FAQs.

ตะกั่วในปูเค็มนำเข้าจากพม่า

by twoseadj @September,11 2008 18.35 ( IP : 222...211 ) | Tags : FAQs.
photo  , 400x284 pixel , 40,102 bytes.

ปูเค็มหรือปูดอง เป็นอาหารดองเค็มประเภทหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค เนื่องจากนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายประเภท ที่สำคัญคือเป็นส่วนประกอบในการปรุงส้มตำ ปูเค็มที่จำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศพม่า โดยมีช่องทางการนำเข้าทางจังหวัดระนอง ปูเค็มจะถูกบรรจุในปี๊บโลหะดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะปนเปื้อนโลหะตะกั่วเข้าสู่ปูเค็มได้ หากปริมาณที่ปนเปื้อนเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดทำโครงการวิเคราะห์หาสารตะกั่วตกค้างในปูเค็มที่นำเข้าจากประเทศพม่าโดยเขมิกา เหมโลหะ , อัญชลี ฤกษ์ดี , กนกวรรณ เทพเลื่อนซึ่งจะเข้าสู่ประเทศไทยจากทางด่านศุลกากรจังหวัดระนอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่า พบมีปริมาณการปนเปื้อนของตะกั่วในปูเค็ม ระดับตรวจไม่พบ - 0.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนทั้งหมด (กำหนดให้พบสารปนเปื้อนตะกั่วในอาหารได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม) ซึ่งปลอดภัยสำหรับการบริโภค แต่อย่างไรก็ตาม ปูเค็มมีโอกาสการปนเปื้อนสารตะกั่ว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมจากป่าชายเลนริมฝั่งที่มีแหล่งชุมชนอาศัยอยู่ จากโรงงานอุตสาหกรรม หรือจากภาชนะที่บรรจุ จึงควรมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องและศึกษาหาสาเหตุการปนเปื้อนของตะกั่วต่อไป

สำหรับอันตรายจากการได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของตะกั่วปริมาณสูงจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หลายประการ ตะกั่วเป็นสารพิษที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้ จะสะสมอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ หัวใจ สมอง กระเพาะอาหาร ไขกระดูก ไต และบริเวณที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบ แม้ร่างกายได้รับสารตะกั่วในปริมาณเล็กน้อย ก็สามารถถูกสะสมไว้ในร่างกายมากขึ้น จนเป็นอันตรายถึงขั้นรุนแรงในระยะยาวได้

พิษของสารตะกั่วสามารถทำลาย

  1. ระบบประสาทเส้นประสาทส่วนปลายเกิดอาการเป็นอัมพาตที่นิ้วและมือ ทำลายเซลล์สมอง ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  2. ทำลายการทำงานของไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดทำให้ผนังเม็ดเลือดแดงเปราะ ทำลายเนื้อเยื่อที่ผลิตเลือดให้เสื่อมลง ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนเหงือกคล้ำ ปลายมือปลายเท้าเขียว เป็นโรคโลหิตจาง
  3. เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สะสมอยู่ในกระดูกและเม็ดเลือดได้นาน และจะผ่านทางรกเข้าสู่ร่างกาย พิษของสารตะกั่ว จะทำลายสมอง ระบบประสาท ตับ ไต หัวใจ ทางเดินอาหาร

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง