E-Book : บทเรียนสานพลังเครือข่ายเพื่อผู้บริโภคภาคใต้
บทเรียนสานพลังเครือข่ายเพื่อผู้บริโภคภาคใต้ เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการสนันสนุนงบประมาณจากแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ภายในประกอบด้วยกิจกรรม กระบวนการทำงานของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี และสตูล ทั้งในส่วนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีความหลากหลายวิธีการในการทำงานของแต่ละหน่วยงาน มีการนำเสนอปัญหาของผู้บริโภคเช่นสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ บ้านที่ไม่เป็นธรรม ภัยร้ายจากสารพิษในอาหาร ผลกระทบต่อสุขภาพจากขนมเด็ก และเรื่องเล่าดี ๆ อีกหลากหลาย
เรียบเรียงโดย ถนอม ขุนเพ็ชร , วัฒนชัย มะโนมะยา
มีทั้งฉบับที่ตีพิมพ์เป็นเล่ม (ขอรับได้ที่ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 074-282902) และ E-Book ให้ดาวน์โหลดไปอ่านกัน
อย. เตือน บริโภคอาหารริมทางระวังเชื้อโรคอื้อ!
อย.เตือนอาหารริมทางหากมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ซึ่งมีทั้งฝุ่น ควันแมลง สัตว์นำโรคการขาดแหล่งน้ำในการทำความสะอาดวัตถุดิบ ภาชนะและมือผู้สัมผัสอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ค้า ก็เป็นเหตุให้อาหารนั้นไม่สะอาด ปลอดภัย ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้แนะเลือกซื้อต้องดูสิ่งแวดล้อมของร้านอาหารประกอบด้วยว่าเหมาะแก่การบริโภคหรือไม่ สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารริมทาง ขอให้เน้นในเรื่องความสะอาดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก
เตาไมโครเวฟ..อันตรายหรือไม่ ?
เตาอบไมโครเวฟ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการปรุงและอุ่นอาหารในยุคเร่งรีบ แม้เราจะใช้กันอยู่ทุกวัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ไปท่ามกลางความกังขาของตัวเองว่า มันปลอดภัยหรือไม่
คลื่นไมโครเวฟที่ใช้ในการปรุงอาหาร คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อาศัยหลักการที่ว่า เมื่อคลื่นตกกระทบอาหาร ก็จะถ่ายทอดพลังงานของมันให้โมเลกุลของน้ำในอาหาร โมเลกุลเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จนเกิดเป็นความร้อนขึ้น ทำให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว เพราะเกิดความร้อนจากภายในอาหารพร้อมกันเกือบทุกส่วน
ศึกใหญ่วงการสาธารณสุขยกเว้น “ยา-เวชภัณฑ์” ไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.สินค้าห่วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องร้อนแรงในแวดวงสุขภาพและกำลังกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง นั่นก็คือ กรณีที่กระทรวงสาธารณสุขออกร่างกฎกระทรวง เพื่อยกเว้นยาและเครื่องมือแพทย์ไม่เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และคาดว่า จะทราบผลในวันที่ 23 ก.พ.นี้
ก่อนอื่น คงต้องเข้าใจร่วมกันว่า วัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายฉบับนี้ ก็คือ การให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน โดยที่ผู้ผลิตเป็นผู้พิสูจน์ความปลอดภัยของสินค้าจากเดิมผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์เองว่าสินค้านั้นไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก อีกทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานในการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย
อย่าหลงเชื่อ “ห่วงล็อกถุงยาง” กันหลุดขณะมีเซ็กซ์ อย.เผยไม่ได้รับรอง
เตือนภัยโฆษณาห่วงล็อกถุงยางอนามัยกันหลุดระหว่างมีเซ็กซ์ อย.ลั่นไม่เคยรับรองความปลอดภัย พร้อมหากใช้อย่างถูกวิธีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ห่วงรัดแต่อย่างใด
นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า พบมีการโฆษณา ห่วงรัดล็อกถุงยางอนามัย ทางอินเทอร์เน็ต อ้างว่า เป็นนวัตกรรมห่วงรัดถุงยางอนามัยอัจฉริยะ ใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรัดถุงยางอนามัยให้ติดกระชับ ป้องกันการหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ และโน้มน้าวให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวด้วยการอ้างถึงการรณรงค์ของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งหากต้องการความปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ต้องใช้ห่วงรัดล็อกถุงยางอนามัยชนิดนี้เป็นอุปกรณ์เสริม