พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑
ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นมา ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่ง โดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น
ผู้ยื่นฟ้องสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตรายไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้
การเสวนา "ท้องถิ่นห่วงใย ใส่ใจผู้บริโภค"
สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สวรส.ภาคใต้ มอ.) ร่วมกับ จังหวัดสงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลตำบลปริก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู เครือข่าย อสม. จังหวัดสงขลา เครือข่ายสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง "ท้องถิ่นห่วงใย ใส่ใจผู้บริโภค" เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่
ในงานนี้เปิดด้วยการเสวนาเรื่อง "การบูรณาการระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" โดย
- ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้
- ภก.บรรจง ฉายบุ หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
- นายคีรีรัตน์ ร่างเล็ก หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น
- คุณนิธิ พันธ์มณี องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม
ดำเนินรายการโดย นายสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปริก
บันทึกความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสงขลา
ปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบการค้าเสรีที่มีการโยงใยทั่วถึงกันทั่วโลก ก่อเกิดการเร่งและส่งเสริมวัฒนธรรมบริโภคนิยม ส่งผลให้มนุษย์มีพฤติกรรมการบริโภคที่หลากหลาย ขณะเดียวกัน สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิก็ทวีความรุนแรงและซับซ้อนด้วยเช่นกัน แม้จะมีหน่วยงานหลายภาคส่วน เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์การพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชน เป็นต้น ทำหน้าที่แก้ปัญหาดังกล่าว แต่ด้วยระบบทำงานที่เป็นลักษณะแบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ต่างคนต่างทำ ไม่สามารถประสานกันเป็นเครือข่ายได้ ทำให้ขาดพลัง ไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองกับปัญหาผู้บริโภคในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่บูรณาการพลังจากภาคีทุกภาคส่วน จังหวัดสงขลา โดยสำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดสงขลา ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลตำบลปริก องค์กรบริหารส่วนตำบลท่าข้าม องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ ตลอดจนภาคีผู้บริโภคโดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข และสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท จึงมีข้อตกลงความร่วมมือดังต่อไปนี้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับศาลผู้บริโภค
ศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา
ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัดและศาลแพ่งทุกแห่งโดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภคเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น
ผู้ยื่นฟ้องสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งทนายความหรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตราย ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้
ที่สำคัญการที่ผู้บริโภคไม่มีความรู้ ขาดข้อมูลในหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้นในคดีผู้บริโภคจึงกำหนดให้ภาระการพิสูจน์ เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการต่อสู้คดีให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
สิทธิที่ผู้บริโภคควรรู้...
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการ ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว
ปัจจัยที่มีผลต่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ระบบการค้าระหว่างประเทศ(World Trade) และกระแสโลกาภิวัฒน์ ทำให้ผลผลิตด้านอาหารจะถูกส่งถึงมือผู้บริโภคมากขึ้น และโอกาสของผู้บริโภคที่จะเลือกซื้ออาหารเหล่านั้นมากขึ้นด้วย ผลดีตามมาของระบบการค้าระหว่างประเทศ คือ ทำให้ประเทศผู้ส่งออกผลผลิตอาหารสามารถออกดึงเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจของตนส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น แต่อย่างไรประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาหารหลายประเทศได้นำเอาข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารมาเป็นมาตรการด้านภาษีศุลกากรเพื่อกีดกันด้านการค้าสินค้าประเภทอาหารมาบังคับใช้
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(Food and Agriculture Organization of the United Nations :FAO) และองค์การอนามัยโลก(World Health Organization:WHO) ได้จัดตั้งโครงการคุณภาพอาหารระหว่างประเทศขึ้น โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์อาลิเมนทาเรียส(Codex Alimantarius) ขึ้น เมื่อ ค.ศ. 1962 ทำหน้าที่คุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคและสร้างความเป็นธรรมทางการค้าอาหาร วิธีการคือ กำหนดมาตรฐาน แนวทาง และข้อแนะนำเกี่ยวกับอาหารจำนวนหนึ่งขึ้นมาให้ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบรรณยอมรับมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้น แต่การนำไปปฏิบัติหรือบังคับใช้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละประเทศโดยที่มาตรฐานของอาหารเหล่านั้นยังไม่ผูกพันโดยตรงกับองค์กรการค้าระหว่างประเทศในขณะนั้น
เศรษฐกิจพอเพียง...กับวิกฤติเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากความ เปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนการดำเนินการทุกขั้นตอนขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้ เป็นอย่างดี
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์อาหารและยา
การวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา
กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา
ผู้วิจัยหลัก : จุฑา สังขชาติ
ผู้ร่วมวิจัย : เปรมรัตน์ อุไรรัตน์ , สายใจ ปริยวาที , สมชาย ละอองพันธุ์
โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ความเห็นและข้อเสนอแนะที่ปรากฏในเอกสารนี้เป็นของผู้วิจัย มิใช่ความเห็นของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาและ ปัจจัย บทบาทหน้าที่ ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา โดยใช้การศึกษา 2 แบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา จำนวน 360 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์ การศึกษาจากเอกสาร และการจัดเสวนากลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัย :: กระบวนการของกลุ่มองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภค
รายงานการวิจัยเรื่อง "กระบวนการของกลุ่มองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภค"
เสนอ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ผู้วิจัย : ผศ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ , จงกลนี วิทยรุ่งเรืองศรี
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นปัญหาในการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคขององค์กรพัฒนาเอกชน คณะผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัย 2 แบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินการด้านคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย จำนวน 34 องค์กร และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 องค์กร พบว่า
งานวิจัย :การพัฒนาค่าบ่งชี้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาระดับอําเภอ
รายงานการวิจัย เรื่อง "การพัฒนาค่าบ่งชี้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยาระดับอําเภอ" : "Development of Indicators for Food and Drug Consumer Protection in District"
โดย อาจารย์วรรณา ศรีวิริยานุภาพ
โครงการจัดตั้งภาควิชาเภสัชศาสตร์สังคม
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย