กรณีศึกษา - ผู้บริโภคต่างประเทศ

กรณีศึกษา คดีผู้บริโภคPralhad Korganokar ประเทศอินเดีย

by twoseadj @March,10 2009 18.55 ( IP : 222...49 ) | Tags : กรณีศึกษา - ผู้บริโภคต่างประเทศ

Pralhad Korganokar ทนทุกข์ทรมานจากโรคหวัดเรื้อรังและไอ จึงไปพบแพทย์ Ghodekar ที่ Aldona Village ในเมือง GOA ในเดือนกุมภาพันธ์ 1993  แพทย์ได้สั่งยาให้ Pralhad และได้นัดอีก 3 วัน ให้กลับมาตรวจปัสสาวะ ผลการตรวจปัสสาวะพบน้ำตาลในปัสสาวะ แพทย์ได้ระบุว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และได้สั่งยา Euglucon 5 mg วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน ให้แก่ผู้ป่วย

หลังจากที่กินยา Euglucon เป็นเวลา 3 วัน ผู้ป่วยมีอาการเหงื่อออก ชัก และ ไม่รู้สึกตัว  ผู้ป่วยจึงถูกส่งส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลที่ Mapuca อย่างเร่งด่วน หลังจากนั้นเกิดภาวะโคม่า และฟื้นรู้สึกตัวเพียงอย่างเดียวหลังจาก 4 วัน  ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในรพ. นาน 40 วัน จึงออกจากรพ. ในเดือนพฤษภาคม 1993 กลับมานอนรพ. อีกครั้งเพียงไม่กี่วัน และ ผู้ป่วยได้ตายในเดือนสิงหาคม 1993

ภรรยาของ korganokar ได้ยื่นร้องทุกข์เกี่ยวกับผู้บริโภค กล่าวถึง Euglucon ถุกสั่งจ่ายให้แก่สามีของเธอโดยปราศจากการทำให้แน่ใจว่าสามีของเธอเป็นโรคเบาหวาน เธอเรียกร้องว่าสามีของเธอเกิดภาวะโคม่า เนื่องจากภาวะ hypoglycemia ซึ่งภายหลังการรักษาที่ รพ.รัฐบาลไม่ได้ช่วยสามีของเธอให้หายเป็นปกติได้ และเหตุผลในการตายของสามีของเธอ คือ การได้รับยา Euglucon อย่างหุนหันพลันแล่น การทบทวนทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า Euglucon เป็นยาที่มีความไวมาก จึงจำเป็นต้องให้ด้วยความระมัดระวังและขนาดยาต้องมีการปรับอย่างละเอียด ขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด

สภาท้องถิ่น (District Forum) ไม่รับฟ้องข้อร้องทุกข์ จึงเรียกร้องไปยังคณะกรรมการของรัฐ (State Commission) ซึ่งคณะกรรมการให้แพทย์มีความผิดในฐานะการละเลย และ ตัดสินให้จ่ายค่าชดเชย Rs 1,09,000 ร่วมกับดอกเบี้ย 18 % และ ค่าเสียหาย 5,000 Rs ทำให้แพทย์ที่ถูกฟ้องร้องส่งเรื่องเข้าไปยังคณะกรรมการแห่งชาติ (National Commission)

ประธานคณะกรรมการแห่งชาติได้บันทึกว่า ตำราทางการแพทย์ในแต่ละเล่ม ระบุว่า การตรวจปัสสาวะเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีโอกาสให้ผล false positive ได้คล้ายกับใน case alcoholism, หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น ดังนั้นการประเมินค่าน้ำตาลในเลือดและการทดสอบความทนทานต่อกลูโคส จำเป็นสำหรับการยืนยันว่าเป็นโรคเบาหวาน ไม่เพียงแต่การทดสอบเท่านั้นที่ต้องทำก่อนการสั่งยา Euglacon แต่ต้องรู้ด้วยว่ายา Euglucon ทำให้เกิด alcohol intolerance ด้วย และมันถูกให้แก่ Korgaonkar ผู้ซึ่งมีประวัติเป็น alcoholic แพทย์รพ.รัฐที่ให้การรักษา Kergaonkar ได้ให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยเกิดอาการชัก จาก hypoglycemia เพราะฉะนั้นจึงชัดเจนว่า Euglucon ถูกให้ไปแก่ผู้ป่วยที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน

คำถามต่อไปว่ามีสาเหตุอื่นอีกไหมที่ไม่ใช่ยา Euglucon ที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แพทย์รพ. ที่รักษาภาวะ hypoglycemia ของ Korgaonkar ได้ให้ข้อมูลว่า ยาชักนำให้เกิด hypoglycemic coma ซึ่งมีผลทำลายระบบประสาท และ ความผิดปกติของพฤติกรรมแบบ irreversible ถ้ายา Euglucon 1 เม็ดต่อวัน ให้ในคนปกติ มันสามารถทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia ทำให้เกิดการขาด glucose ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งมีผลทำลายสมองแบบ irreversible  เหตุการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ในผู้ป่วยที่กินอาหารได้ปกติ แพทย์คนอื่นที่รักษา Kargaonkar ที่รพ.รัฐก็ได้ให้ข้อคิดเห็นอย่างนั้นเช่นเดียวกัน

คณะกรรมการแห่งชาติได้สนับสนุนคำสั่งของคณะกรรมการรัฐ ให้แพทย์มีความผิดเกี่ยวกับการละเลย และบกพร่องในการให้บริการการรักษา  คณะกรรมการได้ถือว่า มันเป็นหน้าที่ของแพทย์ก่อนการสั่งจ่ายยา ต้องมีการแจ้งเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาแก่ผู้ป่วยด้วย

บทวิจารณ์

1. ระบบคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอินเดีย

รัฐบาลอินเดียมีหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันตนเองของผู้บริโภค โดยให้สิทธิผู้บริโภค 6 ข้อ ดังนี้

  1. Right to Safety: The right to be protected against goods which are hazardous to life and property.
  2. Right to Information: The right to be informed about the quality, quantity, purity, price and standards of goods.
  3. Right to Choose: The right to be assured access to a variety of products at competitive prices, without any pressure to impose a sale, i.e., freedom of choice.
  4. Right to be Heard: The right to be heard and assured that consumer interests will receive due consideration at appropriate forums.
  5. Right to Seek Redressal: The right to get relief against unfair trade practice or exploitation.
  6. Right to Education: The right to be educated about rights of a consumer.

จากกรณีศึกษา ตามสิทธิผู้บริโภคของอินเดียวข้างต้น พบข้อบกพร่องตามสิทธิที่จะได้รับ ดังนี้

  1. Right to Safety คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับความปลอดภัยจากการรับบริการจากคลินิกแพทย์
  2. Right to information คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรค และ อาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ
  3. Right to choose คือ ผู้ป่วยไม่ได้มีส่วนร่วมในการเลือกทางรักษา ซึ่งแพทย์ได้สั่งจ่ายยาโดยไม่ได้ถามความคิดเห็นของผู้ป่วย
  4. Right to be heard คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย ของการรักษา
  5. Right to Seek Redressal คือ ญาติผู้ป่วยได้ใช้สิทธิข้อนี้ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากการรักษาที่ผิดพลาด
  6. Right to Education คือ ญาติผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค จึงดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหาย

2. วิธีการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอินเดีย มี 4 ขั้นตอนหลัก คือ

  1. Business Self-regulation: The business community itself can help in achieving consumer protection and satisfaction through self -discipline. Businessmen can regulate their own behaviour and actions by adopting higher ethical standards. Trade associations and chambers of commerce can check unfair trade practices used by some businessmen.
  2. Consumer Self-help: Every consumer must be alert as self-help is the best help. He should educate himself and know his rights. He should not allow unscrupulous businessmen to cheat him.
  3. Consumers' Associations: Consumers should form voluntary associations. These associations can educate and awaken consumers. They can take organized action and put pressure on businessmen to adopt fair trade practices.
  4. Government Regulations: The State can ensure consumer protection through legislative, executive and judicial actions. The laws enacted by the Government must be strictly enforced by the executive. Government of India has enacted several laws to protect the interests and rights of consumers.

วิธีการคุ้มครองผู้บริโภค ในกรณีศึกษานี้ พบว่า ใช้วิธี Government Regulations คือ ใช้กฎหมายและศาลตัดสินของภาครัฐ

ในประเทศอินเดียมีกฎหมายเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภคอยู่หลายฉบับ ดังต่อไปนี้

  • The Essential Commodities Act, 1955 which aims to regulate and control the production, supply and distribution and prices of essential commodities.
  • The Prevention of Food Adulteration Act, 1954 which aims to check adulteration in food items and eatables.
  • The Drugs and Cosmetics Act, 1940 which seeks to ensure purity and quality in drugs and cosmetics.
  • The Standards of Weights and Measures Act, 1956 which aims at ensuring that consumers get the right weight and measurement in products.
  • The Household Electrical Appliances (Quality Control) Order, 1976 which seeks to ensure safety and quality in the manufacture of electrical appliances.
  • The Consumer Protection Act (CPA), 1986 which seeks to provide speedy and inexpensive redressal to the grievances of consumers. ซึ่งฉบับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีศึกษานี้มากที่สุด ได้แก่ THE CONSUMER PROTECTION ACT, 1986  โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเยียวยาการได้รับความเสียหายของผู้บริโภค มีการกำหนดข้อกฎหมายไว้ ดังต่อไปนี้
  • Removal of defects in goods or deficiency in service.
  • Replacement of defective goods with new goods of similar description which shall be free from any defect.
  • Return of price paid by the consumer.
  • Payment of compensation for any loss or injury suffered by the consumer.
  • Discontinue the restrictive, or unfair trade practice, and not to repeat it.
  • Withdraw the hazardous goods from being offered for sale and not to offer them for sale.
  • Provide for adequate cost to the aggrieved party.

ข้อกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภครายนี้ ได้แก่ Payment of compensation for any loss or injury suffered by the consumer คือ ได้รับค่าชดเชยจากความเสียหายที่เกิดขึ้น

ในประเทศอินเดียมีระบบคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งจะสามารถเรียกค่าชดเชย 3 ระบบ ได้แก่

  1. ระบบ District Forum เรียกร้องได้ถึง Rs 20 lakhs
  2. ระบบ State Commission เรียกร้องได้ระหว่าง Rs 20 lakhs ถึง Rs 100 lakhs
  3. ระบบ National Commission เรียกร้องได้มากกว่า Rs 100 lakhs.

การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ต้องดำเนินไปตามลำดับ ดังนี้ district forum , state commission  และ National commission ตามลำดับ

ในกรณีศึกษา ญาติผู้ป่วยได้ฟ้องร้องค่าเสียหายตามลำดับ โดย เริ่มที่ District Forum แต่ไม่รับฟ้อง จึงไปต่อ state commission ซึ่งได้ตัดสินให้ได้รับชดเชยค่าเสียหาย Rs 1,09,000 (ค่าเงินอินเดีย 1 lakhs = Rs 1,00,000) หลังจากนั้นส่งเรื่องไปยัง National commission เพื่อยืนยันคำตัดสิน จากผลการตัดสิน National commission ให้ญาติผู้ป่วยให้ได้รับค่าเสียหายเท่ากับ state commission

3. ผลกระทบที่เกิดกับแพทย์

ผลการตัดสินส่งผลให้แพทย์ ควรจะใช้เวลากับผู้ป่วยสักเล็กน้อย  เพื่อให้ข้อมูลกับผู้ป่วย ไม่ว่าผู้ป่วยสนใจที่จะถามหรือไม่ก็ตาม

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง