Surgeons at St. Joseph reportedly performed knee surgery on the wrong knee. It was the third ‘wrong-site’ incident at the medical center in just over a year.
ศัลยแพทย์ของโรงพยาบาล St. Joseph รายงานว่ามีการผ่าตัดเข่าผิดตำแหน่งเกิดขึ้น โดยรายงานอุบัติการณ์ว่าเกิดการผ่าตัดผิดตำแหน่งครั้งที่สามในศูนย์การรักษาในระยะเวลาไม่กี่ปี
March 01, 2008
โรงพยาบาล St. Joseph ในเมือง Orange ได้สืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการผ่าตัดเข่าของผู้ป่วย ความผิดพลาดครั้งที่ 3 นี้เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในเมืองนี้นับเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2006
ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ การผ่าตัดได้วางแผนว่าจะทำการรักษาเข่าข้างซ้ายของผู้ป่วย แต่จากความประมาทเลินเล่อทำให้เกิดผลกับเข่าข้างขวา ตามคำแถลงการณ์ของโรงพยาบาลที่โต้ตอบกับคำถามใน The Times ระบุว่าโรงพยาบาลปฏิเสธที่จะระบุผู้ป่วยหรือรายละเอียดใดๆ โดยอ้างถึงเรื่องการตระหนักถึงความลับของผู้ป่วย
เหตุการณ์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้กล่าวรวมถึงการผ่าตัดศีรษะของผู้ป่วยผิดด้าน (เกิดขึ้นในเดือนมกราคม ปี 2006) ซึ่งได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องได้ทันท่วงที และอีกเหตุการณ์คือมีการผ่าตัดใส่ ear tube เข้าไปในหูผิดข้างในเดือนมิถุนายน 2008 ซึ่งผ็อำนวยการโรงพยาบาลได้ออกมากล่าวว่าไม่ได้ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนใดๆ จากความผิดพลาดนั้น “ไม่ควรมีผู้ป่วยคนใดผ่านประสบการณ์เช่นนี้ case เดียวก็ถือว่ามากเกินไปแล้ว” Dr. Raymond Casciari แพทย์ของโรงพยาบาล St. Joseph กล่าวใน e-mail คำแถลง
Jim Lott ผู้อำนวยการโรงพยาบาล Assn.ของแคลิฟลอเนียตอนใต้กล่าวว่า “ผมเชื่อว่าโรงพยาบาล St. Joseph’s กำลังเข้าข้างตัวเองเพื่อประเมินว่ามันไม่ work” ผู้สอบสวนของ Cedars-Sinai และ St. Joseph เน้นย้ำว่าโรงพยาบาลมีการป้องกันความผิดพลาดได้ยากจากการสำรวจใน 10 ปีที่รายงานว่ามีประชากรประมาณ 100,000 ในสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตจากความผิดพลาดของโรงพยาบาลซึ่งเป็นจำนวนที่สูงพอๆ กับอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนตร์ มะเร็งเต้านม และโรคเอดส์
Dr. Peter Angood ผู้อำนวยการของ Joint Commission ซึ่งเป็นองค์กรตรวจสอบคุณภาพโรงพยาบาลกล่าวว่า “เราไม่พบว่าจะมีการปรับปรุงที่ชัดเจนมีอย่างนัยสำคัญในการทำตาม patient safety goal หรือการป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เหล่านี้”
Angood กล่าวว่าการก้าวหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้ผิดหวังเป็นหนทางที่จะเพิ่มความตระหนักและสนับสนุนให้มีการพัฒนาขั้นตอนการป้องกัน
The Joint Commission ได้ยกตัวอย่างการพัฒนา protocol เพื่อป้องกันความผิดพลาดทั้งการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ประเภทของการผ่าตัด การผ่าตัดเอาใส่หรือเอาออกของอวัยวะใดๆ รวมถึงการผ่าตัดหรือการทำการรักษากับผู้ป่วยผิดคน แพทย์ได้สมมติว่าเป็นจริงโดยการ mark จุดที่วางแผนจะผ่าตัดโดยแสดงให้ผู้ป่วยได้ทราบก่อนการผ่าตัดและพยาบาลควรจะมีการตรวจสอบครั้งสุดท้ายโดยปรึกษาเพื่อยืนยันแพทย์หยุดพักการผ่าตัดชั่วคราวได้
จุดมุ่งหมายที่ได้รับการยอมรับของความผิดพลาดแบบนี้คือ ทำให้เกิดการตรวจสอบขึ้นระบบเพื่อตรวจจับความผิดพลาดดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเห็นด้วยกับการทำมาตรฐานการำทงาน( protocol works) แต่เมื่อนำมาใช้ พบว่ามีหลายปัจจัยที่ยังเป็นอุปสรรค เริ่มตั้งแต่ระดับพื้นๆ คือการหันเหความสนใจในห้องผ่าตัดที่มีงานยุ่งและเร่งรีบให้เกิดวัฒนธรรมที่ปลอดภัย ต้องมีความค่อยเป็นค่อยไปและพยาบาลยังกลัวที่จะบอก consult แพทย์
การควบคุมติดตามก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจ โรงพยาบาล St. Joseph พบว่าในปี มีเด็กทารกที่มารดาให้น้ำนมผิดคนและนำเด็กกลับบ้านไปผิดคน
Van Brunt ได้เขียนระบุไว้ใน E-mail ข้างต้นว่าโรงพยาบาล St. Joseph ได้ปรับปรุงคำแนะนำจาก he Joint Commission’s recommended protocol เกี่ยวกับการศัลยกรรมผิดตำแหน่ง แล้วเธอได้ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลการสืบสวนในเรื่องของจุดบกพร่องที่ทำให้เกิดตามที่โรงพยาบาลได้มีการปรับปรุงไปใช้ “top-to-bottom training program”
“สมาชิกในทีมดูแลรักษาที่เกี่ยวข้องใน case นี้ได้รับผลกระทบชัดเจน และที่โรงพยาบาลก็เสียใจอย่างยิ่งกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” Casciari กล่าว
Van Brunt กล่าวว่า การผ่าตัดศัลยกรรมผิดตำแหน่งเหน่งถูกพิจารณาอย่างระมัดระวังน้อยมากเมื่อดูจากตัวเลขที่ได้กล่าวมาในบริบทข้างต้นจำนวนของการผ่าตัดในแต่ละปี ยกตัวอย่างของโรงพยาบาลSt. Joseph มีการผ่าตัดศัลยกรรม 25,000 ครั้งต่อปี แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยากหากจะถือว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ สำหรับเรื่องของการผ่าตัดศัลยกรรมผิดตำแหน่งที่รายงานในแต่ละเดือนที่ส่งไปยังระบบรายงานของ Joint Commission’s voluntary reporting system แต่ที่รายงานไปนั้นเสนอไปว่ามี 70% ของทั้งหมดที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต
จาก mandatory reporting system ใน California นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมพบว่า มี 20 medical error ที่เป็น case ที่ serious (list โดย National Quality Forum ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้บริโภค แพทย์ ฝ่ายประกันที่สนับสนุนด้านคุณภาพของการรักษาพยาบาล)
จากการรายงานแรก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน มีรายงานการเกิดการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ( “wrong-site” events) ขึ้น 22 ครั้ง เกิดการผ่าตัดผิดพลาดที่ส่วนของร่างกาย (body part) 14 ครั้ง การผ่าตัดศัลยกรรมให้ผู้ป่วยผิดคนจำนวน 1 case และมี 7 case ที่ทำการศัลยกรรมผิดประเภทให้กับผู้ป่วยและที่มีรายงานบ่อยครั้งมากที่สุดคือ ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดและมีการลืมเครื่องมือ เช่น กรรไกร มีด ฟองน้ำไว้ในตัวผู้ป่วย 125 case
โรงพยาบาลต้องเผชิญกับความกดดันให้แก้ไขปัญหา โดยหลังจากวันที่ 1 ตุลาคมโครงการประกันสุขภาพของรัฐบาลประกาศว่าจะไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับทุกๆเหตุการณ์ที่สามารถป้องกันได้
Health insurer Aetna เสนอให้โรงพยาบาลสละสิทธ์ใบแจ้งหนี้หรือไม่ต้องให้ทางผู้เสียหายเสียค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดความผิดพลาดทางการรักษาขึ้นและกล่าวขอโทษแก่ญาติของผู้ป่วยหากเกิดความผิดพลาดขึ้นใจได้ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก’”
วิจารณ์กรณีศึกษา
จากกรณีศึกษานี้เห็นได้ว่าเกิดขึ้นเพราะเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของแพทย์ แต่สังเกตว่าเหตุการณ์ในกรณีเดียวกันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ผู้รับผิดชอบก็ได้เพียงแต่รับผิดชอบแล้วจ่ายเงินให้กับผู้เสียหายเท่านั้นซึ่งมีค่าไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้น ถึงแม้บางเหตุการณ์ไม่ได้ร้ายแรงจนถึงมีอันตรายถึงชีวิตก็ตามแต่เหตุการณ์เหล่านี้ก็ไม่ควรเกิดขึ้นบ่อยเกินไป แสดงให้เห็นถึงจิตสำนึกที่ไม่ดีคือความไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ควรรับผิดชอบก็ไม่ได้มีการทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีก ทางกลุ่มผู้รับผิดชอบหรือคณะทำงานควรจะ set ระบบป้องกันที่มีมาตรฐานให้กับผู้รับบริการ แต่จากกรณีข้างต้นนี้ได้มีการระบุว่าโรงพยาบาลที่เกิดเหตุได้มีการปรับปรุงระบบให้เป็นไปตามที่ Joint Commission ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามเกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงพยาบาลและมาตรฐานการรักษาได้เสนอไว้แล้วแต่บอกว่าโรงพยาบาลยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ระบบยังไม่ work ดังเป็นไปตามที่ทาง Joint commission รายงานว่าการป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ยังไม่ได้มีการพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทางกลุ่มของข้าพเจ้าคิดว่าต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบต่อไป และอาจต้องมีการใช้มาตรการเด็ดขาดมาบังคับเช่น ใช้ด้านการเงินหรือด้านประกันสุขภาพมาช่วยกดดันให้โรงพยาบาลเกิดความพยายามในแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้มากขึ้น
สำหรับในกรณีของประเทศไทยซึ่งระบบติดตามควบคุมการปลอดภัยมีการใช้ HA ในการติดตาม audit อยู่แล้วเช่นกัน แต่ข้าพเจ้าคาดว่าผลก็ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรแต่ที่สำคัญคือในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศในไทยยังไม่น่ามีข้อมูลที่ชัดเจนนักในเรื่องของการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากความผิดพลาดในการรักษาพยาบาลทางศัลยกรรม