ความปลอดภัยของยาแผนโบราณที่จำหน่ายในร้านขายยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัย :วัชรีย์ ธนมิตรามณี พงษ์ธร ทองบุญ ปัตย์ ธาราไพศาล และมูฮัมมัดสุเปียน ปะดอเล็ง
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาปริมาณเชื้อรา โลหะหนัก 3 ชนิด คือสารหนู ตะกั่วและแคดเมียม การแตกกระจายตัวของยาในรูปแบบยาต่างๆและยาฆ่าแมลงในยาแผนโบราณที่สุ่มเก็บจากร้านขายยาในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ในปี 2549-2550จากการศึกษาปริมาณเชื้อราตามมาตรฐาน BP 2004 ข้อกำหนด C4A และC4B จำนวน 80ตัวอย่าง พบว่าได้มาตรฐาน 64 ตัวอย่าง(ร้อยละ 80.0) รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สำรวจมี 4 แบบ คือ ผงแคปซูล เม็ดและยาน้ำ
มีการตรวจสอบในประเด็นการปนเปื้อนของเชื้อราในยาแผนโบราณ พบว่าส่วนใหญ่ยังมีปัญหาเรื่องเชื้อรา รูปแบบของยาที่มีปริมาณการปนเปื้อนเชื้อรามากที่สุดคือ คือ ชนิดรูปแบบผง รองลงมาคือ ยาน้ำ เม็ดและแคปซูลตามลำดับ สาเหตุที่มี
การปนเปื้อนมากอาจมาจากความชื้น ซึ่งรูปแบบยาผงมีพื้นที่ผิวสัมผัสมากและมักบรรจุในกระดาษ และยาน้ำเป็นรูปแบบที่มีน้ำในตำรับ ทำให้ทั้ง 2 รูปแบบเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรามากกว่ารูปแบบอื่นๆดังนั้นควรมีวิธีการเก็บรักษาหรือวีธีห่อบรรจุภัณฑ์ที่ดี คืออาจบรรจุในภาชนะแก้ว เพื่อป้องกันความชื้นสำหรับยาผงจากการศึกษา
มีการศึกษาในประเด็นการปนเปื้อนของโลหะหนักในยาแผนโบราณ จำนวน 35 ตัวอย่าง ซึ่งพบว่ายากวาดลิ้นพบการปนเปื้อนมากที่สุด รองลงมาเป็นยาสตรีและยาแก้ปวด
การศึกษาในเรื่องการแตกตัวของยาแผนโบราณในรูปแบบต่างๆ พบว่า รูปแบบยาแผนโบราณชนิดแคปซูลสามารถแตกตัวได้ดีกว่าชนิดเม็ดทั้งที่เคลือบและไม่เคลือบ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าผลการใช้ยาแผนโบราณชนิดแคปซูลควรดีกว่าแบบเม็ดการศึกษาการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงในยาแผนโบราณ จำนวน 44 ตัวอย่างพบยาฆ่าแมลงในระดับปลอดภัย42 ตัวอย่าง และไม่พบยาฆ่าแมลง 2 ตัวอย่าง
Relate topics
- ตำรับเครื่องแกงภาคใต้
- รายงานผลการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนจังหวัดสงขลา
- งานวิจัย เรื่อง รูปแบบองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- งานวิจัย เรื่อง การประเมินกระบวนการจัดทำแผนสุขภาพระดับตำบล กรณีศึกษา จังหวัดสงขลา
- งานวิจัย:การศึกษาความพร้อมของเทศบาลเมืองสตูลในการถ่ายโอนภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา