รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 57-ข-011
งวดที่ 1
แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)
วันที่รายงาน : 9 มีนาคม 2558
1. ชื่อโครงการ รูปแบบความมั่นคงทางอาหารตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์
2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 57-ข-011 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2557 - 31 ตุลาคม 2558
3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 กันยายน 2557 ถึงเดือน 28 กุมภาพันธ์ 2558
4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)
กิจกรรม | ผลงาน (ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี) | ผลสรุปที่สำคัญ | ประเมินผล คุณภาพกิจกรรม | |||
---|---|---|---|---|---|---|
4 | 3 | 2 | 1 | |||
1. หารือแผนการดำเนินงานปีที่ 2 | วันที่ 18 กันยายน 2557 เวลา 13:00วัตถุประสงค์1.เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องเหตุผลที่ต้องจัดทำโครงการนี้ 2.เพื่อให้ทุกครอบครัวในชุมชนมีอาหารไว้บริโภคอย่างพอเพียงสำหรับทุกสถานการณ์ 3.เพื่อให้ชุมชนมีศักยภาพในการสร้างพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ลักษณะกิจกรรมนำพี่เลี้ยงจาก สจรส.เยี่ยมชมแปลงในพื้นที่และ เล่าประสบการณ์และการวางแผนงานโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องในระยะปีที่ 2 |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ประชุมและหารือกับตัวแทนชุมชนเพื่อวางแผนการทำโครงการผลที่เกิดขึ้นได้แผนงานโครงการที่จะเตรียมดำเนินการในปี 2557 เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรแบบพอเพียงขึ้น ปัญหา/แนวทางแก้ไข-ปรับแผนงานเพื่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณนา สุวรรณชาตรี |
||||
2. คณะทำงานหารือร่วมกันกับพี่เลี้ยงจาก สจรส. เพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมต่างๆให้เป็นไปตามแผน | วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00วัตถุประสงค์1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าของแผนงานความมั่นคงทางอาหารเชิงแส 2. พัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาความมั่นคงทางอาหารเชิงแส ลักษณะกิจกรรมมีแกนนำเข้าร่วมจำนวน 6 คนเพื่อร่วมกันปรับแผนงานให้มีความสอดคล้องกับวุตถุประสงค์ให้มากขึ้นได้มีการ หารือร่วมกันกับพี่เลี้ยงเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของแผนโครงการและร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชนพร้อมกับเตรียมให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน |
เป้าหมายที่ตั้งไว้-คณะทำงานได้ชี้แจงกิจกรรมต่างๆที่จะจัดให้เกิดขึ้นในชุมชนและหารือร่วมกันเพื่อเพิ่มเติมกิจกรรมอื่นๆ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของแผนโครงการ ร่วมกันเสนอความคิดเห็นในการก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและมอบหมายให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวนผลที่เกิดขึ้น-พื้นที่ได้มีการสำรวจวัว ของแต่ละครัวเรือน -พื้นที่มีการวางแผนกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร ปัญหา/แนวทางแก้ไขมอบหมายให้พื้นที่ไปสำรวจครัวเรือนที่มีการทำไร่นาสวนผสม พร้อมทั้งทำแผนที่และจัดระดับตามความสมบูรณ์แบบของสวน ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
3. สร้างความเข้าใจกับชุมชน | วันที่ 13 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00-12.00 น.วัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในการทำโครงการเพื่อหาผู้สนใจเข้าร่วมโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ลักษณะกิจกรรมมีการตั้งวงคุยเพื่อทำความเข้าใจในการทำโครงการ มีการทบทวนการทำโครงการตั้งแต่ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มีผู้เข้าร่วมที่ทำไร่นาสวนผสมจำนวน 32 คนและได้มีการร่วมคิดร่วมออกแบบการทำกิจกรรมร่วมกันโดยเริ่มต้นจากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่ตามแผนงานกิจกรรมที่ได้วางไว้ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเพื่อหาผู้สนใจเข้าร่วมโครงการผลที่เกิดขึ้นมีครอบครัวที่ทำไร่นาสวนผสมสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน 8 ครัวเรือนและรับอาสาในการกระจายข่าวสู่ครัวเรือนอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมในวันนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ในการเข้าร่วมโครงการเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีสามารถสร้างมั่นคงทั้งทางด้านอาหารและเศรษฐกิจให้กับครอบครัวทุกคนได้ มีครัวเรือนบางส่วนที่ขอเวลาปรึกษาคนในครอบครัวก่อนและมีผู้อาสาร่วมในการสำรวจข้อมูลตามที่ได้วางไว้ ปัญหา/แนวทางแก้ไขเตรียมเก็บข้อมูลรายละเอียดของไร่นาสวนผสมและแผนที่แปลง ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
4. ทำความเข้าใจเครื่องมือประเมินตนเอง | วันที่ 28 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00-12.00 น.วัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเครื่องมือประเมินตนเองและปรับแก้ ลักษณะกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมจำนวน 4 คนและพี่เลี้ยงจาก สจรส 2 คนเนื่องจากมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันในการประสานงานครัวเรือนแกนนำเป้าหมายจึงไม่ได้ตามเป้าหมายจึงมีการนัดหมายกันใหม่ในครั้งต่อไป การพูดคุยในวันนี้จึงได้แค่การแลกเปลี่ยนเรื่องสวนของคุณประสิทธ์ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้นัดแกนนำที่ทำไร่นาสวนผสมพูดคุยทำความเข้าใจเครื่องมือประเมินตนเองผลที่เกิดขึ้น•นัดวันเพื่อให้ทีมอาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลมาพบกับครัวเรือนต้นแบบ เพื่อสอนการใช้เครื่องมือประเมินตนเอง และเพื่อปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือให้ใช้ง่ายและเหมาะกับพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรชาตรี |
||||
5. ประชุมครัวเรือนต้นแบบเพื่อรับสมัครผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ | วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-12.30 น.วัตถุประสงค์เพื่อรับคนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ลักษณะกิจกรรมเริ่มเวลา 9.00 น.มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คนทั้งแกนนำชาวนาและคนที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมรับฟัง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกเทศบาล คุณอัษฎา บุษบงค์ได้ชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบเกี่ยวกับจุดประสงค์ของการทำโครงการ และให้ความเห็นว่าที่ผ่านๆมาพวกเราทำนาหรืออะไรก็แล้วแต่ไม่ค่อยมีการเก็บข้อมูลหรือมีการถอดบทเรียนการทำงานทั้งๆทีทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก น่าจะได้นำความรู้เหล่านี้มาถ่ายทอดให้คนอื่นๆได้รู้บ้างเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน คุณโกวิทย์ ทะลิทอง กำนันตำบลเชิงแส ก็ได้ร่วมให้ความคิดเห็น เห็นด้วยกับคุณอัษฎา เพราะคนบ้านเรายังขาดการจัดการที่ดีในหลายๆเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการทำอาชีพซึงเป็นรายได้หลักของทุกๆคนเป็นเรื่องปากท้องของทุกคน ถ้าหากสามารถนำมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ร่วมจัดการร่วมกันก็จะดีกว่าต่างคนต่างทำโดยเฉพาะเรื่องของเมล็ดพันธ์ก็ได้ปรึกษากับคณะทำงานโครงการเพื่อให้มีธนาคารเมล็ดพันธ์ในชุมชนของเรา เพราในแต่ละปีตำบลเราต้องซื้อเมล็ดพันธ์ข้าวจากข้างนอกปีละประมาณเกือบ 4 ล้านถ้าสมารถทำได้เงินส่วนนี้จะได้หมุนเวียนในตำบลของเรา ซึงเห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ชุมชนของเราต้องจัดการ ส่วนถ้าใครมีปัญหาในเรื่องอะไรก็จะได้พูดคุยในรายละเอียดกันต่อไปเป็นเรื่องที่พวกเราต้องคุยกันต่อ ซึงในเวทีวันนี้ได้ผู้สมัครใจจำนวน 10 รายที่พร้อมจะเข้าร่วมในกิจกรรมโครงการ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ประชุมชี้แจงโครงการและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการผลที่เกิดขึ้นได้ผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการและมีเรื่องพูดคุยกันต่อของแกนนำในการจัดการผลผลิตร่วมกันและแนวทางเพื่อให้มีการจัดการเรื่องให้มีธนาคารเมล็ดพันธ์ในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
6. พัฒนาเครื่องมือประเมินตนเอง | วันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 - 12.00 น.วัตถุประสงค์เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการประเมินตนเอง ลักษณะกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมทั้งหมดจำนวน 16 คน จากครัวเรือนแกนนำ 13 ครัวเรือน คุณสุวรรณนา สุวรรณชาตรี และคุณโชติรส ศรีระสันต์ ตัวแทนจาก สจรส.ได้มีการนำแผนงานหลักๆของตำบลเชิงแสมาดูร่วมกันและนำเครื่องมือที่คุณวรรณานำมาซึ่งหลานคนในเวทีมีความเห็นร่วมกันว่าน่จะปรับใหม่เพื่อง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูลในการนำมาประเมินตนเองโดยปรับให้สอดคล้องกับการจัดเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนต้นแบบเพื่อประเมินตนเองและนำมาเป็นข้อมูลเบื้องตน้นในการพัฒนาและการจัดการตนเองอย่างเป้นระบบในการจัดการความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือน และในเวทีได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนการทำงานความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของตนเอง มีการกำหนดปฏิทินเพื่อจัดเก็บข้อมูลในเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในเดือน มกราคม 2558 และมีการนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 ธันวาคมเพื่อนำเครื่องมือที่ปรับมาดูร่วมกันรวมทั้งวิธีการบันทึกข้อมูลการทำบัญชีครัวเรือนโดยการลงบันทึกในแปลงจริง และมีการนัดเพื่อไปศึกษาดูงานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีระบบฉบับครัวเรือน ณ.บ้านหนำควาย อ.เมือง จ.ตรัง ในวันที่ 28 พ.ย. 57 |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ประชุมเพือแลกเปลี่ยนและปรับเครื่องมือประเมินตนเองด้านความมั่นคงด้านอาหารของวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือประเมินตนเอง ประเมินการดำรงชีวิตของครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้เกิดการจัดการข้อมูลในระดับครอบครัวเและเพื่อต้องการให้ครัวเรือนตัวอย่างได้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มพัฒนาระบบการเกษตรในพื้นที่ตำบลเชิงแสผลที่เกิดขึ้นได้ปรับเครื่องมือประเมินตนเองให้มีเนื้อหาที่สะดวกในการเก็บข้อมูลระดับครัวเรือน 2.เครื่องมือประเมินตนเองที่ปรับ เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับบัญชีครัวเรือน 3.ได้ปฏิทินการทำงานของพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไขศึกษาดูงานเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ช่วยปรับเครื่องมือการประเมินตนเอง ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณสุวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
7. ศึกษาดูงานเพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ | วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 เวลา 07:00-17.30 น.วัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในพื้นที่ ลักษณะกิจกรรมมีครัวเรือนแกนนำเข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 9 ครัวเรือนเพื่อศึกษางานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นมีระบบฉบับครัวเรือนเพื่อนำมาปรับใช้ของครัวเรือนต้นแบบ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ศึกษางานการจัดการตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นมีระบบฉบับครัวเรือนเพื่อนำมาปรับใช้ของครัวเรือนต้นแบบผลที่เกิดขึ้นครัวเรือนแกนนำได้ความรู้ในการจัดการครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง เช่น วิธีการปลูกผักชนิดต่างๆ การทำนำ้หมัก การทำหัวเชื้อ อีเอ็ม ฯลฯ ปัญหา/แนวทางแก้ไขนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติการจริงและขยายผลต่อในพื้นที่ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
8. ประชุมทำความเข้าใจแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล | วันที่ 7 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจในการลงข้อมูลในแบบฟอร์มและนำไปปฏิบัติการจริงของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ลักษณะกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คนและเจ้าหน้าที่จาก สจรส. จำนวน 2 คน ได้มีการนำแบบฟอร์มซึ่งผ่านการปรับมาแล้ว 2 ครั้งมาฝึกลงข้อมูลเพื่อจะได้มีความเข้าใจตรงกัน ปรากฏว่าในการลงข้อมูลจริงค่อนข้างจะยุ่งยากพอสมควรเพราะข้อมูลมีความละเอียดมากในเรื่องตัวเลข แต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือและพร้อมที่จะนำไปบันทึกต่อโดยโดยมีการแบ่งแบบฟอร์มเป็น 2 ชุด ครึ่งเดือนแรกและครึ่งเดือนหลัง บันทึกเป็นรายวัน หลังจากนั้นก็จะนำข้อมูลที่ได้เพื่อนำมาประมวลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาต่อไป ซึ่งจะมีการนัดกันอีกทีในครั้งต่อไป |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ประชุมทำความเข้าใจแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลผลที่เกิดขึ้นสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อนำไปบันทึกด้วยตัวเองที่บ้าน ปัญหา/แนวทางแก้ไขต้องมีการทำบัญชีครัวเรือนควบคู่ไปด้วย ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
9. ติดตามการบันทึกข้อมูลการประเมินตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ | วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.วัตถุประสงค์เพื่อติดตามการบันทึกข้อมูลการประเมินตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ ลักษณะกิจกรรมในการปฏิบัติจริงผู้เข้าร่วมโครงการค่อนข้างมีความลำบากในการลงบันทึกข้อมูลเนื่องจากข้อมูลค่อนข้างมีความละเอียดและหลากหลายมากประกอบกับผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งส่วนใหญค่อนข้างอายุมากมีปัญหาในการอ่าน ในเรื่องของสายตาจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการบันทึกใหม่โดยให้ทุกคนบันทึกเฉพาะการรับจ่ายของตนเองลงสมุดและให็ผู้รับผิดชอบโครงการจัดการลงในแบบฟอร์มให้ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ติดตามการบันทึกข้อมูลการประเมินตนเองของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการผลที่เกิดขึ้นสมาชึกผู้เข้าร่วมโครงการไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มได้สมบูรณ์ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
10. จัดงานเทศกาลอาหารปลอดภัยเชิงแส | วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00วัตถุประสงค์1.เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพ (จากกิจกรรมการเจาะเลือด) 2.สร้างความร่วมมือในการทำงานเป็นทีม และความร่วมมือระหว่าง วัด - บ้าน - หน่วยงาน (ท้องที่) 3.นำเสนอผลงานผ่านกิจกรรมต่อหน่วยงานและภาคี ลักษณะกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมจำนวน 158 คน ประกอบด้วยทั้ง นายอำเภอกระแสสินธ์ กำนัน ผู้ใหญบ้านตำบลเชิงแส เจ้าคณะอำเภอกระแสสินธ์ุ นักวิชาการจาก ม.อ.หาดใหญ่ แกนนำชุมชนและประชาชนทั่วไป เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. มีการแบ่งเวทีเป็นกลุ่มย่อย ทำกิจกรรมไปพร้อมกันทั้งการเจาะเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือดโดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลกระแสสินธ์ และขณะเดียวกันอีกกิจกรรมก็เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และสาธิตการทำปุ๋ยหมักพร้อมทั้งแนะนำวิธีการใชีที่ถูกต้อง โดยอาจารย์วิรัตน์ กาญจนพรหม อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรกรรมตรังซึ่งเป็นเจ้าของศนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำความ จ.ตรัง และมีการร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นอาหารอาหารปลอดภัยเชิงแส ทั้งจากท่านนายอำเภอกระแสสินธ์ นักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เข้าร่วมในเวทีโดยมีประเด็นหลักๆที่ได้ คือทุกภาคีที่เข้าร่วมจับมือร่วมกันเพื่อขยายการทำเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยเพื่อความมั้นคงทางอาหาร ในช่วงเย็นร่วมรับประทานอาหารร่วมกันพร้อมกับชมดนตรี |
เป้าหมายที่ตั้งไว้จัดกิจกรรมเชิงปฏบัติการ มีการสาธิตการทำปุ๋ย เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด นำเสนอผลงานผ่ากิจกรรมต่อหน่วยงานและภาคีผลที่เกิดขึ้นเกิดความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด ชุมชน ท้องที่ ในการจับมือร่วมกันเพื่อขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์และอหารปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)
ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก
5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ
มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน
7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ
สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้
ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)
8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ