แผนภาพเชิงระบบของโครงการ
สถานการณ์
สถานการณ์สุขภาวะ
สถานการณ์ด้านอาหาร จ.สงขลา
- สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของ จ.สงขลา อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง โครงสร้างการเจริญเติบโตภาคเกษตรกรรมและแหล่งผลิตอาหารมีแนวโน้มลดลง จำนวนแรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง จำเป็นต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในเรื่อง การออมในภาคครัวเรือน ต้องได้รับการอบรมมากขึ้นและมีความต่อเนื่อง เยาวชนรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทเกษตรกรไม่สนใจสืบสานอาชีพเกษตรกรรม
- สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร จ.สงขลา อยู่ในระดับที่จำเป็นต้องบูรณาการแก้ไขปัญหา เนื่องจากการตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารสดโดยรถตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ในปี 2554 พบว่า อันดับหนึ่ง การตรวจพบสารเคมีทางการเกษตรตกมาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 11.45 หากแยกตามประเภทอาหารที่ตกมาตรฐานมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ หัวหอม ใบบัวบก ต้นหอม กะหล่ำดอก ดอกหอม ส่วนอันดับสอง คือ เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ตกมาตรฐาน ร้อยละ 11.11 และอันดับสาม สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ตกมาตรฐานร้อยละ 8.44 สอดคล้องกับผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเฝ้าระวังและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสงขลา จำนวน 247 ตัวอย่างประจำปี 2555 ดำเนินการโดยกลุ่มงานอาหาร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา พบว่า อันดับหนึ่ง อาหารประเภทเส้นก๋วยเตี๋ยวมีกรดเบนโซอิก(Benzoic acid) ร้อยละ 44.44 อันดับสอง คือ น้ำแข็งมีการปนเปื้อนของเชื้อ Coliform และ E.coli ร้อยละ 41.67 และอันดับ สาม คือน้ำบริโภคในภาชนะปิดสนิทขนาด 20 ลิตร มีการตกมาตรฐานและปนเปื้อนเชื้อ ColiformและE.coli ร้อยละ 35.29 ปัญหาการพบเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร พบว่า มีการพบเชื้อ Coliforms ในมือผู้สัมผัสอาหารและภาชนะ ตกมาตรฐาน ร้อยละ 19.13 ส่วนการพบ Coliforms ในอาหาร ตกมาตรฐานร้อยละ 14.18 การมีเชื้อดังกล่าวส่งผลให้เกิดโรคทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ดังนั้น สรุปได้ว่า จังหวัดสงขลายังคงมีปัญหาเรื่อง สุขลักษณะของผู้สัมผัสอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร
- สถานการณ์ภาวะโภชนาการจ.สงขลา จากข้อมูลสำรวจระดับไอคิวของเด็กทั่วประเทศ พบว่า ระดับไอคิวของภาคใต้อยู่ในลำดับรองสุดท้ายของประเทศ หากแยกตามรายจังหวัด พบว่า เด็กในจังหวัดสงขลามีระดับไอคิวอยู่ในลำดับที่ 5 ของภาค นอกจากนี้จากบทความของ รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ เรื่อง 10 ปี ทศวรรษเพื่อเด็กและภูมิปัญญาครอบครัว พบว่า เด็กไทยประสบปัญหาขาดสารอาหาร น้ำหนักตัวลดลง ปัญหาเตี้ยกว่าเกณฑ์ การขาดธาตุไอโอดีนอันเเป็นสาเหตุของการบกพร่องทางสติปัญญา และพบภาวะโรคเด็กอ้วน ผลดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการ เด็ก 0-5 ปี ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ประจำเดือนมีนาคม 2555 พบว่า จำนวนเด็กทั้งหมด 85,052 คน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงได้ 81,349 คน ผลภาวะโภชนาการ : น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 2.75 เตี้ย ร้อยละ 6.13เริ่มอ้วน ร้อยละ 3.79 และมีภาวะอ้วน ร้อยละ 3.10
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ
- คน:
- การขาดความรู้ด้านการบริโภคของ
- สภาพแวดล้อม:
- กลไก:
- การขาดกลไกด้านการบูรณาการด้านอาหารของจ.สงขลา โดยพบว่า
- จุดหมาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย:
จุดหมาย
วิสัยทัศน์ : สงขลาแหล่งอาหารสุขภาพ
พันธกิจ : สร้างต้นแบบแหล่งผลิตอาหารที่มั่นคง พัฒนาการจัดการด้านอาหารปลอดภัย ปรับพฤติกรรมคนให้มีโภชนาการที่สมวัย
วัตถุประสงค์หลัก
- พัฒนาศักยภาพคนบนฐานของพื้นที่อันจะทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง
- พัฒนารูปแบบการจัดการความมั่นคงทางอาหาร
- พัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาหารปลอดภัย
- เพื่อบูรณาการงานโภชนาการ และอาหารคุณภาพ โภชนาการสมวัย กับงานความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย
- เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือการบูรณาการด้านอาหารในระดับจังหวัด
- พัฒนาศักยภาพคนบนฐานของพื้นที่อันจะทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง
- ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ/ตัวชี้วัด:
ตัวชี้วัด
1. พัฒนารูปแบบการจัดการความมั่นคงทางอาหาร
- เกิดรูปแบบการพัฒนาแหล่งผลิตอาหารที่แสดงถึงความมั่นคงทางอาหารใน 4 แหล่งผลิตได้แก่ พืชผักผลไม้ ประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารน้ำจืด
- เกิดศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารอย่างน้อยจำนวน 5 แห่ง
- เกิดระบบข้อมูลด้านอาหารที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
- มีแผนระยะสั้น กลาง และระยะยาวในการเพิ่มจำนวนแหล่งผลิตอาหาร
- มีการเพิ่มขึ้นของเครือข่ายด้านความมั่นคงทางอาหาร อย่างน้อยจำนวน 5 เครือข่าย
- เกิดนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่เกี่ยวกับการจัดการความมั่นคงทางอาหารในประเด็น
- การอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งอาหารทางทะเล
- การกำหนดกติกาชุมชนด้านการอนุรักษ์-ขยายพันธุ์ปลา
- การเปลี่ยนสวนยางเป็นป่ายาง และการจัดทำธนาคารต้นไม้ชุมชนบัญญัติไว้ในธรรมนูญสุขภาพลุ่มน้ำรัตภูมิ 6.4 นโยบายสาธารณะด้านการจัดการความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา
2. พัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาหารปลอดภัย
- เกิดพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบด้านอาหารปลอดภัยในลักษณะอุทยานอาหารใน 2 บริบท คือ บริบทเมือง (ในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่) และบริบทชนบท (ในพื้นที่ครัวใบโหนด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา) อันเป็นพื้นที่บูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายให้เกิดเกษตรที่ปลอดภัยเอื้อต่อสุขภาวะของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคการแปรรูปอาหารที่ใช้พลังงานต่ำ การพัฒนาและเผยแพร่เมนูชูสุขภาพ ช่องทางจำหน่ายและตลาดอาหารสุขภาพ-ตลาดสีเขียว
- พัฒนาระบบข้อมูลด้านอาหารปลอดภัยสำหรับใช้ทำงานและประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เกิดกลไกด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย กลไกการร้องเรียนไกล่เกลี่ยชดเชยความเสียหาย เฝ้าระวัง ติดตามความปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการ
- เกิดกลไกด้านคุ้มครองผู้บริโภคในลักษณะเครือข่ายผู้บริโภค จำนวน 16 อำเภอ ประกอบด้วย กลไกการร้องเรียน ไกล่เกลี่ย ชดเชยความเสียหาย เฝ้าระวัง ติดตามความปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการ
- เกิดมาตรการควบคุมการจำหน่ายและบริการอาหารไม่ปลอดภัยและมาตรการส่งเสริมอาหารสุขภาวะในสถานศึกษา สถานที่ราชการ สถานประกอบการ ตลาดสด แผงลอย และร้านอาหาร
3. พัฒนารูปแบบโภชนาการ และอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย
- เกิดรูปแบบโภชนาการสมวัยในระดับท้องถิ่น 2 แห่ง ในเทศบาลตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนครและ องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู อ.รัตภูมิ จังหวัดสงขลา
- ร้อยละ 50 ของศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.สงขลานำนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ประเด็นการปรับประยุกต์ใช้แบบแผนโภชนาการสมวัย
- เกิดระบบการติดตามภาวะโภชนาการในแต่ละช่วงวัย จากการดำเนินงานวิจัยติดตามพฤติกรรมการบริโภค (Cohort-Study)
- เกิดการรวบรวมตำรับอาหารท้องถิ่นในจังหวัดสงขลาที่เอื้อต่อโภชนาการ
- เกิดการรวบรวมตำรับสมุนไพรและอาหารที่เป็นยาในจังหวัดสงขลา
- เกิดรูปแบบการทดแทนขนมเด็กด้วยขนมพื้นบ้านที่เอื้อต่อโภชนาการ
- วิธีการสำคัญ:
1.แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร
1.1 งานปฏิบัติการชุมชน
ก.การทำฐานข้อมูล/ฟื้นฟูและออกมาตรการชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรอบอ่าวจะนะ
ข.การจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำจืดและไก่พื้นเมือง การทำนาอินทรีย์
ค.การอนุรักษ์ป่าโดยเปลี่ยนสวนยางเป็นป่ายาง ธนาคารต้นไม้ชุมชน
ง.ตำรับอาหารพื้นบ้านพื้นที่โหนด นาเล
1.2 งานวิชาการ
ก.การทำระบบฐานข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร
ข.วิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหาร
2.แผนงานความปลอดภัยด้านอาหาร
2.1 ปฏิบัติการชุมชน
ก.อุทยานอาหารปลอดภัยในบริบทของสังคมเมือง
ข.ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในลักษณะเครือข่าย
3.แผนงานโภชนาการ และอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย
3.1ปฏิบัติการชุมชน
ก.บูรณาการด้านอาหารในพื้นที่นำร่อง 2 พื้นที่ คือ ทต.ชะแล้ และอบต.ควนรู
3.2 งานวิชาการ
ก. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อประเมินตนเองเบื้องต้น (Baseline Data)
ข. การประเมินผลโดยพื้นที่ปฏิบัติการนำร่อง (Self Evalution)
ค. งานวิจัยเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมระยะยาวแบบ(Cohort Study)
ง. การวิจัย เรื่อง อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)
4.แผนงานสื่อสารสาธารณะ
- สร้างเครือข่ายสื่อสาธารณะ
- นำเสนอประเด็นสุขภาวะอาหารเพื่อรับรู้ในวงกว้าง
- ระบบฐานข้อมูลอาหารปลอดภัยที่เชื่อมโยงกัน
ปัจจัยนำเข้า
ทุนของชุมชน
1.ทุนเกี่ยวกับเครือข่ายหรือองค์กรด้านอาหาร จ.สงขลา
1.1 หน่วยงานรัฐ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา
- คณะกรรมการอาหารปลอดภัย จ.สงขลา
- ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา
1.2 หน่วยงานภาคเอกชน
- สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยว
- ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร จ.สงขลา
- หอการค้าจังหวัดสงขลา
1.3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - เทศบาลตำบลชะแล้ - องค์การบริหารส่วน ต.ควนรู - เทศบาลเมืองคอหงส์
1.4 ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน - สมาคมเพื่อผู้บริโภค จ.สงขลา - สมาคมเกษตรอินทรีย์วิถีไท - สถาบันศานติธรรม
1.5 หน่วยงานวิชาการ - คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ - คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ - มหาวิทยาทักษิณ - มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
2.นวตกรรมด้านอาหาร จ.สงขลา
3.แหล่งงบประมาณ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
งบประมาณ
ทุนสนับสนุนจาก สสส. 9,712,320
บุคลากร
ทรัพยากรอื่น
ขั้นตอนทำงาน
1.แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร
1.1 งานปฏิบัติการชุมชน
ก.การทำฐานข้อมูล/ฟื้นฟูและออกมาตรการชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรอบอ่าวจะนะ
ข.การจัดทำข้อมูลสัตว์น้ำจืดและไก่พื้นเมือง การทำนาอินทรีย์
ค.การอนุรักษ์ป่าโดยเปลี่ยนสวนยางเป็นป่ายาง ธนาคารต้นไม้ชุมชน
ง.ตำรับอาหารพื้นบ้านพื้นที่โหนด นาเล
1.2 งานวิชาการ
ก.การทำระบบฐานข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร
ข.วิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับการจัดการความมั่นคงทางอาหาร
2.แผนงานความปลอดภัยด้านอาหาร
2.1 ปฏิบัติการชุมชน
ก.อุทยานอาหารปลอดภัยในบริบทของสังคมเมือง
ข.ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในลักษณะเครือข่าย
3.แผนงานโภชนาการ และอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย
3.1ปฏิบัติการชุมชน
ก.บูรณาการด้านอาหารในพื้นที่นำร่อง 2 พื้นที่ คือ ทต.ชะแล้ และอบต.ควนรู
3.2 งานวิชาการ
ก. การสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อประเมินตนเองเบื้องต้น (Baseline Data)
ข. การประเมินผลโดยพื้นที่ปฏิบัติการนำร่อง (Self Evalution)
ค. งานวิจัยเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมระยะยาวแบบ(Cohort Study)
ง. การวิจัย เรื่อง อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)
4.แผนงานสื่อสารสาธารณะ
- สร้างเครือข่ายสื่อสาธารณะ
- นำเสนอประเด็นสุขภาวะอาหารเพื่อรับรู้ในวงกว้าง
- ระบบฐานข้อมูลอาหารปลอดภัยที่เชื่อมโยงกัน