งานวิจัยติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคระยะยาว(Cohort Study)

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by jantima @May,18 2013 13.25 ( IP : 202...1 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-013
งวดที่ 1

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)

ชื่อโครงการ งานวิจัยติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคระยะยาว(Cohort Study)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
ประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการดำเนินโครงการแผนงานย่อย

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยของแผนงานโภชนาการ และอาหารคุณภาพ เพื่อให้มีโภชนาการสมวัย จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการด้านอาหารในพื้นที่ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ 1 ท่าน ผู้รับผิดชอบโครงการปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการด้านอาหารในพื้นที่ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร 2 ท่าน ผู้รับผิดชอบโครงการการศึกษาติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 6 เดือน – 14 ปี ใน ต.ชะแล้และ ต.ควนรู จังหวัดสงขลา 4 ท่าน และผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยเรื่องอาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษา จังหวัดสงขลาจำนวน 3 ท่านได้ร่วมกันร่างกรอบแผนงานกิจกรรมของโครงการ 

ร่างกรอบแผนงานกิจกรรมของโครงการย่อยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประสานงานกับสสจ. เพื่อขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลในพื้นที่เป้าหมาย

วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 เวลา 13:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงและนำเสนอโครงการกับผู้รับผิดชอบของงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาและผู้แทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมาย มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 12 คน โดยขอความร่วมมือในการประสานงานการเก็บข้อมูลและขอความคิดเห็นเกี่ยวกับแบบเก็บข้อมูลของโครงการ

ผู้รับผิดชอบของงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาและเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 ตำบล คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนรู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโหล๊ะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชะแล้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรัตภูมิ ยินดีเป็นผู้ร่วมโครงการและได้ให้ข้อเสนอแนะปรับเปลี่ยนการเก็บข้อมูล โดยเฉพาะการเจาะเลือดและการตรวจไอโอดีนในปัสสาวะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะมีบทบาทในการช่วยประสานงานนัดหมายกับกลุ่มตัวอย่าง กำหนดสถานที่นัดเก็บข้อมูล อำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลและเจาะเลือด เก็บปัสสาวะ โดยทีมของสำนักงานสถิติจังหวัดสงขลาจะเป็นผู้เก็บข้อมูลตามแบบสอบถามและแบบสำรวจ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

โรงพยาบาลในพื้นที่ไม่สามารถตรวจ hemoglobin ได้ ต้องปรับเปลี่ยนนำเลือดมาตรวจที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สำหรับการตรวจไอโอดีนในปัสสาวะทางศูนย์ฯที่จังหวัดสงขลาไม่รับตรวจ ต้องหาที่ส่งตรวจแห่งอื่น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

พัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิจัยติดตาม

วันที่ 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ขอความเห็นในการปรับเครื่องมือวิจัยโดยการประสานงานทาง e-mail กับเครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย ผศ.ทพญ.ดร.อังคณา เธียรมนตรี ดร.ณัฐพร ยูรวงศ์ และคุณวาลี ชูคดี 

นักวิชาการจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการแก้ไขเครื่องมือวิจัย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort study - ประชุมพิจารณาเครื่องมือวิจัยและการเก็บข้อมูล ครั้งที่ 2

วันที่ 10 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ประชุมพิจารณาเครื่องมือวิจัยและการเก็บข้อมูลกับกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ตัวแทนของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมาย และสำนักงานสถิติจังหวัดสงขลาเพื่อพิจารณาเครื่องมือวิจัย การจัดการเก็บข้อมูลในพื้นที่ การจัดทำรายชื่อกลุ่มตัวอย่างและการอบรมผู้เก็บข้อมูล มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 6 คน

  • พื้นที่ไม่มีข้อเสนอแก้ไขเครื่องมือวิจัย
  • ข้อตกลงในการใช้ข้อมูลประชากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการสุ่มเพื่อจัดทำรายชื่อกลุ่มตัวอย่าง
  • ข้อตกลงในการดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ การเจาะเลือดและเก็บปัสสาวะ และการส่งตัวอย่างมาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

จากการปรับเปลี่ยนการตรวจเลือดและปัสสาวะ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก แนวทางแก้ไขคือ ปรับลดกลุ่มที่เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะ

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort-study เยี่ยมองค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ

วันที่ 26 มิถุนายน 2556 เวลา 11:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงโครงการแก่นายก อบต.รัตภูมิ ปลัดอบต. และนักวิชาการฝ่ายการศึกษาของท้องถิ่น ขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์โครงการให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการเข้าสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลรัตภูมิ

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort study - ประชุมพิจารณาเครื่องมือวิจัยและการเก็บข้อมูลครั้งที่ 3

วันที่ 27 มิถุนายน 2556 เวลา 09:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ประชุมพิจารณาการเก็บข้อมูลกับกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 ตำบล ได้แก่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา เพื่อพิจารณากระบวนการดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่เป้าหมาย และทำปฏิทินการเก็บข้อมูลของแต่ละพื้นที่ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 15 คน

  • ข้อตกลงในการดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ สถานที่เก็บข้อมูล การเก็บเลือดและปัสสาวะส่งทางม.อ. ค่าตอบแทนในการนัดหมายกลุ่มตัวอย่างและการประสานงานในวันเก็บข้อมูล และค่าตอบแทนพยาบาลในการเจาะเลือด
  • ปฏิทินการเก็บข้อมูลของแต่ละพื้นที่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort-study เยี่ยมเทศบาลตำบลชะแล้

วันที่ 28 มิถุนายน 2556 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงโครงการแก่นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชะแล้ ปลัดเทศบาล และครูผู้ดูแลเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสว่างอารมย์ (เทศบาลตำบลชะแล้) ขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์โครงการให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการเข้าสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดของเทศบาลตำบลชะแล้

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort-study เยี่ยมองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน

วันที่ 28 มิถุนายน 2556 เวลา 13:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงโครงการแก่ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน ขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์โครงการให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการเข้าสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าหิน 

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort-study เยี่ยมองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

วันที่ 4 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงโครงการแก่รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไทรใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไสท้อน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกค่าย ครูผู้ดูแลเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกรัก ขอความอนุเคราะห์จากท้องถิ่นในการประชาสัมพันธ์โครงการให้หน่วยงานและประชาชนในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ และขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โครงการเข้าสำรวจภาวะแวดล้อมด้านโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

ท้องถิ่นยินดีให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ และผู้อำนวยการโรงเรียนได้แจ้งข้อมูลการทำกิจกรรมของโรงเรียนที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดวันลงพื้นที่เก็บข้อมูล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort study-อบรมผู้เก็บข้อมูล

วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. อบรมการเก็บข้อมูลแก่พนักงานเก็บข้อมูล โดยอธิบายการใช้แบบสอบถามและทะเบียนรายชื่อเด็ก สาธิตการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความยาว วัดรอบศีรษะและรอบเอว และให้ผู้เก็บข้อมูลฝึกปฏิบัติจริง มีผู้เข้าอบรมจำนวน 7 คน
  2. อบรมวิธีการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ วิธีการบรรจุตัวอย่างในกล่องโฟมแก่พยาบาล โดยมีพยาบาลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่เก็บข้อมูลเข้ารับการอบรมจำนวน 5 คน

ผู้เก็บข้อมูลสามารถใช้แบบสอบถามและเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง และพยาบาลเข้าใจวิธีการเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort-study เก็บข้อมูลเด็กกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 เวลา -

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

เก็บข้อมูลแบบสอบถามเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมาย 4 ตำบล ได้แก่ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร ต.ควนรู  อ.รัตภูมิ ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง และต.ท่าหิน อ.สทิงพระ โดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองถึงข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก ชั่งน้ำหนัก วัดความยาวหรือส่วนสูง วัดรอบศีรษะและรอบเอวของเด็ก เจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเด็กที่มีรายชื่อสุ่มเจาะเลือดประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

  • สามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มตัวอย่างอายุ 6 เดือน -14 ปีได้ในพื้นที่ ต.ชะแล้ จำนวน 195 ราย พื้นที่ ต.ควนรู จำนวน 370 ราย พื้นที่ ต.รัตภูมิ จำนวน 380 ราย และพื้นที่ ต.ท่าหิน จำนวน 155 ราย
  • สามารถเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะเพื่อตรวจ Hemoglobin และ hematocrit และไอโอดีนในปัสสาวะได้ในพื้นที่ ต.ชะแล้ จำนวน 106 ราย พื้นที่ ต.ควนรู จำนวน 168 ราย พื้นที่ ต.รัตภูมิ จำนวน 202 ราย และพื้นที่ ต.ท่าหิน จำนวน 80 ราย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ในพื้นที่ ต.ควนรู หมู่ที่ 1, 2, 7 และ 8 เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างได้น้อยกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ แม้ว่าจะขยายเวลาในการเก็บข้อมูลออกไป

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

cohort-study สำรวจปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กรเป้าหมาย

วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 เวลา -

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. สอบถามข้อมูลพื้นฐานขององค์กรจากครูฝ่ายโภชนาการเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็ก กิจกรรมการออกกำลังกาย อาหารกลางวันและอาหารว่างที่จัดให้กับเด็ก มาตรการในการห้ามขายน้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบภายในองค์กร
  2. สำรวจปัจจัยแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการภายในองค์กร บริเวณรอบๆ โรงเรียนและโรงอาหาร สอบถามการใช้เครื่องปรุงของแม่ครัวในการประกอบอาหารให้เด็ก ดูพฤติกรรมการบริโภคและปริมาณการบริโภคอาหารของเด็ก และสำรวจการขายอาหารบริเวณหน้าโรงเรียน

สามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามจำนวนเป้าหมาย คือ ต.ชะแล้ จำนวน 3 แห่ง ต.ควนรู จำนวน 6 แห่ง ต.รัตภูมิ จำนวน 7 แห่ง และต.ท่าหิน จำนวน 4 แห่ง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เข้าข้อมูลแบบสอบถาม

วันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 08:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

เข้าข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 2 ชุด คือชุดของเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน – 5 ปี และเด็กกลุ่มอายุ 6 – 14 ปี โดยใช้โปรแกรม EpiData
- สร้างไฟล์ .qes โดยการตั้งรหัสของข้อคำถามในแบบสอบถามเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน – 5 ปี 286 ข้อ มีจำนวนช่องสำหรับป้อนข้อมูล 402 ช่อง
- สร้างไฟล์ .qes ของแบบสอบถามเด็กกลุ่มอายุ 6 – 14 ปี 202 ข้อ มีจำนวนช่องสำหรับป้อนข้อมูล 317 ช่อง - สร้างไฟล์ .rec เพื่อเข้าข้อมูล โดยการ Make data file จากไฟล์ .qes ของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด
- สร้างไฟล์ .chk ของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด เพื่อกำหนดค่า check สำหรับตัวแปรต่างๆ - Enter Data โดยเข้าข้อมูลจากแบบสอบถามตำบลควนรู 361 ชุด ตำบลชะแล้ 194 ชุด ตำบลรัตภูมิ 379 ชุด และตำบลท่าหิน 154 ชุด
- ใช้วิธี Double Entry โดยทำการคีย์ข้อมูลแต่ละชุดจำนวน 2 ครั้ง นำข้อมูลทั้ง 2 ครั้งมาเปรียบเทียบกันว่ามีเนื้อหาข้อมูลต่างกันตรงไหนบ้าง ถ้ามีความแตกต่างก็นำมาตรวจสอบความถูกต้องกับต้นฉบับและแก้ไขข้อมูลอีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกัน

ได้ข้อมูลตัวแปรของเด็กทั้ง 4 ตำบลจำนวน 1,088 ชุด ตำบลควนรู 361 ชุด แบ่งเป็นเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน – 5 ปี 200 ชุด เด็กกลุ่มอายุ 6 – 14 ปี 161 ชุด ตำบลชะแล้ 194 ชุด แบ่งเป็นเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน – 5 ปี 102 ชุด เด็กกลุ่มอายุ 6 – 14 ปี 92 ชุด ตำบลรัตภูมิ 379 ชุด แบ่งเป็นเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน – 5 ปี 187 ชุด เด็กกลุ่มอายุ 6 – 14 ปี 192 ชุด และตำบลท่าหิน 154 ชุด แบ่งเป็นเด็กกลุ่มอายุ 6 เดือน – 5 ปี 78 ชุด เด็กกลุ่มอายุ 6 – 14 ปี 76 ชุด เพื่อนำไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติของสุขภาวะเด็กในพื้นที่ต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

วิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ

วันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

นำปัสสาวะที่ได้จากการสุ่มเก็บเด็กกลุ่มตัวอย่างของพื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ควบคุมทั้ง 4 ตำบล ส่งตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะที่ศูนย์ห้องปฏิบัติการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยทางศูนย์ใช้หลักการย่อยสลายตัวอย่างปัสสาวะด้วยสารละลาย Ammonium persulfate ที่อุณหภูมิ 95-100 องศาเซสเซียส เป็นเวลา 60 นาที จะได้สารละลายใส  ปิเปตสารละลายที่ได้จากการย่อยสลายลงในไมโครเพลท Iodide ที่ได้จากการย่อยจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาระหว่างสารละลาย Ceric ammonium sulfate และ Arsenious ทำให้สีเหลืองของ Ceric เปลี่ยนเป็น Cerous ที่ไม่มีสีหรือมีสีจางลงเรียกว่าปฏิกิริยา Sandell-Kolthoff  ทำการตรวจวัดการซีดจางลงของสี Ceric ammonium sulfate ด้วย Microplate reader ที่ความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร และอ่านความเข้มข้นของไอโอดีนในปัสสาวะจากกราฟมาตรฐาน

ได้ผลการวิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กจำนวน 535 คน พื้นที่ตำบลควนรูจำนวน 161 คน ตำบลชะแล้จำนวน 96 คน ตำบลรัตภูมิจำนวน 199 คน และตำบลท่าหินจำนวน 79 คน มีผลการวิเคราะห์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะดังนี้
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะอยู่ในระดับต่ำหรือน้อยกว่า 100 ไมโครกรัม/ลิตร มีจำนวน 70 คน
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะปกติหรือตั้งแต่ 100 - 199 ไมโครกรัม/ลิตร มีจำนวน 157 คน
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะสูงเกินความต้องการหรือตั้งแต่ 200 - 299 ไมโครกรัม/ลิตร มีจำนวน 139 คน
- เด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะสูงเกินไปหรือตั้งแต่ 300 ไมโครกรัม/ลิตรขึ้นไป มีจำนวน 169 คน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ตรวจวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทในเลือด

วันที่ 4 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ส่งตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทของเด็กกลุ่มตัวอย่างตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน ที่ห้องปฏิบัติการหน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทางห้องปฏิบัติการใช้วิธีทดสอบโดย Automate cell counter Sysmex XT 1800i ในการวิเคราะห์ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทในเลือด

ได้ค่าฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริทเพื่อนำไปวิเคราะห์ภาวะโลหิตจางของเด็กกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ตำบลควนรู 168 คน ตำบลชะแล้ 106 คน ตำบลรัตภูมิ 202 คน และตำบลท่าหิน 80 คน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเตรียมการจัดเวทีคืนข้อมูลภาวะโภชนาการตำบลชะแล้ และตำบลควนรู

วันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 10:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ประชุมร่วมกับคณะทำงานจากตำบลชะแล้ และตำบลควนรู จำนวน 3 ท่าน คือ คุณถั่น จุลนวล และคุณอมิตา ประกอบชัยชนะ จากองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ คุณเมธา บุณยประวิตร จากสำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร 

ได้ข้อสรุปการจัดเวทีคืนข้อมูลภาวะโภชนาการ ดังนี้ • กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พ่อแม่ ผู้บริหารและครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ผู้ประกอบอาหาร แม่ครัวของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กำนันและกรรมการหมู่บ้าน ผู้แทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกลุ่มแกนนำต่างๆในชุมชน
• ข้อมูลที่ต้องการให้คืนแก่ชุมชน ได้แก่ ภาวะโภชนาการ ผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ สถานที่และสภาพแวดล้อมที่ดีหรือเสี่ยง การได้รับนมแม่ของเด็กเล็ก การได้รับยาบำรุงเลือดและยาน้ำเสริมธาตุเหล็กของแม่ขณะตั้งครรภ์ การกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง การงดอาหาร การกินผักและผลไม้ การออกกำลังกาย การนอนหลับ และการใช้สื่อของเด็กในพื้นที่ • การจัดกิจกรรมในพื้นที่จะมีการแบ่งกลุ่มย่อยซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วน เพื่อระดมสมองว่าจะทำกิจกรรมอะไรต่อไป เมื่อได้รับทราบข้อมูลปัญหาของพื้นที่แล้ว

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม

วันที่ 11 ตุลาคม 2556 เวลา 07:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ใช้วิธีการทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเข้าข้อมูลแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาวะเด็กของพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน

ได้สถานการณ์สุขภาวะของเด็กตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์หัวข้อต่อไปนี้
- ข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก : ศาสนา จำนวนพี่น้องของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กส่วนใหญ่ การศึกษาของผู้เลี้ยงดูหลัก ลักษณะทำเลบ้านและเพื่อนบ้านที่เด็กอยู่อาศัย ข้อมูลพื้นฐานของพ่อและแม่เด็ก รายได้ของครอบครัว
- ภาวะโภชนาการ : น้ำหนัก ความยาว/ส่วนสูง ภาวะโลหิตจาง ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ
- พฤติกรรมการบริโภคอาหาร : การได้รับยาบำรุงที่มีไอโอดีน เหล็กและกรดโฟลิก วิตามินและแร่ธาตุรวมทุกชนิดขณะตั้งครรภ์ การได้รับนมแม่ การกินอาหารที่มีธาตุเหล็กและยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ความถี่ในการบริโภคผักและผลไม้ การดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลมและการกินขนมกรุบกรอบ
- กิจกรรมทางกาย : เวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น วิ่งเล่น ออกกำลังกาย
- การดูหรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ : เวลาที่ใช้ในการดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ซีดี ดีวีดี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เวทีคืนข้อมูลสุขภาวะเด็กตำบลควนรู

วันที่ 21 ตุลาคม 2556 เวลา 10:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • ประชุมร่วมกับนายกและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ผู้บริหารและครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ผู้ประกอบอาหาร แม่ครัวของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กำนันและกรรมการหมู่บ้าน ผู้แทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และตัวแทนพ่อแม่ ผู้ปกครอง จำนวน 88 คน
  • รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ ได้นำเสนอข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะของเด็กในตำบลควนรูให้แก่พื้นที่
  • แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 3 กลุ่มซึ่งประกอบด้วยบุคคลทุกภาคส่วน ร่วมกันระดมความคิดเห็นในการวางแผนงานการแก้ปัญหาสุขภาวะของเด็ก โดยบูรณาการงานด้านความมั่นคงของอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร และโภชนาการสมวัยในทุกบริบทที่เด็กอาศัยอยู่

ได้แผนงานบูรณาการอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาวะของเด็ก ซึ่งบุคคลทุกภาคส่วนของพื้นที่จะร่วมกันดำเนินงานต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

คืนข้อมูลตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร

วันที่ 29 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • ประชุมนำเสนอข้อมูลสุขภาวะของเด็กในพื้นที่ตำบลชะแล้ ผู้เข้าร่วมฟังมีรองนายกเทศมนตรีตำบลชะแล้ ครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 31 คน พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและการเลี้ยงดูเด็กเพื่อพัฒนาสุขภาวะของเด็กตามปัญหาของพื้นที่
  • มีการซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาวะของเด็กในพื้นที่ แต่ยังไม่สามารถจัดทำแผนได้ 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  1. พื้นที่มีปัญหาในการประสานงาน จึงทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ครบทุกภาคส่วน ทำให้ไม่สามารถจัดทำแผนบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการที่ได้ จึงต้องมีการนัดประชุมครั้งต่อไป

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำรายงานส่วนบุคคล

วันที่ 16 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

นำข้อมูลผลการวิเคราะห์ภาวะโภชนาการ ภาวะโลหิตจาง และระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำรัตภูมิ และตำบลท่าหินมาจัดเรียงเป็นข้อมูลรายบุคคล โดยมีข้อมูลรายชื่อ น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ความยาว/ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ค่าฮีโมโกลบิน ค่าฮีมาโตคริท ภาวะโลหิตจางตามเกณฑ์ฮีโมโกลบิน ภาวะโลหิตจางตามเกณฑ์ฮีมาโตคริท และปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ หลังจากนั้นนำข้อมูลเด็กแต่ละตำบลมาแยกเป็นแต่ละโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และส่งให้แก่พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแต่ละแห่งนำข้อมูลไปดำเนินการต่อไป

รายงานข้อมูลผลภาวะโภชนาการรายบุคคลของเด็กทั้ง 4 ตำบล จำนวน 1,106 คน ตำบลควนรูจำนวน 367 คน มีเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี จำนวน 206 คน เด็กอายุ 6 – 14 ปี จำนวน 161 คน ตำบลชะแล้ 197 คน มีเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี จำนวน 102 คน เด็กอายุ 6 – 14 ปี จำนวน 95 คน ตำบลรัตภูมิ 387 คน มีเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี จำนวน 190 คน เด็กอายุ 6 – 14 ปี จำนวน 197 คน และตำบลท่าหิน 155 คน มีเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี จำนวน 79 คน เด็กอายุ 6 – 14 ปี จำนวน 76 คน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เวทีคืนข้อมูลสุขภาวะเด็กตำบลชะแล้

วันที่ 3 มกราคม 2557 เวลา 09:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • ประชุมร่วมกับผู้อำนวยการสำนักธรรมนูญสุขภาพและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลชะแล้ ครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน ผู้แทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และตัวแทนพ่อแม่ ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน
  • รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ นำเสนอข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะของเด็กในตำบลชะแล้ให้แก่พื้นที่ และมีการซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุม
  • แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเด็กเล็ก 1 กลุ่ม และกลุ่มเด็กโต 1 กลุ่ม ร่วมกันวางแผนงานการแก้ปัญหาสุขภาวะของเด็กด้านความมั่นคงของอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร และโภชนาการสมวัย

ได้แผนงานบูรณาการอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาวะของเด็ก ซึ่งบุคคลทุกภาคส่วนของพื้นที่จะร่วมกันดำเนินงานต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำรายงานภาวะโภชนาการรวมทั้งพื้นที่

วันที่ 13 มกราคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

นำข้อมูลผลการวิเคราะห์ภาวะโภชนาการ ภาวะโลหิตจาง และระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำรัตภูมิ และตำบลท่าหินมาสรุปเป็นข้อมูลภาพรวมของตำบล โดยแยกสรุปเป็นภาพรวมของเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี และเด็กอายุ 6-14 ปี ของแต่ละตำบล มีข้อมูลสรุปดังนี้ - จำนวนเด็กทั้งหมดของตำบล แบ่งเป็นแต่ละกลุ่มอายุ
- จำนวนเด็กกลุ่มเป้าหมายที่เก็บแบบสอบถามและเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ
- จำนวนเด็กที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามและตัวอย่างเลือดและปัสสาวะได้ - ภาวะโภชนาการ : ร้อยละของเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เตี้ยกว่าเกณฑ์ ผอม สมส่วน เริ่มอ้วน และอ้วน - ภาวะโลหิตจาง : ร้อยละของภาวะโลหิตจางตามเกณฑ์ Hemoglobin และเกณฑ์ Hematocrit
- ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ : ร้อยละของเด็กที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำ ปกติ สูงเกินความต้องการ และสูงเกินไป

ได้รายงานสรุปภาวะโภชนาการรวมของพื้นที่ตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลรัตภูมิ และตำบลท่าหิน เพื่อส่งให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานดำเนินงานโครงการ

วันที่ 12 พฤษภาคม 2557 เวลา 10:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ประชุมการดำเนินงานร่วมกับผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง อำเภอสทิงพระ เจ้าหน้าที่จากรพ.สต.ควนรู รพ.สต.โหล๊ะยาว รพ.สต.ชะแล้ รพ.สต.ท่าหิน รพ.สต.พรวน และศูนย์สุขภาพชุมชนควนเนียง ในตำบลควนรู ตำบลชะแล้ ตำบลท่าหิน และตำบลรัตภูมิ เพื่อติดตามการดำเนินงานหลังได้รับผลภาวะโภชนาการรายบุคคลของเด็กในพื้นที่ความรับผิดชอบ และวางแผนการดำเนินงานเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน 

หลังจากได้รับรายงานผลภาวะโภชนาการรายบุคคล แต่ละตำบลมีการดำเนินการดังนี้
- ภาวะซีดและระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำ ตำบลรัตภูมิ นัดเด็กที่มีภาวะซีดรุนแรงให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาด้วยยาธาตุเหล็กและติดตามผล ส่วนเด็กที่มีปัญหาไม่รุนแรงให้คำแนะนำในการปฏิบัติเป็นรายบุคคล ส่วนตำบลท่าหิน ตำบลชะแล้ และตำบลควนรูมีการดำเนินงานเหมือนกันคือ ให้คำแนะนำเพื่อปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของเด็กเป็นรายบุคคลแก่ผู้ปกครองและเด็กที่มีปัญหาภาวะซีดและระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำ แต่ยังไม่ได้ส่งพบแพทย์ ที่ประชุมได้ตกลงการดูแลเด็กที่มีภาวะซีดให้เป็นแนวทางเดียวกัน
- เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ เริ่มอ้วนและอ้วน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนัดให้ความรู้เป็นกลุ่มแยกตามภาวะโภชนาการ
- ที่ประชุมตกลงให้ดำเนินงานเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 และจะมีการนัดประชุมคณะทำงานอีกครั้งในเดือนกันยายน 2557

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-