ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

20 เคล็ดลับ ป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ในการเข้ารับบริการสุขภาพ

by twoseadj @October,20 2010 10.10 ( IP : 202...248 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 277x300 pixel , 27,392 bytes.

ผศ. ดร.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

มีการประมาณการกันว่าในสหรัฐอเมริกามีคนราว 44,000 – 98,000 คน ที่ต้องเสียชีวิตจากความผิดพลาดในการเข้ารับบริการสุขภาพในแต่ละปี** แต่ถ้าถามถึงสถิติในประเทศไทยสถิติดังกล่าวไม่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบในเมืองไทย คิดว่าคงไม่น้อยไปกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะต้องรู้วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดดังกล่าว ความผิดพลาดทางการแพทย์เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้แม้แต่ในการรักษาปกติตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การรับการผ่าตัด การได้รับยา หรือการได้รับบริการอื่นๆ ในสถานพยาบาล เช่น การได้รับอาหารที่ผิดประเภทในคนไข้

คู่มือนี้จึงจะเป็นแนวทางสำหรับผู้บริโภคหรือคนไข้ในการปฏิบัติตัวเพื่อความปลอดภัยในการรับบริการ

ก. หลักการที่สำคัญ

เคล็ดลับประการที่ 1 ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า “เราจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ให้การรักษา” นั่นหมายถึงเราต้องมีส่วนร่วมในทุกๆการตัดสินใจในกระบวนการดูแลรักษา, มีงานวิจัยยืนยันว่าผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมในกระบวนการรักษามีแนวโน้มจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่า ข. หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา

เคล็ดลับประการที่ 2 ท่านต้องแน่ใจว่าแพทย์ทำการรักษาท่านอยู่ทราบว่า ท่าน ได้รับยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอะไรอยู่บ้างไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับจากแพทย์ ท่านอื่นๆหรือท่านหาซื้อมารับประทานเอง กรณีที่ได้รับจากแพทย์ท่านอื่น แม้ว่าจะเป็นแพทย์โรงพยาบาลเดียวกัน แต่ คนละแผนก ท่านก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เผื่อแพทย์ท่านนั้นจะไม่ได้อ่านประวัติการใช้ยาของท่านทั้งหมด ในกรณีท่านซื้อมารับประทานเองจากร้านยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดต่างๆ เช่น พวกวิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรต่างๆ ซึ่งในการรักษาพบว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้มากโดยเฉพาะอันตรายจากปฏิกิริยาต่อวันระหว่างยา ที่แพทย์สั่งให้ใหม่กับยาที่ท่านรับประทานอยู่ หรือกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้ ดัง นั้น ในการพบแพทย์หรือต้องนอนโรงพยาบาลให้นำยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ท่านใช้ประจำมา เป็นข้อมูลเพื่อให้แพทย์ได้ทราบก่อนที่แพทย์จะตัดสินใจสั่งการรักษา

เคล็ดลับประการที่ 3 ท่านต้องแน่ใจว่าแพทย์ที่ทำการรักษาท่านอยู่ทราบว่าท่านเคยแพ้ยาหรือมีอาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากยาชนิดใด เพื่อแพทย์จะได้หลีกเลี่ยงยาประเภทดังกล่าว ในกรณีที่ท่านอาจแพ้ยาหรือเกิดอันตรายจากยาที่ได้รับจากคลินิกหรือร้านยา ให้ ท่านกลับไปที่คลินิกหรือร้านยาดังกล่าว เพื่อขอทราบชื่อยาและต้องบันทึกเก็บไว้ประจำตัวและแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกร ผู้ให้การรักษาทราบทุกครั้งก่อนรับยา

เคล็ดลับประการที่ 4 ในกรณีที่แพทย์ตัดสินใจให้ยาแก่ท่าน ท่านต้องพยายามทำความเข้าใจกับใบสั่งยาที่ท่านได้รับ โดยเฉพาะลายมือที่แพทย์เขียน เพราะลายมือที่ไม่ชัดเจนทำให้เภสัชกรจ่ายยาผิดพลาดและเป็นที่มาของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนไข้

เคล็ดลับประการที่ 5 ท่านพึงต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับยาที่ท่านได้รับ โดยสอบถามแพทย์ให้ชัดเจน ได้แก่ - ยาที่ได้รับนั้นใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง - ยาที่ได้รับต้องใช้อย่างไร และใช้ยานานแค่ไหน จะหยุดยาได้เมื่อไร - ถ้าใช้ยาแล้วโอกาสเกิดอาการข้างเคียงอะไรบ้าง และหากเกิดขึ้นจริงจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร - ยาที่ได้รับนี้หากต้องรับประทานร่วมกับยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นที่ท่านรับประทานอยู่จะปลอดภัยหรือไม่ - ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหรือมีกิจกรรมต่างๆ ประการใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะที่รับประทานยานี้ เช่น ยาบางชนิดจะมีอันตรายหากรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เคล็ดลับประการที่ 6 เมื่อไปรับยาตามใบสั่งยาที่ห้องยาหรือร้านยา ต้อง แน่ใจว่าเป็นยาที่เหมาะสมสำหรับท่านจริงๆ ในการรับยาจาเภสัชกร ท่านมีสิทธิที่จะถามเพื่อความมั่นใจว่ายาที่ได้รับเป็นยาที่เหมาะสมกับท่าน จริงๆ โดยเฉพาะหากท่านมีโรคเรื้อรังที่ต้องรับประทานยาหลายขนานร่วมด้วยอยู่แล้ว ในการศึกษาวิจัย พบว่า ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะจ่ายยา ได้แก่ การได้รับยาผิดชนิด ไม่ถูกต้องตามที่สั่ง หรือได้รับยาในขนาดที่ผิดไปจากที่สั่ง เป้นต้น

เคล็ดลับประการที่ 7 หากท่านรับยามาแล้วมีข้อสงสัยถึงวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากต้องรีบถามก่อนกลับบ้าน เพราะหากเข้าใจผิดพลาดจะนำไปสู่การรับประทานยาหรือใช้ยาที่ผิดพลาด เช่น ฉลากระบุว่ารับประทานวันละครั้ง หลังอาหารหรือก่อนนอน มีคนไข้รับประทานยานี้วันละ 4 ครั้ง ทั้งหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน

เคล็ดลับประการที่ 8 ควร ให้เภสัชกรแจ้งให้ท่านทราบถึงอันตรายหรืออาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยา และวิธีปฏิบัติหากเกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะที่อยู่ที่สามารถติดต่อกลับเพื่อขอ ข้อมูลเพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร

เคล็ดลับประการที่ 9 ท่านต้องแน่ใจว่าท่านสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง เช่น หากจำเป็นต้องรับประทานยาน้ำ ต้องถามเภสัชกรให้แน่ใจว่าจะใช้อุปกรณ์ในการตวงยาอย่างไรจะเหมาะสม เช่น หนึ่งช้อนชา ไม่เท่ากับขนาดหนึ่งช้อนกาแฟ หากท่านไม่มีช้อนชาสำหรับตวงยาให้ขอจากห้องยาหรือร้านยาได้ หรือหากได้รับเป็นหลอดฉีดยาสำหรับตวงยาต้องแน่ใจว่าท่านใช้ได้อย่างถูกต้อง หรือหากท่านต้องใช้ยาพ่นต้องแต่ใจว่าพ่นถูกอวัยวะ เช่น พ่นเข้าจมูกหรือพ่นเข้าปาก การเก็บยาหลังจากเปิดขวดใช้แล้ว วิธีการใดที่เหมาะสม เช่น เก็บในตู้เย็น หรือต้องทิ้งภายหลังใช้เป็นเวลา 1 เดือน ในกรณียาหยอดตา
ค. หลักปฏิบัติหากต้องไปนอนโรงพยาบาล

เคล็ดลับประการที่ 10 หาก ท่านมีสิทธิเลือก จงเลือกโรงพยาบาลที่มีความชำนาญในการรักษาคนไข้ในวิธีการนั้นๆก่อน, โดยมีงานวิจัยยืนยันว่าหากได้รับการดูแลในโรงพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแล โรคนั้นๆ มากกว่า จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า

เคล็ดลับประการที่ 11 หากท่านต้องได้รับการรักษาจากบุคลากรการแพทย์คนใด อย่าลืมถามเขาเหล่านั้นว่า “คุณหมอล้างมือให้สะอาดก่อนมาดูแลท่านหรือไม่” เนื่องจากการล้างมือเป็นวิธีการที่ดีและง่ายที่สุดในการลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่องค์การอนามัยโลกยืนยัน และจากการวิจัยพบว่าหากคนไข้ถามผู้ให้บริการในเรื่องดังกล่าว ผู้ให้บริการเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะล้างมือบ่อยขึ้น และใช้สบู่มากขึ้น

เคล็ดลับประการที่ 12 หากท่านต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ท่านต้องแน่ใจว่าตัวท่านเอง แพทย์ที่ดูแลท่าน แพทย์ทำการผ่าตัด เข้าใจตรงกันอย่างท่องแท้ว่าจะมีวิธีการอย่างไร มีวิธีการอื่นที่เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าหรือไม่ การผ่าตัดมีความเสี่ยงอย่างไร และต้องตรวจสอบว่าโรงพยาบาลเตรียมป้องกันความเสี่ยงไว้เรียบร้อยหรือยัง เนื่องจากความผิดพลาดในการผ่าตัด เช่นการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ที่ก็มีให้เห็นกันอยู่บ้าง แต่ความผิดพลาดดังกล่าวไม่ควรให้เกิดขึ้น เพราะสามารถป้องกันได้ 100% หรือหากเกิดเหตุการณ์อันตรายจากการผ่าตัด ก็จะมีอุปสรรค์หรือเครื่องมือป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ให้เกิดความสูญเสียที่ไม่จำเป็น

เคล็ดลับประการที่ 13 หากท่านได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้ ต้องแน่ใจว่าท่านได้ถามแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษาระหว่างที่อยู่ที่บ้านจนท่านเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานยา การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ หรือการปฏิบัติตนว่าเมื่อไรจะสามารถกลับไปมีกิจกรรมตามปกติได้ หรือกิจกรรมอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง ง. หลักปฏิบัติทั่วไปในการรับบริการสุขภาพ

เคล็ดลับประการที่ 14 พึงระลึกไว้เสมอว่า “ท่านมีสิทธิถามข้อสงสัยทุกประการเกี่ยวกับการรักษา เพราะฉะนั้น “จงถาม” หรือ “จงพูด” ในสิ่งที่ท่านกังวลใจให้ผู้ให้บริการได้ทราบ

เคล็ดลับประการที่ 15 ต้องแน่ใจได้ว่ามีผู้ให้บริการคนใดคนหนึ่งที่ดูแลรับผิดชอบเฉพาะต่อตัวท่านอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหากท่านมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน

เคล็ดลับประการที่ 16 ต้องแน่ใจให้ได้ว่าผู้ให้บริการทุกคนที่ท่านต้องเกี่ยวข้องด้วยในขณะทำการรักษาทราบข้อมูลสุขภาพของท่าน โปรดอย่าคิดว่าทุกคนที่เข้ามาในกระบวนการรักษาของท่านจะทราบข้อมูลของท่านทั้งหมด

เคล็ดลับประการที่ 17 หากเป็นไปได้ในการไปรับการรักษาควรพาใครไปเป็นเพื่อนด้วย อาจเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อน เพื่อที่จะช่วยท่านในกรณีที่ท่านต้องการ หรือแม้ว่าคุณอาจจะไม่ต้องการในตอนแรก คุณอาจจำเป็นต้องการคนช่วยเหลือในภายหลังก็ได้ เช่น ใน การผ่าตัดที่ต้องให้ผู้ป่วยหมดสติ หรือการบำบัดรักษาบางชนิดที่ทำให้ท่านช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในการรักษาโดยปกติแพทย์จะแจ้งล่วงหน้าเช่น มารักษาตา ห้ามขับรถกลับเอง เป็นต้น

เคล็ดลับประการที่ 18 พึงระลึกไว้เสมอว่าในทางการแพทย์ “ยิ่งมากไม่จำเป็นต้องยิ่งดี” โดยเฉพาะการได้รับยาที่มากขึ้นมีโอกาสเสี่ยงต่อยายิ่งมาก หรือแม้กระทั่งการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการต่างๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสอบถามความเหมาะสมในการได้รับยาหรือการตรวจวินิจฉัย เพื่อให้ได้ยาหรือการตรวจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

เคล็ดลับประการที่ 19 หากท่านได้รับคำสั่งให้ตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ใดๆ พึงสอบถามถึงผลของการตรวจ เพราะผลการตรวจอาจจะไม่ได้มีเฉพาะข่าวดีเท่านั้น การทราบผลย่อมจะเป็นประโยชบน์ต่อท่านในการรักษาในขั้นตอนต่อไป

เคล็ดลับประการที่ 20 จงหมั่นเรียนรู้ถึงความเป็นไปของโรคหรือความเจ็บป่วยของท่านอย่างสม่ำเสมอ อาจสอบถามจากแพทย์หรือพยาบาล หรือบุคลากรแพทย์ที่ดูแลท่าน หรือเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อื่นๆ

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง