แผนภาพเชิงระบบของโครงการ
สถานการณ์
สถานการณ์สุขภาวะ
ในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแบบวัฒนธรรมตะวันตก กำลังมีอิทธิพลในชีวิตประจำวัน ของ คนไทย ทั้งในเรื่องความนิยม หรือแฟชั่นการบริโภคอาหาร ทำให้คนไทยกำลังเผชิญกับ ภาวะคุกคามทางด้านสุขภาพ ทั้งปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภาวะโรคอ้วน และการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ตลอดจนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอื่น เช่น เกิดภาวะสมองเสื่อม มีปัญหาทางด้านความจำ โรคเหน็บชา ไม่เจริญอาหาร นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในกลุ่มเฉพาะเช่นกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยเริ่มจากการดูแลตนเอง ด้วยการใช้องค์ ความรู้ และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง เช่น ตำรับอาหารและยาสมุนไพรรักษาโรคมะเร็งของ นายแพทย์ นพรัตน์ บุณยเลิศ จากโครงการพระราชดำริสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน แนะนำให้ใช้ ทองพันชั่ง ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ตังกุยจี้ รากชะเอม พลูคาว กะเม็งตัวเมีย ในการรักษามะเร็งปอด และสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นเบาหวานแนะนำให้ใช้ ผักบุ้งแดงสด ตะไคร้หอมสด ดอกมะม่วงสด ฝักคูณทั้งฝัก กรดน้ำทั้งต้น ใบอินทนิลน้ำสด เป็นต้น หรือในตำรับยาอายุวัฒนะก็มีอยู่หลากหลายสูตรตำรับ เช่น การใช้ รากช้าพลู รากมะแว้งต้น รากมะแว้งเครือ รากมะเขือขื่น เถาบอระเพ็ด รากเจตมูลเพลิง เป็นต้น
หากหันกลับมามองอาหารไทย ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติ อยู่คู่บ้านคู่เมือง มาช้านานและกำลังจะ ถูกคนไทยลืม เพราะกำลังนิยมอาหารต่างชาติ โดยเฉพาะอาหารขยะ (junk food) ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา ทางด้านสุขภาพของคนไทยมาก แต่กลับได้รับความนิยม เพราะความสะดวก รวดเร็วและดูทันสมัย ในทางกลับกัน อาหารไทยกำลังได้รับความนิยมในชาวต่างประเทศค่อนข้างสูงเนื่องด้วย รสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งหากเจาะลึกไปถึงส่วนประกอบของอาหารไทย จะพบสรรพคุณทางยาอยู่มากมาย เพราะฉะนั้น การบริโภคอาหารไทย เสมือนหนึ่งการได้รับยาสมุนไพรบำรุงร่างกายโดยไม่รู้ตัว
ปัจจุบัน องค์ความรู้เรื่องอาหารที่ใช้เป็นยา ยังไม่ได้ถูกนำใช้ในการบริโภคอย่างจริงจัง เนื่องจากความรู้ดังกล่าวอยู่กระจัดกระจาย ขาดการจัดระบบข้อมูลที่ดี การเผยแพร่ความรู้ทำได้ยาก และที่สำคัญคือการขาดความตระหนักและการให้ความสำคัญขององค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดเป็นชุดความรู้อาหารที่เป็นยา มีปฏิบัติการทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนกลับมาบริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ
- คน:
อาหารที่เป็นยาสมุนไพรเพื่อการบริโภค
- สภาพแวดล้อม:
ชุมชนในจังหวัดสงขลา
- กลไก:
- จุดหมาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย:
เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้เกิดเป็นชุดความรู้อาหารที่เป็นยา และสร้างปฏิบัติการทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนกลับมาบริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพ มีวัตถุประสงค์ย่อยต่อไปนี้
เพื่อศึกษาทบทวนตำรับอาหารและชนิดของสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเรื้อรัง และเป็นยาอายุวัฒนะในประเทศไทย
เพื่อสำรวจชนิดและแหล่งสมุนไพรที่ใช้เป็นยาที่มีตามธรรมชาติและมีการปลูกในสงขลา
เพื่อสำรวจและรวบรวมรายการอาหารพื้นบ้านในจังหวัดสงขลาที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรนั้นๆ
เพื่อพัฒนาตำรับอาหารเป็นยา และวิเคราะห์คุณค่าทางยาในตำรับอาหาร
ส่งเสริมการใช้ตำรับอาหารเป็นยาเพื่อการดูแลตนเอง
ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรที่โดดเด่นของแต่ละท้องถิ่น ในจังหวัดสงขลา และส่งเสริมการปลูก สมุนไพรที่มีประโยชน์ในการรักษาโรค ที่ยังไม่มีแหล่งปลูกในจังหวัดสงขลา
เพื่อบูรณาการงานทางโภชนาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าด้วยกัน
- ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ/ตัวชี้วัด:
การสืบค้นข้อมูล การเก็บข้อมูลในพื้นที่ และการทดลองสูตรตำรับอาหารที่ได้จากการสำรวจ
- วิธีการสำคัญ:
- สืบค้น
- สำรวจ
- สัมภาษณ์
- ทดลอง
- แบบประเมิน
- สืบค้น
ปัจจัยนำเข้า
ทุนของชุมชน
-
งบประมาณ
735,000 บาท
บุคลากร
นักวิชาการ
หมอพื้นบ้าน
ปราชญ์ชาวบ้าน
ชาวบ้าน
ทรัพยากรอื่น
-
ขั้นตอนทำงาน
- สืบค้น
- สำรวจ
- สัมภาษณ์
- ทดลอง
- แบบประเมิน
ผลผลิต
พัฒนาตำรับอาหารที่เป็นยาสมุนไพร จำนวน 30 ตำรับ
ผลลัพท์
ได้อาหารที่มีคุณค่าทางยาสมุนไพรเพื่อป้องกันและรักษาโรค
ผลกระทบ
ไม่ส่งผลกระทบต่อ สังคม สุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม