับการประกาศหรือมีแผนงานต่างๆที่จะรองรับในระดับนโยบายในอนาคต รวมถึงการมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป

1.การถ่ายทอดสดได้รับความสนใจจากผู้ฟังโดยมีการตอบรับการเข้าร่วมซึ่งมีผู้ฟังบางส่วนมาแจ้งที่เวทีการสาธิตว่าได้ฟังจากรายการวิทยุและสนใจการสาธิตการทำอาหาร อยากชิมอาหารจากฝีมือเชฟชื่อดังและสนใจที่จะเข้ามาเรียนการทำอาหาร รวมถึงการตอบรับคำเชิญชวนที่จะมาร่วมเสวนา และสาธิตการปรุงอาหารสำหรับลูกในรายการอาหารของแม่ และมีบางส่วนที่ได้อ่านจากหน้าเพจของfacebook/mamagoodfood ซึ่งพอได้อ่านข่าวแล้วเลยรีบมาซื้ออาหารสุขภาพรวมถึงผัก ผลไม้ และไข่ไก่ในส่วนของสื่อต่างๆก็มีการสอบถามถึงการเสวนาว่าจะสามารถติดตามการอภิปรายในเวทีได้จากช่องทางใดบ้างและจะขอเทปเพื่อนำไปออกอากาศได้จากช่องทางใด เช่น วิทยุชุมชนโชคสมาน  สวท.สงขลาF.M.102.25  หรือที่ อสมท.96.5 สามารถเข้าไปร่วมจัดเพื่อสรุปภาพงานอุทยานฯทั้ง 3 วันและมีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง โดยสื่อที่ผลิตทั้งข่าวสาร เสียง ภาพวีดีโอ สามารถติดตามกันได้ที่www.seewithsound.com หรือ www.banbanradio.com
2.ความก้าวหน้าของcampaignอาหารของแม่ได้รับการตอบรับจากวิทยุ มอ.ที่จะทำรายการร่วมกันโดยใช้ชื่อว่า ร้านอาหารของแม่ซึ่งจะเป็นรายการในลักษณะของวงสนทนาระหว่างแม่ๆทั้งหลายเกี่ยวกับเมนูโปรดของลูก วิธีการทำ การปรุง หรือเมนูที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากแม่จากรุ่นสู่รุ่น และการสาธิตการทำอาหาร ๑ เมนู เป็นต้น และหลังจากได้เล่าให้อาจารย์พงค์เทพฟังก็มีการเสนอว่าน่าจะมีการปรุงอาหารจากแม่หลายๆคนในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมด้วย โดยจะมีการนัดหารือและวางแผนกันต่อไปซึ่งจะชวนเครือข่ายสื่อมาร่วมวางแผนกันด้วย
3.จากเวทีเสวนา อาหารของแม่ สู่สงขลาวาระอาหารแห่งปี มีข้อเสนอที่น่าสนใจหลายประการ เช่นคุณนิมิตร แสงเกตุจาก สสจ.และดูแล อสม.ด้วยเสนอว่า หลังจากนี้จะให้อสม.ซึ่งกำลังทำโครงการ ตำบลสายใยรักและตำบลจัดการสุขภาพจะให้ความสำคัญกับอาหารของแม่  อาจารย์จงกลณี จาก สสส.เสนอเรื่องสภาความมั่นคงทางอาหาร และอยากให้มีนักโภชนาการชุมชน ประจำทุก อบต.โดยดูแลอาหารทั้งระบบให้ครบวงจร  ซึ่งทาง อบจ.โดยคุณอัฐชัยรับที่จะนำไปเสนอต่อ นายกอบจ. เป็นต้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามทุกฝ่าย ทุกองค์กร และประชาชนควรได้ร่วมกันผลักดัน เรื่อง อาหารของแม่ให้เป็นวาระจังหวัดต่อไป

-

46. บันทึกภาพเพื่อผลิตสื่อในการพบผู้ว่าราชการเรื่องการจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา »
อังคาร 8 เม.ย. 57 อังคาร 8 เม.ย. 57

ร่วมประชุมพิจารณาเรื่อง การจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา และจัดการบันทึกวีดีโอในการประชุมเพื่อนำมาตัดต่อและเผยแพร่ผ่าน www.seewithsound.comในรายการสงขลามหาชน ตอน mamagoodfood[http://seewithsound.com/tags/21] เพื่อเป็นการสื่อสารไปยังกลุ่มเครือข่ายโครงการบูรณาการอาหารในทุกแผนงาน รวมถึงเครือข่ายสื่อ[Songkhla Food Media] และประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัดสงขลา และอื่นๆ

ร่วมประชุมและฟังข้อเสนอจากเครือข่ายบูรณาการอาหารต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและทำการบันทึกภาพเพื่อนำมาผลิตสื่อวีดีโอ

ได้สื่อวีดีโอที่มีประเด็นน่าสนใจจากการยื่นข้อเสนอความสำคัญของการจัดการอาหารต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้ชมจะได้ชมขั้นตอนการทำงานและวีธีการพิจารณาข้อเสนอจากท่านผู้ว่า และการรับเป็นภาคีของหน่วยงานราชการ  จนทำให้วาระแห่งอาหารเป็นที่สนใจทั้งจังหวัด และสร้างความตระหนักว่าทุกคนควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ เพื่อสุขภาวะที่ดีของชาวสงขลา

รายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood ผู้ชมจะได้รับชมภาพข่าวที่ทางจังหวัดสงขลาได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา” โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ประกอบด้วย 2 ส่วน ซึ่งกรรมการชุดนี้จะนัดประชุมจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารในวันที่ 18 เมษายน 2557 ซึ่งสามารถติดตามรายการสงขลามหาชนได้ที่  www.seewithsound.com หน้าmamagoodfood หรือคัดลอกurlนี้ http://seewithsound.com/tags/21 และแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือส่งข้อมูลน่าสนใจที่www.facebook.com/mamagoodfood หรืออ่านข่าวอาหารทั่วโลก ได้ที่www.banbanradio.com และจะมีการจัดทำเป็นสกู๊ปข่าวสำหรับช่องHicableTV สงขลา

-

47. ปรับหน้าwebโครงการบูรณาการอาหาร(งวด 2) »
จันทร์ 21 เม.ย. 57 จันทร์ 21 เม.ย. 57

ดูแล จัดการ และเพิ่มเติมเนื้อหาโครงการบูรณาการอาหารในเครือข่ายwebsiteของแผนสื่อให้มีความสมบูรณ์และชัดเจน ดังนี้ 1.www.banbanradio.com (ข่าวสาร และ รายการเสียง) 2.www.seewithsound.com(ช่อง VDO สงขลามหาชน ตอน mamagoodfood)
3.www.facebook.com/mamagoodfood (ช่องทางการสื่อสาร และส่งข่าว ระหว่างเครือข่าย)

1.ศึกษา,ค้นคว้า,สัมภาษณ์,ติดตาม ข่าวสารและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลในระดับโลก ระดับประเทศและในระดับพื้นที่ในประเด็นอาหารเพื่อนำมาจัดทำและเขียนลงในหน้าwebหน้าหลักของwww.banbanradio.comเพื่อให้เป็นแหล่งข่าวและเป็นคลังข้อมูลสำหรับเครือข่ายสื่อเพื่อเป็นข้อมูลให้กับช่องทางสื่อในแต่ละสื่อและแต่ละพื้นที่ของแผนงานอาหาร
2.ติดตามงานของโครงการบูรณาการอาหาร และจากการดำเนินงานของแผนงานต่างๆ โดยการประชุม หรือติดตามบันทึกเสียงจากเวที และการเชิญแผนงานต่างๆไปร่วมรายการในช่องทางสื่อ เช่น รายการพิราบคาบข่าวTV11 รายการสภากาแฟ มอ.88 รายการอสมท.เพื่อชุมชน อสมท.96.5 รายการบินหลาหาข่าว หรือรายการปักษ์ใต้บ้านเราสวท.90.5 เป็นต้นและนำมาจัดทำเป็นคลังเสียงสาธารณะเพื่อเชื่อมช่องทางเครือข่ายสื่อต่างๆ นอกจากนี้ในบางพื้นที่ หรือบางกิจกรรมในเครือข่ายแผนงาน หรือเวทีเสวนา การประชุม จะมีการบันทึกเป็นVDO แล้วนำมาผลิตเป็นสื่อรายการสงขลามหาชนตอนmamagoodfood เพื่อนำไปเผยแพร่ในsocial network เช่น youtube หรือลงในwebsite เช่น www.seewithsound.com หน้า mamagoodfood
3.จัดทำสื่อในรูปแบบsocial media โดยfanpageอาหารของแม่ในwww.facebook.com/mamagoodfood และการส่งข่าวด้านอาหาร เชื่อมต่อแผนงานอาหารทุกแผน และติดตามงานจากแผนงานอาหารผ่านfanpage ในBanBanRadio และSongkhlamahachon
4.ประสานเครือข่ายแผนงานการสื่อสารสาธารณะจังหวัดสงขลาในการติดตามข้อมูลทั้งเสียงและข่าวเพื่อไปนำเสนอในช่องทางของแต่ละสื่อแต่ละพื้นที่
5.จัดทำหน้าเวบและupdateข้อมูลอย่างต่อเนื่องทุกวันตลอดปีโครงการ

1.www.banbanradio.com จะต้องเป็นคลังเสียงและคลังข้อมูลที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาหารที่หลากหลาย
www.seewithsound.com จะต้องเป็นคลังรายการTV/VDOในประเด็นอาหารที่น่าสนใจในหน้าmamagoodfood 2.www.banbanradio.com และ www.consumersouth.org จะสามารถเป็นเวบกลางในการเชื่อมต่อกับwebsiteต่างๆทั้งภายในแผนงานอาหาร และภายนอก
3.สามารถสร้างเครือข่ายสื่ออาหารผ่านช่องทางสื่อinternet และ social mediaทั้งหน้าเพจของmamagoodfood,  BanBanRadio ,Songkhlamahachonและเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนและส่งข่าวระหว่างแผนงานอาหารและหน่วยงานภายนอก

1.www.banbanradio.com เป็นคลังเสียงและคลังข้อมูลที่สือได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อวิทยุชุมชนต่างๆ เช่นวิทยุเสียงจะนะ FM.98.50,FM.95.50ต.บ้านนา, FM.88.50 ต.น้ำขาว,FM.91.50หาดใหญ่,FM.96.75asia plusพัทลุง,FM.94.0 สะบ้าย้อย,FM.101,50ต.ท่าข้าม, FM.100.0อ.เมือง,FM.106.50 โชคสมาน,FM.99.25ตใเขารูปช้าง,FM.103.0มวลชนคนเทพา, FM.105.25PS Radioบ้านพรุ
2.เครือข่ายสื่อวิทยุชุมชนรับฟังข่าวสารและนำคลิปเสียงหรือรายการเสียงต่างๆจากwebsiteไปออกอากาศ
3.FanpageจากFacebook เป็นที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการประกวดวลีเด็ด และคลิปวีดีโอ และเป็นที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายสื่อและแผนงานอาหารในโครงการ  รวมถึงสมาชิกที่สนใจในเรื่องราวของอาหาร หรือเรื่องราวของกิจกรรมนิทาน 4.www.seewithsound.com เป็นช่องทางสำหรับนำเสนอ คลิปวีดีโอ รายการ mamagoodfood และจะเป็นช่องทางสำหรับรายการทีวีเคเบิล อาหารของแม่ด้วย

ปัญหา:
เป็นความต้องการจากเครือข่ายแผนงานอาหารต่างๆว่าอยากมีwebกลางเพื่อคอยส่งข่าวระหว่างกันและกัน หรือมีหน้าสำหรับ fanpageเพื่อส่งข่าวกิจกรรมกันได้ ดังนั้นแผนงานสื่อจึงจัดทำpage อาหารของแม่ หรือwww.facebook.com/mamagoodfoodเพื่อเป็นช่องทางการสื่อสาร ซึ่งในระยะแรกก็มีการส่งข่าว แต่ภายหลังการส่งข่าวชะงักไป ซึ่งการติดต่อขาดหาย
แนวทางแก้ไข:
พยายามหาทางออกให้ง่ายที่สุด คือ โทรมาแจ้ง เพื่อให้แผนสื่อโพสต์ข้อความให้ก็ได้ และจะต้องหมั่นคอยกระตุ้นเตือนว่าเรามีช่องทางการสื่อสารให้ด้วยเพื่อจะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน หรือแลกเปลี่ยน หรือช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้