งานวิจัยนี้ ทำการศึกษาเกี่ยวกับตลาดอุตสาหกรรมยาแผนโบราณตามทัศนะของผู้บริโภค โดยมุ่งศึกษาผู้บริโภคยาแผนโบราณที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็นหลัก 2 ประการ คือ พฤติกรรม และทัศนคติต่อส่วนผสมทางการตลาดยาแผนโบราณ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
ผลการวิจัย พบว่า
ผู้บริโภคเคยใช้ยาแผนโบราณในกลุ่มระบบทางเดินอาหารมากเป็นอันดับ 1 และกลุ่มยาระบบตา/หูเป็นอันดับสุดท้าย
เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ผู้บริโภคจะไปใช้บริการที่โรงพยาบาลเอกชน / คลินิกเป็นส่วนใหญ่
– เหตุผลในการเลือกใช้ยาแผนโบราณ เพราะเชื่อถือในคุณภาพมากกว่ายาแผนปัจจุบัน
– ประสบการณ์ในการใช้ยาแผนโบราณส่วนใหญ่ใช้ยาน้อยกว่า 5 ปี
– การใช้ยาแผนโบราณครั้งแรกส่วนใหญ่เป็นเพราะบุคคลใกล้ชิดแนะนำ
– สื่อโฆษณายาแผนโบราณที่พบเห็นมากที่สุด ได้แก่ วิทยุ
– วิธีการซื้อยาแผนโบราณ ทำโดยระบุชื่อยาที่ต้องการซื้อและจะซื้อใช้เป็นครั้งคราวจากร้านขายยา
– เหตุผลในการเลือกสถานที่ซื้อยาแผนโบราณเพราะเชื่อ มั่นในคุณภาพสินค้า ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะทดลองใช้ การเปลี่ยนชื่อยาแผนโบราณผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่า ควรใช้ชื่อ “ยาจากสมุนไพร”
– เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริโภคยาแผนโบราณ ที่มีต่อส่วนผสมทางการตลาดยาแผนโบราณ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ รายได้ และการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมของส่วนผสมทางการตลาดยาแผนโบราณไม่มีความแตกต่างกัน
– เมื่อวิเคราะห์ในรายข้อปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพและศาสนา พบว่า มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน
– ผลการวิจัยปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ พบว่า มีความแตกต่างกัน โดยเพศชายมีความคิดเห็นว่า จะซื้อยาแผนโบราณเฉพาะตรายี่ห้อโฆษณาผ่านทางสื่อต่างๆมากกว่าเพศหญิง
– ปัจจัยด้านอายุ พบว่า กลุ่มอายุระหว่าง 30-40 ปี มีความคิดเห็นว่ายาแผนโบราณมีสรรพคุณเชื่อถือได้น้อยกว่ากลุ่มอายุระหว่าง 20-30 ปี และ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นว่ายาแผนโบราณมีผลการรักษาตามที่โฆษณามากกว่ากลุ่มอายุระหว่าง 40-50 ปี กลุ่มอายุระหว่าง 20-30 ปี มีความคิดเห็นว่า ราคายาแผนโบราณถูกกว่ายาแผนปัจจุบันมากกว่ากลุ่มอายุระหว่าง 40-50 ปี กลุ่มอายุ 20-30 ปี มีความคิดเห็นว่าราคายาแผนโบราณเหมาะสมกับคุณภาพของยาแผนโบราณมากกว่ากลุ่ม ที่มีอายุมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป เห็นความสำคัญของการโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมการขายยาแผน โบราณน้อยกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเชื้อชาติ พบว่า กลุ่มเชื้อชาติไทยมีความคิดเห็นว่าผลการรักษาด้วยยาแผนโบราณมีสรรพคุณตาม ที่แสดงไว้ในฉลาก,มีรูปแบบการบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม, ราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบัน และการส่งเสริมการขายเป็นสิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมการขายยาแผน โบราณามากกว่ากลุ่มเชื้อชาติจีน
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ พบว่า กลุ่มรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001-15,000 บาท มีความคิดเห็นว่า การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญในการส่งเสริมการขายยาแผน โบราณมากกว่ากลุ่มรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท
ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการศึกษา พบว่า กลุ่มปริญญาตรีมีความคิดเห็นว่ายาแผนโบราณมีผลการรักษาโรคตามที่โฆษณา มากกว่ากลุ่มที่สูงกว่าปริญญาตรี, กลุ่มต่ำกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นว่าการรู้จักคนขายยาแผนโบราณเป็นสาเหตุสำคัญในการเลือกซื้อยา แผนโบราณมากกว่ากลุ่มปริญญาตรี, กลุ่ม สูงกว่าปริญญาตรีมีความคิดเห็นว่าการโฆษณาทำให้เกิดความเชื่อมั่นในยาแผน โบราณน้อยกว่ากลุ่มต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรี และกลุ่มปริญญาตรีมีความคิดเห็นว่าการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญ ในการส่งเสริมการขายยาแผนโบราณมากกว่ากลุ่มต่ำกว่าปริญญาตรี
ผู้วิจัย – เสาวนีย์ ปทุมชาติ (2542)
Relate topics
- ตำรับเครื่องแกงภาคใต้
- รายงานผลการสำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนจังหวัดสงขลา
- เครือข่ายผู้หญิงร้องทบทวนฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก-รมช.สธ.ยันจำเป็น
- นัก กม.อินเดีย ยัน ซีแอล ทำให้ยาถูกลง อย่าหลงเชื่อ บ.ยาข้ามชาติ
- งานวิจัย เรื่อง รูปแบบองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น