เทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by methar @May,18 2013 11.49 ( IP : 202...1 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-015
งวดที่ 1

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)

ชื่อโครงการ เทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
กิจกรรมลดอาหารขยะในวัยรุ่น

วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การจัดเก็บสำรวจข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนชะแล้ตามเกณฑ์ จปฐ.ของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 กำหนดไว้ว่า ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน จากการสำรวจและทำวิจัยพบว่า นักเรียนโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยามีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 44.87 ซึ่งบ่งชี้ถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ให้ความรู้ภาวะโภชนาการพลังงานที่ร่างกายต้องการ ตามประเภทอาหาร แบ่งกระบวนการเรียนรู้ 3 ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 สาธิตการวัดค่า IBM ฐานที่ 2 บทความน่ารู้ ฐานที่ 3 หนังสั้นจูงใจห่วงใยสุขภาพ

การเตรียมความพร้อมด้วยการสันทนาการ สร้างความเป็นกันเอง อธิบายที่ของกิจกรรมตามโครงการหลักฯ แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มจำนวนเท่าทันกัน เข้าฐานการเรียนรู้     ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 สาธิตการวัดค่า IBM
    ฐานที่ 2 บทความน่ารู้ เรื่องภัยจากการไม่กินผักเป็นการให้ความรู้ภาพกว้างของสังคม จากสถิติพบว่า ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมาปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยลดต่ำลงอย่างมาก การรับประทานแป้ง น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น รวมทั้งพืชหัวที่เป็นแป้งมากขึ้น เช่น มันฝรั่ง ทำให้ปริมาณผักใบเขียว ผลไม้ลดลง     เกร็ดความรู้ อันตรายจากการไม่รับประทานอาหารเช้าเป็นเหตุพื้นฐานที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย     ความรู้อาหารบำรุงสมองสำหรับทุกคนในครอบครัว  ผักใบเขียว  ผักตระกูลกระหล่ำ  ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ ผลไม้ อย่างเช่น แอปเปิ้ล แตงโม แคนตาลูป มีสารแอนไทออกซิแดนต์มาก และช่วยเรื่องการทำงานของสมอง ธัญพืชต่างๆ  ถั่วเครื่องเทศ ช่วยลดการอักเสบของสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการความจำเสื่อม     ความรู้โทษน้ำอัดลม เครื่องดื่มยอดนิยม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป: อาหารจานด่วนที่ไม่ควรบริโภค     ฐานที่ 3 หนังสั้นจูงใจห่วงใยสุขภาพ สร้างสัมพันธภาพ โดยการกล่าวทักทายนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแนะนำตนเองให้นักเรียนรู้จัก สร้างความจูงในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยการเกริ่นนำเกี่ยวกับสารคดียาเสพติดที่จะให้นักเรียนรับชม  ตั้งประเด็นคำถาม เพื่อให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากสิ่งที่ได้รับชม     อาจารย์อุไรวรรณ อุทัย "รู้สึกยินดีและขอขอบคุณทางอาจารย์และนักศึกษาที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะโภชนาการของเด็กโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา จึงได้จัดทำโครงการดีๆแบบนี้ขึ้นมา" อาจารย์สมจิต พัฒนอิ้ว "ขอขอบคุณทางอาจารย์และนักศึกษาเป็นอย่างมากที่ได้นำโครงการที่มีประโยชน์ต่อนักเรียนมาทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน " และจากการถามนักเรียนมาซื้อข้าวต้มรับประทานช่วงเช้า นักเรียนตอบกลับมาว่า “จากที่พี่นักศึกษาพยาบาลได้เข้ามาทำโครงการ ทำให้ทราบว่า หากไม่รับประทานอาหารเช้า จะทำให้หน้าแก่ ตนเองกลัวว่าจะหน้าแก่จึงรับประทานอาหารเช้า”

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1ระบบเสียง (ขณะแยกกลุ่ม)ไม่สมบูรณ์ ควรใช้โทรโข่ง 2 เสียงรบกวนจากกลุ่มอื่น ควรจัดให้อยู่ห่างกัน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-น่าจะจัดทำสื่อวิดีทัศน์เฉพาะพื้นที่ใช้ตัวแสดงที่เป็นเยาวชนของที่นั้น ๆ

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมโภชนาผู้สูงวัย

วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-จากการสำรวจ กลุ่มประชากรหมู่ที่ 5 บ้านเขาผี มีพฤติกรรมเสี่ยงของครัวเรือน มากที่สุด คือ ดื่มสุราเป็นประจำ และกินอาหารรสจัด คิดเป็นร้อยละ 14.17รองลงมา คือ สูบบุหรี่เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 12.99 และน้อยที่สุด คือ ขับรถเร็วประมาทและขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัยในสัดส่วนที่เท่ากัน คิดเป็นร้อย 0.39 เท่ากัน ตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบันพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆของประชากร ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 8.82% รองลงมาคือนักเรียน มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 4.04% และน้อยที่สุดคือ โรคหอบหืด โรคอัมพาต และพิการทางการมองเห็น มีจำนวนอย่างละ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.37% จะเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เป็นผลจากพฤติกรรมการกินที่ชอบกินของมัน ของหวาน และอาหารรสเค็ม รวมทั้งพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ที่ต้องทำงานไม่มีเวลาออกกำลังกาย จึงส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น

แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้
ฐานที่ 1 วัยทำงานกับอาหารที่คู่ควร
การรับประทานอาหาร   อาหารมื้อเช้า  ควรกินอาหารที่มีโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตด้วย เช่น โจ๊กหมู ตามด้วยผลไม้สด จะทำให้กระปรี้กระเปร่าขึ้น อาหารมื้อกลางวัน  ควรเลือกอาหารที่มีผักมากๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ผัดซีอิ้ว ผัดผัก ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ว่าจะเป็นแกงกะทิ ขาหมู
  อาหารอาหารว่าง ควรเลือกกินผลไม้หรือน้ำผลไม้แทนเค้ก คุกกี้ หรือกล้วยแขก เพราะอาหารเหล่านี้มีน้ำตาลหรือไขมันมากกว่าที่ร่างกายต้องกาย
  อาหารมื้อเย็น อาหารเบาๆ เช่น สลัด หรือข้าวสวยและกับข้าวประเภทยำ ผัดผัก หรือแกงจืด ความรู้การรับประทานอาหารรสจัด   อาหารรสหวาน เมื่อกินเข้าไปมากๆอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้ความอยากอาหารลดลง รู้สึกอิ่มทำให้รู้สึกขี้เกียจ ง่วงนอน ที่คนเป็นเบาหวานกินหวานมากทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก และเป็นอันตราย ความหวานยังทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต และ ฟันผุ
  อาหารรสเผ็ด ทำให้เกิดกรดในกระเพราะอาหาร มีอาการท้องขึ้นและอึดอัด รู้สึกแสบและคันรูทวารหนัก และมีอาการอ่อนเพลียอยู่เสมอ การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเครื่องแกงเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง  การกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนัก การชอบกินอาหารรสเผ็ดจึงเป็นการเพิ่มความเสียงต่อโรคหัวใจ     อาหารรสเค็ม  ทำให้ระบบการดูดซึมอาหารในร่างกายทำงานหนัก ร่างกายที่ได้รับโซเดียมสูงกว่าปกติจะพยายามจะขับเกลือทิ้งออกทางเหงื่อ ปัสสาวะ จึงทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ร้อนใน รู้สึกแสบคอ การกินอาหารรสเค็มยังทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เช่นเดียวกับไตที่ต้องรีบขับโซเดียมออกทางปัสสาวะอย่างรวดเร็ว เสียงต่อการเป็นโรคหัวใจ และภาวะไตวาย     อาหารรสเปรี้ยว การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไปมักทำให้ ท้องเสีย ร้อนใน และระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหาจึงทำให้บาดแผลหายช้าถ้ากินมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อภาวะกระดูกได้     โทษของการดื่มสุรา  ระคายเคืองชิ้นเยื่อบุที่ละเอียดอ่อนในปากหลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก  เซลล์ของเลือดเกาะเป็นก้อนเหนียว การไหลเวียนจึงช้าลง และปริมาณออกซิเจนลดต่ำลงด้วย สุราทำให้โลหิตจาง  แอลกอฮอล์จะทำให้เซลล์ของตับอ่อนระคายเคือง และบวมขึ้น ทำให้เกิดเลือดออกอย่าง เฉียบพลันและการอักเสบของตับอ่อนจะทำให้เป็นเบาหวานเซลล์ของตับจะถูก ทำลายเป็นผลให้ตับแข็ง  ฯลฯ  จะมีผลต่อการเสื่อมทางจิตด้วยหลายประการ เช่น ขาดความรับผิดชอบ ความจำเสื่อม เมื่อเป็นมากเกิดประสาทหลอน หูแว่ว หลงผิด หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง

ฐานที่ 2 อาหารควรรู้ คู่ความดันโลหิตสูง     การกินอาหาร ที่มีโซเดียมสูงหรืออาหารที่มีรสเค็มจัด จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เส้นเลือดในสมองตีบ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะไตเสื่อม โรคหัวใจ และเบาหวานร่วมด้วย การกินอาหารเข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม เช่น ไตปลา ปลาเค็ม
    อาหารที่ควรกิน อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น เต้าหู้ ผักใบเขียว นมพร่องมันเนย เช่นโยเกิร์ตไขมันต่ำ ผักสดทุกชนิด เช่นกะหล่ำปลี ผักกาดขาว ไขมันจากพืช น้ำมันรำ ข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอย     อาหารที่ไม่ควรกิน อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ผงฟู ของหมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม  อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันหมู  น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ฐานที่ 3 กิจกรรมสนทนากลุ่ม โดยผู้ดำเนินการสนทนากลุ่ม     การประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คนผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจมาก ร้อยละ 78.95 ปานกลาง ร้อยละ 17.98 และน้อย ร้อยละ 3.07 นายปราณี  ปิยะพันธ์ (ผู้ใหญ่บ้าน)  "ขอขอบคุณที่ได้มาจัดโครงการดีๆในหมู่บ้านและทำให้ชาวบ้านได้ความรู้ในการรับประทานอาหารมากขึ้นอยากให้มีการจัดโครงการแบบนี้บ่อยๆ"นางปากแดง ยัฆพันธ์ (ผู้เข้าร่วมโครงการ) "อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีก ดีใจที่ได้เข้าร่วมและรู้สึกสนุก ได้มีส่วนร่วมในการร้องเพลง ทำให้สบายใจ และกิจกรรมที่ทำมีประโยชน์และจะนำกลับไปทำที่บ้าน"

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

แกนนำชุมชน เข้าร่วมน้อย เนื่องจากต้องไปทำงานนอกพื้นที่(รับจ้างแรงงาน) ควรจัดกิจกรรมในวัดหยุด (เสาร์-อาทิตย์)

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนกำหนดแนวทางการจัดทำธนาคารต้นไม้

วันที่ 14 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  ชี้แจงการจะจัดตั้งธนาคารต้นไม้ตำบลชะแล้ โดยนายจำลอง บุญเกิด   -  บรรยายคุณลักษณะป่าชายเลนในพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาตำบลชะแล้โดย เจ้าหน้าที่ป่าชายเลนที่ 38 สงขลา   -  การรายงานผลการนำยอดใบโกงกางมาทดลองแปรรูปเป็น ชาโกงกาง ของแกนนำเยาวชนตำบลชะแล้   -  ชมภาพยนต์สั้น ความสมบูรณ์ป่าชายเลนในพื้นที่ตำบลชะแล้ (การวางเบ็ดราวในช่วงฤดูน้ำหลาก , การจับปลาดุกทะเลด้วยกระบอกไม้ไผ่ )   -  การแบ่งกลุ่มเพื่อคัดเลือกพืชพรรณไม้ส่งเสริมการปลูกเพื่ออาหารและยารักษาโรค   -  เดินเรียนรู้พืชพรรณไม้ป่าชายเลน การบรรยายโดยแกนนำเยาวชน และจนท.ป่าชายเลนที่ 38 สงขลา

-  การสอบถามถึงธนาคารต้นไม้ในพื้นที่ต่างๆที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจถึงรูปแบบของธนาคารต้นไม้ชะแล้ที่คาดหวังน่าจะเกิดจากความต้องการของคนในพื้นที่โดยมีเป้าหมายในการอนุรักษ์พืชพรรณไม้พื้นถิ่น รวมถึงเมล็ดพันธ์ุที่สำคัญและจำเป็น - มีการเสนอให้หาแนวทางในการจัดหาเมล็ดพันธ์ข้าว เพื่อบริการสมาชิกหรือชาวบ้านในอนาคต ส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะนอกเหนือภาระกิจและเกินกำลังของคณะทำงาน - พืชพรรณไม้ที่เหมาะสมในการปลูกอันดับ 1 ต้นมะขาม  2 ต้นขี้เหล็ก(กินได้ แกงได้ ราคาดี ) 3 ต้นตาลโตนด (อนุรักษ์กลัวสูญพันธ์) 3 ต้นจากในพื้นที่ป่าชายเลนเพราะบริโภคลูกได้ 4 พิชพรรณไม้ป่าชายเลนอื่น ๆ
- กำหนดให้มีการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญ โดยเริ่มครั้งแรกในวันที่ 12 สิงหา โดยสภาเด็กและเยาวชนตำบลชะแล้เพาะต้นกล้า มะขามไว้ 300-400 ต้น โดยใช้พื้นที่แนวถนนสายสี่แยกชะแล้ - บ้านผู้ใหญ่ประวิทย์ แก้วดำ ระยะทาง 800เมตร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เยาวชนมีความรู้ด้านพันธ์ไม้ในพื้นที่น้อย  ควรให้ความรู้ ทางด้านคุณสมบัติ  พื้นที่ที่เหมาะสม ฯลฯ มากขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

สนับสนุนข้อมูลพืชพรรณไม้ที่มีในพื้นที่ป่าชายเลน (ชะแล้มีพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 500 ไร่)

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ศึกษาและสำรวจพืชพรรณไม้ ที่สำคัญและจำเป็นในการสงวนรักษา(ประเภท คุณสมบัติ จำนวน ที่ตั้ง) บันทึกในระบบสารสนเทศ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-ชี้แจงที่มาของโครงการบูรณาการอาหารฯ
-บรรยายการใช้ภาพถ่ายทางอากาศบนระบบปฏิบัติการMap window วิธีการติดตั้งโปรแกรม การนำเข้าภาพถ่ายทางอากาศ การตั้งค่าเพื่อการบันทึกข้อมูล
-เรียนรู้ภาพถ่ายทางอากาศ การมองภาพ การสังเกตุสีที่แสดงบนภาพถ่าย  เรียนรู้ตำแหน่งที่ตั้งที่พืชพรรณไม้ การสังเกตุแนวชายขอบ เขต
-การทดลองปฏิบัติป้อนบันทึกข้อมูลตามคำสั่งต่าง ๆ
-การบรรยายคุณสมบัติและความสำคัญของพรรณไม้โดยวิทยากรจาก สถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 38 สงขลา
-สำรวจพื้นที่จริง -การบันทึกข้อมูล

-เยาวชนสนใจการเรียนรู้ระบบปฏิบัติการ การเรียนรู้คุณสมบัติพืชพรรณไม้ สามารถทดลองบันทึกข้อมูลได้ -การเรียนรู้พืชพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนได้สร้างความกระตือรือล้นการเรียนรู้ -แกนนชุมชน สนใจภาพถ่ายทางอากาศต้องการรู้พื้นที่ป่าชายเลนที่เหลือจริงในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

พื้นที่ป่ากว้าง ใช้เวลามากในการสำรวจ การบันทึกต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ แก้ไขด้วยการประมาณการ และเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ จัดตั้งธนาคารต้นไม้

วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • ชี้แจงการจัดตั้งธนาคารต้นไม้ตำบลชะแล้เพื่อการส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นโดยเฉพาะไม้ที่สร้างประโยชน์ด้านการบริโภค การอนุรักษ์ การให้ร่มเงาและใช้ไม้ได้ในอนาคต โดยเฉพาะ ไม้มะขาม ขี้เหล็ก ต้นตาล
    -  แจ้งการเตรียมต้นกล้ามะขามเพื่อใช้ปลูก จำนวน 300 -400 ต้นโดยเด็กและเยาวชน เพื่อปลูกบริเวณ ถนนสายสี่แยกชะแล้ -บ้านผู้ใหญ่บ้านประวิทย์ แก้วดำ และเด็กและเยาวชนจะจัดทำถนนเส้นนี้ให้เป็น "เส้นทางสมุนไพร"
  • การคัดเลือกผู้จัดการต้นไม้
  • การร่วมปลูกต้นไม้สองข้างทาง -การร่วมกิจกรรมชุมชนทำบุญถวายพระพร ณ ลานวัฒนธรรมตำบลชะแล้
  • แกนนำชุมชน ชาวบ้านรับรู้ เข้าใจการปลูกต้นไม้ในพื้นที่บ้าน ในที่สาธารณะ เช่น ต้นมะขาม ต้นขี้เหล็ก ต้นตาล เพื่อการร่วมใช้ประโยชน์ร่วมบริโภค เพื่อเป็นอาหาร ยารักษาโรค การใช้เนื้อไม้ รวมทั้งการอนุรักษ์พันธุ์ไม้พื้นบ้าน
  • การใช้วันสำคัญ (12 สิงหาคม) เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์กิจกรรม ชาวบ้านรับรู้ในวงกว้าง
  • สร้างการมีส่วนร่วมในรูปแบบวิถีชาวบ้าน
  • เด็กและเยาวชนได้แสดงบทบาทเด้กที่ขับเคลื่อนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ได้รับการชื่นชมจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  • พื้นที่จัดกิจกรรมกับพื้นที่ปลูกต้นไม้อยู่คนละสถานที่ คนเข้าร่วมไม่พร้อมกัน เป็นการสร้างบทเรียนแก่เด็กและเยาวชนในการเลือกจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป (เด้กเป็นผู้คิด ออกแบบกิจกรรม จึงต้องสร้างประสบการณ์ให้รับรู้ )
  • ช่วงเวลาการปลูกต้นไม้เป็นเวลา เที่ยง หลังพิธีสงฆ์ อากาศร้อนมาก ในโอกาสต่อไปต้องออกแบบเวลาการจัดกิจกรรมใหม่

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเกษตรอิทรีย์

วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-ชี้แจงที่มาของโครงการบูรณาการฯ ความสำคัญของการประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันที่มีการเพาะปลูกโดยใชสารเคมีในปัจจุบัน
-ตัวแทนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ นางชื่น เสน่หา บรรยายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์(ข้าวกล้อง)เกษตรอินทรีย์ให้กับครัวใบโหนด ที่รับซื้อตลอดในราคาที่ดีและรับซื้อตลอดเพื่อสร้างความเข้าใจในตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ -บรรยายแนวคิดเกษตรอินทรีย์โดยประธานกลุ่ม นายณพงษ์ แสงระวี  และสาธิตการทำปุ๋ยชีวภาพ

-มีแกนนำชุมชน 45 คนเข้าร่วมกิจกรรม -แกนนำสำนักธรรมนูญ(นายณพงษ์ แสงระวี) ชีแจงการปฎิบัติตามธรรมนูญสุขภาพในหมวดที่ 6การคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภคทุกกลุ่มในตำบลข้อที่ 32 จัดให้มี และร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่มีประโยชน์และมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรวดเร็ว และเป็นปจั จุบันข้อที่ 33 ต้องจัดให้มีคณะกรรมการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคตำบลชะแล้ ภายในปี พ.ศ. 2553 ข้อที่ 35 ให้คณะกรรมการชุดนี้มีภาระหน้าที่ สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สินค้า อาหารและการบริการและรายงานผลเสียที่กระทบแก่ผู้บริโภคและชุมชนต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และชุมชน  หมวดที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียง  ข้อที่ 44 ต้องสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบุคคลหรือกลุ่มตัวอย่างด้านผลิตเองใช้เองปลูกเองกินเองอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ข้อที่ 45 สนับสนุนการตลาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของชุมชนคนชะแล้ และ ร่วมกันบริโภค ผลผลิตที่เป็นของชาวชะแล้
-มีการสอบถามเงื่อนไขการจำหน่ายผลิตภัณฑ์(ข้ากล้อง)แก่ครัวใบโหนด และพืชผัก อื่น ๆ
-ที่ประชุมร่วมแสดงความคิดเห็นในกรณีการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพจะให้ผลผลิตที่ต่ำ และสับสนกับคำว่าเคมี ชีวภาพ
-ทุกคนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ เพราะเห็นว่าพื้นที่บริเวณครัวเรือนมีการปลูกพืชผักเพื่อกินเอง แจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านอยู่แล้ว
-เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ป้ายติดหน้าบ้านเพื่อกระตุ้น สร้างกระแสคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง หรือใช้สื่ออื่น ๆ
-ควรส่งเสริมให้รับรู้ การปฏิบัติในระดับตำบล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-อาคารที่จัดกิจกรรมเปิดโล่ง แสงสว่างมาก การฉายภาพยนต์สั้น หรือการใช้สื่อประกอบการบรรยายมองเห็นไม่ชัด ต้องใช้สื่ออื่น ๆเช่นป้ายไวนิล

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการประกอบอาหารของชุมชนชะแล้

วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-ชี้แจงความเป็นมาของโครงการบูรณาการฯ โดยแกนนำสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้
-การทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงความจำเป็นในของการจัดทำอาหารผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค
-บรรยายกฎระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค -บรรยายมาตรฐานทั่วไปของผู้ประกอบการที่ควรดำเนินการ -ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการประกอบอาหารของชุมชนชะแล้

ผู้ประกอบการจำนวน 35 คน แกนนำชุมชน 5 คน เข้าร่วมกิจกรรม -ผู้ประกอบการรับรู้ที่มาของโครงการภายใต้การขับเคลื่อนของสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ และรับรู้ถึงเกณฑ์มาตรร้านอาหารปลอดภัย เพราะมีการให้ความรู้จากรพสต.จากเดิม -ที่ประชุมเสนอให้มีการรณรงค์ การสร้างแรงจูงใจ หรือจัดประกวดร้านค้าที่ปฎิบัติตามระเบียบ แก่ผู้เข้าร่วม -ที่ประชุมเสนอให้จัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องเพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการดำเนินการให้ได้คุณภาพยิ่งขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้ประกอบการ(บางราย) ไม่เห็นด้วยเกรงว่าจะถูกกีดกัน คณะทำงานชี้แจง สร้างความเข้าใจเพิ่มเติม

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ศึกษาและสำรวจเปรียบเทียบมาตรฐานวัตถุดิบในการประกอบอาหารในพื้นที่ตำบลชะแล้

วันที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 07:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-ลงทะเบียนรวมกลุ่ม ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเชิญประชุมโดย ผอ.รพ.สตชะแล้
-ทำความเข้าใจที่มาของโครงการฯโดยสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ (นายเมธา บุณยประวิตร) -แบ่งกลุ่ม อสม. จำนวน 3 กลุ่มกลุ่มละ 15 คนตามกรอบความเชี่ยวชาญ -วิทยากรให้ความรู้มาตรฐานวัตถุดิบในแนวทางอาหารปลอดภัย -แบ่งกลุ่มอสม.เพื่อร่วมแผนการดำเนินงานการสำรวจร้านค้าผู้ประกอบการอาหารหรือที่เกี่ยวข้อง

-ผู้อำนวยการรพสต.ชะแล้  ประธานอสม.และตำบลชะแล้  ร่วมกำหนดแนวทางการสำรวจร้านค้า
-กำหนดตัวบุคคลเพื่อจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ร้านค้าย่อย มอบหมายให้นางพวงทอง รัตนสุวรรณ ร้านอาหาร นางประไพ ส่งเสริมวัชนะ แผงลอย นางสุพร  แก้วดำ
-ขอบเขตข้อมูลที่ต้องการ เช่น ชื่อผู้ประกอบการ ประเภทร้านค้า (อาหาร, ขายวัตถุดิบอาหาร สด แห้ง )พื้นที่ที่จำหน่าย ช่วงเวลาการจำหน่าย สภาพร้านค้า(เพิงค้า รถขน รถกระบะ วางพื้น )

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-อสม.บางคนไม่ทราบภาระกิจที่ตนเองรับผิดชอบ  ควรอบรมพัฒนาศักยภาพต่อเนื่อง -ระยะเวลาอบรมให้ความรู้น้อย ไม่ครอบคลุมเนื้อหามาตรฐานวัตถุดิบแนวทางอาหารปลอดภัย ควรจัดเป้นช่วง ๆ
-กระบวนการถ่ายทอดไม่สร้างแรงจูงใจหรือเกิดอาการเบื่อหน่าย ควรปรับวิธีการที่สร้างความบันเทิง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ สำรวจครัวเรือนที่ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ทั้งพื้นที่ตำบล

วันที่ 29 กันยายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

กำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ ตามธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ หมวดที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียง ข้อที่ ๔๔ ต้องสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบุคคลหรือกลุ่มตัวอย่างด้านผลิตเองใช้เองปลูกเองกินเองอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ข้อที่ ๔๕ สนับสนุนการตลาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของชุมชนคนชะแล้ และ ร่วมกันบริโภค ผลผลิตที่เป็นของชาวชะแล้
ร่วมกำหนดแบบสำรวจครัวเรือนที่ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ทั้งพื้นที่ตำบล

การกำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์
1 ใช้พื้นที่ที่ดิน บริเวณบ้านที่อยู่อาศัยเพาะปลูก ไม้ยืนต้น  ผักเพื่อการบริโภค 2 การใช้ปุ๋ยบำรุงพืช ผักผลไม้ ในพื้นที่ต้องไม่ใช้เป็นปุ๋ยเคมีในส่วนผสม
3 มีการจัดทำปุ๋ยชีวภาพ จากมูลสัตว์ เศษอาหาร พืช ผัก เพื่อใช้เองในครัวเรือน 4 พีชผักผลไม้ที่ปลูก มีไว้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนเป็นด้านหลัก
5 พืช ผักที่ปลูกไม่น้อยกว่า 5 อย่าง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บางคนความเข้าใจเนื้อหาธรรมนูญสุขภาพน้อย  แนะนำอธิบายเพิ่มเติม /เผยแพร่ธรรมนูญสุขภาพในวงกว้าง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการเมนูวัยแรงงาน เมนูสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-16.00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. รวบรวมข้อมูล/ประเมินผลจากการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงประชาชนในชุมชนอายุ 15 ปีขึ้นไป
  2. สาธิตและปฏิบัติการจัดเมนูอาหารโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงตัวอย่าง
  3. ประกวดปิ่นโตสุขภาพอาหารเฉพาะโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
  1. ประชาชนวัยทำงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 89 คน(89%)
  2. ประชาชนวัยทำงานป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 3.2
  3. มีชมรมร่วมใจต้านภัยป้องกันโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 1 ชมรม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ป่วยเรือรัง

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

วิทยากรให้ความรู้ สาธิตตำรับอาหารที่ปลอดภัย

กลุ่มเป้าหมายร่วมกันกำหนดเมนูอาหาร ร่วมกำหนดวันในการประชุมเพื่อติดตามประเมินผล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ติดตามเยี่ยม ประเมินผล ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทีมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อติดตาม/ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ทุก 1 เดือน 3 ครั้ง
  2. ประสานงานกับเครือข่ายทีมสหวิชาชีพในการขอความช่วยเหลือเมื่อเกินศักยภาพ เช่น กายอุปกรณ์ ไม้เท้า รถเข็น ฯ
  1. ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน/ความดันโลหีดสูงทุกคนได้รับการเยี่ยม ติดตาม ประเมินผลร่วมกับเครือข่ายในชุมชน ทุก 1 เดือน 3 ครั้ง
  2. ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน/ความดันโลหิต มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่รุนแรงขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำระดับตำบล

วันที่ 19 มกราคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของที่นาเข้าร่วมหารือ

กำหนดจุดสูบน้ำเพื่อปล่อยเข้าคลองชุมชน จุดที่ 1 ติดที่ทำการเทศบาล จุดที่ 2 บริเวณ ถนนทางขึ้นศูนย์เด้็กเล็ก จุดที่ 3 บริเวณถนนเรียบขอบเหมืองหมูที่ 3 จุดที่ 4 บริเวณเหมืองกำนันเคียงส่งไปบ้านหน้าทวด
- กำหนดกิจกรรมวันเปิดฤดูกาลแรกหว่านนา (ทำพิะีกรรมแรกนา) 20 มีนาคม 2557

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้นำ (สมาชิกสภาเทศบาล ) เข้าร่วมน้อย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการตลาดสีเขียว ครั้งที่ 1

วันที่ 22 มกราคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ผู้แทนอสม.เข้าร่วมกิจกรรมเสนอแนะการจัดการตลาด ผู้แทนร้านค้าในชุมชนเข้าร่วมกำหนดแนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์และบริการ

แบ่งกลุ่มประเภท ผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท 1 แปรรูปอาหารพื้นบ้าน 2พืช ผักสด ปลอดสารพิษ 3 ขนมพื้นบ้าน 4 อาหารสด ปลา กุ้ง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ศึกษาสำรวจเส้นทางน้ำ ปริมาณความจุนำ้ และบันทึกในระบบสารสนเทศ

วันที่ 24 มกราคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. คำนวณปริมาณ ขนาด จำนวน แหล่งน้ำใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตำบล
  2. รับทราบลักษณะการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำในพื้นที่ในปัจจุบัน
  3. เพื่อบันทึกข้อมูลในระบบปฏิบัติการสารสนเทศ

แหล่งน้ำรวมทั้งพื้นที่ตำบลชะแล้ ประกอบด้วยสายคลองชายเหมืองความยาว 1.24 กม. สายคลองหมู่4 ยาว 1.02 กมสายคลองหมู่ 3 ยาว .96 กม. สายคลอง อาทิตย์ ยาว 3.087 กม. ความจุรวม 226.80 ลบ.ม..ใช้นำ้ได้ในช่วง ตค.เมษ.ของแต่ละปี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ประชาสัมพันธ์ตลาดนัดสีเขียว ร้านอาหารเพื่อสุขภาพตำบลชะแล้

วันที่ 26 มกราคม 2557 เวลา

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

รถแห่ประชาสัมพันธ์ทั่วทั้งพื้นที่ตำบลชะแล้และใกล้เคียง

รถแห่โดยใช้เสียงจากการบันทึก และใช้คนพูดสอดแทรกตลอดเวลาของการแห่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

สำรวจจัดทำทะเบียนผู้ประกอบการด้านอาหาร

วันที่ 30 มกราคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. จากการสำรวจพบว่าจำนวนผู้ประกอบการรวม.49ราย  แยกประเภทดังนี้
     ประเภทวัตถุดิบเนื้อ-ปลา5ราย  ประเภทพืชผักผลไม้  4 ราย  ประเภทอาหารแปรรูป25าย  ประเภทขนมพื้นบ้าน15ราย

ผู้ประกอบการประเภทวัตถุดิบเนื้อปลา ส่วนใหญ่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนอกพื้นที่ มากกว่าจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผู้ประกอบการพืช ผัก ส่วนใหญ่จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ค้าฯร่วมกำหนดเกณฑ์ตลาดสีเขียว ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ

วันที่ 31 มกราคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานตลาดสีเขียวเข้าร่วมจำนวน 20 คน โดยมี คณะทำงานด้านสถานที่ คณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ คณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์ ผู้แทนผู้ประกอบการ แม่ค้้า เข้าร่วม

คาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์ประเภทผักปลอดสารพิษ จำนวน 23 ราย อาหารสด 5 ราย แปรรูปอาหาร  6 ราย ขนมพื้นบ้าน 10 ราย 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ พิธีเปิดตลาดนัดสีเขียวประจำปี 2556 พิธีมอบป้ายร้านอาหารเพื่อสุขภาพตำบลชะแล้

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 07:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

แบ่งกลุ่มผู้ประกอบการ 4 กลุ่ม จัดเตรียมพื้นที่ บริเวณสี่แยกชะแล้ ในย่านชุมชน

การแสดงพิธีเปิดโดยเด็กและเยาวชน กลองยาวจากชาวบ้าน สาธารณสุขอำภอสิงหนครเข้าร่วมและจัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อสุ่มตรวจสารตกค้างในพืชผัก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 400 คน 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

พื้นที่แคบ รถยนต์ขนาดใหญ่เลี้ยวผ่านลำบาก

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ติดตามประเมินผลนาอินทรีย์ ธนาคารต้นไม้ ,สุ่มตรวจผู้ค้าฯและร้านอาหารฯในพื้นที่

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ติดตาม สอบถามความต้องการของผู้ปอบการ เพื่อการปรับปรุงการทำงานในการจัดการอาหารเพื่อการจำหน่ายในแนวทางอาหารปลอดภัย เพื่อตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนในทางที่เหมาะสมกับการบริการ

ผู้ประกอบการต้องการให้ทำป้ายร้านค้า(แทนของเดิม)ให้ใหญ่ขึ้น
ต้องการให้มีการจัดตลาดสีเขียวอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ให้ขยายพื้นที่การจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมไปทางด้านทิศใต้ (ใต้ต้นโพธิ์) จัดให้มีการประกอบผู้ประกอบการดีเด่นด้านสุขอนามัยร้านค้า  จากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ปรับปรุงเรื่องความสะอาดของร้านค้า พื้นที่ทำการ และเทศบาลปรับปรุงทางระบายนำ้ในพื้นที่สี่แยก ร้านค้าบางร้านปรับแต่งอาคาร  ปัญหาที่พบ พื้นที่จอดรถไม่มี ผู้ซื้อไม่มีความเป็นระเบียบ จอดรถขวางทางสัญจร ราคาสินค้าสูงกว่าปกติ(ผู้ซื้อสะท้อน)

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ศึกษาและสำรวจพื้นที่ที่ดิน กำหนดเขตการใช้ที่ดินและบันทึกข้อมูลในระบบปฏิบัติการสารสนเทศ (Map window)

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 08:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

แกนนำเด็กและเยาวชนร่วมกับแกนนำชุมชนร่วมกันสำรวจพื้นที่ ที่ดินโดยใช้กระดาษทำการ

  1. จัดประชุมเยาวชนเพื่อเรียนรู้ระบบปฏิบัติการสารสนเทศ
  2. จัดทำรูปแบบกระดาษทำการโดยทำสำเนาแผนที่รายหมู่บ้าน
  3. แบ่งพื้นที่ให้เดินสำรวจโดยใช้การบันทึกในกระดาษทำการ
  4. แบ่งประโยชน์การใช้ที่ดินเป็นประเภทหลักๆ เช่น ทำนา สวนปาล์ม สวนผสม แหล่งน้ำ ที่สาธารณะ
  5. แบ่งกลุ่มทำงาน  ปฏิบัติการสำรวจจริง
  6. นำเข้าข้อมูลจากการสำรวจในระบบปฏิบัติการ
  7. ทดสอบการแสดงผล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่สามารถกำหนดระยะทางสมมุติเมื่อเทียบกับมาตรส่วนในแผนที่ ใช้พื้นที่ไม่เป็น ไม่มีทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ วัยรุ่น รู้ เล่น เต้น รำ อาหารขยะ

วันที่ 3 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การให้ความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย การรับรู้โทษของการไม่บริโภคอาหารไม่ครบมื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้า

วิทยากรให้ความรู้โดยการแยกเด็กออกเป็นฐาน 3 ฐานเรียนรู้ ใช้เกมส์ตอบคำถาม การแสดงการละเล่น และการร่วมกันเขียนความคาดหวังกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เด็กนักเรียนเข้าร่วมไม่ครบทุกชั้น เนื่องจากติดกิจกรรม อื่น 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดนิทรรศการตลาดนัดอุทยานอาหาร

วันที่ 19 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-สรุปบทเรียนการทำงานจาก 3 แผนงานหลัก 1แผนงานผลิตวัตถุดิบในแนวทางอาหารปลอดภัย 2 แผนงานแปรรูปวัตถุในแนวทางอาหารปลอดภัย  3 แผนงานโภชนาการสมวัย

-จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดต่างๆ มาจัดแสดงในงาน - จัดซุ้มและตกแต่งด้วยวัสดุพื้นถิ่น
-นำคนในพื้นที่เข้าเรียนรู้กระบวนการและศึกษาผลงานของเครือข่าย เกิดประกายคิดในการจัดทำเพาะชำต้นกล้าไม้พื้นถิ่นเพื่อการจัดจำหน่าย เช่น ต้นขลู่ ต้นเสม็ดชุน และต้นไม้อื่นๆเพื่อนำเสนอขายผู้เยี่ยมเยือนในชุมชน 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ติดตามประเมินผลผู้ประกอบการอาหาร ครั้งที่ 2

วันที่ 19 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนในทางที่เหมาะสมกับการบริการ ทราบความต้องการของผู้ประกอบการ
ความต้องการผู้ซื้อ

เทศบาลตำบลชะแล้ ต้องการหนุนเสริมให้ตลาดสีเขียวมีความต่อเนื่อง โดยจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ผักแจกชาวบ้านที่ต้องการปลูกพืชปลอดสารพิษ ต้องการใช้เวทีตลาดสีเขียวในการประชาสัมพันธ์งานของเทศบาล
ร้านค้าต้องการให้จัดการประกวดบรรจุภัณฑ์

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ เพาะพันธุ์ไม้ที่ต้องการสงวนรักษา

วันที่ 25 เมษายน 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

แกนนำชุมชนนำต้นกล้วย พืชผักอื่น ๆ ที่หลากหลาย ปลูกในพื้นที่แปลงผักที่เตรียมไว้

1ครูและนักเรียนโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยาร่วมปรับปรุงพื้นที่แปลงผักเดิม ขนาด 30*50 เมตร (1500 ตร.ม.) ให้มีสภาพพร้อมปลูกพืชพันธุ์ไม้ ปรับปรุงระบบรดน้ำต้นไม้ 2. ยกร่องและขุดหลุมจำนวน 150 หลุมรองรับกล้วยพื้นบ้านและพันธุ์ไม้อื่นๆ 3. จัดทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารของโรงเรียนเพื่อใช้ปลูกพืช 4. ชาวบ้านร่วมกับนักเรียน ครู นำกล้วยและต้นไม้ปลูกในแปลง 5. ครู นักเรียน ชาวบ้าน เฝ้าระวังดูแลแปลงผัก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ควาย สัตว์เลี้ยงชาวบ้านเข้ารบกวนในพื้นที่

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดเตรียมการจัดตลาดสีเขียว ครั้งที่ 2

วันที่ 27 เมษายน 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการตลาดสีเขียว ปรับปรุงรูปแบบการจัดตลาดสีเขียว

1 ต้องกำหนดจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมให้แสดงความจำนงล่วงหน้าเพื่อสะดวกในการวางแผนจัดพื้นที่สำหรับวางผลิตภัณฑ์ เนื่องมีผู้สนใจนำผลิตภัณฑ์มาวางขายแต่ไม่เข้าร่วมประชุมทำให้กรรมการลำบากใจไม่กล้าปฏิเสธ และทำให้เกิดแย่งพื้นที่วางของ
2 คณะกรรมการประเภทผลิตภัณฑ์ต้องทำความเข้าใจกับผู้แสดงความจำนงรายใหม่ต้องการแต่งกาย การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ 3 จัดใหม่การประกวดบรรจุหีบห่อของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายโดยเน้นวสดุธรรมชาติ ใบตอง เชือกกล้วย รางวัล 300 200 100 รวมทั้งรางวัลผู้ซื้อดีเด่น(ใช้ภาชนะที่มาจากวัสดุธรรมชาติ) 3 ให้มีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า 3วันก่อนเปิดตลาด 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

สำรวจข้อมูลส่งเสริมภาวะด้านโภชนาการเด็กเล็ก

วันที่ 2 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การเตรียมข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กเล็ก การเรียนรู้ภาวะโภชนาการของเด็กจากการสำรวจเบื้องต้น
2 ร่วมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กของทุกภาคส่วน

กำหนดให้มีการทำกิจกรรมกลุ่ม เรียนรู้และปฏิบัติจริงในการดูแลภาวะโภชนาการที่สมวัยของเด็กเล็ก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ส่งเสริมภาวะด้านโภชนาการในเด็กประถมวัย

วันที่ 3 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การเตรียมจัดกระบวนการโดยใช้ข้อมูลจริงภาวะโภชนาการของเด็กในโรงเรียนประถม แก่ผู้ปกครอง โดยนศ.วพบ.ราชชนนีสงขลา เตรียมสำรวจเพิ่มเติม

ข้อมูลการปฏิบัติของสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร จากการสำรวจ ผู้ปกครองของเด็กอายุ 6-12 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 62.2 เพศชายจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8 มีช่วงอายุ 21-30 ปี จำนวน 4คน คิดเป็นร้อยละ 10.8ช่วงอายุ 31-40 ปี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ48.6ช่วงอายุ 41-50 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ27.0ช่วงอายุ 51-60 ปี จำนวน 2คน คิดเป็นร้อยละ 5.4 อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 3คน คิดเป็นร้อยละ 8.1สถานภาพสมรสโสด จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ2.7คู่/อยู่ด้วยกัน จำนวน 28 จำนวน คิดเป็นร้อยละ75.7คู่/แยกกันอยู่ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ18.9หม้าย จำนวน 1คน คิดเป็นร้อยละ 2.7ระดับการศึกษาสูงสุดไม่ได้เรียน จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ 5.4ประถมศึกษา จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2มัธยมศึกษา จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5อนุปริญญา/ปวช./ปวส. จำนวน 4คน คิดเป็นร้อยละ 10.8อาชีพปัจจุบัน (อาชีพหลัก รายได้ประจำ)รับจ้าง จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ43.2เกษตรกรรม จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ32.4ค้าขาย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 ลูกจ้างบริษัท ห้างร้าน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7แม่บ้าน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 16.2 ไม่มีอาชีพ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ2.7รายได้เฉลี่ยจากอาชีพหลักต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 2,500 บาท จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ5.4จำนวน 2,501 – 5,000 บาท จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ21.6จำนวน 5,001 – 7,500 บาท จำนวน 13คน คิดเป็นร้อยละ 35.1จำนวน 7,501 – 10,000 บาท จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 29.7จำนวน 10,000 บาทขึ้นไป จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ8.1 จำนวนสมาชิกในครอบครัวจำนวน 1-3 คน จำนวน 6 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ16.2 จำนวน 4-6 คน จำนวน 24ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 64.9จำนวนมากกว่า 5 คน จำนวน 7 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 18.9แหล่งที่มาของรายได้ การประกอบอาชีพ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ94.6 ทรัพย์สินเดิม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7อื่น ๆ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 รายได้ของท่านเพียงพอกับการยังชีพหรือไม่ไม่เพียงพอ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ45.9 และเพียงพอ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 54.1             จากการสำรวจสมาชิกในครอบครัวมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นประจำ ได้แก่  บริโภคอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ปฏิบัติเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ75.5บริโภคอาหารครบ 5 หมู่และหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 40.5บริโภคอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ  35.1 บริโภคอาหารหลากหลายชนิดใน 1 วัน คิดเป็นร้อยละ 64.9งดบริโภคอาหารมื้อเช้าเพราะต้องรีบทำงาน คิดเป็นร้อยละ 10.8บริโภคผักใบเขียว และผลไม้สด คิดเป็นร้อยละ 56.8หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันมาก คิดเป็นร้อยละ 18.9บริโภคอาหารเนื้อสัตว์ ไข้ ถั่วเมล็ดแห้ง คิดเป็นร้อยละ 70.3 บริโภคบะหมี่สำเร็จรูปแทนอาหาร 1 มื้อ คิดเป็นร้อยละ 18.9บริโภคอาหาร ประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน และบริโภคอาหารประเภททอด คิดเป็นร้อยละ 0  บริโภคอาหารของขบเคี้ยวกรุบกรอบเป็นอาหารว่าง คิดเป็นร้อยละ 8.1บริโภคอาหารตรงเวลาตามมื้ออาหาร คิดเป็นร้อยละ 18.9บริโภคอาหารเฉพาะอาหารที่ชอบ คิดเป็นร้อยละ 2.7บริโภคผลไม้ดอง คิดเป็นร้อยละ51.4บริโภคอาหารฟาสฟูดส์ เช่น พิซซ่า  ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ คิดเป็นร้อยละ 13.5บริโภคอาหารทะเลจำพวกกุ้ง ปลาหมึก หอย คิดเป็นร้อยละ 32.4บริโภคอาหารทะเลประเภทปลา คิดเป็นร้อยละ 89.2บริโภคอาหารที่มีรสหวานจัด คิดเป็นร้อยละ 56.8บริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด คิดเป็นร้อยละ 62.2บริโภคพืชผักพื้นบ้าน อาหารปลอดสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 78.4ดื่มน้ำอัดลม คิดเป็นร้อยละ 16.2ดื่มกาแฟ ชา คิดเป็นร้อยละ 27.0ดื่มน้ำ วันละ 6-8 แก้ว และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ 73.0ใช้ช้อนกลางเมื่อบริโภคอาหารร่วมกับผู้อื่น  คิดเป็นร้อยละ 91.9ดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 48.6ล้างผักและผลไม้ ก่อนบริโภค คิดเป็นร้อยละ 89.2ซื้ออาหารที่วางขายริมทาง คิดเป็นร้อยละ 8.1เลือกซื้ออาหารโดยพิจารณาถึงความสะอาดของร้านและผู้ขายมากกว่าความอร่อย คิดเป็นร้อยละ  75.7เลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปโดยพิจารณาข้อมูลโภชนาการและวันหมดอายุ  คิดเป็นร้อยละ 91.9 และรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ คิดเป็นร้อยละ 78.4           จากการสำรวจสภาพปัญหาภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน พบว่า ภาวะโภชนาการเด็ก น้ำหนักตามเกณฑ์ไม่มี คิดเป็นร้อยละ 0 น้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 63.04 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 17  คน คิดเป็นร้อยละ 36.96 โดยจากข้อมูลที่ได้ คณะผู้จัดทำได้นัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย อภิปรายแลกเปลี่ยนในประเด็นปัญหา เพื่อให้เกิดการยอมรับปัญหาซึ่งทางผู้ปกครอง ครู และผู้นำชุมชนได้เสนอความคิดเห็นว่าปัญหาเด็กอายุ 6 – 12 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการสมควรได้รับการแก้ไขโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมเนื่องจากเป็นบุตรหลานของคนในชุมชน ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไป         การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์และทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน (Soft System Analysis : SSA) เมื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน ขั้นที่ 1 การหาปัญหาในสถานการณ์ที่เป็นจริง ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนในการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนเป็นอย่างดี ทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการ ขั้นที่ 2 รู้สถานการณ์ที่เป็นจริง มีอุปสรรคคือ ผู้ปกครองเด็กอายุ 6-12 ปี มาเข้าร่วมกิจกรรมน้อย ทำให้ต้องมีการกระตุ้นผู้ปกครองให้มาเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้รถแห่ และส่งจดหมายถึงบ้าน นอกจากนี้ผู้ปกครองยังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกับผู้ศึกษาทำให้ข้อมูลอาจไม่สมบูรณ์ไปบ้าง ขั้นที่ 3 การสร้างภาพที่พึงประสงค์ มีอุปสรรค คือ ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมน้อย ครูมาน้อยเนื่องจากอยู่ในช่วงปิดเทอม  ผู้ปกครองไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ทำให้ได้ข้อมูลบางส่วนน้อย
ขั้นที่ 4 การหาช่องทาง  ผู้ปกครองเด็กอายุ 6-12 ปี ครู และผู้นำชุมชนหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ ซึ่งทางกลุ่มได้เห็นชอบร่วมกัน และมีความพึงพอใจในวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทางกลุ่มได้ช่วยกันคิด ขั้นที่ 5 หาข้อตกลงเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์  จากการแสดงความคิดเห็นของผู้ปกครอง ครู ผู้นำชุมชน และได้ข้อสรุป คือควรเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในเรื่องการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัยมาให้ความรู้ ขั้นที่ 6 วางแผน ได้กิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นที่ 7 ปฏิบัติตามแผน มีอุปสรรคคือ กลุ่มเป้าหมายมาไม่ครบทั้งผู้ปกครอง ครู นักเรียนเนื่องจากอยู่ในช่วงปิดเทอม  ทำให้การดำเนินงานบางกระบวนการไม่สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ขั้นที่ 8 ประเมินผล นโยบายที่ได้ร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหา ได้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาชุมชน ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้ปกครองเด็กเข้าร่วมน้อย
การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์และทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน (Soft System Analysis : SSA) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้ เพราะว่าเป็นการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ปกครองเด็กอายุ 6-12 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ครู และผู้นำชุมชนที่ได้มาร่วมพูดคุยกัน ทำให้เกิดความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และเกิดความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชน 2.ในการทำงานร่วมกันกับชุมชน ต้องหาผู้นำ หรือแกนนำหลักที่จะมาเป็นผู้รับผิดชอบในโครงการ ซึ่งจะทำให้การประสานง่ายขึ้น และทำให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ตลาดสีเขียวครั้งที่ 2

วันที่ 4 พฤษภาคม 2557 เวลา 14:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ผู้ประกอบการ ทั้ง 4 ประเภท จำนวน 40 รายเข้าร่วมกิจกรรม

1 คณะกรรมการตลาดสีเขียวจัดเตรียมพื้นที่ เวที เครื่องเสียง และอุปกรณ์สถานที่ โดยย้ายเวทีไปด้านหลังเพื่อแก้ไขปัญหารถเลี้ยวในวงกว้าง ให้การสัญจรได้ดีขึ้น
2 ผู้ประกอบการมาน้อยกว่าที่คาดการณ์เนื่องจากสภาพอากาศฟ้าครึ้ม
3 การแสดงของเด็กและเยาวชน จำนวน 2 ชุดเพื่อใช้ประกอบและเสริมบรรยากาศตลาด
4 แกนนำชุมชนให้ความรู้ด้านการบริโภคอาหารผ่านการประชาสัพันธ์เครื่องขยายเสียงตลอดเวลา
5 คณะผู้บริหารเทศบาล นายกเทศมนตรี สมาชิกเข้าร่วมโดยพร้อมเพรียง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ฝนตกหนัก ไม่สามารถจัดตลาดต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ชะแล้ ประกาศเขตการใช้ที่ดินในแนวทางอาหารปลอดภัย

วันที่ 10 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ร่วมกำหนดแนวเขตในพื้นที่ทะเลสาบเป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารทะเล  จัดทำแนวเขต ปล่อยปลา กุ้งในพื้นที่ จัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามดูแล

  1. คณะผู้บริหารท้องถิ่นประสานเครือข่ายภายนอก (กรมประมง) ร่วมกิจกรรมปล่อยปลานวลจันทร์จำนวน 1,000,000 ตัว
  2. ชาวบ้านร่วมกำหนดกฏเกณฑ์การจัดทำเขตพื้นที่อนุบาล 2.1. กำหนดพื้นที่บริเวณลานวัฒนธรรมตำบลชะแล้เป็นพื้นที่อนุบาล กว้าง 100 เมตร ยาว 100 เมตร 2.2. ร่วมกับครูโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยาและนักเรียนใช้เป็นพื้นที่ศึกษาจัดทำโครงงานเฝ้าระวัง  ติดตามดูแล 2.3. กำหนดเขตห้ามล่าในพื้นที่ในช่วง 4 เดือน หลังการปล่อยปลา โดยจัดทำป้ายแจ้งเตือน 2.4. คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลชะแล้ ปากรอ บางเขียด ร่วมประชุมทำความเข้าใจเรื่องการเลี้ยงสัตว์ (ควาย) รบกวนพื้นที่ป่าชายเลน แปลงผักโรงเรียน ความสะอาดและอุบัติเหตุ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ส่งเสริมสุขภาวะโภชนาการเด็กเล็ก

วันที่ 18 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

วิทยากรให้ความรู้จิตวิทยาเด็ก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสร้างแรงจูงใจการเสริมแรง ในการบริโภคอาหาร

ผู้ปกครองและเด็กเล็กเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ด้วยรถแห่ล่วงหน้า การส่งจดหมายเชิญเฉพาะตัวของเด็กที่ภาวะทุพโภชนาการ จัดให้มีการแยกกลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการด้านอาหารโดยแยกเป็นกลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มครูและว่าที่ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นแกนนำชุมชน กลุ่มเด็กประถม  ให้มีการนำเสนอหลังจากที่เข้ากลุ่ม  พบว่า  ผู้ปกครองต้องการให้ร่วมกันกำหนดเมนูอาหารของเด็ก ให้มีการส่งเสริมการปลูกผัก เลี้ยงปลาในพื้นที่ โรงเรียน กลุ่มครูและผู้บริหาร ต้องการข้อมูลภาวะทุพโภชนาการเด็กเพื่อใ้ห้สามารถติดตามดูแลถึงตัวเด็ก ครูพี่เลี้ยงสูนย์เด็กเล็กต้องการให้มีการปรับปรุงภาชนะใส่อาหาร อ่างล้างหน้าและซื้อเครื่องซักผ้าใหม่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

กลุ่มผู้ปกครองที่ไม่ใช่เป้าเข้ามาร่วมจากการที่ได้รับทราบจากรถแห่  กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงเข้าร่วมน้อย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-