งานวิจัยติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคระยะยาว(Cohort Study)

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by jantima @May,18 2013 13.25 ( IP : 202...1 )

แผนภาพเชิงระบบของโครงการ

สถานการณ์

สถานการณ์สุขภาวะ

ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นต้นทุนสำคัญที่ส่งเสริมให้เด็กเติบโตได้เต็มศักยภาพ  หากเด็กได้รับสารอาหารที่ไม่ครบส่วน และบริโภคนิสัยที่ไม่ถูกต้อง  นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาขาดสารอาหารหรือโรคอ้วนแล้วอาจมีผลเสียในระยะยาว ทำให้มีนิสัยบริโภคไม่เหมาะสมติดตัว นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และโรคกระดูกพรุนในวัยผู้ใหญ่ โภชนาการมีความสำคัญต่อสมอง ช่วงวัยสำคัญคือช่วงนับจากในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2-3 ปีแรก เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการรุนแรงจนเตี้ยแคระแกร็นในช่วง 2 ขวบแรกมีคะแนนไอคิวที่อายุ 8-10 ปีต่ำกว่าเด็กที่ไม่เคยเตี้ยแคระแกร็นถึง 3-10 จุด ส่งผลเสียต่อผลสัมฤทธิ์การเรียน ความสามารถในการหารายได้และระดับไอคิวเมื่อเป็นผู้ใหญ่1 การสำรวจสุขภาพประชากรไทยฯ ครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2551-2552 พบความชุกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 4.8 ในเด็กปฐมวัยและร้อยละ 3.7 ในเด็กวัยเรียน ส่วนความชุกของภาวะเตี้ยกว่าเกณฑ์ในเด็กปฐมวัยพบร้อยละ 6.3 และในเด็กวัยเรียนร้อยละ 3.52 และยังพบปัญหานี้ได้สูงในเด็กยากจนด้อยโอกาส ในพื้นที่ชายแดนที่มีปัญหาความไม่สงบ การขาดจุลโภชนะก็มีผลกระทบต่อพัฒนาการของสมอง การขาดสารไอโอดีนเป็นสาเหตุสำคัญของการพร่องทางสติปัญญาที่ป้องกันได้ การขาดธาตุไอโอดีนนานๆ ทำให้ระดับไอคิวโดยเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ขาดถึง 13.5 จุด3 ปัจจุบันปัญหาขาดสารไอโอดีนรุนแรงจนเป็นโรคเอ๋อได้ลดน้อยลงไปมาก แต่ยังพบการขาดชนิดไม่มีอาการในครึ่งหนึ่งของหญิงมีครรภ์ ส่วนการขาดธาตุเหล็กทำให้เด็กเติบโตช้า ภูมิต้านทานพร่อง โลหิตจาง อ่อนเพลีย เฉื่อยชา มีสมาธิสั้น ความสามารถในการเรียนรู้และสติปัญญาต่ำลง4 ล่าสุดในบางพื้นที่พบทารกประมาณหนึ่งในสามมีโลหิตจาง
การขาดสารอาหารเหล่านี้ นอกจากมีผลให้การเติบโตชะงักงัน พัฒนาการของสมองและสติปัญญาล่าช้าแล้ว ยังทำให้ภูมิคุ้มกันโรคบกพร่องและติดเชื้อได้ง่าย5 แม้แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ล้วนเป็นผลของโภชนาการในช่วงต้นของชีวิต6
โรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในเด็กไทยในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้พบเด็กป่วยด้วยโรคเบาหวานประเภท 2 ปัญหากระดูกและข้อผิดรูป ทางเดินหายใจอุดกั้นจนหยุดหายใจ (obstructive sleep apnea) ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด และความดันเลือดสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงวัยผู้ใหญ่ ทำให้โรคเรื้อรังไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นของประชากรไทยทั้งชายและหญิง
พฤติกรรมบริโภคอาหารของเด็กไทย7 ในการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยฯ ครั้งล่าสุดครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 ทารกไทยร้อยละ 7.1 ได้รับนมแม่อย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือน เด็กที่ไม่ได้รับนมแม่เสียโอกาสที่จะมีพัฒนาการทางสมองที่ดีและเสี่ยงต่อโรคอ้วน สำหรับการบริโภคผัก มีเพียงร้อยละ 7.6 ตามลำดับบริโภคผักถึง > 3 ส่วนต่อวัน สำหรับผลไม้ มีเพียงร้อยละ 15-18 ของเด็กอายุ 1-14 ปีที่บริโภคผลไม้ 2 ส่วนต่อวันหรือมากกว่า ในทางกลับกัน ร้อยละ 28 ของเด็กอายุ 2-14 ปีกินขนมกรุบกรอบที่มีไขมันสูงทุกวันหรือบ่อยกว่า พฤติกรรมบริโภคเช่นนี้เสี่ยงต่อโรคอ้วน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และมะเร็ง ในขณะที่ร้อยละ 15.3 ของเด็กอายุ 2-14 ปีดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน 1->1 ครั้ง/วัน ผลการทบทวนงานวิจัยแบบอภิมาณพบความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่ผสมน้ำตาลมากเกินไปกับน้ำหนักและโรคอ้วนทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ยังแทนที่การดื่มนม ทำให้ได้รับแคลเซียมและสารอาหารอื่นลดลง8 นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 10.4 ของเด็กอายุ 6-14 ปีไม่กินอาหารเช้า2 ซึ่งมีผลกระทบต่อความจำ การคิดคำนวณ ทำให้เด็กเข้าชั้นเรียนด้วยความไม่พร้อมที่จะเรียนรู้
ผู้ดูแลเด็กจึงควรมีความรู้และทักษะในการให้อาหารทารกและเด็ก โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการงานในระบบบริการสุขภาพ ที่เชื่อมต่อสู่ชุมชน เพื่อให้การดูแลด้านอาหารและโภชนาการของเด็กต่อเนื่องจากในครรภ์มารดา สู่วัยทารกและวัยเตาะแตะในครอบครัว และเชื่อมต่อวัยเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน เป็นการดูแลอย่างครบวงจรและยั่งยืน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ ใช้กลไกบูรณาการประเด็นคุณภาพอาหารและโภชนาการ ความปลอดภัยอาหาร และความมั่นคงอาหาร โดยเลือกดำเนินงานใน 2 พื้นที่นำร่อง คือ 1) เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ และ 2) จังหวัดสงขลา เพื่อให้เป็นต้นแบบการทำงานด้านอาหาร โดยโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ
กรณีศึกษา จังหวัดสงขลาจะการดำเนินงานบูรณาการงานอาหารทั้ง 3 ด้านใน ต.ชะแล้และ ต.ควนรู จังหวัดสงขลา เพื่อประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน โครงการฯได้กำหนดให้มีการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและภาวะโภชนาการระยะยาวแบบ Cohort- Study

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ
  • คน:
  • สภาพแวดล้อม:
  • กลไก:
  • จุดหมาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย:
  • ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ/ตัวชี้วัด:
  • วิธีการสำคัญ:

ปัจจัยนำเข้า

ทุนของชุมชน
งบประมาณ
บุคลากร
ทรัพยากรอื่น

ขั้นตอนทำงาน

ผลผลิต

ผลลัพท์

ผลกระทบ

กลไกและวิธีการติดตามของชุมชน

กลไกและวิธีการประเมินผลของชุมชน