องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by junnaul @May,18 2013 14.50 ( IP : 202...1 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-014
งวดที่ 1

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)

ชื่อโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
ประชุมคณะทำงาน ร่วมกับ (สจรส) มอ หาดใหญ่ ครั้งที่ 3

วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.รายงานผลการดำเนินกิจกรรมแผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัยในระดับพื้นที่ควนรู

2.ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนงานที่รับผิดชอบในโครงการเพิ่มเติม

ตัวแทนของตำบลควนรู มีความเข้าใจแผนงานของโครงการ และพร้อมที่จะกำหนดแผนงานในการขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้รับกลับไปชี้แจงรายละเอียดให้กับผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นส วรรณา สุวรรณชาตรี 

ประชุมจัดทำ(ร่าง)เครื่องมือ สำรวจข้อมูล และแต่งตั้งคณะทำงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ

วันที่ 21 สิงหาคม 2556 เวลา 13:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

สร้างความเข้าใจและแต่งตั้งคณะทำงานแต่ละแผนงานย่อย เพื่อกำหนดทิศทางในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่

แต่งตั้งคณะทำงานโครงการฯ ดังนี้ ที่ปรึกษาโครงการ 5 คน ดังนี้ 1. นายถั่น  จุลนวล 2. นายศักดิ์ชัย  พูลผล 3. นายคำนึง ศรีสุวรรณ 4. นายสุนัย เสนวงษ์ 5. พระครูสิริญาณวิมล ผู้ประสานงานโครงการ 1. นางปริชาติ อุบลรังสีกุล 2. นายคำนึง  ศรีสุวรรณ คณะทำงาน แผนงานความมั่นคงทางอาหาร 1. นายถั่น  จุลนวล 2. นายบุญชอบ  ทองดี 3. นายนัน  คงสม 4. นายวิเชียร  บัวสม 5. นายไพบูลย์  หนูราช แผนงานความปลอดภัยทางด้านอาหาร 1. พ.ต.อ. เติม  อินทะสะระ 2. นายธีรวิชญ์  จันทกูล 3. นายพชรณน  จันทกูล 4. นางยุพิน  กิตติลีลา 5. นางระวิวรรณ  สุวรรณมณี แผนงานด้านโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย
1. นายสุนัย เสนวงษ์
2. นางประไพ วรกุลวัฒนา
3. นายคำนึง ศรีสุวรรณ (ผอ.รร.ชุมชนบ้านโคกค่าย) 4. นายสุเทพ  เซ่งล่าย (ผอ.รร.บ้านไทรใหญ่) 5. นางสาวเฉลิม  รัตน์แก้ว  (ผอ.รร.บ้านไสท้อน) 6. หัวหน้าศุนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ศูนย์ ฝ่ายจัดเก็บข้อมูลและเสนอรายงานความก้าวหน้า 1. นางอมิตา ประกอบชัยชนะ 2. นางสาวชวนพิศ  พลภากิจ ฝ่ายการเงิน 1. นายถั่น  จุลนวล 2. นายศุภกร อารมณ์ 3. นางสุมณฑา โชติการ ฝ่ายจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ -ตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน หมู่ละ 1-2 คน รวม 9 หมู่บ้าน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 1 / 56 เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานกิจกรรม

วันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

จัดทำ(ร่าง)แนวทางการดำเนินงานของแผนงานย่อย
1. แผนความมั่นคงทางอาหาร 2.แผนงานความปลอดภัยด้านอาหาร 3.แผนงานด้านโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

มีแนวทางการดำเนินกิจกรรมโดยมีผอ.รพสต. ผอ.โรงเรียน  หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แกนนำในชุมชน ร่วมหารือเพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการด้านโภชนาการในพื้นที่ตำบลควนรู

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 2 / 56 วางแผนการดำเนินงานและกำหนดปฏิทินกิจกรรมในการดำเนินงาน

วันที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • มีแนวทางการดำเนินกิจกรรมและปฏิทินกิจกรรม 3 แผนงานย่อย แผนงานโภชนาการด้านอาหาร
      การทำกิจกรรมด้านโภชนาการ และอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย
    กิจกรรมคุณภาพโภชนาการ มีกิจกรรมประชุมผู้ปกครองทำความเข้าใจและให้ความรู้ทางด้านคุณภาพโภชนาการเด็กเล็กและประถมวัย มีกลุ่มเป้าหมาย 320 คน
    • กิจกรรมลดอาหารขยะในวัยรุ่น(อ.ย.น้อย) มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารขยะในโรงเรียนและประเมินอาหารกลางวันในโรงเรียน -กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ โดย รพ.สต.ควนรู   - จัดอบรมส่งเสริมพัฒนาการสมวัยและโภชนาการ -ต้นแบบครัวเรือนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในเครัวเรือนและผู้ป่วยเรื้อรัง   - จัดประชุมทำความเข้าใจและให้ความรู้เรื่องผลกระทบจากพฤติกรรมการบริโภค   - จัดนิทรรศการอาหารปลอดภันเพื่อบริโภคและผู้ป่วยเรื้อรัง   - ติดตามผลจากแบบสอบถาม แผนงานด้านอาหารปลอดภัย   - ประชุม อสม.และแกนนำชุมชนเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย   - กิจกรรมตรวจสารอาหารปนเปื้อนในพื้นที่ แผนงานความมั่นคงทางอาหาร   - สำรวจข้อมูลทางด้านอาหารในพื้นที่   - จัดตั้งธนาคารอาหารเพื่อเก็บรวบรวมและกระจายเมล็ดพันธุ์และจัดทำอุทยานผักให้แก่ชุมชน

--มีกิจกรรมในการดำเนินงานทั้ง 3 แผนงานย่อยเพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในการบูรณาการเสริมสร้างโภชนาการด้านอาหาร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

โครงการจัดอบรมเรื่องคุณภาพโภชนาการให้กับ ผู้ปกครอง เด็กเล็ก เด็กประถม และวัยรุ่น

วันที่ 13 กันยายน 2556 เวลา 13.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมจำนวน 320 คน โดยมี ผู้ปกครอง เด็กเล็ก เด็กประถมวัย และวัยรุ่น
2.เชิญวิทยากรจาก รพ.สต. จำนวน 3 ท่าน มาให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัย 3.แจกเอกสารความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็กเล็ก และเด็กประถมวัย ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

-เด็กและเยาวชนในพื้นที่ มีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น -เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาตัวเองเรื่องการบริโภคอาหารที่่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เด็กและเยาวชน ควรได้รับบริการด้านสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย สามารถศึกษาเล่าเรียนได้เต็มที่ และมีความสุข เพราะฉนั้น การพัฒนาเด็ก ควรมุ่งไปที่โรงเรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นที่ที่สามารถอบรม สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำนโยบายชุมชนพื้นที่คลุมครองความมั่นคงด้านอาหารผ่านเครื่องมือ

วันที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 13:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ได้ตัวแทนหมู่บ้านที่จะลงพื้นที่ในการใช้เครื่องมือสำรวจครัวเรือนที่ทำการเกษตรครบทุกหมู่บ้าน รวม 9 หมู่บ้าน

2.ทำความเข้าใจในเครื่องมือแบบสำรวจจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ทำการเกษตร

3.แจกเครื่องมือแบบสอบถามให้กับตัวแทนในแต่ละหมู่บ้าน  ลงเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ทำการเกษตร

3.กำหนดส่งข้อมูลเครื่องมือแบบสอบถามภายในวันที 23-27 กันยายน 2556

1.ได้ตัวแทนหมู่บ้านที่จะลงพื้นที่ในการใช้เครื่องมือสำรวจครัวเรือนที่ทำการเกษตรครบทุกหมู่บ้าน รวม 9 หมู่บ้าน มีผูัเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 22 คน

2.ทำความเข้าใจในเครื่องมือแบบสำรวจจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ทำการเกษตร

3.แจกเครื่องมือแบบสอบถามให้กับตัวแทนในแต่ละหมู่บ้าน  ลงเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ทำการเกษตร

4.กำหนดส่งข้อมูลเครื่องมือแบบสอบถามภายในวันที 23-27 กันยายน 2556

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมจัดนิทรรศการอาหารภายในชุมชน ระหว่างหน่วยงานในชุมชน

วันที่ 19 กันยายน 2556 เวลา 09:00-15.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 120 คน
2.การให้ความรู้จากผู้นำของตำบลควนรู สื่อถึงชุมชนในภาพรวมของความมั่นคงทางด้านอาหาร เน้นถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารในแต่ละวันในแง่ของปริมาณและคุณภาพ เชื่อมโยงไปถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำไมจึงต้องปลูกผักกินเอง ( ประหยัด และปลอดภัยจากสารพิษ )

3.ชมการจัดนิทรรศการซึ่งทางโครงการได้จัดเตรียมเต้นท์ให้กับชาวบ้านที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม ได้โชว์ผลผลิตที่ได้จากการปลูกเองที่บ้าน

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 120 คน คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อสม. รพ.สต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. โรงเรียน และประชาชนในตำบล ให้ความสนใจและตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร นำความรู้กลับไปปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

2.การให้ความรู้จากผู้นำของตำบลควนรู สื่อถึงชุมชนในภาพรวมของความมั่นคงทางด้านอาหาร เน้นถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารในแต่ละวันในแง่ของปริมาณและคุณภาพ เชื่อมโยงไปถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำไมจึงต้องปลูกผักกินเอง ( ประหยัด และปลอดภัยจากสารพิษ )

3.ชมการจัดนิทรรศการซึ่งทางโครงการได้จัดเตรียมเต้นท์ให้กับชาวบ้านที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม ได้โชว์ผลผลิตที่ได้จากการปลูกเองที่บ้าน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณภาพของอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวัน มีประโยชน์หรือโทษอย่างไรต่อไป

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมผลิตพันธุ์พืชเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ ( พันธุ์ข้าว )

วันที่ 23 กันยายน 2556 เวลา 09:00-14.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

เนื่องจากศูนย์พันธุ์ข้าว จ.พัทลุง  ได้แจกเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับตำบลควนรู  เพื่อนำมาปลูกขยายเมล็ดพันธุ์ให้กับชุมชนในตำบลควนรู ทีมงานได้ดำเนินการปลูกพันธุ์ข้าวที่ได้รับ  โดยการเช่ารถไถ่นา และรถดำนา เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินกิจกรรม  และจะขยายเมล็ดพันธุ์ให้กับชุมชนต่อไป ซึ่งทางโครงการได้ทำการไถ่นา จำนวน 2 ไร่ และดำนาโดยรถไถ่ เพื่อรอให้ต้นข้าวเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตแจกจ่ายให้กับชุมชนต่อไป

ทางโครงการได้ทำการไถ่นา จำนวน 2 ไร่ และดำนาโดยรถไถ่ เพื่อรอให้ต้นข้าวเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตแจกจ่ายให้กับชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมวางแผนงานความปลอดภัยทางด้านอาหาร (ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค)

วันที่ 24 กันยายน 2556 เวลา 13:30-16.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานจำนวน 23 คน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมในการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางด้านอาหาร

1.ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 23  คน ทำความเข้าใจในแผนงาน และร่วมหาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานความปลอดภัยทางด้านอาหาร
โดยทางศูนย์พิทักษ์สิทธิฯร่วมกับ รพ.สต.และอสม. ในพื้นที่ วางแผนงานกิจกรรมในการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร  และควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์ในการบรรจุอาหาร โดยให้คณะทำงานเริ่มต้นที่ตัวเองเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับชุมชน และจะประชุมจัดอบรมสาธิตการตรวจสอบสารปนเปื้อนให้แก่แกนนำ และคณะทำงาน ในเดือนตุลาคม ต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ์ผู้บริโภคให้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานโครงการ ร่วมกับสจรส ครั้งที่ 4

วันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ทำความเข้าใจกับการทำข้อมูลในเว้ปไซร์ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้และการจัดทำเอกสารการเงินโครงการ

1.ประชุมคณะทำงานโครงการ ร่วมกับสจรส ครั้งที่ 4 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจในการเรียนรู้การทำข้อมูลในเว้ปไซร์เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ และเอกสารการเงินโครงการ โดยมีตัวแทนโครงการเข้าร่วมประชุม 2 ท่าน คือ 1.นายถั่น จุลนวล  2.นางอมิตา  ประกอบชัยชนะ  ร่วมกับพื้นที่อื่นๆ

2.เคลียร์ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมประชุมประจำเดือน ร่วมกับ สจรส ที่ยังขาดการบันทึก เดือน มิถุนายน ครั้งที่ 1 จำนวน 2 ท่าน คือ นายถั่น  จุลนวล และนางอมิตา  ประกอบชัยชนะ  เดือน กรกฎาคม 2556 ครั้งที่ 2 จำนวน 1 ท่าน คือ นางอมิตา  ประกอบชัยชนะ  รวมกับเดือนนี้ จำนวน 2 ท่าน คือ นายถั่น จุลนวล และนางอมิตา ประกอบชัยชนะ  เป็นเงินทั้งสิ้น 1,500 บาท

3.ประชุมเตรียมจัดเวทีคืนข้อมูลภาวะโภชนาการ ร่วมกับ อ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ เพื่อปรึกษาหารือเรื่องการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับตำบลควนรู ในวันที่ 21 ตุลาคม 2556

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นส. วรรณา สุวรรณชาตรี

นัดส่งแบบสัมภาษณ์ข้อมูลครัวเรือน

วันที่ 8 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน รับเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ เพื่อนำไปสำรวจข้อมูลครัวเรือน ในแต่ละหมู่บ้านจะมีการปลูกพืชเกษตรไม่เท่ากัน ขณะนี้ ทุกหมู่บ้านได้ส่งข้อมูลแบบสัมภาษณ์คืนให้กับโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และโครงการจะนำไปวิจัยเพื่อส่งคืนข้อมูลครัวเรือนให้กับตำบลต่อไป

ตัวแทนทั้ง 9 หมู่บ้าน ได้รับเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ เพื่อนำไปสำรวจข้อมูลครัวเรือน ในแต่ละหมู่บ้านจะมีการปลูกพืชเกษตรไม่เท่ากัน ขณะนี้ ทุกหมู่บ้านได้ส่งข้อมูลแบบสัมภาษณ์คืนให้กับโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และโครงการจะนำไปวิจัยเพื่อส่งคืนข้อมูลครัวเรือนให้กับตำบลต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.การสำรวจข้อมูลครัวเรือน บางครัวเรือนต้องออกไปทำงานช่วงกลางวัน ทำให้การเก็บข้อมูลมีการติดขัดและล่าช้า

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมวางแผนจัดเวทีคืนข้อมูลภาวะโภชนาการตำบลควนรู

วันที่ 9 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ผู้เข้าร่วมประชุมรวม  15 คน
2.ชี้แจงเนื้อหาในการจัดกิจกรรม คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดสถานที่ในการจัดกิจกรรม แต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายต่างๆ  และกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมประชุมรวม  15 คน
2.ชี้แจงเนื้อหาในการจัดกิจกรรม คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดสถานที่ในการจัดกิจกรรม แต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายต่างๆ  และกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ตำบลควนรู จัดเวทีคืนข้อมูลภาวะโภชนาการอาหารสมวัย

วันที่ 21 ตุลาคม 2556 เวลา 09:30-12.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.รศ.พญ.ลัดดา  เหมาะสุวรรณ ได้สรุปผลจากการสำรวจ วิจัยจากผลเลือดของเด็กในพื้นที่ โดยการสุ่ม และการซักถามพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัน

2.รศ.พญ.ลัดดา  เหมาะสุวรรณ ได้คืนข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะของเด็กตำบลควนรู  ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ก.ค.-ส.ค.56 และนัดคืนข้อมูลให้กับตำบลควนรูไม่เกินเดือนตุลาคม 2556

3.สาเหตุที่่่ขัดขวางไม่ให้เด็กมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ ประกอบด้วย 4 ประการดังนี้

3.1 ภาวะทุพโภชนาการ

3.2 การขาดธาตุไอโอดีน

3.3 โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

3.4 การขาดการเลิ้ยงดูและให้การศึกษาที่กระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อ มี 2 ปัจจัยคือ

  • การเติบโตต่ำในครรภ์แม่

  • การได้รับนมแม่ และระดับการศึกษาของแม่

4.ความสำคัญของผู้เลี้ยงดูหลักในแต่ละช่วงอายุ

5.สภาพแวดล้อมของเด็ก เช่น เด็กครึ่งหนึ่งมีร้านเกมส์อยู่ใกล้บ้าน ร้านค้าที่ขายเหล้า บุหรี่ โรงงานอุตสาหกรรม และบ่อนการพนัน

  1. พฤติกรรมการกินในแต่ละวัย ซึ่งปัญหาที่เกิดก็คือ การละเลยอาหารในมื้อเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ การรับประทาน ผัก ผลไม้ ที่ไม่เพียงพอต่อวัน การบริโภคน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ ซึ่งเป็นอาหารขยะ ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

7.การคืนข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ร้อยละ 5.1 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 9.6 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์  ร้อยละ 3.6  เริ่มอ้วน และร้อยละ 3.6 อ้วน  ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์สากลขององค์การอนามัยโลก ร้อยละ 14.2 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 6.3 น้ำหนักเกินเริ่มอ้วน ร้อยละ 3.1
8.เด็กประมาณร้อยละ 8 มีภาวะซีด

9.วัยเรียน อายุ 6-14 ปี ร้อยละ 4.3 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์  ร้อยละ 2 น้้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10 เริ่มอ้วน ร้อยละ 3.7 อ้วน และร้อยละ 5.6 ผอม และเด็กประมาณร้อยละ 13 มีภาวะซีด

10.แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อตอบโจทย์คำถาม ซึ่งเป็นกลวิธีในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กต่อไป  ซึ่งสรุปได้ดังนี้

(1) แผนงานด้านความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรม

1.1 จัดตั้งธนาคารอาหารเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์พืชสู่ชุมชน

1.2 ปลูกผักสวนครัวรับประทานเอง  หรือจำหน่าย

1.3 จัดหาแหล่งบริการ  โดยจัดตั้งตลาดสีเขียวโดยชุมชนในพื้นที่

1.4 แม่ปลูกลูกดูแล  โดยส่งเสริมผู้ปกครองให้ปลูกผัก  และชวนบุตรหลานร่วมกิจกรรมเพื่อปลูกฝังบุตรหลานให้รู้จักการกินอยู่อย่างพอเพียง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
  • ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตำบลควนรู
  • รพ.สต.
  • โรงเรียน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • อสม.

กลุ่มเป้าหมาย

  • โรงเรียน
  • ครอบครัว  ( ผู้ปกครอง , บุตร , หลาน )
  • ชุมชนในพื้นที่ตำบลควนรู

การติดตามประเมินผล

  • เยี่ยมเยียนครัวเรือนที่มีการปลูกผักกินเองทุกๆ 4 เดือน
  • สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับครัวเรือนที่มีความต้องการขยายเนื้อที่

(2) แผนงานด้านความปลอดภัยด้านอาหาร

กิจกรรม

2.1  ให้ความรู้โดยการสาธิตตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

2.2  ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ความรู้คุณค่าทางโภชนาการ

2.3  จัดสุขาภิบาลด้านอาหารวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดอาหารขยะในโรงเรียน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
  • ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตำบลควนรู
  • รพ.สต.
  • โรงเรียน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • อสม.
  • แกนนำหมู่บ้าน

กลุ่มเป้าหมาย

  • โรงเรียน
  • ครอบครัว  ( ผู้ปกครอง , บุตร , หลาน )
  • ชุมชนในพื้นที่ตำบลควนรู
  • ร้านค้าในพื้นที่

การติดตามประเมินผล

  • สุ่มตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารทุกๆ 3  เดือน
  • ทดสอบความรู้ความเข้าใจอันตรายจากการบริโภคอาหารขยะ หรืออาหารที่มีสารปนเปื้อน

(3) แผนงานด้านโภชนาการ และอาหารเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย กิจกรรม

3.1 โรงเรียนพ่อแม่ การให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์  12  สัปดาห์ จนคลอด  โดยการฝากครรภ์ และตรวจร่างกาย

3.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการสมวัยให้กับผู้ปกครองที่มีบุตร อายุ 0 – 2 ปี , 3 – 5 ปี  และ 6 – 14 ปี

3.3 เปลี่ยนนิสัยการบริโภคจากขนมหวานเป็นผลไม้

3.4 คุณภาพนมในโรงเรียน

3.5 การบริการอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการ

3.6 หนูน้อยวัยใสปลอดภัยจากอาหารขยะ

3.7 แม่แท้พบแม่ครู

3.8 จัดอาหารมื้อเช้าในโรงเรียน

3.9 ให้ความรู้เรื่องความสำคัญของอาหารในแต่ละมื้อ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  • องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู
  • ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตำบลควนรู
  • รพ.สต.
  • โรงเรียน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • อสม.
  • แกนนำหมู่บ้าน
  • ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

  • โรงเรียน
  • ครอบครัว  ( ผู้ปกครอง , บุตร , หลาน )
  • ชุมชนในพื้นที่ตำบลควนรู
  • ร้านค้าหน้าโรงเรียน

การติดตามประเมินผล

  • สมุดฝากครรภ์
  • สมุดบันทึกพัฒนาการของเด็กจากสมุดประจำตัว
  • ตรวจสอบสภาวะทุพโภชนาการทุกๆ 3  เดือน
  • ทดสอบสมรรถภาพทางกาย
  • การชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูง
  • สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค

1.รศ.พญ.ลัดดา  เหมาะสุวรรณ ได้สรุปผลจากการสำรวจ วิจัยจากผลเลือดของเด็กในพื้นที่ โดยการสุ่ม และการซักถามพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัน

2.รศ.พญ.ลัดดา  เหมาะสุวรรณ ได้คืนข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะของเด็กตำบลควนรู  ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ก.ค.-ส.ค.56 และนัดคืนข้อมูลให้กับตำบลควนรูไม่เกินเดือนตุลาคม 2556

3.สาเหตุที่่่ขัดขวางไม่ให้เด็กมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ ประกอบด้วย 4 ประการดังนี้

3.1 ภาวะทุพโภชนาการ

3.2 การขาดธาตุไอโอดีน

3.3 โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

3.4 การขาดการเลิ้ยงดูและให้การศึกษาที่กระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อ มี 2 ปัจจัยคือ การเติบโตต่ำในครรภ์แม่ การได้รับนมแม่ และระดับการศึกษาของแม่

4.ความสำคัญของผู้เลี้ยงดูหลักในแต่ละช่วงอายุ

5.สภาพแวดล้อมของเด็ก เช่น เด็กครึ่งหนึ่งมีร้านเกมส์อยู่ใกล้บ้าน ร้านค้าที่ขายเหล้า บุหรี่ โรงงานอุตสาหกรรม และบ่อนการพนัน

6.พฤติกรรมการกินในแต่ละวัย ซึ่งปัญหาที่เกิดก็คือ การละเลยอาหารในมื้อเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ การรับประทาน ผัก ผลไม้ ที่ไม่เพียงพอต่อวัน การบริโภคน้ำอัดลม และขนมกรุบกรอบ ซึ่งเป็นอาหารขยะ ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

7.การคืนข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ร้อยละ 5.1 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 9.6 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์  ร้อยละ 3.6  เริ่มอ้วน และร้อยละ 3.6 อ้วน  ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์สากลขององค์การอนามัยโลก ร้อยละ 14.2 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 6.3 น้ำหนักเกินเริ่มอ้วน ร้อยละ 3.1

8.เด็กประมาณร้อยละ 8 มีภาวะซีด

9.วัยเรียน อายุ 6-14 ปี ร้อยละ 4.3 ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์  ร้อยละ 2 น้้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10 เริ่มอ้วน ร้อยละ 3.7 อ้วน และร้อยละ 5.6 ผอม และเด็กประมาณร้อยละ 13 มีภาวะซีด

10.แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อตอบโจทย์คำถาม ซึ่งเป็นกลวิธีในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กต่อไป  ซึ่งสรุปได้ดังนี้

(1) แผนงานด้านความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรม

1.1 จัดตั้งธนาคารอาหารเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์พืชสู่ชุมชน

1.2 ปลูกผักสวนครัวรับประทานเอง  หรือจำหน่าย

1.3 จัดหาแหล่งบริการ  โดยจัดตั้งตลาดสีเขียวโดยชุมชนในพื้นที่

1.4 แม่ปลูกลูกดูแล  โดยส่งเสริมผู้ปกครองให้ปลูกผัก  และชวนบุตรหลานร่วมกิจกรรมเพื่อปลูกฝังบุตรหลานให้รู้จักการกินอยู่อย่างพอเพียง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตำบลควนรู รพ.สต. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อสม.

กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียน ครอบครัว  ( ผู้ปกครอง , บุตร , หลาน ) ชุมชนในพื้นที่ตำบลควนรู

การติดตามประเมินผล

เยี่ยมเยียนครัวเรือนที่มีการปลูกผักกินเองทุกๆ 4 เดือน สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชสำหรับครัวเรือนที่มีความต้องการขยายเนื้อที่

(2) แผนงานด้านความปลอดภัยด้านอาหาร

กิจกรรม

2.1  ให้ความรู้โดยการสาธิตตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

2.2  ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ความรู้คุณค่าทางโภชนาการ

2.3  จัดสุขาภิบาลด้านอาหารวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดอาหารขยะในโรงเรียน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตำบลควนรู รพ.สต. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อสม. แกนนำหมู่บ้าน

กลุ่มเป้าหมาย

โรงเรียน ครอบครัว  ( ผู้ปกครอง , บุตร , หลาน ) ชุมชนในพื้นที่ตำบลควนรู ร้านค้าในพื้นที่

การติดตามประเมินผล

สุ่มตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารทุกๆ 3  เดือน ทดสอบความรู้ความเข้าใจอันตรายจากการบริโภคอาหารขยะ หรืออาหารที่มีสารปนเปื้อน

(3) แผนงานด้านโภชนาการ และอาหารเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

กิจกรรม

3.1 โรงเรียนพ่อแม่ การให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์  12  สัปดาห์ จนคลอด  โดยการฝากครรภ์ และตรวจร่างกาย

3.2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการสมวัยให้กับผู้ปกครองที่มีบุตร อายุ 0 – 2 ปี , 3 – 5 ปี  และ 6 – 14 ปี

3.3 เปลี่ยนนิสัยการบริโภคจากขนมหวานเป็นผลไม้

3.4 คุณภาพนมในโรงเรียน

3.5 การบริการอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการ

3.6 หนูน้อยวัยใสปลอดภัยจากอาหารขยะ

3.7 แม่แท้พบแม่ครู

3.8 จัดอาหารมื้อเช้าในโรงเรียน

3.9 ให้ความรู้เรื่องความสำคัญของอาหารในแต่ละมื้อ หน่วยงานที่รับผิดชอบ

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตำบลควนรู รพ.สต. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อสม. แกนนำหมู่บ้าน ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย โรงเรียน ครอบครัว  ( ผู้ปกครอง , บุตร , หลาน ) ชุมชนในพื้นที่ตำบลควนรู ร้านค้าหน้าโรงเรียน

การติดตามประเมินผล

สมุดฝากครรภ์ สมุดบันทึกพัฒนาการของเด็กจากสมุดประจำตัว ตรวจสอบสภาวะทุพโภชนาการทุกๆ 3  เดือน ทดสอบสมรรถภาพทางกาย การชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูง สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นจากคำถามที่ทีมงานได้ตั้งขึ้นมา  โดยการบูรณาการทั้ง 3 แผนงานให้ดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันคือ แผนความมั่นคง แผนความปลอดภัย และแผนอาหารและโภชนาการสมวันนำคำถามที่โครงการได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ส่งสรุปข้อมูลแบบสัมภาษณ์ 9 หมู่บ้าน

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 เวลา 08:30-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ตัวแทนหมู่บ้าน จำนวน  3  คน  ได้สรุปข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อสรุปส่งให้โครงการนำไปวิเคราะห์วิจัยต่อไป

ตัวแทนหมู่บ้าน จำนวน  3  คน  ได้สรุปข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อสรุปส่งให้โครงการนำไปวิเคราะห์วิจัยต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อมูลที่ได้รับ ยังไม่ละเอียดเท่าที่ควร จึงต้องส่งให้ผู้สัมภาษณ์กลับไปขอข้อมูลเพิ่มเติม จึงอาจทำให้ล่าช้าในการรวบรวมข้อมูล

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมวางแผนจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-12.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

โครงการบูรณาการฯ  และหน่วยงานในพื้นที่ จำนวนประมาณ  20  คน  ที่เกี่ยวข้อง  ได้ร่วมกันระดมความคิด  เพื่อจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้ปกครองและเด็ก  ได้เห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารมื้อเช้า และการบริโภคผลไม้ที่ถูกต้อง  โดยกำหนดกิจกรรมได้ประมาณ  7  กิจกรรม  ดังนี้ 1.การรณรงค์ให้ผู้ปกครองเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า และผลไม้ 2.การรณรงค์ให้เด็กเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า และผลไม้  โดยจัดการแสดง 1 ชุด 3.สนับสนุนผลไม้ให้กับโรงเรียนเป็นเวลา 1 ภาคเรียน 4.การแจกเมล็ดพันธุ์พืชให้กับผู้ปกครองที่มีความสนใจจะปลูกรับประทานเองหรือจำหน่าย 5.สนับสนุนพื้นที่ตลาดนัดสีเขียวและประชาสัมพันธ์ผักปลอดสารพิษ 6.จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ให้ความรู้ตั้งแต่ภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์จนถึงเด็กอายุ 2 ปี 7.กิจกรรมกลไกการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยการสาธิต และให้ความรู้ถึงอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหาร

ผู้เข้าร่วมประชุมได้กำหนดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้ปกครองและเด็ก  ได้เห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารมื้อเช้า และการบริโภคผลไม้ที่ถูกต้อง  โดยกำหนดกิจกรรมได้ประมาณ  7  กิจกรรม  ดังนี้ 1.การรณรงค์ให้ผู้ปกครองเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า และผลไม้ 2.การรณรงค์ให้เด็กเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า และผลไม้  โดยจัดการแสดง 1 ชุด 3.สนับสนุนผลไม้ให้กับโรงเรียนเป็นเวลา 1 ภาคเรียน 4.การแจกเมล็ดพันธุ์พืชให้กับผู้ปกครองที่มีความสนใจจะปลูกรับประทานเองหรือจำหน่าย 5.สนับสนุนพื้นที่ตลาดนัดสีเขียวและประชาสัมพันธ์ผักปลอดสารพิษ 6.จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ให้ความรู้ตั้งแต่ภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์จนถึงเด็กอายุ 2 ปี 7.กิจกรรมกลไกการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยการสาธิต และให้ความรู้ถึงอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหาร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมประจำเดือนพฤศจิกายน

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-12.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.แต่ละกิจกรรมย่อยรายงานความคืบหน้าของงานที่จะดำเนินการต่อไปให้เสร็จสิ้นภายในอีก  5  เดือนถัดไป

2.วางแผนงานจัดกิจกรรมตลาดนัดความรู้  โดยกำหนดวันที่  สถานที่  และลักษณะกิจกรรม

3.การต่อยอดโครงการของสำนัก 6 (สร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม) ชุมชนละ  1  โครงการ  โดยการฝึกอบรมผู้สนใจที่จะทำโครงการอย่างน้อย  3  เดือน เกี่ยวกับเรื่อง การฝึกทำข้อมูล การทำแผน  การบริหารจัดการโครงการ  วัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้  โดยเน้นเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะด้านอาหารเป็นสำคัญ

1.คณะทำงานแต่ละกิจกรรม ได้รายงานความคืบหน้าของงานที่จะดำเนินการต่อไปให้เสร็จสิ้นภายในอีก  5  เดือนถัดไป

2.วางแผนงานจัดกิจกรรมตลาดนัดความรู้  โดยกำหนดวันที่  สถานที่  และลักษณะกิจกรรม

3.การต่อยอดโครงการของสำนัก 6 (สร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม) ชุมชนละ  1  โครงการ  โดยการฝึกอบรมผู้สนใจที่จะทำโครงการอย่างน้อย  3  เดือน เกี่ยวกับเรื่อง การฝึกทำข้อมูล การทำแผน  การบริหารจัดการโครงการ  วัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้  โดยเน้นเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะด้านอาหารเป็นสำคัญ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

แต่ละกิจกรรม ควรเร่งดำเนินการให้ทันในช่วงระยะเวลาที่เหลืออีก  5  เดือน จากนี้ไป  ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานสำรวจข้อมูล โดย อ.อมาวสี

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-13.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ตัวแทน อสม. หมู่บ้านละ  2  คน  เข้าร่วมประชุมอบรมเพื่อทำความเข้าใจแบบสัมภาษณ์ครัวเรือน

2.กำหนดส่งข้อมูลปลายเดือนพฤศจิกายน  2556  เพื่อนำไปวิเคราะห์ ข้อมูลตำบลต่อไป

ผู้เข้าร่วมประชุม  มีความเข้าใจในโครงการเป็นอย่างดี  และเต็มใจที่จะสำรวจข้อมูลให้เสร็จตามวันเวลาที่กำหนด

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.การซักถามข้อมูลการเลี้ยงดู  การให้อาหาร  ความวิตกกังวลของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู เรื่องพัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก  ตลอดจนความสัมพันธ์ของพ่อแม่และบุคคลในครอบครัว

2.การตรวจการเจริญเติบโตของร่างกาย และ พัฒนาการ  การตรวจคัดกรองความผิดปกติ    แปลผลให้พ่อแม่ทราบ  โดยการมีส่วนร่วมและรับรู้ของพ่อแม่ ในการประเมินผล  และสังเกตสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับพ่อแม่ หรือ พ่อกับแม่ ที่อาจมีผลกระทบต่อการเลี้ยงดูเด็ก หรือ การกระทำรุนแรงต่อเด็ก

3.การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามกำหนด  อธิบายประโยชน์ และอาการข้างเคียง

4.การให้คำแนะนำการเลี้ยงดูล่วงหน้า  การเลี้ยงด้วยนมแม่ อาหารตามวัย  แนะนำการเลี้ยงดูเด็ก  การป้องกันอุบัติเหตุ  รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการ

  1. พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพเด็ก เฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาการเด็ก การเจริญเติบโต  ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ตามคำแนะนำในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
  2. พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความรู้  สามารถสังเกตความผิดปกติของพัฒนาการเด็ก  และส่งเสริมพัฒนาการเด็กในเบื้องต้นได้
  3. พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ในการดูแลเด็กที่เป็นโรคที่พบบ่อย เช่น หวัด สามารถเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ดูแลสุขภาพเด็ก และรู้จักการใช้ยาอย่างถูกต้อง
  4. ทารกแรกเกิดได้รับการคัดกรองโรค และความผิดปกติ ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อการรักษา บำบัด ฟื้นฟูตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

พัฒนากลไกการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยด้านอาหาร

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ประกอบการร้านค้า  และอสม.ประจำหมู่บ้าน
2.แจกเอกสารความรู้  และแผ่นพับ 3.สาธิตสารปนเปื้อนในอาหาร 8 ชนิด 

  1. อสม.มีความรู้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ในการเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย  มีประโยชน์ต่อสุขภาพ 2.ประชาชนในพื้นที่ได้รับความปลอดภัยและความมั่นใจในการบริโภคอาหาร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.แนวทางในการตรวจประเมิน การเฝ้าระวังคุณภาพอาหารควรพิจารณาทบทวนเหมาะสมกับปัญหาและสภาพพื้นที่
2.เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในเชิงกว้าง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมวางแผนกิจกรรมกระตุ้นให้เด็กรับประทานผักผลไม้

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-12.00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ วางแผนรณรงค์ให้ผู้ปกครอง ได้ให้ความสำคัญของการบริโภคอาหารมื้อเช้า โดยการจัดประชุมเชิญวิทยากรให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครอง

2.การกระตุ้นเรื่องการบริโภคผลไม้ของเด็กในวัยเรียนทุกวัน

3.การแจกเมล็ดพันธุ์พืชให้กับผู้ปกครองนักเรียนที่มีความสนใจจะปลูกกินเองหรือจำหน่าย

4.การเปิดตลาดนัดสีเขียวเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้สถานที่ตลาดนัดเช้าวันพุธ ซึ่งผ่านการตรวจสอบสารปนเปื้อนโดยทาง รพ.สต.โหละยาว เป็นผู้ตรวจ และการจัดแพ็คกิ้งผักปลอดสารพิษบรรจุลงถุงพร้อมติดฉลากอาหารปลอดภัย

ผู้เข้าร่วมประชุม ร่วมกันเสนอความคิดเห็นร่วมกัน โดยสรุปได้ดังนี้ 1.ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ วางแผนรณรงค์ให้ผู้ปกครอง ได้ให้ความสำคัญของการบริโภคอาหารมื้อเช้า โดยการจัดประชุมเชิญวิทยากรให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครอง

2.การกระตุ้นเรื่องการบริโภคผลไม้ของเด็กในวัยเรียนทุกวัน

3.การแจกเมล็ดพันธุ์พืชให้กับผู้ปกครองนักเรียนที่มีความสนใจจะปลูกกินเองหรือจำหน่าย

4.การเปิดตลาดนัดสีเขียวเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้สถานที่ตลาดนัดเช้าวันพุธ ซึ่งผ่านการตรวจสอบสารปนเปื้อนโดยทาง รพ.สต.โหละยาว เป็นผู้ตรวจ และการจัดแพ็คกิ้งผักปลอดสารพิษบรรจุลงถุงพร้อมติดฉลากอาหารปลอดภัย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรม กาลครั้งหนึ่ง..เมื่ออาหารแปลงร่าง

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00-16.30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การฟัง คิด เล่า เล่น เขียน เรื่องราวให้เป็นนิทานให้กับ ครู อาจารย์  นักเรียน  อสม.  โดยใช้กระบวนการเล่านิทานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการดูแลแหล่งทรัพยากรที่เรามีอยู่

มีผู้เข้าร่วมอบรมเกินเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งกิจกรรมเป็นลักษณะอบรมเชิงปฏิบัติการ การฟัง คิด เล่า เล่น เขียน เรื่องราวให้เป็นนิทานให้กับ ครู อาจารย์  นักเรียน  อสม.  โดยใช้กระบวนการเล่านิทานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการดูแลแหล่งทรัพยากรที่เรามีอยู่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

นักเรียน ครู และผู้สนใจในชุมชน ควรได้รับการกระตุ้นโดยการจัดกิจกรรมบ่อยๆ เพื่อความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

จัดสรรงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม ในการจัดหาทีมงานมืออาชีพ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมคุณภาพโภชนาการเด็กเล็ก , เด็กประถมวัย , กิจกรรมลดอาหารขยะ ณ โรงเรียนบ้านไสท้อน

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 เวลา 10:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ผู้ดำเนินโครงการ ชี้แจงถึงเหตุผลที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น สืบเนื่องจากผลการสุ่มตรวจเลือดของเด็กในวัยเรียน มีอาการซีดเพราะขาดการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอในแต่ละวัน

2.วิทยากรให้ความรู้ในการบริโภคอาหารที่เหมาะกับวัย

3.วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายในสารปนเปื้อนในอาหาร

4.วิทยากรยกตัวอย่างอาหารขยะที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้พึงระวัง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.ผู้ดำเนินโครงการ ชี้แจงถึงเหตุผลที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น สืบเนื่องจากผลการสุ่มตรวจเลือดของเด็กในวัยเรียน มีอาการซีดเพราะขาดการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอในแต่ละวัน

2.วิทยากรให้ความรู้ในการบริโภคอาหารที่เหมาะกับวัย

3.วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายในสารปนเปื้อนในอาหาร

4.วิทยากรยกตัวอย่างอาหารขยะที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้พึงระวัง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมคุณภาพโภชนาการเด็กเล็ก , เด็กประถมวัย และกิจกรรมลดอาหารขยะ โรงเรียนวัดไทรใหญ่

วันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 10:30-15.00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ผู้ดำเนินโครงการ ชี้แจงถึงเหตุผลที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น สืบเนื่องจากผลการสุ่มตรวจเลือดของเด็กในวัยเรียน มีอาการซีดเพราะขาดการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอในแต่ละวัน
2.วิทยากรให้ความรู้ในการบริโภคอาหารที่เหมาะกับวัย
3.วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายในสารปนเปื้อนในอาหาร
4.วิทยากรยกตัวอย่างอาหารขยะที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้พึงระวัง

ฤฉผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้
1.ผู้ดำเนินโครงการ ชี้แจงถึงเหตุผลที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้น สืบเนื่องจากผลการสุ่มตรวจเลือดของเด็กในวัยเรียน มีอาการซีดเพราะขาดการบริโภคผักและผลไม้ที่เพียงพอในแต่ละวัน
2.วิทยากรให้ความรู้ในการบริโภคอาหารที่เหมาะกับวัย
3.วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายในสารปนเปื้อนในอาหาร
4.วิทยากรยกตัวอย่างอาหารขยะที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้พึงระวัง

5.ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไทรใหญ่ ทบทวนความรู้ความเข้าใจกับนักเรียน โดยการถาม-ตอบ และให้รางวัล ซึ่งจัดเป็นผลไม้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมประจำเดือน ธันวาคม 2556

วันที่ 21 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00-12.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประธานในที่ประชุมกล่าวถึงภาพรวมของทุกแผนงาน  และชี้แนะวิธีการทำงานของแต่ละพื้นที่

2.ผู้เข้าร่วมประชุมทุกพื้นที่  ได้รายงานผลการดำเนินงานให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้รับฟังและรับรู้ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมในแต่ละพื้นที่

3.วางแผนการจัดกิจกรรมจัดเวทีใหญ่ตลาดนัดความรู้ ปรึกษาเรื่องสถานที่ในการจัดกิจกรรม เป้าหมายที่นำเสนอคือ ตลาดเกษตร มอ.

4.รูปแบบในการจัดกิจกรรมในลักษณะ งานเสวนา นิทรรศการ แลกเปลี่ยนสินค้า  ขายอาหาร  เสนองานของแต่ละพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

5.ฝากเรื่องการเสนอโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เพิ่มเติมในแต่ละพื้นที่

1.ผู้เข้าร่วมประชุมทุกพื้นที่  ได้รายงานผลการดำเนินงานให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้รับฟังและรับรู้ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมในแต่ละพื้นที่

2.วางแผนการจัดกิจกรรมจัดเวทีใหญ่ตลาดนัดความรู้ ปรึกษาเรื่องสถานที่ในการจัดกิจกรรม เป้าหมายที่นำเสนอคือ ตลาดเกษตร มอ.

3.รูปแบบในการจัดกิจกรรมในลักษณะ งานเสวนา นิทรรศการ แลกเปลี่ยนสินค้า  ขายอาหาร  เสนองานของแต่ละพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม

4.ฝากเรื่องการเสนอโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่เพิ่มเติมในแต่ละพื้นที่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมพัฒนาพื้นที่ธนาคารอาหารชุมชน

วันที่ 17 มกราคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมวางแผนงานการปรับปรุงพื้นที่สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความสะอาดพื้นที่

2.เตรียมปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อนำไปบริโภคและจำหน่ายให้กับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม แบ่งเป็น 2 ฝ่าย กลุ่มที่ 1 ปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ให้ดูสะอาดตา ส่วนกลุ่มที่ 2 นำเมล็ดพันธุ์พืชลงปลูกในแปลงผักที่เตรียมไว้เพื่อนำไปบริโภคและจำหน่ายต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษผลิตเพื่อจำหน่ายในกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว

วันที่ 21 มกราคม 2557 เวลา 10:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.เพื่อสมัครตัวแทนแต่ละหมู่บ้านในการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเอง ส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายให้กับชุมชน องค์กร และหน่วยงานอื่นๆ
2.เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในตำบลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

3.เพื่อการมีส่วนร่วมในแต่ละหมู่บ้าน โดยการแลกเปลี่ยนเรียน

สมาชิกมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรม ซึ่งประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกส่วนมาก จะปลูกผักกินเองอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มรายได้ และใส่ใจถึงความปลอดภัยของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงเข้าร่วมโครงการด้วยความเต็มใจ
เมื่อได้สมาชิกตามเป้าหมายที่วางไว้แล้ว ทางคณะทำงานจะได้ดำเนินการวางแผนขั้นตอนการจัดกิจกรรมในคราวต่อไปกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทางด้านการเกษตร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่ายให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างปลอดภัย 100%

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมวางแผนจัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว

วันที่ 27 มกราคม 2557 เวลา 10:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ หัวหน้าเกษตรตำบล , หัวหน้าส่วนการศึกษา , ผู้อำนวยการโรงเรียน , หัวหน้าศูนย์เด็กเล็ก , รพ.สต. , ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และหัวหน้าสมาชิกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ

1.การให้ความรู้ความเข้าในตั้งแต่กระบวนการผลิต ตลอดจนถึงการจำหน่ายที่ถูกต้องโดยหลักการนี้ คือต้องเพาะปลูกในพื้นดินที่ปราศจากสารเคมี  โดยจะใช้วิธีธรรมชาติในการเพาะปลูก และต้องได้รับการดูแลจากเกษตรกรเป็นอย่างดี

2.การส่งตัวอย่างผักไปตรวจหาสารปนเปื้อน เพื่อเตรียมประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคในการออกจำหน่ายไปยังตลาดนัดสีเขียว

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมตัวแทนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อชี้แจงกระบวนการผลิตและจำหน่าย

วันที่ 29 มกราคม 2557 เวลา 10:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ตัวแทนครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ ได้มาประชุมตามเป้าหมายที่วางไว้ตามเวลาที่กำหนด

2.นายกถั่น จุลนวล อธิบายถึงที่มาของโครงการ และบอกถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้อยู่ดีกินดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสม

3.ชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้อง และต้องไม่มีสารพิษเจือปน โดยนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบสารปนเปื้อนในผักที่จะนำออกจำหน่าย โดยความร่วมมือของ รพ.สต.ซึ่งจะมีทีมงานลงไปตรวจสอบถึงสถานที่ปลูกผักแต่ละพื้นที่เมื่อผ่านการตรวจสอบ จะมีฉลากประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

1.สมาชิกครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดสารพิษ ได้ให้ความสนใจในกิจกรรมตลาดนัดสีเขียวเกินความคาดหมาย มีครัวเรือนที่ปลูกผักรับประทานเอง ขอเข้ามาสมัครเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการเพิ่มขึ้นอีกด้วย
2.สมาชิกปลูกผัก ได้มีการแลกเปลี่่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

อบรมปฏิบัติการ การจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพสำหรับโรงเรียน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 08:30-17.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ระยะเวลาในการอบรม  จำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2557  ณ ห้องประชุมสถาบันการ จัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวิทยากรให้ความรู้ด้านโภชนาการ 3 ท่าน  และผู้เข้าร่วมอบรมจากเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู และเทศบาลตำบลชะแล้

การอบรมปฏิบัติการ เรื่อง การจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพสำหรับโรงเรียน โดยมีวิทยากรให้ความรู้  3  ท่าน คือ ดร.ลักษณา  ไชยมงคล  ดร.ศิวพร ปิ่นแก้ว  และ อ.ฟาริด้า  อีดสัน
ช่วงเช้าจะเป็นการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักการกำหนดมาตรฐานอาหารกลางวันในโรงเรียน , คะแนนคุณภาพสารอาหาร และเกณฑ์การประเมินคุณภาพสารอาหารผ่านรายวัน/สัปดาห์ ซึ่งก่อนที่วิทยากรจะให้ความรู้ จะสอบถามมาตรฐานอาหารกลางวันที่ครูกำหนดเมนูอาหารให้เด็กในปัจจุบันก่อนว่ากำหนดเมนูอาหารอย่างไร  ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้ ปัญหาในการพบเจอเรื่องอาหารกลางวัน 1. อาหารรสชาติไม่มั่นคง 2. สีสันของอาหาร กลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ เช่น กุ้ง 3. ทำอย่างไรให้เมนูอาหารในการอบรมครั้งนี้ แบ่งเบาภาระให้กับครู  เพราะครูต้องใช้เวลาในการสอน 4. การทำอาหารกลางวันของโรงเรียน  คนคิดเมนูอาหาร  ได้รับการอบรม แต่คนที่ปรุงอาหาร ไม่ได้รับการอบรม  จึงทำงานไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน 5. อาหารซ้ำกันในแต่ละวัน  ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย 6. เทศบาลเมืองชะแล้  ปัญหาที่ประสบอยู่ตอนนี้คือ เด็กไม่ชอบรับประทานผัก 7. อาหารเหลือทิ้งเยอะมาก ปัจจุบันคือ ทำอาหารตามความชอบของเด็ก
8. บ้านลูกรัก  การรับประทานอาหารของเด็กไม่ค่อยมีปัญหา กังวลใจเรื่องความสะอาดในกระบวนการผลิต 9. ศพด.ไทรใหญ่ ได้คิดเมนูให้กับแม่ครัว ซึ่งจะได้เมนูที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน
10. ความรู้ของแม่ครัว เรื่องโภชนาการ สีสัน ความคาดหวังในการเข้าอบรม 1. อยากให้คุณภาพของอาหารกลางวันสำหรับเด็ก มีคุณภาพที่ดีกว่านี้ 2. อยากได้เมนูที่ดี  สามารถกระตุ้นความต้องการรับประทานอาหารของเด็กได้ทุกวัน 3. อยากให้แม่ครัวมาอบรมด้วย  และอยากตามไปดูกระบวนการผลิตของแม่ครัวที่บ้าน 4. อยากได้โปรแกรมเมนูอาหารกลางวันไปปรับปรุงการประกอบอาหารในโรงเรียนต่อไป ซึ่งทุกปัญหา จะได้รับการแก้ไขภาวะโภชนาการของเด็กในโรงเรียน ไปในทางที่ดีขึ้นจากความรูัที่ได้รับในการอบรมครั้งนี้ นอกจากนั้น ท่านวิทยากรยังให้ผู้เข้าอบรมคิดเมนูอาหาร 1 สัปดาห์ เป็นใบงานสำหรับวางแผนและตรวจสอบคุณค่าเมนูหมุนเวียนโครงการอาหารกลางวัน ก่อนจะศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูป ช่วงบ่าย จนสิ้นสุดการอบรม  เป็นการศึกษาตัวโปรแกรมสำเร็จรูป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การได้รับความรู้จากการอบรมโปรแกรม เป็นแนวทางการแก้ไขคุณภาพอาหารกลางวันในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี และการได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ดีขึ้นได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเตรียมจัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ตัวแทนที่เป็นสมาชิกทุกหมู่บ้าน ได้เสนอผักปลอดสารพิษออกจำหน่าย เช่น ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือพวง

2.เตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงานกับตัวแทนสมาชิกที่จะส่งผักจำหน่าย ไปรับผลผลิตที่ครัวเรือนนั้นๆ เพื่อจำหน่ายออกสู่ตลาดในวันที่ 26 ก.พ.57 ต่อไป

การนำเมล็ดพันธุ์ผักไปปลูก ได้เจริญเติบโตตามวันและเวลาที่กำหนด สามารถมีผลผลิตนำออกจำหน่ายสู่ตลาดได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก และให้ความปลอดภัยกับผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมตลาดนัดสีเขียว

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 07:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา  06.00 น. ทีมงานได้ดำเนินการจัดเก็บผลผลิตผักปลอดสารพิษ นำมาวางจำหน่ายในตลาดนัดเช้าวันพุธ ซึ่งได้รับผลผลิตมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 

ผลผลิตที่นำออกจำหน่าย ซึ่งมีมากเกินความต้องการของท้องตลาด แต่สามารถจำหน่ายให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ท้้งหมด

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผักปลอดสารพิษที่เหลือจากการจำหน่ายในตลาดสด จะจัดส่งจำหน่ายต่อให้กับโรงเรียน ซึ่งสามารถจำหน่ายผลผลิตได้หมด

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมวางแผนร่วมกิจกรรมตลาดนัดอุทยาน วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม

วันที่ 13 มีนาคม 2557 เวลา 09:00-12.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ผู้เข้าร่วมประชุม มีความเข้าใจตรงกันในการจัดกิจกรรมตลาดนัดอุทยาน วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม และพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ผู้เข้าร่วมประชุม มีความเข้าใจตรงกันในการจัดกิจกรรมตลาดนัดอุทยาน วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม และพร้อมที่จะร่วมกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

รวบรวมผลิตภัณฑ์ตำบลควนรู ออกจำหน่ายในงานนิทรรศการตลาดนัดอุทยาน วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม

วันที่ 19 มีนาคม 2557 เวลา 09:00-17.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.จัดตั้งคณะทำงานรวบรวมผลิตภัณฑ์ในตำบลควนรู  ออกจำหน่ายภายในงาน ตั้งแต่วันที่ 19-21 มีนาคม 2557 

1.จัดตั้งคณะทำงานรวบรวมผลิตภัณฑ์ในตำบลควนรู  ออกจำหน่ายภายในงาน ตั้งแต่วันที่ 19-21 มีนาคม 2557
2. ผลิตภัณฑ์ของตำบลควนรู ที่รวบรวมมาจำหน่ายในงาน จำหน่ายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ และไข่เค็มใบเตย ซี่งผักปลอดสารพิษ จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจหาสารปนเปื้อนทุกวัน ผลปรากฎไม่พบสารปนเปื้อนใดๆ 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมลดอาหารขยะในวัยเรียน

วันที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 09:00-13.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

วิทยากรให้การบรรยายโดยเน้นหาวิธีแก้ไขพฤติกรรมการกินอาหารขยะของเด็กนักเรียนที่ไม่เหมาะสมเพราะทำให้เกิดโรคต่างๆที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตและอาจส่งผลกระทบระยะยาวที่อาจทำให้เสียเงินจำนวนมากและยังมีโอกาสเสียชีวิตได้ในภายหลัง

ทำให้นักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย เลิกกินอาหารขยะได้จำนวนหนึ่งและทำให้มีร่างกายที่สมส่วนมากขึ้นไม่อ้วนจนเกินไปและทำให้ดูดีขึ้นในไม่ช้า

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมเยาวชนรักษ์ถิ่น เรียนรู้สู่ความมั่นคงทางด้านอาหาร

วันที่ 4 เมษายน 2557 เวลา 08:30-18.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชาสัมพันธ์เพื่อรับสมัครเยาวชนที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรม หมู่บ้านละ 5 คน ตั้งเป้าหมายไว้ 45 คน
2.แนะนำกลุ่มพี่เลี้ยงที่เป็นเยาวชนต้นแบบ ซึ่งกล้าแสดงออก นำมาเป็นวิทยากรกระบวนการ รวม 8 คน เพื่อนำพาน้องๆ ไปสู่เป้าหมายแห่งการเรียนรู้เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร

เยาวชนได้รับความรู้พร้อมกับความสนุกสนานในช่วงปิดภาคเรียน และได้แสดงความคิดเห็นว่าอยากให้มีกิจกรรมเช่นนี้อีก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมวางแผนงานกิจกรรมปีที่ 2

วันที่ 19 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00-14.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ผู้เข้าร่วมประชุมทุกฝ่าย ได้ร่วมกันกำหนดแผนงาน โดยเน้นผลงานจากปีที่ 1 ซึ่งทีมงานได้ช่วยกันวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขื้น เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในปีที่ 2 ซึ่งกิจกรรมจะมุ่งไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ การบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย และการบริโภคอา่หารอย่างไรให้เหมาะกับวัย

กรอบแผนงานกิจกรรมปีที่ 2  มีดังนี้ แผนงานความมั่นคงทางด้านอาหาร

  1. กิจกรรมกระจายผลผลิตภัณฑ์อาหารภายในชุมชนระหว่างหน่วยงานในชุมชน  ( กิจกรรมต่อเนื่อง)
    สำหรับปีที่ 2  จะมุ่งเน้นกระจายผลิตภัณฑ์จากธนาคารอาหารชุมชน และผลิตภัณฑ์อาหารภายใน ชุมชนลงสู่โรงเรียนทั้ง  3  โรงเรียน  คือ  โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย  ,  โรงเรียนวัดไทรใหญ่  และโรงเรียนบ้านไสท้อน  รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง  3  ศูนย์  คือ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกรัก , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย  และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดไทรใหญ่
  2. กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเกษตร โดยการสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน โดยค้นหาครอบครัวต้นแบบที่มีวัฒนธรรมทางการเกษตรที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตของชุมชน  ไม่ ว่าจะเป็นภูมิปัญญาทางการผลิตอาหาร  การเก็บรักษาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์  เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถรักษาวิถีชีวิตของชุมชนเอาไว้ได้
  3. กิจกรรมการฟื้นฟูอาหารเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สืบเนื่องจากกิจกรรมที่ 2  เมื่อค้นหาครอบครัวต้นแบบได้แล้ว  จึงสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับ นักเรียนในชุมชน  เพื่อร่วมกันสานต่อวิถีชีวิตที่สามารถพึ่งตนเองบนฐานทรัพยากรของชุมชนตำบลควนรูได้ต่อไป
  4. กิจกรรมการปลูกพืชร่วมกับยางพารา โดยส่งเสริมการทำการเกษตรแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งสวนยางนับว่ามีศักยภาพอย่างยิ่ง ต่อ การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต  เนื่องจากสวนยางมีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้เป็นอย่างดี  จึงน่าจะปลูกพืชอื่นเสริม  เพื่อสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต
  5. กิจกรรมการศึกษาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านเพื่อขยายผลผลิตข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน จัดอบรมให้ความรู้กับเยาวชน        โดยการศึกษาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต ชุมชน    หลังจากนั้นจะเป็นภาคปฏิบัติ  คือ  เยาวชนลงพื้นที่ศึกษาวิธีการดำนา  ตลอดถึงการเก็บเกี่ยวเมื่อถึงฤดูกาลดังกล่าว


แผนความปลอดภัยทางด้านอาหาร

  1. กิจกรรมกลไกเฝ้าระวังความปลอดภัยทางด้านอาหารอย่างต่อเนื่อง
    โดยการให้ความรู้กับเด็กในวัยเรียนโดยตรง  และการให้ความรู้ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงผ่าน สถานีวิทยุที่พักสงฆ์เกาะบก สัปดาห์ละ 1  ครั้ง

แผนงานด้านโภชนาการ และอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการสำหรับ เด็กเล็ก , ประถมวัย  ร่วมกับผู้ปกครอง และครู  รวม  3  โรงเรียน  และ  3  ศูนย์
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการประกอบอาหารสำหรับเด็กในวัยเรียนที่เหมาะกับวัยตามหลักโภชนาการ  โดยนักโภชนาการให้ความรู้กับผู้ประกอบอาหารทั้ง  3  รร.  และ  3  ศพด.
  3. ติดตามภาวะโภชนาการของเด็กในวัยเรียนแบบเชิงรุก  โดยการหาผู้มีภาวะเสี่ยงจากการขาดสารไอโอดีน  ภาวะซีด  และโรคอ้วน , ผอม  เพื่อป้องกันและแก้ไขได้ทันท่วงที
  4. จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน  โดยเฉพาะนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงสืบเนื่องจากกิจกรรมข้อที่ 2  โดยคณะครู  รพ.สต. อสม. ร่วมกับ อบต. จะร่วมถ่ายทอดข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอย่างไรให้ถูกหลัก  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องต่อไป
  5. กิจกรรมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน  โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ในพื้นที่โรงเรียนโคกค่าย
  6. กิจกรรมมอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนมีสุขภาพดี  มีความรู้  สามารถถ่ายทอดบอกต่อในเรื่องพิษภัยจากอาหารขยะ
  7. กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

วันที่ 10 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00-13.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ติดต่อประสานงานกับนักโภชนากร จาก โรงพยาบาลรัตภูมิ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา เพื่อเป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.สต. และ อสม. เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเน้นอาหารผู้ป่ายโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถถ่ายทอดบอกต่อกับผู้ป่วยและผู้มีภาวะเสี่ยงในชุมชนได้  หรือหากผู้อบรมมีปัญหาข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามนักโภชนากร เพื่อเพิ่มเติมความรู้ในสิ่งที่ยังไม่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-