เทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by methar @May,18 2013 11.49 ( IP : 202...1 )

แผนภาพเชิงระบบของโครงการ

สถานการณ์

สถานการณ์สุขภาวะ

ชุมชนที่ถูกเร่งรัดด้วยสภาพเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในแบบชุมชนดั้งเดิม เป็นชุมชนเมือง พฤติกรรมการใช้ชีวิตเร่งรีบส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคน สภาพเศรษฐกิจครัวเรือน

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ
  • คน:

    การผลิตวัตถุดิบอาหารเพื่อการบริโภคปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย มีการใช้สารเคมีเร่งพืชและป้องกัน ศัตรูพืช เกิดสารเคมีตกค้างสะสมในวัตถุดิบด้านอาหาร การบริโภคอาหารจากการปรุงกินเองเป็นการซื้อหาจากผู้แปรรูปอาหารอื่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตละเลยอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย

  • สภาพแวดล้อม:

    การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตวัตถุดิบอาหารเพื่อการบริโภคปรับเปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย มีการใช้สารเคมีเร่งพืชและป้องกัน ศัตรูพืช เกิดสารเคมีตกค้างสะสมในดิน ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมถูกบุกรุก ถูกทำลาย ไม่ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเท่าที่ควร

  • กลไก:

    การสร้างการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามบทบัญญัติในธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ ฉบับที่ 1

  • จุดหมาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย:

    นำระบบฐานข้อมูลการที่ดินมาใช้ประโยชน์เพื่อ สร้างการมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการผลิตวัตถุดิบด้านความมั่นคงอาหาร และสร้างกระบวนการผลิตอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยของคนชะแล้ ภายในปี 2557

  • ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ/ตัวชี้วัด:

    บรูณาการการใช้ข้อมูล,งานด้านวิชาการองค์ความรู้,งบประมาณ  ตัวชี้วัด :
    1.แผนพัฒนาการผลิตวัตถุดิบเพื่ออาหารปลอดภัย   1.1 ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในระบบสารสนเทศ (Map window)  จำนวน 1 ระบบ
      1.2 การจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำระดับตำบล  1 แผนงาน   1.3 จัดทำธนาคารต้นไม้ (พืชพรรณไม้พื้นบ้าน) 1 ธนาคาร   1.4 การขยายพื้นที่เพื่อวิถีเกษตรอินทรีย์ ( นาอินทรีย์ 20 ไร่/ปี  พืชผักปลอดสารพิษ 34 ชนิด/ปี)
    2.แผนการแปรรูปวัตถุดิบและการบริโภคอาหารปลอดภัยอย่างพอเพียงระดับชุมชน  (กก.คุ้มครองผู้บริโภคชะแล้ )   2.1.ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ จำนวน 50 ครัวเรือน   2.2.ตลาดสีเขียว  1 ตลาดเช้า/เย็น สี่แยกชะแล้   2.3.ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ 3 ร้านอาหาร 3.แผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อสุขภาพของกลุ่มคน ในทุกช่วงวัย ( บูรณาการการทำงาน )   3.1 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ 40 คน/ปี   3.2.กิจกรรมคุณภาพโภชนาการแม่และเด็ก  กิจกรรมคุณภาพโภชนาการเด็กเล็ก 50 คน   3.3.กิจกรรมคุณภาพอาหารเด็กประถมวัย 100 คน   3.4.กิจกรรมลดอาหารขยะในวัยรุ่น 100 คน   3.5.อาหารเพื่อสุขภาพคนทำงาน  100 คน เมนูสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง 100 คน

  • วิธีการสำคัญ:

    สร้างการมีส่วนร่วมในทุกระดับการดำเนินงาน

ปัจจัยนำเข้า

ทุนของชุมชน
  • คณะทำงานที่ดำเนินการในแต่ละระบบงาน
  • งบประมาณเดิมของหน่วยที่มีอยู่
  • งานระบบข้อมูลเดิม
งบประมาณ
  • ทต.อุดหนุนศูนย์เด็กเล็ก ปีละ 3 แสน
  • สภาองค์กรชุมชน ปีละ 1.5 หมื่น
  • สช.สนับสนุนติดตามประเมินผลธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้  3.1 แสน
บุคลากร
  • คณะกรรมการสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้
  • สท.ชะแล้
  • คก.คุ้มครองผุ้บริโภคชะแล้
  • กำนัน ผุ้ใหญ่บ้าน
  • แกนนำชุมชน ปราชญืชาวบ้าน
  • รพ.สต.
  • ครู
  • สมาชิก สภาเด้กและเยาวชนตำบลชะแล้
ทรัพยากรอื่น
  • เครือข่ายสื่อสารสาธารณะ (ช่อง 11 ช่อง 7 TBPS,Nationalhealthy chanel )

ขั้นตอนทำงาน

  • ศึกษาำสำรวจข้อมูลรายด้าน
  • สังเคราะห์ข้อมูล
  • สร้างการมีส่วนร่วม
  • บูรณาการงาน คน งบประมาณ
  • ดำเนินการ
  • ประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม
  • ปรับปรุง,แก้ไข
  • ดำเนินงานต่อ

ผลผลิต

  • ที่ดินได้รับการปรับใช้ในแนวทางเกษตรอินทรีย์อย่างเหมาะสม
  • แผนงานการบริหารจัดการทำงานด้านความมั่นคงทางอาหาร
  • การจัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศ
  • ช่องทางการผลิตเพื่อบริโภค /จำหน่ายในครัวเรือน การแปรรูป การจำหน่ายอาหารในแนวทางอาหารปลอดภัย
  • กิจกรรมส่งเสริม รณรงค์การผลิต การแปรรูป การจำหน่ายอาหารในแนวทางอาหารปลอดภัย

ผลลัพท์

  • ทรัพยากรธรรมชาติ (ที่ดิน)ได้รับการฟื้นฟู
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
  • พัฒนาการด้านร่างกาย และสมองของเด็กเล็ก
  • สร้างวัฒนธรรมร่วมของทุกภาคส่วนด้านโภชนาการในระดับชุมชน

ผลกระทบ

ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม,สุขอนามัยคน ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและดีขึ้น

กลไกและวิธีการติดตามของชุมชน

  • กำหนดให้มีการประชุมร่วมประจำเดือน (นอกจากการจัดประชุมของแต่ละรายกิจกรรมหรือรายคณะทำงาน )รายงานความก้าวหน้างาน แผนการทำงานในเดือนถัดไป ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข
  • ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม

กลไกและวิธีการประเมินผลของชุมชน

  • แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเมิน
  • กำหนดให้มีวิธีการติดตามประเมินอย่างมีส่วนร่วมของแต่ละรายกิจกรรม