การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร

by chana @May,18 2013 11.14 ( IP : 202...1 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-007
งวดที่ 1

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)

ชื่อโครงการ การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนเข้าร่วมประชุมจำนวน 4 คน โดยได้ออกแบบวิธีการทำงาน การบริหารจัดการด้านการเงินร่วมกับคณะทำงานโครงการฯ

  2. คณะทำงานศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ได้เรียนรู้การจัดทำรายงานและได้วางแผนการทำงานผ่านเว็บไซต์ www.consumersouth.org

  1. เกิดแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย และคณะทำงานโครงการ โดยเครือข่ายได้ให้ความเห็นว่าควรจัดทำคู่มืและการดำเนินงานโครงการย่อย
  2. การประชุมคณะทำงานประจำเดือนควรเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ที่นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  3. ควรมีการประชุมแต่ละแผนย่อย โดยแยกเป็นประเด็นๆ ได้แก่ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นอาหารปลอดภัย และประเด็นโภชนาการสมวัย ซึ่งในประเด็นข้างต้น คณะทำงานในแต่ละประเด็นควรแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าของการทำงานร่วมกัน
  4. เกิดมติของที่ประชุมกำหนดให้วันเสาร์ ที่ 3 ของทุกเดือน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกัน
  5. ระบบการสื่อสารในระหว่างเครือข่ายจะมีการสื่อสารที่หลากหลาย อาทิ ระบบระบบรายงานผ่านเว็บไซต์ของแผนงานย่อย, จดหมายข่าว และEmail สำหรับการสื่อสารในระดับพื้นที่ไม่ควรใช้เว็บไซต์อย่างเดียว ควรใช้สื่อขยายผลภาคพื้นที่
  6. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในระหว่างแผนงาน ในแผนงานความมั่นคงทางอาหาร คือ คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

แสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 เวลา 19:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. มีการแสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มมะนาวหวาน
  2. พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ
  1. เด็กและเยาวชน ให้ความสนใจในการเรียนรู้ข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะและปัญหาวิกฤตอาหารที่กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลกผ่านละคร
  2. ชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ เกิดการพูดคุยถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ มีการคิดวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งได้มีการเสนอแนะวิธีการในการขับเคลื่อนเพื่อรับมือถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ดังต่อไปนี้

2.1 ร่วมกันทำข้อมูลแหล่งอาหารทะเลเพิ่มขึ้นทั้งบนบกและทางทะเล โดยการจัดทำเป็นแผนที่แหล่งอาหารในทะเลและบนบก

2.2 การสื่อสารถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในพื้นที่ โดยมีการสื่อสารในรูปแบบนักข่าวพลเมือง และรายการแบบเอียดเอียด(http://youtu.be/UtcZdumuu1M)

2.3 การจัดเวทีรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 และการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมพัฒนาระบบฐานข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 4 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนออกแบบระบบฐานข้อมูลของแผนงานความมั่นคงทางอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล

  • ข้อเสนอการจัดทำฐานข้อมูล ควรเป็นข้อมูลที่ผลักนโยบายในพื้นที่ และเป็นข้อมูลรวมในภาพจังหวัดสงขลา

  • ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนเสนอให้มีการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ โดยเอาข้อมูลเดิม เกี่ยวกับพันธุ์ปลา ความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจเกี่ยวกับรายได้ในชุมชน,  ช่วงเวลาในการประกอบอาชีพประมง (ทิศทางลม, สีของน้ำ) เครื่องมือประมง โดยมีโจทย์คือทำอย่างไรข้อมูลที่มีอยู่แล้วมีความน่าถือ

  • เครื่องมือประเมินสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารด้านทรัพยากรทางทะเล(จะนะ)ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแผนที่ โดยมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางอาหารแก่เด็ก และเยาวชนผ่านกระบวนการละครสะท้อนปัญหาชุมชน การจัดอบรมให้กับคนในชุมชน

  • ตัวชี้วัด

1.ตัวชี้วัดทางตรง 2.ตัวชี้วัดทางอ้อม 3.ข้อมูลที่เก็บ รายได้ / ระยะทาง (การทำมาหากิน) 4.พืช / สัตว์ (แต่ละชนิด) 5.ระยะเวลา (เก็บข้อมูลย้อนหลังระยะเวลา5 ปี 10 ปี15 ปี 20 ปี  (ในแต่ละช่วงเวลา การเกิดวิกฤต มีนโยบาย หรือ การพัฒนา เกิดอะไรขึ้นและมีผลอย่างไรกับความมั่นคงทางอาหาร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน มิถุนายน 56 และวิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานดำเนินโครงการฯ ได้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน

มีข้อเสนอจากการประชุม ดังนี้ 1.กิจกรรมรวมรวบตำรับอาหารหรือการรวมรวบภูมิปัญญาท้องถิ่นของศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก หากจัดทำเป็นสารานุกรมได้ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างมากขึ้น 2.การพัฒนาตำรับอาหาร อยากให้มีการค้นคว้าเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เมนูอาหารเสริมไอโอดีน เพื่อนำเมนูอาหารเหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมด้านโภชนาการในระดับพื้นที่ 3.การเก็บข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร อยากให้เพิ่มการเข้าถึงอาหารของเด็กในมื้ออาหารแต่ละมื้อ  เช่น การได้รับผลไม้ โดยเก็บข้อมูลในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน 4.กิจกรรมอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ ได้กำหนดร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน ดังนี้ -ร้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ -ร้านอาหารมังสวิรัติ -ร้านอาหารแมคโครไบโอติก -ร้านอาหารชีวจิต -ร้านอาหารพื้นบ้านภาคใต้ ร้านขนมพื้นบ้านภาคใต้ -ร้านขนมจีน -ร้านสลัดผัก ส้มตำและยำผักพื้นบ้านต่างๆ -ร้านก๋วยเต๋ยวน้า,เย็นตาโฟ,ผัดไทย,ก๋วยจั๋บ,ราดหน้า -ร้านข้าวแดงแกงร้อน -ร้านโจ๊กเพื่อสุขภาพ -ร้านข้าวยำ เต้าคั่ว -ร้านจำหน่าย ผักผลไม้ปลอดสารพิษ -ร้านธัญพืชเพื่อสุขภาพ -ร้านนำคลอโรฟิลด์ เครื่องดื่มสมุนไพร และนำผักพื้นบ้าน -ร้านภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ -ร้านชีวิตพอเพียง จำหน่ายและสาธิตการทำยาสีฟัน สบู่ แชมพู นำยาล้างจาน, น้ำยาซักผ้า,ครีมนวด,น้ำยาปรับผ้านุ่ม, -ร้านจำหน่ายผักพื้นบ้าน และต้นผักพื้นบ้าน -ร้านจำหน่ายหัตกรรมพื้นบ้าน -ร้านจำหน่ายหนังสือ -ร้านจำหน่ายวัสดุในการปลูกผักไร้สารพิษ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง น้ำส้มควันไม้ 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำข้อมูล

วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมทำความเข้าใจ และร่วมตั้งประเด็นในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชุมชน จำนวน 20 คน
  2. ออกแบบเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากร
  1. มีการวางแผนการดำเนินงาน และเริ่มมีการเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งทะเล โดยมีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลตามลำดับดังนี้ดังนี้

- บ้านสวนกง ต.นาทับ - บ้านนาเสมียน ต.นาทับ - บ้านในไร่ ต.ตลิ่งชัน - บ้านตลิ่งชัน ต.ตลิ่งชัน - บ้านบ่อโชน ต.สะกอม - บ้านปากบาง ต.สะกอม
2. สร้างเครื่องมือในการจัดทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งทะเลจะนะ (ตามไฟล์เอกสารแนบ)

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา เนื่องจากสถานที่ในการจัดประชุมอยู่ในพื้นที่ต.บ้านนา ทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถเข้ามาประชุมได้
แนวทางการแก้ไข จัดประชุมในชุมชนที่แต่ละหมู่บ้านสะดวกในการเดินทาง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 11 เครือข่ายเข้าร่วมประชุมกรรมการบริหาร
  2. เกิดการกำหนดแนวทางการทำงานบูรณาการอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนได้มีการนำเสนองานในพื้นที่โดยมีแผนงานหลัก 3 แผนงานด้วยกันคือ 1. การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดทำชุดข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ผลิตอาหารทะเลจะนะ ซึ่งออกมาในรูปแบบของหนังสือทะเลคือชีวิต 2 ซึ่งกระบวนการจัดทำข้อมูลหลังจากนี้ก็จะเป็นการต่อยอดจากข้อมูลที่มีอยู่ และจัดเก็บข้อมูลในส่วนของพื้นที่บนบกเพิ่ม

  1. ปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล โดยจะมีกิจกรรมในส่วนของการอนุรักษ์ของเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะเป็นหลัก และมีในส่วนของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่โดยกระบวนการละคร นิทาน

  2. การผลักดันมาตรการของชุมชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งอาหารทางทะเล โดยจะเริ่มจากกระบวนการเรียนรู้ดูงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเห็นมุมมองในการขับเคลื่อนมากขึ้น

ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์ดำเนินงาน ดังนี้

กรรมการมีความเห็นว่าควรชูประเด็นให้จะนะเป็นแหล่งทรัพยากรอาหารทางทะเลที่มีความสำคัญต่อพื้นที่อาหารของจังหวัดสงขลา โดยจะต้องทำข้อมูลทางทะเล ข้อมูลที่จัดเก็บเช่น ชนิดของสัตว์น้ำจากอดีตและปัจจุบัน ชนิดใดที่ใกล้สูญพันธ์ และจำเป็นจะต้องอนุรักษ์ ปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้ และมีการส่งขายที่ไหน ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลแล้วก็ควรกำหนดเป้าหมายที่จะฟื้นฟูสัตว์น้ำ ส่วนการผลักดันมาตรการควรจัดทำในระดับท้องถิ่น เช่น มีข้อตกลงในการห้ามใช้พื้นที่แหล่งผลิตอาหารไปพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งสำคัญที่สุดคือกระบวนการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจของชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56

วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 6 เครือข่ายเข้าร่วมประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  2. เกิดการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์เครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค

เครือข่ายจำนวน 6 พื้นที่ได้รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมของแผนงานประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติตำบลบ้านนา , การวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายฯ.ทักษิณ ,อบต.ควนรู,การติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคฯ,และการวิจัยเรื่องอาหารเป็นยาสมุนไพร ความก้าวหน้าการดำเนินงาน มีดังนี้ 1. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ มีความก้าวหน้าการดำเนิน ได้แก่ การทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลจะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ชายหาด ป่าสันทราย มีการขับเคลื่อนการจัดทำผังเมือง โดยมีการกำหนดพื้นที่นาข้าว การเลี้ยงนกเขาชวา จะดำเนินการจัดทำแผนที่ทางทะเล ดำเนินกิจกรรมร่วมกับเยาวชนในพื้นที่ในเรื่องค่ายความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพ จะดำเนินการประสานหน่วยงานภาครัฐทำกิจกรรมปะการังเทียมและร่วมกับชุมชนในการทำซังเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลา 2. กิจกรรมอาหารเป็นยาสมุนไพร ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มหมอพื้นบ้าน กลุ่มสมุนไพร ปราญชชาวบ้านที่สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ใน5 พื้นที่จังหวัดสงขลาได้แก่ ตำบลชะแล้ ,ตำบลควนรู,ตำบลท่าข้าม,ตำบลสิงหนคร เกิดการสังเคราะห์ข้อมูลอาหารที่จะใช้เป็นยา วิเคราะห์ข้อมูลสมุนไพรที่มาใช้ทำอาหาร 3. ตำบลควนรู จะดำเนินกิจกรรมในเรื่องธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งมีแนวคิดว่าธนาคารเมล็ดพันธํต้องอยู่ที่ชุมชน ไม่ใช่การรวมรวบไว้ที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นต้องมีการจัดการใน 4 ระดับ ดังนี้ 3.1. ระดับครัวเรือน โดยจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพืชท้องถิ่นที่มีการปลูกในระดับครัวเรือน วิธีการเก็บอนุรักษ์พันธุ์พืช การขยายพันธุ์ ซึ่งประเด็นนี้ครัวเรือนจะได้เห็นความสำคัญของพืชท้องถิ่นและทำให้ครัวเรือนเกิดความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น 3.2. ระดับชุมชน แนวคิดนี้เพื่ออนุรักษ์ขยายพันธุ์ในระดับชุมชน การจัดการพื้นที่รวมด้านพืชสมุนไพร การสร้างกิจกรรมรวมใจเพื่ออนุรักษ์พันธ์พืช เช่น การทำขวัญข้าว อาจสร้างกิจกรรมนี้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืช 3.3. การจัดทำนโยบาย ต้องทำให้ธนาคารเมล็ดพันธู์พืชเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานด้านการจัดการพันธุ์พืช เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กระทรวงเกษตร และศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว ซึ่้งการประสานเน้นการสนับสนุนทางพันธุ์พืช หรือด้านวิชาการ 3.4. ทำกิจกรรมรณรงค์ โดยการชูประเด็นเรื่องพืชที่สำคัญของท้องถิ่น เพื่อสร้างเป็นแนวคิดร่วมกันในการอนุรักษ์ ตัวอย่างเช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดกิจกรรมอุทยานกล้วย หรืออาจจะต้องเชื่อมโยงกับภาคเอกชนที่ได้มีการอนุกรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช เพื่อให้เกิดการขยายความร่วมมือในการร่วมกันอนุกรักษ์พันธุ์พืชร่วมกัน 4. การติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคฯ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแล้วในพื้นที่ตำบลควนเนียง ,ตำบลท่าหิน,ตำบลชะแล้และตำบลควนรู 5. ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ได้ออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาเกี่ยวกับการผสมเครื่องแกงชนิดต่างๆในแต่พื้นที่ของคาบสมุทรสทิงพระ พื้นที่ที่ดำเนินการศึกษาได้แก่ตำบลตะเครียะ  ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ ตำบลปากรอ ตำบลรำแดง ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลมาจะดำเนินการประชุมนำเสนอผลการศึกษาซึ่งอาจเป็นเวทีร่วมกันกับกิจกรรมอาหารเป็นยาสมุนไพร 6. งานวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายฯ ม.ทักษิณ ได้กำหนดประเด็นในศึกษาสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ในบริบท เขา ป่า นา เล โดยมีพื้นที่การศึกษา ได้แก่ ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิและอำเภอสะบ้าย้อย โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของผลไม้ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอควนเนียง เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าว พื้นที่ปลูกข้าว ตำบลท่าหิน ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลชิงโค เก็บข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบ อำเภอจะนะ ตำบลสะกอม เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชายฝั่งทะเล และศึกษาผลกระทบของระบบเกษตรพันธะสัญญาระบบการเลี้ยงหมู และเลี้ยงไก่ 7. อุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ การดำเนินกิจกรรมของอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ เครือข่ายได้ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยยกกรณีตัวอย่างการจัดกิจกรรมวิถีโหนด นา เลซึ่งมีชุมชนจำนวน 20 ชุมชนเป็นเครือข่ายในการออกร้านจัดแสดงผลิตภัณฑ์และสาธิตวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งจัดมารวม 3 ปี ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคจำนวนมาก  ดังนั้นการสื่อสารกิจกรรมจะต้องทำให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าเป็นของดีของสงขลา สำหรับสินค้าที่แต่ละเครือข่ายมีอยู่และสามารถนำมาขายในอุทยานอาหาร มี ดังนี้ 1. ตำบลจะนะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมมาตรการความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 14 สิงหาคม 2556 เวลา 13:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ระดมความเห็นเกี่ยวกับมาตรการที่จะอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทางทะเล กับแกนนำเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ แกนนำเครือข่ายนา และเจ้าหน้าที่ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติจะนะ จำนวน 5 คน

จากการระดมความคิดเห็นกับแกนนำ แกนนำได้สะท้อนความคิดว่า อยากให้ทะเลจะนะเป็นแหล่งอาหารของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะทะเลในพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สัตว์ทะเลที่ชาวประมงจับได้มีหลากหลายชนิด และมีปริมาณเพียงพอในการขายสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อรัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ ทำให้แกนนำรู้สึกเป็นกังวลกับทิศทางการพัฒนา เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออาชีพความประมงพื้นบ้าน ความไม่ปลอดภัยในแหล่งอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการปรับพื้นที่ให้เป็นเขตอุตสาหกรรม แม้เครือข่ายจะมีการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์ทะเล เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปสื่อสารกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเห็นกระทบที่อาจจะเกิดการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรม แต่ชุมชนก็ยังไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางแกนนำจึงพยายามผลักดันกิจจกรมหลายอย่างเพื่อจะสร้างความตระหนักให้กับชุมชน โดยร่วมกับจังหวัด กรมทรัพยากรทางทะเล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ร่วมกันลงนามในปฏิญญาจะนะ โดยมีแนวทางว่า ให่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนชุมชนเพื่อการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล โดยการดำเนินการทำความสะอาดปะการัง การสร้างปะการัง สำหรับข้อเสนอที่พื้นที่ต้องการมีนโยบายคุ้มครองพื้นที่ ซึ่งมาตรการที่เกิดขึ้นอาจจะต้องเกิดใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด ดังนั้นเพื่อการเกิดการร่วมกันคิดหามาตรการ จึงเกิดแนวทางการทบทวนเอกสาร โดยจะต้องทบทวนเอกสาร พรบ.การจัดการพื้นที่ มิติสมัชชาชาติเรื่องแผนพัฒนาพัฒนาภาคใต้ (ท่าศาลา) ปฎิญญาจะนะ เพื่อประกอบการจัดทำร่างนโยบายเสนอจังหวัด

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเล

วันที่ 16 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานของเครือข่ายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลจะนะ
  2. เรียนรู้ข้อมูลศักยภาพและภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอจะนะ จำนวน 30 คน

วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไป

  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศักยภาพทั้งหมดของพื้นที่ อ.จะนะ ทั้งพื้นที่ทำนา การเลี้ยงนกเขา การทำสวนยางพารา และการทำการประมง ทำให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และศักยภาพของพื้นที่อำเภอจะนะ

  • คิดวิเคราะห์บทเรียนการพัฒนาของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐเข้ามาในพื้นที่อย่างเช่นโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าจะนะ ซึ่งส่งผลทำให้ต่อความมั่นคงทางอาหารโดยเฉพาะพื้นที่นาที่ลดน้อยลง


    แผนการขับเคลื่อนงานเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเล

  • ทางเครือข่ายฯเสนอการดูงานการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาเรียนรู้กระบวนการผลักดัน และจัดทำข้อบัญัติท้องถิ่นเพื่อเป็นมาตรการในการจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นร่วมกัน จึงได้มีกำหนดการดูงานไว้เป็นช่วงปลายเดือนกันยายน หลังจากการดูงานก็จะมีการขับเคลื่อน ทำความเข้าใจคนในพื้นที่ในการทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อไป

  • มีการเสนอการจัดทำปะการังร่วมกันศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสงขลา เพื่อเพิ่มแหล่งที่อยู่ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนในทะเล ส่วนใหญ่มองว่าจะต้องมีการจัดปะการังเทียมในช่วงหลังมรสุมหรือประมาณ เดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ปี 2557

  • มีการเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรที่ชัดเจนโดยใช้ในนามของสมาคม เพื่อให้การขับเคลื่อนของเครือข่ายมีองค์กรที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสมาชิกจะต้องช่วยกันหาข้อมูลและศึกษาการจัดตั้งสมาคมต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ปฏิบัติการเก็บข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหาร

วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 15:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่แหล่งผลิตอาหารในพื้นที่บ้านสวนกง

ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งบ้านสวนกงดังนี้ นอกจากการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย บ้านสวนกงยังมีพื้นที่ที่คนในชุมชนให้เป็นแหล่งทำกินดังนี้

  1. การปลูกพืชไร่เช่นมันสำปะหรัง แตงโม ซึ่งจะปลูกสลับกันไปตามช่วงฤดูกาล

  2. การปลูกผักสวนครัว และพืชสมุนไพรซึ่งมีทั้งที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ

  3. การหาน้ำผึ้งในบริเวณป่าที่คนในชุมชนปลูก ป่าสน และป่าสันทรายชายหาด ซึ่งจะหาได้ตลอดทั้งปี

  4. การหาเห็ดเหม็ดในพื้นที่ป่าสนและป่ากระถิน ซึ่งจะหาได้หลังจากที่มีฝนตกตลอดทั้งปี นอกจากการหามาเพื่อเป็นอาหารในครอบครัวแล้วยังมีการหาเพื่อขายเป็นรายได้ได้อีก รายได้จากหาเห็ดเหม็ดต่อคนต่อปีประมาณ 20,000-30,000 บาท

การปลูกไม้ยืนต้นซึ่งมีพันธุ์ไม้ดังต่อไปนี้

-  กระถิน

-  เสม็ดแดง

-  เสม็ดขาว

-  ตะเคียน

-  ต้นตำเสา

-  ยางนา

-  ปาล์มน้ำมัน

-  มะพร้าว


ซึ่งมีการทำประโยชน์ดังนี้

  • นำไม้มาปลูกสร้างบ้าน

  • นำมาขายเพื่อสร้างรายได้

  • นำมาทำเรือ

  • นำมาทำรั้ว

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ช่อง 11 ลงพื้นที่สัมภาษณ์ความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 27 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

สื่อสารข้อมูลเรื่องความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ

  • เกิดการสื่อสารข้อมูลสู่สาธารณะในเรื่องราวของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะที่ชุมชนได้มีการฟื้นฟูจนมีความอุดมสมบูรณ์อย่างเช่นทุกวันนี้ ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ที่สำคัญคือโลมา และเต่า เพราะสัตว์สองชนิดนี้จะอาศัยในแหล่งที่มีสัตว์หลายหลากชนิด จากการรวบรวมข้อมูลความมั่นคงที่ผ่านมาทำให้เห็นถึงวงจรเศรษฐกิจสัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน มีทั้งการขายในตลาดท้องถิ่นทั่วจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงอีกหลายจังหวัด รวมทั้งการส่งออกสู่ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งทำให้ข้อมูลเหล่านี้ออกสู่สาธารณะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  • การทำงานร่วมกับสจรส.เป็นการทำงานในระยะเริ่มต้นและต่อยอดจากสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ เมื่อมีการถามว่าสจรส.มีการหนุนช่วยอะไรชุมชนได้บ้างแกนนำไม่สามารถตอบได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • อยากให้สจรส.มีบทบาทในการหนุนช่วยชุมชนให้มากกว่านี้ มิใช่แค่ทำให้สื่อสาธารณะรู้ว่ามีบทบาทแต่เมื่อถามคนในพื้นที่คนในพื้นที่ไม่ทราบ เพราะสจรส.ไม่ได้มีบทบาทเข้ามาหนุนช่วยชุมชนอย่างมีรูปธรรมนอกเหนือจากการให้งบประมาณโครงการเพียงอย่างเดียว

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ปฏิบัติการเก็บข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหาร

วันที่ 1 กันยายน 2556 เวลา 15:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นสำรวจและเก็บข้อมูลการประโยชน์ของพันธุ์ไม้บ้านสวนกง

  • มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยการลงสำรวจพื้นที่ที่มีการปลูกต้นไม้รวมทั้งการอธิบายประโยช์ของต้นไม้แต่ละชนิด

  • เด็กในชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ถึงประโยชน์ของต้นไม้ที่คนในชุมชนได้ปลูกไว้ รวมถึงพืชสมุนไพรที่มีในชุมชนที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ

วันที่ 4 กันยายน 2556 เวลา 14:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมทำความเข้าใจในการร่างข้อเสนอ

  2. ร่างข้อเสนอมาตรการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล

  3. ปรึกษาหารือในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร และการดูงานข้อบัญญัติท้องถิ่นอ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล ตามที่ได้มีการขับเคลื่อนของชุมชนเริ่มจากการจัดทำข้อมูลทรัพยากรทางทะเล ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ ช่วงฤดูกาล รายได้ วงจรเศรษฐกิจที่สำคัญทำให้เห็นถึงคุณค่าและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะ จึงได้มีการประกาศปฏิญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะ(ตามเอกสารแนบ)

  • การร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเลจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่อไปได้ ซึ่งเราจะต้องยื่นข้อเสนอนี้ให้กับผู้ว่าราชการเป็นผู้ประกาศตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

  • เครือข่ายร่างข้อเสนอระดับพื้นที่(ตามเอกสารแนบ)

  • มีการรายงานความคืบหน้าในการเตรียมดูงานข้อบัญญัติท้องกิ่น อ.ท่าศาลา ในวันที่ 27-28 กันยายน 2556 โดยกำหนดผู้เข้าร่วมไว้จำนวน 40 คน โดยจะมีการพักค้างคืน 1 คืน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  • การร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล ไม่ใช่แค่อาศัยประสบการณ์หรือรูปธรรมเพียงอย่างเดียวแต่จะต้องมีการศึกษาทางด้านกฏหมายที่มีมาตรต่างๆรองรับ ดังนั้นจึงควรมีนักวิชาการผู้มีความรู้ด้านนี้แนะนำ เติมเต็มข้อมูลให้แก่ชุมชน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • ต้องการให้มีนักวิชาการด้านกฏหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลมาให้ความรู้ต่อชุมชนเพิ่มเติม

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ร่างข้อเสนอมาตรการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทะเลจะนะ

วันที่ 9 กันยายน 2556 เวลา 09:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • ดูข้อเสนอที่เครือข่ายร่างไว้
  • ติดตามงานโครงการ
  • เกิดการติดตามงานในพื้นที่
  • เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานร่วมกัน
  • ข้อเสนอที่เครือข่ายร่างไว้ไม่ได้นำมาพัฒนาให้เป็นข้อเสนอที่สมบูรณ์ที่สามารถนำมาใช้งานต่อได้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  • เกิดความเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ทางเครือข่ายมุ่งหวังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการร่างข้อเสนอมาตรการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทะเลจะนะ แต่ทางทีมประสานงานกลาง(สจรส.)มาตามงานในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของคนทำงานพื้นที่ในการทำงานเครือข่ายต่อไป
  • ผู้ที่เข้าร่วมร่างข้อเสนอให้เครือข่ายควรมีความรู้ในการร่างข้อเสนอให้มากกว่านี้ และควรจัดหานักกฏหมายที่มีความรู้เรื่องการประมงมาหนุนช่วยเครือข่าย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • ทีมงานกลางควรมีการเตรียมและหาข้อมูลเพื่อมาอธิบายให้แก่เครือข่ายมิใช่ให้ข้อมูลแล้วจี้ให้คนทำงานอ่านเพียงอย่างเดียว แต่ทีมงานไม่สามารถอธิบายให้เครือข่ายเข้าใจได้

  • ควรจัดหานักกฏหมายที่มีความรู้เรื่องการประมงมาหนุนช่วยเครือข่าย

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เข้าร่วมประชุมติดตามแผนการทำงานร่วมกับ สจรส.

วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 15:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  1. การติดตามรายงานการดำเนินงานพื้นที่และรายงานการเงิน

  2. พูดคุยการหนุนช่วยงานเครือข่าย

เกิดการติดตามรายงานการดำเนินงานและรายงานการเงิน


ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-  การลงรายงานในเว็บไซต์ล่าช้า เนื่องจากไม่เข้าใจ
- รายงานการเงินยังไม่ได้ลง เนื่องจากไม่เข้าใจโดยเฉพาะงานที่ประชุมกับส่วนกลางที่ต้องเบิกเงินในกิจกรรมพื้นที่

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • การติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ออกรายการวิทยุ

วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 11:30

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  พูดคุยสื่อสารเรื่องราวความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ ในเรื่องของการทำข้อมูลแหล่งอาหารของชุมชน รูปแบบของการสื่อสารข้อมูลหลังจากการจัดทำข้อมูลทั้งการสื่อสารในชุมชน และการสื่อสารภายนอก วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูล แนวคิดของคนที่ลุกขึ้นมาทำข้อมูลในพื้นที่

ทำให้สังคมสาธารณะได้รู้ถึงข้อมูลพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ดูงานพื้นที่ท่าศาลา

วันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  พูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการของภาคประชาชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นร่วมกันองค์การบริหารส่วนตำบล

  • เรียนรู้ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการและปัญหา อุปสรรคในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น
  • เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการของภาคประชาชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นร่วมกันองค์การบริหารส่วนตำบล

  • เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล

  • เกิดเรียนรู้ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการและปัญหา อุปสรรคในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น (ตามเอกสารแนบ)

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ค่ายนิทานเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 18 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

แผนงานการสื่อสารร่วมกับ แผนงานความมั่นคงทางอาหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน อ.จะนะ  จัดกิจกรรมค่ายนิทานอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคุณครูในพื้นที่อ.จะนะ ในการประยุกต์ใชนิทานเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรการอนุรักษ์ทรัพยากรและรักษาพื้นที่ทางอาหารให้กับเด็กๆและเยาวชนในพื้นที่ อ.จะนะ และ อ.ใกล้เคียง

  1. มีการบูรณาการ และร่วมกันวางแผนระหว่างแผนสื่อและศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตลอดการเตรียมงานตั้งแต่เริ่มต้นคิดที่จะทำค่ายนิทาน การเตรียมวิทยากร การประชุมกับโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ การวางรูปแบบค่าย การประสานงานงานพื้นที่  การติดต่อสถานที่ จนถึงวันอบรม และการแสดงconcertนิทาน และวางแผนร่วมกันต่อไปที่จะพัฒนานิทานของคุณครูเพื่อที่จะจัดทำเป็นหนังสือนิทาน และCD นิทานที่จะส่งไปยังโรงเรียนต่างๆในพื้นที่เพื่อให้เด็กๆทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่
  2. คุณครูตระหนักและเห็นความสำคัญของพื้นที่ทางอาหารและทรัพยากรที่มีอยู่ และพร้อมที่จะร่วมกันดูแลพื้นที่เพื่อส่งต่อให้กับอนาคตของสังคมต่อไป  รวมทั้งเข้าใจปัญหาของพื้นที่และตั้งใจที่จะหาทางออกร่วมกับชุมชน โดยจะใช้กระบวนการนิทานเป็นเครื่องมือ ซึ่งผลจากการอบรมคุณครูมีแนวคิดที่จะจัดทำหลักสูตรร่วมกันโดยจะเตรียมจัดทำสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อนิทานเสียง นิทานภาพ และนิทานหุ่นเงา
  3. การแสดงconcertนิทาน เด็กๆในพื้นที่สนใจกันมาก และให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรม  และต้องการให้เกิดพื้นที่นิทานใน อ.จะนะเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับทั้งเด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ใหญ่ในชุมชน ให้ร่วมกันรักและหวงแหนพื้นที่ของตนเอง
  4. จะมีการวางแผนร่วมระหว่าง คนในชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนเพื่อสร้างพื้นที่นิทานใน อ.จะนะ
  5. การเสนอเพื่อให้มีค่ายอบรมนิทานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา จำนวนคุณครูในพื้นที่ที่สมัครเข้าร่วมอบรมในรอบแรกเกินกว่าจำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 40 คน จึงได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นตามจำนวนคุณครูที่สมัคร คือ 55 คน ทำให้คุณครูในพื้นที่อื่นๆ เช่น หาดใหญ่ อ.เมือง หรือผู้ปกครองจากพื้นที่หาดใหญ่ไม่สามารถเข้าร่วมได้ แต่ในวันอบรมจริง คุณครูที่สมัครไว้ทั้งสิ้น 55 คน มาเพียง 35 คน  ทำให้คุณครูและผู้ปกครองที่สนใจในเมืองหรือในพื้นที่อื่น ขาดโอกาสในการเข้าร่วมอบรม แนวทางแก้ไข คุณครูที่เข้าร่วมในครั้งนี้เสนอว่า ถ้าหากการอบรมในครั้งต่อไปยินดีที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมอบรมด้วย เพราะเป็นการอบรมที่มีคุณค่ามาก และเสียดายที่ครูจากที่อื่นไม่มีโอกาส ดังนั้น จึงควรให้มีการเก็บค่าใช้จ่าย หรือควรต้องมีการวางมัดจำ เพื่อจะได้จำนวนตัวเลขที่ชัดเจน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ

วันที่ 29 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • แลกเปลี่ยนเรียน และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

  • มีการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นคร สตูล กระบี่และสงขลา

นครศรีธรรมราช : มีประมาณ 22โครงการขนาดใหญ่ ที่เป็นอยุ่คือ เชฟรอน โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่อำเภอท่าศาลาและอำเภอหัวไทรที่อำเภอหัวไทรจะมี2 โรง คนละตำบล ส่วนท่าศาลาในส่วนของภาคประชาชนได้ติดตาม และโต้ตอบเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ๆไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง ส่วนชาวประมงในพื้นที่ พยายามเก็บข้อมูลให้หน่วยงานที่เข้ามาช่วยชุมชน เกี่ยวกับวิถีชีวิต มูลค่าทางเศรษฐกิจ เส้นทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงไปไหน อย่างไร แต่ก็ยังมีบางหน่วยงานบอกว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่เป็นวิชาการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชาวบ้านทำกันจริง ทำกันแบบชาวบ้าน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ชัดเจน และชาวบ้านลุกขึ้นมาปกป้องบ้านตัวเอง บอกกล่าวสิ่งดีที่ตัวเองมี ให้คนภายนอกได้รู้ว่าอ่าวท่าศาลา อ่าวไทย ยังมีสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนของหัวไทร ก็พยายามรวบรวมข้อมูลการประกอบอาชีพขึ้นมา เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังจะขึ้น และหน่วยงานของโรงไฟฟ้าไม่เคยลงมาให้ข้อมูลหรือสอบถามชาวบ้านว่าคิดอย่างไร ทั้งที่หัวไทรและท่าศาลา สุดท้ายชาวบ้านก็ทำข้อมูลตอบโต้

สงขลา : ภาคใต้โดนชะตากรรมเดียวกันอย่างสงขลา  ที่สทิงพระเละหมดแล้ว มีคนบอกว่าเก็บที่ๆสวนกงไว้บ้างเค้าจะได้มาหากิน สวนกงตอนนี้สมบูรณ์มาก ดูจากเรือที่เข้ามาหากิน พื้นที่สงขลาตอนนี้ ที่หลักๆคือท่าเรือน้ำลึก ทางโครงการพยายามเข้ามารับฟังความคิดเห็น และทำEIA ใหม่ ถ้ามองพื้นที่จะนะทั้งหมด ก็มีเรื่องของการขุดคลอง โดยขุดเป็นช่วงๆเพราะบางพื้นที่ก็ยังไม่ให้ขุด โรงไฟฟ้า โรง2 ใกล้จะเสร็จ และล่าสุดเริ่มมีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงที่ 3 และโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งที่กำลังก่อสร้างและกำลังหาพื้นที่เพิ่ม มอร์เตอร์เวย์จะนะ-ด่านประกอบ เริ่มมีการรับฟังความคิดเห็น ส่วนโรงแยก ชาวบ้านเริ่มได้รับผลกระทบแล้ว ในส่วนของพื้นที่คลังน้ำมันที่สิงหนครอีก1หมื่นไร่

สตูล : พื้นที่โซนอันดามันตอนใต้ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ทางทะเล คืออุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่เดียวทางทะเลทั่วประเทศไทย ที่สามารถจัดตั้งและประกาศเป็นเขตมรดกโลกได้ เนื่องจากความใหญ่ของตะรุเตามีความหลากหลายของหมู่เกาะที่มากมายถึง50กว่าเกาะและโซนออกเป็น2กลุ่ม โดยเฉพาะตัวเกาะตะรุเตาเท่ากับตัวอ.เกาะลันตา โซนที่2 มันเป็นโซนที่ยื่นออกกไปในหมู่เกาะสุดท้ายของไทยในอันดามันที่อยู่ในเขตน่านน้ำคือหมู่เกาะอาดังระวี หลีเป๊ะ ซึ่งเป็นโซนดำน้ำที่มีศักยภาพระบบนิเวศที่สูงมาก ตอนล่างของทะเลมีแนวปะการังมหาศาลเหมือนที่นักวิจัยบอกว่าให้รวมปะการังอ่อนทุกชนิด ปะการังเจ็ดสีทั่วประเทศก็ยังไม่เท่ากับที่หมู่เกาะตะรุเตามี ร่อนขึ้นมาจากหมู่เกาะตะรุเตา จะมาพบทางชายแดนมาเลเซียจะมีอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด ฉะนั้นสตูลจะมี 3 อุทยานกับอีก1เขต ความเป็นสตูลตรงนี้จึงเป็นความโดดเด่นทางเอกลักษณ์ของสตูลเอง เรื่องที่เป็นโจทย์ใหญ่ที่สุดคือประเทศไทยเราหาที่ทรัพยากรที่สมบูรณ์ที่สุดแล้วมาประกาศเป็นเขตอุทยาน เขตอนุรักษ์ไม่มีแล้ว  อย่าว่าแต่เขตอนุรักษ์เลยเขตที่ทำกินของประชาชนก็ยังไม่มี เรื่องที่สำคัญคือโจทย์ของมันในอดีตได้มีการวางผังจากสงขลาไปสตูล แรกๆชาวบ้านปากบาราก็หาอยู่หากินตามปกติ มาสังเกตในช่วงก่อนว่าทำไมตอนนั้นได้ประกาศอนุมัติมาสร้างท่าเรือ ในตอนแรกเป็นท่าเรือท่องเที่ยว 375 ล้าน ใหญ่รองลงมาจากท่าเรือของภูเก็ต ชาวบ้านเลยดีใจว่าได้ท่าเรือท่องเที่ยว เป็นที่เชิดหน้าชูตา

  • เกิดการกำหนดภารกิจร่วมกัน โดยมี 3 ระดับคือ 1.บ้านใครคนนั้นต้องรักษา 2.ภาคใต้ทั้งภาคต้องช่วยกัน 3.จำเป็นต้องขยับเนื่องจากภาคใต้เป็นพื้นที่ผลิตทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดทั้งที่เป็นพื้นที่เล็กสุดของประเทศ ซึ่งคนที่ต้องรักษาพื้นที่ทางการเกษตรคือคนที่อยู่ในเมือง ที่ไม่สามารถทำการผลิตอาหารได้ จริงๆต้องมาช่วยกันรักษาพื้นที่แหล่งผลิตอาหารเนื่องจากเขาต้องได้รับผลกระทบโดยตรง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

กิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การติดป้ายปฎิญญาที่ได้มีการลงนามร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นส่วนจังหวัด โรงพยาบาล ประมงอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และภาคประชาชนในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ต.ตลิ่งชัน ต.สะกอม และต.นาทับ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง

  • เกิดการสื่อสารในการอนุรักษ์ทะเล ร่วมกัน ทำให้คนในพื้นที่เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ที่สำคัญ
  • เกิดความร่วมมือของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทะเล
  • ประชาชนในพื้นที่เกิดความเข้าใจ มีความตื่นตัว และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทะเลมากขึ้น

วิดีโอ :  http://www.youtube.com/watch?v=b6ehng3Wbis&feature=share&list=UUV7oCUvzJ1B7MgOD36G1KBA

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ลมแรงทำให้การติดป้ายไม่สะดวกเท่าที่ควร

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดตั้งสมาคมรักษ์ทะเลจะนะ

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • ร่วมกันจัดทำข้อบังคับ แนวทางการดำเนินงาน และจัดตั้งคณะกรรมการสมาคมรักษ์ทะเลจะนะ เพื่อยื่นขอจดทะเบียนสมาคม
  • จัดทำข้อบังคับของสมาคม โดยมีสาระสำคัญดังนี้

สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 76/5 หมู่ที่ 11 ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา

วัตถุประสงค์ของสมาคมดังนี้

๑. เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ และภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทะเลจะนะ

๒.  เพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมปลูกจิตสำนึก และตระหนักในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนร่วมกัน

๓.  ไม่จัดตั้งและดำเนินการอันเกี่ยวกับโต๊ะบิลเลียดและสนุ๊กเกอร์
  • มีจัดตั้งคณะกรรมการสมาคมประกอบด้วย

๑.นายกสมาคม  ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ  และการประชุมใหญ่ของสมาคม

๒. อุปนายก  ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฏิบัติตามหน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่  หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคม ให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำการแทน

๓. เลขานุการ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมดเป็นหัวหน้า เจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคมและปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคม ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

๔. เหรัญญิก  มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชี  รายรับ รายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ

๕. ปฏิคม มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

๖. นายทะเบียน  มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก

๗. ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการ และชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิก  และ บุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

๘. กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ  ตามความเหมาะสม  ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นโดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง

  • อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

๑. มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

๒. มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม

๓. มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการ จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

๔. มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

๕. มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

๖. มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม  เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ  ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

๗. มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

๘. มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญจำนวน ๑ ใน ๕ ของสมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ วิสามัญขึ้นภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

๙. มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้ เมื่อสมาชิกร้องขอ

๑๐. จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ

๑๑. มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

พัฒนาเครื่องมือในการจัดทำข้อมูล

วันที่ 22 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

เรียนรู้และดำเนินการจัดทำแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งบ้านสวนกง

  • มีการเรียนรู้การทำแผนที่เดินดินอย่างง่าย การใช้สัญลักษณ์แทนการเขียน  โดยมีการลงความเห็นกันว่าแผนที่ทรัพยากรเป็นเครื่องมือที่จะชี้ให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของทรัพยากรและแหล่งอาหารมากที่สุด สามารถระบุจุดระบุตำแหน่งของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างละเอียด และเข้าใจงายกว่าเครื่องมืออื่น รวมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ประโยชน์ต่อได้ในอนาคตอีกด้วย ผลจากการทำแผนที่ยังส่งผลให้คนในพื้นที่เห็นภาพรวมของพื้นที่และศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
  • แผนที่การใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา โดยมีการระบุการใช้ประโยชน์พื้นที่นั้นๆ เช่นการปลูกยางพารา การปลูกไม้ยืนต้น การปลูกปาล์มน้ำมัน การปลูกแตงโม และมันสำปะหรังเป็นต้น
  • ทำให้เห็นภาพรวมของสภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านสวนกงได้ทั้งหมด

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมเชิงปฎิบัติการการจัดทำข้อมูลฐานททรัพยากร

วันที่ 21 มกราคม 2557 เวลา 12.00 น.

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

ประชุมเพื่อกำหนดทิศทาง และออกแบบเนยื้อหาในการจัดทำข้อมูลร่วมกัน

-เกิดการกำหนดทิศทางในการจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากร โดยแยกเป็นโซนพื้นที่ตามสภาพพื้นที่ได้แก่พื้นที่ประมง พื้นที่นา และพื้นที่การเลี้ยงนกเขา

-กำหนดทิศทางและเป้าหมายในการใช้ประโยชน์ข้อมูลฐานทรัพยากรร่วมกัน โดยการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายของพื้นที่คือการนำมาใช้เป็นข้อมูลในการขับเคลื่อนเรื่องผังเมืองจะนะ โดยการนำเสนอชุดข้อมูล

-เกิดการประสานงานของเครือข่ายที่หลากหลาย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น

-การเรียนรู้สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของโลก และประเทศไทย โดยนายประสิทธิชัย  หนูนวล เครือข่ายปกป้องแหล่งผลิตอาหารภาคใต้

-การเรียนรู้ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอจะนะและพื้นที่อื่นๆในจังหวัดสงขลาจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐ โดยนายสมบูรณ์ คำแหง เครือข่ายติดตามแผนพัฒนาภาคใต้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เวทีนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่

วันที่ 28 มกราคม 2557 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-เวทีเสาวนาศักยภาพพื้นที่จะนะโดยตัวแทนของแต่ละพื้นที่ พื้นที่นา ประมง ยางพารา และการเลี้ยงนกเขา

  • มีการเสวนาศักยภาพจะนะ ควน ป่า นา ทะเล และนกเขา โดยตัวแทนแต่ละพื้นที่ดังนี้ เธียรรัตน์ แก้วนะ นำเสนอความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่นา ต.ป่าชิง ที่มีการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องและมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่สืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จากการเก็บข้อมูลพื้นที่นาพบว่า ต.ป่าชิง มีการทำนาเพื่อใช้บริโภคในครัวรือนและนำไปขาย สร้างรายได้ปีละหลายล้านบาท นายดนรอนี  ระหมันยะ นำเสนอศักยภาพพื้นที่ทะเล จากการจัดทำข้อมูลพบว่าชายฝั่งทะเลจะนะ มีพันธู์สัตว์ที่หลากหลายและมีความอุดมสมบูณ์ ซึ่งจะเห็นได้จากโลมา และเต่า ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ที่สำคัญของพื้นที่ สามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของเรือโดยเฉลี่ยวันละ 1,000 บาท โดยมีการบริโภคในชุมชน  และส่งไปขายสู่ตลาดในจังหวัด จังหวัดใกล้เคียง และยังมีการส่งออกต่างประเทศ เช่นมาเลเซีย สิงคโปร์ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ปราโมทย์  อริยะณัฐวงศ์นำเสนอศักยภาพพื้นที่ปลูกยางพาราในอ.จะนะ พบว่าในแต่ละปีพื้นที่จะนะมีการทำสวนยางสร้างรายได้รวมกว่า1000 ล้านบาท

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งทะเลจะนะ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-รวบรวมข้อมูลการปลูกพืชอาหารริมชายฝั่งทะเลจะนะ

-รวบรวมข้อมูลการปลูกมันสำปะหรัง และแตงโม ได้แก่ข้อมูลช่วงเวลาในการปลูก ข้อมูลรายได้ ข้อมูลการกระจายสินค้า ซึ่งพบว่านอกจากการบริโภคภายในชุมชนแล้วยังมีการขายในตลาดท้องถิ่น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอย่างมากในแต่ละปี 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน(รร.สุทธิ์รักษ์)

วันที่ 3 มีนาคม 2557 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • การแสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เรื่องบ้าน
  • เด็กและเยาวชนเกิดกระบวนการเอรียนรู้ และตระหนักถึงการดูแล อนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น รวมทั้งเกิดการเรียนรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่เกิดขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน(รร.บ้านท่าคลอง)

วันที่ 4 มีนาคม 2557 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การแสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหาร โดยกลุ่มมะนาวหวาน

เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน(รร.ชุมชนวัดน้ำขาว)

วันที่ 5 มีนาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

การแสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหาร โดยกลุ่มมะนาวหวาน

เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน(วัดบ้านไร่)

วันที่ 6 มีนาคม 2557 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแก่เด็กและเยาวชน

การแสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหาร โดยกลุ่มมะนาวหวาน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน(วัดประจ่า)

วันที่ 7 มีนาคม 2557 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแก่เด็กและเยาวชน

การแสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหาร โดยกลุ่มมะนาวหวาน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ประชุมยุทธศาสตร์ทะเลจะนะเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 6 เมษายน 2557 เวลา 13:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • เรียนรู้วิกฤตความมั่นคงทางอาหารระดับโลกและระดับประเทศ

  • เรียนรู้บทเรียนการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหารอ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

  • เรียนรู้กระบวนการและขั้นตอนในการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพรบ.การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมปีพ.ศ.2535

  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นร่วมกันในการจัดทำยุทธศาสตร์ทะเลจะนะเพื่อความมั่นคงทางอาหาร

  • เครือข่ายเกิดกระบวนการเรียนรู้เรื่องวิกฤตความมั่นคงทางอาหารระดับโลกและระดับประเทศ บทเรียนการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงทางอาหารอ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และกระบวนการและขั้นตอนในการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพรบ.การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมปีพ.ศ.2535

  • เกิดแผนปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะระดับพื้นที่ 1.กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะ -  ทำซั้ง และปะการังเทียม -  ทำความสะอาดปะการังเทียม -    ธนาคารปู -    ปลูกป่าชายทะเล เช่น มะพร้าว ป่าสันทราย สวนสมุนไพรชายทะเล 2.ผลักดันสร้างมาตรการทางกฎหมาย

  • ข้อบัญญัติท้องถิ่น และพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อมปีพ.ศ.2535 (กำหนดเขตการออกเรือประมงให้ชัดเจน) -    การวางทุ่นแนวเขต -    ขยายเขตประมงพื้นบ้านเป็น 5,000 เมตร -    กำหนดเขตผังเมืองอำเภอจะนะให้ทะเลเป็นสีฟ้า ชายฝั่งเป็นสีเขียวการเกษตร 3.การพัฒนาศักยภาพของชุมชน -    จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อพึ่งตนเอง -    พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสร้างหลักสูตรท้องถิ่น -    ค่ายเยาวชนรักษ์ทะเล -    พัฒนากลุ่มอาชีพของชุมชน เช่น แปรรูปอาหารทะเล ตลาดชุมชน(ตลาดอาหารปลอดสารพิษ) -    ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เช่น หอคอยดูโลมา

ข้อเสนอเร่งดวน 1. เสนอให้มียุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดสงขลา
2. เสนอให้มีกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ชุมชน เอกชน และภาควิชาการ โดยอาจจัดตั้งเป็น “ศูนย์การจัดการความมั่นคงทางอาหาร” ขึ้นในระดับพื้นที่
3. ขอให้ผลักดันให้เกิดนโยบายความมั่นคงทางอาหารทั้งระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ เช่นการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น และการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาหาร หรือการจัด Zoning ความมั่นคงทางอาหาร
4. ในการจัดทำผังเมืองจังหวัดเสนอให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำผังเมืองทุกขั้นตอน


เกิดการจัดตั้งคณะทำงานยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

นางภารณี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระด้านผังเมือง

นางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ

นายกิตติภพ สุทธิสว่าง เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น

นายวรรณ ชาตรี ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4

นางสาวละออง ขวัญเพ็ชร ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดน้ำขาว

นายประสิทธิชัย หนูนวล เครือข่ายปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารภาคใต้

นางสาววรรณิศา จันทร์หอม ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

นายรุ่งเรือง ระหมันยะ  เครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ

นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ ทะเลไทย ที่ปรึกษา

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ค่ายเรียนรู้ทรัพยากรชุมชน

วันที่ 6 เมษายน 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • ค่ายเรียนรู้ชุมชน 3 วัน 2 คืน
  • เรียนรู้ความเป็นมาของชุมชน และการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรของคนในชุมชน
  • เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดของคนในชุมชน รวมทั้งวิถี๓ูมิปัญญาท้องถิ่น
  • การแสดงละครสะท้อนความมั่นคงทางอาหารของชุมชน หลังจากการเก็บข้อมูลของชุมชน
  • เด็ก และเยาวชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสถานการณ์ในชุมชนได้ รวมทั้งเกิดการถ่ายทอดข้อมูลผ่านละครหลังจากที่ตนได้เรียนรู้ เพื่อสะท้อนกลับไปยังชุมชน และถ่ายทอดข้อมูลสู่สาธารณะต่อไป
  • เกิดการมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ปฏิบัติการเก็บข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

วันที่ 10 เมษายน 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

  • เก็บข้อมูลพันธู์สัตว์น้ำ ช่วงเวลาในการจับสัตว์น้ำ รายได้จากการจับสัตว์น้ำในแต่ละช่วง
  • เก็บรวบรวมข้อมูลแพชุมชน
  • เกิดการเก็บรวบรวมข้อมูล
  • เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิต ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่
  • เก็บรวบรวข้อมูลอาหารพื้นบ้านชายฝั่งทะเลจะนะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เรียนรู้เครื่องมือในการจัดทำข้อมูล

วันที่ 25 เมษายน 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  เรียนรู้การจัดทำแผนที่เดินดิน แผนที่การใช้ทรัพยากรชายฝั่งทะเล และการจัดทำปฏิทินชุมชน

-  เรียนรู้วิกฤตความมั่นคงทางอาหารทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

-  การพูดคุย แลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกัน

-  เกิดการคิด วิเคราะห์ และวางแผนร่วมกันในการจัดทำข้อมูล และรวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนทะเล คนทำนา และคนทำสวนยาง

-  เกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำข้อมูลของชุมชนเพื่อชี้ให้เห็นศักยภาพที่แท้จริงของชุมชน

-  ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการคิด วางแผนและกำหนดอนาคตร่วมกัน รวมทั้งเกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนร่วมกัน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำสื่อรณรงค์ความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

วันที่ 26 เมษายน 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  ออกแบบและจัดพิมพ์ภาพไวนิลข้อมูลความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

-  จัดทำสื่อในรูปแบบไวนิลให้ข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานของเครือข่ายในการรณรงค์ให้ข้อมูลต่อไป -  เกิดการแสดงนิทรรศการข้อมูลตามที่ต่างๆ รวมทั้งเกิดการพูดคุยซักถามแลกเปลี่ยนและสื่อสาร ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลในรูปแบบออนไลน์

วันที่ 30 เมษายน 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  สรุปข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม นำข้อมูลลงเพจเพื่อสื่อสารพร้อมข้อมูล และสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

-  มีเพจในการสื่อสารเรื่องราวความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

-  เกิดการสื่อสารผ่านเพจ:ปกป้องแหล่งผลิตอาหารชายฝั่งทะเลจะนะอย่างต่อเนื่อง

-  สร้างความรู้ ความเข้าใจในการปกป้อง อนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ

-  เครือข่ายมีช่องทางในการสื่อสารมากขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำแนวปะการังเทียมจากวัสดุธรรมชาติ

วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  ทำซั้ง(ปะการัง) โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ

-  มีพื้นที่แหล่งเพาะพันธูื แหล่งอนุบาล และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลเพิ่มมากขึ้น

-  ชุมชนมีความตื่นตัวและเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ และดูแลทรัพยากรชายฝั่งทะเลมากขึ้น

-  เกิดการเชื่อมประสานกันระหว่างหน่วยงานราชการ(ทช.) และคนในชุมชนมากขึ้น ในการร่วมกันดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของหน่วยงานราชการและชุมชน

-  ทำให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้ร่วมกั

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ปฏิบัติการเก็บข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

วันที่ 4 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่ม

-  ออกแบบและแก้ไขเครื่องมือในการจัดทำข้อมูล

-  เกิดการคิดออกแบบแบบสำรวจการจับสัตว์น้ำบ้านปากบาง เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลการจับสัตว์น้ำรายวัน

-  มีการออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลร่วมกัน

-  เกิดการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้ของแต่ละเดือน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

ปฏิบัติการเก็บข้อมูลความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

วันที่ 15 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  จัดทำข้อมูลความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

-  เกิดชุดข้อมูลเรื่องความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลในรูปแบบออนไลน์

วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  สรุปข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม นำข้อมูลลงเพจเพื่อสื่อสารพร้อมข้อมูล และสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

-  มีเพจในการสื่อสารเรื่องราวความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

-  เกิดการสื่อสารผ่านเพจ:ปกป้องแหล่งผลิตอาหารชายฝั่งทะเลจะนะอย่างต่อเนื่อง

-  สร้างความรู้ ความเข้าใจในการปกป้อง อนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ

-  เครือข่ายมีช่องทางในการสื่อสารมากขึ้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

เวทีวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรทางทะเล

วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

-  วงเสวนาศักยภาพทะเลจะนะ โดยมีนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน ศูนย์อนุรักษ์ทรัยกรทางทะเลและชายฝั่ง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อ.ท่าศาลา มาร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทบาท หน้าที่แต่ละองค์กร เพื่อทำให้เห็นภาพร่วมกันในการปกป้อง อนุรักษ์แหล่งผลิตอาหารร่วมกัน

-  จัดนิทรรศการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งทะเลจะนะ

-  เกิดการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนักวิชาการทำให้เห็นมูลค่าของทรัพยากรที่มีมากมาย ซึ่งมีประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม -  เกิดการเรียนรู้บทเรียนการร่วมกันปกป้องทรัพยากรโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของอ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

-  การเรียนรู้วิกฤตอาหารซึ่งเป็นวิกฤตที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อมโยงกับฐานทรัพยากรของชุมชน โดยนักวิชาการที่ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง

-  เกิดการเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 สงขลา ที่ได้ร่วมงานกับชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลในรูปแบบออนไลน์

วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00

ลักษณะกิจกรรมที่ทำ

จัดทำวิดีทัศน์เพลงรักจะนะ

เกิดการถ่ายทอดเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยา­กรใรพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่มีคุณค่าและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน­มาอย่างต่อเนื่อง

http://youtu.be/Gzin3EQiZhM

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-