คุณสมศรีเป็นผู้บริโภคที่มีความมุ่งมั่นพิทักษ์สิทธิของตนเองและอยากให้กรณีของตนเองเป็นบทเรียนสำหรับผู้บริโภคทั่วไปที่คิดอยากจะซื้อโน๊ตบุ๊คชักเครื่อง เพราะไม่เพียงซื้อด้วยราคาถูกและอ๊อฟชั่นต่างๆที่บริษัทมุ่งส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าแต่ต้องมองไปไกลกระทั่งวันหนึ่งถ้าสินค้าเกิดเสียหายชำรุดขึ้นมาจะซ่อมอย่างไร บริษัทรับประกันสินค้ามากน้อยแค่ไหน ศูนย์บริการลูกค้ามีเพียงพอหรือไม่ วันหนึ่งสินค้าเสียหายชำรุดขึ้นมาจะมั่นใจได้ว่า จะได้รับประกันงานซ่อมหลังการขายที่เป็นธรรม
อย่างเช่นกรณีคุณสมศรี ซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค HP เมื่อนำมาใช้งานได้เกิดความเสียหาย คือ จอทางด้านขวาเอียงและหลวม keyboard ปุ่ม เลื่อนลงด้านล่าง ใช้งานไม่ได้ จำเป็นต้องส่งซ่อมศูนย์บริการ สาขาหาดใหญ่ โน๊ตบุ๊คยังอยู่ในระยะเวลาประกัน 1 ปี เมื่อบริษัทซ่อมเสร็จ ผู้ร้องได้มารับโน๊ตบุ๊คกลับ ปรากฎว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นอีก คือตัวครอบระบายอาการหักไป 3 ซี แต่ต้องรอสั่งสินค้าก่อนให้นำเครื่องกลับไปใช้ก่อนได้ เมื่ออุปกรณ์มาถึงศูนย์บริการได้โทรมาแจ้งเพื่อนำเครื่องไปเปลี่ยนอุปกรณ์ ผู้ร้องได้นำเครื่องไปเปลี่ยนอุปกรณ์ พอกลับถึงบ้านบริษัทโทรมาแจ้งว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นอีกชิ้น ซึ่งบริษัทไม่รับผิดชอบเพราะเป็นการกระทำของผู้ร้อง ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเองประมาณ 4800 บาท ผู้ร้องจึงกลับไปอธิบาย ว่าไม่ได้งัดหรือแกะแต่อย่างไรเพราะสินค้ายังอยู่ในประกันจะงัดทำไมและอีกอย่างคอมพิวเตอร์ก็ประกันงานซ่อม ออนไซร์ เซอร์วิส 3,000 บาท บริษัทจะต้องมาซ่อมถึงบ้านแต่ในกรณีนี้ให้ลูกค้าส่งเครื่องมาซ่อมเองที่ ศูนย์บริการแล้วยังปัดความรับผิดชอบในงานซ่อมอีก ผู้ร้องจึงเดินทางมาร้องเรียนที่ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จังหวัดสงขลา ศูนย์ฯได้ติดต่อประสานงานเพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้น สรุปได้ว่า ศูนย์บริการ HP จะลดค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่ยอมเพราะไม่ใช้ความรับผิดชอบของผู้ร้อง เมื่อเป็นเช่นนั้น ศูนย์ฯ จึงแนะนำผู้ร้องให้ไป ฟ้องร้องเป็นคดีผู้บริโภคโดยไม่จำเป็นต้องใช้ทนายความในการดำเนินคดี เพียงท่านไปที่ศาลเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและความต้องการของผู้ร้องให้เจ้าพนักงานศาลฟังแล้วเจ้าหน้าที่จะบัญทึกเขียนคำฟ้องให้ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลท่านนัดฟังคำตัดสินคดีปรากฏว่าผู้ร้องชนะคดีความ บริษัท HP ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์สินค้าให้กับผู้ร้องใหม่ และต้องมาเปลี่ยนให้ถึงบ้าน
นี่ถือเป็นก้าวใหม่ที่ผู้บริโภคสามารถฟ้องคดีเองได้โดยไม่ต้องใช้ทนายความ ตาม พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และเป็นสิ่งเตือนผู้ประกอบการได้ว่าเมื่อคุณให้บริการต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภค มิเช่นนั้นผู้บริโภคสามารถฟ้องคุณได้ง่ายขึ้นแล้ว