กรณีศึกษา - ผู้บริโภคต่างประเทศ

กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับการให้ผู้ข้อมูลป่วยภายหลังการรักษา

by twoseadj @March,12 2009 00.28 ( IP : 203...20 ) | Tags : กรณีศึกษา - ผู้บริโภคต่างประเทศ

กรณี 1  ศาลเขต Hiroshima,1992,12,21, 814 Hanta 202.

ผู้หญิงอายุ 39 ปี เกิด intercranial bleeding และมีภาวะ hematoma abatement จากการผ่าตัด ส่งผลให้ไตล้มเหลวเฉียบพลัน คนไข้เสียชีวิตขณะส่งต่อระหว่างโรงพยาบาล แพทย์ที่ดูแลคิดว่าสาเหตุการตายของเธอ เกิดจากการ หายใจไม่ออกเนื่องจากการสำลัก ซึ่งในความจริงสาเหตุการตายคือภาวะหัวใจความล้มเหลว ศาล ตัดสินว่าครอบครัวของผู้ตายควรได้รับทราบถึงสาเหตุการตายที่แท้จริง  และถือเป็นหน้าที่ของแพทย์ ดังนั้นการไม่แจ้งถึงสาเหตุที่แท้จริงถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ  ละเลยการปฏิบัติตามหน้าที่ รวมทั้งแพทย์มีความผิดพลาดในด้านความรู้ ทำให้รักษาผิดพลาด ดังนั้น แพทย์ต้องรับผิดชอบ และต้องชดเชยค่าเสียหายเป็นเงิน 500,000 เยน

กรณี 2    ศาลเขต Tokyo, 1997.2.25, 1627 Hanji 118, 951 Hanta 258.

              ศาลสูง Tokyo, 1998.2.25,1646 Hanji 64, 992 Hanta 225.

ผู้ป่วยอายุ  67  ปี นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้อง และตายโดยไม่ทราบสาเหตุ  ซึ่งการระบุสาเหตุการตายถือเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่ดูแล  ดังนั้นแพทย์ ควรมีการชันสูตรพลิกศพ เพื่อระบุสาเหตุการตาย การทราบสาเหตุการตายถือเป็นสิทธิของผู้ตาย ศาลเขตตัดสินว่าแพทย์ละเลยหน้าที่ และให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 4,000,000 เยน. ต่อมา
แพทย์ได้ยื่นอุทธรณ์ในศาลสูง(ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา) ศาลตัดสินว่า การชันสูตรพลิกศพไม่ใช่หน้าที่พื้นฐานของแพทย์,  ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลจะถือว่าเป็นมาตรฐานในความใส่ใจดูแลคนไข้  นอกจากญาติผู้ป่วยเรียกร้อง  และเมื่อศาลไต่สวนพบว่า  ญาติผู้ป่วยไม่ได้เรียกร้องให้มีการชันสูตร ศาลจึงถือว่าไม่ใช่หน้าที่ของแพทย์ที่จะต้องทำการชันสูตร ศาลตัดสินยกฟ้อง


กรณี 3  ศาลเขต Yamaguchi, 2002.9.18, 1129 Hanta 235.

เป็นกรณีความผิดพลาดของทันตแพทย์ ในระหว่างการรักษา ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความทรมาน  ศาลตัดสินว่าหน้าที่ของทันตแพทย์ในการอธิบายและรายงานให้คนไข้ทราบว่าได้ทำการรักษาคนไข้อย่างไร และเกิดผลอะไรกับคนไข้  ศาลได้ตัดสินให้ทันตแพทย์ชดเชยค่าเสียหายเป็นเงิน 1,530,000 เยน เพราะทันตแพทย์ไม่สามารถระบุข้อเท็จจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น และไม่มีการรายงานข้อมูลที่เหมาะสมแก่คนไข้

กรณี 4  ศาลเขต Kofu, 2004.1.20, 1848 Hanji 119, 1177 Hanta 218.

เป็น กรณีผู้ป่วยผู้หญิงอายุ 32 ปี ซึ่งเสียชีวิตในโรงพยาบาลภายหลังจากการคลอด ศาลไต่สวนพบว่าแพทย์ปลอมแปลงเวชระเบียนและแจ้งข้อมูลเป็นเท็จแก่ครอบครัวของคนไข้ ศาลถือว่าเป็นความเห็นแก่ตัวของแพทย์ที่ทรยศความเชื่อมั่นของคนไข้ต่อแพทย์  และเป็นการละเมิดสิทธิของคนไข้ เมื่อครอบครัวของคนไข้เรียกร้องให้แพทย์ระบุสาเหตุการตาย  แพทย์ตั้งใจปลอมแปลงเวชระเบียนเพื่อให้ได้เปรียบในคดีความ  ส่งผลให้เกิดความกระทบกระเทือนทางจิตใจของครอบครัวผู้ตาย ศาลสั่งให้ชดเชยค่าเสียหายแก่ครอบครัวผู้ตายเป็นเงิน 15,000,000 เยน.

กรณี 5  ศาลเขต Tokyo, 2004.1.30. 1861 Hanji 3.

              ศาลสูง  Tokyo, 2004.9.30, 1880 Hanji 72

พยาบาล ให้ยาผิดแก่ผู้ป่วยผู้หญิงอายุ 58 ปี  ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นญาติคนไข้ได้ฟ้องร้องโรงพยาบาล  เนื่องจากโรงพยาบาลปกปิดเวชระเบียนและไม่เปิดเผยข้อมูลทางแพทย์แก่คนไข้  ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิของคนไข้  ศาลถือว่าโรงพยาบาลมีความผิดฐานปกปิดข้อมูลสาเหตุการตายและกระบวนการรักษาคนไข้แก่ครอบครัวของคนไข้  ส่งผลให้ครอบครัวของคนไข้ ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ  ซึ่งญาติของคนไข้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย  และสามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ ในที่สุดศาลตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายแก่ครอบครัวผู้ตายเป็นเงิน 800,000 เยน

ศาลสูง Tokyo แจ้งว่าแพทย์มีหน้าที่ ในการบอกข้อมูลในการรักษา และผลกระทบของการรักษาต่อคนไข้โรงพยาบาลไม่ควรปกปิดข้อมูลทางแพทย์ ทั้ง แพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร และ พยาบาลควรมีการให้ข้อมูลที่เหมาะสมกับคนไข้  และช่วยเหลือคนไข้ในขอบเขตเป็นไปได้เพื่อให้เข้าใจข้อมูลการรักษา  เมื่อคนไข้เสียชีวิตเนื่องจากการรักษาที่ผิดพลาด  โรงพยาบาลควรแจ้งข้อมูลนี้แก่สมาชิกครอบครัวของผู้เสียชีวิต และแพทย์มีหน้าที่ในการรายงานความผิดพลาดทางการแพทย์ตามมาตราที่ 21 ของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองข้อบังคับ  ดังนั้นศาลจึงตัดสินตามศาลชั้นต้น

กรณี 6  ศาลเขต Saitama, 2004.3.24, 1879 Hanji 96.

ผู้ป่วยอายุ 16 ปี เข้ารับการรักษา synovial sarcoma ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เสียชีวิตจากการบริหารยาที่ไม่จำเป็นของยา anticancer  ญาติคนไข้ฟ้องร้องว่าโรงพยาบาลปกปิดข้อมูลไม่แจ้งสาเหตุการตายที่แท้จริง  ศาลกล่าวว่าสัญญาทางแพทย์ต้องมีการรักษาอย่างเหมาะสม และโรงพยาบาลควรให้ข้อมูลที่เหมาะสมแก่คนไข้ โรงพยาบาลต้องอธิบายเหตุผลและสาเหตุของความตาย ดังนั้นการปกปิดความผิดพลาด ถือว่าไม่ถูกต้องโรงพยาบาลต้องชดเชยค่าเสียหายแก่ครอบครัวของคนไข้

กรณี 7  ศาลเขต Tsu, 2004.6.24, LEX/DB

ผู้ป่วยหญิงอายุ  56  ปี  เสียชีวิตจาก    pulmonary embolism.    ญาติผู้เสียชีวิตฟ้องร้องว่าโรงพยาบาลไม่ชันสูตรพลิกศพของผู้ตาย  แต่เนื่องจากการชันสูตรพลิกศพญาติคนไข้ต้องระบุความต้องการก่อน  กรณีนี้ศาลจึงพิจารณายกฟ้อง

กรณี 8  ศาลเขตกรุงเกียวโต นครหลวงเก่าของญี่ปุ่น, 2005.7.12, 1907 Hanji 112.

เป็นกรณีการรักษาโรคลมพิษ ในเด็กอายุ 6 ปี คนไข้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนที่เป็นสาเหตุให้ที่ส่งผลร้ายแรงต่อสมองของเด็ก  แต่แพทย์เพิกเฉยหน้าที่ไม่รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นกับพ่อ แม่ เด็ก ศาลตัดสินว่าแพทย์มีความผิดฐานทำให้ครอบครัวมีความกระทบกระเทือนทางจิตใจ  ดังนั้นศาลสั่งให้แพทย์ชดเชยค่าเสียหายเป็นเงิน 1,000,000 เยน

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง