Consumer protection act covers doctor’s care, Kansas Court Rules
ผู้ป่วยฟ้องร้องแพทย์ที่หลอกลวง และให้การรักษาที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้กฎหมายของ ศาล Kansas Supreme Court (กรณีของ Williamson และ Amrani 2007)
Tracy Williamson กล่าวหาว่าแพทย์ ที่ทำการรักษาเธอ คือแพทย์ Jacob Amrani แนะนำให้เธอผ่าตัดหลังและบอกเธอว่าจะทำให้บรรเทาอาการปวดของเธอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ทำการผ่าตัดกับแพทย์ Jacob Amrani จะไม่ประสบความสำเร็จ Tracy Williamson ฟ้องแพทย์ว่าแสดงพฤติกรรมหลอกลวงในการรักษา และละเมิดสิทธิ์ ของ Kansas Consumer Protection Act (KCPA) ซึ่งเป็นคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ โดยการแสดงว่าการผ่าตัดจะมีประโยชน์ในการรักษาแต่ความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น
การฟ้องร้องของแพทย์ Jacob Amrani ถูกปฏิเสธจากศาล เนื่องจากบทบัญญัติไม่ได้กล่าวถึงความประพฤติของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย ศาลฎีกาลงคะแนนให้คดีนี้ 5 ต่อ 2 โดยกล่าวว่า KCPA ได้ให้นิยามของการบริการทางการแพทย์ ภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ และผู้ป่วยไว้อย่างกว้าง ๆ
วิจารณ์
เนื่องจากกฎหมายด้านการฟ้องคดีของแพทย์ในรัฐ Kansas ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค จึงทำให้การดำเนินคดีความทำได้ยาก และคดีนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนในการชี้บ่งถึงความผิดของแพทย์ เพราะอาจจะเป็นความเข้าใจผิดในการสื่อสารระหว่างแพทย์ และผู้ป่วย
ผู้บริโภคที่ต้องการฟ้องร้องแพทย์ จำเป็นต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน และโดยไม่พิจารณาเพียงแค่ข้อมูลการรักษาที่ผ่านมาของแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่ควรมีหลักฐานทางวิชาการ มาประกอบการดำเนินคดีด้วย
แนวทางการแก้ไข
- กฎหมายด้านคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐ Kansas ไม่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค ทำให้ยากในการดำเนินคดีความ ดังนั้นรัฐบาลควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เกิดความเสมอภาค แก่ผู้บริโภค
- หน่วยงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐ Kansas ควรมีการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับเรื่องสิทธิของผู้บริโภค และการเรียกร้องสิทธิเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
- ควรมีการกำหนดมาตรฐานในการให้บริการทางการแพทย์ ที่มีความชัดเจน และเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค เพื่อช่วยลดปัญหาการฟ้องร้อง และนอกจากนี้แพทย์ควรจะมีคุณธรรมในการให้บริการแก่ผู้ป่วย
ศาลขั้นต้นปฏิเสธการฟ้องร้องของ Jacob Amrani แต่เห็นด้วยกับการที่แพทย์โต้แย้งเรื่องหลักฐานที่จะนำมาแสดง ให้เห็นว่าเขาเป็นคนหลอกลวง หรือปฏิบัติงานโดยมิชอบ
Kansas Supreme Court ได้ให้นิยามของการคุ้มครองผู้บริโภคโดยกรอบของบริการทางการแพทย์ กล่าวว่า “แพทย์ คือ จัดว่าเป็นธุรกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการขายหรือให้บริการทางการแพทย์ แก่ผู้ป่วย ผู้ป่วยคือผู้บริโภคของบริการเหล่านั้นสำหรับตัวเอง ครอบครัว หรือผู้ป่วยถือว่าเป็นเป้าหมายของธุรกิจนี้ ซึ่งการขายบริการเหล่านี้จะเป็นการติดต่อกันของผู้บริโภคกับผู้ให้บริการ ซึ่ง KCPA ไม่ได้ระบุถึงบทบาทแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ไว้อย่างชัดเจน
ศาลได้รับคำโต้แย้งของแพทย์ Jacob Amrani ว่าสภานิติบัญญัติได้มีเจตนาที่จะตัดกรณีที่มีการฟ้องร้องของแพทย์ออก เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ที่บกพร่องมีความหลากหลายทำให้บทบัญญัติไม่สามารถนำมาใช้ได้ ภายใต้ KCPA ศาลกล่าวว่าการปฏิบัติหน้าที่เป็นการกระทำที่มีความจำเพาะซึ่งอาจจะไม่มีความแน่นนอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ดังนั้นสภานิติบัญญัติจึงตัดคดี การฟ้องร้องแพทย์ออกจากคดีทั่วไป ซึ่งในบางรัฐ เช่น Maryland, North Carolina และ Ohio ได้มีการยกเว้นให้บุคลากรทางการแพทย์อยู่นอกเหนือจากการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ผู้พิพากษาหลายท่านได้อธิบายถึงบทบัญญัติของการสื่อสารระหว่างกัน การยกเว้นการปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายของการปฏิบัติหรือกฎหมายด้านการแพทย์แต่ไม่ได้แปลผล ไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่พวกเขาปฏิบัติด้วย เพราะการสื่อสารในทางธุรกิจจะอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้นการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารของแพทย์ไม่ได้จัดอยู่ในบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
Kansas Supreme Court กล่าวว่าผู้ฟ้องร้องมีหลักฐานที่จำเป็นในการดำเนินคดีน้อย โดยหลักฐานที่ช่วยชี้บ่งถึงความผิดของแพทย์ เช่น ประสบการณ์การทำงานของแพทย์ หรือการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวที่ช่วยบอกถึงความสมเหตุสมผล ของการปฏิบัติของแพทย์ ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน
Borel กล่าวว่า การที่ศาลพิจารณาคดีการฟ้องร้องนี้ อาจจะไม่ได้มองว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่บกพร่อง แต่อาจจะเป็นจากการที่แพทย์คาดการณ์ผิด จากประสบการณ์ที่ผ่านมา หรือเป็นการให้ข้อมูลที่ผิดพลาด
ซึ่งหลังจากมีการตัดสินคดีนี้ก็จะทำให้เป็นตัวอย่างที่ผิดกับการปฏิบัติหน้าที่ด้านคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับสถานบริการสาธารณสุขอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลที่มีอัตราการติดเชื้อสูง ดังนั้นหากต้องการดำเนินคดี จึงจำเป็นต้องหาหลักฐานที่มีความชัดเจนมาใช้ในการดำเนินคดี
Relate topics
- ลงพื้นที ต.เขิงแส อ.กระแสสินธ์ จ.สงขลา โดยโครงการ อาหารเป็นยา ปีที่ 2อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา
- ปมปัญหา ที่ สธ.ต้องสะสางในปีศักราชใหม่
- กรณีศึกษา ฟ้องสายการบินให้นั่งห้องน้ำ
- กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับการให้ผู้ข้อมูลป่วยภายหลังการรักษา
- กรณีศึกษา นมผสมเมลามีนกับการยกเครื่องขนานใหญ่ในระบบความปลอดภัยด้านอาหาร