ผู้ป่วยฟ้องร้องโรงพยาบาลเรื่องความผิดพลาดในการฉายรังสี
By DONNA CASEY, SUN MEDIA
ออตตาวา—กลุ่มของผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังได้ยื่นฟ้องโรงพยาบาลออตตาวาเป็นจำนวนเงิน 30 ล้านดอลลาร์เนื่องจากการฉายรังสีผิดพลาดโดยได้รับการฉายรังสีในปริมาณที่น้อยเกินกว่าระดับการรักษาในช่วงปี 2004 และ 2007
David John Watts วัย 50 ปีอาศัยอยู่แถบแม่น้ำ Chalk บริเวณตอนเหนือของเมืองออตตาวา เป็นโจทย์ในการฟ้องคดีความกับโรงพยาบาลออตตาวาในเรื่องของความล่าช้าในการแจ้งเรื่องของการคำนวณค่ารังสีในการรักษาผิดพลาดต่อผู้ป่วย 325 ราย ต่อ Civic campus เนื่องจาก พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีได้รับรังสีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นถึง 17% เนื่องจากการคำนวณ orthovoltage unit ที่ผิดพลาดของ Civic campus ซึ่งความผิดพลาดได้พบโดยเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลใน เดือน พฤศจิกายน 2007 แต่ Watts และผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้ไม่ได้รับการแจ้งใดๆทั้งสิ้นจากโรงพยาบาลจนกระทั่ง เมษายน 2008
Tom Connolly ซึ่งเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาคดีนี้ กล่าวว่า ความล่าช้าในการแจ้งต่อ Watts ถึงความผิดพลาดในการคำนวณครั้งนี้ส่งผลให้มะเร็งกำเริบขึ้น อีกครั้งจนต้องได้รับการผ่าตัด
Connolly กล่าวว่า “ในฐานะที่ โรงพยาบาลออตตาวาถือว่าเป็นสถาบันที่ดีที่สุด แต่ก็ทำเรื่องผิดพลาดร้ายแรงที่สุดเช่นกัน “ในเรื่องของการล่าช้าในการติดต่อกับผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย และมีโจทย์อีก “มากมาย” ที่เกี่ยวข้องกับคดีครั้งนี้แต่ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน คำร้องในครั้งนี้รวมถึง ความเสียหายในเรื่องการเจ็บปวด, ทรมาน, คุณภาพชีวิตที่เสียไป, รายได้ และ ภาวะความเครียด
ในเอกสารการฟ้องมี ชื่อโรงพยาบาล l, Dr. Brenda Clark, the head of the medical physics department, and Dr. G. Peter Raaphorst, the former department head เป็นผู้ต่อสู้คดีความ ในคดีได้กล่าวถึง เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลออตตาวา 3 คน – คนแรกคือคนที่รับผิดชอบการ re-calibrating the radiation unit เมื่อครั้งที่ย้ายเครื่องจาก General campus มายัง Civic ในฤดูใบไม้ร่วง 2004 คนที่ 2 คือผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบ Unit คนที่ 3 คือ แพทย์ staff
Watts ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็น basal cell carcinoma กันยายน 2005 และได้รับรังสีที่ต่ำกว่าที่ควรได้รับในการรักษาถึง 17 % เมื่อ มีนาคม 2006 ในเอกสารการฟ้องกล่าวถึงสาเหตุต่างๆที่ทำให้ skin cancer ของ Watts กลับเป็นขึ้นอีก ในพฤษภาคม 2008 ตามคำฟ้องกล่าวไว้ว่า Watts จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดจมูกของเขา “ทรมานกับความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สะดวกสบายจากการผ่าตัด
คณะลูกขุนพบว่าการทรมานในระยะสั้นเป็นผลที่เกิดจากความผิดพลาดของการรักษา และพบว่า “ cultural norm “ ที่ โรงพยาบาลนี้คือการจัดเปิดโปรแกรมตรวจรักษาแบบใหม่ๆและเพิ่มเครื่องมือตรวจรักษาต่างๆเข้ามาโดยปราศจากเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอ ตั้งแต่ได้มีการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ พบว่าจำนวนเจ้าหน้าที่ฟิสิกส์เกินกว่ามาตรฐานที่ยอมรับได้
Allison Neill โฆษกของโรงพยาบาลออตตาวา กล่าวว่า ไม่ขอให้ความคิดเห็นใดๆในคำฟ้องเนื่องจากยังอยู่ระหว่างการฟ้องร้อง
บทวิจารณ์
การรักษามะเร็งโดยใช้วิธีรักษาด้วยรังสี ทีมดูแลผู้ป่วยควรประกอบด้วย รังสีแพทย์ นักฟิสิกส์ และนักรังสีเทคนิค ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของโรงพยาบาลออตตาวาน่าจะเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารการจัดการทรัพยากรบุคคล กล่าวคือ กลไกในการคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงาน กลไกในดูแลการปฏิบัติงานของแพทย์ ขาดการทบทวนการตรวจรักษาของแพทย์ ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรมีความรู้และ ทักษะที่เพียงพอ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและปลอดภัย จึงขอนำเสนอแนวทางในการปรับปรุง สำหรับโรงพยาบาลออตตาวา ดังนี้
1.ควรมีกลไกคัดเลือกแพทย์ หรือ เจ้าหน้าที่เข้าทำงานโดยกำหนดให้มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างชัดเจนได้แก่ - มีการประกาศรับสมัครทั่วไป
- มีการกำหนดขั้นตอนการคัดเลือก การสอบสัมภาษณ์โดยผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- ประกาศผลการคัดเลือกโดยเปิดเผย
- คณะอนุกรรมการฝ่ายเลือกสรรแพทย์ และฝ่ายวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดหน้าที่ของแพทย์ หรือนำเข้าที่ประชุมองค์กรแพทย์
2.มีการจัดจำนวนแพทย์ บุคลากรปฏิบัติงานเพียงพอตามความจำเป็นของผู้ป่วย จำนวนการปฏิบัติงานของแพทย์ขึ้นกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยทางกลุ่มงานต่างๆ จะรับผิดชอบจัดสรรแพทย์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติแต่ละด้านโดยให้แต่ละกลุ่มงานได้วิเคราะห์ภาระงานความจำเป็นและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับ จำนวนแพทย์ที่มีอยู่ คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดสรรแพทย์ และฝ่ายวิชาการจัดสรรจำนวนแพทย์ใช้ทุนให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในกลุ่มต่างๆ
3.การที่โรงพยาบาลจะสั่งอุปกรณ์การแพทย์มาควรจะส่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไปศึกษาและฝึกหัดการใช้ให้มีความชำนาญก่อนที่จะเปิดให้บริการ และมีกลไกดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ระหว่างการใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมือ ใหม่ๆ มีการสื่อสารจนมีความเข้าใจร่วมกัน เช่น ให้มีการปรึกษาผ่านระบบสื่อสารได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ควรมีการทบทวนการตรวจรักษาของเจ้าหน้าที่ หรือแพทย์ โดยผู้ที่มีความชำนาญกว่าหรือทีมสหวิชาชีพ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการบันทึกทางเวชระเบียน
4.ทางโรงพยาบาลควรจะวางระบบการติดต่อกับผู้ป่วยอย่างทันทีเมื่อทราบว่าเกิดความผิดพลาดในการรักษา หรือการให้บริการ
5.การคำนวณขนาดรังสีที่จะรักษาควรมีการตรวจทานกับคนหลายๆคน เช่นใช้วิธีการ Cross Check
6.โรงพยาบาลควรแสดงความรับผิดชอบกับผู้ป่วยคนอื่นที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วยไม่เฉพาะแต่ Watts เท่านั้น
ลักษณะเช่นนี้ ในเมืองไทย ก็เคยเกิดขึ้นแล้วเช่นกัน แต่โดยลักษณะของคนไทยแล้วไม่ค่อยจะพบการเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ในระยะหลัง มีการออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจาก ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการและยังขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ นอกจากนี้ การเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานาน ผู้บริโภคต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ไม่อยู่ในความรู้เห็นของตน และเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง สมควรมีวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการเรียกร้องใช้สิทธิของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจ พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัตินี้
ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ใช้ เมื่อผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการทางวิชาชีพ กรณีที่คาบเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคมาที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สคบ. จะส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่วิชาชีพนั้น ๆ รับผิดชอบ เช่น ส่งไปให้ทันตแพทยสภาพิจารณา ในกรณีที่ผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทันตกรรมที่ตนได้รับจากผู้ให้บริการทันตกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม อันเกี่ยวกับจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม โดยที่ สคบ. จะดำเนินการเฉพาะในกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้หน่วยงานใดรับผิดชอบเท่านั้น โดยจะดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคที่คิดว่าตนได้รับความเสียหายจากผู้ให้บริการ จะต้องไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยดำเนินคดีแพ่งกับผู้ให้บริการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ สคบ. อาจจะดำเนินการเองในทุกเรื่องที่ผู้บริโภคหรือผู้รับบริการร้องเรียนมา เพราะพระราชบัญญัติฉบับนี้ เปิดช่องให้โอกาส สคบ. ดำเนินการฟ้องคดีผู้บริโภคต่อศาล เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแทนผู้บริโภคได้