รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 57-ข-011
งวดที่ 1
แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)
ชื่อโครงการ รูปแบบความมั่นคงทางอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์
กิจกรรม | ผลงาน (ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี) | ผลสรุปที่สำคัญ | ประเมินผล คุณภาพกิจกรรม | |||
---|---|---|---|---|---|---|
4 | 3 | 2 | 1 | |||
หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 | วันที่ 18 กันยายน 2557 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำนำพี่เลี้ยงจาก สจรส.เยี่ยมชมแปลงในพื้นที่และ เล่าประสบการณ์และการวางแผนงานโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องในระยะปีที่ 2 |
ได้แผนงานโครงการที่จะเตรียมดำเนินการในปี 2557 เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรแบบพอเพียงขึ้น ปัญหา/แนวทางแก้ไข-ปรับแผนงานเพื่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณนา สุวรรณชาตรี |
||||
คณะทำงานหารือร่วมกันกับพี่เลี้ยงจาก สจรส. เพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมต่างๆให้เป็นไปตามแผน | วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีแกนนำเข้าร่วมจำนวน 6 คนเพื่อร่วมกันปรับแผนงานให้มีความสอดคล้องกับวุตถุประสงค์ให้มากขึ้นได้มีการ หารือร่วมกันกับพี่เลี้ยงเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของแผนโครงการและร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชนพร้อมกับเตรียมให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน |
-พื้นที่ได้มีการสำรวจวัว ของแต่ละครัวเรือน -พื้นที่มีการวางแผนกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร ปัญหา/แนวทางแก้ไขมอบหมายให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
สร้างความเข้าใจกับชุมชน | วันที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00-12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีการตั้งวงคุยเพื่อทำความเข้าใจในการทำโครงการ มีการทบทวนการทำโครงการตั้งแต่ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีผู้เข้าร่วมที่ทำไร่นาสวนผสมจำนวน 32 คนและได้มีการร่วมคิดร่วมออกแบบการทำกิจกรรมร่วมกันโดยเริ่มต้นจากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ตามแผนงานกิจกรรมที่ได้วางไว้ |
มีครอบครัวที่ทำไร่นาสวนผสมสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 8 ครัวเรือนและรับอาสาในการกระจายข่าวสู่ครัวเรือนอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมในวันนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ในการเข้าร่วมโครงการเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีสามารถสร้างมั่นคงทั้งทางด้านอาหารและเศรษฐกิจให้กับครอบครัวทุกคนได้ มีครัวเรือนบางส่วนที่ขอเวลาปรึกษาคนในครอบครัวก่อนและมีผู้อาสาร่วมในการสำรวจข้อมูลตามที่ได้วางไว้ ปัญหา/แนวทางแก้ไขเตรียมเก็บข้อมูลรายละเอียดของไร่นาสวนผสมและแผนที่แปลง ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ทำความเข้าใจเครื่องมือประเมินตนเอง | วันที่ 28 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00-12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน 4 คนและพี่เลี้ยงจาก สจรส 2 คนเนื่องจากมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันในการประสานงานครัวเรือนแกนนำเป้าหมายจึงไม่ได้ตามเป้าหมายจึงมีการนัดหมายกันใหม่ในครั้งต่อไป การพูดคุยในวันนี้จึงได้แค่การแลกเปลี่ยนเรื่องสวนของคุณประสิทธ์ |
•นัดวันเพื่อให้ทีมอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลมาพบกับครัวเรือนต้นแบบ เพื่อสอนการใช้เครื่องมือประเมินตนเอง และเพื่อปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือให้ใช้ง่ายและเหมาะกับพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรชาตรี |
||||
ประชุมครัวเรือนต้นแบบเพื่อรับสมัครผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ | วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-12.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำเริ่มเวลา 9.00 น.มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คนทั้งแกนนำชาวนาและคนที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมรับฟัง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกเทศบาล คุณอัษฎา บุษบงค์ได้ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการทำโครงการ และให้ความเห็นว่าที่ผ่านๆมาพวกเราทำนาหรืออะไรก็แล้วแต่ไม่ค่อยมีการเก็บข้อมูลหรือมีการถอดบทเรียนการทำงานทั้งๆทีทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก น่าจะได้นำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้คนอื่นๆได้รู้บ้างเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน คุณโกวิทย์ ทะลิทอง กำนันตำบลเชิงแส ก็ได้ร่วมให้ความคิดเห็น เห็นด้วยกับคุณอัษฎา เพราะคนบ้านเรายังขาดการจัดการที่ดีในหลายๆเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการทำอาชีพซึงเป็นรายได้หลักของทุกๆคนเป็นเรื่องปากท้องของทุกคน ถ้าหากสามารถนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ร่วมจัดการร่วมกันก็จะดีกว่าต่างคนต่างทำโดยเฉพาะเรื่องของเมล็ดพันธ์ก็ได้ปรึกษากับคณะทำงานโครงการเพื่อให้มีธนาคารเมล็ดพันธ์ในชุมชนของเรา เพราในแต่ละปีตำบลเราต้องซื้อเมล็ดพันธ์ข้าวจากข้างนอกปีละประมาณเกือบ 4 ล้านถ้าสมารถทำได้เงินส่วนนี้จะได้หมุนเวียนในตำบลของเรา ซึงเห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ชุมชนของเราต้องจัดการ ส่วนถ้าใครมีปัญหาในเรื่องอะไรก็จะได้พูดคุยในรายละเอียดกันต่อไปเป็นเรื่องที่พวกเราต้องคุยกันต่อ ซึงในเวทีวันนี้ได้ผู้สมัครใจจำนวน 10 รายที่พร้อมจะเข้าร่วมในกิจกรรมโครงการ |
ได้ผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการและมีเรื่องพูดคุยกันต่อของแกนนำในการจัดการผลผลิตร่วมกันและแนวทางเพื่อให้มีการจัดการเรื่องให้มีธนาคารเมล็ดพันธ์ในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
พัฒนาเครื่องมือประเมินตนเอง | วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 - 12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 16 คน จากครัวเรือนแกนนำ 13 ครัวเรือน คุณสุวรรณนา สุวรรณชาตรี และคุณโชติรส ศรีระสันต์ ตัวแทนจาก สจรส.ได้มีการนำแผนงานหลักๆของตำบลเชิงแสมาดูร่วมกันและนำเครื่องมือที่คุณวรรณานำมาซึ่งหลานคนในเวทีมีความเห็นร่วมกันว่าน่จะปรับใหม่เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูลในการนำมาประเมินตนเองโดยปรับให้สอดคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนต้นแบบเพื่อประเมินตนเองและนำมาเป็นข้อมูลเบื้องตน้นในการพัฒนาและการจัดการตนเองอย่างเป้นระบบในการจัดการความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือน และในเวทีได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของตนเอง มีการกำหนดปฏิทินเพื่อจัดเก็บข้อมูลในเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในเดือน มกราคม 2558 และมีการนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 ธันวาคมเพื่อนำเครื่องมือที่ปรับมาดูร่วมกันรวมทั้งวิธีการบันทึกข้อมูลการทำบัญชีครัวเรือนโดยการลงบันทึกในแปลงจริง และมีการนัดเพื่อไปศึกษาดูงานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีระบบฉบับครัวเรือน ณ.บ้านหนำควาย อ.เมือง จ.ตรัง ในวันที่ 28 พ.ย. 57 |
ได้ปรับเครื่องมือประเมินตนเองให้มีเนื้อหาที่สะดวกในการเก็บข้อมูลระดับครัวเรือน 2.เครื่องมือประเมินตนเองที่ปรับ เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับบัญชีครัวเรือน 3.ได้ปฏิทินการทำงานของพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไขศึกษาดูงานเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ช่วยปรับเครื่องมือการประเมินตนเอง ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณสุวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
ศึกษาดูงานเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ | วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 เวลา 07:00-17.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีครัวเรือนแกนนำเข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 9 ครัวเรือนเพื่อศึกษางานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นมีระบบฉบับครัวเรือนเพื่อนำมาปรับใช้ของครัวเรือนต้นแบบ |
ครัวเรือนแกนนำได้ความรู้ในการจัดการครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่น วิธีการปลูกผักชนิดต่างๆ การทำนำ้หมัก การทำหัวเชื้อ อีเอ็ม ฯลฯ ปัญหา/แนวทางแก้ไขนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติการจริงและขยายผลต่อในพื้นที่ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมทำความเข้าใจแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล | วันที่ 7 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คนและเจ้าหน้าที่จาก สจรส. จำนวน 2 คน ได้มีการนำแบบฟอร์มซึ่งผ่านการปรับมาแล้ว 2 ครั้งมาฝึกลงข้อมูลเพื่อจะได้มีความเข้าใจตรงกัน ปรากฏว่าในการลงข้อมูลจริงค่อนข้างจะยุ่งยากพอสมควรเพราะข้อมูลมีความละเอียดมากในเรื่องตัวเลข แต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือและพร้อมที่จะนำไปบันทึกต่อโดยโดยมีการแบ่งแบบฟอร์มเป็น 2 ชุด ครึ่งเดือนแรกและครึ่งเดือนหลัง บันทึกเป็นรายวัน หลังจากนั้นก็จะนำข้อมูลที่ได้เพื่อนำมาประมวลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาต่อไป ซึ่งจะมีการนัดกันอีกทีในครั้งต่อไป |
สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อนำไปบันทึกด้วยตัวเองที่บ้าน ปัญหา/แนวทางแก้ไขต้องมีการทำบัญชีครัวเรือนควบคู่ไปด้วย ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
ติดตามการบันทึกข้อมูลการประเมินตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ | วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำในการปฏิบัติจริงผู้เข้าร่วมโครงการค่อนข้างมีความลำบากในการลงบันทึกข้อมูลเนื่องจากข้อมูลค่อนข้างมีความละเอียดและหลากหลายมากประกอบกับผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งส่วนใหญค่อนข้างอายุมากมีปัญหาในการอ่าน ในเรื่องของสายตาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการบันทึกใหม่โดยให้ทุกคนบันทึกเฉพาะการรับจ่ายของตนเองลงสมุดและให็ผู้รับผิดชอบโครงการจัดการลงในแบบฟอร์มให้ |
สมาชึกผู้เข้าร่วมโครงการไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้สมบูรณ์ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
จัดงานเทศกาลอาหารปลอดภัยเชิงแส | วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน 158 คน ประกอบด้วยทั้ง นายอำเภอกระแสสินธ์ กำนัน ผู้ใหญบ้านตำบลเชิงแส เจ้าคณะอำเภอกระแสสินธ์ุ นักวิชาการจาก ม.อ.หาดใหญ่ แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. มีการแบ่งเวทีเป็นกลุ่มย่อย ทำกิจกรรมไปพร้อมกันทั้งการเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือดโดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลกระแสสินธ์ และขณะเดียวกันอีกกิจกรรมก็เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และสาธิตการทำปุ๋ยหมักพร้อมทั้งแนะนำวิธีการใชีที่ถูกต้อง โดยอาจารย์วิรัตน์ กาญจนพรหม อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรกรรมตรังซึ่งเป็นเจ้าของศนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำความ จ.ตรัง และมีการร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นอาหารอาหารปลอดภัยเชิงแส ทั้งจากท่านนายอำเภอกระแสสินธ์ นักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เข้าร่วมในเวทีโดยมีประเด็นหลักๆที่ได้ คือทุกภาคีที่เข้าร่วมจับมือร่วมกันเพื่อขยายการทำเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยเพื่อความมั้นคงทางอาหาร ในช่วงเย็นร่วมรับประทานอาหารร่วมกันพร้อมกับชมดนตรี |
เกิดความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด ชุมชน ท้องที่ ในการจับมือร่วมกันเพื่อขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์และอหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ส่งรายงานการเงินงวดที่ 1 | วันที่ 2 มีนาคม 2558 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำส่งรายงานการเงินงวดที่ 1 |
จัดทำและส่งรายงานการเงินงวดที่ 1 ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
ประชุมครัวเรือนต้นแบบ | วันที่ 20 มีนาคม 2558 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน 10 คนโดยใช้พื้นที่ของสวนคุณประสิทธ์ บุญมณีเป็นสถานที่พูดคุยมีการนำข้อมูลบัญชีครัวเรือนที่ทุกคนได้ลงบัญทึกไว้มาวิเคราะห์ร่วมกันซึ่งรายได้หลักของทุกคนอยู่ที่การทำนาและมีรายได้เสริมจากทั้งการหาปลา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์(ไก่ เป็ด ปลา วัว)และมีรายจ่ายหลักๆในเรื่องของ ปุ๋ย ค่าอาหาร ค่านำ้มัน |
-ได้เรียนรู้ข้อมูลรายรับ-รายจ่ายที่ได้จากการทำไร่นาสวนผสมของสมาชิก -นำข้อมูลที่ได้เพื่อเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา - ปรับปรุง ต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ลงเยี่ยมแปลงสมาชิก | วันที่ 23 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำนัดพร้อมกันที่สวนคุณประสิทธ์เวลา 9.00 น.ลงเยี่ยมแปลงไร่นาสวนผสมของสมาชิกจำนวน 7 แปลงคือ ของประสิทธ์ คุณสมปอง คุณโชค คุณสุทิน คุณแช่ม คุณจรูญ และคุณจรัญเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในแต่ละแปลงเพื่อเติมเต็มการทำงานโดยสภาพทั่วไปที่เจอในแต่ละแปลงเนื่องจากฝนทิ้งช่วงนานทำให้พืชผักตายหมดนอกจากพืชยืนต้น(มะพร้าว มะม่วง ต้นตาล ขนุน กระท้อน กล้วยบางส่วน)ที่ยังอยู่ได้และเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขาร่วมโครงการและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้พื้นที่ไร่นาสวนผสมโดยใช้ฐานข้อมูลจากแต่ละสวนและข้อเสนอแนะของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการโดยขอให้โครงการสนับสนุนพันธ์ปลาและพันธ์ไม้เศรษฐกิจเพื่อเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานและเพิ่มมูลค่าให้แก่พื้นที่ไร่นาสวนผสมซึ่งก็เป็นมติเห็นด้วยร่วมกันของทุกคน |
ได้แนวทางในการพัฒนาไร่นาสวนผสมต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ขยายผลความร่วมมืออาหารปลอดภัยเชิงแส | วันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 09:00-ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมจำนวน 51 ครัวเรือน และได้รับความร่วมมือจากท่านเจ้าคุณเจ้าคณะอำเภอกระแสสินธ์ุเจ้าอาวาสวัดเอกเชิงแสร่วมกิจกรรมอาหารปลอดภัยโดยจะใช้วัดเอกเป็นศูนย์เรียนเรียนรู้อีกที่หนึ่งและร่วมมือในการที่สนับสนุนให้คนเชิงแสเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ และได้รับความร่วมมือจากกำนันโกวิทย์เข้ามาเป็นแกนหลักในการดำเนินการ โดยมีเป้าหมายหลักให้คนเชิงแสปลูกผักด้วยปุ๋ยอินทรีย์ไว้กินเองทุกครัวเรือน และมีการสาธิตการทำปุ๋ยหมักนำ และนำหมักกันแมลงซึ่งได้รับความสนใจจากทุกคน |
ได้แนวร่วมในการขยายผลการปลูกผักอินทรีย์และขยายผลความร่วมมืออาหารปลอดภัยเชิงแส ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
พูดคุยรายละเอียดแผนการทำงาน | วันที่ 14 เมษายน 2558 เวลา 13:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำพี่เลี้ยงจาก สจรสและคณะทำงานร่วมกันพูดคุยวางแผนการลงรายละเอียดแผนการทำงาน |
ได้มีการพูดคุยลงรายละเอียดกรอบการทำงานในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.-สนับสนุนการทำ GiS ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
ปรึกษารายละเอียดเรื่องการทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร | วันที่ 11 พฤษภาคม 2558 เวลา 11:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำพี่เลี้ยงจาก สจรส และคณะทำงานร่วมวางแผนการจัดทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร |
เป็นการนั่งปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงและคณะทำงานในการจัดทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหารซึ่งได้ข้อสรุปในเรื่องของรูปแบบแผนที่ที่จะจัดทำและมีการนัดวันในการลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อจัดทำ GIS แหล่งเรียนและสถานที่สำคัญที่จะให้ลงในแผนที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไขลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจด้วย GIS ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สวรรณชาตรี |
||||
ลงพื้นที่แหล่งเรียนรู้เพื่อลงรายละเอียดในแผนที่ | วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 - 16.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำพี่เลี้ยงจาก สจรส. และคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ที่สำคัญในพื้นที่ด้วยระบบ GiS |
พี่เลี้ยงจาก สจรส. และคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ที่สำคัญในพื้นที่ด้วยระบบ GiS ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เวทีปรึกษาหารือเรื่องการทำนา | วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำเปิดเวทีพูดคุยปรึกษาหารือถึงการทำนาโดยมีผู้เข้าร่วมทั้งคณะทำงาน แกนนำในเรื่องการทำนาและประชาชนทั่วไปที่ทำนาในตำบลเชิงแสจำนวนทั้งหมด 52 คน มีการพูดคุยถึงสถานการณ์การทำนาในพื้นที่ทั้งเรื่องของความเสียหายในแต่ละปีที่เกิดจากทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นซึ่งในเวทีได้มีการพูดให้ทุกคนได้คิดถึงพันธ์ข้าวที่เคยทำกันมาในอดีตซึ่งสามารถปรับสถภาพตัวเองไดในช่วงน้ำท่วมแต่เนื่องจากในปัจจุบันค่อนข้างจะสูญพันธ์ไปหมดแล้วในพื้นที่ซึ่งถ้าใครสามารถหาพันธ์มาได้น่าจะนำมาขยายพันธ์ในพื้นที่ใหม่ซึ่งก็มีคนในเวทีอาสาจะช่วยกันหาเมล็ดพันธ์มาขยายเพิ่มในพื้นที่และได้มีการแลกเปลี่ยนการทำนาด้วยเกษตรอินทรีย์ร่วมกันเพื่อขยายผลซึ่งทุกคนก็นเห็นด้วยว่าดีเพราะสามารถลดต้นทุนได้แต่ก็มีปัญหาบ้างในรายที่ทำนามากก็แย้งบ้างเนื่องจากเห็นว่ามีความยุ่งยากในการทำบ้าง ไม่สามารถทำปุ๋ยได้ทันบ้าง ซึ่งคนเหล่านั้นส่วนใหญ่จะมองในเรื่องของธุระกิจ ซึ่งคณะทำงานก็ต้องหาวิธีการเพื่อความร่วมมือกันต่อไป |
สามารถขยายผลกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้จำนวน 10 ราย ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีแลกเปลี่ยนการดำเนินโครงการ | วันที่ 27 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำคณะทำงานจำนวน 9 คน พูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันเพื่อต้องการให้เกิดผลมากที่สุดซึ่งทุกคนเห็นว่าในเรื่องการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาก็คือในเรื่องของการทำเอกสารแหล่งเรียนรู้และตัวของวิทยากรแหล่งเรียนที่ต้องมีการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดที่ดีซึ่งคุณอัษฎาได้แจ้งว่าตนเองก็เห็นด้วยในเรื่องนี้และได้ประสานทางพี่เลี้ยงจาก สจรสไว้แล้วในการให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องแผนที่ความมั่นคงทางอาหารถ้าปรับเรียนร้อยแล้วก็จำนำมาให้ทุกคนดูอีกครั้ง |
คณะทำงานพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีการจัดการคลองเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร(ปลา) | วันที่ 14 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีคณะทำงานและผู้เข้าร่วมทั่ไปจำนวน 83 คน มีการให้ความรู้ท้งเรื่องของการทำ อีเอ็มบอลและปฏิบัตจริงเพื่อช่วยในการรักษาสภาพน้ำในคลองซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและเป็นแหล่งน้ำในการทำนาเนื่องจากแกนนำในในพื้นที่ได้ร่วมกันลงเห็นแล้วว่าสภาพน้ำในคลองเริ่มเน่าโดยสังเกตุจากสภาพของผิวน้ำน่าจะมีการจัดกิจกรรมในเรื่องแบบนี้ขึ้นเพื่อรักษาสภาพน้ำก่อนที่จะเน่าเสียมากไปกว่านี้ นอจากนี้มีการสาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำน้ำหมักชีวภาพ และได้มีการปฏิบัติการโดยนำ อี เอ็ม บอลไปโยนในคลองร่วมกันรวมทั้งให้สัญญาร่วมกันว่าจะมีการทำกิจกรรมนี้ไปเรื่อยจนกว่าสภาพน้ำจะดีขึ้น |
มีการปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีการจัดการเพื่อรักษาสภาพน้ำเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร(ปลา) | วันที่ 20 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-12.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำนัดเจอกันเวลา 9.00 น. ณ.สวนน้าประสิทธ์โดยเป็นการนัดเพื่อฝึกทำลูก อีเอ็มบอล เนื่องจากการทำครั้งที่แล้วยังมีวัสดุที่ทำเหลืออยู่และคนในหมู่ที่ 2 ยังไม่ได้ฝึกทำแต่เนื่องจากคนยังไม่ค่อยเข้าใจในประโยชน์การใช้จึงมีผู้มาร่วมไม่มากซึ่งก็เป็นหน้าที่ของคณะทำงานต่อไปในการให้ความรุ้กับชุมชน ผู้เข้าร่วมได้ฝึกการทำ อีเอ็มบอล การใช้งานและคุณประโยชน์ สามารถทำใช้เองได้ซึ่งนอกจากใช้ในการรักษาสภาพน้ำแล้ว สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋นในนาอินทรีย์ได้ด้วย |
จัดและปฏิบัติการการเวทีพูดคุยทำ อี เอ็ม บอล ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส. |
||||
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารประเด็นการทำนาตำบลเชิงแส | วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-12.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน 22 คนมีทั้งคนที่ทำนาอินทรีย์และทำนาด้วยปุ๋ยเคมีเข้ามาเรียนรู้ ในเวลา 9.00 น.นัดเจอกันที่สวนสมรมน้าประสิทธื บุญมณีได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการทำนาอินทรีย์ของแต่ละคนโดยเฉพาะน้าประสิทธ์ซึ่งทำนาอินทรีย์มานานเกือบยี่สิบปีได้ชี้ให้เห็นถึงการประหยัดต้นทุนการทำนาโดยจะเก็บเมล็ดพันธ์ไว้เองและปุ๋ยที่ใช้ก็ใช้ปุ๋ยจาก มูลวัว เป็ด ไก่ ซึ่งไม่ต้องซื้อ ยาฆ่าแมลงก็ไม่ได้ใช้ ผลผลิตที่ได้ก็อยู่ในเกณฑ์ดี คนอื่นๆที่ทำนาอินทรีย์ก็แลกเปลี่ยนคล้ายๆกันและพันธ์ุข้าวที่เลือกทำก็จะเน้นพันธ์ข้าวที่ตนเองรับประทานกัน เช่น ข้าวหอมใบเตย ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมนิล ข้าวสังหยด ข้าวหอมปทุม |
เปิดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนตามแผน ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีความร่วมมือเรื่องความมั่นคงทางอาหารตำบลเชิงแส | วันที่ 13 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00-12.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน 158 คนเป็นการบูรณการงานร่วมกันกับหน่วยงานเกษตรตำบลเชิงแสเป็นการแลกเปลี่ยนในประเด็นการทำนาโดยเน้นในเรื่องการรักษาเมล๋ดพันธ์ข้าว ภายในงานมีการออกบู้ทในเรื่องของเมล็ดพันธ์ข้าวและพืชต่างๆในพื้นที่มีการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธ์กันและกันและมีการพูดคุยแนวทางในการรักษาและจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์ุในพื้นที่ |
มีการจัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนและจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีปรึกษาหารือการจัดเวทีการนำเสนอรูปแบบการจัดการระบบอาหารตำบลเชิงแส | วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 เวลา 07:00-10.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำใช้เวทีในตอนเช้าวันพุธซึ่งเป็นเวทีพูดคุยประจำของทั้งแกนนำชุมชนและหน่วยงานโดยทางโครงการรับเป็นเจ้าภาพในการพูดคุยในวันนี้ซึ่งข้แสรุปที่ได้ทุกคนมีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะนำเสนอในระดับอำเภอเพระเป็นเรื่องที่ดีถ้าหากว่าต่อไปสามารถขยายดารขับเคลื่อนงานไนระดับอำเภอได้ |
ได้เป้าหมายการทำงานครั้งต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีนำเสนอรูปแบบการจัดการระบบอาหารตำบลเชิงแส | วันที่ 23 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน 421 คนทั้งจากหน่วยงานและภาคีโดยได้รับความร่วมมือจากท่านนายอำเภอเป็นอย่างดีตั้งแต่การเตรียมงาน เจ้าหน้าที่เกษตร ผู้กำกับ ท้องถิ่น ท้องที่ และแกนนำชุมชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่ต่างก็ให้ความสนใจในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารซึ่งเป็นเรื่องปากท้องของตนเองโดยตรง ต่างก็มีความตื่นตัวในเรื่องนี้จึงได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากโดยในเวทีได้จัดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดนผู้นำในพื้นที่ที่เสนอแนวทางการขับเคลื่อนเรื่องความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ต่อไปควรจะมีการขับเคลื่อนต่อไปทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากผ็เข้าร่วมและจะร่วมกันขับเคลื่อนต่อไปและเพื่อนำไปสู่คำขวัญที่ว่า กระแสสินธ์ ถิ่นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก้าวล้ำเกษตรอินทรีย์" |
เวที ความมั่นคงทางอาหารตำบลเชิงแส เชิงแสมีแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ นาอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ ปลาน้ำจืด มีแม่กุ้งตัวเติบและธรรมชาติต้นโหนด ท้องนาที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีตัวปลาในท้องนามีรวงข้าว วันนี้เชิงแสพร้อมแล้วที่จะเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ มาเรียนรู้ เวทีวันนี้พร้อมหน้าพร้อมตา ตั้งแต่นายอำเภอ เจ้าหน้าที่เกษตร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้กำกับ ผอ. สจรส ฯลฯ "กระแสสินธ์ ถิ่นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก้าวล้ำเกษตรอินทรีย์" ปัญหา/แนวทางแก้ไข-- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ตลาดนัดความรู้ และงานวันแม่ | วันที่ 1 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00-20.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำจัดบู้ทนิทรรศการความมั่นคงทางอาหารร่วมงาน |
จัดบู้ทนิทรรศการความมั่นคงทางอาหารร่วมงาน ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
บันทึกข้อมูลลงเวบไซค์ | วันที่ 5 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำบันทึกการทำกิจกรรมโครงการลงในเวบไซค์ |
มีการบันทึกการทำกิจกรรมโครงการลงในเวบไซค์ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ | วันที่ 5 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำจัดเวทีพูดคุยเพื่อสรุปผลการทำงานในเวลา 9.00 น.คณะทำงาน 10 คนแลผุ้สนใจอีก 5 คนได้มีการพูดคุยถึงการทำงานที่ผ่านมา ซึ่งสรุปความเห็นได้ว่า ในการที่จะขยับเรื่องความมั่นคงทางอาหารให้ได้ผลเต็มที่นั้นจะต้องมีการประสานการทำงานกับพื้นที่ใกล้เคียงด้วยโดยเฉพาะในเรื่องของการทำการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรและการขยายพันธ์ปลาต้องมีการทำงานร่วมกันหลายๆภาคส่วนหลายองค์กรและหลายๆพื้นที่จึงจะได้ผลเต็มที่ จึงน่าจะมีการขยายการทำงานให้กว้างออกไปเพื่อบูรณาการงานร่วมกัน |
ได้สรุปผลการทำงาน ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |