ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | |
1. ประชุมเรื่องอุทยานอาหารกับเทศบาลคอหงส์ » | ||||||
พฤหัสบดี 9 พ.ค. 56 | พฤหัสบดี 9 พ.ค. 56 | ผู้บริหารเทศบาล ประกอบด้วย ว่าที่ ร.ต. ชาญนิตย์ ชุมชื่น และนายฉลอง พัฒโน รองนายกเทศมนตรี ร่วมกับชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารเทศบาลคอหงส์ ร่วมแสดงความคิดคิดถึงแนวทางการจัดตั้งอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ |
ผู้บริหารเทศบาล ประกอบด้วย ว่าที่ ร.ต. ชาญนิตย์ ชุมชื่น และนายฉลอง พัฒโน รองนายกเทศมนตรี ร่วมกับชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารเทศบาลคอหงส์ ร่วมแสดงความคิดคิดถึงแนวทางการจัดตั้งอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งผู้บริหารเทศบาลมีความเห็นว่าอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพจะเป็นตลาดต้นแบบที่จะจัดการความปลอดภัยอาหารในชุมชน ในโรงเรียน ซึ่งเทศบาลพร้อมให้การสนับสนุน |
ผู้บริหารเทศบาล ประกอบด้วย ว่าที่ ร.ต. ชาญนิตย์ ชุมชื่น และนายฉลอง พัฒโน รองนายกเทศมนตรี ร่วมกับชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารเทศบาลคอหงส์ ร่วมแสดงความคิดคิดถึงแนวทางการจัดตั้งอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งผู้บริหารเทศบาลมีความเห็นว่าอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพจะเป็นตลาดต้นแบบที่จะจัดการความปลอดภัยอาหารในชุมชน ในโรงเรียน ซึ่งเทศบาลพร้อมให้การสนับสนุน |
ผู้บริหารเทศบาลได้ร่วมกันกำหนดพื้นที่ในการตั้งอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพจำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่บริเวณริมคลองชลประทานติดกับถนนทวีรัตน์ ริมคลอง ร.5 และริมคลองหลังเทศบาลคอหงษ์ ซึ่งผู้บริหารเทศบาลคอหงส์ ได้กำหนดให้วันที่ 13 พ.ค. 56 ให้ทางเจ้าหน้าที่ สจรส. ม.อ. ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริหารเทศบาล ร่วมกันดูสถานที่ในการจัดตั้งอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ |
- |
2. ประชุมคณะทำงานโครงการฯประจำเดือน พ.ค. 56 » | ||||||
เสาร์ 18 พ.ค. 56 | เสาร์ 18 พ.ค. 56 | 1.เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน และร่วมกันออกแบบวิธีการดำเนินงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการฯ 2.เรียนรู้การจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์ www.consumersouth.org |
1.คณะทำงานโครงการฯ เข้าร่วมประชุมจำนวน 40 คน โดยได้ออกแบบวิธีการทำงาน การบริหารจัดการด้าการเงิน 2.คณะทำงานโครงการฯ ได้เรียนรู้การจัดทำรายงานและได้วางแผนการทำงานผ่านเว็บไซต์ www.consumersouth.org |
1.คณะทำงานโครงการฯ เข้าร่วมประชุมจำนวน 40 คน โดยได้ออกแบบวิธีการทำงาน การบริหารจัดการด้าการเงิน 2.คณะทำงานโครงการฯ ได้เรียนรู้การจัดทำรายงานและได้วางแผนการทำงานผ่านเว็บไซต์ www.consumersouth.org |
1.เกิดแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายฯ
โดยเครือข่ายได้ให้ความเห็นว่าควรจัดทำคู่มือการดำเนินงานโครงการย่อย
2.การประชุมคณะทำงานประจำเดือนควรเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ที่นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน |
- |
3. ประชุมชี้แจงโครงการตำบลควนรู » | ||||||
จันทร์ 27 พ.ค. 56 | จันทร์ 27 พ.ค. 56 | เป็นการหารือร่วมระหว่างคณะทำงานบริหารโครงการและคณะทำงานในพื้นที่ตลอดจนภาคีเครือข่าย มีจำนวนผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 30 คน |
ประกอบด้วย 1. การชี้แจงภาพรวมโครงการบูรณการด้านอาหารของ จ.สงขลา โดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ 2. การหารือแนวทางการข้อตกลงร่วมกันระหว่างพื้นที่กับคณะทำงานกลางของโครงการ 3.วางแผนการทำกิจกรรมของพื้นที่ |
|
ทางที่ประชุมฯได้ตกลงร่วมกันให้แต่งตั้งเป็นหนังสือราชการ จาก องค์การบริหารส่วนตำบล 2.แนวทางการดำเนินกิจกรรมของพื้นที่ ต.ควนรู ทางผู้เข้าร่วมประชุมฯเห็นร่วมกันว่า ควรเร่งดำเนินการประเมินเบื้องต้น(Baseline Evaluation)ของสถานการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร ภาวะโภชนาการและอาหารที่มีคุณภาพเพื่อโภชนาการที่สมวัย และนำมาทำเวทีประชาคมของชุมชนเพื่อร่วมกันเติมเต็มข้อมูลเพิ่มทั้ง 3 ประเด็น จากผู้เข้าร่วมกิจกรรม และจึงร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมของพื้นที่ |
1.คณะทำงานพื้นที่ยังขาดความหลากลาย เช่น ควรนัดประชุมผู้รับผิดชอบของทุกแผนงานย่อย เพื่อร่วมกันชี้แจงโครงการร่วมกัน (ในวันที่ร่วมประชุมนั้นมีเฉพาะแผนงานโภชนาการเพียงอย่างเดียว) แนวทางแก้ไขปัญหา: จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานและจัดประชุมประชาคมของพื้นที่ 2.ความล่าช้าในการประเมินเบื้องต้นของ 3 ส่วน คือ ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร และ โภชนาการ ส่งผลให้การคิดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาขาดข้อมูลรองรับ แนวทางการแก้ไข :คณะบริหารจัดการโครงการกลางจะเร่งประสานกับเครือข่ายนักวิชาการ เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินเบื้องต้น |
4. ประชุมปรับแผนเขาพระ ควนเนียง » | ||||||
อังคาร 28 พ.ค. 56 | อังคาร 28 พ.ค. 56 | ประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการและปรับรายละเอียดกิจกรรม |
เครือข่ายเกษตรกรตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ และเครือข่ายเกษตรกรควนเนียง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เข้าร่วมประชุมจำนวน 15 คน ซึ่งคุณกำราบ พานทอง ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ และรูปแบบการบริหารจัดการของโครงการ |
เครือข่ายเกษตรกรเขาพระและเครือข่ายเกษตรควนเนียง ได้ร่วมปรับแผนการทำงาน |
เครือข่ายเกษตรกรที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย 1. คุณกำราบ พานทอง 2. คุณอภินันต์ ชนะคช 3.คุณฤทธิ เพ็ชรปาน กลุ่มปุ๋ยอินทรย์ควนเนียง 4. คุณหุ้น สุวรรณมณี ประธานกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ 5 คุณสุวัชชัย หนูนวล กลุ่มคนรักปากบาง 6. คุณประดิษฐ พัฒโน ควนเนียง 7. คุณอภินันท์ หมัดหลี เกษตรธาตุสี่ 8. คุณประสาน เส็นหลัก เครือข่ายเกษตรสี่ยอ กิจกรรมรวมรวบพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด 9. คุณเสกสิทธ์ เครือข่ายกษตรธาตุสี่ 10 คุณภูมิปัญญา หมัดหลี คุณกำราบได้สรุปแนวคิดความมั่นคงทางอาหารให้กับเครือข่ายเกษตรเห็นความสำคัญของการจัดการพื้นที่ผลิตอาหารของชุมชน โดยให้ความคิดเห็นว่าชุมชนจะต้องเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น สำหรับแผนกิจกรรมปฏิบัติการชุมชนและการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหารในตำบลเขาพระและตำบลควนเนียง จะมีวิธีการทำงาน ดังนี้
|
- |
5. ประชุมพัฒนาระบบฐานข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร » | ||||||
อังคาร 4 มิ.ย. 56 | อังคาร 4 มิ.ย. 56 | ออกแบบระบบฐานข้อมูลของแผนงานความมั่นคงทางอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืด พันธุ์ไก่พื้นเมือง พันธุ์ไม้พื้นเมือง สมุนไพร และตำรับอาหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับตำรับอาหารในคาบสมุทรสทิงพระ |
ออกแบบระบบฐานข้อมูลของแผนงานความมั่นคงทางอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืด พันธุ์ไก่พื้นเมือง พันธุ์ไม้พื้นเมือง สมุนไพร และตำรับอาหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับตำรับอาหารในคาบสมุทรสทิงพระ |
|
รูปแบบระบบฐานของแผนงานความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วยฐานข้อมูล 1.ทรัพยากรทางทะเล
2.แหล่งน้ำ / พันธุ์สัตว์น้ำ
3.ตำรับอาหาร /ภูมิปัญญา
4.แหล่งปลูกผัก / เครือข่ายเกษตรกร ข้อเสนอการจัดทำฐานข้อมูล
1.ตำบลเชิงแสเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์อื่น ๆ ในพื้นที่นอกจากไก่พื้นเมือง
3.พื้นที่จะนะ อยากให้มีเวทีวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ โดยเอาข้อมูลเดิม เกี่ยวกับพันธุ์ปลา ความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจเกี่ยวกับรายได้ในชุมชน, ช่วงเวลาในการประกอบอาชีพประมง (ทิศทางลม, สีของน้ำ) เครื่องมือประมง โจทย์ ทำอย่างไรข้อมูลที่มีอยู่แล้วมีความน่าถือ สรุปแนวทางการทำระบบฐานข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร 1.ควรมีเครื่องมือประเมินสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร 1.1ด้านทรัพยากรทางทะเล (จะนะ) 1.2น้ำจืด ปลาน้ำจืด (เชิงแส) 1.3 พื้นที่เกษตร ที่นา พันธุ์ข้าว (เชิงแส) 1.4 ปศุสัตว์ ไก่พื้นเมือง วัว หมู (เชิงแส)
2.1 เด็ก และเยาวชน 2.2 ชาวบ้าน
2.4 นักศึกษา 3.ข้อมูลที่ดำเนินการจัดเก็บ 3.1เก็บข้อมูลโดยตรง ได้แก่ ข้อมูลที่มีอยู่ในพื้นที่ ข้อมูลที่หายไปแล้ว 3.2 เก็บข้อมูลโดยอ้อม ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารเคมี อุปกรณ์เครื่องมือที่ทำลายทรัพยากร กิจกรรม กติกา ทรัพยากรเกี่ยวกับน้ำ ดิน 3.3 เก็บข้อมูลตำรับอาหาร ได้แก่ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน สภาวะความเจ็บป่วยเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในชุมชน รณรงค์การกินขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน สูตรเครื่องแกง (สมุนไพรในพื้นที่)
4.1เครื่องมือเก็บข้อมูล 4.2 สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในชุมชนของจังหวัด สงขลา คือ ฐานข้อมูล แผนที่ความมั่นคงทางอาหาร 4.3 นโยบายความมั่นคงทางอาหาร
5.1.ตัวชี้วัดทางตรง 5.2.ตัวชี้วัดทางอ้อม 5.3.ข้อมูลที่เก็บ รายได้ / ระยะทาง (การทำมาหากิน) 5.4.พืช / สัตว์ (แต่ละชนิด) 5.5.ระยะเวลา (เก็บข้อมูลย้อนหลังระยะเวลา5 ปี 10 ปี15 ปี 20 ปี (ในแต่ละช่วงเวลา การเกิดวิกฤต มีนโยบาย หรือ การพัฒนา เกิดอะไรขึ้นและมีผลอย่างไรกับความมั่นคงทางอาหาร |
- |
6. คุยกับอาจารย์ภานุ เรื่องอุทยานอาหาร » | ||||||
อังคาร 4 มิ.ย. 56 | อังคาร 4 มิ.ย. 56 |
|
|
|
1) การกำหนดพื้นที่การใช้สอยโดยดูจากลักษณะพื้นที่ที่คาดว่าจะใช้ดำเนินการ ซึ่งมีการประมาณการว่าจะสามารถจัดตั้งร้านค้าต่าง ๆ ได้ประมาณ 16 ร้าน โดยร้านค้าต่างๆ จะประกอบไปด้วย ร้านมินิมาร์ทที่รวมผลิตภัณฑ์ของดี 14 จังหวัด ร้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเฉพาะ (โรคความดัน/โรคเบาหวาน/โรคไต) ร้านอาหารคุณภาพโภชนาการสมวัย เป็นต้น และอาจจะมีมุมสำหรับรับบริจาคและร้านที่จะจำหน่ายสิ่งของที่ได้รับการบริจาคมา (Charity Shop) 2) มีข้อสรุปร่วมกันว่าควรจะมีจัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารจัดการอุทยานอาหาร โดยมีทั้งชุดคณะกรรมที่ปรึกษา และคณะกรรมการบริหารกองทุน รวมทั้งหาผู้จัดการอุทยานอาหาร และพนักงานประจำร้านมินิมาร์ท |
การดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปจำเป็นจะต้องรอความแน่นอนในเรื่องทำเลที่ตั้งอุทยานอาหารก่อนจึงดำเนินการต่อได้ |
7. นัดพี่หมีคุยเรื่อง website consumersouth.org » | ||||||
ศุกร์ 7 มิ.ย. 56 | ศุกร์ 7 มิ.ย. 56 | ปรับปรุงระบบรายงานในเว็บไซต์ cpnsumersouth.org ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย |
ออกแบบระบบรายงานในเว็บไซต์ consumersouth.orgร่วมกับโปรแกรมเมอร์ |
ได้รูปแบบระบบรายงานของเว็บไซต์ consumersouth.orgที่สามารถให้เครื่อข่ายและบุคคลภายนอกเข้าถึงได้สะดวก |
1.ปรับปรุงระบบรายงาน โดยจัดหมวดแผนงานออกเป็นประเด็นหลักและมีโครงการย่อยๆอยู่ในหมวดแผนงานหลัก 2.ปรับหน้าเว็บไซต์โดยให้ปฏิทินกิจกรรมปรากฎในหน้าเมนูหลัก 3.ปรับหน้าหลักของเว็บไซต์ให้ระบบรายงานกิจกรรมของโครงการย่อยปรากฎในหน้าแรก 4.เพิ่มเมนูรายชื่อพี่เลี้ยงในเว็บไซต์ |
- |
8. ประชุมชี้แจงโครงการในตำบลชะแล้ » | ||||||
อาทิตย์ 9 มิ.ย. 56 | อาทิตย์ 9 มิ.ย. 56 | คณะทำงานตำบลชะแล้ จำนวน 20 คนร่วมประชุมรับทราบแนวทางการทำงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา |
คณะทำงานตำบลชะแล้ จำนวน 20 คนร่วมประชุมรับทราบแนวทางการทำงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา |
คณะทำงานตำบลชะแล้ จำนวน 20 คนร่วมประชุมรับทราบแนวทางการทำงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา |
1.เกิดแนวทางความร่วมมือการทำงานในระดับพื้นที่ โดยมี ดร.อมาวสี จากวิทยาลัยพยาบาลพระราชชนนีสงขลา ซึ่งอาจารย์มีความยินดีในการผลักดันกิจกรรมร่วมกับตำบลชะแล้ 2.แกนนำตำบลชะแล้จะจัดประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯอีกครั้งกับผู้บริหารท้องถิ่นพร้อมกับแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินโครงการในระดับตำบลชะแล้ 3.ออกแบบกิจกรรมในโครงการให้สนับสนุนการดำเนินโครงการเดิมในระดับพื้นที่ทั้ง 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางอาหาร ,อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย |
- |
9. ประชุมแผนสื่อสารกับพี่ชัยวุฒิ » | ||||||
พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56 | พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56 | คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบการทำงานแผนสื่อสารร่วมกันปรึกษาหารือการแนวทางการทำงานของแผนงานการสื่อสารสาธารณะ |
คณะทำงานโครงการร่วมกันปรึกษาหารือการแนวทางการทำงานในแต่ละประเด็นของแผนงานการสื่อสารสาธารณะใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.การสร้างเครือข่ายด้านสื่อสารสาธารณะ จ.สงขลา |
มีแนวทางการดำเนินงานแผนงานการสื่อสารสาธารณะที่ชัดเจนขึ้น |
ข้อสรุปสำหรับแนวทางการดำเนินงานแผนงานการสื่อสารสาธารณะใน 4 ประเด็น มีดังนี้ 1. การสร้างเครือข่ายสื่อซึ่งมีทั้งการประชุมทำความเข้าใจกับสื่อ การพัฒนาคลังข้อมูล/คลังเสียงสาธารณะ และเวทีนโยบายสาธารณะซึ่งอาจจะจัดออกมาในรูปแบบเวทีทางอากาศ 2. การนำเสนอประเด็นสุขภาวะอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหาร และโภชนาการสมวัย) เพื่อการรับรู้ในวงกว้าง โดยจะดำเนินการพัฒนาแคมเปน (Campain) ซึ่งแต่ละแผนงานต้องร่วมกันเลือกประเด็นเป้าหมายที่ชัดเจนให้ได้ก่อน แผนงานสื่อจึงจะสามารถดำเนินงานต่อได้ ซึงจะเลือกเพียงปีละประเด็นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำของสาธารณชน โดยจะขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานที่กำลังจะประชุมวันที่ 15 มิถุนายนนี้ สำหรับการพัฒนาสื่อจะต้องคิดกันอีกครั้งว่าจะพัฒนาในรูปแบบใด ซึ่งอาจจะไม่ใช่รูปแบบการ์ตูนแอนนิเมชั่น 3. การบูรณาการระบบข้อมูลด้านสุขภาวะด้านอาหาร เป็นการประสานการทำงานร่วมกัน และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งในเบื้องต้นจะดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์หลักที่จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน ได้แก่ เว็บไซต์ www.consumersouth.org และเว็บไซต์ http://banbanradio.com 4. ตลาดนัดความรู้ ซึ่งจะมีการผลักดันนโยบายสาธารณะด้านสุขภาวะอาหารผ่านกระบวนการสมัชชาพิจารณ์ เป้าหมายวางไว้จะดำเนินการช่วงท้ายก่อนปิดโครงการ |
- |
10. ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการประจำเดือน มิ.ย. » | ||||||
เสาร์ 15 มิ.ย. 56 | เสาร์ 15 มิ.ย. 56 | ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการฯ จำนวน 20 คน เพื่อแลกเปลี่ยนการทำงานและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมในแต่ละเครือข่าย |
คณะทำงานดำเนินโครงการฯ ได้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน |
คณะทำงานดำเนินโครงการฯ ได้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน |
มีข้อเสนอจากการประชุม ดังนี้
1.กิจกรรมรวมรวบตำรับอาหารหรือการรวมรวบภูมิปัญญาท้องถิ่นของศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก หากจัดทำเป็นสารานุกรมได้ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างมากขึ้น
2.การพัฒนาตำรับอาหาร อยากให้มีการค้นคว้าเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เมนูอาหารเสริมไอโอดีน เพื่อนำเมนูอาหารเหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมด้านโภชนาการในระดับพื้นที่
3.การเก็บข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร อยากให้เพิ่มการเข้าถึงอาหารของเด็กในมื้ออาหารแต่ละมื้อ เช่น การได้รับผลไม้ โดยเก็บข้อมูลในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
4.กิจกรรมอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ ได้กำหนดร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน ดังนี้
-ร้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
-ร้านอาหารมังสวิรัติ
-ร้านอาหารแมคโครไบโอติก
-ร้านอาหารชีวจิต
-ร้านอาหารพื้นบ้านภาคใต้
ร้านขนมพื้นบ้านภาคใต้
-ร้านขนมจีน
-ร้านสลัดผัก ส้มตำและยำผักพื้นบ้านต่างๆ |
- |
11. วิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร » | ||||||
เสาร์ 15 มิ.ย. 56 | เสาร์ 15 มิ.ย. 56 | ระดมความคิดเห็นร่วมกับเครื่อข่ายจำนวน 10 คน กำหนดตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร |
ระดมความคิดเห็นร่วมกับเครือข่ายจำนวน 10 คน กำหนดตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร |
เกิดประเด็นและตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารจำนวน 5 ประเด็น ได้แก่ 3.หลักประกันของการผลิตอาหาร 4.ศักยภาพ / ความยั่งยืนความมั่นคงทางอาหาร 5.ความเสี่ยงและความเปราะบาง และได้กำหนดตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร |
มีร่างตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารที่สามารถนำไปออกแบบคำถาม ซึ่งเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาสามารถนำไปเก็บในพื้นที่ปฏิบัติการใน 6 พื้นที่ ได้แก่ จะนะ,เชิงแส,สทิงพระ,เขาพระ,ควนเนียง,ควนรู,ชะแล้,ท่าหิน,รัตภูมิ ซึ่งข้อมูลในพื้นที่จะเป็นแนวทางให้งานวิจัยเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายของ ม.ทักษิณ นำข้อมูลที่เกิดขึ้นไปกำหนดนโยบายความมั่นคงทางอาหารต่อไป |
- |
12. วิเคราะห์เครื่องมือประเมินตนเองในพื้นที่นำร่อง » | ||||||
เสาร์ 6 ก.ค. 56 | เสาร์ 6 ก.ค. 56 | ทีมงานส่วนกลางร่วมกับคณะทำงานการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อประเมินตนเอง และการประเมิน ติดตามผล ร่วมกันวิเคราะห์เครื่องมือประเมินตนเองในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย |
ทีมงานส่วนกลางร่วมกับคณะทำงานการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อประเมินตนเอง และการประเมิน ติดตามผล ร่วมกันวิเคราะห์เครื่องมือประเมินตนเองในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย |
ได้เครื่องมือประเมินตนเองฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมนำไปใช้เก็บข้อมูลได้ |
เครื่องมือประเมินตนเองมีด้วยกันจำนวน 3 ชุด ได้แก่ การประเมินความมั่นคงทางอาหาร การประเมินเรืองอาหารปลอดภัย และการประเมินโภชนาการสมวัย โดยแต่ละชุดได้ร่วมกันวิเคราะห์และมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง เนื่องจากเนื้อหาคำถามค่อนข้างยาก และมีจำนวนมากจึงไม่เหมาะจะนำไปใช้โดยการให้คนในชุมชนประเมินตนเอง โดยคัดเลือกคำถามที่มองร่วมกันว่าสำคัญ และน่าจะนำข้อมุลไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ที่คิดว่ายังไม่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ก็จะถูกตัดออกไปก่อน เนื่องจากเครื่องมือนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนใช้ประเมินตนเอง จึงควรปรับให้เหมาะกับการนำไปใช้ และการได้มาซึ่งข้อมูลที่เหมาะแก่การนำไปใช้ต่อได้เท่านั้น |
เนื่องจากเครื่องมือมีถึง 3 ชุด และแต่ละชุดต้องมีการปรับปรุงในรายละเอียดจำนวนมาก ทำให้ระยะเวลาในการประชุมล่าช้ากว่ากำหนดมาก นอกจากนี้ทีมงานผู้รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรม เป็นการร่วมงานกันภายหลังจากที่มีการประชุมหารือแนวทางการดำเนินไปแล้ว ดังนั้นจึงทำให้ขาดความเข้าใจร่วมกันถึงแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน |
13. ประชุมกรรมการบริหารโครงการบูรณาการอาหารฯ » | ||||||
พุธ 10 ก.ค. 56 | พุธ 10 ก.ค. 56 | 1.รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ 2.เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานโครงการ |
1.เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 11 เครือข่ายเข้าร่วมประชุมกรรมการบริหาร 2.เกิดการกำหนดแนวทางการทำงานบูรณาการอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา |
1.กรรมการบริหารที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย อ.สง่า ดามาพงษ์ , คุณจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี,คุณวุฒิพงษ์ ปรีดาภัทร พงษ์ ,คุณธีรวัฒน์ อภิปรัชญาฐิติกุล,คุณนฤมล วีรพันธุ์,คุณอโณทัย อุไรกุล,คุณสุรพล กำพลานนวัฒน์และคุณสามารถ สะกวี 2.เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 11 เครือข่ายรายงานความก้าวหน้าการทำงาน |
คณะกรรมการบริหารมีข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการบูรณางานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารฯ โดยมีความเห็นว่ากระบวนการทำงานบูรณาการเพื่อสร้างสุขภาวะด้านอาหารของจังหวัดสงขลาน่าจะเกิดผลลัพท์ที่สำคัญ คือ 1.เกิดฐานข้อมูลทรัพยากรในพื้นที่จังหวัดสงขลา ทั้งนี้กระบวนการในการที่จะคืนข้อมูลให้กับชุมชนจะเป็นวิธีการที่ให้ชุมชนเห็นความสำคัญของแหล่งทรัพยากรทางทะเล จากนั้นผลที่ตามมาคือการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปทำนโยบาย การกำหนดกติการ่วมกันของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล 2.การสร้างเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ เช่น กลุ่มเด็กเยาวชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มอนุรักษ์หรือหน่วยงานในพื้นที่ 3.การเกิดนโยบายด้านอาหารและโภชนาการ ซึ่งกระบวนการจัดทำนโยบายควรเน้นให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นได้มีส่วนส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายร่วมกัน ดังนั้นกระบวนการจึงสำคัญที่สุด ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์ดำเนินงาน ดังนี้ 1.ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ ซึ่งมีพื้นที่ปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหาร กรรมการมีความเห็นว่าควรชูประเด็นให้จะนะเป็นแหล่งทรัพยากรอาหารทางทะเลที่มีความสำคัญต่อพื้นที่อาหารของจังหวัดสงขลา โดยจะต้องทำข้อมูลทางทะเล ข้อมูลที่จัดเก็บเช่น ชนิดของสัตว์น้ำจากอดีตและปัจจุบัน ชนิดใดที่ใกล้สูญพันธ์ และจำเป็นจะต้องอนุรักษ์ ปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้ และมีการส่งขายที่ไหน ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลแล้วก็ควรกำหนดเป้าหมายที่จะฟื้นฟูสัตว์น้ำ ส่วนการผลักดันมาตรการควรจัดทำในระดับท้องถิ่น เช่น มีข้อตกลงในการห้ามใช้พื้นที่แหล่งผลิตอาหารไปพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งสำคัญที่สุดคือกระบวนการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจของชุมชน 2.เครือข่ายชุมชนเชิงแส ที่มีแนวทางปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นที่ทำนา รวมทั้งขยายพื้นที่ทำนาอินทรีย์ จึงควรมีกระบวนการที่ให้หน่วยงานและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของแหล่งผลิตอาหาร ซึ่งเกิดผลลัพธ์ที่สำคัญคือการกำหนดโยบายสงวนพื้นที่ทำนาอินทรีย์ ซึ่งอาจจะต้องดู พรบ.การจัดสรรพื้นที่ควบคู่กันไป 3.สถาบันศานติธรรม ควรผลักดันธรรมนูญลุ่มน้ำให้เกิดในข้อบัญญัติท้องถิ่น และควรชูประเด็นผักพื้นบ้าน แหล่งอาหารที่สำคัญของชุมชน ซึ่งสามารถรณรงค์การจัดทำพืชร่วมยางในระดับชุมชนได้ 4.ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ที่มีแนวทางการปฏิบัติงานรวมรวบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในแถบคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งกรรมการบริหารได้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรแยกประเภทอาหารคาวและหวาน โดยเก็บข้อมูลอาหารในอดีตที่ได้สูญหายไปแล้วและวิเคราะห์ว่ามีคุณค่าทางอาหารอะไรบ้าง ส่วนอาหารปัจจุบัน แยกประเด็นว่ามีการบริโภคในเทศกาลอะไรบ้าง กลุ่มอายุใดที่รับประทาน และมีข้อดีอย่างไร นอกจากนี้แม้จะค้นพบเมนูอาหารแล้ว จะต้องวิเคราะห์ต่อในประเด็นว่าแหล่งวัตถุดิบอยู่ที่ไหน วิธีการปรุง และการบริโภค |
- |
14. ประชุมย่อยเรื่อง Campain "อาหารของแม่" » | ||||||
จันทร์ 29 ก.ค. 56 | จันทร์ 29 ก.ค. 56 |
|
รับฟังรายงานความก้าวหน้าจากผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการทำแคมเปน |
รับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำแคมเปน "อาหารของแม่" ทั้งในส่วนของวิธีการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาของการดำเนินงาน และผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
- |
15. หารือประเด็นวาระอาหารของแม่ » | ||||||
พุธ 31 ก.ค. 56 | พุธ 31 ก.ค. 56 | ปรึกษาหารือแนวทางและความร่วมมือในการทำแคมเปน "อาหารของแม่" ร่วมกับทางสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว จ.สงขลา |
ร่วมปรึกษาแนวทางและความร่วมมือในการทำแคมเปน "อาหารของแม่" ร่วมกับนายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว จ.สงขลา |
รับทราบแนวทางหรือแผนงานของสมาคมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอาหาร และร่วมกันหารือถึงแนวทางที่จะร่วมกันทำงานหรือบูรณาการงานร่วมกันได้ |
|
- |
16. คุยเรื่องวาระอาหารของแม่ | ||||||
เสาร์ 3 ส.ค. 56 |
|
|
|
|
|
|
17. ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 3 » | ||||||
เสาร์ 10 ส.ค. 56 | เสาร์ 10 ส.ค. 56 |
|
1.เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 6 เครือข่ายเข้าร่วมประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน 2. เกิดการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์เครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค |
1.เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 6 เครือข่ายเข้าร่วมประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน 2. เกิดการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์เครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค |
เครือข่ายจำนวน 6 พื้นที่ได้รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมของแผนงานประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติตำบลบ้านนา , การวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายฯ.ทักษิณ ,อบต.ควนรู,การติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคฯ,และการวิจัยเรื่องอาหารเป็นยาสมุนไพร
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน มีดังนี้
1. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ มีความก้าวหน้าการดำเนิน ได้แก่ การทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลจะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ชายหาด ป่าสันทราย มีการขับเคลื่อนการจัดทำผังเมือง โดยมีการกำหนดพื้นที่นาข้าว การเลี้ยงนกเขาชวา จะดำเนินการจัดทำแผนที่ทางทะเล ดำเนินกิจกรรมร่วมกับเยาวชนในพื้นที่ในเรื่องค่ายความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพ จะดำเนินการประสานหน่วยงานภาครัฐทำกิจกรรมปะการังเทียมและร่วมกับชุมชนในการทำซังเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลา
2. กิจกรรมอาหารเป็นยาสมุนไพร
ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มหมอพื้นบ้าน กลุ่มสมุนไพร ปราญชชาวบ้านที่สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ใน5 พื้นที่จังหวัดสงขลาได้แก่ ตำบลชะแล้ ,ตำบลควนรู,ตำบลท่าข้าม,ตำบลสิงหนคร เกิดการสังเคราะห์ข้อมูลอาหารที่จะใช้เป็นยา วิเคราะห์ข้อมูลสมุนไพรที่มาใช้ทำอาหาร
3. ตำบลควนรู
จะดำเนินกิจกรรมในเรื่องธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งมีแนวคิดว่าธนาคารเมล็ดพันธํต้องอยู่ที่ชุมชน ไม่ใช่การรวมรวบไว้ที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นต้องมีการจัดการใน 4 ระดับ ดังนี้
3.1. ระดับครัวเรือน โดยจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพืชท้องถิ่นที่มีการปลูกในระดับครัวเรือน วิธีการเก็บอนุรักษ์พันธุ์พืช การขยายพันธุ์
ซึ่งประเด็นนี้ครัวเรือนจะได้เห็นความสำคัญของพืชท้องถิ่นและทำให้ครัวเรือนเกิดความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น
3.2. ระดับชุมชน แนวคิดนี้เพื่ออนุรักษ์ขยายพันธุ์ในระดับชุมชน การจัดการพื้นที่รวมด้านพืชสมุนไพร การสร้างกิจกรรมรวมใจเพื่ออนุรักษ์พันธ์พืช เช่น การทำขวัญข้าว อาจสร้างกิจกรรมนี้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืช |
- |
18. ประชุมมาตรการความมั่นคงทางอาหาร » | ||||||
พุธ 14 ส.ค. 56 | พุธ 14 ส.ค. 56 | ต้องมีมาตรการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล โดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ทางทะเล มีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของสัตว์น้ำ ชนิดของสัตว์ รายได้จากการประกอบอาชีพ เส้นทางการกระจายสินค้าอาหารทะเล |
ระดมความเห็นเกี่ยวกับมาตรการที่จะอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทางทะเล กับแกนนำเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ แกนนำเครือข่ายนา และเจ้าหน้าที่ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติจะนะ จำนวน 5 คน |
มีมาตรการของพื้นที่เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่อาหารของฝั่งทะเลจะนะ |
จากการระดมความคิดเห็นกับแกนนำ แกนนำได้สะท้อนความคิดว่า อยากให้ทะเลจะนะเป็นแหล่งอาหารของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะทะเลในพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สัตว์ทะเลที่ชาวประมงจับได้มีหลากหลายชนิด และมีปริมาณเพียงพอในการขายสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อรัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ ทำให้แกนนำรู้สึกเป็นกังวลกับทิศทางการพัฒนา เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออาชีพความประมงพื้นบ้าน ความไม่ปลอดภัยในแหล่งอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการปรับพื้นที่ให้เป็นเขตอุตสาหกรรม แม้เครือข่ายจะมีการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์ทะเล เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปสื่อสารกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเห็นกระทบที่อาจจะเกิดการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรม แต่ชุมชนก็ยังไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางแกนนำจึงพยายามผลักดันกิจจกรมหลายอย่างเพื่อจะสร้างความตระหนักให้กับชุมชน โดยร่วมกับจังหวัด กรมทรัพยากรทางทะเล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันลงนามในปฏิญญาจะนะ โดยมีแนวทางว่า ให่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนชุมชนเพื่อการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล โดยการดำเนินการทำความสะอาดปะการัง การสร้างปะการัง สำหรับข้อเสนอที่พื้นที่ต้องการมีนโยบายคุ้มครองพื้นที่ ซึ่งมาตรการที่เกิดขึ้นอาจจะต้องเกิดใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด ดังนั้นเพื่อการเกิดการร่วมกันคิดหามาตรการ จึงเกิดแนวทางการทบทวนเอกสาร โดยจะต้องทบทวนเอกสาร พรบ.การจัดการพื้นที่ มิติสมัชชาชาติเรื่องแผนพัฒนาพัฒนาภาคใต้ (ท่าศาลา) ปฎิญญาจะนะ เพื่อประกอบการจัดทำร่างนโยบายเสนอจังหวัด |
- |
19. หารือเรื่องมาตรการจัดการความมั่นคงทางอาหารกระแสสินธุ์ » | ||||||
อาทิตย์ 18 ส.ค. 56 | อาทิตย์ 18 ส.ค. 56 | ร่วมประชุมกับแกนนำพื้นที่เชิงแสเพื่อหามาตรการในการประกาศพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรม เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในโอกาสต่อไป |
ร่วมประชุมกับแกนนำพื้นที่เชิงแสเพื่อหามาตรการในการประกาศพื้นที่คุ้มครองเกษตรกรรม เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในโอกาสต่อไป |
|
ดังนั้น ข้อเสนอของพื้นที่ตำบลเชิงแส มี 7 ข้อ ดังนี้
|
ทางพื้นที่ยังขาดข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารอีกหลายส่วน อาจต้องใช้เวลาพอสมควรในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ครบถ้วน |
20. ประชุมระดมความคิดเห็นการจัดทำธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช » | ||||||
พุธ 21 ส.ค. 56 | พุธ 21 ส.ค. 56 | ร่วมประชุมกับทีมงานในพื้นที่ตำบลควนรู เกี่ยวกับการดำเนินงานธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช |
นำเสนอภาพรวมของแผนงานพื้นที่ตำบลควนรูและร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช |
ได้แนวทางในการดำเนินงานธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช |
|
- |
21. ประชุมคณะทำงานแผนงานความมั่นคงทางอาหารสถาบันศานติธรรม(ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง และต.เขาพระ อ.รัตภูมิ) » | ||||||
พุธ 28 ส.ค. 56 | พุธ 28 ส.ค. 56 |
|
กิจกรรมช่วงเช้า-ชี้แจงรายละเอียดโครงการ ความเป็นมา และความสำคัญในการดำเนินกิจกรรม กิจกรรมช่วงบ่าย-แบ่งกลุ่มตามพื้นที่ แต่ละกลุ่มวางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ของตน และร่วมกันสรุปแผนการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ |
คณะทำงานโครงการทั้ง 2 พื้นที่มีความเข้าใจในหลักการ รายละเอียดการดำเนินงานโครงการ และมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม |
คณะทำงานโครงการทั้ง 2 พื้นที่ (ต.รัตภูมิ และต.เขาพระ) มีความเข้าใจในหลักการและความสำคัญของการดำเนินงานโครงการ มีการวางแผนการดำเนินงานในแต่ละพื้นที่ โดยแบ่งกลุ่มตามพื้นที่เพื่อวางแผนการดำเนินงาน มีการกำหนดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย และหน่วยงานที่จะเป็นเครือข่ายในการดำเนินงาน โดยแผนการดำเนินงานขั้นตอนต่อไปคือการจัดประชุมชี้แจงโครงการในพื้นที่ และร่วมกันวางคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกในการปรับเปลี่ยนสวนยางพาราเชิงเดี่ยวเป็นป่ายาง รวมทั้งเปิดรับสมัครสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ |
- |
22. ประชุมรับฟังข้อเสนอการปกป้องพื้นที่ผลิตอาหาร | ||||||
จันทร์ 9 ก.ย. 56 |
|
|
|
|
|
|
23. อบรมการเก็บข้อมูลตำบลควนรู | ||||||
จันทร์ 16 ก.ย. 56 |
|
|
|
|
|
|
24. จัดนิทรรศการให้ความรู้ในงานคนใต้สร้างสุข » | ||||||
จันทร์ 30 ก.ย. 56 | จันทร์ 30 ก.ย. 56 | 1.นำเสนอนิทรรศการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร ในเรื่องเขา ป่า นาและทะเล อาหารปลอดภัยในเรื่อง ขนมหน้าโรงเรียน ข้าวถุงและโภชนาการสมวัยในเรื่องอาหารที่เหมาะตามวัย 2.ให้เครือข่ายที่ร่วมโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ ได้แก่ตำบลเชิงแส ,ตำบลควนรู,ตำบลเขาพระ,ตำบลควนเนียง,ตำบลจะนะ,คณะเภสัชศาสตร์,คณะแพทยศาสตร์,สมาคมผู้บริโภคสงขลา เข้าร่วมกิจกรรมงานสร้างสุขภาคใต้ |
1.นำเสนอนิทรรศการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารทะเลจะนะ, ธนาคารอาหารชุมชนตำบลควนรู, คุณค่าอาหารพื้นบ้านภาคใต้,โภชนาการที่เหมาะกับวัย,ตลาดเกษตรมอ.,ขนมเด็กหน้าโรงเรียน และสวนยางพารากินได้ |
1.นำเสนอนิทรรศการโดยใช้สื่อไวนิล มีเนื้อหาที่นำเสนอได้แก่เรื่องความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารทะเลจะนะ, ธนาคารอาหารชุมชนตำบลควนรู, คุณค่าอาหารพื้นบ้านภาคใต้ เรื่องแกงไตปลา ข้าวยำสมุนไพร,โภชนาการที่เหมาะกับวัยในหญิงตั้งครรภ์ อาหารกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง,ตลาดเกษตรมอ.,ขนมเด็กหน้าโรงเรียน และสวนยางพารากินได้ 2.กิจกรรมเล่นเกมส์ปาเป้าโภชนาการสมวัย,เกมส์ปิงโก,เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานสร้างสุขภาพภาคใต้ได้ร่วมกิจกรรมแลกของรางวัลได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืช ข้าวอินทรีย์เชิงแสและน้ำตาลแว่น ทั้งนี้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอ่านนิทรรศการก่อนมาเล่นเกมส์ ทำให้ผู้เล่นเกมส์ได้รับความรู้ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย |
1.นำเสนอนิทรรศการโดยใช้สื่อไวนิล มีเนื้อหาที่นำเสนอได้แก่เรื่องความมั่นคงด้านทรัพยากรอาหารทะเลจะนะ, ธนาคารอาหารชุมชนตำบลควนรู, คุณค่าอาหารพื้นบ้านภาคใต้ เรื่องแกงไตปลา ข้าวยำสมุนไพร,โภชนาการที่เหมาะกับวัยในหญิงตั้งครรภ์ อาหารกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไต ความดันโลหิตสูง,ตลาดเกษตรมอ.,ขนมเด็กหน้าโรงเรียน และสวนยางพารากินได้ จำนวน 20 ชิ้น 2.จัดกระบวนการให้ผู้เข้าร่วมงานได้แลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ผ่านการเล่นเกมส์ปาเป้าโภชนาการสมวัย,เกมส์ปิงโก,โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน |
- |
25. อบรมการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร (ร่วมกับตลาดเกษตรมอ.) » | ||||||
อังคาร 1 ต.ค. 56 | อังคาร 1 ต.ค. 56 | กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบการในตลาดเกษตร มอ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
|
เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรมการวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 40 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบการในตลาดเกษตร มอ. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำพิธีเปิดโดย ผศ.ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ โดยเชิญวิทยากรให้ความรู้จากสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครหาดใหญ่ ให้ความรู้ในเรื่องดังต่อไปนี้
|
|
- |
- |
26. ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการครั้งที่ 4/2556 » | ||||||
เสาร์ 5 ต.ค. 56 | เสาร์ 5 ต.ค. 56 |
|
|
|
1.โครงการย่อยได้จัดทำรายงานงวดที่ 1 แล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งพบว่าบางเครือข่ายยังมีปัญหาในการเขียนรายงาน แต่ก็ได้รับคำแนะนำการเขียนรายงานจากเจ้าหน้าที่ สจรส. 2.การจัดทำรายงานการเงิน พบว่ามีโครงการย่อยที่ส่งเอกสารการเงินจำนวน 4 โครงการได้แก่ โครงการติดตามพฤติกรรมบริโภคอาหารฯ บูรณาการอาหารอบต.ควนรู โครงการอาหารเป็นยา โครงการอาหารปลอดภัยเชิงแส ส่วนโครงการย่อยที่เหลือจะรีบดำเนินการจัดทำเอกสารการเงินให้เรียบร้อย |
- |
27. สนับสนุนกิจกรรมคืนข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะของเด็กตำบลควนรู » | ||||||
จันทร์ 21 ต.ค. 56 | จันทร์ 21 ต.ค. 56 | 1.ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการคืนข้อมูลด้านโภชนาการเด็กของตำบลควนรู ซึ่งมีรศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักในโครงการการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและสถานการณ์สุขภาพระยะยาว Cohort Stady รายงานผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการ 2.จัดทำแผนด้านโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของเด็กที่มีหลายฝ่ายทั้งผู้บริหารโรงเรียน ศูนย์เด็กเล้ก อบต. ผู้ปกครอง รพสต. ผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนถึงแนวทางกิจกรรมที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของเด็ก |
1.ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการคืนข้อมูลด้านโภชนาการเด็กของตำบลควนรู ซึ่งมีรศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักในโครงการการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและสถานการณ์สุขภาพระยะยาว Cohort Stady รายงานผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการ 2.จัดทำแผนด้านโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของเด็กที่มีหลายฝ่ายทั้งผู้บริหารโรงเรียน ศูนย์เด็กเล้ก อบต. ผู้ปกครอง รพสต. ผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนถึงแนวทางกิจกรรมที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของเด็ก |
1.รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ผู้วิจัยหลักโครงการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและสถานการณ์สุขภาพระยะยาว Cohort study ได้รายงานผลการสำรวจสถานการณ์สุขภาพของเด็กอายุ 6 เดือน- 14 ปี โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังประกอบด้วย รพสต. ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ครูศูนย์เด็กเล้ก ผู้นำชุมชน อสม. ซึ่งผลการสำรวจมีประโยชน์อย่างมากกับพื้นที่ ทำให้พื้นที่เล็งเห็นความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพของเด็ก 2.มีการจัดทำแผนแก้ปัญหาสุขภาพ โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยโดยมีประเด็นว่าแผนที่จะดำเนินงานด้านโภชนาการจะต้องมีความสอดคล้องกับความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ใครหรือหน่วยงานอะไรที่จะต้องมาช้วยดำเนินกิจกรรม และจะต้องมีการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมอย่างไรบ้าง |
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน รพสต. ครูศูนย์เด็กเล็ก อสม. ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน ได้ต้งเป้าหมายในการปัญหาสุขภาพของเด็ก ดังนี้ 1.แผนความมั่นคงทางอาหาร รณรงค์ให้ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเอง เพื่อส่งเสริมการกินผักในครัวเรือนและครัวเรือนจะมีผักที่ปลอดภัยบริโภค จัดตั้งตลาดสีเขียวในชุมชนเพื่อรวบรวมพืชผักที่ชาวบ้านปลูกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคท่านอื่นๆในชุมชนและการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธ์พืช เพื่อเป็นแหล่งขยายพันธุ์พืชและให้ครัวเรือนที่สนใจนำไปปลูกในระดับครัวเรือนต่อไป 2.แผนความปลอดภัยด้านอาหาร ดำเนินกิจกรรมลักษณะให้ความรู้และสาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเห็นความสำคัญการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และการลดอาหารขยะในโรงเรียน รณรงค์ให้เห็นความสำคัญของคุณค่าด้านโภชนาการ 3.แผนงานด้านโภชนาการและอาหารเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย มีการปรับเปลี่ยนแผนอาหารกลางวันในโรงเรียนโดยเพิ่มผลไม้และผักในปริมาณที่เพิ่มขึ้น การลดอาหารขยะในกลุ่มเด็กเล็ก รณรงค์การกินอาหารมื้อเช้าในเด็กนักเรียน |
- |
28. การคืนข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะของเด็กตำบลชะแล้ » | ||||||
อังคาร 29 ต.ค. 56 | อังคาร 29 ต.ค. 56 | 1.ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการคืนข้อมูลด้านโภชนาการเด็กของตำบลชะแล้ ซึ่งมีรศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักในโครงการการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและสถานการณ์สุขภาพระยะยาว Cohort Stady รายงานผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการ 2.จัดทำแผนด้านโภชนาการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของเด็กที่มีหลายฝ่ายทั้งผู้บริหารโรงเรียน ศูนย์เด็กเล้ก อบต. ผู้ปกครอง รพสต. ผู้นำชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนถึงแนวทางกิจกรรมที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของเด็ก |
ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการคืนข้อมูลด้านโภชนาการเด็กของตำบลชะแล้ ซึ่งมีรศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ซึ่งเป็นผู้วิจัยหลักในโครงการการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและสถานการณ์สุขภาพระยะยาว Cohort Stady รายงานผลการสำรวจข้อมูลสถานการณ์ด้านโภชนาการ |
เนื่องจากองค์ประกอบของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการคืนข้อมูลไม่ครบตามแผนงานที่ได้วางไว้ ซึ่งขาดการประสานผู้บริหารโรงเรียน รพสต. ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองเด้กนักเรียน ทำให้กิจกรรมการคืนข้อมูลในครั้งนี้ไม่สามารถทำแผนแก้ปัญหาด้านโภชนาการได้ จึงวางแนวทางว่าจะดำเนินการคืนข้อมูลให้กับพื้นที่อีกครั้ง |
แม้กิจกรรมการคืนข้อมูลด้านสุขภาพเด็กตำบลชะแล้ในครั้งนี้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ทีมงานต้องวางแผนการทำงานใหม่ โดยต้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับผู้นำท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียน ถึงเป้าหมายของโครงการ และเตรียมกิจกรรมการคืนข้อมูลด้านสุขภาพเด็กครั้งที่ 2 |
- |
29. ประชุมคณะกรรมการดำเนินโครงการครั้งที่ 5/2556 » | ||||||
อาทิตย์ 10 พ.ย. 56 | อาทิตย์ 10 พ.ย. 56 |
|
|
ผู้รับผิดชอบแผนงานย่อยแต่ละแผนมีการทบทวนการดำเนินงานกับแผนงานที่วางไว้ และดูผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดทั้งหมดของโครงการ สำหรับโครงการที่มีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินงานมีการทบทวนและวางแผนการดำเนินงาน พร้อมทั้งกำหนดปฏิทินการดำเนินงานเพื่อให้ทันกับระยะเวลาโครงการที่เหลืออยู่ |
การทบทวนกิจกรรมผ่านทางตัวชี้วัดทั้งหมดของโครงการ และมีการเน้นย้ำถึงภาระงานของแต่ละแผนงานย่อยที่จะช่วยตอบโจทย์ตัวชี้วัด ทบทวนการดำเนินกิจกรรมของแผนงานย่อยที่อยู่นอกเหนือภาระงาน หรือใช้จ่ายงบประมาณเกินจากที่วางไว้ ทั้งนี้แต่ละแผนงานย่อยได้นำเสนอแผนงานและความเห็นในการดำเนินงานไว้ดังนี้ - พื้นที่เชิงแสนำเสนอเรื่องการประชาสัมพันธ์โดยปรับมาใช้รถแห่ประชาสัมพันธ์เพราะสามารถเข้าถึงผู้ฟัง และกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า การนำเสนอผ่านทางโทรทัศน์(ช่อง 11) หรือสื่อวิทยุ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยดูโทรทัศน์ท้องถิ่น หรือฟังวิทยุกันมากนัก
- เครือข่ายชาวบก ซึ่งยังไม่มีผลการดำเนินงานชี้แจงแผนงาน และกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน และคาดว่าจะดำเนินกิจกรรมทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5 เดือนนับจากนี้
- สำหรับแผนงานย่อยการวิจัยเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร โดย ทีมอาจารย์จากม.ทักษิณ จากการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานและได้วางแผนการดำเนินงานใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- พื้นที่เครือข่ายตำบลควนรูมีการดำเนินโครงการต่อยอดจากเวทีคืนข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะโภชนาการเด็ก แผนงานการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค และสถานการณ์สุขภาพระยะยาว Cohort-Study เพื่อต้องการให้เห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาวะโภชนาการเด็ก โดยจะดำเนินโครงการต่อยอดทั้งหมด 7 โครงการ และบางกิจกรรมตามแผนงานได้มีการดำเนินงานแล้วแต่ไม่ได้รายงานผล ซึ่งจะรีบดำเนินการรายงานให้เร็วที่สุด
- แผนงานอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพได้ทำความร่วมมือกับคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลานครินทร์ พัฒนาตลาดเกษตรม.อ. เป็นอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยกิจกรรมส่วนใหญ่จะยังคงดำเนินการตามแผนงาน และบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนตามบริบทของตามตลาดเกษตรฯ ซึ่งแผนงานตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่เหลืออยู่ของโครงการทางผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน(ตลาดเกษตรฯ) ได้มีการวางแผนงานโดยละเอียดไว้แล้ว นอกจากนี้ทีมงานส่วนกลางสามารถประสานกับเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อให้ข้อมูล หรือผลิตภัณฑ์มานำเสนอเข้าสู่ตลาดเกษตรได้ ถือเป็นจุดศูนย์กลางในการเผยแพร่งานและผลผลิตของเครือข่ายช่องทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้มีการหารือการดำเนินกิจกรรมตลาดนัดความรู้ ซึ่งจะเป็นงานใหญ่ของโครงการ โดยจะนำเอางานของทุกเครือข่ายมาแสดง ซึ่งคาดว่าจะจัดในเดือนมีนาคม 2557 ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ทั้งนี้ทางเครือข่ายบางส่วนได้เสนอความเห็นไว้ดังนี้
- เสนอให้มีการจัดตลาดนัดความรู้ปีละ 4 ครั้ง เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองหาดใหญ่ และน่าจะร่วมกับทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เพราะมีแนวคิดเรื่องนี้อยู่แล้ว สำหรับการประชุมครั้งต่อไป มีประเด็นที่ฝากเครือข่ายไว้ดังนี้ - ทำอย่างให้ตลาดนัดเกษตรม.อ. เป็นศูนย์กลางตลาดนัดความรู้ - หารือเรื่องการทำตลาดนัดความรู้ - การจัดทำ facebook ของโครงการ |
- |
30. สนับสนุนกิจกรรมหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม » | ||||||
พุธ 13 พ.ย. 56 - ศุกร์ 15 พ.ย. 56 | พุธ 13 พ.ย. 56 | เพื่อติดตามประเมินผลกิจกรรมในหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม |
เพื่อติดตามประเมินผลกิจกรรมในหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม |
ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินการอบรมตามหลักสูตรเรียนรู้คุณธรรมเพื่ออาหารสุขภาวะ ดำเนินงานโดยสมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท ซึ่งจัดอบรมให้กับกลุ่มคนรักสุขภาพ เช่นชมรมผู้สูงอายุ พยาบาล อสม. ซึ่งหลักสูตรมี 3 รุ้น รุ่นละ 3 วัน ซึ่งรุ่นที่1 จัดอบรมในระหว่างวันที่ 13 -15 พ.ย. 56 |
ศูนย์เรียนรู้คู่คุณธรรม จัดทำอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ซึ่งจัดอบรมจำนวน 3 วัน ในแต่ละวันจะมีกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลุกผักปลอดสารเคมี การปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ การล้างพิษ |
- |
31. ลงพื้นที่สนับสนุนกิจกรรมศุนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ อ. จะนะ » | ||||||
พฤหัสบดี 21 พ.ย. 56 | พฤหัสบดี 21 พ.ย. 56 | 1.การให้คำแนะนำการจัดทำรายงานการเงิน 2. การวางแผนการดำเนินกิจกรรม |
1.การให้คำแนะนำการจัดทำรายงานการเงิน การใช้จ่ายงบประมาณ 2.การทบทวนแผนการดำเนินงานและการวางแผนการทำงานในระยะ 2 |
1.การให้คำแนะนำการจัดทำรายงานการเงิน การใช้จ่ายงบประมาณ 2.การทบทวนแผนการดำเนินงานและการวางแผนการทำงานในระยะ 2 |
1.ได้ทำความเข้าใจระหว่างผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงิน การจัดทำรายงานการเงิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการงบประมาณเป็นตามแผนที่วางไว้ 2.เกิดการกำหนดเป้าหมายการทำงานในระยะที่ 2 โดยให้ทางผู้ประสานงานโครงการย่อย ทำแผนการดำเนินงานและผู้ประสานงานโครงการหลักลงพื้นที่เก็บข้อมูลรายงานเดือนละ 1 ครั้ง |
- |
32. ติดตามงานแผนงานการสื่อสารสาธารณะและแผนงานบูรณาการด้านอาหาร พื้นที่ตำบลควนรู » | ||||||
พฤหัสบดี 28 พ.ย. 56 | พฤหัสบดี 28 พ.ย. 56 | ติดตามงานแผนงานการสื่อสาธารณะ การดำเนินกิจกรรมนิทานเพื่อความห่วงใยในแหล่งอาหาร เพื่อการอยู่ดีของเด็กๆ และหวงแหนผืนดินของเด็ก ๆ และแผนงานบูรณาการด้านอาหาร ขององค์การบริหารส่วนตำบลควนรู โดยร่วมปรึกษาหารือกับผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่งในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนบ้านไสท้อน โรงเรียนบ้านไสใหญ่ โรงเรียนบ้านโคกค่าย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกรัก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสใหญ่ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกค่าย |
|
|
ส่วนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้แก่ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการสมวัย และการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร |
- |
33. ติดตามงานแผนงานการสื่อสารสาธารณะและแผนงานบูรณาการด้านอาหาร พื้นที่เทศบาลตำบลชะแล้ | ||||||
ศุกร์ 29 พ.ย. 56 | ติดตามงานแผนงานการสื่อสาธารณะ การดำเนินกิจกรรมนิทานเพื่อความห่วงใยในแหล่งอาหาร เพื่อการอยู่ดีของเด็กๆ และหวงแหนผืนดินของเด็ก ๆ และแผนงานบูรณาการด้านอาหาร ของโรงเรียนวัดชะแล้ พื้นที่เทศบาลตำบลชะแล้ |
|
|
|
|
|
34. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ครั้งที่ 6/2556 » | ||||||
เสาร์ 21 ธ.ค. 56 | เสาร์ 21 ธ.ค. 56 | คณะกรรมการดำเนินงานร่วมประชุมหารือในประเด็นดังต่อไปนี้
|
|
|
|
- |
35. เตรียมงานตลาดนัดสีเขียว » | ||||||
จันทร์ 27 ม.ค. 57 | จันทร์ 27 ม.ค. 57 | 1.ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับหัวหน้ากลุ่มปลูกผักครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้าน เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อผลิตและจำหน่ายในกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ และ รพ.สต. ให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสารปนเปื้อนในผัก และขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์ที่สามารถยืนยันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคได้ |
ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ หัวหน้าเกษตรตำบล , หัวหน้าส่วนการศึกษา , ผู้อำนวยการโรงเรียน , หัวหน้าศูนย์เด็กเล็ก , รพ.สต. , ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และหัวหน้าสมาชิกครัวเรือนปลูกผักปลอดสารพิษ |
มีผู้เข้าร่วมประชุมครบตามเป้าหมายที่กำหนด |
1.การให้ความรู้ความเข้าในตั้งแต่กระบวนการผลิต ตลอดจนถึงการจำหน่ายที่ถูกต้องโดยหลักการนี้ คือต้องเพาะปลูกในพื้นดินที่ปราศจากสารเคมี โดยจะใช้วิธีธรรมชาติในการเพาะปลูก และต้องได้รับการดูแลจากเกษตรกรเป็นอย่างดี 2.การส่งตัวอย่างผักไปตรวจหาสารปนเปื้อน เพื่อเตรียมประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคในการออกจำหน่ายไปยังตลาดนัดสีเขียว |
- |
36. ประชุมกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2 | ||||||
ศุกร์ 31 ม.ค. 57 |
|
|
|
|
|
|
37. จัดอบรมการใช้โปรแกรมจัดการเมนูอาหารกลางวันในโรงเรียน » | ||||||
จันทร์ 10 ก.พ. 57 - อังคาร 11 ก.พ. 57 | จันทร์ 10 ก.พ. 57 | เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการให้กับคุณครู ผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียน แกนนำชุมชน และบุคคลที่สนใจ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมได้มีความรู้ในการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียนที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียน |
ระยะเวลาในการอบรม จำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2557 ณ ห้องประชุมสถาบันการ จัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวิทยากรให้ความรู้ด้านโภชนาการ 3 ท่าน และผู้เข้าร่วมอบรมจากเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู และเทศบาลตำบลชะแล้ |
ครูที่รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน และครูที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการขายอาหารในโรงเรียน บุคลากรที่เกี่ยวข้อง |
การอบรมปฏิบัติการ เรื่อง การจัดอาหารกลางวันที่มีคุณภาพสำหรับโรงเรียน โดยมีวิทยากรให้ความรู้ 3 ท่าน คือ ดร.ลักษณา ไชยมงคล ดร.ศิวพร ปิ่นแก้ว และ อ.ฟาริด้า อีดสัน |
- |
38. เตรียมงานตลาดนัดอุทยานอาหาร » | ||||||
พฤหัสบดี 20 ก.พ. 57 | พฤหัสบดี 20 ก.พ. 57 | ออกแบบรูปแบบงานและ ฝ่ายต่างๆ ที่รับผิดชอบในงาน |
ร่วมกันออกแบบโลโก้ และรับมอบหมายงาน |
|
|
- |
39. คุยกรอบประเด็นเสวนาเรื่องโภชนาการ | ||||||
พฤหัสบดี 20 ก.พ. 57 |
|
|
|
|
|
|
40. ประชุมกำหนดข้อเสนอความมั่นคงทางอาหารในงานงานตลาดนัด “อุทยานอาหาร วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม” » | ||||||
เสาร์ 8 มี.ค. 57 | เสาร์ 8 มี.ค. 57 | กำหนดข้อเสนอความมั่นคงทางอาหารโซนคาบสมุทรสทิงพระ |
กำหนดข้อเสนอความมั่นคงทางอาหาร ในพื้นที่เชิงแส สทิงพระ และควนรู |
ได้ข้อเสนอความมั่นคงทางอาหาร |
ได้ข้อเสนอความมั่นคงทางอาหาร 1) สนับสนุนให้มีการรวบรวมภูมิปัญญาสูตรตำรับอาหารพื้นบ้านภาคใต้ ที่ประกอบไปด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ที่มีคุณค่าทั้งทางโภชนาการ และเวชการ อันเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ประจำชาติ |
- |
41. พบผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา » | ||||||
พุธ 12 มี.ค. 57 | พุธ 12 มี.ค. 57 | เพื่อนำเสนอร่างข้อเสนอความมั่นคงทางทางอาหารแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา |
ร่วมพูดคุยและเสนอร่างข้อเสนอความมั่นคงทางอาหาร |
ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาเห็นความสำคัญของความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาร่วมรับฟังและร่วมประชุม |
ผู้ว่าราชการมอบหมายให้ หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา พิจารณาประเด็นความมั่นคงทางอาหารเพื่อมอบหมายให้แต่ละอำเภอเข้าร่วมการประชุมในการกำหนดร่างข้อเสนอความมั่นคงทางอาหารต่อไป |
- |
42. งานตลาดนัดอุทยานอาหาร วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม » | ||||||
พุธ 19 มี.ค. 57 - ศุกร์ 21 มี.ค. 57 | พุธ 19 มี.ค. 57 | วันที่ 19 มีนาคม 2557 13.00 – 13.30 น. เปิดงานตลาดนัดความรู้ การแสดงโขน (10 นาที)
13.30 – 13.40 น. ลิเกฮูลู เยาวชนจะนะ 13.40 – 16.30 น. เสวนา : นโยบายสาธารณะการจัดการความมั่นคงทางอาหาร 16.30 – 17.00 น การแสดงละครกลุ่มมะนาวหวาน 17.00 – 18.00 น. คุยกับคนดัง (สำนักพิมพ์) 18.00 – 19.00 น. การแสดงหนังตะลุงลำดวน ศ.อิ่มเท่ง วันที่ 20 มีนาคม 2557
9.00 – 10.00 น. ประกวดวาดภาพเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ 10.00 – 11.00 น. ประกวดการแสดงของนักเรียน 11.00 – 12.00 น. สาธิตตำรับอาหารพื้นบ้าน / อาหารเจเพื่อสุขภาพ 12.00 – 13.00 น. พัก เยี่ยมชมนิทรรศการ 13.00 – 13.30 น. ดนตรีกลุ่มรักษ์ลุ่มน้ำเลสาบสงขลา 13.30 – 14.30 น. คุยกับคนดัง(สำนักพิมพ์) 14.30 – 16.30 น. เสวนา : อาหารเป็นยา ภูมิปัญญาพื้นบ้าน 16.-30 – 18.00 น. การแสดงศิลปวัฒนธรรม: การแสดงมโนราห์/โขน 10.30 – 12.00 น. ชมฟาร์มสุกรและฟาร์มไก่ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. 12.00 – 13.00 น. สาธิตการทำอาหารไทย / ขนมพื้นบ้าน 13.00 – 16.00 น. เสวนา : “อาหารของแม่สู่โภชนาการที่สมวัย” 16.00 – 16.30 น. พบกับคนดัง คุณพงสา ชูแนม นักอนุรักษ์ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร 16.30 – 17.00 น. การแสดงศิลปวัฒนธรรม : การแสดงลิเกฮูลู/ระบำบาติก ปิดงานตลาดนัดความรู้ |
วันที่ 19 มีนาคม 2557 13.00 – 13.30 น. เปิดงานตลาดนัดความรู้ การแสดงโขน (10 นาที) - กล่าวรายงานการดำเนินงานตลาดนัดความรู้ โดย ผศ.ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ - เปิดงาน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา - มอบโล่รางวัลกิจกรรมประกวดสื่อ เรื่อง “อาหารของแม่” 13.30 – 13.40 น. ลิเกฮูลู เยาวชนจะนะ 13.40 – 16.30 น. เสวนา : นโยบายสาธารณะการจัดการความมั่นคงทางอาหาร 16.30 – 17.00 น การแสดงละครกลุ่มมะนาวหวาน 17.00 – 18.00 น. คุยกับคนดัง (สำนักพิมพ์) 18.00 – 19.00 น. การแสดงหนังตะลุงลำดวน ศ.อิ่มเท่ง วันที่ 20 มีนาคม 2557
9.00 – 10.00 น. ประกวดวาดภาพเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ 10.00 – 11.00 น. ประกวดการแสดงของนักเรียน 11.00 – 12.00 น. สาธิตตำรับอาหารพื้นบ้าน / อาหารเจเพื่อสุขภาพ 12.00 – 13.00 น. พัก เยี่ยมชมนิทรรศการ 13.00 – 13.30 น. ดนตรีกลุ่มรักษ์ลุ่มน้ำเลสาบสงขลา 13.30 – 14.30 น. คุยกับคนดัง(สำนักพิมพ์) 14.30 – 16.30 น. เสวนา : อาหารเป็นยา ภูมิปัญญาพื้นบ้าน 16.-30 – 18.00 น. การแสดงศิลปวัฒนธรรม: การแสดงมโนราห์/โขน 10.30 – 12.00 น. ชมฟาร์มสุกรและฟาร์มไก่ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. 12.00 – 13.00 น. สาธิตการทำอาหารไทย / ขนมพื้นบ้าน 13.00 – 16.00 น. เสวนา : “อาหารของแม่สู่โภชนาการที่สมวัย” 16.00 – 16.30 น. พบกับคนดัง คุณพงสา ชูแนม นักอนุรักษ์ป่าต้นน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร 16.30 – 17.00 น. การแสดงศิลปวัฒนธรรม : การแสดงลิเกฮูลู/ระบำบาติก ปิดงานตลาดนัดความรู้ |
นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ บุคลากรการศึกษา ภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานในประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร อาหารปลอดภัย หน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป จำนวน 1,000 คน |
นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ บุคลากรการศึกษา ภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานในประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร อาหารปลอดภัย หน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป จำนวน 1,000 คน |
ควรทำการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ |
43. ลงพื้นที่ ชะแล้ และกระแสสินธุ์ » | ||||||
พุธ 2 เม.ย. 57 | พุธ 2 เม.ย. 57 | สำรวจพื้นที่ในการนำทีมจาก สสส ลงพื้นที่ |
สำรวจเส้นทาง และพื้นที่ที่จะนำทีม สสส ลงไปใปในพื้นที่ |
- |
- |
- |
44. ลงพื้นที่จะนะ » | ||||||
อาทิตย์ 6 เม.ย. 57 | อาทิตย์ 6 เม.ย. 57 |
|
- |
- |
- |
- |
45. ศึกษาดูงาน » | ||||||
จันทร์ 7 เม.ย. 57 | จันทร์ 7 เม.ย. 57 |
|
|
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นความมั่นคงทางอาหาในพื้นที่ |
|
- |
46. ประชุมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา » | ||||||
อังคาร 8 เม.ย. 57 | อังคาร 8 เม.ย. 57 | ผู้ว่าราชการจังหวัดเชิญหน่วยงานราชการในจังหวัดสงขลามาร่วมประชุมในการยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา |
|
มีคณะคำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา |
|
- |
47. ประชุมเตรียมร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร | ||||||
พฤหัสบดี 17 เม.ย. 57 |
|
|
|
|
|
|
48. ประชุมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา » | ||||||
ศุกร์ 18 เม.ย. 57 | ศุกร์ 18 เม.ย. 57 | ประชุมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา |
ประชุมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์อาหารจังหวัดสงขลา |
ได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา |
-ผศ.ดร.ภก. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นประธษนในที่ประชุมคณะทำงานกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา
|
- |
49. นำทีมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหาร » | ||||||
อังคาร 6 พ.ค. 57 | อังคาร 6 พ.ค. 57 | ลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบท ความพร้อมของพื้นที่ในการเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร |
ลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบท ความพร้อมของพื้นที่ในการเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารประเภทอาหารทะเล |
ได้ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่การร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา |
|
- |
50. นำทีมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาลงพื้นที่เชิงแส » | ||||||
พุธ 7 พ.ค. 57 | พุธ 7 พ.ค. 57 | ลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบท ความพร้อมของพื้นที่ในการเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร |
ลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบท ความพร้อมของพื้นที่ในการเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารบนคาบสมุทรสทิงพระ |
ได้ข้อมูลที่จะนำเข้าสู่การร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา |
|
|
51. คณะกรรมการบริหารโครงการฯ » | ||||||
พุธ 28 พ.ค. 57 | พุธ 28 พ.ค. 57 | ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุม ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นประธานในที่ประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุม คือ
|
ได้แนวทางและแผนในการดำเนินงานสู่ปีที่ 2 |
กรรมการบริหารโครงการ มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังนี้
|
- |
52. ประชุมคณะทำงานกลุ่มย่อยยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา » | ||||||
ศุกร์ 6 มิ.ย. 57 | ศุกร์ 6 มิ.ย. 57 | ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อทราบ ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อพิจารณา ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ |
นายขจรศักดิ์ เจิรญโสภา หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสงขลาเป็นประธานในการประชุมคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม คือ
-หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานจังหวัดสงขลา
และตัวแทนจากแผนงานบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ |
ได้ร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา |
ทางสำนักงานจังหวัดสงขลาจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากแต่ละหน่วยงาน และจะทำการ SWOT ข้อมูลพร้อมกับประชุมร่วมกับแต่ละหน่วยงาน เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย และยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลาต่อไป |
- |
53. การประชุมเชิงปฎิบัติการ การบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา » | ||||||
จันทร์ 28 ก.ค. 57 | จันทร์ 28 ก.ค. 57 | 08.30-09.30 น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม/ชุมนิทรรศการผลงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ 09.30-10.00 น. พิธีเปิด 09.30-09.40 น. กล่าวต้อนรับโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 09.40-09.45 น. กล่าวรายงานโดย นางนิตยา พัฒนรัชต์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์ 09.45-10.00 น. กล่าวเปิดโดย ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10.00-10.20 น. ถ่ายภาพหมู่และพักรับประทานอาหารว่าง ชมนิทรรศการผลงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ 10.20-11.10 น. นำเสนอกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย โดยนายชายกร สินธุสัย นักวิชาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กระทรวงวิทยาศาสตร์ 11.10-12.00 น. นำเสนอแนวทางยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานคณะทำงานยกร่างยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.00 น. ประชุมกลุ่มย่อยระหว่างกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานเครือข่าย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว กลุ่มที่ 2 การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร กลุ่มที่ 3 การผลิตปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูกให้เกษตรกร กลุ่มที่ 4 การเพิ่มมูลค่าและความปลอดภัยของอาหารแปรรูป |
|
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เป็นต้น รวมไปถึง ภาคประชุาสังคม และเครือข่ายต่างๆ ได้เข้ามาร่วมกันอย่างครึกครื้น |
ผู้เข้าร่วมประชุมดังกล่าวให้ความสนใจกับการจัดงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกิจกรรมกลุ่มย่อยระหว่างกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มการเพิ่มประสิทธิภาพข้าว กลุ่มการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร กลุ่มการผลิตปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนให้เกษตรกร และ กลุ่มการเพิ่มมูลค่าและความปลอดภัยของอาหารแปรรูป โดยวิทยากรและเลขาแต่ละกลุ่มจะได้สรุปงานและนำส่งให้แก่ ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาคภาคใต้ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอาหารจังหวัดสงขลาต่อไป |
- |