การขยายผลรูปแบบโภชนาการสมวัยในระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by dezine @September,22 2014 11.12 ( IP : 202...129 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 57-ข-003
งวดที่ 1

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)

ชื่อโครงการ การขยายผลรูปแบบโภชนาการสมวัยในระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
อาหารเช้าเพื่อน้อง

วันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 07:00-08.00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลควนรู จำนวน 74,800 บาท สำหรับจ้างเหมาประกอบอาหารเช้าให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน
    1.โจ๊กหมูสับ
    2.ผัดเส้นหมี่ลูกชิ้นหมู
    3.ข้าวต้มกุ้ง
    4.ข้าวสวย แกงจืดตำลึงหมูสับ

    5.ข้าวผัดรวมมิตร

สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน

    1.โจ๊กปลา

    2.ข้าวสวย ไก่ทอด

    3.ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้ว

    4.ข้าวต้มกุ้งใส่ตับ

    5.ข้าวสวย ผัดผักใส่ไข่

สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน

    1.ข้าวสวย แกงจืดเต้าหู้ ผัก ตับ

    2.ข้าวต้มเลือดหมู

    3.ข้าวสวย ไข่เจียวมะเขือเทศ

    4.ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยใส่ไข่

    5.ข้าวสวย ต้มฟักใส่ไข่

สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน

    1.ข้าวต้มไก่

    2.ข้าวคลุกหมูหวาน

    3.ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัดซีอิ้วใส่ไข่

    4.ข้าวสวย แกงจืดฟักหมูสับ

    5.ข้าวสวย ไข่พะโล้

หลังจากเด็กๆ ได้เข้าร่วมโครงการอาหารเช้าอย่างเพื่อน้องอย่างต่อเนื่อง ได้พบว่าเด็กๆ ขาดเรียนน้อยลง มีสมาธิและความพร้อมในการเรียนมากขึ้น ตลอดจนสามารถร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของโรงเรียนได้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

กิจกรรมกำหนดการอบรม สื่อประกอบการอ่าน ส่งเสริมสุขภาวะทางกายเด็กปฐมวัย

วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.จัดให้ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 3 ศูนย์ ครูสอนเด็กเล็กทั้ง 3 โรงเรียน และ อสม.ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม เป็นเวลา 2 วัน กับทีมงาน ระบัดใบ โดยเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาสมองของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนถึง 6 ปี ว่าพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยเป็นอย่างไร

2.ประกอบสื่อการเรียนการสอนด้วยตัวเองแบบวิธีง่ายๆ และประหยัด

ครูสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปรับเทคนิคในการผลิตสื่อให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

กิจกรรม ปลูกผักสวนครัว เรียนรู้วิถีชีวิตแบบพอเพียง

วันที่ 21 มกราคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

สมาชิกผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 6 หมู่บ้าน จำนวน  77 คน  มีความสนใจที่จะปลูกผักสวนครัวเพื่อบริโภคเอง เหลือก็สามารถเก็บไปขายสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ซึ่งได้แบ่งเป็น 6 กลุ่ม จะมีหัวหน้ากลุ่มค่อยติดตามให้ความช่วยเหลือ

1.สมาชิกร่วมกันถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการปลูกผักเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

2.สมาชิกได้บริโภคผักที่ปลูกเองซึ่งปราศจากสารพิษ 100% เพราะทุกครัวเรือนได้ใช้ปุ๋ยชีวภาพในการปลูก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

งานเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมความร่วมมือของเครือข่ายภาคี  โดยเรียนเชิญผู้นำ 3 ท่าน มาเปิดศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งมีท่านรองผู้ว่าฯ  ท่านนายก อบจ. และนายอำเภอรัตภูมิ รวมทั้งสื่อต่างๆ เข้ามาร่วมกิจกรรมในวันนั้น

  • เกิดการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูล

    -  ชุมชนร่วมมือกัน / การเป็นหุ้นส่วน -  เกิดความร่วมมือหลายหน่วยงาน -  เชิดชูเกษตรอินทรีย์ วิถีพุทธ -  สร้างเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ร่วมบันทึกรายการ ข่าวดีจะดัง

วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. ทีมงานนักข่าวได้ลงสำรวจพื้นที่นาข้าว ธนาคารข้าว การเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนา และสัมภาษณ์ นายถั่น จุลนวล (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู) เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งผลผลิตที่เด่นที่สุดคือเรื่องการปลูกข้าว การทำนาเกษตรอินทรีย์ การขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว และการกระจายผลิตภัณฑ์ข้าวลงสู่ตำบล
  2. ทีมงาน อบต.ควนรู นำทีมนักข่าวไปสำรวจและสัมภาษณ์ศุูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกรัก ซึ่งเชื่อมโยงกับธนาคารข้าว เพราะนโยบายของ อบต.ได้จัดให้ ศพด.ทั้ง 3 ศูนย์ บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตำบล และต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารพิษ ทั้งข้าว ผัก และผลไม้ ซึ่งต้องเป็นวัตถุดิบที่มาจากตำบล
  3. สัมภาษณ์การจัดอาหารเช้า และอาหารกลางวัน ผลไม้ นม สำหรับเด็กในอยู่ใน ศพด.ร่วมถึงกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษใน ศพด.
  4. ทีมงานนักข่าว กลับไปเก็บข้อมูลรายละเอียดเรื่องข้าว ที่ธนาคารข้าว โดยการสัมภาษณ์นายก ชาวบ้าน เพื่อเจาะลึกถึงรายละเอียดต่อไป

ผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามความต้องการของทีมนักข่าวที่ตั้งโจทย์สัมภาษณ์ รวมถึงการลงมือปฏิบัติจริง ทุกท่านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการให้ข้อมูล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ให้ข้อมูลโครงการยุทธศาสตร์การบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสงขลา

วันที่ 13 มีนาคม 2558 เวลา 13:00-15.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

คณะทีมงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู นำทีมโดยนายกถั่น จุลนวล ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการและติดตามงานเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งท่านจะอธิบายถึงความเป็นมาและเป็นไปเกี่ยวกับการทำโครงการตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไปในทิศทางที่ดีตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ นางอมิตา ประกอบชัยชนะ ผู้ประสานงานโครงการ และติดตามในเรื่องความปลอดภัย รวมถึงโภชนาการอาหารสมวัย ร่วมกับครู ศพด.อีก 2 ท่าน ที่มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภาวะโภชนาการสมวัยของเด็กใน ศพด.ทั้ง 3 ศูนย์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นก่อนทำโครงการ และเมื่อทำโครงการในปีแรก ได้พบเจอปัญหาอะไร เพื่อนำปัญหานั้นมาแก้ไขในปีที่ 2 ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

ทีมงานทั้งส่วนของทีมพี่เลี้ยง และส่วนของ อบต. พร้อมที่จะปฏิบัติงานไปตามแผนที่วางไว้ให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง (ความมั่นคงทางด้านอาหาร)

วันที่ 26 มีนาคม 2558 เวลา 07:00-17.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ทีมงานความมั่นคงทางด้านอาหาร ต.ควนรู ได้ส่งตัวแทน จำนวน 3 คน ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับเรื่อง ความมั่นคงทางด้านอาหารที่ จ.เชียงราย  เพื่อนำความรู้ที่ได้ มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงสิ่งที่ทำอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น  และนำมาถ่ายทอดบอกต่อกับชาวบ้านที่มีความสนใจในเรื่องของการปลูกผัก การพึ่งพาตนเองโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้ศึกษาดูงาน สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมของโครงการให้ได้ผลที่ดียิ่งขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานโครงการยุทธศาสตร์บูรณาการระบบอาหารพื้นที่จังหวัดสงขลา

วันที่ 4 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-12.30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

คณะกรรมการได้เสนอความคิดเห็นร่วมกัน  ซึ่งหน่วยงานที่มีสวนเกี่ยวข้องกับโครงการ คือ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล  และ อสม. จึงควรจัดให้หน่วยงานเหล่านี้ได้มีบทบาทในการทำงานต่อไป

คณะกรรมการโครงการ พร้อมร่วมทำงานกับหน่วยงาน เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ลงพื้นที่จับพิกัดครัวเรือนปลูกผัก

วันที่ 10 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานได้ลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนที่ปลูกผักรับประทานเอง และครัวเรือนที่ปลูกผักเพื่อจำหน่าย ซึ่งต้องปราศจากสารเคมี  โดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นหลัก ซึ่งได้จับสัญญาณ GPS สำหรับครัวเรือนที่ปลูก เพื่อนำไปประกอบการทำแผนที่ครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษในตำบล

โดยภาพรวมแล้ว  คนในพื้นที่จะปลูกผักรับประทานเองเป็นส่วนมาก  มีบางกลุ่มที่ปลูกไว้เพื่อจำหน่าย แต่ก็เป็นที่น่าพอใจ เพราะส่วนมาก การปลูกผักไว้เพื่อจำหน่าย ก็จะเน้นเรื่องการใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ทำกันเอง ไม่มีสารเคมีเจือปน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ร่วมจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์ปลอดภัยในงานวัฒนธรรมภูมิปัญญา

วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00-21.00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

หน่วยงานทุกแห่งในพื้นที่ตำบลควนรู เช่น รพ.สต. โรงพยาบาลรัตภูมิ อสม. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แกนนำชุมชน และคนในพื้นที่ ได้เข้าร่วมกิจกรรม ชมนิทรรศการหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ที่คนประดิษฐ์วัสดุ อุปกรณ์ ขึ้นมาเพื่อนำมาผลิตสินค้าต่างๆ  เช่น การสีข้าวด้วยมือ การใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง เป็นต้น เพื่อสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมเดิมๆ เอาไว้ จึงได้จัดงานนี้ขึ้นมาเป็นประจำทุกปี

คนในชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราว วัฒนธรรมวิถีชีวิตในอดีต การใช้ชีวิตแบบพอเพียง การจับจ่ายใช้สอยสินค้าของตำบลในราคาถูก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

่ร่วมจัดนิทรรศการงานอาหารของแม่ (โอเดี่ยนหาดใหญ่)

วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เวลา 07:30-18.00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ตำบลควนรู ซึ่งเป็นเครือข่ายของโครงการ  ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการด้วย ในวัน และเวลาดังกล่าว

เครือข่ายต่างๆ  ได้เข้าร่วมกิจกรรม และประสบผลสำเร็จในการประชาสัมพันธ์ กระทั่งการจำหน่ายสินค้าในแต่ละเครือข่ายเป็นไปอย่างสนุกสนาน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานโครงการการฯ

วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 13:00-15.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน คือ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู , โรงเรียน , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และคณะทำงานผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเพิ่มเติมกิจกรรมเกี่ยวกับด้านอาหารและโภชนาการอย่างเร่งด่วน 

คณะทำงานแต่ละฝ่ายในแต่ละหน่วยงาน  ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดให้เป็นอย่างดี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เก็บข้อมูลสภาพปัญหาภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

วันที่ 14 กันยายน 2558 เวลา 13:00-15.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

โรงเรียนที่เข้าร่วมงานวิจัยภาวะโภชนาการเกิน และขาด  รวม 2  โรงเรียน  ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย  และโรงเรียนบ้านไสท้อน  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลเข้ามาเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กในวัยเรียน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันภาวะโภชนาการอ้วน และผอม ไม้ได้ตามเกณฑ์ ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคต่อไป

นักเรียนและผู้ปกครอง  ได้รับความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกต้องสมวัย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์

วันที่ 15 กันยายน 2558 เวลา 13:00-15.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมให้ความรู้พร้อมกันทั้ง 2 รพ.สต.  โดยมีเนื้อหาเดียวกัน ดังนี้

1.ให้ความรู้เรื่อง การเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งปัจจุบันการเตรียมความพร้อมทางด้านสารอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีการเสริมสารอาหารบางชนิดตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันโรคบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เช่น โรคความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และไขสันหลังของทารกในครรภ์ ที่เรียกว่า Neural tube defect (NTD) ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการได้รับสารโฟลิก หรือ โฟเลตให้เพียงพอ (4-5 มิลลิกรัมต่อวัน) จากยา หรือนมที่มีโฟเลตสูง ในช่วง 1-3 เดือนแรกก่อนการตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์แล้ว แพทย์จะให้ทานโฟเลตต่อเนื่อง

2.การเตรียมความพร้อมด้านโภชนาการระหว่างการตั้งครรภ์  เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 แพทย์มักจะเปลี่ยนมาให้ยาอีก 2 อย่าง คือ ธาตุเหล็ก และแคลเซียม โดยโฟลิกอาจจะหยุดไม่ต้องทานต่อก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ของยาธาตุเหล็กมักมีโฟลิกผสมอยู่ด้วยแล้ว

3.อาหารที่ควรระวังและหลีกเลี่ยง  - เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าทานเป็นประจำ อาจส่งผลต่อความพิการของลูกในครรภ์ได้ (Fetal alcoholic syndrome)

  • อาหาร ผักผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่สะอาด สุกๆ ดิบๆ อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย และการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรคในหญิงตั้งครรภ์จะลดต่ำลงกว่าคนปกติ จึงติดเชื้อได้ง่ายกว่าและอาการรุนแรงมากกว่า ถ้าเป็นมากอาจส่งผลต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ได้เช่นกัน

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้  ความเข้าใจในการให้ความรู้ และพร้อมจะปฏิบัติตามในทุกๆ เรื่องที่ได้รับความรู้มา

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงพร้อมให้ความรู้เรื่องโภชนาการในพื้นที่ตำบลควนรู

วันที่ 15 กันยายน 2558 เวลา 09:00-17.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงรายละเอียดของงาน

2.จัดเตรียม อสม.เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลผู้พิการและให้ความรู้ด้านโภชนาการ  ให้ขวัญและกำลังใจ ทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  และสังคม

1.ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ได้รับการเยี่ยมและส่งเสริมความรู้ทางด้านโภชนาการ

2.ผู้ป่วยติดเตียง  ผู้พิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  ได้รับการส่งเสริม ให้ขวัญ กำลังใจ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ  และสังคม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

โครงการอาหารสมวัยเด็กไทยแข็งแรงสมบูรณ์

วันที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 08:30-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมวางแผนร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงและวางแผนงานตามข้้นตอน

2.ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่  ความสำคัญของการบริโภคอาหารมื้อเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่สุด

3.การประเมินด้วยการถาม ตอบ ระหว่างวิทยากร  ผู้ปกครอง  และนักเรียน

ครู และผู้ปกครอง ตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ แต่ละวัน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาสมองของเด็ก และสามารถนำความรู้ที่ได้  ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

โครงการเด็กไทรใหญ่ดูดีมีพลานามัย

วันที่ 18 กันยายน 2558 เวลา 08.30-12.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน

2.เริ่มดำเนินการตามแผนที่วางไว้คือ  ชั้งน้ำหนัก  วัดส่วนสูงให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรม

3.ให้ความรู้ด้านโภชนาการสมวัย  การออกกำลังกาย  การเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่า  ปลอดภัย

นักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าอบรม  มีความรู้ ทัศนคติและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไปในทางที่ดีขึ้น  โดยการติดตามผลจากการชั้่งน้ำหนัก สังเกตจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารไปในทางที่ดีขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมทำอย่างไรเด็กไทรใหญ่ เด็กสมส่วน

วันที่ 18 กันยายน 2558 เวลา 13:00-16.30 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะครูและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด  เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และดำเนินกิจกรรม

2.คัดกรองเด็กนักเรียนทุพโภชนาการจากแบบบันทึกการชั้งน้ำหนัก

3.วิทยากรให้ความรู้เรื่องโภชนาการ  การเลือกซื้ออาหารในท้องตลาดที่มีประโยชน์

4.ครูให้ความรู้สอดแทรกบูรณาการเรื่องอาหารในวิชาเรียน

5.ชั้งน้ำหนัก วัดส่วนสูงให้กับกลุ่มเป้าหมายหลังเข้าร่วมโครงการ

1.นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องโภชนาการ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2.นักเรียนมีสุขภาพดี  ส่งผลให้มีการพัฒนาด้านการเรียนรู้มากขึ้น  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะกรรมการเตรียมประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน (โรงอาหาร)

วันที่ 25 กันยายน 2558 เวลา 09:30-12.30 น

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.กำหนดวันประเมินสุขาภิบาลอาหารเป็นวันที่  30 กันยายน 2558  เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป

2.จุดตรวจแรกคือ  ครัวกลางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกรัก , โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย , โรงเรียนวัดไทรใหญ่ และโรงเรียนบ้านไสท้อน ตามลำดับ

คณะกรรมการเข้าใจแนวทางการประเมินไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมลงตรวจประเมินตามแบบประเมินการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน (โรงอาหาร) ซึ่งเป็นไปตาม  กองสุขาภิบาลอาหาร  สำนักอนามัย กทม.เป็นผู้กำหนด

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ลงพื้นที่ประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน (โรงอาหาร)

วันที่ 30 กันยายน 2558 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของงาน

2.ประสานงานกับ ศูนย์เด็กเล็ก (ครัวกลางลูกรัก) และโรงเรียนทั้ง  3  โรง เพื่อนัดวันเข้าประเมิน

3.คณะกรรมการลงพื้นที่ประเมินงานตามหน่วยงานที่กำหนดไว้รวม  4  พื้นที่  คือ ศพด.ลูกรัก , โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย , โรงเรียนวัดไทรใหญ่  ,  โรงเรียนบ้านไสท้อน ซึ่งใช้แบบประเมินสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน (โรงอาหาร) ตามที่กองสุขาภิบาลอาหาร  สำนักอนามัย กทม.ได้กำหนดไว้

4.มอบป้ายสุขาภิบาลอาหรในโรงเรียนให้กับโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตามแบบประเมิน

ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน ได้ตระหนักถึงความสะอาด ความปลอดภัยในการผลิตอาหารมากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่สะอาด  ปลอดภัย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำแผนที่เส้นทางการเดินของอาหารพื้นที่ตำบลควนรู

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ลงพื้นที่สู้ครัวเรื่อนที่ปลูกผัก เพื่อจับสัญญาณ  GPS

2.นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนที่ โดยใช้สัญลักษณ์เพื่อบอกจุดสำคัญของพื้นที่

3.นำข้อมูลที่ไ้ดส่งจัดทำป้ายแผนที่ขนาดใหญ่ จำนวน  4  ป้าย

4.ติดตั้งแผ่นที่ในจุดที่สำคัญ 4 แห่ง

มีการติดตั้งแผ่นที่ทั้งหมด  4  จุด คือ
1.องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลูกรัก (ครัวรวม)

3.ธนาคารอาหารชุมชน

4.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (โหล๊ะยาว)

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

สาธิตอาหารวัยทำงาน อาหารโซนสี

วันที่ 6 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-15.00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือในรูปแบบการจัดกิจกรรม

2.จัดหาวิทยากรที่มีความรู้ทั้งทางด้านการสาธิตอาหาร และความรู้ทางวิชาการด้านโภชนาการ

3.ประสานงานกับผู้เข้าร่วมอบรม เป้าหมายคือ วัยทำงาน เข้าร่วมอบรม โดยวิทยากรจะให้ความรู้ทางด้านวิชาการก่อน  หลังจากนั้นเป็นการสาธิตอาหาร และตัวอย่างอาหารตามโซนสีในมื้อกลางวัน

1.ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจถืงสภาวะความเสี่ยงต่อการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร  เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่จะตามมา

2.ผู้เข้าร่วมอบรม เข้าใจถึงลำดับความสำคัญของอาหารโซนสีได้เป็นอย่างดี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

การบริหารจัดการโครงการ

วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ เช่น การจัดทำเอกสาร ,การรายงานผลงานผ่านเว้ปไซต์

จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ เช่น การจัดทำเอกสาร ,การรายงานผลงานผ่านเว้ปไซต์

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-