เมื่อวันที่ 13 ก.ย. กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิทยาศาสตร์ และสถาบันการศึกษา 3 แห่ง สำรวจผลไม้รถเข็นจากแหล่งจำหน่าย 38 ร้านในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าในผลไม้ 153 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์ม เกินกว่ามาตรฐานกำหนดถึงร้อยละ 67.3 ซึ่งอาจมาจากขั้นตอนการเตรียมผลไม้ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารได้
นอกจากนี้ ยังพบการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ในผลไม้ 161 ตัวอย่าง ถึงร้อยละ 16.2 และพบสารกันรา ร้อยละ 40.7 อย่างไรก็ตาม ไม่พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง
สำหรับผลไม้แปรรูปพบการเจือปนของสีสังเคราะห์ ร้อยละ 32.1 และสารกันรา ร้อยละ 32.1 ส่วนใหญ่เป็นฝรั่งดองบ๊วยที่มีสีเขียวเข้ม และสีแดงเข้มจนม่วง
กรุงเทพมหานครเรียกร้องให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงอันตรายและความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค โดยไม่ควรใช้สารหรือวัตถุเคมีเจือปน เพราะอาจจะทำให้อาหารหรือผลไม้ไม่ปลอดภัย ซึ่งผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ที่ระบุว่า ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคควรสังเกตลักษณะภายนอกของผลไม้ที่มีสีธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีสีสดผิดธรรมชาติ และซื้อจากแหล่งที่สะอาด
Relate topics
- กรณีศึกษา อย.เตือนยาคีไตรโซนผิดมาตรฐาน-อันตราย สั่งเก็บทุกสถานพยาบาล
- กรณีศึกษา อย.เผยพบแบคทีเรียปนเปื้อน “น้ำยาบ้วนปากออรัล-บี” เตือน ปชช.ระงับใช้
- กรณีศึกษา สลด!! ว่าที่ "นิสิตเภสัช" ม.มหาสารคาม กินยาลดความอ้วนดับ น้องสาวเผยกลัวใส่ชุดไม่สวย
- กรณีศึกษา สั่งถอนยา "บีเวลล์" แก้เซ็กซ์เสื่อมอาจมีผลข้างเคียงถึงตาย!
- กรณีศึกษา ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมอย่างอื่นนอกเหนือจากดอกเบี้ยหรือไม่