รูปแบบความมั่นคงทางอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์

แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร

by dezine @September,29 2014 11.14 ( IP : 202...129 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 »
พฤหัสบดี 18 ก.ย. 57 พฤหัสบดี 18 ก.ย. 57

ประชุมและหารือกับตัวแทนชุมชนเพื่อวางแผนการทำโครงการ

นำพี่เลี้ยงจาก สจรส.เยี่ยมชมแปลงในพื้นที่และ เล่าประสบการณ์และการวางแผนงานโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องในระยะปีที่ 2

เสนอการวางแผนโครงการที่จะเตรียมดำเนินการในปี 2557 การทำเกษตรแบบพอเพียงเพิ่มพื้นที่ขึ้น

ได้แผนงานโครงการที่จะเตรียมดำเนินการในปี 2557 เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรแบบพอเพียงขึ้น

-ปรับแผนงานเพื่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้

2. คณะทำงานหารือร่วมกันกับพี่เลี้ยงจาก สจรส. เพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมต่างๆให้เป็นไปตามแผน »
พฤหัสบดี 2 ต.ค. 57 พฤหัสบดี 2 ต.ค. 57

-คณะทำงานได้ชี้แจงกิจกรรมต่างๆที่จะจัดให้เกิดขึ้นในชุมชนและหารือร่วมกันเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของแผนโครงการ ร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและมอบหมายให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน

มีแกนนำเข้าร่วมจำนวน 6 คนเพื่อร่วมกันปรับแผนงานให้มีความสอดคล้องกับวุตถุประสงค์ให้มากขึ้นได้มีการ หารือร่วมกันกับพี่เลี้ยงเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของแผนโครงการและร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชนพร้อมกับเตรียมให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน

• พื้นที่มีแผนกิจกรรมต่างๆที่เป็นรูปธรรม ลำดับขั้นตอนชัดเจนและมีการเตรียมความพร้อมในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

-พื้นที่ได้มีการสำรวจวัว ของแต่ละครัวเรือน -พื้นที่มีการวางแผนกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร

มอบหมายให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน

3. สร้างความเข้าใจกับชุมชน »
จันทร์ 13 ต.ค. 57 จันทร์ 13 ต.ค. 57

ประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเพื่อหาผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

มีการตั้งวงคุยเพื่อทำความเข้าใจในการทำโครงการ มีการทบทวนการทำโครงการตั้งแต่ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีผู้เข้าร่วมที่ทำไร่นาสวนผสมจำนวน 32 คนและได้มีการร่วมคิดร่วมออกแบบการทำกิจกรรมร่วมกันโดยเริ่มต้นจากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ตามแผนงานกิจกรรมที่ได้วางไว้

ชุมชนมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ในการทำโครงการ

มีครอบครัวที่ทำไร่นาสวนผสมสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 8 ครัวเรือนและรับอาสาในการกระจายข่าวสู่ครัวเรือนอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมในวันนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ในการเข้าร่วมโครงการเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีสามารถสร้างมั่นคงทั้งทางด้านอาหารและเศรษฐกิจให้กับครอบครัวทุกคนได้ มีครัวเรือนบางส่วนที่ขอเวลาปรึกษาคนในครอบครัวก่อนและมีผู้อาสาร่วมในการสำรวจข้อมูลตามที่ได้วางไว้

เตรียมเก็บข้อมูลรายละเอียดของไร่นาสวนผสมและแผนที่แปลง

4. ทำความเข้าใจเครื่องมือประเมินตนเอง »
อังคาร 28 ต.ค. 57 อังคาร 28 ต.ค. 57

นัดแกนนำที่ทำไร่นาสวนผสมพูดคุยทำความเข้าใจเครื่องมือประเมินตนเอง

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 4 คนและพี่เลี้ยงจาก สจรส 2 คนเนื่องจากมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันในการประสานงานครัวเรือนแกนนำเป้าหมายจึงไม่ได้ตามเป้าหมายจึงมีการนัดหมายกันใหม่ในครั้งต่อไป การพูดคุยในวันนี้จึงได้แค่การแลกเปลี่ยนเรื่องสวนของคุณประสิทธ์

•ไม่ได้ชี้แจงเรื่องรายละเอียดต่างๆในการใช้เครื่องมือประเมินตนเอง ของโครงการ กับครัวเรือนต้นแบบ

•นัดวันเพื่อให้ทีมอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลมาพบกับครัวเรือนต้นแบบ เพื่อสอนการใช้เครื่องมือประเมินตนเอง และเพื่อปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือให้ใช้ง่ายและเหมาะกับพื้นที่

-

5. ประชุมครัวเรือนต้นแบบเพื่อรับสมัครผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ »
พุธ 5 พ.ย. 57 พุธ 5 พ.ย. 57

ประชุมชี้แจงโครงการและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

เริ่มเวลา 9.00 น.มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คนทั้งแกนนำชาวนาและคนที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมรับฟัง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกเทศบาล คุณอัษฎา บุษบงค์ได้ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการทำโครงการ และให้ความเห็นว่าที่ผ่านๆมาพวกเราทำนาหรืออะไรก็แล้วแต่ไม่ค่อยมีการเก็บข้อมูลหรือมีการถอดบทเรียนการทำงานทั้งๆทีทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก น่าจะได้นำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้คนอื่นๆได้รู้บ้างเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน คุณโกวิทย์ ทะลิทอง กำนันตำบลเชิงแส ก็ได้ร่วมให้ความคิดเห็น เห็นด้วยกับคุณอัษฎา เพราะคนบ้านเรายังขาดการจัดการที่ดีในหลายๆเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการทำอาชีพซึงเป็นรายได้หลักของทุกๆคนเป็นเรื่องปากท้องของทุกคน ถ้าหากสามารถนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ร่วมจัดการร่วมกันก็จะดีกว่าต่างคนต่างทำโดยเฉพาะเรื่องของเมล็ดพันธ์ก็ได้ปรึกษากับคณะทำงานโครงการเพื่อให้มีธนาคารเมล็ดพันธ์ในชุมชนของเรา เพราในแต่ละปีตำบลเราต้องซื้อเมล็ดพันธ์ข้าวจากข้างนอกปีละประมาณเกือบ 4 ล้านถ้าสมารถทำได้เงินส่วนนี้จะได้หมุนเวียนในตำบลของเรา ซึงเห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ชุมชนของเราต้องจัดการ ส่วนถ้าใครมีปัญหาในเรื่องอะไรก็จะได้พูดคุยในรายละเอียดกันต่อไปเป็นเรื่องที่พวกเราต้องคุยกันต่อ ซึงในเวทีวันนี้ได้ผู้สมัครใจจำนวน 10 รายที่พร้อมจะเข้าร่วมในกิจกรรมโครงการ

ได้สมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ

ได้ผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการและมีเรื่องพูดคุยกันต่อของแกนนำในการจัดการผลผลิตร่วมกันและแนวทางเพื่อให้มีการจัดการเรื่องให้มีธนาคารเมล็ดพันธ์ในพื้นที่

-

6. พัฒนาเครื่องมือประเมินตนเอง »
พุธ 26 พ.ย. 57 พุธ 26 พ.ย. 57

ประชุมเพือแลกเปลี่ยนและปรับเครื่องมือประเมินตนเองด้านความมั่นคงด้านอาหารของวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประเมินตนเอง ประเมินการดำรงชีวิตของครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้เกิดการจัดการข้อมูลในระดับครอบครัวเและเพื่อต้องการให้ครัวเรือนตัวอย่างได้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มพัฒนาระบบการเกษตรในพื้นที่ตำบลเชิงแส

มีผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 16 คน จากครัวเรือนแกนนำ 13 ครัวเรือน คุณสุวรรณนา สุวรรณชาตรี และคุณโชติรส ศรีระสันต์ ตัวแทนจาก สจรส.ได้มีการนำแผนงานหลักๆของตำบลเชิงแสมาดูร่วมกันและนำเครื่องมือที่คุณวรรณานำมาซึ่งหลานคนในเวทีมีความเห็นร่วมกันว่าน่จะปรับใหม่เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูลในการนำมาประเมินตนเองโดยปรับให้สอดคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนต้นแบบเพื่อประเมินตนเองและนำมาเป็นข้อมูลเบื้องตน้นในการพัฒนาและการจัดการตนเองอย่างเป้นระบบในการจัดการความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือน และในเวทีได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของตนเอง มีการกำหนดปฏิทินเพื่อจัดเก็บข้อมูลในเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในเดือน มกราคม 2558 และมีการนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 ธันวาคมเพื่อนำเครื่องมือที่ปรับมาดูร่วมกันรวมทั้งวิธีการบันทึกข้อมูลการทำบัญชีครัวเรือนโดยการลงบันทึกในแปลงจริง และมีการนัดเพื่อไปศึกษาดูงานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีระบบฉบับครัวเรือน  ณ.บ้านหนำควาย อ.เมือง จ.ตรัง ในวันที่ 28 พ.ย. 57

ได้ปรับเครื่องมือประเมินตนเองให้มีเนื้อหาที่สะดวกในการเก็บข้อมูลระดับครัวเรือน 2.เครื่องมือประเมินตนเองที่ปรับ เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับบัญชีครัวเรือน 3.ปฏิทินการทำงานของพื้นที่

ได้ปรับเครื่องมือประเมินตนเองให้มีเนื้อหาที่สะดวกในการเก็บข้อมูลระดับครัวเรือน 2.เครื่องมือประเมินตนเองที่ปรับ เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับบัญชีครัวเรือน 3.ได้ปฏิทินการทำงานของพื้นที่

ศึกษาดูงานเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่

7. ศึกษาดูงานเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ »
ศุกร์ 28 พ.ย. 57 ศุกร์ 28 พ.ย. 57

ศึกษางานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นมีระบบฉบับครัวเรือนเพื่อนำมาปรับใช้ของครัวเรือนต้นแบบ

มีครัวเรือนแกนนำเข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 9 ครัวเรือนเพื่อศึกษางานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นมีระบบฉบับครัวเรือนเพื่อนำมาปรับใช้ของครัวเรือนต้นแบบ

ครัวเรือนแกนนำได้ความรู้ในการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีระบบมากขึ้น

ครัวเรือนแกนนำได้ความรู้ในการจัดการครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่น วิธีการปลูกผักชนิดต่างๆ การทำนำ้หมัก การทำหัวเชื้อ อีเอ็ม ฯลฯ

นำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติการจริงและขยายผลต่อในพื้นที่

8. ประชุมทำความเข้าใจแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล »
อาทิตย์ 7 ธ.ค. 57 อาทิตย์ 7 ธ.ค. 57

ประชุมทำความเข้าใจแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คนและเจ้าหน้าที่จาก สจรส. จำนวน 2 คน ได้มีการนำแบบฟอร์มซึ่งผ่านการปรับมาแล้ว 2 ครั้งมาฝึกลงข้อมูลเพื่อจะได้มีความเข้าใจตรงกัน ปรากฏว่าในการลงข้อมูลจริงค่อนข้างจะยุ่งยากพอสมควรเพราะข้อมูลมีความละเอียดมากในเรื่องตัวเลข แต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือและพร้อมที่จะนำไปบันทึกต่อโดยโดยมีการแบ่งแบบฟอร์มเป็น  2  ชุด ครึ่งเดือนแรกและครึ่งเดือนหลัง บันทึกเป็นรายวัน หลังจากนั้นก็จะนำข้อมูลที่ได้เพื่อนำมาประมวลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาต่อไป ซึ่งจะมีการนัดกันอีกทีในครั้งต่อไป

สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อนำไปบันทึกด้วยตัวเองที่บ้าน

สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อนำไปบันทึกด้วยตัวเองที่บ้าน

ต้องมีการทำบัญชีครัวเรือนควบคู่ไปด้วย

9. ติดตามการบันทึกข้อมูลการประเมินตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ »
พฤหัสบดี 15 ม.ค. 58 พฤหัสบดี 15 ม.ค. 58

ติดตามการบันทึกข้อมูลการประเมินตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ

ในการปฏิบัติจริงผู้เข้าร่วมโครงการค่อนข้างมีความลำบากในการลงบันทึกข้อมูลเนื่องจากข้อมูลค่อนข้างมีความละเอียดและหลากหลายมากประกอบกับผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งส่วนใหญค่อนข้างอายุมากมีปัญหาในการอ่าน ในเรื่องของสายตาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการบันทึกใหม่โดยให้ทุกคนบันทึกเฉพาะการรับจ่ายของตนเองลงสมุดและให็ผู้รับผิดชอบโครงการจัดการลงในแบบฟอร์มให้

สมาชึกผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้

สมาชึกผู้เข้าร่วมโครงการไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้สมบูรณ์

-

10. จัดงานเทศกาลอาหารปลอดภัยเชิงแส »
พฤหัสบดี 19 ก.พ. 58 พฤหัสบดี 19 ก.พ. 58

จัดกิจกรรมเชิงปฏบัติการ มีการสาธิตการทำปุ๋ย เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด นำเสนอผลงานผ่ากิจกรรมต่อหน่วยงานและภาคี

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 158 คน ประกอบด้วยทั้ง นายอำเภอกระแสสินธ์ กำนัน ผู้ใหญบ้านตำบลเชิงแส เจ้าคณะอำเภอกระแสสินธ์ุ นักวิชาการจาก ม.อ.หาดใหญ่ แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. มีการแบ่งเวทีเป็นกลุ่มย่อย ทำกิจกรรมไปพร้อมกันทั้งการเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือดโดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลกระแสสินธ์ และขณะเดียวกันอีกกิจกรรมก็เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และสาธิตการทำปุ๋ยหมักพร้อมทั้งแนะนำวิธีการใชีที่ถูกต้อง โดยอาจารย์วิรัตน์ กาญจนพรหม อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรกรรมตรังซึ่งเป็นเจ้าของศนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำความ จ.ตรัง และมีการร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นอาหารอาหารปลอดภัยเชิงแส ทั้งจากท่านนายอำเภอกระแสสินธ์ นักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เข้าร่วมในเวทีโดยมีประเด็นหลักๆที่ได้ คือทุกภาคีที่เข้าร่วมจับมือร่วมกันเพื่อขยายการทำเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยเพื่อความมั้นคงทางอาหาร ในช่วงเย็นร่วมรับประทานอาหารร่วมกันพร้อมกับชมดนตรี

เกิดความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด ชุมชน ท้องที่ ในการจับมือร่วมกันเพื่อขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์และอหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

เกิดความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด ชุมชน ท้องที่ ในการจับมือร่วมกันเพื่อขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์และอหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

-

11. ส่งรายงานการเงินงวดที่ 1 »
จันทร์ 2 มี.ค. 58 จันทร์ 2 มี.ค. 58

ส่งรายงานการเงินงวดที่ 1

ส่งรายงานการเงินงวดที่ 1

จัดทำและส่งรายงานการเงินงวดที่ 1

จัดทำและส่งรายงานการเงินงวดที่ 1

-

12. ประชุมครัวเรือนต้นแบบ »
ศุกร์ 20 มี.ค. 58 ศุกร์ 20 มี.ค. 58

ตั้งวงคุยเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือนร่วมกัน

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 10 คนโดยใช้พื้นที่ของสวนคุณประสิทธ์  บุญมณีเป็นสถานที่พูดคุยมีการนำข้อมูลบัญชีครัวเรือนที่ทุกคนได้ลงบัญทึกไว้มาวิเคราะห์ร่วมกันซึ่งรายได้หลักของทุกคนอยู่ที่การทำนาและมีรายได้เสริมจากทั้งการหาปลา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์(ไก่ เป็ด ปลา วัว)และมีรายจ่ายหลักๆในเรื่องของ ปุ๋ย ค่าอาหาร ค่านำ้มัน

-ได้เรียนรู้ข้อมูลรายรับ-รายจ่ายที่ได้จากการทำไร่นาสวนผสมของสมาชิก -นำข้อมูลที่ได้เพื่อเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา - ปรับปรุง ต่อไป

-ได้เรียนรู้ข้อมูลรายรับ-รายจ่ายที่ได้จากการทำไร่นาสวนผสมของสมาชิก -นำข้อมูลที่ได้เพื่อเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา - ปรับปรุง ต่อไป

-

13. ลงเยี่ยมแปลงสมาชิก »
จันทร์ 23 มี.ค. 58 จันทร์ 23 มี.ค. 58

ลงเยี่ยมแปลงไร่นาสวนผสมของสมาชิกเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในแต่ละแปลงเพื่อเติมเต็มการทำงาน

นัดพร้อมกันที่สวนคุณประสิทธ์เวลา 9.00  น.ลงเยี่ยมแปลงไร่นาสวนผสมของสมาชิกจำนวน 7 แปลงคือ ของประสิทธ์ คุณสมปอง คุณโชค คุณสุทิน คุณแช่ม คุณจรูญ และคุณจรัญเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในแต่ละแปลงเพื่อเติมเต็มการทำงานโดยสภาพทั่วไปที่เจอในแต่ละแปลงเนื่องจากฝนทิ้งช่วงนานทำให้พืชผักตายหมดนอกจากพืชยืนต้น(มะพร้าว มะม่วง ต้นตาล ขนุน กระท้อน กล้วยบางส่วน)ที่ยังอยู่ได้และเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขาร่วมโครงการและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้พื้นที่ไร่นาสวนผสมโดยใช้ฐานข้อมูลจากแต่ละสวนและข้อเสนอแนะของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการโดยขอให้โครงการสนับสนุนพันธ์ปลาและพันธ์ไม้เศรษฐกิจเพื่อเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานและเพิ่มมูลค่าให้แก่พื้นที่ไร่นาสวนผสมซึ่งก็เป็นมติเห็นด้วยร่วมกันของทุกคน

เพื่อสอดคล้องกับกับกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือนและใช้ข้อมูลเดินต่อในการทพกิจกรรมเพื่อพัฒนา

ได้แนวทางในการพัฒนาไร่นาสวนผสมต่อไป

-

14. ขยายผลความร่วมมืออาหารปลอดภัยเชิงแส »
ศุกร์ 10 เม.ย. 58 ศุกร์ 10 เม.ย. 58

ประชุมทำความเข้าใจเพื่อขยายผลการปลูกผักปลอดสารเคมีโดยมีเป้าหมายหลักให้ทุกครัวเรือนปลูกผักด้วยปุ๋ยอินทรีย์ไว้กินเอง

มีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมจำนวน 51 ครัวเรือน และได้รับความร่วมมือจากท่านเจ้าคุณเจ้าคณะอำเภอกระแสสินธ์ุเจ้าอาวาสวัดเอกเชิงแสร่วมกิจกรรมอาหารปลอดภัยโดยจะใช้วัดเอกเป็นศูนย์เรียนเรียนรู้อีกที่หนึ่งและร่วมมือในการที่สนับสนุนให้คนเชิงแสเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ และได้รับความร่วมมือจากกำนันโกวิทย์เข้ามาเป็นแกนหลักในการดำเนินการ โดยมีเป้าหมายหลักให้คนเชิงแสปลูกผักด้วยปุ๋ยอินทรีย์ไว้กินเองทุกครัวเรือน และมีการสาธิตการทำปุ๋ยหมักนำ และนำหมักกันแมลงซึ่งได้รับความสนใจจากทุกคน

เพื่อหาแนวร่วมในการขยายผลการปลูกผักอินทรีย์และขยายผลความร่วมมืออาหารปลอดภัยเชิงแส

ได้แนวร่วมในการขยายผลการปลูกผักอินทรีย์และขยายผลความร่วมมืออาหารปลอดภัยเชิงแส

-

15. พูดคุยรายละเอียดแผนการทำงาน »
อังคาร 14 เม.ย. 58 อังคาร 14 เม.ย. 58

พูดคุยรายละเอียดแผนการทำงาน

พี่เลี้ยงจาก สจรสและคณะทำงานร่วมกันพูดคุยวางแผนการลงรายละเอียดแผนการทำงาน

การลงรายละเอียดกรอบการทำงานในพื้นที่

ได้มีการพูดคุยลงรายละเอียดกรอบการทำงานในพื้นที่

-

16. ปรึกษารายละเอียดเรื่องการทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร »
จันทร์ 11 พ.ค. 58 จันทร์ 11 พ.ค. 58

พี่เลี้ยงจาก สจรส  และคณะทำงานร่วมวางแผนการจัดทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร

พี่เลี้ยงจาก สจรส  และคณะทำงานร่วมวางแผนการจัดทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหาร

เป็นการนั่งปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงและคณะทำงานในการจัดทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหารซึ่งได้ข้อสรุปในเรื่องของรูปแบบแผนที่ที่จะจัดทำและมีการนัดวันในการลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อจัดทำ  GIS แหล่งเรียนและสถานที่สำคัญที่จะให้ลงในแผนที่

เป็นการนั่งปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงและคณะทำงานในการจัดทำแผนที่ความมั่นคงทางอาหารซึ่งได้ข้อสรุปในเรื่องของรูปแบบแผนที่ที่จะจัดทำและมีการนัดวันในการลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อจัดทำ  GIS แหล่งเรียนและสถานที่สำคัญที่จะให้ลงในแผนที่

ลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจด้วย GIS

17. ลงพื้นที่แหล่งเรียนรู้เพื่อลงรายละเอียดในแผนที่ »
อังคาร 19 พ.ค. 58 อังคาร 19 พ.ค. 58

พี่เลี้ยงจาก  สจรส. และคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ที่สำคัญในพื้นที่ด้วยระบบ  GiS

พี่เลี้ยงจาก  สจรส. และคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ที่สำคัญในพื้นที่ด้วยระบบ  GiS

พี่เลี้ยงจาก  สจรส. และคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ที่สำคัญในพื้นที่ด้วยระบบ  GiS

พี่เลี้ยงจาก  สจรส. และคณะทำงานลงพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ แหล่งเรียนรู้ และสถานที่ที่สำคัญในพื้นที่ด้วยระบบ  GiS

-

18. เวทีปรึกษาหารือเรื่องการทำนา »
พฤหัสบดี 21 พ.ค. 58 พฤหัสบดี 21 พ.ค. 58

คณะทำงานและคนในชุมชนร่วมกันปรึกษาหารือเรื่องแนวทางการทำนาเพื่อความยั่งยืน

เปิดเวทีพูดคุยปรึกษาหารือถึงการทำนาโดยมีผู้เข้าร่วมทั้งคณะทำงาน แกนนำในเรื่องการทำนาและประชาชนทั่วไปที่ทำนาในตำบลเชิงแสจำนวนทั้งหมด 52 คน มีการพูดคุยถึงสถานการณ์การทำนาในพื้นที่ทั้งเรื่องของความเสียหายในแต่ละปีที่เกิดจากทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นซึ่งในเวทีได้มีการพูดให้ทุกคนได้คิดถึงพันธ์ข้าวที่เคยทำกันมาในอดีตซึ่งสามารถปรับสถภาพตัวเองไดในช่วงน้ำท่วมแต่เนื่องจากในปัจจุบันค่อนข้างจะสูญพันธ์ไปหมดแล้วในพื้นที่ซึ่งถ้าใครสามารถหาพันธ์มาได้น่าจะนำมาขยายพันธ์ในพื้นที่ใหม่ซึ่งก็มีคนในเวทีอาสาจะช่วยกันหาเมล็ดพันธ์มาขยายเพิ่มในพื้นที่และได้มีการแลกเปลี่ยนการทำนาด้วยเกษตรอินทรีย์ร่วมกันเพื่อขยายผลซึ่งทุกคนก็นเห็นด้วยว่าดีเพราะสามารถลดต้นทุนได้แต่ก็มีปัญหาบ้างในรายที่ทำนามากก็แย้งบ้างเนื่องจากเห็นว่ามีความยุ่งยากในการทำบ้าง ไม่สามารถทำปุ๋ยได้ทันบ้าง ซึ่งคนเหล่านั้นส่วนใหญ่จะมองในเรื่องของธุระกิจ ซึ่งคณะทำงานก็ต้องหาวิธีการเพื่อความร่วมมือกันต่อไป

เพือขยายผลกลุ่มทำนาอินทรีย์

สามารถขยายผลกลุ่มทำนาอินทรีย์ได้จำนวน 10 ราย

-

19. เวทีแลกเปลี่ยนการดำเนินโครงการ »
พุธ 27 พ.ค. 58 พุธ 27 พ.ค. 58

คณะทำงานพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน

คณะทำงานจำนวน 9 คน พูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันเพื่อต้องการให้เกิดผลมากที่สุดซึ่งทุกคนเห็นว่าในเรื่องการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาก็คือในเรื่องของการทำเอกสารแหล่งเรียนรู้และตัวของวิทยากรแหล่งเรียนที่ต้องมีการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดที่ดีซึ่งคุณอัษฎาได้แจ้งว่าตนเองก็เห็นด้วยในเรื่องนี้และได้ประสานทางพี่เลี้ยงจาก สจรสไว้แล้วในการให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องแผนที่ความมั่นคงทางอาหารถ้าปรับเรียนร้อยแล้วก็จำนำมาให้ทุกคนดูอีกครั้ง

คณะทำงานพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน

คณะทำงานพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน

-

20. เวทีการจัดการคลองเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร(ปลา) »
อาทิตย์ 14 มิ.ย. 58 อาทิตย์ 14 มิ.ย. 58

เป็นการเปิดเวทีให้ความรู้และร่วมกันปฏิบัติการจริง

มีคณะทำงานและผู้เข้าร่วมทั่ไปจำนวน 83 คน มีการให้ความรู้ท้งเรื่องของการทำ อีเอ็มบอลและปฏิบัตจริงเพื่อช่วยในการรักษาสภาพน้ำในคลองซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและเป็นแหล่งน้ำในการทำนาเนื่องจากแกนนำในในพื้นที่ได้ร่วมกันลงเห็นแล้วว่าสภาพน้ำในคลองเริ่มเน่าโดยสังเกตุจากสภาพของผิวน้ำน่าจะมีการจัดกิจกรรมในเรื่องแบบนี้ขึ้นเพื่อรักษาสภาพน้ำก่อนที่จะเน่าเสียมากไปกว่านี้ นอจากนี้มีการสาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำน้ำหมักชีวภาพ และได้มีการปฏิบัติการโดยนำ อี เอ็ม บอลไปโยนในคลองร่วมกันรวมทั้งให้สัญญาร่วมกันว่าจะมีการทำกิจกรรมนี้ไปเรื่อยจนกว่าสภาพน้ำจะดีขึ้น

เป็นการเปิดเวทีให้ความรู้และร่วมกันปฏิบัติการจริง

มีการปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้

-

21. เวทีการจัดการเพื่อรักษาสภาพน้ำเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร(ปลา) »
เสาร์ 20 มิ.ย. 58 เสาร์ 20 มิ.ย. 58

จัดเวทีพูดคุยและปฏิบัติการ

นัดเจอกันเวลา 9.00 น. ณ.สวนน้าประสิทธ์โดยเป็นการนัดเพื่อฝึกทำลูก  อีเอ็มบอล เนื่องจากการทำครั้งที่แล้วยังมีวัสดุที่ทำเหลืออยู่และคนในหมู่ที่ 2 ยังไม่ได้ฝึกทำแต่เนื่องจากคนยังไม่ค่อยเข้าใจในประโยชน์การใช้จึงมีผู้มาร่วมไม่มากซึ่งก็เป็นหน้าที่ของคณะทำงานต่อไปในการให้ความรุ้กับชุมชน ผู้เข้าร่วมได้ฝึกการทำ อีเอ็มบอล การใช้งานและคุณประโยชน์ สามารถทำใช้เองได้ซึ่งนอกจากใช้ในการรักษาสภาพน้ำแล้ว สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋นในนาอินทรีย์ได้ด้วย

จัดและปฏิบัติการการเวทีพูดคุยทำ อี เอ็ม บอล

จัดและปฏิบัติการการเวทีพูดคุยทำ อี เอ็ม บอล

-

22. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารประเด็นการทำนาตำบลเชิงแส »
อังคาร 30 มิ.ย. 58 อังคาร 30 มิ.ย. 58

จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันในการการทำนาที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 22 คนมีทั้งคนที่ทำนาอินทรีย์และทำนาด้วยปุ๋ยเคมีเข้ามาเรียนรู้ ในเวลา 9.00 น.นัดเจอกันที่สวนสมรมน้าประสิทธื บุญมณีได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการทำนาอินทรีย์ของแต่ละคนโดยเฉพาะน้าประสิทธ์ซึ่งทำนาอินทรีย์มานานเกือบยี่สิบปีได้ชี้ให้เห็นถึงการประหยัดต้นทุนการทำนาโดยจะเก็บเมล็ดพันธ์ไว้เองและปุ๋ยที่ใช้ก็ใช้ปุ๋ยจาก มูลวัว เป็ด ไก่ ซึ่งไม่ต้องซื้อ ยาฆ่าแมลงก็ไม่ได้ใช้ ผลผลิตที่ได้ก็อยู่ในเกณฑ์ดี คนอื่นๆที่ทำนาอินทรีย์ก็แลกเปลี่ยนคล้ายๆกันและพันธ์ุข้าวที่เลือกทำก็จะเน้นพันธ์ข้าวที่ตนเองรับประทานกัน เช่น ข้าวหอมใบเตย ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมนิล ข้าวสังหยด ข้าวหอมปทุม

เปิดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนตามแผน

เปิดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนตามแผน

-

23. เวทีความร่วมมือเรื่องความมั่นคงทางอาหารตำบลเชิงแส »
จันทร์ 13 ก.ค. 58 จันทร์ 13 ก.ค. 58

เปิดเวทีพูดคุยเชิงปฏบัติการเกี่ยวกับการเก็บและรักษาเมล็ดพันธ์และวิธีการจัดการเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 158 คนเป็นการบูรณการงานร่วมกันกับหน่วยงานเกษตรตำบลเชิงแสเป็นการแลกเปลี่ยนในประเด็นการทำนาโดยเน้นในเรื่องการรักษาเมล๋ดพันธ์ข้าว ภายในงานมีการออกบู้ทในเรื่องของเมล็ดพันธ์ข้าวและพืชต่างๆในพื้นที่มีการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธ์กันและกันและมีการพูดคุยแนวทางในการรักษาและจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์ุในพื้นที่

มีการจัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนและจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์

มีการจัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนและจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์

-

24. เวทีปรึกษาหารือการจัดเวทีการนำเสนอรูปแบบการจัดการระบบอาหารตำบลเชิงแส »
พุธ 15 ก.ค. 58 พุธ 15 ก.ค. 58

แกนนำในพื้นที่ร่วมพูดคุยปรึกษาหารือในการจัดการเพื่อให้งานเกิดบรรลุผลมากที่สุด

ใช้เวทีในตอนเช้าวันพุธซึ่งเป็นเวทีพูดคุยประจำของทั้งแกนนำชุมชนและหน่วยงานโดยทางโครงการรับเป็นเจ้าภาพในการพูดคุยในวันนี้ซึ่งข้แสรุปที่ได้ทุกคนมีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะนำเสนอในระดับอำเภอเพระเป็นเรื่องที่ดีถ้าหากว่าต่อไปสามารถขยายดารขับเคลื่อนงานไนระดับอำเภอได้

ได้เป้าหมายการทำงานครั้งต่อไป

ได้เป้าหมายการทำงานครั้งต่อไป

-

25. เวทีนำเสนอรูปแบบการจัดการระบบอาหารตำบลเชิงแส »
พฤหัสบดี 23 ก.ค. 58 พฤหัสบดี 23 ก.ค. 58

เปิดเวทีนำเสนอรูปแบบการจัดการระบบอาหารตำบลเชิงแสผ่านการพูดคุยโดยผู้นำในพื้นที่

มีผู้เข้าร่วมจำนวน 421 คนทั้งจากหน่วยงานและภาคีโดยได้รับความร่วมมือจากท่านนายอำเภอเป็นอย่างดีตั้งแต่การเตรียมงาน เจ้าหน้าที่เกษตร ผู้กำกับ ท้องถิ่น ท้องที่ และแกนนำชุมชน รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่ต่างก็ให้ความสนใจในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารซึ่งเป็นเรื่องปากท้องของตนเองโดยตรง ต่างก็มีความตื่นตัวในเรื่องนี้จึงได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากโดยในเวทีได้จัดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดนผู้นำในพื้นที่ที่เสนอแนวทางการขับเคลื่อนเรื่องความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ต่อไปควรจะมีการขับเคลื่อนต่อไปทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากผ็เข้าร่วมและจะร่วมกันขับเคลื่อนต่อไปและเพื่อนำไปสู่คำขวัญที่ว่า กระแสสินธ์ ถิ่นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก้าวล้ำเกษตรอินทรีย์"


เวที ความมั่นคงทางอาหารตำบลเชิงแส เชิงแสมีแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ นาอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ ปลาน้ำจืด มีแม่กุ้งตัวเติบและธรรมชาติต้นโหนด ท้องนาที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีตัวปลาในท้องนามีรวงข้าว วันนี้เชิงแสพร้อมแล้วที่จะเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ มาเรียนรู้ เวทีวันนี้พร้อมหน้าพร้อมตา ตั้งแต่นายอำเภอ เจ้าหน้าที่เกษตร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้กำกับ ผอ. สจรส ฯลฯ "กระแสสินธ์ ถิ่นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก้าวล้ำเกษตรอินทรีย์"



เวที ความมั่นคงทางอาหารตำบลเชิงแส เชิงแสมีแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ นาอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ ปลาน้ำจืด มีแม่กุ้งตัวเติบและธรรมชาติต้นโหนด ท้องนาที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีตัวปลาในท้องนามีรวงข้าว วันนี้เชิงแสพร้อมแล้วที่จะเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ มาเรียนรู้ เวทีวันนี้พร้อมหน้าพร้อมตา ตั้งแต่นายอำเภอ เจ้าหน้าที่เกษตร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้กำกับ ผอ. สจรส ฯลฯ "กระแสสินธ์ ถิ่นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ก้าวล้ำเกษตรอินทรีย์"



--

26. ตลาดนัดความรู้ และงานวันแม่ »
เสาร์ 1 ส.ค. 58 เสาร์ 1 ส.ค. 58

จัดบู้ทนิทรรศการความมั่นคงทางอาหารร่วมงาน

จัดบู้ทนิทรรศการความมั่นคงทางอาหารร่วมงาน

จัดบู้ทนิทรรศการความมั่นคงทางอาหารร่วมงาน

จัดบู้ทนิทรรศการความมั่นคงทางอาหารร่วมงาน

-

27. เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ »
พุธ 5 ส.ค. 58 พุธ 5 ส.ค. 58

จัดเวทีสรุปผลการทำงาน

จัดเวทีพูดคุยเพื่อสรุปผลการทำงานในเวลา 9.00 น.คณะทำงาน 10 คนแลผุ้สนใจอีก 5 คนได้มีการพูดคุยถึงการทำงานที่ผ่านมา ซึ่งสรุปความเห็นได้ว่า ในการที่จะขยับเรื่องความมั่นคงทางอาหารให้ได้ผลเต็มที่นั้นจะต้องมีการประสานการทำงานกับพื้นที่ใกล้เคียงด้วยโดยเฉพาะในเรื่องของการทำการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรและการขยายพันธ์ปลาต้องมีการทำงานร่วมกันหลายๆภาคส่วนหลายองค์กรและหลายๆพื้นที่จึงจะได้ผลเต็มที่ จึงน่าจะมีการขยายการทำงานให้กว้างออกไปเพื่อบูรณาการงานร่วมกัน

ได้สรุปผลการทำงาน

ได้สรุปผลการทำงาน

-

28. บันทึกข้อมูลลงเวบไซค์ »
พุธ 5 ส.ค. 58 พุธ 5 ส.ค. 58

บันทึกการทำกิจกรรมโครงการลงในเวบไซค์

บันทึกการทำกิจกรรมโครงการลงในเวบไซค์

บันทึกการทำกิจกรรมโครงการลงในเวบไซค์

มีการบันทึกการทำกิจกรรมโครงการลงในเวบไซค์

-

29. การบริหารจัดการโครงการ
พฤหัสบดี 24 ก.ย. 58

จัดเก็บข้อมูลเอกสารทั้งหมดเพื่อสรุปรายจ่ายในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการแล้ว และบันทึกข้อมูลของโครงการลงเวบไซต์