เรื่องราวของ “รัตนา สัจจเทพ” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “รัตนา บ้านสีดำ” ยังคงอยู่ในใจใครหลายๆ คนมาจนถึงทุกวันนี้
บทบาทนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องความถูกต้องจากการเอารัดเอาเปรียบของข้าราชการขี้ฉ้อ เห็นแก่ผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง มากกว่าการทำหน้าที่โดยยึดหลักความถูกต้องเป็นธรรม ได้ก่อให้เกิดกรณี “บ้านสีดำ” สู่สายตาสาธารณชนในที่สุด กับการต่อสู้มากกว่า 10 ปี โดยที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2535 รัตนา สัจจเทพ ได้ซื้อบ้านทาวเฮ้าส์สองชั้นในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ชื่นสุข วิลล่า ในละแวกสุขาภิบาล 2 มีการโอนบ้านที่ดิน และนำบ้านไปจดจำนองกับธนาคารพาณิชย์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สองปีต่อมา เพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันทำการต่อเติมบ้าน จนบ้านของเธอทรุด แตกร้าวและได้รับความเสียหายเธอจึงร้องเรียนไปยังเขตบึงกุ่มเพื่อขอให้ยุติปัญหาดังกล่าวอย่างสงบ แต่....เรื่องราวกลับขยายลุกลามออกไป เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่ยอมมาดำเนินการให้
ขณะที่เธอก็เดินติดตามเรื่องที่ร้องเรียนอย่างไม่ยอมปล่อย ผลที่ตามมา คือ เธอถูกทางเขตข่มขู่ว่าหากยังไม่หยุดร้องเรียนจะดำเนินการตามกฎหมาย ในฐานะผู้ที่ถูกหลอกซื้อบ้านที่ปลูกสร้างบนที่สาธารณะ ซึ่งต้องเว้นไว้สำหรับการดับเพลิง ตาม พ.ร.บ.ปลูกสร้างอาคาร นอกจากนี้ เขตยังกล่าวหาว่าเธอมาปลูกสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นเองท่ามกลางบ้านทาวเฮ้าส์ที่ใช้โครงสร้างเดียวกันถึง 200 หลังคา เมื่อรู้ว่าบ้านที่ซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรงอย่างถูกต้องชอบธรรมกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แทนที่จะหยุดร้องตามคำขู่ของเจ้าหน้าที่กลับเป็นจุดเริ่มต้นให้ รัตนา สัจจเทพ เดินหน้าร้องเรียนเพื่อเรียกหาความถูกต้อง คุณรัตนา เริ่มต้นร้องเรียนทุกหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
หลายปีที่เธอร้องเรียนแบบไต่ขั้นบันได ตั้งแต่หน่วยราชการระดับล่างสุดไปจนถึงหน่วยราชการระดับสูงที่สุด ตั้งแต่ผู้อำนวยการเขตไปจนถึงระดับนายกรัฐมนตรี แต่ยิ่งร้องเรียนสถานการณ์ก็ยิ่งแย่ลงไป ทั้งที่ความผิดพลาดเกิดจากความบกพร่องในการควบคุมและตรวจสอบอาคารของเจ้าหน้าที่ ที่ปล่อยให้ผู้ประกอบการสร้างบ้านหลังนี้ขึ้นโดนเจตนาจะฝ่าฝืนกฎหมาย แต่เขตกลับมีคำสั่งให้เปลี่ยนเลขที่บ้าน และรื้อถอนอาคารที่นางรัตนาซื้อมาด้วยเงินสุจริต สถานะภาพของนาง จึงไม่ต่างอะไรไปจากคนเถื่อน ไม่มีบ้าน และถูกละเมิดสิทธิความเป็นบุคคล จนกระทั่งล่าสุด รัตนา ได้ ตัดสินใจที่จะทาบ้านเป็นสีดำ หลังจากที่ทาบ้านสีดำแล้วการร้องเรียนของคุณ รัตนา กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่ง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งใหม่ รับปากผ่านสื่อสาธารณะต่างๆ ว่าจะเข้ามาดูแลดำเนินการ โดยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีการทุจริตของข้าราชการ กทม. ขึ้นตามที่นางรัตนาได้ร้องขอ ดูเหมือนว่าในขณะนั้นเรื่องราวกำลังจะคลี่คลายไปในทางที่ดีและแสงแห่งความหวังได้ส่องจับมาที่นางรัตนาอีกครั้งหนึ่ง แต่แล้ว........ความหวังที่จะได้เห็นความถูกต้อง และได้รับความเป็นธรรมก็ดับวูบลงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ ผลของการสอบสวนของคณะกรรมการระบุออกมาว่า ไม่พบมูลว่ามีการกระทำใด ๆ ที่บ่งบอกว่า เป็นการกระทำโดยทุจริตของเจ้าหน้าที่ และนี่คือฟางเส้นสุดท้าย ที่ทำให้รัตนา สัจจเทพ ตัดสินใจหอบลูก จูงหลาน ย้ายออกจากบ้านสีดำ มาอยู่ที่ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จากคนที่เคยมีบ้าน ก็ได้กลายมาเป็นครอบครัวข้างถนนโดยสมบูรณ์ การปักหลักอยู่ที่เต็นท์ซึ่งเป็น ที่พักชั่วคราว แน่นอนว่า มันไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ที่ที่ใครปรารถนาจะมาปักหลักใช้ชีวิตอยู่บนพื้นที่สาธารณะ
ภาพสุดท้ายที่ประชาชนยังจำ “รัตนา” และครอบครัวของเธอได้ติดตา คือปลายปี2548 ที่เธอพาครอบครัวมาปักหลักกิน-นอนที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้ทางการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และเร่งให้ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบให้ช่วยเหลือ-เยียวยาชดเชยความเดือดร้อนให้เธอและครอบครัว
หลังใช้ชีวิตกิน-นอน ลำบากลำบนอยู่บนลานคนเมืองราว 4 เดือน ประจานข้าราชการที่กระทำประชาชน ที่สุดเธอได้รับการชดใช้-ชดเชยค่าเสียหายจากทางกรุงเทพมหานครเป็นเงิน 12 ล้านบาทเพื่อจัดหาบ้านใหม่ พร้อมกับระบุจะรื้อคดีความที่เกือบจะหายเข้ากลีบเมฆขึ้นมาใหม่ ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับเธอและครอบครัว รวมถึงประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ติดตามข่าวนี้ชนิดตาไม่กะพริบ
จวบจนถึงวันนี้ ข่าวคราวของเธอเงียบหายไป หลายคนอาจคิดว่าเรื่องราว-คดีความของเธอน่าจะจบลงด้วยดี
แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่...
*********************************************
7 ก.พ.51 “สยามรัฐ” ได้พบกับเธออีกครั้ง
ตราบถึงวันนี้ เธอยังไม่มี “บ้าน” เป็นของตัวเอง หากแต่ยังต้องอาศัยคอนโดฯของผู้มีเมตตาซึ่งเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารและเรื่องราวของเธออนุเคราะห์ให้เข้าอยู่โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
แต่ละเดือนเธอจะเสียเพียงค่าน้ำค่าไฟและค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางเท่านั้น โดยอยู่ที่นี่มากว่า 2 ปีแล้ว พร้อมกับสัมภาระที่จำเป็นซึ่งขนมาจากบ้านสีดำที่มีเพียงเสื้อผ้าและถ้วยชามเท่านั้น
เธอเล่าว่า หลังจากเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ที่เธอและครอบครัวได้ย้ายออกมาจากลานคนเมืองเนื่องด้วยเหตุผลที่ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.ได้ออกมายอมรับว่ามีผู้กระทำความผิดในเรื่องนี้จริง และให้ยินดีให้การช่วยเหลือเยียวยาเรื่องที่อยู่อาศัย
แต่ในความเป็นจริง 2 ปีที่ผ่านมาเธอและครอบครัวยังคงหาซื้อหรือหาเช่าบ้านไม่ได้แม้แต่หลังเดียว ซึ่งเรื่องนี้เธอได้เคยพิสูจน์ความจริงด้วยการให้ผู้สื่อข่าวแฝงตัวเข้าไปด้วยเพื่อเป็นประจักษ์พยาน จนที่สุดมีการฟ้องร้องต่อสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค แต่ด้วยอายุความที่ยาวนานถึง 10 ปี เธอจึงยังไม่ได้บ้าน
“เราต้องรู้ว่าทุกวันนี้ไม่มีหมู่บ้านไหนที่ไม่ต่อเติม ซึ่งทำให้ไม่มีใครอยากให้พี่ไปอยู่อาศัยหรือไปอยู่ใกล้ๆ เพราะกลัวว่าถ้าเราเข้าไปอยู่แล้วเขตมาแจ้งความเขาขึ้นมาก็จะเดือดร้อนกันไปหมด ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเขาทำผิดกฎหมาย แต่พี่ไม่ได้ทำและพี่ไม่เคยทำ
ที่ข้องใจตอนนี้ก็คือโครงการต่างๆ ที่พี่ไปซื้อว่าท่านมีความผิดปกติอะไรจึงไม่ขายให้เรา ซึ่งก็ต้องไปมองหาหลักฐานว่ามันเพราะอะไร และผู้ที่เสียหายจากเรื่องนี้ก็ไม่ใช่พี่ แต่เป็นแผ่นดินที่เสียหาย ทำไมคนไทยถือบัตรประชาชนไทยถึงซื้อบ้านไม่ได้ คนต่างด้าวยังซื้อได้เลย ตกลงพี่เป็นคนผิดปกติหรือ คนที่อยู่อย่างถูกกฏหมายเป็นคนผิดปกติหรือ”
สิ่งที่น่าตกใจต่อมาคือเรื่องลูกสาวอันเป็นที่รักยิ่งของเธอ ที่ถึงแม้จะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยชื่อดังและเป็นที่ยอมรับทั่วโลกอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล
กลับหางานทำไม่ได้
เพียงเพราะเธอเป็นลูกของ “รัตนา บ้านสีดำ”
เธอจึงต้องมาเปิดกิจการจิวเวลรีเพื่อให้เป็นอาชีพของเธอและลูกอย่างที่เห็น เพื่อให้ครอบครัวยืนอยู่ได้ด้วยขาของตัวเอง หลังจากที่ลูกสาวคนกลางได้ไปสมัครงานมาแล้วหลายที่แต่ถูกปฏิเสธพร้อมคำเหน็บแนมถึงบุพการี
****************************************
สิ่งสุดท้ายที่เธอตั้งใจจะทำหลังจากนี้คือเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าจะยังไม่จบ นั่นก็คือเรื่องการฟ้องร้องหาตัวคนผิดและการชดใช้ในคดีบ้านสีดำ ที่ขณะนี้อยู่กับปปช. แต่ไร้ความคืบหน้าและรอให้เรื่องถูกตีตกไปในที่สุด
ดังนั้น กระบวนการฟ้องร้องสุดท้ายที่เหลืออยู่ตอนนี้คือ
การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ...
ทั้งนี้ ที่ผ่านมายังไม่มีใครหรือหน่วยงานใดดำเนินการหาตัวคนผิดในกรณีบ้านสีดำมาลงโทษและเรื่องถูกปล่อยให้ค่อยๆ เลือนหายไปจากความทรงจำของประชาชน เหมือนกับอีกหลายๆ คดี
ถึงแม้เธอจะยืนยันว่าไม่ได้คาดหวังให้ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง แต่จะขอทำหน้าที่ของคนไทยให้ถึงที่สุดจนกว่าจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป ขณะเดียวกันก็ทำใจยอมรับว่าชีวิตจะสุ่มเสี่ยงต่อความเป็นความตายและภยันตรายมากกว่านี้อีกแน่นอน
“ที่ผ่านมาสิ่งที่ภูมิใจและมีความสุขคือการได้ตีแผ่เรื่องราวหรือฟ้องประชาชนคนทั้งชาติได้ว่าเราไม่ได้สู้กับใครเพื่อประโยชน์ของเราคนเดียว แต่เราสู้กับความฉ้อฉลของระบบ เราจับทุจริตได้ แต่คนผิดกลับไม่มีแม้แต่คนเดียว ทั้งๆ ที่รู้กันอยู่ คนที่มีหน้าที่สอบสวนก็ไม่ทำ ไม่นำกติกามาใช้”
ถึงตอนนี้คดีความเรื่องบ้านสีดำยังไม่จบ โฉนดที่ดินยังอยู่ในมือคุณรัตนาแม้ว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์จะตกปากรับคำว่าจะนำเรื่องไปเป็นกรณีศึกษา และจะชงเรื่องเข้าปปช. แต่กว่า 2 ปีภายหลังจากที่คุณรัตนาย้ายออกมาจากลานคนเมือง เธอยังไม่ได้รับการติดต่อจากกทม.แม้แต่ครั้งเดียว
และถึงแม้ผู้ว่าฯ จะออกมารับผิดในเรื่องนี้ แต่ 2 ปีที่ผ่านมาก็ยังไม่มีสักครั้งเดียว ที่ผู้ว่าฯ กทม.จะเดินทางไปให้ถ้อยคำที่ปปช.เกี่ยวกับคดีนี้แม้จะเป็นประเด็นสาธารณะ มีเพียงหนังสือแจ้งเข้ามาว่าจะไต่สวนให้ประเด็นนี้ตกไป! จบด้วยการที่ไม่มีคนผิดเลยแม้แต่คนเดียว ทั้งๆ ที่ได้ให้เงินเยียวยามาแล้วเป็นการยืนยันความผิดเป็นจำนวน 12 ล้านบาทก็ตาม
ไม่รวมถึงกรณีข่มขู่-ประทุษร้ายที่เธอต้องเผชิญจนกลายเป็นเรื่องปกติสามัญไปแล้ว เช่นเมื่อครั้งที่เธอถูกขับรถชนเมื่อปีกลาย กับความเร็วรถที่พุ่งเข้ามากว่า 100 กม.ต่อชั่วโมง โดยที่คู่กรณีอ้างแค่เพียงว่า เบรกแตกในระยะกระชั้นชิด และเสียงข่มขู่คุกคามจากสายโทรศัพท์ที่ยังคงมีเข้ามาจนถึงทุกวันนี้
รัตนาเล่าว่า ก้าวสุดท้ายของเธอที่จะสามารถทำได้ในวันนี้ คือการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดกระบวนการร้องเรียน และจะหันมาจับปากกาเขียนหนังสือถ่ายทอดเรื่องราวของเธอเอาไว้ให้คนรุ่นหลัง โดยเฉพาะนักกฎหมายและนักเรียนกฎหมายให้ได้ศึกษาเรื่องราวของเธอและเกิดแรงกระเพื่อมของจริยธรรมทางกฎหมายที่ดีต่อไปในอนาคต
“เพื่อให้รู้ว่า จะอยู่กันอย่างนี้ให้สังคมเป็นแบบนี้ต่อไป หรือจะแก้ไขให้มันดีกว่านี้...” เธอกล่าวทิ้งท้าย
อ้างอิงจาก http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=62&nid=6951
http://www.mthai.com/webboard/5/145806.html
ความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า
คุณรัตนาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิในชีวิต สิทธิในร่างกาย การที่เธอโดนรถชน ถือเป็นการละเมิดสิทธิในร่างกาย ทำให้เธอได้รับบาดเจ็บ และการที่มีโทรศัพท์มาข่มขู่ ทำให้การดำเนินชีวิตของเธอต้องอยู่ด้วยความระมัดระวังตลอดเวลา สิทธิในทรัพย์สินซึ่งบ้านของเธอนั้น เธอซื้อมาโดยสุจริตเมื่อมีการต่อเติมบ้านของเพื่อนบ้าน ทำให้บ้านของเธอชำรุดเสียหายขึ้นซึ่งเธอมีสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้ใครมาทำลาย เธอจึงมีสิทธิเรียกร้องไม่ให้กระทำการนั้นอีก และการที่เจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าเธอทำผิดกฎหมาย การที่บริษัทขายบ้านไม่ยอมขายบ้านให้เธอเพราะเหตุว่ากลัวเธอจะไปฟ้องร้อง ถือเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมการที่ลูกสาวไม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าทำงาน ซ้ำยังหน็บแนมบุพการี ก็เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข้าพเจ้าไม่เข้าใจจริงๆว่าเกิดอะไรขึ้นกับสังคม สังคมไทยอยู่รอดด้วยการให้ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่เหตุการณ์นี้มันขัดแย้งโดยสิ้นเชิง
กรณีของคุณรัตนาเป็นกรณีที่สังคมต้องช่วยกันติดตาม อย่าให้เรื่องนี้หายเข้าไปในกลีบเมฆ การต่อสู้ของคุณรัตนาไม่ได้เพียงเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของตนเองที่ถูกละเมิดเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการต่อสู้ของภาคประชาชนต่ออำนาจของรัฐ หากปล่อยให้กรณีของคุณรัตนาจบลงแค่การได้เงินชดเชย12ล้านแล้วเรื่องก็จบกันไปก็เป็นสิ่งที่น่าเศร้าสำหรับสังคมไทย เพราะหากยังหาผู้กระทำความผิดไม่ได้ก็ไม่รู้ว่าจะมีคนอีกเท่าไรที่ต้องถูกละเมิดสิทธิ ทั้งๆที่เขาพึงมีพึงได้โดยสุจริต ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรผิด แล้วรัฐโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ให้ความคุ้มครองช่วยเหลือกลับไปละเมิด แล้วต่อไปประชาชนจะหันไปพึ่งใครได้อีก หวังว่าความยุติธรรมจะยังคงมีเหลืออยู่ในสังคมไทย
กรณีของ นางรัตนา สัจจเทพ เจ้าของบ้านสีดำ หรือยายไฮ คนทุบเขื่อน ซึ่งแม้ว่าจะได้รับชัยชนะจากการต่อสู้ แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจากคนอีกส่วนหนึ่ง จนเกิดเป็นคำถามว่า นี่หรือคือ บำเหน็จชีวิต ของ ผู้ที่ต่อสู้ เพื่อ ความเป็นธรรม ควรจะได้รับ
นางรัตนา ระบายความทุกข์ของเธอให้ฟังว่า หลังจากอพยพครอบครัวไปปักหลักกินนอนหน้าศาลาว่าการ กทม.มาแรมเดือนจนได้รับชัยชนะ แต่หลังจากนั้น 1 ปีผ่านไป ชีวิตของครอบครัวสัจจเทพก็ยังต้องทนทุกข์อยู่ต่อไป เพราะไม่สามารถหาที่อยู่ใหม่ได้ เนื่องจากถูกเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรรกว่า 4-5 โครงการปฏิเสธไม่ขายบ้านให้มาโดยตลอด ล่าสุด ได้เกิดคดีความกับเจ้าของโครงการบ้านจัดสรรรายหนึ่ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เรียกให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจากันหลายครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ
“สาเหตุที่เขาไม่ยอมขายบ้านให้เพราะกลัวว่าเราจะไปสร้างปัญหา เขาบอกว่าทั้งเกลียดทั้งกลัวเรา ทั้งๆ ที่เราก็เป็นคนไทย สัญชาติไทย มีบัตรประชาชนไทย แต่ทำไมถึงซื้อบ้านไม่ได้ ถ้าเขาบริสุทธิ์ใจหรือไม่ทุจริต ทำไมต้องมาเกลียดเราขนาดนี้ สิ่งที่เราต่อสู้เพื่อสิทธิของตัวเองมาตลอด 10 กว่าปี มันผิดด้วยหรือ” นางรัตนา ตัดพ้อ
เธอบอกอีกว่า ขอเรียกร้อง สคบ.ให้ความเป็นธรรมต่อเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดก่อนที่จะบานปลาย เพราะข้อเท็จจริงต่างๆ ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าบริษัทเอกชนเป็นฝ่ายละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ฉะนั้น สคบ.ควรจัดทำบันทึกหลักฐานไว้และเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อเป็นบรรทัดฐานไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก ส่วนโครงการบ้านจัดสรรก็ต้องรื้อป้ายโฆษณาขายบ้านออก รัตนา เผยให้ฟังว่า ทุกวันนี้เธอกลายเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจในสายตาของผู้ประกอบการไปแล้ว รวมทั้งคนในสังคมจำนวนหนึ่งก็ไม่ไว้วางใจ และยังถูกข่มขู่คุกคามอยู่ตลอด โดยที่ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตแม้แต่น้อย “คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าชีวิตของครอบครัวรัตนาคงสุขสบายดีแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่ ทุกวันนี้เวลาไปติดต่อหน่วยงานราชการหรือเอกชนก็ยังถูกมองด้วยความรังเกียจ เวลาเดินตามถนนก็ตกเป็นเป้านิ่งในที่สว่าง ไม่รู้ว่าจะถูกยิงตายเมื่อไหร่ สงสารก็แต่ลูกๆ ที่ต้องถูกกดดันจากที่ทำงาน ไปไหนก็มีแต่คนเกลียด เหมือนตายทั้งเป็น” เธอเล่าด้วยเสียงสั่นเครือ รัตนา บอกด้วยว่า หลังจากได้รับชัยชนะในคดีบ้านสีดำ ทำให้เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ของ นักสู้เพื่อสิทธิผู้บริโภค และมีชาวบ้านที่เดือดร้อนมาขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ รวมถึงกรณีข้อพิพาทเรื่องที่ดินมูลนิธิวัดสวนแก้วของพระพยอม กัลยาโณ เธอก็เป็นคนแรกๆ ที่ออกมาร่วมต่อสู้และให้กำลังใจพระพยอม
“เราทอดทิ้งชาวบ้านที่เดือดร้อนไม่ได้ อะไรที่ช่วยได้ก็ต้องช่วย แต่ทำไมสังคมถึงโหดร้ายกับครอบครัวเรานัก นี่หรือคือผลพวงของการทำความดี ถ้าวันหนึ่งเราต้องมาตายฟรีเหมือนทนายสมชาย จะมีใครมาเหลียวแลบ้าง” สุนี ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ความเห็นว่า จากที่ได้สัมผัสกับปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนในหลายกรณีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น สิทธิของผู้บริโภค สิทธิชุมชน จะพบว่ามีปัญหาที่คล้ายกันแทบทุกมิติ โดยการต่อสู้ในทุกกรณีล้วนต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเอง และต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ยากลำบากกว่ากรณีของนางรัตนาหลายเท่า นักต่อสู้หลายคนต้องถูกจับกุมและเสียชีวิตไปเป็นจำนวนไม่น้อย ขณะที่กลไกของรัฐมักวางเฉยและปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
การต่อสู้ของนางรัตนาหรือยายไฮที่โด่งดังไปทั่วประเทศ ถึงที่สุดแล้วก็จะพบว่ามีคนที่ไม่พอใจอยู่จำนวนหนึ่ง เพราะปมปัญหาเรื่องสิทธิมักมี คู่ขัดแย้ง 2 ขั้วเสมอ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ กลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ หรือขัดแย้งกับกฎหมาย ทำให้ฝ่ายหนึ่งเกิดความไม่พอใจหรือเสียประโยชน์จนต้องออกมาขัดขวางตีรวน กระทั่งทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนแปลกแยกไปจากชุมชน
อาจารย์สุนี กล่าวอีกว่า ถึงแม้ยายไฮจะได้รับชัยชนะ แต่คนในชุมชนจำนวนไม่น้อยก็ไม่พอใจ ส่วนกลุ่มที่เสียประโยชน์ก็กลัวว่าคนอื่นจะเอาเยี่ยงอย่าง เพราะการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนมีอยู่หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นชุม
Relate topics
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแผนการส่งเสริมการอ่าน กลุ่มระบัดใบ
- การประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวตกรรม ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความมั่นคงอาหารจังหวัดสงขลา
- น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา"การตั้งราคา 3 จีมีเงื่อนงำ" "ผู้ประมูลฉลาดกว่า กสทช."
- สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคโดดร่วมฟ้องล้ม 3G
- อันตราย! สินค้าหลอกลวงเกลื่อนเมือง สื่อดาวเทียมตัวแพร่ระบาด