ปัจจุบันอาหารธรรมชาติกำลังอินเทรนด์สุดๆ แต่วัยรุ่นไทยยังหลงกับกระแสอาหารแฟชั่น จำพวกฟาสต์ฟูด ขนมอบราคาแพง เค้ก น้ำอัดลม และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง ทุกสิ่งล้วนเป็นอาหารที่เสี่ยงต่อโรคร้าย รวมถึงโรคอ้วนที่วัยรุ่นมักเป็นกังวล เมื่อวัยรุ่นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการกินอาหารตามกระแส มักนิยมลดน้ำหนักด้วยวิธีผิดๆ เช่น การอดอาหาร กินยาลดน้ำหนัก ยาระบาย เป็นต้น
ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ ชมรมโภชนวิทยามหิดล แนะนำบรรดาวัยรุ่นว่า ถ้ายิ่งอด ยิ่งอ้วน ยิ่งกินตามแฟชั่น ยิ่งซ่อนอันตราย จึงนำ 4 เหตุผลง่ายๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของการบริโภคอาหารธรรมชาติแนะนำ เพื่อปรับนิสัยการกินเพื่อสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยหนุ่มสาว…
อาหารธรรมชาติ คือ อาหารที่ได้รับการปลูก การดูแล และเติบโตตามธรรมชาติ ไม่ผ่านกระบวนการ หรือผ่านกระบวนการน้อย ซึ่งตามหลักโภชนาการเป็นอาหารหลัก 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว/ข้าวกล้อง แป้งที่ผ่านการขัดสีน้อย ธัญญาหาร เนื้อสัตว์ ผักผลไม้สด และไขมัน ซึ่งเราสามารถนำมาประกอบอาหารให้สุก สะอาด และสงวนคุณค่าทางโภชนาการได้ด้วยวิธีง่ายๆ ทั้งผัด นึ่ง ย่าง และต้ม แต่ในกรณีวัยรุ่นซึ่งมีไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบจึงแนะนำเป็นอาหารที่ได้จากวัตถุดิบจากธรรมชาติทดแทน เพราะจะสะดวกและตรงตามไลฟ์สไตล์มากกว่า เช่น ขนมปังโฮลวีต เครื่องดื่มธัญญาหารที่มี 5 ชนิด น้ำเต้าหู้จากถั่วเหลืองเข้มข้น ส่วนอาหารหลักให้เน้น เช่น ข้าวกล้อง ผัก เนื้อไม่ติดมันและปลา แทนอาหารฟาสต์ฟูด
มีวิตามินและแร่ธาตุสูง อาหารธรรมชาติโดยเฉพาะธัญญาหาร เป็นแหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิด ทั้งวิตามินเอ บี1 บี2 และ ซี แคลเซียม เหล็ก โฟเลท ไอโอดีน โปรตีน ฟอสฟอรัส คุณประโยชน์เหล่านี้เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าดีต่อสุขภาพกับทุกเพศทุกวัยอยู่แล้ว แต่วัยรุ่นหลายคนคงยังไม่ทราบว่าแคลเซียมมีประโยชน์ต่อการเผาผลาญพลังงาน อีกทั้งยังมีงานวิจัยว่าคนที่ขาดแคลเซียมจะเสี่ยงต่อการอ้วนมากขึ้นถึง 70% ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีอยู่ในธัญญาหารยอดฮิตอย่าง ถั่วเหลือง งาดำ มอลต์ ลูกเดือย จมูกข้าวสาลี ข้าวกล้อง ฯลฯ หากเร่งรีบอาจเลือกเครื่องดื่มผสมมอลต์ที่มีคุณค่าจากธรรมชาติ ที่ได้จากข้าวบาร์เลย์ที่ไม่ผ่านการขัดสี ซึ่งอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งเหมาะกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต หรือดื่มเครื่องดื่มสำเร็จรูปประเภทธัญญาหารรวม แต่ถ้ามีเวลาอาจบริโภคแบบเต็มเมล็ด หรือเติมในเครื่องดื่มหรืออาหารก็ได้ประโยชน์และอร่อยในอีกรูปแบบหนึ่ง
มีไฟเบอร์สูง ไฟเบอร์หรือใยอาหาร คือ สารอาหารประเภทแป้งเมื่อกินเข้าไปแล้วร่างกายไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้ แต่ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดและช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ใยอาหารมี 2 ประเภท คือ ไฟเบอร์ที่ละลายได้ในน้ำ และไฟเบอร์ไม่ละลายในน้ำ สำหรับไฟเบอร์ที่ละลายในน้ำ พบได้ในผักและผลไม้ทุกชนิด ข้าวบาร์เล่ย์หรือมอลต์ เมล็ดถั่วต่างๆ สำหรับไฟเบอร์ที่ไม่ละลายในน้ำ จะมีมากในเปลือกนอกของผัก ปริมาณที่ควรได้รับ คือ 20-25 กรัม แต่คนส่วนใหญ่ได้รับไฟเบอร์เพียงวันละ 10 กรัม เท่านั้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็งลำไส้ และระบบทางเดินอาหารผิดปกติ จึงต้องเลือกกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
อาหารธรรมชาติเป็นแฟชั่นอินเทรนด์ เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนมีแต่กระแส รักสุขภาพ จึงทำให้มีสินค้าเพื่อสุขภาพออกสู่ตลาดอย่างแพร่หลาย และมีการพัฒนาวิวัฒนาการทำให้กินง่าย ดื่มง่าย สะดวกสบายและอร่อยยิ่งขึ้นรูปลักษณ์ที่ทันสมัย น่าดื่ม และน่ากินมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการดัดแปลงรูปลักษณ์ให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น โดยเราสามารถเลือกบริโภคสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองได้ อาทิ คุณประโยชน์วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น คุกกี้ผสมมอลต์ เครื่องดื่มธัญญาหารรวม 5 ชนิด น้ำเต้าหู้จากถั่วเหลือง 100% ธัญญาหารอัดแท่ง เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะหันมานิยมบริโภคอาหารธรรมชาติ...
ด้วยเหตุผลดีๆ เหล่านี้ วัยรุ่นไทยน่าจะหันมาสนใจอาหารธรรมชาติมากขึ้นจนกลายเป็นอาหารแฟชั่นแนวใหม่ที่ดีต่อสุขภาพ หากใครกลัวตกเทรนด์ในอนาคตก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินหันมากินอาหารธรรมชาติประเภทเครื่องดื่มธัญญาหารและออกกำลังกายกันเถอะ.......
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)