รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 57-ข-012
งวดที่ 1
แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)
วันที่รายงาน : 10 มีนาคม 2558
1. ชื่อโครงการ การพัฒนาปรับเปลี่ยนแนวคิดจากสวนยางให้มีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้นและเกื้อกูลกันจากสวนยางไปเป็นวนเกษตร
2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 57-ข-012 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2557 - 31 ตุลาคม 2558
3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 กันยายน 2557 ถึงเดือน 28 กุมภาพันธ์ 2558
4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)
กิจกรรม | ผลงาน (ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี) | ผลสรุปที่สำคัญ | ประเมินผล คุณภาพกิจกรรม | |||
---|---|---|---|---|---|---|
4 | 3 | 2 | 1 | |||
1. สำรวจเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ | วันที่ 11 กันยายน 2557 เวลา 07:00วัตถุประสงค์เพื่อหาแปลงเกษตรกรที่สนใจหรือเกษตรที่มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกยางพาราแบบวนเกษตรยาง ลักษณะกิจกรรมพูดคุยเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2 รายที่ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาคือ
1.นายหนาด แดงคง บ้านเลขที่ 318/6 ม.6 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
พื้นที่ปลูก 25 ไร่ 2.นายหลี หลีสกุล ม.7 ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา พื้นที่ปลูก 5 ไร่
พืชที่ปลูก |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ผลที่เกิดขึ้นพูดคุยเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 2 ราย ที่ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาคือ นายหนาด แดงคง นายหลี หลีสกุล ปัญหา/แนวทางแก้ไขยังไม่ตัดสินใจเลือกแปลงเกษตรกร ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
2. สำรวจแปลงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ | วันที่ 17 กันยายน 2557 เวลา 07:00วัตถุประสงค์เพื่อหาแปลงเกษตรกรที่สนใจหรือเกษตรกรที่มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวมาเป็นระบบการปลูกแบบวนเกษตรยาง ลักษณะกิจกรรมพูดคุยเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1 รายที่ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลาคือ 1.นาย นพงศ์ แสงระวี 26 หมู่ 3 ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พื้นที่ปลูก 3 งาน พืชที่ปลูก (ส่วนมากเป็นพืชผัก) พืชยืนต้นได้แก่ มะพร้าว ขนุน สะตอ ทุเรียนเทศ น้อยหน่า มะนาว ชะอม ไผ่กิซุง มะขามป้อมอินเดีย มะขามเปรี้ยว(กินยอด) มะนาวโห่ ม่อนเบอร์รี ผักเหลียง พืชผักได้แก่ ขี้พร้า มะละกอ ละไม คื่นฉ่าย ผักชี ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักโขม มะเขือ พริก คะน้า ข่า ถั่วพู มะเขือพวงฯลฯ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ผลที่เกิดขึ้นเกษตรกรสนใจเข้าร่วม 1 รายแต่ไม่ใช่วนเกษตรยาง ปัญหา/แนวทางแก้ไขโซนคาบสมุทรสทิงพระไม่มีเกษตรกรที่ปลูกยางพาราหรือมีแต่น้อยราย ไม่เจอเกษตรกรที่ปลูกพืชร่วมยางพารา ยังไม่ตัดสินใจเลือกเกษตรกร ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
3. สำรวจแปลงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ | วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 07:00วัตถุประสงค์เพื่อหาแปลงเกษตรกรที่สนใจหรือเกษตรกรที่มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวมาเป็นระบบการปลูกแบบวนเกษตรยาง ลักษณะกิจกรรมพูดคุยเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2 รายที่ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาคือ
1.นาย อาทร สุขตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ผลที่เกิดขึ้นเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 2 ราย ปัญหา/แนวทางแก้ไขเจอเกษตรกร 2 รายยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกเกษรกร ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
4. สำรวจแปลงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ | วันที่ 22 กันยายน 2557 เวลา 07:00วัตถุประสงค์เพื่อหาแปลงเกษตรกรที่สนใจหรือเกษตรกรที่มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงระบบการปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวมาเป็นระบบการปลูกแบบวนเกษตรยาง ลักษณะกิจกรรมพูดคุยเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1 รายที่ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
นาย เขียน แก้วอ่อน (หมอเขียน) มี 2 แปลงใกล้กัน |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ผลที่เกิดขึ้นเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการ 1 ราย ปัญหา/แนวทางแก้ไขยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกเกษตรกร ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
5. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร เขียนเอกสารวนเกษตรยางพารา | วันที่ 20 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลตาม เอกสารหมายเลข 1 ข้อตกลงเลขที่ 57-ข-012 (ปรับ) ลักษณะกิจกรรมเขียนบทความเป็นเอกสารความรู้ เรื่อง "วนเกษตรในสวนยางพารา" สำหรับใช้ประกอบการสัมมนาครูยาง ประจำปี 2558 |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ผลิตสิ่งเรียนรู้เอกสารประกอบการสัมมนาครูยาง ประจำปี 2558ผลที่เกิดขึ้นเอกสารประกอบการสัมมนาครูยางประจำปี ๒๕๕๘ 1คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
2Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University, Hat Yai Campus
E-mail pramoth.k@psu.ac.th การทำสวนยางพาราของไทยในอดีต
ยางพาราเป็นพืชต่างถิ่นที่พระยารัษฏานุประดิษฐ์(คอซิมบี๊ ณ ระนอง) นำเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นคนแรก โดยปลูกที่อำเภอกันตังจังหวัดตรัง ต่อมานิยมปลูกกันจึงได้แพร่กระจายออกสู่ราษฎรในภาคใต้ออกไปมากขึ้นเป็นลำดับ การหักล้างถางพงสมัยปู่ทวดเพื่อการทำไร่ทำสวน ในอดีตจึงมักจะมีการปลูกยางพาราร่วมอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งการเริ่มต้นปลูกยางของคนไทยภาคใต้ในอดีตนั้น อาจเริ่มต้นดำเนินการที่เก็บหาเมล็ดจากคนที่ปลูกก่อนมาปลูก หรืออาจถอนต้นกล้ายางสองใบมาปลูก ในพื้นที่ถือคลองของตนเอง จำนวนมากน้อยของการปลูกแต่ละครั้งคราว พึ่งพาปัจจัยภายในจัดสร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสามารถของครอบครัวที่พอจะทำกันได้ ต้นที่ปลูกไว้ก่อนก็จะแพร่เมล็ดงอกเพิ่มขึ้นมาได้เองบ้าง ปนอยู่กับพรรณไม้ต่างๆในสวน ต้นกล้ายางที่งอกเองต้นไหนต้องการก็เว้นไว้ ตรงตำแหน่งที่ขึ้นหนาแน่นเกินไปก็จะถอนไปปลูกที่ตำแหน่งอื่นๆ หรือตัดสางออกทิ้งเสียบ้างบางส่วน สวนยางพาราในอดีตจึงไม่ค่อยจะเป็นแถวเป็นแนว และมีขนาดต้นยางเล็กใหญ่ไม่สม่ำเสมอ เพราะปลูกเพิ่มหรือเว้นไว้ให้เจริญเติบโตต่างเวลาต่อกันไปเรื่อยๆ ในสวนยางของชาวบ้านจะมีความสามารสร้างรายได้หลายทาง เช่น จากน้ำยางพารา จากผลไม้ท้องถิ่น จากของป่าต่างๆ เช่น สมุนไพร เห็ด สัตว์ป่า เป็นต้น เป็นการดำเนินชีวิตที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และพึ่งพาปัจจัยภายในท้องถิ่นของตนเองเป็นหลัก สามารถสร้างรายได้เป็นรายฤดูกาล เช่น สะตอ เนียง ทุเรียน เห็ด ฯลฯ รายเดือน เช่น กล้วย มะพร้าว เหรียง หน่อไม้ รายสัปดาห์ เช่น ปลีกล้วย ขิงข่า ใบตอง ผักพื้นบ้าน ฯลฯ และรายวัน เช่น ไม้กวาดใบมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จักสานต่างๆ เป็นต้น การทำสวนยางของไทยในปัจจุบัน การทำสวนยางพาราปัจจุบันแตกต่างจากอดีต พึ่งพาปัจจัยภายนอกมากเกินไป ทำลายระบบนิเวศย่อยภายในให้ลดลง เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง พืชพรรณประจำถิ่นที่ใช้บริโภคยังชีพ ไม้ใช้สอย รวมกระทั้งการปลูกยางพาราตามพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น ตามที่มีความลาดชันมากเกินไป ตามสองฝากริมฝั่งคลองเป็นต้น ซึ่งควรเว้นไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร หรือไว้เป็นแนวป้องกันการชะล้างพังทลายลงสู่ทางน้ำ ฯลฯ เมื่อพื้นที่เหล่านี้ลดลง จึงมีผลต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรม สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน จึงมีส่วนที่ทำให้เกิดผลกระทบในทางลบด้านต่างๆทั้งทางตรงทางอ้อมเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยความถี่ของการเกิดและความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ชักนำกลับไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายและแผนเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2540-2559 โดยให้แบ่งชั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินตามความเหมาะสม (แบ่งชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ) ให้มีป่า 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศ ให้อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังมิอาจเห็นเป็นรูปธรรมได้ และผลกระทบก็กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ดังพบเห็นได้ตามสื่อสาธารณะทั่วไป เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย วินาศภัย วาตะภัย เป็นต้น และเป็นเหตุให้เกษตรกรชาวสวนยางต้องน้ำตาตก เพราะสูญเสียรายได้ เงินใช้จ่ายไม่พอเพียง เกิดความยากจน เกิดความทุกข์ เกิดปัญหาสังคม เป็นต้น การทำสวนยางพาราของไทยในอนาคต เป็นนิมิตรหมายดีที่จะช่วยให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดประโยชน์ร่วมกัน เพราะสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยวตามวิสัยทัศของโครงการ อพสธ. ซึ่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้เล็งเห็นความสำคัญในพระราชดำริส่วนนี้ด้วย เช่นกัน จึงได้มีนโยบายให้ยกเลิกหนังสือที่ กษ ๒๐๐๒/๑/ว ๔๖ ลงวันที่๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ และกำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติในการให้สงเคราะห์ปลูกแทนแบบเกษตรผสมผสาน(แบบ ๕) ตามหนังสือที่ กษ ๒๐๐๒/๑/๐๓๐๖ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ รายละเอียด ซึ่งผู้บรรยายได้คัดลอกมาทั้งหมดเพื่อแสดงให้เห็น ดังนี้ ๑.การให้การสงเคราะห์แบบผสมผสาน หมายถึง “การให้การสงเคราะห์ปลูกแทนที่มีกิจกรรมทางการเกษตรตั้งแต่ ๒ กิจกรรมขึ้นไป ภายในพื้นที่และห้วงเวลาเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการผสมผสานระหว่างกิจกรรมดังนี้ พืช+พืช พืช+ปศุสัตว์ พืช+ประมง และพืช+ปศุสัตว์+ประมง โดยมียางพันธ์ดี หรือไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นพืชหลัก” ๒.หลักเกณฑ์ในการให้พิจารณาให้การสงเคราะห์ปลูกแทนแบบเกษตรผสมผสาน ๒.๑ การสำรวจรังวัด อนุญาตให้ไม่ต้องตัดเนื้อที่กรณีสวนยางเดิมมีไม้ป่า ไม้ห้วงห้าม หรือไม้ยืนต้นอื่นที่ผู้รับการสงเคราะห์ไม่ประสงค์ที่จะโค่นออก ๒.๒ การปลูกแทนแบบเกษตรผสมผสาน สามารถปลูกแทนด้วยยางพันธ์ดี หรือไม้ยืนต้นเป็นพืชร่วม รวมทั้งการทำปศุสัตว์และการประมง โดยมียางพันธ์ดีหรือไม้ยืนต้นเป็นพืชหลักและพืชรอง รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า ๒ ชนิด ปลูกเต็มเนื้อที่ที่ได้รับอนุมัติให้การสงเคราะห์ ทั้งนี้ ถ้าปลูกยางพันธ์ดีเป็นพืชหลักต้องมีจำนวนต้นยางไม่น้อยกว่า ๔๐ ต้นต่อไร่ และมีระยะปลูกสม่ำเสมอ ๒.๓ กรณีที่ผู้รับการสงเคราะห์ต้องการมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อนุญาตให้ไม่ต้องตัดเนื้อที่แหล่งน้ำได้ไม่เกิน ๕ % ของเนื้อที่ทำจริง ๒.๔ สำหรับกิจกรรมที่จำเป็นต้องสร้างโรงเรือนทางการเกษตร จะต้องไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและจำนวนต้นของพืชหลัก ๒.๕ ให้จัดงวดงานเกษตรผสมผสาน ทั้งค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าพันธุ์ ตามความจำเป็น และสอดคล้องกับกิจกรรมที่จะดำเนินการ โดยพิจารณาเทียบเคียงหรือให้ใช้อัตราการจ่ายสงเคราะห์ปลูกแทนแบบ ๑ ในกรณียางพันธุ์ดีเป็นพืชหลัก หรือแบบ ๓ ในกรณีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก เพื่อบันทึกในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(ระบบ AFR) แทนก็ได้ ๒.๖ กรณีผู้รับการสงเคราะห์ปลูกแทนแบบ ๑, ๒ และ ๓ มีความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงการปลูกแทนมาเป็นแบบ ๕ และได้รับเงินหรือวัสดุสงเคราะห์ไปแล้วบางส่วน ให้นำเงินที่จ่ายไปแล้วในแบบเดิมมาหักออกจากยอดเงินสงเคราะห์แบบ ๕ เหลือจากนั้นให้นำมาจัดงวดงานใหม่ทั้งหมดรวมทั้งในกรณีกลับกัน ๒.๗ การนำเงินสงเคราะห์มาจัดงวดงาน ตามข้อ ๒.๕ และ ๒.๖ ถ้ามียางพันธุ์ดีเป็นพืชหลัก ต้องจัดให้ได้ระยะเวลาในการให้สงเคราะห์ ๗ ปี และถ้ามีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก ต้องจัดให้ได้ระยะเวลาในการให้การสงเคราะห์ ๔ ปี กรณีเมื่อจัดงวดงานแล้วเงินไม่พอ ให้ผู้รับการสงเคราะห์ออกเงินสมทบ ๒.๘ ยกเว้นกรณีผู้รับการสงเคราะห์ปลูกแทนแบบ ๔ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการปลูกแทนเป็นแบบ ๕ ได้ รวมทั้งในกรณีกลับกัน ๓. ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติให้การสงเคราะห์ปลูกแทนแบบเกษตรผสมผสาน ๓.๑ ให้ระบุข้อความ “เกษตรผสมผสาน(แบบ ๕)” เพิ่มเติมให้ชัดเจนในบริเวณด้านบนของแบบคำขอรับการสงเคราะห์เพื่อการปลูกแทน (ส.ก.ย.๑) และแบบรายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทน (ส.ก.ย.๒) ๓.๒ ให้ระบุเพิ่มเติมในแบบ ส.ก.ย.๒ ข้อ ๙ หัวข้อ การอนุมัติเพื่อการปลูกแทน ความว่า “เกษตรผสมผสาน โดยมียางพันธุ์ดีเป็นพืชหลัก” หรือ “เกษตรผสมผสาน โดยมีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก” อย่างใดอย่างหนึ่งให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นข้อมูลบันทึกในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบ AFR) ๓.๓ ร่วมกับผู้รับการสงเคราะห์จัดทำแผนผังฟาร์ม โดยระบุชนิดพืช จำนวนต้น ระยะปลูก และกิจกรรมต่างๆ ภายในสวนสงเคราะห์ รวมทั้งรายละเอียดการจัดงวดตามหลักเกณฑ์ข้อ ๒.๕ และ ๒.๖ แล้วแต่กรณี แนบมาพร้อมกับแบบ ส.ก.ย.๒ นำเสนอ หผ.ปฏิบัติการ เพื่อพิจารณาและนำเสนอ ผอ.สกย.จ./ห.สกย.อ./ห.ศปจ. เพื่ออนุมัติให้การสงเคราะห์ ๓.๔ กรณีกำหนดให้ไม้ยืนต้นชนิดที่อยู่นอกเหนือจากที่สำนักงานฯกำหนดเป็นพืชหลัก ต้องเสนอ ผอ.สกย. พิจารณาอนุมัติให้การสงเคราะห์ ๔. การรายงานผลการให้การสงเคราะห์ ๔.๑ ให้ใช้รายงานการตรวจสวนสงเคราะห์ในหนังสือประจำตัวผู้ได้รับการสงเคราะห์ปลูกแทน งวดที่ ๑ , ๒ และงวดที่พ้นสงเคราะห์ และรายงานการตรวจสวนระบบกลุ่มงวดปกติ งวดที่ ๓ ถึงงวดก่อนพ้นสงเคราะห์ ๔.๒ การรายงานในหนังสือประจำตัวผู้ได้รับการสงเคราะห์ปลูกแทน ให้รายงานดังนี้ ๔.๒.๑ กรณียางพันธุ์ดีเป็นพืชหลักให้รายงานจำนวนต้น และขนาดเฉลี่ยของจำนวนต้น ๗๐ % เซ็นขึ้นไป มีขนาด/ทรงพุ่ม/สูง......ชั้น/ซม ๔.๒.๒ กรณีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลักให้รายงานจำนวนต้น และเปอร์เซ็นความเจริญเติบโต คือ งามดี.......% ไม่งาม…. % ของจำนวนไม้ยืนต้นที่คงเหลือ ณ วันตรวจ (รวม ๑๐๐ %) ๔.๒.๓ กรณีการปลูกพืชคลุม พืชแซม พืชร่วม/พืชรอง และกิจกรรมอื่นๆให้รายงานเพิ่มเติมให้ชัดเจน ๔.๓ การรายงานการตรวจสอบระบบกลุ่ม ให้รายงานจำนนวนต้นและความเจริญเติบโตของพืชหลัก(ยางพันธุ์ดี หรือ ไม้ยืนต้น) พืชคลุม พืชแซม พืชร่วม/พืชรอง และกิจกรรมอื่นๆเพิ่มเติมให้ชัดเจน ๕. เกณฑ์การผ่านงวดและการสั่งจ่ายเงิน ๕.๑ การผ่านงวด กรณียางพันธุ์ดีเป็นพืชหลัก ๕.๑.๑ จำนวนต้นยาง ๗๐ % ขึ้นไป ของจำนวนต้นยางที่คงเหลือ ณ วันตรวจ ต้องมีขนาดเป็นไปตามมาตรฐานการเจริญเติบโตของการปลูกแทน แบบ ๑ ๕.๑.๒ จำนวนต้นยางที่คงเหลือ ณ วันตรวจ ต้องมีไม่น้อยกว่า ๗๐ % ของจำนวนต้นยางที่ปลูก แต่ต้องไม่น้อยกว่าไร่ละ ๔๐ ต้น ๕.๒ การผ่านงวด กรณีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก ๕.๒.๑ จำนวนไม้ยืนต้น ๗๐ % ขึ้นไป ของจำนวนไม้ยืนต้นที่คงเหลือ ณ วันตรวจ ต้องมีความเจริญเติบปานกลาง ๕.๒.๒ จำนวนไม้ยืนต้นที่คงเหลือ ณ วันตรวจ ต้องมีไม่น้อยกว่า ๗๐ % ของจำนวนต้นยางที่ปลูก ๕.๓ การสั่งจ่ายเงิน (ค่าแรงและวัสดุ) ให้จ่ายเป็นเงินเข้าบัญชีธนาคารผ้รับการสงเคราะห์เท่านั้น ตามรายการจัดงวดงาน ข้อ ๓.๓ ๖. วิธีปฏิบัติทางการเงินและบัญชี ๖.๑ ให้นำจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด ซึ่งปรากฏอยู่ในบัตรบัญชีรหัส ๒/๕๓ มาจัดงวดงานเกษตรผสมผสาน และปรับปรุงในระบบบัญชีสงเคราะห์รายตัว (ระบบ R) โดยใช้รหัสเหตุผล ๑๑๔ ไม่ต้องจัดทำใบผ่านสมุดรายวัน เนื่องจากจำนวนเงินเพิ่มและเงินลดเท่ากัน ๖.๒ กรณีเปลี่ยนแปลงการปลูกแทนจากแบบ ๑, ๒ และ ๓ เป็นแบบ ๕ รวมทั้งในกรณีกลับกัน ให้ใช้รหัสเหตุผล ๐๗๑ และจัดงวดงานใหม่ทั้งหมด และปรับปรุงในระบบ R โดยใช้รหัสเหตุผล ๑๑๒ ไม่ต้องจัดทำใบผ่านสมุดรายวัน เนื่องจากจำนวนเงินเพิ่มและเงินลดเท่ากัน ๖.๓ วิธีการคำนวณเงินคงเหลือในกรณีการเปลี่ยนแปลงการปลูกแทน ให้คำนวณจากยอดจำนวนเงินอนุมัติ หักด้วยยอดเงินจ่าย เป็นยอดเงินคงเหลืออยู่ในรหัส ๒/๕๓ ซึ่งเท่ากับยอดเงินคงเหลือของแบบการปลูกแทนเดิม เนื่องจากอัตราการจ่ายสงเคราะห์เท่ากัน ไม่ต้องจัดทำใบผ่านสมุดรายวัน ๗. การบันทึกข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบ AFR) ๗.๑ การบันทึกข้อมูลในระบบรับคำขอและอนุมัติการสงเคราะห์ (ระบบ A) ให้บันทึกหน้าจอ ส.ก.ย.๒ ส่วน ค. ข้อ ๙ ให้เลือกแบบปลูกแทน แบบ ๕ (เกษตรผสมผสาน โดยมียางพันธุ์ดีเป็นพืชหลัก) หรือ แบบ ๕ (เกษตรผสมผสาน โดยมีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก) ตามข้อ ๓.๒ ๗.๒ การบันทึกข้อมูลในระบบตรวจสวนและติดตามสวนสงเคราะห์ (ระบบ F) หลังจากอนุมัติจะได้แบบปลูกแทนเกษตรผสมผสานตามระบบ A กรณีอนุมัติเป็นแบบ ๕ (เกษตรผสมผสานโดยมียางพันดีเป็นพืชหลัก) จะตั้งงวดตรวจสวนตั้งแต่งวดที่ ๑ ถึงงวดที่ ๘ และการบันทึกรายงานการตรวจสวนเหมือนการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี (แบบ ๑) และกรณีอนุมัติเป็นแบบ ๕ (เกษตรผสมผสาน โดยมีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก) จะตั้งงวดตรวจสวนตั้งแต่งวดที่ ๑ ถึงงวดที่ ๕ และการบันทึกรายงานการตรวจสวนเหมือนการปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ (แบบ ๓) สำหรับการจัดงวดงาน หรือเปลี่ยนแปลงการปลูกแทน ให้ดำเนินการตามปกติเช่นเดียวกันกับแบบปลูกแทนอื่นๆ ๗.๓ การบันทึกข้อมูลในระบบบัญชีสงเคราะห์รายตัว (ระบบ R) หลังจากอนุมัติจะได้แบบปลูกแทนเกษตรผสมผสานตามแบบ A สำหรับการจัดงวดงานเกษตรผสมผสาน หรือการจัดงวดงานใหม่ทั้งหมด กรณีการเปลี่ยนแปลงการปลูกแทน ให้ดำเนินการตามวิธีปฏิบัติทางการเงินและบัญชี ตามข้อ ๖. วนเกษตรคืออะไร? จอน เบเน (Mr. John Bene) ชาวแคนาดากล่าวถึงวนเกษตรเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยได้อธิบายไว้ว่า “เป็นการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อที่ดินในด้านการช่วยเพิ่มผลผลิตรวม ซึ่งต้องประยุกต์ดัดแปลงให้เข้ากับวิถีชีวิตและวิธีการการปฏิบัติของราษฎรในท้องถิ่นนั้นๆ” วนเกษตรในด้านวิชาการเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพืชยืนต้น พืชข้ามปี พืชล้มลุก สัตว์เลี้ยงและสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องในระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการผลิตในหน่วยพื้นที่เดียวกัน มีประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายชีวภาพ ทำให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมต่อสังคม และช่วยให้เกิดความยั่งยืนได้ในระบบการผลิต นักวิชาการจึงมีแนวคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีทางด้านวนเกษตร มาช่วยแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ในสภาวะกาลปัจจุบันจึงได้มีการศึกษาหาแนวทาง นำเอาระบบวนเกษตรเข้าไปแทรกแซงตามสถานการณ์ ของการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบต่างๆ เพราะเชื่อว่าวนเกษตรเป็นการใช้ที่ดินที่เหมาะแก่การปฏิบัติทั้งในระดับไร่นาและป่าไม้ จึงได้มีการจัดตั้งองค์กรนานาชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนด้านการเงินและการวิจัย โดยใช้ชื่อว่าสถาบันวิจัยวนเกษตรนานาชาติ(International Council For Research in Agroforestry) เรียกชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “อีคราฟ” (ICRAF) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงแเนโรบีประเทศเคนยา สำนักงานย่อยแห่งภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ตั้งอยู่ที่เมือง Bogor ประเทศอินโดนีเซีย สำนักงานหน่วยประสานงานย่อยของ ICRAF ในประเทศไทยตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ความหมายจากนักวิชาการวนเกษตร
ปัจจุบันนี้มีการพูดถึงคำว่า “วนเกษตร” กันมากขึ้นในกลุ่มนักวิชาการต่างๆ และได้มีการอธิบายความหมายออกมาหลากหลาย ดังเช่น บางกลุ่มให้ความหมายว่า เป็นการทำเกษตรป่าไม้ เป็นการทำเกษตรแบบป่า เป็นการทำเกษตรทางเลือก เป็นการทำไร่นาส่วนผสม เป็นการทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น ซึ่งตามที่กล่าวมามีหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันกับ “วนเกษตร” และต่อไปนี้จะนำเอาตัวอย่างสรุปความหมายตามข้อคิดเห็นของนักวิชาการที่เริ่มต้นบุกเบิก และองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้เห็น ดังเช่น
F. Halle “วนเกษตร” เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวข้องกันทั้งศาสตร์ ศิลป์ และภูมิปัญญา ในการปลูกไม้ยืนต้นกับพืชอื่นๆผสมกัน โดยอาจจะเลี้ยงปศุสัตว์ร่วมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากที่ดินผืนนั้นๆ จะมีมากกว่าการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์พืชพรรณ ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ ลดความเสี่ยงจากความเสียหายของผลผลิต สนองความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรในท้องถิ่นได้มาก
ICRAF “วนเกษตร” คือแนวทางการใช้ที่ดินที่มีการผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างไม้ยืนต้น กับการผลิตพืชและการเลี้ยงสัตว์ เป็นวิธีที่มีศักยภาพในการให้อาหารสัตว์ เชื้อเพลิง และผลิตผลอื่นๆแก่ครอบครัว ในขณะเดียวกันวนเกษตรจะทำให้ผลผลิตยั่งยืน (Sustainned Productivity) จากทรัพยากรธรรมชาติพื้นบ้าน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน เป็นการช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกพืชและสัตว์เลี้ยง วัตถุประสงค์ของวนเกษตร การที่องค์กรและหน่วยงานต่างๆต้องการให้มีการศึกษาวิจัย และสนับสนุนให้นำเอาวิธีการของวนเกษตรออกมาใช้ก็เพื่อวัตถุประสงค์หลักต่อไปนี้ คือ 1. เพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรและประชาชน การปฏิบัติตามระบบวนเกษตร ในขั้นต้นจะช่วยแก้ไขระดับความต้องการพื้นฐานได้ เช่น อาหารและพืชประกอบอาหารต่างๆเพราะสามารถผลิตได้เอง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อหาโดยไม่จำเป็น และลดความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักและอาหารที่มีสารพิษ ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคภัยและจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ 2. เพื่อช่วยให้ราษฎรที่มีที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อย มีผลผลิตที่หลากหลายมาใช้บริโภคในครัวเรือน ช่วยลดความเสี่ยงและช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายผลผลิตจากการเพาะปลูกของตนเอง 3. เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดินทำกิน ให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นด้วยลักษณะ โครงสร้างและความหลากหลายในระบบวนเกษตร เพราะความเสื่อมโทรมของที่ดินทำกินเป็นต้นเหตุของความยากจน 4. เพื่อช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการปฏิบัติในระบบวนเกษตร ช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และแบ่งเบาภัยพิบัติจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปให้ดีขึ้น 5. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนไม้ใช้สอย เช่น เพื่อการซ่อมแซมต่อเติมที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เครื่องมือการเกษตร เป็นต้น ในระบบวนเกษตรจะได้ไม้ใช้สอยเหล่านี้จากพืชยืนต้นที่มีอายุมากให้ผลผลิตน้อย หรือเมื่อต้องการตัดสางเอาพืชที่ไม่ต้อง การออก เป็นต้น 6. เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้เชื้อเพลิง วัตถุประสงค์นี้จะเน้นที่ไม้ฟืน เพราะวิธีการของวนเกษตรมีพืชยืนต้นรวมอยู่ในระบบด้วย กิ่งก้านสาขาที่แห้งหรือเกิดจากการตัดแต่งพืชที่ปลูกจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงได้ ความสำคัญของวนเกษตร
หลายประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาของป่าไม้ และบทบาทของพืชยืนต้นในการปกป้องและปรับปรุงสภาพแวดล้อม จึงทำให้องค์กรการพัฒนาระหว่างประเทศของประเทศที่พัฒนาแล้ว สนับสนุนให้มีการศึกษาทบทวนศักยภาพและปัญหาของป่าเขตร้อนกันอย่างกว้างขวาง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นปัญหาหลายประการที่มีผลมาจาการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ และมีข้อสรุปชี้แนะให้พัฒนาระบบการผลิต ในรูปแบบการปลูกพืชยืนต้นควบคู่ไปกับการปลูกพืชอายุสั้นอื่นๆ ให้มีความหลากหลายเกื้อกูลกันและอาจจะเลี้ยงสัตว์ร่วมด้วยในระบบ จากข้อเสนอแนะนี้มีผลให้ธนาคารโลกเปลี่ยนแปลงนโยบายให้เน้นการพัฒนาไปยังคนยากจนในชนบท และกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ประกอบด้วยแนวคิด ที่จะให้มีการเพิ่มผลผลิตอาหารและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยวิธีวนเกษตร ส่วนองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) ได้บททวนนโยบายการให้ความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ในชนบทด้วยเช่นกัน และองค์การวิจัยพัฒนาระหว่างชาติของแคนาดา(International Development Research Center เรียกย่อว่า IDRC) ได้เสนอให้จัดตั้งสภาวิจัยวนเกษตรนานาชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2520 เรียกชื่อย่อว่า ”ICRAF” และมีกิจกรรมสนับสนุนงานด้านนี้มาจนปัจจุบัน หน่วยงานและองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องกับวนเกษตร
FAO(Food and Agriculture Organization) เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และเชื่อเพลิง การขาดแคลนอาหารและการแก้ปัญหาความยากจน
IDRC(International Development Research Center) เป็นศูนย์การค้นคว้าวิจัยการพัฒนาระหว่างชาติ เกี่ยวกับการจัดการที่ดินในเขตร้อน ป่าไม้ อาหาร และคน ดังนั้นแนวทางการวิจัยจึงชี้ไปสู่ระบบวนเกษตร จึงสนับสนุนการจัดตั้ง ICRAF ขึ้นโดยตั้งสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่นครแอมสเตอร์แดม ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2520
ICRAF(International Council For Research in Agroforestry) หรือสถาบันวิจัยวนเกษตรระหว่างชาติ โดยคณะกรรมการของ IDRC เห็นว่า ICRAF ควรจะตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนั้นเมื่อศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆแล้ว จึงลงความเห็นว่าควรจะจัดตั้งที่กรุง Nairobi Kenya และปัจจุบันสถาบันนี้ได้ขยายความรับผิดชอบเป็นสถาบันวนเกษตรโลก(World Agroforestry Center) แต่ยังใช้ชื่อย่อว่า ICRAF อยู่เช่นเดิม
CATIE(Centro Agrononico Tropical de Investigacion Ensenanza) สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย ฝึกอบรมร่วมมือร่วมงานและแสดงผลงานของศูนย์หรือสถาบัน และเรื่องเกี่ยวกับชนบทที่ทำมาหากินแปลงเล็กแปลงน้อย ที่ทำกินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ที่ทำกินอยู่ในที่สูงชัน สถาบันนี้มีการค้นคว้าทดลอง และวิจัยเกี่ยวกับวนเกษตรเองหรือร่วมมือกับสถาบันอื่นๆด้วย ดังนั้นงานเกี่ยวกับวนเกษตรของ CATER จึงกว้างในระดับนานาชาติด้วยเช่นกัน
UNU(The University of the United Nations) เป็นความคิดของอูทั่น(U Thant)ในสมัยที่เป็นเลขาธิการสหประชาติ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนเพราะขาดเหตุผลบางประการ ต่อมาประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุน 100 ล้าน USS เพื่อการตั้ง UNU ที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2518 และต่อมาในปี พ.ศ. 2522 เพิ่มทุนให้เป็น 150 ล้าน USS ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับ ความอดยากของประชากรโลก การพัฒนาชนบท การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาตินั้น แบ่งเป็นโครงการย่อยๆอีก เช่น นิเวศวิทยาพื้นฐานในการพัฒนาเขตร้อนชื้น นิเวศวิทยาพื้นฐานในการพัฒนาชนบทเขตโซนที่แห้งแล้ง แหล่งเชื้อเพลิง ระบบวนเกษตร ความเกี่ยวพันระหว่างที่ริมทะเลและป่าพรุ UNU ไม่ใช่สถาบันที่สอนหรืออบรมนักวิชาการ แต่เป็นที่สนับสนุนให้ทุนการศึกษาการประชุม การให้ข่าวสาร อันเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และการพัฒนาสังคมชนบท ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 4 ให้ข้อเสนอแนะการทำวนเกษตรยางพารา/ผลักดันให้เกิดการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม ข้อที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนรู้ พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนจากบทเรียนและประสบการณ์ของพื้นที่ และข้อที่ 6 รณรงค์ขยายผลการปลูกยางพาราแบบวนเกษตร ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ขอความช่วยเหลือเอกสารการเงินและการลงทะเบียน ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
6. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร เป็นวิทยากร | วันที่ 24 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลตาม เอกสารหมายเลข 1 ข้อตกลงเลขที่ 57-ข-012 (ปรับ) ลักษณะกิจกรรม
|
เป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นการอบรมปฏิบัติการให้แก่ครูยาง ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดปัตตานี 400 คนผลที่เกิดขึ้นครูยาง คือแกนนำชุมชน ที่ สกย.คัดเลือกมาให้เป็นเกษตรกรที่ให้ความรู้เรื่องการปลูกยางให้กับชาวบ้านในพื้นที่จากการอบรมทำให้ครูยางเกิดความเข้าใจเรื่อง ได้รับความรู้เรื่องการทำวนเกษตรในสวนยางพารา ซึ่งเนื่อหามีรายละเอียดตามเอกสาร ปัญหา/แนวทางแก้ไขเกษตรกรมาช้ากว่าเวลากำหนดเพราะกรณีฝนตกมากมีน้ำท่วมเดินทางไม่สะดวก แก้ไขโดยขอขยายเวลาออกไปให้ครบตามกำหนด ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 6 รณรงค์ขยายผลการปลูกพืชร่วมยาง และข้อที่ 4 พัฒนาและประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางปลูกพืชร่วมยาง รวมถึงการผลักดันให้เกิดการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางและท้องถิ่น ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
7. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร ประชุมคณะทำงานเตรียมเวทีเสวนาผลักดันนโยบายการทำสวนยางวนเกษตร | วันที่ 4 มกราคม 2558 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลตาม เอกสารหมายเลข 1 ข้อตกลงเลขที่ 57-ข-012 - เพื่อประชุมคณะทำงานวางแผนการจัดเวทีเสวนาโครงการวนเกษตรยางพารา ลักษณะกิจกรรมได้ประชุมทีมแกนนำ เพื่อวางแผนการจัดเวทีเสวนา การผลักดันนโยบายการทำสวนยางเกษตร วันเสวนา 13 มกราคม 2558 |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ประชุมแกนนำเตรียมงานจัดเวทีเสวนามีผู้เข้าร่วมประชุม 9 คน ประกอบด้วย 1. ผศ.ดร ปราโมทย์ แก้วงศรี คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์ 2. นายกำราบ พานทอง เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนชาวสวนยาง 3. นายสินธบ อินทรัตน์ นายก อบต.บ้านท่าข้าม 4. นายปฏิหาริย์ บุญรัตน์ สภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา 5. นายเอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ 6. นายเสรี ขุนอักษร สมาคมบ้านพักคนชราหาดใหญ่ 7. นายสมภพ ยอดดี เครือข่ายนักเรียนพลเมือง 8. นส.กมลทิพย์ อินทะโณ มูลนิธิชุมชนสงขลา 9. นาง ณันฏิวรรณ อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ผลที่เกิดขึ้น
ปัญหา/แนวทางแก้ไข- แนวทางการพัฒนาครั้งต่อไป -จัดเวทีเสวนาที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ มอ. ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อเพื่อทบทวนรูปแบบแนวคิดพืชร่วมยาง ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ขอความช่วยเหลือด้านเอกสารการเงินและการลงทะเบียน ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
8. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร เขียนเอกสารประกอบการเสวนา | วันที่ 10 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16.30 (2 วัน)วัตถุประสงค์
ลักษณะกิจกรรมเอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับวนเกษตรยางพารา เรื่องทางออกนโยบายการพัฒนายางพาราที่ยั่งยืน |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ผลที่เกิดขึ้นเอกสารสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับวนเกษตรยางพารา ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 4 ให้ข้อเสนอแนะการทำวนเกษตรยางพารา/ผลักดันให้เกิดการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม ข้อที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนรู้ พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนจากบทเรียนและประสบการณ์ของพื้นที่ และข้อที่ 6 รณรงค์ขยายผลการปลูกยางพาราแบบวนเกษตร ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ขอความช่วยเหลือเอกสารการเงินและการลงทะเบียน ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
9. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร จัดประชุมเวทีเสวนาผลักดันนโยบายการทำสวนยางเพื่อความยั่งยืน | วันที่ 13 มกราคม 2558 เวลา 09:00วัตถุประสงค์
ลักษณะกิจกรรม-เอกชัย อิสระทะ (พิธีกรดำเนินรายการ) -กำราบ พานทอง(วิทยากรประมวลการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับปัญหายางพาราที่ผ่านมา) -สุวิทย์ ทองหอม (วิทยากรประมวลกฎหมาย นโยบายเกี่ยวข้องที่ผ่านมา) -ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี(วิทยากรวนเกษตรยางพาราเพื่อความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร) - จัด ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. |
เป้าหมายที่ตั้งไว้วิทยากรบรรยาย 3 คน ให้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อชักจูงเข้าเนื้อหา ผู้มีส่วยได้ส่วนเสียเสนอแนะ/ความคิดเห็นเพิ่มเติม แบ่งกลุ่มย่อยหาข้อสรุปเสนอผลักดันไปตามขั้นตอนผลที่เกิดขึ้น
ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 4 พัฒนาและประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะแนวทางปลูกพืชร่วมยาง รวมถึงการผลักดันให้เกิดการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางและท้องถิ่น ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.ขอความช่วยเหลือเอกสารการเงินและการลงทะเบียน ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.นส.วรรณา สุวรรณชาตรี และ นส.พีรยา จินดามณี |
||||
10. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร ให้สัมภาษณ์ทำข่าวสื่อโทรทัศน์ | วันที่ 20 มกราคม 2558 เวลา 09:00-14.00วัตถุประสงค์
ลักษณะกิจกรรม5 ชั่วโมง
|
เป้าหมายที่ตั้งไว้สัมภาษณ์และลงพื้นที่ ใช้เวลา 3 ชั่วโมงผลที่เกิดขึ้นให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นยางเชิงเดี่ยวกับวนเกษตรยางพารา –นำนักข่าวไปพบเกษตรกรในพื้นที่จริง - ให้ดูตัวอย่างพืชร่วมและแซมยาง เช่น ยางพารา ผักเหมียง จำปูริง ลูกเนียง มะพร้าว ไผ่ มันปู มะม่วงหิมพานต์ ผักกูด ผักหนาม เป็นต้น ปัญหา/แนวทางแก้ไขนักข่าวทำงานตามกระแส / เป็นคนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจวนเกษตร / ไม่รู้จักพืชพรรณยังชีพในท้องถิ่น ทั้งที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอหาดใหญ่(ไม่รู้จักต้นผักเหมียง ต้นเหรียง ต้นลูกเนียง ต้นเลียบ ต้นเพกา ต้นจิกนา ต้นเต่าร้าง ต้นย่านนาง ฯลฯ) - การพูดคุยกับนักข่าวและเกษตรกรในพื้นที่ สื่อความเข้าใจกันยาก เพราะทีมสื่อไม่เข้าใจพืชท้องถิ่น - แนวทางแก้ไข แนะนำส่งเสริมให้รู้จัดพืชพันธุ์ยังชีพท้องถิ่น โดยให้ความรู้หรือทำเอกสารเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยในการใช้ประโยชน์พืชพันธุ์ในท้องถิ่น เช่น เพื่อเป็นอาหาร ไม้ใช้สอยในวัฒนธรรม เป็นต้น ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 4 ให้ข้อเสนอแนะการทำวนเกษตรยางพารา/ผลักดันให้เกิดการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม ข้อที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนรู้ พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนจากบทเรียนและประสบการณ์ของพื้นที่ และข้อที่ 6 รณรงค์ขยายผลการปลูกยางพาราแบบวนเกษตร ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
11. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร ประชุมสรุปเวทีเสวนาวันที่ 13 มกราคม 2558 | วันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 13:00-16.00วัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลตาม เอกสารหมายเลข 1 ข้อตกลงเลขที่ 57-ข-012 - เพื่อสรุปประชุมผลจากการจัดเวทีเสวนาเรื่องผลักดันนโยบายการทำสวนยางเพื่อความยั่งยืน ลักษณะกิจกรรมประชุมทีมคณะทำงานเวทีเสวนา จำนวน 9 คน |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ประชุมทีมคณะทำงานเวทีเสวนา จำนวน 9 คนผลที่เกิดขึ้นได้ประชุมสรุปคณะทำงาน ณ มูลนิธิชุมชนสงขลา ได้เสนอต่อสรุปผลการจัดเวทีเสวนาร่วมกัน ให้ นายกำราบพานทอง นำไปเสนอผ่านทางจังหวัด และเสนอให้กับอนุกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ ตามขั้นตอนต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข-ทีมคณะกรรมการมาไม่ครบตามเป้าหมาย เนื่องจากติดภารกิจ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อเพื่อทบทวนรูปแบบแนวคิดพืชร่วมยาง ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
12. ผศ.ดร. ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี หัวหน้าโครงการวนเกษตรยางพารา แผนงานความมั่นคงทางอาหาร เป็นวิทยากร | วันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 13:00-16.00วัตถุประสงค์นำผลเสวนาเสนอผู้เกี่ยวข้องเป็นนโยบายผลักดันการปฏิบัติต่อไป ลักษณะกิจกรรมอภิปรายประมวลปัญหา การทำวนเกษตรยางพาราเพื่อความยั่งยืน และเสวนาแสดงความคิดเห็น วันที่ 29 มกราคม 2558 ณ วิทยาลัยการอาชีพ อ.ควนโดน จ.สตูลชุมชน อ.เมือง จ.สตูล เป็นเวทีร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำสวนยางวนเกษตรเพื่อความยั่งยืน ต่อเรื่องการสงเคราะห์แบบ 5 ของ สกย. |
เป้าหมายที่ตั้งไว้เปิดเวทีร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำวนเกษตรยางพาราเพื่อความยั่งยืนผลที่เกิดขึ้นอภิปรายประมวลปัญหา/เสวนาแสดงความเห็น - มีผู้เข้าร่วมเสวนาประมาณ 55 คน ประกอบด้วย เกษตรกรและผู้ประกอบการยางพารา ครูในวิทยาลัยชุมชน และกลุ่มองค์กร - ทางผู้เข้าฟังการบรรยาย มีความเห็นว่า การสงเคราะห์แบบ 5 ของ สกย.เป็นสิ่งที่ดี แต่มีความกังวลว่า จะผลักดันให้เกิดการปฏิบัติได้อย่างไร หรือทำได้หรือไม่ - มีข้อเสนอแนะว่า ควรจะให้มีนโยบายปฏิบัติการ การสงเคราะห์แบบ 5 ให้เกิดขึ้นจริง ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.ขอใช้กิจกรรมนี้บรรลุข้อตกลงที่ 4 ให้ข้อเสนอแนะการทำวนเกษตรยางพารา/ผลักดันให้เกิดการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรม และข้อที่ 6 รณรงค์ขยายผลการปลูกยางพาราแบบวนเกษตร ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
13. จัดเวทีเสวนาผลักดันนโยบายการทำสวนยางวนเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร | วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องวนเกษตรยางพาราเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ลักษณะกิจกรรมเป็นวิทยากร ร่วมประชุมเวทีเสวนาแสดงความคิดเห็นแนวทางผลักดนวนเกษตรยางพารา เรื่อง วนเกษตรยางพาราเพื่อความมั่นคงทางอาหารและรายได้เสริม |
เป้าหมายที่ตั้งไว้จัดเวทีเสวนาแสดงความเห็นแนวทางผลักดันวนเกษตรยางพารา ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติผลที่เกิดขึ้นมีผู้เข้าร่วมอบรม 25 คน เป็นเครือข่ายเกษตรกรใน ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ และแกนนำปผักพื้นบ้านในสวนยางของภาคใต้ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
14. วิทยากรกิจกรรมปลูกผักข้างบ้านสร้างตู้เย็นที่มีชีวิต | วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00วัตถุประสงค์เพื่อเป็นวิทยากรในโครงการความมั่นคงด้านอาหาร ลักษณะกิจกรรมร่วมเป็นวิทยากรเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายผักพื้นบ้าน วันที่ 23 ก.พ. 58 - ได้แนะนำตัวอย่างผักพื้นบ้านบางชนิดที่เกษตรกรนำมาแสดงและจำหน่ายในงานตลาดนัดเกษตรกร ม.อ. โดยให้ความรู้วิธีการบริโภคและการนำผักพื้นบ้านไปใช้ประโยชน์ เช่น คุณค่าทางยาแลัสมุนไพร รวมทั้งถิ่นที่อาศัยที่พบในนิเวศน์ธรรมชาติ |
เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมปลูกผักข้างบ้านสร้างตู้เย็นที่มีชีวิต ของโครงการตลาดนัดเกษตรกร คณะทรัพย์ฯ ม.อ.ผลที่เกิดขึ้น
ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)
ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก
5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ
มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน
7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ
สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้
ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)
8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ