ความมั่นคงทางอาหารกับวิถีสุขภาพ อำเภอจะนะ

แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร

by dezine @September,29 2014 10.33 ( IP : 202...129 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 57-ข-008
งวดที่ 1

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)

วันที่รายงาน : 11 มีนาคม 2558

1. ชื่อโครงการ ความมั่นคงทางอาหารกับวิถีสุขภาพ อำเภอจะนะ

2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 57-ข-008 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2557 - 31 ตุลาคม 2558

3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 ตุลาคม 2557 ถึงเดือน 28 กุมภาพันธ์ 2558

4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 26 ตุลาคม 2557 เวลา 17:00

วัตถุประสงค์

-เพื่อการวางแผนการทำงานด้านความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน

-เพื่อการกำหนดเป้าหมายทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน

ลักษณะกิจกรรม

  • ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งบ้านสวนกง

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมวางแผนการดำเนินงานด้านความมั่นคงทางอาหารทางทะเลพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ

ผลที่เกิดขึ้น

มีการวางแผนการดำเนินงานด้านความมั่นคงทางอาหาร ดังนี้

  • มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสินค้าอาหารทะเลแปรรูปของชุมชน เพื่อการต่อยอดการเรียนรู้และการจัดการความมั่นคงทางอาหารทะเลจะนะ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนที่มีรูปธรรมที่ชัดเจนของแต่ละชุมชน โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯในพื้นที่ 3 หมู่บ้านได้แก่บ้านสวนกง ตำบลนาทับ บ้านปากบางสะกอม และบ้านบ่อโชน ตำบลสะกอม

  • การเรียนรู้การแลกเปลี่ยนในการสร้างความมั่นคงทางอาหารบนบกริมชายฝั่งทะเลจะนะ ที่มีการปลูกพืชไร่เช่นแตงโม มันสำปะหรัง กล้วย มะพร้าว และพืชอื่นๆ

  • การเรียนรู้ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่อำเภอจะนะและอำเภอเทพาโดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาเรื่องการเดินทางในการรวมกลุ่มพูดคุยกันของคนในชุมชนที่บางคนไม่สามารถออกนอกพื้นที่ได้เนื่องจากมีภารกิจในครอบครัว


แนวทางแก้ไขคือการประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละหมู่บ้านและมีการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินของแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
2. กิจกรรมความมั่นคงทางอาหารกับการกำหนดผังเมืองพื้นที่

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00

วัตถุประสงค์

  • เพื่อการเรียนรู้ศักยภาพของพื้นที่อำเภอจะนะร่วมกัน

  • เพื่อการเรียนรู้ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนา และขับเคลื่อนเรื่องความมั่นคงทางอาหารและการกำหนดผังเมือง

ลักษณะกิจกรรม

เวทีเรียนรู้เรื่องความมั่นคงอาหาร และการกำหนดผังเมืองร่วมกันของคนในชุมชน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรื่องความมั่นคงทางอาหารและการกำหนดผังเมือง

ผลที่เกิดขึ้น

แผนงานนโยบายผังเมืองที่เรากำหนดเอง - ความมั่นคงทางอาหารและศักยภาพของพื้นที่ต้องรักษาไว้

  • กำหนดอนาคตของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

  • รณรงค์พื้นที่อาหาร พื้นที่แหล่งความมั่นคงทางอาหาร

  • สร้างการมีส่วนร่วมกันของชุมชนในการกำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

แผนการทำงานข้างหน้า - การทำงานร่วมกับท้องถิ่น เช่นผลักดันและร่วมกันจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น คุ้มครองพื้นที่อาหาร

  • สร้างพื้นที่ปฏิบัติการเรียนรู้

  • ขับเคลื่อนร่วมกันเป็นเครือข่ายจังหวัด

  • ทำความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร การจัดทำผังเมืองกับกระบวนการอีไอเอ

  • การทำข้อมูลเชื่อมร้อยพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารที่มีระบบนิเวศต่างกัน

  • กำหนดโซนเศรษฐกิจความมั่นคงทางการอาหาร

  • ติดตามการจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดอย่างต่อเนื่อง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
3. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 3 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  • การจัดตั้งเครือข่ายสวนป่ายางสมุนไพรและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ลักษณะกิจกรรม

  • จัดตั้งเครือข่ายสวนป่ายางสมุนไพร
  • วางแผนการดำเนินงานของเครือข่าย
  • ลงดูพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นสวนสมุนไพรตัวอย่างของศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

- ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ผลที่เกิดขึ้น

จัดตั้งคณะทำงานเครือข่ายสวนป่ายางสมุนไพรและมีการแบ่งหน้าที่ตามศักยภาพของแต่ละองค์กรดังนี้

  • โรงพยาบาลจะนะ ทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางในการให้ความรู้เรื่องสมุนไพรและจัดหาตลาดแก่ชุมชน

  • สถานีอนามัยตำบลสะพานไม้แก่น ทำหน้าที่ให้ความรู้และประสานเชื่อมประสานชุมชน

  • ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ทำหน้าที่เชื่อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสริมสร้างหนุนช่วยชุมชนในการเรียนรู้และปฏิบัติการ

  • สถาบันการจัดระบบสุขภาพ (มอ.) ทำหน้าที่เชื่อมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้การสนับสนุนงบประมาณในกระบวนการเรียนรู้

แผนการดำเนินงานของเครือข่ายสวนป่ายางสมุนไพร

  • การศึกษาเรียนรู้ดูงานสวนป่ายางสมุนไพร

-ิ เตรียมพื้นที่และวางผังสวนสมุนไพร

  • การสร้างองค์ความรู้เรื่องสมุน และศึกษาเรียนรู้เรื่องการตลาด

  • จัดตั้งองค์กรในการปฏิบัติการของชุมชน โดยเริ่มจากต.สะพานไม้แก่นเป็นพื้นที่ต้นแบบในการทำสวนป่ายางสมุนไพร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
4. เจ้าหน้าสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงพื้นที่จะนะ

วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชนในการแปรรูปสัตว์น้ำ
  • เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชนและเจ้าหน้าที่

ลักษณะกิจกรรม

  • พูดคุยแลกเปลี่ยน เสนอความต้องการของชุมชน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

- ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเพื่อแปรรูปสัตว์น้ำ

ผลที่เกิดขึ้น

  • คนในชุมชนได้เห็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อแปรรูปสัตว์น้ำมากขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจที่จะต่อยอดการแปรรูปสัตว์น้ำของชุมชนมากขึ้น
  • สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันมากขึ้น มีการคิดหาแนวทางวิธีการในการดำเนินต่อยอดสินค้าของชุมชนมากขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
5. ดูงานสวนป่ายางสมุนไพร

วันที่ 18 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเรียนรู้แนวคิดการทำสวนยางสมุนไพร

  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำสวนป่ายางสมุนไพร

ลักษณะกิจกรรม

  • ศึกษาเรียนรู้การทำสวนป่ายางสมุนไพร ตามแนวทางเกษตรวิถีพุทธ ที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยแต่มีวิธีการให้ปุ๋ยโดยธรรมชาติ

  • พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

- เรียนรู้ดูงานการทำสวนป่ายางสมุนไพรตามแนวทางเกษตรวิถีพุทธ

ผลที่เกิดขึ้น

  • เกิดการเรียนรู้ถึงเทคนิควิธีการทำสวนป่ายางสมุนไพรโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย ก็ทำให้น้ำยางออกในปริมาณที่มาก และสามารถลดต้นทุนลงได้มากขึ้น

  • เกิดการจัดตั้งเครือข่ายสวนป่ายางสมุนไพร หลังจากการเรียนรู้ดูงานในหลายพื้นที่ในอ.จะนะ และอ.เทพา ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อปฏิบัติการในพื้นที่และสร้างเครือข่ายต่างอำเภอ เพื่อหาทางออกในวิกฤตที่ยางมีราคาถูก

  • ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการทำสวนป่ายางสมุนไพร และได้เห็นรูปธรรมที่ชัดเจน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
6. ประชุมเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา

วันที่ 14 มกราคม 2558 เวลา 10:00

วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานที่ผ่านมาของแต่ละพื้นที่ร่วมกัน

จัดตั้งคณะทำงานเครือข่าย

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานร่วมกัน

ผลที่เกิดขึ้น

  • เกิดการจัดตั้งเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกันประกอบด้วย เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น กลุ่มทุ่งตำเสารักษ์ถิ่น กลุ่มเนินพิจิตร เครือข่ายประชาชนพัฒนาเมืองเทพา สภาองค์กรชุมชน และเครือข่ายพลเมืองสงขลา โดยในที่ประชุมมีมติมีการขับเคลื่อนงานความมั่นคงทางอาหารควบคู่กับการติดตามเรื่องผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา เนื่องจากผังเมืองเป็นส่วนสำคัญที่มีผลกับการเปลี่ยนในพื้นที่และการขับเคลื่อนงานความมั่นคงทางอาหาร

โดยได้มีการวางแผนการดำเนินการเครือข่ายดังนี้

  • การจัดทำข้อมูลศักยภาพของพื้นที่โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางอาหารของแต่ละโซนพื้นที่

  • การติดตามการจัดทำผังเมืองอย่างต่อเนื่อง

  • การประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

  • นำข้อมูลศักยภาพในแต่ละพื้นที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
7. หน่วยที่เกี่ยวข้องงานลงพื้นที่สำรวจ อ.จะนะ

วันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสำรวจความต้องการของชุมชน

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ลักษณะกิจกรรม

  • ลงพื้นที่สำรวจความต้องการและพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

- การลงพื้นที่สำรวจความต้องการการต่อยอดผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของชุมชน

ผลที่เกิดขึ้น

  • เกิดการประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน โดยชุมชนได้นำเสนอศักยภาพของชุมชน รวมทั้งความต้องการของชุมชนที่จะมีการต่อยอดในการแปรรูปสัตว์น้ำ

เจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่มีองค์ความรู้ได้พูดคุยแนะนำ และนำเสนอองค์ความรู้ที่ชุมชนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชุมชนได้ รวมทั้งการวางแผนในการเรียนรู้และหนุนเสริมชุมชนต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
8. ศึกษาดูงานอาหารปลอดภัยจังหวัดเชียงราย

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาดูงานเรื่องอาหารปลอดภัย

ลักษณะกิจกรรม

-

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ศึกษาดูงานเรื่องอาหารปลอดภัย

ผลที่เกิดขึ้น

-

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)

ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก

5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

 

6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ

มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

 

7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ

สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้

ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)

 

8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ