ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | |
1. ประชุมเบื้อง คณะทำงานในพื้นที่ชะแล้ | ||||||
เสาร์ 1 มิ.ย. 56 | สท. แกนนำ 8-12 คน |
|
|
|
|
|
2. กิจกรรมโภชนาผู้สูงวัย » | ||||||
ศุกร์ 21 มิ.ย. 56 | ศุกร์ 21 มิ.ย. 56 | จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ความรู้การรับประทานอาหารที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง |
-จากการสำรวจ กลุ่มประชากรหมู่ที่ 5 บ้านเขาผี มีพฤติกรรมเสี่ยงของครัวเรือน มากที่สุด คือ ดื่มสุราเป็นประจำ และกินอาหารรสจัด คิดเป็นร้อยละ 14.17รองลงมา คือ สูบบุหรี่เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 12.99 และน้อยที่สุด คือ ขับรถเร็วประมาทและขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัยในสัดส่วนที่เท่ากัน คิดเป็นร้อย 0.39 เท่ากัน ตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบันพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆของประชากร ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 8.82% รองลงมาคือนักเรียน มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 4.04% และน้อยที่สุดคือ โรคหอบหืด โรคอัมพาต และพิการทางการมองเห็น มีจำนวนอย่างละ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.37% จะเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เป็นผลจากพฤติกรรมการกินที่ชอบกินของมัน ของหวาน และอาหารรสเค็ม รวมทั้งพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ที่ต้องทำงานไม่มีเวลาออกกำลังกาย จึงส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น |
กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเข้าใจการบริโภคอาหารที่เหมาะกับร่างกาย และเข้าใจวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงตนเองจากการรับประทานอาหารได้ |
แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 2 อาหารควรรู้ คู่ความดันโลหิตสูง
การกินอาหาร ที่มีโซเดียมสูงหรืออาหารที่มีรสเค็มจัด จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เส้นเลือดในสมองตีบ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะไตเสื่อม โรคหัวใจ และเบาหวานร่วมด้วย
การกินอาหารเข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม เช่น ไตปลา ปลาเค็ม |
แกนนำชุมชน เข้าร่วมน้อย เนื่องจากต้องไปทำงานนอกพื้นที่(รับจ้างแรงงาน) ควรจัดกิจกรรมในวัดหยุด (เสาร์-อาทิตย์) |
3. กิจกรรมลดอาหารขยะในวัยรุ่น » | ||||||
ศุกร์ 21 มิ.ย. 56 | ศุกร์ 21 มิ.ย. 56 |
|
การจัดเก็บสำรวจข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนชะแล้ตามเกณฑ์ จปฐ.ของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 กำหนดไว้ว่า ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน จากการสำรวจและทำวิจัยพบว่า นักเรียนโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยามีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 44.87 ซึ่งบ่งชี้ถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ให้ความรู้ภาวะโภชนาการพลังงานที่ร่างกายต้องการ ตามประเภทอาหาร แบ่งกระบวนการเรียนรู้ 3 ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 สาธิตการวัดค่า IBM ฐานที่ 2 บทความน่ารู้ ฐานที่ 3 หนังสั้นจูงใจห่วงใยสุขภาพ |
นร.รร.ชะแล้นิมิตมีทักษะเข้าใจความต้องการอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย สามารถนำความรู้ไปใช้ใการบริโภคอาหารที่เหมาะสมได้ |
การเตรียมความพร้อมด้วยการสันทนาการ สร้างความเป็นกันเอง อธิบายที่ของกิจกรรมตามโครงการหลักฯ แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มจำนวนเท่าทันกัน เข้าฐานการเรียนรู้
ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 สาธิตการวัดค่า IBM |
1ระบบเสียง (ขณะแยกกลุ่ม)ไม่สมบูรณ์ ควรใช้โทรโข่ง 2 เสียงรบกวนจากกลุ่มอื่น ควรจัดให้อยู่ห่างกัน |
4. ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนกำหนดแนวทางการจัดทำธนาคารต้นไม้ » | ||||||
อาทิตย์ 14 ก.ค. 56 | อาทิตย์ 14 ก.ค. 56 |
|
- ชี้แจงการจะจัดตั้งธนาคารต้นไม้ตำบลชะแล้ โดยนายจำลอง บุญเกิด - บรรยายคุณลักษณะป่าชายเลนในพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาตำบลชะแล้โดย เจ้าหน้าที่ป่าชายเลนที่ 38 สงขลา - การรายงานผลการนำยอดใบโกงกางมาทดลองแปรรูปเป็น ชาโกงกาง ของแกนนำเยาวชนตำบลชะแล้ - ชมภาพยนต์สั้น ความสมบูรณ์ป่าชายเลนในพื้นที่ตำบลชะแล้ (การวางเบ็ดราวในช่วงฤดูน้ำหลาก , การจับปลาดุกทะเลด้วยกระบอกไม้ไผ่ ) - การแบ่งกลุ่มเพื่อคัดเลือกพืชพรรณไม้ส่งเสริมการปลูกเพื่ออาหารและยารักษาโรค - เดินเรียนรู้พืชพรรณไม้ป่าชายเลน การบรรยายโดยแกนนำเยาวชน และจนท.ป่าชายเลนที่ 38 สงขลา |
แกนนำชุมชนร่วมกำหนดพืชพรรณไม้ที่เหมาะสมในการปลูกในพื้นที่ตำบล มีรูปแบบการดำเนินงานธนาคารพันธ์ไม้ |
- การสอบถามถึงธนาคารต้นไม้ในพื้นที่ต่างๆที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจถึงรูปแบบของธนาคารต้นไม้ชะแล้ที่คาดหวังน่าจะเกิดจากความต้องการของคนในพื้นที่โดยมีเป้าหมายในการอนุรักษ์พืชพรรณไม้พื้นถิ่น รวมถึงเมล็ดพันธ์ุที่สำคัญและจำเป็น
- มีการเสนอให้หาแนวทางในการจัดหาเมล็ดพันธ์ข้าว เพื่อบริการสมาชิกหรือชาวบ้านในอนาคต ส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะนอกเหนือภาระกิจและเกินกำลังของคณะทำงาน
- พืชพรรณไม้ที่เหมาะสมในการปลูกอันดับ 1 ต้นมะขาม 2 ต้นขี้เหล็ก(กินได้ แกงได้ ราคาดี ) 3 ต้นตาลโตนด (อนุรักษ์กลัวสูญพันธ์) 3 ต้นจากในพื้นที่ป่าชายเลนเพราะบริโภคลูกได้ 4 พิชพรรณไม้ป่าชายเลนอื่น ๆ |
เยาวชนมีความรู้ด้านพันธ์ไม้ในพื้นที่น้อย ควรให้ความรู้ ทางด้านคุณสมบัติ พื้นที่ที่เหมาะสม ฯลฯ มากขึ้น |
5. ชะแล้ ศึกษาและสำรวจพืชพรรณไม้ ที่สำคัญและจำเป็นในการสงวนรักษา(ประเภท คุณสมบัติ จำนวน ที่ตั้ง) บันทึกในระบบสารสนเทศ » | ||||||
เสาร์ 27 ก.ค. 56 | เสาร์ 27 ก.ค. 56 | -ร่วมเรียนรู้ภาพถ่ายทางอากาศบนระบบปฏิบัติการMap window |
-ชี้แจงที่มาของโครงการบูรณาการอาหารฯ |
-สมาชิกเด็กและเยาวชน 6 คน เรียนรู้ทักษะการสำรวจ การบันทึกข้อมูลพืชพรรณไม้ที่สำคัญในชุมชนได้ -เยาวชนเรียนรู้คุณสมบัติที่สำคัญพืชพรรณไม้ได้ -ข้อมูลพืชพรรณไม้ ได้รับการบันทึกในระบบปฏิบัติการMapwindow |
-เยาวชนสนใจการเรียนรู้ระบบปฏิบัติการ การเรียนรู้คุณสมบัติพืชพรรณไม้ สามารถทดลองบันทึกข้อมูลได้ -การเรียนรู้พืชพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนได้สร้างความกระตือรือล้นการเรียนรู้ -แกนนชุมชน สนใจภาพถ่ายทางอากาศต้องการรู้พื้นที่ป่าชายเลนที่เหลือจริงในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ |
พื้นที่ป่ากว้าง ใช้เวลามากในการสำรวจ การบันทึกต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ แก้ไขด้วยการประมาณการ และเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ |
6. ชะแล้ จัดตั้งธนาคารต้นไม้ » | ||||||
จันทร์ 12 ส.ค. 56 | จันทร์ 12 ส.ค. 56 | - ชาวบ้าน แกนนำชุมชน สภาเด็ก คัดเลือกผู้จัดการธนาคารต้นไม้ และคณะทำงาน - ร่วมปลูกต้นไม้เนื่องวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2556 |
|
|
|
|
7. ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเกษตรอิทรีย์ » | ||||||
อังคาร 20 ส.ค. 56 | อังคาร 20 ส.ค. 56 | การบรรยายแนวคิดเกษตรอินทรีย์ และสาธิตและร่วมการทำปุ๋ยชีวภาพ |
-ชี้แจงที่มาของโครงการบูรณาการฯ ความสำคัญของการประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันที่มีการเพาะปลูกโดยใชสารเคมีในปัจจุบัน |
-แนวคิดเกษตรอินทรีย์เผยแพร่ในชุมชนอย่างกว้างขวางมากขึ้น -มีผู้สมัครใจเข้าร่วมเป็นครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ของตำบล |
-มีแกนนำชุมชน 45 คนเข้าร่วมกิจกรรม
-แกนนำสำนักธรรมนูญ(นายณพงษ์ แสงระวี) ชีแจงการปฎิบัติตามธรรมนูญสุขภาพในหมวดที่ 6การคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภคทุกกลุ่มในตำบลข้อที่ 32 จัดให้มี และร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่มีประโยชน์และมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรวดเร็ว และเป็นปจั จุบันข้อที่ 33 ต้องจัดให้มีคณะกรรมการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคตำบลชะแล้ ภายในปี พ.ศ. 2553 ข้อที่ 35 ให้คณะกรรมการชุดนี้มีภาระหน้าที่ สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สินค้า อาหารและการบริการและรายงานผลเสียที่กระทบแก่ผู้บริโภคและชุมชนต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และชุมชน หมวดที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียง ข้อที่ 44 ต้องสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบุคคลหรือกลุ่มตัวอย่างด้านผลิตเองใช้เองปลูกเองกินเองอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ข้อที่ 45 สนับสนุนการตลาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของชุมชนคนชะแล้ และ ร่วมกันบริโภค ผลผลิตที่เป็นของชาวชะแล้ |
-อาคารที่จัดกิจกรรมเปิดโล่ง แสงสว่างมาก การฉายภาพยนต์สั้น หรือการใช้สื่อประกอบการบรรยายมองเห็นไม่ชัด ต้องใช้สื่ออื่น ๆเช่นป้ายไวนิล |
8. ชะแล้ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลชะแล้ | ||||||
อาทิตย์ 1 ก.ย. 56 | กก.คุ้มครองผู้บริโภคชะแล้ สจรส.ภาคใต้ มอ. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลชะแล้ |
|
|
|
|
|
9. ชะแล้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์มาตรฐานวัตถุดิบในแนวทางอาหารปลอดภัย | ||||||
จันทร์ 2 ก.ย. 56 | รถแห่ทั้งพื้นที่ ป้ายไวนิลติดตั้งย่านชุมชน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์มาตรฐานวัตถุดิบในแนวทางอาหารปลอดภัย |
|
|
|
|
|
10. ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการประกอบอาหารของชุมชนชะแล้ » | ||||||
ศุกร์ 6 ก.ย. 56 | ศุกร์ 6 ก.ย. 56 | -การชี้แจงความเป็นมาของโครงการฯ
-การสร้างความเข้าใจร่วมการแปรรูปอาหารปลอดภัย
-บรรยายให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแกนนำชุมชน เกณฑ์ข้อกำหนด มาตรฐานร้านอาหารปลอดภัย |
-ชี้แจงความเป็นมาของโครงการบูรณาการฯ โดยแกนนำสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ |
-ผู้เข้าร่วมเข้าใจที่มาของโครงการฯ
-ผู้เข้าร่วมรับรู้ความสำคัญของการผลิต การแปรรูปอาหารในแนวทางอาหารปลอดภัย
-ผู้เข้าร่วมมีความรู้เรื่อง เกณฑ์ข้อกำหนด มาตรฐานร้านอาหารปลอดภัย |
ผู้ประกอบการจำนวน 35 คน แกนนำชุมชน 5 คน เข้าร่วมกิจกรรม -ผู้ประกอบการรับรู้ที่มาของโครงการภายใต้การขับเคลื่อนของสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ และรับรู้ถึงเกณฑ์มาตรร้านอาหารปลอดภัย เพราะมีการให้ความรู้จากรพสต.จากเดิม -ที่ประชุมเสนอให้มีการรณรงค์ การสร้างแรงจูงใจ หรือจัดประกวดร้านค้าที่ปฎิบัติตามระเบียบ แก่ผู้เข้าร่วม -ที่ประชุมเสนอให้จัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องเพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการดำเนินการให้ได้คุณภาพยิ่งขึ้น |
ผู้ประกอบการ(บางราย) ไม่เห็นด้วยเกรงว่าจะถูกกีดกัน คณะทำงานชี้แจง สร้างความเข้าใจเพิ่มเติม |
11. ชะแล้ ศึกษาและสำรวจเปรียบเทียบมาตรฐานวัตถุดิบในการประกอบอาหารในพื้นที่ตำบลชะแล้ » | ||||||
พฤหัสบดี 19 ก.ย. 56 | พฤหัสบดี 19 ก.ย. 56 | -ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการฯ |
-ลงทะเบียนรวมกลุ่ม ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเชิญประชุมโดย ผอ.รพ.สตชะแล้ |
-ร่วมกำหนดแนวทางการสำรวจร้านค้า และ
-กำหนดตัวบุคคลเพื่อจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น |
-ผู้อำนวยการรพสต.ชะแล้ ประธานอสม.และตำบลชะแล้ ร่วมกำหนดแนวทางการสำรวจร้านค้า |
-อสม.บางคนไม่ทราบภาระกิจที่ตนเองรับผิดชอบ ควรอบรมพัฒนาศักยภาพต่อเนื่อง
-ระยะเวลาอบรมให้ความรู้น้อย ไม่ครอบคลุมเนื้อหามาตรฐานวัตถุดิบแนวทางอาหารปลอดภัย ควรจัดเป้นช่วง ๆ |
12. ชะแล้ สำรวจครัวเรือนที่ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ทั้งพื้นที่ตำบล » | ||||||
อาทิตย์ 29 ก.ย. 56 | อาทิตย์ 29 ก.ย. 56 | -กำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ |
กำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ ตามธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ หมวดที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียง ข้อที่ ๔๔ ต้องสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบุคคลหรือกลุ่มตัวอย่างด้านผลิตเองใช้เองปลูกเองกินเองอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ข้อที่ ๔๕ สนับสนุนการตลาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของชุมชนคนชะแล้ และ ร่วมกันบริโภค ผลผลิตที่เป็นของชาวชะแล้ |
มีเกณฑ์ แบบสำรวจที่ใช้ในการสำรวจครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ทั้งตำบล |
การกำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ |
บางคนความเข้าใจเนื้อหาธรรมนูญสุขภาพน้อย แนะนำอธิบายเพิ่มเติม /เผยแพร่ธรรมนูญสุขภาพในวงกว้าง |
13. ชะแล้ ร่วมกำหนดเกณฑ์ครัวเรือนวิถีเกษตรอินทรีย์ | ||||||
อาทิตย์ 6 ต.ค. 56 | กก.คุ้มครองผุ้บริโภคชะแล้ สภาเด็ก ร่วมกำหนดเกณฑ์ครัวเรือนวิถีเกษตรอินทรีย์ |
|
|
|
|
|
14. ชะแล้ จัดตั้งครัวเรือนวิถีเกษตรอินทรีย์หมู่ละ 10 ครัวเรือน | ||||||
ศุกร์ 11 ต.ค. 56 | แกนนำชุมชน ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สภาเด็ก จัดตั้งครัวเรือนวิถีเกษตรอินทรีย์หมู่ละ 10 ครัวเรือน |
|
|
|
|
|
15. ชะแล้ สำรวจจัดทำทะเบียนผู้ค้าวัตถุดิบ ผู้แปรรูปอาหาร ร้านอาหารในพื้นที่ | ||||||
อาทิตย์ 13 ต.ค. 56 | กก.คุ้มครองผู้บริโภคชะแล้ สภาเด้ก สำรวจจัดทำทะเบียนผู้ค้าวัตถุดิบ ผู้แปรรูปอาหาร ร้านอาหารในพื้นที่ |
|
|
|
|
|
16. ชะแล้ ประชาสัมพันธ์ตลาดนัดสีเขียว ร้านอาหารเพื่อสุขภาพตำบลชะแล้ » | ||||||
จันทร์ 14 ต.ค. 56 | อาทิตย์ 26 ม.ค. 57 | รถแห่ทั้งพื้นที่ ป้ายไวนิลในย่านชุมชน ประชาสัมพันธ์ตลาดนัดสีเขียว ร้านอาหารเพื่อสุขภาพตำบลชะแล้ |
รถแห่ประชาสัมพันธ์ทั่วทั้งพื้นที่ตำบลชะแล้และใกล้เคียง |
รถแห่ช่วงเช้าและเย็นแต่ละวัน |
รถแห่โดยใช้เสียงจากการบันทึก และใช้คนพูดสอดแทรกตลอดเวลาของการแห่ |
- |
17. ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ค้าฯร่วมกำหนดเกณฑ์ตลาดสีเขียว ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ » | ||||||
อาทิตย์ 20 ต.ค. 56 | ศุกร์ 31 ม.ค. 57 | ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ค้าฯร่วมกำหนดเกณฑ์ตลาดสีเขียว ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ |
คณะทำงานตลาดสีเขียวเข้าร่วมจำนวน 20 คน โดยมี คณะทำงานด้านสถานที่ คณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ คณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์ ผู้แทนผู้ประกอบการ แม่ค้้า เข้าร่วม |
ต้องการทราบจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วม และปริมาณผลิตภัณฑ์ ประเภทผลิตภัณฑ์ |
คาดว่าจะมีผลิตภัณฑ์ประเภทผักปลอดสารพิษ จำนวน 23 ราย อาหารสด 5 ราย แปรรูปอาหาร 6 ราย ขนมพื้นบ้าน 10 ราย |
- |
18. ชะแล้ พิธีเปิดตลาดนัดสีเขียวประจำปี 2556 พิธีมอบป้ายร้านอาหารเพื่อสุขภาพตำบลชะแล้ » | ||||||
พฤหัสบดี 24 ต.ค. 56 | อาทิตย์ 2 ก.พ. 57 | แกนนำชุมชน กก.คุ้มครองผู้บริโภคชะแล้ สภาเด้ก พิธีเปิดตลาดนัดสีเขียวประจำปี 2557 พิธีมอบป้ายร้านอาหารเพื่อสุขภาพตำบลชะแล้ |
แบ่งกลุ่มผู้ประกอบการ 4 กลุ่ม จัดเตรียมพื้นที่ บริเวณสี่แยกชะแล้ ในย่านชุมชน |
ผู้ประกอบการอาหาร ผู้ซื้อในชุมชนร่วมซื้อขายผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ |
การแสดงพิธีเปิดโดยเด็กและเยาวชน กลองยาวจากชาวบ้าน สาธารณสุขอำภอสิงหนครเข้าร่วมและจัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อสุ่มตรวจสารตกค้างในพืชผัก ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 400 คน |
พื้นที่แคบ รถยนต์ขนาดใหญ่เลี้ยวผ่านลำบาก |
19. ชะแล้ สำรวจลักษณะการบริโภคอาหารคนวัยทำงาน กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง | ||||||
เสาร์ 26 ต.ค. 56 | สภาเด้ก แกนนำชุมชนสำรวจลักษณะการบริโภคอาหารคนวัยทำงาน (แยกประเภท รับจ้างโรงงาน ก่อสร้าง เกษตร ) กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง |
|
|
|
|
|
20. ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการเมนูวัยแรงงาน เมนูสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง » | ||||||
อาทิตย์ 10 พ.ย. 56 | อาทิตย์ 10 พ.ย. 56 | ประชาชนวัยทำงานอายุ ตั้งแต่ 15-60 ปีหมู่ที่ 1-5 จำนวน 100 คน |
|
|
|
- |
21. ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ป่วยเรือรัง » | ||||||
ศุกร์ 15 พ.ย. 56 | ศุกร์ 15 พ.ย. 56 | จัดเมนูสาธิตผู้ป่วยเรื้อรัง ให้ความรู้ด้านการปฏิบัติตนเอง การเลือกบริโภคอาหาร |
วิทยากรให้ความรู้ สาธิตตำรับอาหารที่ปลอดภัย |
กลุ่มผู้ป่วยเข้าใจ การปฏิบัติตนเอง กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม |
กลุ่มเป้าหมายร่วมกันกำหนดเมนูอาหาร ร่วมกำหนดวันในการประชุมเพื่อติดตามประเมินผล |
- |
22. ชะแล้ ติดตามเยี่ยม ประเมินผล ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง » | ||||||
พฤหัสบดี 21 พ.ย. 56 - อังคาร 21 ม.ค. 57 | พฤหัสบดี 21 พ.ย. 56 | เจ้าหน้าที่/อสม. รพ สต.ชะแล้ ตรวจเยี่ยมผู้ป่วย |
|
|
|
- |
23. ชะแล้ ตลาดนัดชวนชิม อาหารเพื่อสุขภาพ | ||||||
อาทิตย์ 24 พ.ย. 56 | แกนนำชุมชน สภาเด็ก กลุ่มวัยแรงงาน ผู้ป่วยเรื้อรัง |
|
|
|
|
|
24. ร่วมปลูกพืช พรรณไม้เพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดชะแล้ | ||||||
ศุกร์ 10 ม.ค. 57 | ร่วมปลูกพืช ผัก เพื่อเป้นอาหารกลางวัน |
|
|
|
|
|
25. ชะแล้ ศึกษาวิเคราะห์พื้นที่วิถีเกษตรอินทรีย์ ถอดบทเรียน | ||||||
เสาร์ 11 ม.ค. 57 | แกนนำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน ศึกษาวิเคราะห์พื้นที่วิถีเกษตรอินทรีย์ ถอดบทเรียน |
|
|
|
|
|
26. ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำระดับตำบล » | ||||||
อาทิตย์ 19 ม.ค. 57 | อาทิตย์ 19 ม.ค. 57 | แกนนำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สท.ชาวบ้าน |
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของที่นาเข้าร่วมหารือ |
มีแผนการจัดการน้ำระดับตำบล |
กำหนดจุดสูบน้ำเพื่อปล่อยเข้าคลองชุมชน จุดที่ 1 ติดที่ทำการเทศบาล จุดที่ 2 บริเวณ ถนนทางขึ้นศูนย์เด้็กเล็ก จุดที่ 3 บริเวณถนนเรียบขอบเหมืองหมูที่ 3 จุดที่ 4 บริเวณเหมืองกำนันเคียงส่งไปบ้านหน้าทวด |
ผู้นำ (สมาชิกสภาเทศบาล ) เข้าร่วมน้อย |
27. ประชุมเชิงปฏิบัติการตลาดสีเขียว ครั้งที่ 1 » | ||||||
พุธ 22 ม.ค. 57 | พุธ 22 ม.ค. 57 |
|
ผู้แทนอสม.เข้าร่วมกิจกรรมเสนอแนะการจัดการตลาด ผู้แทนร้านค้าในชุมชนเข้าร่วมกำหนดแนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์และบริการ |
แบ่งกลุ่มผู้ค้าเป็นประเภทต่าง มีการจัดตั้งคณะทำงาน |
แบ่งกลุ่มประเภท ผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท 1 แปรรูปอาหารพื้นบ้าน 2พืช ผักสด ปลอดสารพิษ 3 ขนมพื้นบ้าน 4 อาหารสด ปลา กุ้ง |
- |
28. ศึกษาสำรวจเส้นทางน้ำ ปริมาณความจุนำ้ และบันทึกในระบบสารสนเทศ » | ||||||
ศุกร์ 24 ม.ค. 57 - เสาร์ 25 ม.ค. 57 | ศุกร์ 24 ม.ค. 57 | สำรวจถ่ายภาพ วัดระยะ กว้างยาว ลึก แหล่งนำ้ในพื้นที่เบื้องต้น |
|
สำรวจแหล่งนำ้ในพื้นที่ตำบล |
แหล่งน้ำรวมทั้งพื้นที่ตำบลชะแล้ ประกอบด้วยสายคลองชายเหมืองความยาว 1.24 กม. สายคลองหมู่4 ยาว 1.02 กมสายคลองหมู่ 3 ยาว .96 กม. สายคลอง อาทิตย์ ยาว 3.087 กม. ความจุรวม 226.80 ลบ.ม..ใช้นำ้ได้ในช่วง ตค.เมษ.ของแต่ละปี |
- |
29. สำรวจจัดทำทะเบียนผู้ประกอบการด้านอาหาร » | ||||||
พฤหัสบดี 30 ม.ค. 57 | พฤหัสบดี 30 ม.ค. 57 | สำรวจ จัดทำทะเบียนผู้ประกอบการ |
|
สำรวจผู้ประกอบการในพื้นที่ที่จำหน่ายประจำในย่านสี่แยก ชะแล้ ตลาดเช้า เย็น |
ผู้ประกอบการประเภทวัตถุดิบเนื้อปลา ส่วนใหญ่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนอกพื้นที่ มากกว่าจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน ผู้ประกอบการพืช ผัก ส่วนใหญ่จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น |
- |
30. ชะแล้ ติดตามประเมินผลนาอินทรีย์ ธนาคารต้นไม้ ,สุ่มตรวจผู้ค้าฯและร้านอาหารฯในพื้นที่ » | ||||||
จันทร์ 3 ก.พ. 57 | จันทร์ 3 ก.พ. 57 | กก.ติดตามประเมินผล โดย อสม.ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน |
ติดตาม สอบถามความต้องการของผู้ปอบการ เพื่อการปรับปรุงการทำงานในการจัดการอาหารเพื่อการจำหน่ายในแนวทางอาหารปลอดภัย เพื่อตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนในทางที่เหมาะสมกับการบริการ |
ทราบข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการ ความต้องการผู้ซื้อ |
ผู้ประกอบการต้องการให้ทำป้ายร้านค้า(แทนของเดิม)ให้ใหญ่ขึ้น |
- |
31. ชะแล้ ศึกษาและสำรวจพื้นที่ที่ดิน กำหนดเขตการใช้ที่ดินและบันทึกข้อมูลในระบบปฏิบัติการสารสนเทศ (Map window) » | ||||||
พฤหัสบดี 6 ก.พ. 57 | พฤหัสบดี 6 ก.พ. 57 | แกนนำร่วมกับสภาเด็กฯสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
แกนนำเด็กและเยาวชนร่วมกับแกนนำชุมชนร่วมกันสำรวจพื้นที่ ที่ดินโดยใช้กระดาษทำการ |
|
|
ไม่สามารถกำหนดระยะทางสมมุติเมื่อเทียบกับมาตรส่วนในแผนที่ ใช้พื้นที่ไม่เป็น ไม่มีทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ |
32. ชะแล้ วัยรุ่น รู้ เล่น เต้น รำ อาหารขยะ » | ||||||
จันทร์ 3 มี.ค. 57 | จันทร์ 3 มี.ค. 57 | สภาเด็กฯ จัดกิจกรรมวัยรุ่น รู้ เล่น เต้น รำ อาหารขยะ |
การให้ความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย การรับรู้โทษของการไม่บริโภคอาหารไม่ครบมื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้า |
เด็กและเยาวชนในรร.ชะแล้นิมิตวิทยา เข้าร่วมกิจกรรม |
วิทยากรให้ความรู้โดยการแยกเด็กออกเป็นฐาน 3 ฐานเรียนรู้ ใช้เกมส์ตอบคำถาม การแสดงการละเล่น และการร่วมกันเขียนความคาดหวังกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสม |
เด็กนักเรียนเข้าร่วมไม่ครบทุกชั้น เนื่องจากติดกิจกรรม อื่น |
33. จัดนิทรรศการตลาดนัดอุทยานอาหาร » | ||||||
พุธ 19 มี.ค. 57 - ศุกร์ 21 มี.ค. 57 | พุธ 19 มี.ค. 57 | -จัดทำสรุปผลงาน -ถอดบทเรียนการทำงาน |
-สรุปบทเรียนการทำงานจาก 3 แผนงานหลัก 1แผนงานผลิตวัตถุดิบในแนวทางอาหารปลอดภัย 2 แผนงานแปรรูปวัตถุในแนวทางอาหารปลอดภัย 3 แผนงานโภชนาการสมวัย |
-สรุปผลงานจัดทำสื่อเพื่อการศึกษาเรียนรู้ |
-จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดต่างๆ มาจัดแสดงในงาน
- จัดซุ้มและตกแต่งด้วยวัสดุพื้นถิ่น |
- |
34. ติดตามประเมินผลผู้ประกอบการอาหาร ครั้งที่ 2 » | ||||||
พุธ 19 มี.ค. 57 | พุธ 19 มี.ค. 57 | ติดตามประเมินผล การปฏิบัติของผู้ประกอบการอาหาร |
ตรวจสอบการปรับปรุงเปลี่ยนในทางที่เหมาะสมกับการบริการ
ทราบความต้องการของผู้ประกอบการ |
สำรวจความต้องการร้านค้า ผู้ประกอบการ และความต้องการผู้ซื้อ |
เทศบาลตำบลชะแล้ ต้องการหนุนเสริมให้ตลาดสีเขียวมีความต่อเนื่อง โดยจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ผักแจกชาวบ้านที่ต้องการปลูกพืชปลอดสารพิษ
ต้องการใช้เวทีตลาดสีเขียวในการประชาสัมพันธ์งานของเทศบาล |
- |
35. ชะแล้ จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ เพาะพันธุ์ไม้ที่ต้องการสงวนรักษา » | ||||||
ศุกร์ 25 เม.ย. 57 | ศุกร์ 25 เม.ย. 57 | สภาเด็กฯ แกนนำชุมชนจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ เพาะพันธุ์ไม้ที่ต้องการสงวนรักษา |
แกนนำชุมชนนำต้นกล้วย พืชผักอื่น ๆ ที่หลากหลาย ปลูกในพื้นที่แปลงผักที่เตรียมไว้ |
พืชพันธุ์ไม้ที่ชุมชนต้องการสงวนรักษาได้รับการขยายพันธุ์ไม่น้อยกว่า 5 ชนิด |
1ครูและนักเรียนโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยาร่วมปรับปรุงพื้นที่แปลงผักเดิม ขนาด 30*50 เมตร (1500 ตร.ม.) ให้มีสภาพพร้อมปลูกพืชพันธุ์ไม้ ปรับปรุงระบบรดน้ำต้นไม้ 2. ยกร่องและขุดหลุมจำนวน 150 หลุมรองรับกล้วยพื้นบ้านและพันธุ์ไม้อื่นๆ 3. จัดทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหารของโรงเรียนเพื่อใช้ปลูกพืช 4. ชาวบ้านร่วมกับนักเรียน ครู นำกล้วยและต้นไม้ปลูกในแปลง 5. ครู นักเรียน ชาวบ้าน เฝ้าระวังดูแลแปลงผัก |
ควาย สัตว์เลี้ยงชาวบ้านเข้ารบกวนในพื้นที่ |
36. จัดเตรียมการจัดตลาดสีเขียว ครั้งที่ 2 » | ||||||
อาทิตย์ 27 เม.ย. 57 | อาทิตย์ 27 เม.ย. 57 | กำหนดรูปแบบการจัดตลาดสีเขียว ครั้งที่ 2 |
คณะกรรมการตลาดสีเขียว ปรับปรุงรูปแบบการจัดตลาดสีเขียว |
ปรับปรุงแก้ไขปัญหาจากการดำเนินกิจกรรมครั้งที่ 1 |
1 ต้องกำหนดจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมให้แสดงความจำนงล่วงหน้าเพื่อสะดวกในการวางแผนจัดพื้นที่สำหรับวางผลิตภัณฑ์ เนื่องมีผู้สนใจนำผลิตภัณฑ์มาวางขายแต่ไม่เข้าร่วมประชุมทำให้กรรมการลำบากใจไม่กล้าปฏิเสธ และทำให้เกิดแย่งพื้นที่วางของ |
- |
37. สำรวจข้อมูลส่งเสริมภาวะด้านโภชนาการเด็กเล็ก » | ||||||
ศุกร์ 2 พ.ค. 57 | ศุกร์ 2 พ.ค. 57 | ประชุมเชิงปฏิบัติ ให้ความรู้และการสำรวจเก็บข้อมูลภาวะโภชนาการเด็กเล็ก |
การเตรียมข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กเล็ก การเรียนรู้ภาวะโภชนาการของเด็กจากการสำรวจเบื้องต้น |
ผู้ปกครองเด็กเล็ก ครูพี่เลี้ยง จนท.เทศบาลที่เกี่ยว แกนนำชุมชน สมาชิกสภาเทศบาล นศ.พยาบาล วพบราชชนนีสงขลา วิทยากร ร่วมเรียนรู้การส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กเล็ก |
กำหนดให้มีการทำกิจกรรมกลุ่ม เรียนรู้และปฏิบัติจริงในการดูแลภาวะโภชนาการที่สมวัยของเด็กเล็ก |
- |
38. ส่งเสริมภาวะด้านโภชนาการในเด็กประถมวัย » | ||||||
เสาร์ 3 พ.ค. 57 | เสาร์ 3 พ.ค. 57 | ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กประถมวัยเป็นรูปแบบในการพัฒนาและแก้ไขให้เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและเกิดกระบวนการป้องกันและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน |
การเตรียมจัดกระบวนการโดยใช้ข้อมูลจริงภาวะโภชนาการของเด็กในโรงเรียนประถม แก่ผู้ปกครอง โดยนศ.วพบ.ราชชนนีสงขลา เตรียมสำรวจเพิ่มเติม |
ผู้ปกครองเด็กประถมวัยที่มีภาวะทุพโภชนาการ ในโรงเรียนวัดชะแล้ แกนนำชุมชน ผู้บริหารรร.เทศบาลเข้าร่วมกิจกรรม |
ข้อมูลการปฏิบัติของสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
จากการสำรวจ ผู้ปกครองของเด็กอายุ 6-12 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 62.2 เพศชายจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8 มีช่วงอายุ 21-30 ปี จำนวน 4คน คิดเป็นร้อยละ 10.8ช่วงอายุ 31-40 ปี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ48.6ช่วงอายุ 41-50 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ27.0ช่วงอายุ 51-60 ปี จำนวน 2คน คิดเป็นร้อยละ 5.4 อายุมากกว่า 60 ปี จำนวน 3คน คิดเป็นร้อยละ 8.1สถานภาพสมรสโสด จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ2.7คู่/อยู่ด้วยกัน จำนวน 28 จำนวน คิดเป็นร้อยละ75.7คู่/แยกกันอยู่ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ18.9หม้าย จำนวน 1คน คิดเป็นร้อยละ 2.7ระดับการศึกษาสูงสุดไม่ได้เรียน จำนวน 2 คนคิดเป็นร้อยละ 5.4ประถมศึกษา จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2มัธยมศึกษา จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 40.5อนุปริญญา/ปวช./ปวส. จำนวน 4คน คิดเป็นร้อยละ 10.8อาชีพปัจจุบัน (อาชีพหลัก รายได้ประจำ)รับจ้าง จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ43.2เกษตรกรรม จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ32.4ค้าขาย จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 ลูกจ้างบริษัท ห้างร้าน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7แม่บ้าน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 16.2 ไม่มีอาชีพ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ2.7รายได้เฉลี่ยจากอาชีพหลักต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 2,500 บาท จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ5.4จำนวน 2,501 – 5,000 บาท จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ21.6จำนวน 5,001 – 7,500 บาท จำนวน 13คน คิดเป็นร้อยละ 35.1จำนวน 7,501 – 10,000 บาท จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 29.7จำนวน 10,000 บาทขึ้นไป จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ8.1 จำนวนสมาชิกในครอบครัวจำนวน 1-3 คน จำนวน 6 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ16.2 จำนวน 4-6 คน จำนวน 24ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 64.9จำนวนมากกว่า 5 คน จำนวน 7 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 18.9แหล่งที่มาของรายได้ การประกอบอาชีพ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ94.6 ทรัพย์สินเดิม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7อื่น ๆ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.7 รายได้ของท่านเพียงพอกับการยังชีพหรือไม่ไม่เพียงพอ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ45.9 และเพียงพอ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 54.1
จากการสำรวจสมาชิกในครอบครัวมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการเป็นประจำ ได้แก่ บริโภคอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ปฏิบัติเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ75.5บริโภคอาหารครบ 5 หมู่และหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 40.5บริโภคอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 35.1 บริโภคอาหารหลากหลายชนิดใน 1 วัน คิดเป็นร้อยละ 64.9งดบริโภคอาหารมื้อเช้าเพราะต้องรีบทำงาน คิดเป็นร้อยละ 10.8บริโภคผักใบเขียว และผลไม้สด คิดเป็นร้อยละ 56.8หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีไขมันมาก คิดเป็นร้อยละ 18.9บริโภคอาหารเนื้อสัตว์ ไข้ ถั่วเมล็ดแห้ง คิดเป็นร้อยละ 70.3 บริโภคบะหมี่สำเร็จรูปแทนอาหาร 1 มื้อ คิดเป็นร้อยละ 18.9บริโภคอาหาร ประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน และบริโภคอาหารประเภททอด คิดเป็นร้อยละ 0 บริโภคอาหารของขบเคี้ยวกรุบกรอบเป็นอาหารว่าง คิดเป็นร้อยละ 8.1บริโภคอาหารตรงเวลาตามมื้ออาหาร คิดเป็นร้อยละ 18.9บริโภคอาหารเฉพาะอาหารที่ชอบ คิดเป็นร้อยละ 2.7บริโภคผลไม้ดอง คิดเป็นร้อยละ51.4บริโภคอาหารฟาสฟูดส์ เช่น พิซซ่า ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ คิดเป็นร้อยละ 13.5บริโภคอาหารทะเลจำพวกกุ้ง ปลาหมึก หอย คิดเป็นร้อยละ 32.4บริโภคอาหารทะเลประเภทปลา คิดเป็นร้อยละ 89.2บริโภคอาหารที่มีรสหวานจัด คิดเป็นร้อยละ 56.8บริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด คิดเป็นร้อยละ 62.2บริโภคพืชผักพื้นบ้าน อาหารปลอดสารพิษ คิดเป็นร้อยละ 78.4ดื่มน้ำอัดลม คิดเป็นร้อยละ 16.2ดื่มกาแฟ ชา คิดเป็นร้อยละ 27.0ดื่มน้ำ วันละ 6-8 แก้ว และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ 73.0ใช้ช้อนกลางเมื่อบริโภคอาหารร่วมกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 91.9ดื่มน้ำแก้วเดียวกับผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 48.6ล้างผักและผลไม้ ก่อนบริโภค คิดเป็นร้อยละ 89.2ซื้ออาหารที่วางขายริมทาง คิดเป็นร้อยละ 8.1เลือกซื้ออาหารโดยพิจารณาถึงความสะอาดของร้านและผู้ขายมากกว่าความอร่อย คิดเป็นร้อยละ 75.7เลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปโดยพิจารณาข้อมูลโภชนาการและวันหมดอายุ คิดเป็นร้อยละ 91.9 และรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ คิดเป็นร้อยละ 78.4
จากการสำรวจสภาพปัญหาภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน พบว่า ภาวะโภชนาการเด็ก น้ำหนักตามเกณฑ์ไม่มี คิดเป็นร้อยละ 0 น้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 63.04 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 36.96 โดยจากข้อมูลที่ได้ คณะผู้จัดทำได้นัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย อภิปรายแลกเปลี่ยนในประเด็นปัญหา เพื่อให้เกิดการยอมรับปัญหาซึ่งทางผู้ปกครอง ครู และผู้นำชุมชนได้เสนอความคิดเห็นว่าปัญหาเด็กอายุ 6 – 12 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการสมควรได้รับการแก้ไขโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมเนื่องจากเป็นบุตรหลานของคนในชุมชน ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติต่อไป
การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์และทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน (Soft System Analysis : SSA) เมื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน
ขั้นที่ 1 การหาปัญหาในสถานการณ์ที่เป็นจริง ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนในการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียนเป็นอย่างดี ทำให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการ
ขั้นที่ 2 รู้สถานการณ์ที่เป็นจริง มีอุปสรรคคือ ผู้ปกครองเด็กอายุ 6-12 ปี มาเข้าร่วมกิจกรรมน้อย ทำให้ต้องมีการกระตุ้นผู้ปกครองให้มาเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้รถแห่ และส่งจดหมายถึงบ้าน นอกจากนี้ผู้ปกครองยังไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกับผู้ศึกษาทำให้ข้อมูลอาจไม่สมบูรณ์ไปบ้าง
ขั้นที่ 3 การสร้างภาพที่พึงประสงค์ มีอุปสรรค คือ ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมน้อย ครูมาน้อยเนื่องจากอยู่ในช่วงปิดเทอม ผู้ปกครองไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ทำให้ได้ข้อมูลบางส่วนน้อย |
ผู้ปกครองเด็กเข้าร่วมน้อย |
39. ตลาดสีเขียวครั้งที่ 2 » | ||||||
อาทิตย์ 4 พ.ค. 57 | อาทิตย์ 4 พ.ค. 57 | เปิดตลาดสีเขียว จำหน่ายพืช ผัก อาหารสด อาหารแปรรูปในแนวทางอาหารปลอดภัย |
ผู้ประกอบการ ทั้ง 4 ประเภท จำนวน 40 รายเข้าร่วมกิจกรรม |
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ 4 ประเภท 1 ประเภทอาหารสด ปลา กุ้ง ประเภทที่ 2 อาหารแปรรูป ประเภทที่ 3 ขนมพื้นบ้าน ประเภทที่ 4 พืช ผักผลไม้ |
1 คณะกรรมการตลาดสีเขียวจัดเตรียมพื้นที่ เวที เครื่องเสียง
และอุปกรณ์สถานที่ โดยย้ายเวทีไปด้านหลังเพื่อแก้ไขปัญหารถเลี้ยวในวงกว้าง ให้การสัญจรได้ดีขึ้น |
ฝนตกหนัก ไม่สามารถจัดตลาดต่อเนื่อง |
40. ชะแล้ ประกาศเขตการใช้ที่ดินในแนวทางอาหารปลอดภัย » | ||||||
เสาร์ 10 พ.ค. 57 | เสาร์ 10 พ.ค. 57 | ผู้แทนครัวเรือน แกนนำชุมชน ประกาศใช้ประโยชน์ที่ดินและท้องน้ำในทะเลสาบสงขลา ในแนวทางอาหารปลอดภัย |
ร่วมกำหนดแนวเขตในพื้นที่ทะเลสาบเป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารทะเล จัดทำแนวเขต ปล่อยปลา กุ้งในพื้นที่ จัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามดูแล |
|
|
- |
41. ส่งเสริมสุขภาวะโภชนาการเด็กเล็ก » | ||||||
อาทิตย์ 18 พ.ค. 57 | อาทิตย์ 18 พ.ค. 57 | ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมการส่งเสริมสุขภาวะโภชนาการเด็กเล็กและประถม |
วิทยากรให้ความรู้จิตวิทยาเด็ก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสร้างแรงจูงใจการเสริมแรง ในการบริโภคอาหาร |
กลุ่มผู้ปกครองเด็กเล็กและเด็กประถมที่มีภาวะทุพโภชนาการ ครู รร. แกนนำชุมชน ว่าทีคณะผู้บริหารท้องถิ่น เข้าร่วมเรียนรู้ |
ผู้ปกครองและเด็กเล็กเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์ด้วยรถแห่ล่วงหน้า การส่งจดหมายเชิญเฉพาะตัวของเด็กที่ภาวะทุพโภชนาการ จัดให้มีการแยกกลุ่มเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการด้านอาหารโดยแยกเป็นกลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มครูและว่าที่ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นแกนนำชุมชน กลุ่มเด็กประถม ให้มีการนำเสนอหลังจากที่เข้ากลุ่ม พบว่า ผู้ปกครองต้องการให้ร่วมกันกำหนดเมนูอาหารของเด็ก ให้มีการส่งเสริมการปลูกผัก เลี้ยงปลาในพื้นที่ โรงเรียน กลุ่มครูและผู้บริหาร ต้องการข้อมูลภาวะทุพโภชนาการเด็กเพื่อใ้ห้สามารถติดตามดูแลถึงตัวเด็ก ครูพี่เลี้ยงสูนย์เด็กเล็กต้องการให้มีการปรับปรุงภาชนะใส่อาหาร อ่างล้างหน้าและซื้อเครื่องซักผ้าใหม่ |
กลุ่มผู้ปกครองที่ไม่ใช่เป้าเข้ามาร่วมจากการที่ได้รับทราบจากรถแห่ กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงเข้าร่วมน้อย |