ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ชำแหละร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ กมธ.สธ.ชี้พบปัญหาหลายมาตรา

by twoseadj @August,24 2010 11.21 ( IP : 202...248 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ระบุ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับที่ครม.เสนอจะนำระบบการชดเชยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขของรัฐและเอกชนมารวมในกองทุนฯจะก่อให้เกิดปัญหาแน่...

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนา เรื่อง "กฎหมายด้านการสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ" โดย นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขคนที่สอง กล่าวว่า ระบบบริการของรัฐเป็นระบบสวัสดิการที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน รักษาฟรีตลอด ซึ่งแตกต่างจากระบบเอกชนที่เป็นเชิงธุรกิจ เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลสูง ดังนั้น ตามร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ครม.เสนอจะนำระบบการชดเชยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขทั้งของรัฐและเอกชนมารวมในกองทุนฯจะเกิดปัญหา เช่น หากเกิดความเสียหายจากการผ่าตัดไส้ติ่งในโรงพยาบาลรัฐ ต้องจ่ายค่าเสียหายประมาณ 3-4 แสนบาท ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนค่าเสียหายจะสูงกว่าหลายเท่าตัว จึงไม่เป็นธรรมหากรวมทั้งสองระบบไว้ในกองทุนเดียว

นพ.วรงค์กล่าวอีกว่า เมื่อมองตามรายมาตราของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว อาทิ มาตรา 12, 13 และมาตรา 27-33 ซึ่งเนื้อหาหลักประกอบด้วยคณะอนุกรรมการให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย และคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ปัญหาคือ คณะอนุกรรมการดังกล่าวต้องมีการพิจารณาตามมาตรา 5 ที่มีหลักการว่าไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ขณะที่มาตราที่ 6 กลับเป็นข้อยกเว้น โดยระบุว่า หากรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพแล้วไม่ต้องจ่าย ซึ่งตรงนี้ผิดหลักการตามมาตราที่ 5 ที่สำคัญ คณะอนุกรรมการดังกล่าวกลับไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพสาธารณสุขเลย ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถ พิจารณาตามมาตรา 6 ได้ และการตัดสินจะถูกตัดสินด้วยเสียงข้างมาก ซึ่งส่งผลให้ระบบการแพทย์ล้มเหลว ส่วนมาตรา 34 ซึ่งมีเงิน 2 ก้อน คือ เงินชดเชยและเงินช่วยเหลือเบื้องต้น หากมีการฟ้องร้องและผู้ป่วยชนะกองทุนต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เสียหาย และหากกรณีศาลยกฟ้อง กองทุนก็อาจพิจารณาจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหาย ด้วยหรือไม่ก็ได้ กล่าวคือ ไม่ว่าผู้ป่วยจะชนะหรือแพ้คดี ย่อมมีสิทธิได้รับเงินชดเชยทั้งสิ้น ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้ให้บริการ เพราะเมื่อศาลยกฟ้องควรมีระบบให้หลักประกันกับผู้ให้บริการ เช่น การเยียวยาทางใจเพื่อความเป็นธรรม ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวถูกบรรจุในวาระเร่งด่วน อันดับที่ 27 คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาช่วงปลายของการประชุมสภาฯ

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง