ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ค่ายาข้าราชการไทยพุ่ง 7 หมื่นล้านต่อปี

by twoseadj @October,19 2010 10.08 ( IP : 202...248 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , อบต.ท่าข้าม
photo  , 420x280 pixel , 12,067 bytes.

สวรส.เผยข้าราชการไทยมีเพียง 5 ล้านคนมียอดใช้ยาพุ่งปีละ 7 หมื่นล้าน ขณะที่ประชากรในระบบประกันทั้งประเทศ กว่า 57 ล้านคนใช้ยาแค่ปีละ 9.8 หมื่นล้าน สวรส.จี้รัฐเร่งอุดช่องโหว่
      นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเผยสถานการณ์การใช้ยาในส่วนของข้าราชการไทยว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดพบว่าข้าราชการไทยมีการใช้ยาในการรักษาพยาบาลสูงถึงปีละ 7 หมื่นล้านบาท เพิ่มจาก 20,00 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 54,904 ล้านบาทในปี 2551 และ 70,000 ล้านบาทในปี 2552-2553 ทั้งๆที่มีจำนวนข้าราชการในระบบเพียง 5 ล้านคน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในระบบประกันสังคมและระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งดูแลประชากรจำนวนมากถึง 57 ล้านคน หรือเกือบ 12 เท่าของประชากรในระบบสวัสดิการข้าราชการ กลับมียอดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล ในปี 2551 เพียง 98,700 ล้านบาทเท่านั้น
      “สาเหตุที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการข้าราชการสูงขึ้นเพราะระบบสวัสดิการของข้าราชการไม่มีการควบคุมการสั่งยา และจ่ายตามเบิกจริง จึงเป็นเหตุให้มีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล “ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าว
      ผอ.สวรส. กล่าวด้วยว่า หาดกจะประมวลสาเหตุการการที่ค่าใช้จ่ายด้านยาของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการอยู่ในระดับค่อนข้างสูง เนื่องจากปัจจัย 3 อย่าง คือ 1.การออกระบบการจ่ายยาที่เปิดโอกาสให้ทุกรายการยาที่สั่งจ่ายให้ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิข้าราชการทั้งส่วนที่เป็นยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติและนอกบัญชียาหลักแห่งชาติสามารถเบิกจากรัฐได้หมด ทำให้ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาได้ 2.ทัศนคติของผู้ป่วยไทยเกี่ยวกับการรักษาโรคคือการกินยา ในการไปพบแพทย์แต่ละครั้งจึงมีการเรียกร้องให้ได้ยาปริมาณมากและราคาแพง เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้การรักษาดีขึ้น จนสร้างแรงกดดันให้แพทย์ต้องจ่ายยาให้ผู้ป่วยในปริมาณที่มากไม่สมเหตุสมผล และ3.เมื่อรัฐรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเรื่องยาแทนผู้ป่วย แพทย์จึงไม่มีความกังวลแทนผู้ป่วยว่าจะไม่มีเงินจ่าย
      นพ.พงษ์พิสุทธิ์กล่าวอีก จากค่าใช้จ่ายที่สูงเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ 48,000 ล้านบาท ในปี 2551 เป็นเกือบ 70,000 ล้านบาท ส่งผลให้ กรมบัญชีกลาง ในฐานะผู้ดูแลการเบิกจ่ายนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องลุกขึ้นมาขุดค้นตรวจสอบหาต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง สิ่งที่ค้นพบก็คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลตติยภูมิขนาดใหญ่ ประมาณ 34 แห่ง เบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกเป็นสัดส่วนถึง ร้อยละ 90 ของวงเงินทั้งหมด ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มีการใช้ยาแพงที่ผลิตจากต่างประเทศ ไม่ใช่ยาบัญชีหลักฯ และมีการจ่ายยาจำนวนมาก หากยังปล่อยให้การเบิกจ่ายเป็นเช่นนี้ต่อไป โดยไม่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่ายยา เชื่อแน่ว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการไทย ในปีงบประมาณ 2553 ต้องพุ่งทะลุสู่หลักแสนล้านบาทแน่นอน

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง