การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร

by chana @May,18 2013 11.14 ( IP : 202...1 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-007
งวดที่ 1

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)

วันที่รายงาน : 25 กันยายน 2556

1. ชื่อโครงการ การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 56-ข-007 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 เมษายน 2557

3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 พฤษภาคม 2556 ถึงเดือน 30 กันยายน 2556

4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
1. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน และร่วมกันออกแบบวิธีการดำเนินงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการฯ
  2. เรียนรู้การจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์ www.consumersouth.org

ลักษณะกิจกรรม

  1. คณะทำงานศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนเข้าร่วมประชุมจำนวน 4 คน โดยได้ออกแบบวิธีการทำงาน การบริหารจัดการด้านการเงินร่วมกับคณะทำงานโครงการฯ

  2. คณะทำงานศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ได้เรียนรู้การจัดทำรายงานและได้วางแผนการทำงานผ่านเว็บไซต์ www.consumersouth.org

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน และร่วมกันออกแบบวิธีการดำเนินงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการฯ 2. เรียนรู้การจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์ www.consumersouth.org

ผลที่เกิดขึ้น

  1. เกิดแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย และคณะทำงานโครงการ โดยเครือข่ายได้ให้ความเห็นว่าควรจัดทำคู่มืและการดำเนินงานโครงการย่อย
  2. การประชุมคณะทำงานประจำเดือนควรเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ที่นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  3. ควรมีการประชุมแต่ละแผนย่อย โดยแยกเป็นประเด็นๆ ได้แก่ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นอาหารปลอดภัย และประเด็นโภชนาการสมวัย ซึ่งในประเด็นข้างต้น คณะทำงานในแต่ละประเด็นควรแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าของการทำงานร่วมกัน
  4. เกิดมติของที่ประชุมกำหนดให้วันเสาร์ ที่ 3 ของทุกเดือน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกัน
  5. ระบบการสื่อสารในระหว่างเครือข่ายจะมีการสื่อสารที่หลากหลาย อาทิ ระบบระบบรายงานผ่านเว็บไซต์ของแผนงานย่อย, จดหมายข่าว และEmail สำหรับการสื่อสารในระดับพื้นที่ไม่ควรใช้เว็บไซต์อย่างเดียว ควรใช้สื่อขยายผลภาคพื้นที่
  6. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในระหว่างแผนงาน ในแผนงานความมั่นคงทางอาหาร คือ คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
2. แสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 เวลา 19:00

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะและปัญหาวิกฤตพื้นที่แหล่งอาหารทั่วโลกผ่านกระบวนการละครสะท้อนความมั่นคงทางอาหาร
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลร่วมกันระหว่างชุมชนและศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน

ลักษณะกิจกรรม

  1. มีการแสดงละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มมะนาวหวาน
  2. พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1. มีการละครสะท้อนปัญหาความมั่นคงทางอาหารโดยกลุ่มมะนาวหวาน 2. ชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเรื่องพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

ผลที่เกิดขึ้น

  1. เด็กและเยาวชน ให้ความสนใจในการเรียนรู้ข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะและปัญหาวิกฤตอาหารที่กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลกผ่านละคร
  2. ชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของพื้นที่แหล่งอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ เกิดการพูดคุยถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ มีการคิดวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งได้มีการเสนอแนะวิธีการในการขับเคลื่อนเพื่อรับมือถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ดังต่อไปนี้

2.1 ร่วมกันทำข้อมูลแหล่งอาหารทะเลเพิ่มขึ้นทั้งบนบกและทางทะเล โดยการจัดทำเป็นแผนที่แหล่งอาหารในทะเลและบนบก

2.2 การสื่อสารถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในพื้นที่ โดยมีการสื่อสารในรูปแบบนักข่าวพลเมือง และรายการแบบเอียดเอียด(http://youtu.be/UtcZdumuu1M)

2.3 การจัดเวทีรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโครงการท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 และการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
3. ประชุมพัฒนาระบบฐานข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 4 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบระบบฐานข้อมูลของแผนงานความมั่นคงทางอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืด พันธุ์ไก่พื้นเมือง พันธุ์ไม้พื้นเมือง  สมุนไพร และตำรับอาหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับตำรับอาหารในคาบสมุทรสทิงพระ

ลักษณะกิจกรรม

ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนออกแบบระบบฐานข้อมูลของแผนงานความมั่นคงทางอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ออกแบบระบบฐานข้อมูลของแผนงานความมั่นคงทางอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืด พันธุ์ไก่พื้นเมือง พันธุ์ไม้พื้นเมือง สมุนไพร และตำรับอาหาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับตำรับอาหารในคาบสมุทรสทิงพระ

ผลที่เกิดขึ้น

  • ข้อเสนอการจัดทำฐานข้อมูล ควรเป็นข้อมูลที่ผลักนโยบายในพื้นที่ และเป็นข้อมูลรวมในภาพจังหวัดสงขลา

  • ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนเสนอให้มีการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ โดยเอาข้อมูลเดิม เกี่ยวกับพันธุ์ปลา ความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจเกี่ยวกับรายได้ในชุมชน,  ช่วงเวลาในการประกอบอาชีพประมง (ทิศทางลม, สีของน้ำ) เครื่องมือประมง โดยมีโจทย์คือทำอย่างไรข้อมูลที่มีอยู่แล้วมีความน่าถือ

  • เครื่องมือประเมินสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารด้านทรัพยากรทางทะเล(จะนะ)ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแผนที่ โดยมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางอาหารแก่เด็ก และเยาวชนผ่านกระบวนการละครสะท้อนปัญหาชุมชน การจัดอบรมให้กับคนในชุมชน

  • ตัวชี้วัด

1.ตัวชี้วัดทางตรง 2.ตัวชี้วัดทางอ้อม 3.ข้อมูลที่เก็บ รายได้ / ระยะทาง (การทำมาหากิน) 4.พืช / สัตว์ (แต่ละชนิด) 5.ระยะเวลา (เก็บข้อมูลย้อนหลังระยะเวลา5 ปี 10 ปี15 ปี 20 ปี  (ในแต่ละช่วงเวลา การเกิดวิกฤต มีนโยบาย หรือ การพัฒนา เกิดอะไรขึ้นและมีผลอย่างไรกับความมั่นคงทางอาหาร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
4. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน มิถุนายน 56 และวิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำงานระหว่างเครือข่าย 2.เพื่อสร้างความร่วมมือการบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการในระดับจังหวัด 3.

ลักษณะกิจกรรม

คณะทำงานดำเนินโครงการฯ ได้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการฯ จำนวน 20 คน เพื่อแลกเปลี่ยนการทำงานและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมในแต่ละเครือข่าย

ผลที่เกิดขึ้น

มีข้อเสนอจากการประชุม ดังนี้ 1.กิจกรรมรวมรวบตำรับอาหารหรือการรวมรวบภูมิปัญญาท้องถิ่นของศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก หากจัดทำเป็นสารานุกรมได้ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างมากขึ้น 2.การพัฒนาตำรับอาหาร อยากให้มีการค้นคว้าเมนูอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เมนูอาหารเสริมไอโอดีน เพื่อนำเมนูอาหารเหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมด้านโภชนาการในระดับพื้นที่ 3.การเก็บข้อมูลความมั่นคงทางอาหาร อยากให้เพิ่มการเข้าถึงอาหารของเด็กในมื้ออาหารแต่ละมื้อ  เช่น การได้รับผลไม้ โดยเก็บข้อมูลในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน 4.กิจกรรมอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ ได้กำหนดร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน ดังนี้ -ร้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ -ร้านอาหารมังสวิรัติ -ร้านอาหารแมคโครไบโอติก -ร้านอาหารชีวจิต -ร้านอาหารพื้นบ้านภาคใต้ ร้านขนมพื้นบ้านภาคใต้ -ร้านขนมจีน -ร้านสลัดผัก ส้มตำและยำผักพื้นบ้านต่างๆ -ร้านก๋วยเต๋ยวน้า,เย็นตาโฟ,ผัดไทย,ก๋วยจั๋บ,ราดหน้า -ร้านข้าวแดงแกงร้อน -ร้านโจ๊กเพื่อสุขภาพ -ร้านข้าวยำ เต้าคั่ว -ร้านจำหน่าย ผักผลไม้ปลอดสารพิษ -ร้านธัญพืชเพื่อสุขภาพ -ร้านนำคลอโรฟิลด์ เครื่องดื่มสมุนไพร และนำผักพื้นบ้าน -ร้านภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ -ร้านชีวิตพอเพียง จำหน่ายและสาธิตการทำยาสีฟัน สบู่ แชมพู นำยาล้างจาน, น้ำยาซักผ้า,ครีมนวด,น้ำยาปรับผ้านุ่ม, -ร้านจำหน่ายผักพื้นบ้าน และต้นผักพื้นบ้าน -ร้านจำหน่ายหัตกรรมพื้นบ้าน -ร้านจำหน่ายหนังสือ -ร้านจำหน่ายวัสดุในการปลูกผักไร้สารพิษ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง น้ำส้มควันไม้ 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
5. ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำข้อมูล

วันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:00

วัตถุประสงค์

  1. ประชุมทำความเข้าใจและร่วมตั้งประเด็นในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชุมชน

  2. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลฐาานทรัพยากร

ลักษณะกิจกรรม

  1. ประชุมทำความเข้าใจ และร่วมตั้งประเด็นในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชุมชน จำนวน 20 คน
  2. ออกแบบเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากร

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1. ประชุมทำความเข้าใจ และร่วมตั้งประเด็นในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชุมชน 2. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากร

ผลที่เกิดขึ้น

  1. มีการวางแผนการดำเนินงาน และเริ่มมีการเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งทะเล โดยมีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลตามลำดับดังนี้ดังนี้

- บ้านสวนกง ต.นาทับ - บ้านนาเสมียน ต.นาทับ - บ้านในไร่ ต.ตลิ่งชัน - บ้านตลิ่งชัน ต.ตลิ่งชัน - บ้านบ่อโชน ต.สะกอม - บ้านปากบาง ต.สะกอม
2. สร้างเครื่องมือในการจัดทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งทะเลจะนะ (ตามไฟล์เอกสารแนบ)

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา เนื่องจากสถานที่ในการจัดประชุมอยู่ในพื้นที่ต.บ้านนา ทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถเข้ามาประชุมได้
แนวทางการแก้ไข จัดประชุมในชุมชนที่แต่ละหมู่บ้านสะดวกในการเดินทาง

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
6. ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลา 13:30

วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ

ลักษณะกิจกรรม

  1. เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 11 เครือข่ายเข้าร่วมประชุมกรรมการบริหาร
  2. เกิดการกำหนดแนวทางการทำงานบูรณาการอาหารในพื้นที่จังหวัดสงขลา

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ 2. เพื่อกำหนดทิศทางการทำงานโครงการ

ผลที่เกิดขึ้น

ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชนได้มีการนำเสนองานในพื้นที่โดยมีแผนงานหลัก 3 แผนงานด้วยกันคือ 1. การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดทำชุดข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ผลิตอาหารทะเลจะนะ ซึ่งออกมาในรูปแบบของหนังสือทะเลคือชีวิต 2 ซึ่งกระบวนการจัดทำข้อมูลหลังจากนี้ก็จะเป็นการต่อยอดจากข้อมูลที่มีอยู่ และจัดเก็บข้อมูลในส่วนของพื้นที่บนบกเพิ่ม

  1. ปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล โดยจะมีกิจกรรมในส่วนของการอนุรักษ์ของเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะเป็นหลัก และมีในส่วนของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่โดยกระบวนการละคร นิทาน

  2. การผลักดันมาตรการของชุมชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งอาหารทางทะเล โดยจะเริ่มจากกระบวนการเรียนรู้ดูงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเห็นมุมมองในการขับเคลื่อนมากขึ้น

ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารโครงการได้ให้ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์ดำเนินงาน ดังนี้

กรรมการมีความเห็นว่าควรชูประเด็นให้จะนะเป็นแหล่งทรัพยากรอาหารทางทะเลที่มีความสำคัญต่อพื้นที่อาหารของจังหวัดสงขลา โดยจะต้องทำข้อมูลทางทะเล ข้อมูลที่จัดเก็บเช่น ชนิดของสัตว์น้ำจากอดีตและปัจจุบัน ชนิดใดที่ใกล้สูญพันธ์ และจำเป็นจะต้องอนุรักษ์ ปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้ และมีการส่งขายที่ไหน ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลแล้วก็ควรกำหนดเป้าหมายที่จะฟื้นฟูสัตว์น้ำ ส่วนการผลักดันมาตรการควรจัดทำในระดับท้องถิ่น เช่น มีข้อตกลงในการห้ามใช้พื้นที่แหล่งผลิตอาหารไปพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งสำคัญที่สุดคือกระบวนการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจของชุมชน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
7. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56

วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อรายงานความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย

  2. เพื่อจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์

ลักษณะกิจกรรม

  1. เครือข่ายบูรณาการอาหารจำนวน 6 เครือข่ายเข้าร่วมประชุมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน
  2. เกิดการจัดทำรายงานผ่านเว็บไซต์เครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของเดือนสิงหาคม 2556 2. การรายงานผลการดำเนินงานผ่านเว็บไซต์

ผลที่เกิดขึ้น

เครือข่ายจำนวน 6 พื้นที่ได้รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมของแผนงานประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติตำบลบ้านนา , การวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายฯ.ทักษิณ ,อบต.ควนรู,การติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคฯ,และการวิจัยเรื่องอาหารเป็นยาสมุนไพร ความก้าวหน้าการดำเนินงาน มีดังนี้ 1. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ มีความก้าวหน้าการดำเนิน ได้แก่ การทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลจะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ชายหาด ป่าสันทราย มีการขับเคลื่อนการจัดทำผังเมือง โดยมีการกำหนดพื้นที่นาข้าว การเลี้ยงนกเขาชวา จะดำเนินการจัดทำแผนที่ทางทะเล ดำเนินกิจกรรมร่วมกับเยาวชนในพื้นที่ในเรื่องค่ายความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพ จะดำเนินการประสานหน่วยงานภาครัฐทำกิจกรรมปะการังเทียมและร่วมกับชุมชนในการทำซังเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลา 2. กิจกรรมอาหารเป็นยาสมุนไพร ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มหมอพื้นบ้าน กลุ่มสมุนไพร ปราญชชาวบ้านที่สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ใน5 พื้นที่จังหวัดสงขลาได้แก่ ตำบลชะแล้ ,ตำบลควนรู,ตำบลท่าข้าม,ตำบลสิงหนคร เกิดการสังเคราะห์ข้อมูลอาหารที่จะใช้เป็นยา วิเคราะห์ข้อมูลสมุนไพรที่มาใช้ทำอาหาร 3. ตำบลควนรู จะดำเนินกิจกรรมในเรื่องธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งมีแนวคิดว่าธนาคารเมล็ดพันธํต้องอยู่ที่ชุมชน ไม่ใช่การรวมรวบไว้ที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นต้องมีการจัดการใน 4 ระดับ ดังนี้ 3.1. ระดับครัวเรือน โดยจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพืชท้องถิ่นที่มีการปลูกในระดับครัวเรือน วิธีการเก็บอนุรักษ์พันธุ์พืช การขยายพันธุ์ ซึ่งประเด็นนี้ครัวเรือนจะได้เห็นความสำคัญของพืชท้องถิ่นและทำให้ครัวเรือนเกิดความภาคภูมิใจในการอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่น 3.2. ระดับชุมชน แนวคิดนี้เพื่ออนุรักษ์ขยายพันธุ์ในระดับชุมชน การจัดการพื้นที่รวมด้านพืชสมุนไพร การสร้างกิจกรรมรวมใจเพื่ออนุรักษ์พันธ์พืช เช่น การทำขวัญข้าว อาจสร้างกิจกรรมนี้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืช 3.3. การจัดทำนโยบาย ต้องทำให้ธนาคารเมล็ดพันธู์พืชเชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานด้านการจัดการพันธุ์พืช เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กระทรวงเกษตร และศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว ซึ่้งการประสานเน้นการสนับสนุนทางพันธุ์พืช หรือด้านวิชาการ 3.4. ทำกิจกรรมรณรงค์ โดยการชูประเด็นเรื่องพืชที่สำคัญของท้องถิ่น เพื่อสร้างเป็นแนวคิดร่วมกันในการอนุรักษ์ ตัวอย่างเช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดกิจกรรมอุทยานกล้วย หรืออาจจะต้องเชื่อมโยงกับภาคเอกชนที่ได้มีการอนุกรักษ์เมล็ดพันธุ์พืช เพื่อให้เกิดการขยายความร่วมมือในการร่วมกันอนุกรักษ์พันธุ์พืชร่วมกัน 4. การติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคฯ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแล้วในพื้นที่ตำบลควนเนียง ,ตำบลท่าหิน,ตำบลชะแล้และตำบลควนรู 5. ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบก ได้ออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาเกี่ยวกับการผสมเครื่องแกงชนิดต่างๆในแต่พื้นที่ของคาบสมุทรสทิงพระ พื้นที่ที่ดำเนินการศึกษาได้แก่ตำบลตะเครียะ  ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ ตำบลปากรอ ตำบลรำแดง ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลมาจะดำเนินการประชุมนำเสนอผลการศึกษาซึ่งอาจเป็นเวทีร่วมกันกับกิจกรรมอาหารเป็นยาสมุนไพร 6. งานวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายฯ ม.ทักษิณ ได้กำหนดประเด็นในศึกษาสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร ในบริบท เขา ป่า นา เล โดยมีพื้นที่การศึกษา ได้แก่ ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิและอำเภอสะบ้าย้อย โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของผลไม้ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอควนเนียง เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าว พื้นที่ปลูกข้าว ตำบลท่าหิน ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลชิงโค เก็บข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบ อำเภอจะนะ ตำบลสะกอม เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชายฝั่งทะเล และศึกษาผลกระทบของระบบเกษตรพันธะสัญญาระบบการเลี้ยงหมู และเลี้ยงไก่ 7. อุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ การดำเนินกิจกรรมของอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพ เครือข่ายได้ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยยกกรณีตัวอย่างการจัดกิจกรรมวิถีโหนด นา เลซึ่งมีชุมชนจำนวน 20 ชุมชนเป็นเครือข่ายในการออกร้านจัดแสดงผลิตภัณฑ์และสาธิตวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งจัดมารวม 3 ปี ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคจำนวนมาก  ดังนั้นการสื่อสารกิจกรรมจะต้องทำให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าเป็นของดีของสงขลา สำหรับสินค้าที่แต่ละเครือข่ายมีอยู่และสามารถนำมาขายในอุทยานอาหาร มี ดังนี้ 1. ตำบลจะนะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
8. ประชุมมาตรการความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 14 สิงหาคม 2556 เวลา 13:30

วัตถุประสงค์

ต้องมีมาตรการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล โดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ทางทะเล มีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของสัตว์น้ำ ชนิดของสัตว์ รายได้จากการประกอบอาชีพ เส้นทางการกระจายสินค้าอาหารทะเล

ลักษณะกิจกรรม

ระดมความเห็นเกี่ยวกับมาตรการที่จะอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทางทะเล กับแกนนำเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ แกนนำเครือข่ายนา และเจ้าหน้าที่ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติจะนะ จำนวน 5 คน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ต้องมีมาตรการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล โดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ทางทะเล มีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณของสัตว์น้ำ ชนิดของสัตว์ รายได้จากการประกอบอาชีพ เส้นทางการกระจายสินค้าอาหารทะเล

ผลที่เกิดขึ้น

จากการระดมความคิดเห็นกับแกนนำ แกนนำได้สะท้อนความคิดว่า อยากให้ทะเลจะนะเป็นแหล่งอาหารของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะทะเลในพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สัตว์ทะเลที่ชาวประมงจับได้มีหลากหลายชนิด และมีปริมาณเพียงพอในการขายสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อรัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ ทำให้แกนนำรู้สึกเป็นกังวลกับทิศทางการพัฒนา เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออาชีพความประมงพื้นบ้าน ความไม่ปลอดภัยในแหล่งอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการปรับพื้นที่ให้เป็นเขตอุตสาหกรรม แม้เครือข่ายจะมีการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์ทะเล เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลไปสื่อสารกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเห็นกระทบที่อาจจะเกิดการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรม แต่ชุมชนก็ยังไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางแกนนำจึงพยายามผลักดันกิจจกรมหลายอย่างเพื่อจะสร้างความตระหนักให้กับชุมชน โดยร่วมกับจังหวัด กรมทรัพยากรทางทะเล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ร่วมกันลงนามในปฏิญญาจะนะ โดยมีแนวทางว่า ให่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนชุมชนเพื่อการดำเนินงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล โดยการดำเนินการทำความสะอาดปะการัง การสร้างปะการัง สำหรับข้อเสนอที่พื้นที่ต้องการมีนโยบายคุ้มครองพื้นที่ ซึ่งมาตรการที่เกิดขึ้นอาจจะต้องเกิดใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัด ดังนั้นเพื่อการเกิดการร่วมกันคิดหามาตรการ จึงเกิดแนวทางการทบทวนเอกสาร โดยจะต้องทบทวนเอกสาร พรบ.การจัดการพื้นที่ มิติสมัชชาชาติเรื่องแผนพัฒนาพัฒนาภาคใต้ (ท่าศาลา) ปฎิญญาจะนะ เพื่อประกอบการจัดทำร่างนโยบายเสนอจังหวัด

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
9. ประชุมเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเล

วันที่ 16 สิงหาคม 2556 เวลา 13:00

วัตถุประสงค์

ประชุมวางแผนการทำงานของเครือข่ายฯ

ลักษณะกิจกรรม

  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานของเครือข่ายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลจะนะ
  2. เรียนรู้ข้อมูลศักยภาพและภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอจะนะ จำนวน 30 คน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การประชุมเครือข่ายอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรฝั่งทะเลจะนะ

ผลที่เกิดขึ้น

วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไป

  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศักยภาพทั้งหมดของพื้นที่ อ.จะนะ ทั้งพื้นที่ทำนา การเลี้ยงนกเขา การทำสวนยางพารา และการทำการประมง ทำให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และศักยภาพของพื้นที่อำเภอจะนะ

  • คิดวิเคราะห์บทเรียนการพัฒนาของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐเข้ามาในพื้นที่อย่างเช่นโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย โครงการโรงไฟฟ้าจะนะ ซึ่งส่งผลทำให้ต่อความมั่นคงทางอาหารโดยเฉพาะพื้นที่นาที่ลดน้อยลง


    แผนการขับเคลื่อนงานเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเล

  • ทางเครือข่ายฯเสนอการดูงานการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาเรียนรู้กระบวนการผลักดัน และจัดทำข้อบัญัติท้องถิ่นเพื่อเป็นมาตรการในการจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นร่วมกัน จึงได้มีกำหนดการดูงานไว้เป็นช่วงปลายเดือนกันยายน หลังจากการดูงานก็จะมีการขับเคลื่อน ทำความเข้าใจคนในพื้นที่ในการทำข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อไป

  • มีการเสนอการจัดทำปะการังร่วมกันศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสงขลา เพื่อเพิ่มแหล่งที่อยู่ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนในทะเล ส่วนใหญ่มองว่าจะต้องมีการจัดปะการังเทียมในช่วงหลังมรสุมหรือประมาณ เดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ปี 2557

  • มีการเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรที่ชัดเจนโดยใช้ในนามของสมาคม เพื่อให้การขับเคลื่อนของเครือข่ายมีองค์กรที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสมาชิกจะต้องช่วยกันหาข้อมูลและศึกษาการจัดตั้งสมาคมต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
10. ปฏิบัติการเก็บข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหาร

วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 15:00

วัตถุประสงค์

  1. เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่แหล่งผลิตอาหารในพื้นที่บ้านสวนกง

ลักษณะกิจกรรม

  • เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่แหล่งผลิตอาหารในพื้นที่บ้านสวนกง

เป้าหมายที่ตั้งไว้

เก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่แหล่งผลิตอาหารในพื้นที่บ้านสวนกง

ผลที่เกิดขึ้น

ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินริมชายฝั่งบ้านสวนกงดังนี้ นอกจากการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย บ้านสวนกงยังมีพื้นที่ที่คนในชุมชนให้เป็นแหล่งทำกินดังนี้

  1. การปลูกพืชไร่เช่นมันสำปะหรัง แตงโม ซึ่งจะปลูกสลับกันไปตามช่วงฤดูกาล

  2. การปลูกผักสวนครัว และพืชสมุนไพรซึ่งมีทั้งที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ

  3. การหาน้ำผึ้งในบริเวณป่าที่คนในชุมชนปลูก ป่าสน และป่าสันทรายชายหาด ซึ่งจะหาได้ตลอดทั้งปี

  4. การหาเห็ดเหม็ดในพื้นที่ป่าสนและป่ากระถิน ซึ่งจะหาได้หลังจากที่มีฝนตกตลอดทั้งปี นอกจากการหามาเพื่อเป็นอาหารในครอบครัวแล้วยังมีการหาเพื่อขายเป็นรายได้ได้อีก รายได้จากหาเห็ดเหม็ดต่อคนต่อปีประมาณ 20,000-30,000 บาท

การปลูกไม้ยืนต้นซึ่งมีพันธุ์ไม้ดังต่อไปนี้

-  กระถิน

-  เสม็ดแดง

-  เสม็ดขาว

-  ตะเคียน

-  ต้นตำเสา

-  ยางนา

-  ปาล์มน้ำมัน

-  มะพร้าว


ซึ่งมีการทำประโยชน์ดังนี้

  • นำไม้มาปลูกสร้างบ้าน

  • นำมาขายเพื่อสร้างรายได้

  • นำมาทำเรือ

  • นำมาทำรั้ว

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
11. ช่อง 11 ลงพื้นที่สัมภาษณ์ความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 27 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อการสื่อสารเรื่องความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะสู่สาธารณะ

ลักษณะกิจกรรม

สื่อสารข้อมูลเรื่องความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การสื่อสารเรื่องความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะนะสู่สาธารณะ

ผลที่เกิดขึ้น

  • เกิดการสื่อสารข้อมูลสู่สาธารณะในเรื่องราวของการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะที่ชุมชนได้มีการฟื้นฟูจนมีความอุดมสมบูรณ์อย่างเช่นทุกวันนี้ ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ที่สำคัญคือโลมา และเต่า เพราะสัตว์สองชนิดนี้จะอาศัยในแหล่งที่มีสัตว์หลายหลากชนิด จากการรวบรวมข้อมูลความมั่นคงที่ผ่านมาทำให้เห็นถึงวงจรเศรษฐกิจสัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน มีทั้งการขายในตลาดท้องถิ่นทั่วจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียงอีกหลายจังหวัด รวมทั้งการส่งออกสู่ประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งทำให้ข้อมูลเหล่านี้ออกสู่สาธารณะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  • การทำงานร่วมกับสจรส.เป็นการทำงานในระยะเริ่มต้นและต่อยอดจากสิ่งที่ชุมชนมีอยู่ เมื่อมีการถามว่าสจรส.มีการหนุนช่วยอะไรชุมชนได้บ้างแกนนำไม่สามารถตอบได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • อยากให้สจรส.มีบทบาทในการหนุนช่วยชุมชนให้มากกว่านี้ มิใช่แค่ทำให้สื่อสาธารณะรู้ว่ามีบทบาทแต่เมื่อถามคนในพื้นที่คนในพื้นที่ไม่ทราบ เพราะสจรส.ไม่ได้มีบทบาทเข้ามาหนุนช่วยชุมชนอย่างมีรูปธรรมนอกเหนือจากการให้งบประมาณโครงการเพียงอย่างเดียว

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
12. ปฏิบัติการเก็บข้อมูลพื้นที่แหล่งอาหาร

วันที่ 1 กันยายน 2556 เวลา 15:00

วัตถุประสงค์

เก็บข้อมูลการประโยชน์ของพันธุ์ไม้บ้านสวนกง

ลักษณะกิจกรรม

ลงพื้นสำรวจและเก็บข้อมูลการประโยชน์ของพันธุ์ไม้บ้านสวนกง

เป้าหมายที่ตั้งไว้

เก็บข้อมูลการประโยชน์ของพันธุ์ไม้บ้านสวนกง

ผลที่เกิดขึ้น

  • มีการจัดเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยการลงสำรวจพื้นที่ที่มีการปลูกต้นไม้รวมทั้งการอธิบายประโยช์ของต้นไม้แต่ละชนิด

  • เด็กในชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ถึงประโยชน์ของต้นไม้ที่คนในชุมชนได้ปลูกไว้ รวมถึงพืชสมุนไพรที่มีในชุมชนที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
13. ประชุมเครือข่ายรักษ์ทะเลจะนะ

วันที่ 4 กันยายน 2556 เวลา 14:00

วัตถุประสงค์

เพื่อร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล

ลักษณะกิจกรรม

  1. ประชุมทำความเข้าใจในการร่างข้อเสนอ

  2. ร่างข้อเสนอมาตรการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล

  3. ปรึกษาหารือในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร และการดูงานข้อบัญญัติท้องถิ่นอ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

เป้าหมายที่ตั้งไว้

1. ประชุมทำความเข้าใจในการร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล 2. ร่างข้อเสนอมาตรการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล

ผลที่เกิดขึ้น

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล ตามที่ได้มีการขับเคลื่อนของชุมชนเริ่มจากการจัดทำข้อมูลทรัพยากรทางทะเล ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ ช่วงฤดูกาล รายได้ วงจรเศรษฐกิจที่สำคัญทำให้เห็นถึงคุณค่าและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะ จึงได้มีการประกาศปฏิญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลจะนะ(ตามเอกสารแนบ)

  • การร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเลจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่อไปได้ ซึ่งเราจะต้องยื่นข้อเสนอนี้ให้กับผู้ว่าราชการเป็นผู้ประกาศตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

  • เครือข่ายร่างข้อเสนอระดับพื้นที่(ตามเอกสารแนบ)

  • มีการรายงานความคืบหน้าในการเตรียมดูงานข้อบัญญัติท้องกิ่น อ.ท่าศาลา ในวันที่ 27-28 กันยายน 2556 โดยกำหนดผู้เข้าร่วมไว้จำนวน 40 คน โดยจะมีการพักค้างคืน 1 คืน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  • การร่างข้อเสนอมาตรการการจัดการพื้นที่อนุรักษ์แหล่งอาหารทางทะเล ไม่ใช่แค่อาศัยประสบการณ์หรือรูปธรรมเพียงอย่างเดียวแต่จะต้องมีการศึกษาทางด้านกฏหมายที่มีมาตรต่างๆรองรับ ดังนั้นจึงควรมีนักวิชาการผู้มีความรู้ด้านนี้แนะนำ เติมเต็มข้อมูลให้แก่ชุมชน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • ต้องการให้มีนักวิชาการด้านกฏหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลมาให้ความรู้ต่อชุมชนเพิ่มเติม

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
14. ร่างข้อเสนอมาตรการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทะเลจะนะ

วันที่ 9 กันยายน 2556 เวลา 09:30

วัตถุประสงค์

เพื่อร่างข้อเสนอมาตรการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทะเลจะนะร่วมกับสจรส.

ลักษณะกิจกรรม

  • ดูข้อเสนอที่เครือข่ายร่างไว้
  • ติดตามงานโครงการ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่างข้อเสนอมาตรการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทะเลจะนะ

ผลที่เกิดขึ้น

  • เกิดการติดตามงานในพื้นที่
  • เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานร่วมกัน
  • ข้อเสนอที่เครือข่ายร่างไว้ไม่ได้นำมาพัฒนาให้เป็นข้อเสนอที่สมบูรณ์ที่สามารถนำมาใช้งานต่อได้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  • เกิดความเข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ของการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ทางเครือข่ายมุ่งหวังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการร่างข้อเสนอมาตรการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งอาหารทะเลจะนะ แต่ทางทีมประสานงานกลาง(สจรส.)มาตามงานในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของคนทำงานพื้นที่ในการทำงานเครือข่ายต่อไป
  • ผู้ที่เข้าร่วมร่างข้อเสนอให้เครือข่ายควรมีความรู้ในการร่างข้อเสนอให้มากกว่านี้ และควรจัดหานักกฏหมายที่มีความรู้เรื่องการประมงมาหนุนช่วยเครือข่าย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • ทีมงานกลางควรมีการเตรียมและหาข้อมูลเพื่อมาอธิบายให้แก่เครือข่ายมิใช่ให้ข้อมูลแล้วจี้ให้คนทำงานอ่านเพียงอย่างเดียว แต่ทีมงานไม่สามารถอธิบายให้เครือข่ายเข้าใจได้

  • ควรจัดหานักกฏหมายที่มีความรู้เรื่องการประมงมาหนุนช่วยเครือข่าย

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

15. เข้าร่วมประชุมติดตามแผนการทำงานร่วมกับ สจรส.

วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 15:30

วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามแผนการทำงานร่วมกับสจรส.

ลักษณะกิจกรรม

  1. การติดตามรายงานการดำเนินงานพื้นที่และรายงานการเงิน

  2. พูดคุยการหนุนช่วยงานเครือข่าย

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมติดตามแผนการทำงานร่วมกับสจรส.

ผลที่เกิดขึ้น

เกิดการติดตามรายงานการดำเนินงานและรายงานการเงิน


ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-  การลงรายงานในเว็บไซต์ล่าช้า เนื่องจากไม่เข้าใจ
- รายงานการเงินยังไม่ได้ลง เนื่องจากไม่เข้าใจโดยเฉพาะงานที่ประชุมกับส่วนกลางที่ต้องเบิกเงินในกิจกรรมพื้นที่

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

  • การติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
16. ออกรายการวิทยุ

วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 11:30

วัตถุประสงค์

เพื่อสื่อสารเรื่องราวความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

ลักษณะกิจกรรม

-  พูดคุยสื่อสารเรื่องราวความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ ในเรื่องของการทำข้อมูลแหล่งอาหารของชุมชน รูปแบบของการสื่อสารข้อมูลหลังจากการจัดทำข้อมูลทั้งการสื่อสารในชุมชน และการสื่อสารภายนอก วัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูล แนวคิดของคนที่ลุกขึ้นมาทำข้อมูลในพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

สื่อสารเรื่องราวความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

ผลที่เกิดขึ้น

ทำให้สังคมสาธารณะได้รู้ถึงข้อมูลพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารชายฝั่งทะเลจะนะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
17. ดูงานพื้นที่ท่าศาลา

วันที่ 27 กันยายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นของอ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ลักษณะกิจกรรม

-  พูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการของภาคประชาชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นร่วมกันองค์การบริหารส่วนตำบล

  • เรียนรู้ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการและปัญหา อุปสรรคในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น

เป้าหมายที่ตั้งไว้

เรียนรู้เรื่องข้อบัญญัติท้องถิ่น

ผลที่เกิดขึ้น

  • เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการของภาคประชาชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นร่วมกันองค์การบริหารส่วนตำบล

  • เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล

  • เกิดเรียนรู้ วิธีการ ขั้นตอน กระบวนการและปัญหา อุปสรรคในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น (ตามเอกสารแนบ)

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)

ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก

5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

 

6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ

มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

 

7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ

สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้

ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)

 

8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ