กิจกรรม

อบต.ควนรู ประชุมพัฒนาโครงสร้างศูนย์และร่างแผนปฏิบัติการ

by wanna @September,28 2010 16.51 ( IP : 202...248 ) | Tags : กิจกรรม , เอกสารประกอบกิจกรรม
photo  , 640x478 pixel , 38,284 bytes.

องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู เร่งเดินหน้าปรับโฉมการทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในด้านโครงสร้างศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค แผนปฏิบัติการด้านคุ้มครองผู้บริโภคในรอบปี 2554 อีกทั้งวางแผนการประชาพิจารณ์แผนงานแบบมีส่วนร่วม วาดฝันยาวจะสร้างศูนย์ประสานงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคของท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2553ที่ผ่านมา เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู อ. รัตภูมิ จ. สงขลา สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ อบต. ควนรู นำโดย นายกถั่น จุลนวล และแกนนำชุมชนประมาณ 60 คน  ได้ประชุมเพื่อจัดโครงสร้าง(Organization Structure)และวางแผนปฏิบัติการด้านคุ้มครองผู้บริโภคในปี 2554 ของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

โครงสร้างศูนย์ของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู

1.คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำ อบต. ทำหน้าที่เป็นคณะทำงานตามกฎหมาย ซึ่งคณะทำงานชุดนี้จะทำหน้าที่ด้านการพิจารณาเรื่อง ร้องเรียน ร้องทุกข์ของผู้บริโภค  พิจารณาเรื่องของแผนปฏิบัติงานประจำปีของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ตลอดจนทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะกับคณะทำงานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

2.ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคอบต.ควนรู จะประกอบด้วยหัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ซึ่งมีที่มาจากอาสาสมัครในพื้นที่ โดยในครั้งนี้ที่ประชุมคัดเลือก พ.ต.อ.เติม อินทรสะระทะ อดีตข้าราชการตำรวจซึ่งเกษียณอายุ มีเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นกองเลขา คอยประสานงาน

3.คณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ฯ จะประกอบด้วย ภาควิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภค  หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค และรับหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่คณะทำงานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในบางประเด็นหรือกิจกรรม การรับทราบรายงานประจำปีผลการทำงานของศูนย์ฯ

การจัดระบบความสัมพันธ์ภายใน

ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ คณะอนุกรรมการ สคบ.ประจำ อบต. และศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค อบต. ได้จัดระบบความสัมพันธ์แบบอิสระต่อกัน กล่าวคือไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายจากคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำ อบต.ตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนมาจาก สคบ. แต่ในการปฏิบัติงานต้องอาศัยการหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

งบประมาณดำเนินงานของศูนย์ฯ

กิจกรรมด้านการพัฒนาแผนงานประจำปีของศูนย์ฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมข้อตกลงร่วมคือ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูจะสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามแผนงานที่นำเสนอต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งงบประมาณส่วนนี้จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

รายละเอียดของแผนงาน ประกอบด้วย

แผนที่ 1 การจัดการข้อมูลด้านคุ้มครองผู้บริโภค จะมีกิจกรรมสำคัญ คือ การจัดทำฐานข้อมูลด้านสถานการณ์ผู้บริโภคของพื้นที่ ซึ่งจะมีการสำรวจประชาชนในพื้นที่ การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค อบต.ควนรู การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของร้านค้าของชำ ร้านอาหาร/แผงลอย รายละเอียดของกลุ่มผลิตอาหาร  การมีแหล่งข้อมูลด้านวิชาการด้านคุ้มครองผู้บริโภคในรูปสิ่งพิมพ์ต่างๆ บอร์ดนิทรรศการ ทั้งนี้เพื่อการเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการทำงานต่อไป

แผนที่ 2 การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและเครือข่าย จะมีกิจกรรมด้านการฝึกอบรมแกนนำศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคและผู้บริโภคในกลุ่มต่างๆภายในชุมชน เช่น กลุ่มนักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ประกอบการในพื้นที่ควนรู ผู้บริโภคทั่วไป กลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้จะมีการส่งแกนนำไปร่วมศึกษาในหลักสูตรห้องเรียนคุ้มครองผู้บริโภค อันเป็นหลักสูตรที่ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพคนทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับวิทยากรจะมีการประสานไปยังหน่วยงานที่มีความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคตามประเด็นที่มีความสนใจ

อีกกิจกรรมที่เป็นการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค คือ การจัดสมัชาผู้บริโภค คนควนรูร้ทัน อันเป็นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาให้เกิดนโยบายสาธารณะด้านคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที

แผนงานที่ 3 การเฝ้าระวังปัญหาผู้บริโภค มีการวางแผนการตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ ตามแหล่งจำหน่ายอาหาร ร้านชำ การตรวจเฝ้าระวังสินค้ารถเร่ การพัฒนาอาสาสมัครเฝ้าระวัง เป็นต้น พร้อมกันนี้จะมีระบบการเตือนภัยผ่านวิทยุชุมชนพระพุทธศาสนา ผ่านวิทยุเครื่องแดง เป็นต้น

แผนงานที่ 4 การรับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ยและส่งต่อจะมีการพัฒนาช่องทางรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผู้บริโภคผ่านทางจดหมาย ตู้แดงคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาแบบฟอร์มรับเรื่องร้องเรียน การร้องเรียนผ่านรายการวิทยุชุมชน จากการประชุมประจำเดือนในเวทีประชาคม เป็นต้น

แผนงานที่ 5 การสื่อสารสาธารณะมีกิจกรรมการทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ศูนย์และช่องทางร้องเรียนผ่านศูนย์ การจัดทำสปอตประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ความรู้ผ่านทางหอกระจายข่าวหมู่บ้าน เป็นต้น


ซึ่งแผนที่เกิดขึ้น อ่านได้ในไฟล์ที่แนบคะ

รายงานและเรียบเรียงโดย วรรณา สุวรรณชาตรี ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง