กรณีศึกษา - ผู้บริโภคต่างประเทศ

กรณีศึกษา ศาลสหรัฐฯเผชิญหน้ากับการบาดเจ็บที่น่าสลด

by twoseadj @March,11 2009 20.02 ( IP : 222...91 ) | Tags : กรณีศึกษา - ผู้บริโภคต่างประเทศ

ตลอดเวลาที่ผ่านมารัฐบาลของบุช มีการทำงานร่วมกับบริษัทอุตสาหกรรม เพื่อพยายามที่จะลดการปกป้องสาธารณชนลง โดยการป้องกันไม่ใช้รัฐสร้างกฎหรือข้อบังคับ ซึ่งแข็งกว่าสิ่งที่รัฐบาลกลาง (Federal government) กำหนด

ความพยายามใช้ประโยชน์จากช่องโหว่งของนโยบาย ไปถึงประเด็นกฎหมายโดยรัฐบาลกลาง และขณะนี้มีการร้องขอให้ศาลสูงสุดพิจารณาอนุมัติเรื่องความปลอดภัยของยา

ในวันจันทร์ ศาลจะรับฟังข้อโต้แย้งในคดีของนักดนตรีชาวเวอร์มอน ซึ่งสูญเสียแขนของเธอไป หลังจากโดนฉีดยาแก้คลื่นไส้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ไดอาน่า เลไวน์ เป็นฝ่ายเสียหายอย่างร้ายแรงมากเนื่องจากยาที่ถูกฉีดเข้าไป โดยยาที่ผลิตจากบริษัทไวเอท มีคำถามเดียวว่าศาลสูงสุดจะลงมติสนับสนุนเธอให้ฟ้องร้องบริษัทที่ไม่มีการเตือนถึงอันตรายของยาอย่างเพียงพอ หรือศาลจะเชื่อข้อโต้แย้งของบริษัทอุตสาหกรรมและรัฐบาลของบุชจะเลือกที่จะปกป้องบริษัทอย่างไวเอทจากการฟ้องร้องเช่นนี้ ในชั้นศาลของมลรัฐ หากผลิตภัณฑ์ที่เป็นสาเหตุของความบาดเจ็บผ่านมาตราฐานที่ควบคุมโดยรัฐบาลกลาง

คณะรัฐบาลต้องการการรับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ เพื่อจะชี้ขาดในกรณีนี้ แทนที่จะเป็นการตัดสินใจจากศาลระดับมลรัฐอย่างเวอร์มอน ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องการให้โรงงานผู้ผลิตมีมาตรฐานที่สูงกว่า ในการเตือนแพทย์และคนไข้เกี่ยวกับความอันตราย ศาลน่าจะตัดสินใจเข้าข้างคุณเลไวน์

คุณเลไวน์ไปคลินิกเนื่องจากมีอาการปวดศรีษะจากโรคไมเกรน เธอได้รับยาแก้ปวดชื่อ ดีเมอรอล เพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ และยา ฟีเนอร์แกน ของบริษัทไวเอท เพื่อต้านอาการคลื่นไส้ ยาทั้ง 2 ได้รับโดยการฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อซึ่งเป็นวิธีการปรกติสำหรับการใช้ยาดังกล่าว เมื่ออาการปวดศีรษะยังคงอยู่เธอจึงกลับมาอีกครั้งเพื่อรับการรักษาเพิ่ม

ในเวลานี้ตัวยาเดิมได้รับการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ เทคนิคในการ “ดันยา” นั้นเป็นที่รู้กันว่า มีความเสี่ยงในการใช้เข็มซึ่งสอดไว้ในหลอดเลือดดำ ผู้ช่วยแพทย์ได้กระทำผิดพลาดแทงเข้าหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง นั่นคือ คุณเลไวน์เกิดเนื้อตายและเน่าอย่างรวดเร็ว มือและแขนจะต้องตัดทิ้ง เธอฟ้องผู้ช่วยแพทย์ แพทย์ และคลินิก เรื่องการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง และชนะในการต่อรองนอกชั้นศาล

ต่อมาเธอฟ้องบริษัทไวเอท ในเรื่อง  ข้อบกพร่องในการเตือนแพทย์ให้ทราบถึง การใช้เทคนิค “น้ำเกลือหยด” ที่ปลอดภัยกว่า โดยยาจะฉีดเข้าไปในช่องการไหลของของไหลจากถุงขนาดเล็กซึ่งได้มีการเชื่อมต่ออย่างปลอดภัยกับหลอดเลือดดำอยู่แล้ว การกระทำเช่นนี้จะปลอดภัยกว่าเนื่องจากไม่ทำให้ยาไปถึงหลอดเลือดแดงได้ ศาลสอบสวนตัดสินให้เธอได้รับค่าเสียหายเป็นจำนวน 6.7 ล้านดอลลาร์ และผลจากการยื่นอุทธรณ์ ศาลสูงสุดของรัฐเวอร์มอนท์ก็ยืนยันคำพิพากษาเดิม  บริษัทไวเอทได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของบุชได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดของสหรัฐเพื่อให้กลับคำพิพากษาโดยให้เหตุผลว่าบริษัทไวเอทได้ทำตามกฏของที่ควบคุมโดยรัฐบาลกลาง

เราไม่ยอมรับการโต้แย้งที่ว่าทางบริษัทไวเอทได้ทำทุกอย่างที่ได้ทำและควรจะทำในการเตือนแพทย์เกี่ยวกับอันตรายที่เกี่ยวกับการรักษาที่คุณเลไวน์ได้รับ บริษัทได้เตือนถึงอันตรายเกี่ยวกับการรักษาของยาตามคำอนุมัติจาก F.D.A. แต่ในระดับศาลของมลรัฐก็มีสิทธิที่จะมีจะลงมติว่าคำเตือนไม่เพียงพอ

และนี้ก็เป็นจุดสำคัญเมื่อรัฐสภาแก้ไขกฎหมายแห่งชาติสหรัฐได้แก้ไขกฏควบคุม F.D.A. ปี 2007 ซึ่งในครั้งนั้นบริษัทยาต้องการให้แก้แต่ไม่ได้รับการแก้ไข คือ การเตรียมการป้องกันบริษัทยาจากคดีฟ้องร้องลักษณะดังกล่าว บริษัทยาและผู้บริหารของบริษัทพันธมิตรของบริษัทยา ต้องการให้ศาลเพิกเฉยต่อการขาดความถูกต้องทางกฎหมาย และอนุญาตให้บริษัทยา ได้รับการยกเว้นเนื่องจาก กฏของมลรัฐไม่ควรจะมีอำนาจในการเพิกเฉยต่อกฏของรัฐบาลกลางสหรัฐ

สำหรับศาลที่จะใช้กฎ “implied pre-emption” ในกรณีนี้จะแสดง การไม่นับถือ ไม่เชื่อฟังเกณฑ์ข้อตกลงจากรัฐสภาและสามารถนำไปใช้กับการฟ้องร้องเรื่องของการบาดเจ็บ ที่ไม่ได้รวมแค่เรื่องการใช้ยา หรือเกี่ยวกับยาเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกี่ยวกับรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน และอื่นๆ ผลกระทบที่สำคัญคือ การไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ไกลจากการแย่งชิงอำนาจของ F.D.A. จุดหมายที่ต้องการคือ การที่บริษัทยาควรจะต้องรับผิดชอบต่อผลเสียหายที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตนเอง เพื่อเป็นการปกป้องสาธารณชน เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ F.D.A. มองคำตัดสินของมลรัฐในเรื่องของความล้มเหลวในการเตือน (failure-to-warn) เป็นการกระตุ้นเพื่อให้มีการออกกฏที่จะให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งผู้บริหารของ F.D.A คนก่อนหน้านี้  นายเดวิด เคสสเลอร์ และ นายโดนัลด์ เคนเนดี้ ได้ชี้ให้เห็นจุดนี้ในรายงานของตน

มีเพียงภายใต้รัฐบาลของบุชเท่านั้นที่ บริษัทพยายามที่จะพลิกคำพิพากษาของคดีลักษณะเช่นนี้ เราคาดหวังว่าศาลสูงสุงของสหรัฐที่ค่อนข้างจะเป็นมิตรกับภาคธุรกิจจะช่วยถนอมการปกป้องผู้บริโภคซึ่งรัฐมีการละเมิดอย่างเห็นได้ชัด มิฉะนั้น ประธานาธิบดีคนใหม่และสภาจะผ่านร่างกฎหมายที่ถูกต้อง

วิธีการแก้ไขและข้อเสนอแนะ

  1. ควรมีมาตรการในการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการบริหารยาให้แก่ผู้ป่วย เช่น การออกกฎว่า สถานพยาบาลทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือคลินิก ต้องให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์เท่านั้น ที่เป็นผู้ดำเนินการบริหารยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งในกรณีนี้เกิดจากความผิดพลาดของผู้ช่วยแพทย์ ที่ทำการบริหารยาผ่านทางเส้นเลือดแดง และควรมีบทลงโทษที่ชัดเชนและรุนแรง หากมีการฝ่าฝืนหรือรู้เห็นเป็นใจต่อการปล่อยให้ผู้ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์เป็นผู้ทำการรักษาผู้ป่วย
  2. ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลการรักษา นอกจากชนิดของยาที่ได้รับ อันได้แก่ กรรมวิธีการรักษาหรือวิธีการบริหารยา ดังนั้นจึงควรมีการผลักดันให้มีระเบียบวิธีการให้การรักษาแก่ผู้บริโภค ที่ผู้บริโภคสามารถรับรู้ถึงยาและวิธีการรักษาที่ตนกำลังจะได้รับ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถโต้แย้งต่อบุคลากรทางการแพทย์ว่าสิ่งที่ตนกำลังจะได้รับนั้นผิดไปจากเดิม รวมถึงการกำหนดหน้าที่ของผู้ช่วยแพทย์เพิ่มเติมในการตรวจสอบวิธีการบริหารยาให้ชัดเจนว่าตรงกับผู้ป่วย และตรงกับสิ่งที่แพทย์กำลังจะทำหรือไม่ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
  3. ควรมีการนำเสนอการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านสื่อต่างๆ ในแง่มุมของการนำเสนอกรณีศึกษา หรือ การกระตุ้นให้ผู้บริโภครับรู้ถึงสิทธิของตนว่าตนเองนั้นมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลการรักษาอย่างละเอียด รวมถึงการฝึกให้ผู้บริโภคสอบถามบุคลากรทางการแพทย์ก่อนเสมอว่าสิ่งที่ตนกำลังจะได้รับคืออะไร มีวิธีการใช้อย่างไร เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหมือนในกรณีศึกษา
  4. แม้จะมีการอ้างว่าเมื่อ FDA มีการยอมรับฉลากที่บริษัทผลิตขึ้น บริษัทไม่สามารถแก้ไขฉลากได้ด้วยตนเองเนื่องจากฉลากเหล่านั้นได้รับอนุมัติจาก FDA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่สมเหตุสมผลมาก ทั้งๆที่บริษัทสามารถกลับไปยื่นเรื่องขอทำการแก้ไขฉลากแก่ FDA แต่สาเหตุที่ไม่ทำการแก้ไขเนื่องมาจาก หากต้องมีการแก้ไขฉลากใหม่บริษัท Wyeth จะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมในการผลิตฉลากใหม่ รวมถึงการตามเก็บผลิตภัณฑ์กลับสู่บริษัท จะส่งผลให้บริษัทสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก และส่งผลให้ชื่อเสียงของบริษัทตกต่ำลง ดังนั้นรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำทีมของ นาย บารัก โอบามาร์ ควรให้ความสำคัญต่อปัญหาที่เป็นช่องโหว่ทางกฎหมายในการขอทำการแก้ไขฉลากต่อ FDA เพื่อให้กฎหมายสามารถเอาผิดบริษัทที่เพิกเฉยต่อการแก้ไขข้อมูลในฉลากยา เพื่อเป็นการเตือนถึงอันตรายเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา รวมถึงการจงใจปกปิดข้อมูลของผลข้างเคียงของยาที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เพื่อให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยในการใช้ยาหรือบริโภคสิ่งต่างๆ มากยิ่งขึ้น
  5. จากบทความประเทศอเมริกามีการคุ้มครองผู้บริโภคโดยแบ่งเป็น ศาลมลรัฐซึ่งควบคุมโดยมลรัฐ และศาลสูงสุดของสหรัฐซึ่งควบคุมโดยรัฐบาลกลาง ปัญหาที่พบคือศาลเพิกเฉยต่อการขาดความถูกต้องทางกฎหมาย และอนุญาตให้บริษัทยา ได้รับการยกเว้น และนอกจากนี้กฎของมลรัฐ กับ กฎของรัฐบาลกลางสหรัฐ ไม่สอดคล้องกัน(ตัดสินออกมาไม่ตรงกัน) จึงควรที่จะมีการกระตุ้นให้แก้ไขกฎหมายแห่งชาติสหรัฐที่ได้แก้ไขกฎควบคุม F.D.A. ปี 2007 โดยประธานาธิบดีคนใหม่ บารัก โอบามาห์ เพื่อที่จะให้กฎของมลรัฐ และกฎของรัฐบาลกลางมีความสอดคล้องกัน
ไฟล์ประกอบเอกสาร
  1. The Court Confronts a Grievous Injury - ดาวน์โหลด

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง