รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-015
งวดที่ 1
แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)
วันที่รายงาน : 30 กันยายน 2556
1. ชื่อโครงการ เทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 56-ข-015 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 เมษายน 2557
3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 พฤษภาคม 2556 ถึงเดือน 30 กันยายน 2556
4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)
กิจกรรม | ผลงาน (ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี) | ผลสรุปที่สำคัญ | ประเมินผล คุณภาพกิจกรรม | |||
---|---|---|---|---|---|---|
4 | 3 | 2 | 1 | |||
1. กิจกรรมโภชนาผู้สูงวัย | วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้โทษและผลกระทบของอาหารรสจัด ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวานความดันโลหิต ลักษณะกิจกรรม-จากการสำรวจ กลุ่มประชากรหมู่ที่ 5 บ้านเขาผี มีพฤติกรรมเสี่ยงของครัวเรือน มากที่สุด คือ ดื่มสุราเป็นประจำ และกินอาหารรสจัด คิดเป็นร้อยละ 14.17รองลงมา คือ สูบบุหรี่เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 12.99 และน้อยที่สุด คือ ขับรถเร็วประมาทและขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัยในสัดส่วนที่เท่ากัน คิดเป็นร้อย 0.39 เท่ากัน ตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบันพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆของประชากร ทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 8.82% รองลงมาคือนักเรียน มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 4.04% และน้อยที่สุดคือ โรคหอบหืด โรคอัมพาต และพิการทางการมองเห็น มีจำนวนอย่างละ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.37% จะเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เป็นผลจากพฤติกรรมการกินที่ชอบกินของมัน ของหวาน และอาหารรสเค็ม รวมทั้งพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ที่ต้องทำงานไม่มีเวลาออกกำลังกาย จึงส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น |
เป้าหมายที่ตั้งไว้จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ความรู้การรับประทานอาหารที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงผลที่เกิดขึ้นแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 2 อาหารควรรู้ คู่ความดันโลหิตสูง
การกินอาหาร ที่มีโซเดียมสูงหรืออาหารที่มีรสเค็มจัด จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค เส้นเลือดในสมองตีบ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะไตเสื่อม โรคหัวใจ และเบาหวานร่วมด้วย
การกินอาหารเข้ามามีบทบาทในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม เช่น ไตปลา ปลาเค็ม ปัญหา/แนวทางแก้ไขแกนนำชุมชน เข้าร่วมน้อย เนื่องจากต้องไปทำงานนอกพื้นที่(รับจ้างแรงงาน) ควรจัดกิจกรรมในวัดหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
2. กิจกรรมลดอาหารขยะในวัยรุ่น | วันที่ 21 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00วัตถุประสงค์รณรงค์และให้ความรู้ภาวะโภชนาการที่ร่างกายต้องการ แต่ละวัน ลักษณะกิจกรรมการจัดเก็บสำรวจข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนชะแล้ตามเกณฑ์ จปฐ.ของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 กำหนดไว้ว่า ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน จากการสำรวจและทำวิจัยพบว่า นักเรียนโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยามีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 44.87 ซึ่งบ่งชี้ถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ให้ความรู้ภาวะโภชนาการพลังงานที่ร่างกายต้องการ ตามประเภทอาหาร แบ่งกระบวนการเรียนรู้ 3 ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 สาธิตการวัดค่า IBM ฐานที่ 2 บทความน่ารู้ ฐานที่ 3 หนังสั้นจูงใจห่วงใยสุขภาพ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้- ให้ความรู้ภาวะโภชนาการพลังงานที่ร่างกายต้องการ ตามประเภทอาหาร - กิจกรรมความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคที่ถูกต้องผลที่เกิดขึ้นการเตรียมความพร้อมด้วยการสันทนาการ สร้างความเป็นกันเอง อธิบายที่ของกิจกรรมตามโครงการหลักฯ แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็นกลุ่มจำนวนเท่าทันกัน เข้าฐานการเรียนรู้
ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 สาธิตการวัดค่า IBM ปัญหา/แนวทางแก้ไข1ระบบเสียง (ขณะแยกกลุ่ม)ไม่สมบูรณ์ ควรใช้โทรโข่ง 2 เสียงรบกวนจากกลุ่มอื่น ควรจัดให้อยู่ห่างกัน ข้อเสนอแนะต่อ สสส.-น่าจะจัดทำสื่อวิดีทัศน์เฉพาะพื้นที่ใช้ตัวแสดงที่เป็นเยาวชนของที่นั้น ๆ ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
3. ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนกำหนดแนวทางการจัดทำธนาคารต้นไม้ | วันที่ 14 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานธนาคารต้นไม้ตำบลชะแล้ ลักษณะกิจกรรม- ชี้แจงการจะจัดตั้งธนาคารต้นไม้ตำบลชะแล้ โดยนายจำลอง บุญเกิด - บรรยายคุณลักษณะป่าชายเลนในพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลาตำบลชะแล้โดย เจ้าหน้าที่ป่าชายเลนที่ 38 สงขลา - การรายงานผลการนำยอดใบโกงกางมาทดลองแปรรูปเป็น ชาโกงกาง ของแกนนำเยาวชนตำบลชะแล้ - ชมภาพยนต์สั้น ความสมบูรณ์ป่าชายเลนในพื้นที่ตำบลชะแล้ (การวางเบ็ดราวในช่วงฤดูน้ำหลาก , การจับปลาดุกทะเลด้วยกระบอกไม้ไผ่ ) - การแบ่งกลุ่มเพื่อคัดเลือกพืชพรรณไม้ส่งเสริมการปลูกเพื่ออาหารและยารักษาโรค - เดินเรียนรู้พืชพรรณไม้ป่าชายเลน การบรรยายโดยแกนนำเยาวชน และจนท.ป่าชายเลนที่ 38 สงขลา |
เป้าหมายที่ตั้งไว้- ชี้แจงการจัดตั้งธนาคารต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวแก่พื้นที่ตำบล การสงวนรักษาพืชพรรณไม้ที่เสี่ยงสูญพันธ์ การเพิ่มจำนวนพืชพรรณไม้ที่มีประโยชน์ คุณค่าทางอาหาร ยารักษาโรค -การคัดเลือกพืชพรรณไม้ที่เหมาะสมในการปลูกในพื้นที่ -การกำหนดการดำเนินกิจการของธนาคารผลที่เกิดขึ้น- การสอบถามถึงธนาคารต้นไม้ในพื้นที่ต่างๆที่เกิดขึ้น ทำความเข้าใจถึงรูปแบบของธนาคารต้นไม้ชะแล้ที่คาดหวังน่าจะเกิดจากความต้องการของคนในพื้นที่โดยมีเป้าหมายในการอนุรักษ์พืชพรรณไม้พื้นถิ่น รวมถึงเมล็ดพันธ์ุที่สำคัญและจำเป็น
- มีการเสนอให้หาแนวทางในการจัดหาเมล็ดพันธ์ข้าว เพื่อบริการสมาชิกหรือชาวบ้านในอนาคต ส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะนอกเหนือภาระกิจและเกินกำลังของคณะทำงาน
- พืชพรรณไม้ที่เหมาะสมในการปลูกอันดับ 1 ต้นมะขาม 2 ต้นขี้เหล็ก(กินได้ แกงได้ ราคาดี ) 3 ต้นตาลโตนด (อนุรักษ์กลัวสูญพันธ์) 3 ต้นจากในพื้นที่ป่าชายเลนเพราะบริโภคลูกได้ 4 พิชพรรณไม้ป่าชายเลนอื่น ๆ ปัญหา/แนวทางแก้ไขเยาวชนมีความรู้ด้านพันธ์ไม้ในพื้นที่น้อย ควรให้ความรู้ ทางด้านคุณสมบัติ พื้นที่ที่เหมาะสม ฯลฯ มากขึ้น ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.สนับสนุนข้อมูลพืชพรรณไม้ที่มีในพื้นที่ป่าชายเลน (ชะแล้มีพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 500 ไร่) ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
4. ชะแล้ ศึกษาและสำรวจพืชพรรณไม้ ที่สำคัญและจำเป็นในการสงวนรักษา(ประเภท คุณสมบัติ จำนวน ที่ตั้ง) บันทึกในระบบสารสนเทศ | วันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เวลา 08:00วัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บบันทึกข้อมูลพืชพรรณไม้สงวนรักษาในระบบสารสนเทศ ลักษณะกิจกรรม-ชี้แจงที่มาของโครงการบูรณาการอาหารฯ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้-ร่วมเรียนรู้ภาพถ่ายทางอากาศบนระบบปฏิบัติการMap window -ศึกษาภาพถ่ายทางอากาศถึงตำแหน่งที่พืชพรรณไม้ที่สำคัญโดยเฉพาะพื้นที่ป่าชายเลน ริมทะเลสาบสงขลา -ศึกษาเรียนรู้คุณสมบัติและความสำคัญของพรรณไม้ -สมาชิกสภาเด็กฯ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำชุมชน ศึกษาและสำรวจพืชพรรณไม้ ที่สำคัญและจำเป็นในการสงวนรักษา(ประเภท คุณสมบัติ จำนวน ที่ตั้ง) -การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศผลที่เกิดขึ้น-เยาวชนสนใจการเรียนรู้ระบบปฏิบัติการ การเรียนรู้คุณสมบัติพืชพรรณไม้ สามารถทดลองบันทึกข้อมูลได้ -การเรียนรู้พืชพรรณไม้ในพื้นที่ป่าชายเลนได้สร้างความกระตือรือล้นการเรียนรู้ -แกนนชุมชน สนใจภาพถ่ายทางอากาศต้องการรู้พื้นที่ป่าชายเลนที่เหลือจริงในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ ปัญหา/แนวทางแก้ไขพื้นที่ป่ากว้าง ใช้เวลามากในการสำรวจ การบันทึกต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ แก้ไขด้วยการประมาณการ และเปรียบเทียบกับภาพถ่ายทางอากาศ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
5. ชะแล้ จัดตั้งธนาคารต้นไม้ | วันที่ 12 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เลือกตั้งคณะทำงานดำเนินการธนาคารต้นไม้ ลักษณะกิจกรรม
|
เป้าหมายที่ตั้งไว้- ชาวบ้าน แกนนำชุมชน สภาเด็ก คัดเลือกผู้จัดการธนาคารต้นไม้ และคณะทำงาน - ร่วมปลูกต้นไม้เนื่องวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2556ผลที่เกิดขึ้น
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
6. ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนเกษตรอิทรีย์ | วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจแนวคิดเกษตรอินทรีย์ ลักษณะกิจกรรม-ชี้แจงที่มาของโครงการบูรณาการฯ ความสำคัญของการประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันที่มีการเพาะปลูกโดยใชสารเคมีในปัจจุบัน |
เป้าหมายที่ตั้งไว้การบรรยายแนวคิดเกษตรอินทรีย์ และสาธิตและร่วมการทำปุ๋ยชีวภาพผลที่เกิดขึ้น-มีแกนนำชุมชน 45 คนเข้าร่วมกิจกรรม
-แกนนำสำนักธรรมนูญ(นายณพงษ์ แสงระวี) ชีแจงการปฎิบัติตามธรรมนูญสุขภาพในหมวดที่ 6การคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภคทุกกลุ่มในตำบลข้อที่ 32 จัดให้มี และร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสำคัญที่มีประโยชน์และมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรวดเร็ว และเป็นปจั จุบันข้อที่ 33 ต้องจัดให้มีคณะกรรมการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคตำบลชะแล้ ภายในปี พ.ศ. 2553 ข้อที่ 35 ให้คณะกรรมการชุดนี้มีภาระหน้าที่ สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์สินค้า อาหารและการบริการและรายงานผลเสียที่กระทบแก่ผู้บริโภคและชุมชนต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และชุมชน หมวดที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียง ข้อที่ 44 ต้องสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบุคคลหรือกลุ่มตัวอย่างด้านผลิตเองใช้เองปลูกเองกินเองอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ข้อที่ 45 สนับสนุนการตลาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของชุมชนคนชะแล้ และ ร่วมกันบริโภค ผลผลิตที่เป็นของชาวชะแล้ ปัญหา/แนวทางแก้ไข-อาคารที่จัดกิจกรรมเปิดโล่ง แสงสว่างมาก การฉายภาพยนต์สั้น หรือการใช้สื่อประกอบการบรรยายมองเห็นไม่ชัด ต้องใช้สื่ออื่น ๆเช่นป้ายไวนิล ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
7. ชะแล้ ประชุมเชิงปฏิบัติการ กำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการประกอบอาหารของชุมชนชะแล้ | วันที่ 6 กันยายน 2556 เวลา 09:00วัตถุประสงค์ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารในพื้นที่ร่วมกำหนดเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยตำบลชะแล้ ลักษณะกิจกรรม-ชี้แจงความเป็นมาของโครงการบูรณาการฯ โดยแกนนำสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้-การชี้แจงความเป็นมาของโครงการฯ -การสร้างความเข้าใจร่วมการแปรรูปอาหารปลอดภัย -บรรยายให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแกนนำชุมชน เกณฑ์ข้อกำหนด มาตรฐานร้านอาหารปลอดภัย -จัดกลุ่มย่อยร่วมกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเพื่อการประกอบอาหารของชุมชนชะแล้ผลที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการจำนวน 35 คน แกนนำชุมชน 5 คน เข้าร่วมกิจกรรม -ผู้ประกอบการรับรู้ที่มาของโครงการภายใต้การขับเคลื่อนของสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ และรับรู้ถึงเกณฑ์มาตรร้านอาหารปลอดภัย เพราะมีการให้ความรู้จากรพสต.จากเดิม -ที่ประชุมเสนอให้มีการรณรงค์ การสร้างแรงจูงใจ หรือจัดประกวดร้านค้าที่ปฎิบัติตามระเบียบ แก่ผู้เข้าร่วม -ที่ประชุมเสนอให้จัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องเพื่อสร้างแรงจูงใจ ในการดำเนินการให้ได้คุณภาพยิ่งขึ้น ปัญหา/แนวทางแก้ไขผู้ประกอบการ(บางราย) ไม่เห็นด้วยเกรงว่าจะถูกกีดกัน คณะทำงานชี้แจง สร้างความเข้าใจเพิ่มเติม ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
8. ชะแล้ ศึกษาและสำรวจเปรียบเทียบมาตรฐานวัตถุดิบในการประกอบอาหารในพื้นที่ตำบลชะแล้ | วันที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 07:00วัตถุประสงค์ร่วมกำหนดเกณฑ์มาตรฐานวัตถุดิบในแนวทางอาหารปลอดภัย ลักษณะกิจกรรม-ลงทะเบียนรวมกลุ่ม ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเชิญประชุมโดย ผอ.รพ.สตชะแล้ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้-ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการฯ -ให้ความรู้มาตรฐานวัตถุดิบในแนวทางอาหารปลอดภัย -จัดตั้งคณะทำงานสำรวจร้านค้าผลที่เกิดขึ้น-ผู้อำนวยการรพสต.ชะแล้ ประธานอสม.และตำบลชะแล้ ร่วมกำหนดแนวทางการสำรวจร้านค้า ปัญหา/แนวทางแก้ไข-อสม.บางคนไม่ทราบภาระกิจที่ตนเองรับผิดชอบ ควรอบรมพัฒนาศักยภาพต่อเนื่อง
-ระยะเวลาอบรมให้ความรู้น้อย ไม่ครอบคลุมเนื้อหามาตรฐานวัตถุดิบแนวทางอาหารปลอดภัย ควรจัดเป้นช่วง ๆ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
9. ชะแล้ สำรวจครัวเรือนที่ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ทั้งพื้นที่ตำบล | วันที่ 29 กันยายน 2556 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทาง เกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ เพื่อทราบจำนวนครัวเรือนที่ปฏิบัติในแนวทางเกษตรอินทรีย์ในตำบลชะแล้ ลักษณะกิจกรรมกำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ ตามธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ หมวดที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียง ข้อที่ ๔๔ ต้องสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมบุคคลหรือกลุ่มตัวอย่างด้านผลิตเองใช้เองปลูกเองกินเองอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ข้อที่ ๔๕ สนับสนุนการตลาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของชุมชนคนชะแล้ และ ร่วมกันบริโภค ผลผลิตที่เป็นของชาวชะแล้ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้-กำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ -กำหนดแบบสำรวจครัวเรือนที่ใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ทั้งพื้นที่ตำบลผลที่เกิดขึ้นการกำหนดเกณฑ์ครัวเรือนเกษตรอินทรีย์ ปัญหา/แนวทางแก้ไขบางคนความเข้าใจเนื้อหาธรรมนูญสุขภาพน้อย แนะนำอธิบายเพิ่มเติม /เผยแพร่ธรรมนูญสุขภาพในวงกว้าง ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)
ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก
5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ
มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน
7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ
สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้
ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)
8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ